การผ่าตัดโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง กรณีศึกษาผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรงมีผลต่อการตั้งครรภ์


1,170 ผู้ชม


การผ่าตัดโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง กรณีศึกษาผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรงมีผลต่อการตั้งครรภ์

           การผ่าตัดโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง

โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง myasthenia gravis

การทำงานของกล้ามเนื้อ

การทำงานของกล้ามเนื้อ จะเริ่มต้นจากเซลล์สมองสั่งการทำงานไปยังเส้นประสาทโดยการหลั่งสารเคมี เมื่อเส้นประสาทได้รับสารเคมีก็จะมีกระแสไฟฟ้าวิ่งไปยังกล้ามเนื้อ เส้นประสาทมิได้ี่ติดต่อกับกล้ามเนื้อแต่จะมีช่องเล็กๆที่เรียกว่า neuromuscular junction. ซึ่งเซลล์ของปลายประสาทจะะหลังสารเคมที่เรียกว่า acetylcholine สารเคมมีจะไปออกฤทธิ์ที่ receptor บนเซลล์กล้ามเนื้อทำให้เซลล์กล้ามเนื้อหดตก เกิดการทำงานของกล้ามเนื้อ

สำหรับโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง myasthenia gravis เป็นโรคที่กล้ามเนื้อที่เราควบคุมได้ เช่นการยกแขน กล้ามเนื้อหน้าผาก มีอาการอ่อนแรง การอ่อนแรงนี้เกิดจากภาวะที่ร่างกายเราสร้างภูมิคุ้มกันทำลาย receptor บนกล้ามเนื้อ ทำให้เซลล์กล้ามเนื้อไม่ทำงานแม้ว่าเซลล์ประสาทจะหลั่งสารเคมี

ภูมิคุ้มกันจะเกิดเมื่อร่างกายได้รับสารแปลกปลอม เช่นเชื้อแบคทีเรีย แต่สำหรับผู้ป่วยกลุ่มนี้ร่างกายสร้างภูมิต่อต้าน receptor เองเราเรียกโรคหรือภาวะ autoimmune disease

โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง myasthenia gravis มีอาการอะไรบ้าง

หนังตาตกหนังตาตก

  • จะมีอาการหนังตาตก
  • ตามัวหรือเห็นภาพซ้อน
  • พูดไม่ชัด
  • เคี้ยวหรือกลืนลำบาก
  • มีอาการอ่อนแรงแขนหรือขา
  • กล้ามเนื้ออ่อนแรงง่าย
  • หายใจลำบาก

การทดสอบทางห้องปฏิบัติการว่าเป็น โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง myasthenia gravis มีอะไรบ้าง

  • การเจาะเลือดหา Acetylcholine Receptor Antibody ซึ่งผู้ป่วยร้อยละ 85 จะพบภูมิดังกล่าว
  • ผู้ป่วยร้อยละ40-70ของผู้ป่วยกลุ่มที่ให้ผลลบกลุ่มแรกจะให้ผลบวกต่อการทดสอบนี้ Anti-MuSK Antibody testing
  • Tensilon® test เป็นการฉีดสารเคมีเข้าเส้นเลือดดำ จะพบว่ากล้ามเนื้อจะมีแรงดีขึ้นทันที
  • Electromyography -- (EMG)เป็นการทดสอบคลื่นไฟฟ้าของกล้ามเนื้อจะพบลักษณะเฉพาะของโรค
  • Single Fiber EMG การทดสอบไฟฟ้ากล้ามเนื้อซึ่งจะให้ลักษณะเฉพาะ

การรักษา

การรักษาเฉพาะยังไม่มี แต่มีการรักาาที่จะทำให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตดีขึ้น แต่อาจจะไม่ดีเท่ากันทุกคน การรักาาประกอบไปด้วย การรักาาด้วยยา การผ่าตัด Thymus plasmapharesis

ยาที่ใช้รักษา

  • Mestinon เป็นสารที่ลดการทำลาย acetylcholine ทำให้มีสารเคมีนี้มากใน neuromuscular junction
  • Prednisoloneและยาที่กดการสร้างภูมิ imuran เป็นยาที่ลดการสร้างภูมิของร่างกาย
  • immunoglobulins เป็นยาที่ฉีดเพื่อต่อต้านภูมิคุ้มกัน

การผ่าตัด

การผ่าตัดต่อม thymus เพราะเชื่อว่าต่อมนี้มีบทบาทสำคัญต่อการสร้างภูมิ พบว่าผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง myasthenia gravis จะมีเนื้องอกที่ต่อม thymus ประมาณร้อยละ 15 การผ่าตัดจะทำให้โรคนี้มีความรุนแรงน้อยลง บางรายอาจจะอาการหายไปเลย

Plasmapheresis

เป็นการถ่ายเลือดหรือที่เรียกว่าล้างเลือดเอาภูมิออกจากร่างกาย กล้ามเนื้อจะมีแรงขึ้นทันที มักจะใช้กรณีที่มีอาการกำเริบแบบเป็นหนัก

           Link       https://www.siamhealth.net

+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++


              กรณีศึกษาผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด

โรคหัวใจขาดเลือด (Ischemic heart disease ชื่อย่อ IHD)

โรคหัวใจขาดเลือด หรือ บางคนก็เรียกว่า โรคหัวใจโคโรนารี ปัจจุบันพบมากใน คนที่มีอายุมากกว่า 30 ปี ลักษณะอาการเบื้องต้นคือ หลอดเลือดหัวใจแขนงใดแขนงหนึ่งมีการตีบตันทำให้กล้ามเนื้อหัวใจบางส่วนขาด เลือดไปเลี้ยงเกิดอาการเจ็บที่หน้าออกและอ่อนแรง ในระยะเริ่มต้นหลอดเลือดหัวใจจะมีอาการตีบตัวเพียงชั่วขณะกล้ามเนื้อหัวใจจะ ขาดเลือดไปเลี้ยงเพียงชั่วคราวจะเกิดเป็นอาการเจ็บปวดที่หน้าอกเพียง ประเดี๋ยวประด๋าวยังไม่เป็นอันตรายต่อชีวิต แต่ถ้าเป็นถึงขั้นร้ายแรง หัวใจมีอาการอุดตันอย่างถาวร กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดไปเลี้ยง เซลล์กล้าม เนื้อหัวใจก็จะตาย และทำให้มีอาการเจ็บหน้าอกที่รุนแรง เกิดอาการที่เรียกว่า "หัวใจวาย" เป็นอันตรายถึงชีวิตภาวะแบบนี้เรียกว่าว่า โรคกล้ามเนื้อหัวใจตาย

กลุ่มบุคคลที่เสียงต่อการเป็นโรคหัวใจขาดเลือด

โรคนี้เกิดจากการที่ผนังหลอดเลือดหัวใจมีการแข็งตัวทำให้หลอดเลือดหัวใจ ค่อย ๆ ตีบลงจนถึงอุดตัน ผู้สูงอายุทุกคนมักมีภาวะหลอดเลือดแข็งตัว ซึ่งเป็นความเสื่อมตามธรรมชาติ ผู้สูงอายุวันกลางคน (40-50 ปี) ก็อาจจะเป็นโรคหัวใจขาดเลือดได้ ยิ่งถ้ามีประวัติสูบบุหรี่ด้วยแล้ว คนอ้วน คนที่เครียดง่าย ขาดการออกกำลังกายที่สม่ำเสมอจะมีความเสี่ยงกว่าคนทั่วไป โรคหัวใจขาดเลือดนี้ถ้าเป็นแล้วมักจะมีอาการแบบเรื้อรังต้องเข้าพบแพทย์อยู่ เสมอ แต่ถ้าในรายที่เป็นน้อยการดูแลตัวเองก็อาจจะทำให้หายหรือทุเลาได้


การผ่าตัดโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง กรณีศึกษาผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรงมีผลต่อการตั้งครรภ์

โรคหัวใจขาดเลือด

 


แนวทางการป้องกันโรคหัวใจขาดเลือด

  1. งดการสูบบุหรี่
  2. อย่าปล่อยให้ตัวเองอ้วน รักษาน้ำหนักและสุขภาพอยู่เสมอ
  3. ลดอาหารที่มีไขมันสูง กะทิ น้ำมันมะพร้าว น้ำตาล ของหวาน กินผลไม้ให้มาก ๆ
  4. ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
  5. ลดภาวะความเครียดทางอารมณ์ ฝึกสมาธิเพื่อความผ่อนคลาย
  6. ตรวจเช็คร่างกายประจำปี ถ้าครอบครัวคนป่วยโรคนี้เพราะอาจจะมีสาเหตุจากกรรมพันธุ์
  7. ผู้ป่วยที่เป็นโรคความดัน เบาหวาน เกาต์ ต้องรักษากับแพทย์อย่าได้ขาด เพราะจะช่วยป้องกันไม่ให้เกิดโรคหัวใจขาดเลือดแทรกซ้อนเข้าไปอีก

ลักษณะของผู้มีอาการโรคหัวใจขาดเลือด

  1. มักพบมากในวัยกลางคนอายุ 30 ปีขึ้นไป
  2. ปวดที่ตำแหน่งยอดอก หรือ ลิ้นปี่ เจ็บตรงหน้าอกซีกซ้ายตำแหน่งหัวใจ
  3. มีลักษณะปวดแบบจุก ๆ เหมือนถูกบีบ หรือ ถูกของกดทับ และมีอาการปวดร้าวขึ้นไปถึงคอ ขากรรไกร หัวไหล่หรือต้นแขน ขณะมีอาการมักจะมีอาการอ่อนเปลี้ยเพลียแรงร่วมด้วย
  4. ระยะเวลาปวดจะเกิดครั้งละ 2 - 3 นาที อย่างมากไม่เกิน 15 นาที นั่งพักสักครู่ก็จะหายได้เอง
  5. อาการเหล่านี้สามารถกระตุ้นได้จาก การทำงานหนัก ออกกำลังกายมากเกินไป การร่วมเพศ หรือ การมีอารมณ์โกรธ โมโห ตื่นเต้น ตกใจ หรือแม้แต่การกินข้าวอิ่ม หรือ หลังจากการอาบน้ำเย็น หรือ ถูกอากาศเย็นก็ได้

เมื่อไรควรไปพบแพทย์

ควรไปทันทีถ้ามีอาการเจ็บหน้าอกร่วมกับอาการข้อใดข้อหนึ่งดังต่อไปนี้

  1. มีอาการเป็นลม มือเท้าเย็น
  2. หอบเหนื่อย
  3. เจ็บหน้าอกรึนแรง

แพทย์จะรักษาอย่างไร

แพทย์มักจะตรวจลักษณะอาการและร่างกายอย่างละเอียดและแนะนำข้อปฏิบัติต่าง ๆ พร้อมทั้งจ่ายยาช่วยให้เลือดขยายตัว ซึ่งมีทั้งชนิดกินประจำและชนิดอมใต้ลิ้น โดยยาอมใต้ลิ้นนี้คนไข้ต้องพกติดตัวอยู่ตลอดเวลาใช้อมเมื่อมีอาการเจ็บหน้า อกกำเริบ ยานี้จะช่วยให้หายเจ็บหน้าอกได้ทันทีแต่มีผลข้างเคียงคือ อมแล้วจะมีอาการปวดศีรษะได้

วิธีการดูแลรักษาตนเองเบื้องต้นของผู้ป่วยโรคหัวใจขาดเลือด

  1. กินยาและติดต่อรักษากับแพทย์เป็นประจำอย่าได้ขาด
  2. งดสูบบุหรี่เด็ดขาด
  3. ออกกำลังกาย ลดน้ำหนักไม่ให้อ้วน
  4. ลดอาหารที่มีไขมัน
  5. ไม่ออกกำลังกายที่ใช้แรงและหักโหมมาก ๆ
  6. หลีกเลี่ยงสิ่งกระตุ้นการกำเริบของโรค เช่น การกินข้าวอิ่มเกินไป งดดื่มชา กาแฟ หรือเครื่องดื่มที่ใส่กาเฟอีน ระวังอย่าให้ตื่นเต้นตกใจหรือมีเรื่องกระทบกระเทือนจิตใจและอย่าอาบน้ำเย็น หรือถูกอาการเย็นมาก ๆ

            Link     https://www.n3k.in.th

++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++


 

          โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรงมีผลต่อการตั้งครรภ์

โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง มัยแอสทีเนีย กราวิส

 


โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง หรือ โรคเอ็มจี
โรคมัยแอสทีเนีย กราวิส หรือ โรคเอ็มจี

เรียบเรียงข้อมูลโดยกระปุกดอทคอม
ขอขอบคุณภาพประกอบจาก wikipedia
          พลัน ที่ดาราสาว โอ๋ ภัคจีรา ออกมาเปิดเผยว่า เธอกำลังทนทุกข์กับ โรคมัยแอสทีเนีย กราวิส หรือ โรคเอ็มจี ซึ่งเป็น โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง ประเภทหนึ่ง ก็ทำให้คนทั่วไปสงสัยกันมากขึ้นว่า โรคมัยแอสทีเนีย กราวิส หรือ โรคเอ็มจี นี้คือโรคอะไรกันแน่ แล้วมีอาการเป็นอย่างไรบ้าง รักษาได้หรือไม่ วันนี้กระปุกดอทคอมมีคำตอบมาบอกกันค่ะ
          สำหรับ โรคมัยแอสทีเนีย กราวิส (myasthenia gravis) หรือ โรคเอ็มจี ที่ฟังดูชื่อแปลก ๆ เพราะเป็นชื่อภาษากรีกและละติน มีความหมายว่า "grave muscular weakness" ซึ่งเป็นโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง ประเภทหนึ่ง มัก เกิดกับกล้ามเนื้อเล็ก ๆ บริเวณใบหน้า โดยมีการทำงานสื่อสารกันระหว่างเส้นประสาท และกล้ามเนื้อลายผิดปกติ ทำให้เกิดกล้ามเนื้ออ่อนแรง 
          ทั้งนี้ โรคมัยแอสทีเนีย กราวิส ไม่ใช่โรคใหม่ แต่เป็นโรคที่มีมานานแล้ว โดยมีการบันทึกว่าพบผู้ป่วยโรคมัยแอสทีเนีย กราวิส มาตั้งแต่ 300 ปีก่อน
มักพบโรคโรคมัยแอสทีเนีย กราวิสในกลุ่มใด
          โรคมัยแอสทีเนีย กราวิส มักเกิดกับผู้ใหญ่ และพบในเพศหญิงมากกว่าเพศชาย แต่หากอาการของโรคมัยแอสทีเนีย กราวิส เริ่มเป็นหลังอายุ 40 ปี จะพบในเพศชายมากกว่าเพศหญิง
อาการของโรคมัยแอสทีเนีย กราวิส
          ผู้ป่วยโรคมัยแอสทีเนีย กราวิส จะมีอาการหนังตาตก ตาพร่ามัว พูดไม่ชัด เคี้ยวและกลืนลำบาก เพราะมีการอ่อนแรงของกล้ามเนื้อใบหน้า
          แต่หากเป็นมากก็อาจทำให้กล้ามเนื้อทั้งตัว เช่น กล้ามเนื้อแขนและขาอ่อนแรงลงได้ รวมทั้งกล้ามเนื้อที่เกี่ยวกับระบบหายใจ ทำให้หายใจลำบาก ไอไม่ได้ หรือหากรุนแรงมาก ๆ สามารถทำให้ระบบหายใจล้มเหลวได้เลยทีเดียว แต่สำหรับกล้ามเนื้อหัวใจและกล้ามเนื้อเรียบต่าง ๆ ในร่างกายจะไม่ได้รับผลกระทบไปด้วย
โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง หรือ โรคเอ็มจี
โรคมัยแอสทีเนีย กราวิส หรือ โรคเอ็มจี

          โรคมัยแอสทีเนีย กราวิส จัดเป็นโรคเรื้อรัง อาการต่าง ๆ มักเป็น ๆ หาย ๆ อยู่ตลอดเวลา และอาการจะดีขึ้นเองหลังจากหยุดพักใช้งาน แต่มีปัจจัยหลายอย่างที่ทำให้อาการโรคนี้รุนแรงขึ้น ได้แก่ การติดเชื้อ เป็นไข้ ร้อนหรือเย็นเกินไป เครียด ออกแรงมากเกินไป มีประจำเดือน ตั้งครรภ์ โรคเกี่ยวกับไทรอยด์ และการทานยาบางชนิด
          ทั้งนี้ ผู้ป่วยโรคมัยแอสทีเนีย กราวิสส่วนใหญ่ จะมีอาการอย่างค่อยเป็นค่อยไปโดยใช้เวลาเป็นสัปดาห์จนถึงเดือน แต่ในบางรายอาจมีอาการรุนแรงฉับพลันได้ เช่น มีภาวะหัวใจล้มเหลว โดยมักมีอาการเปลี่ยนแปลงได้มากในช่วง 4 ปีแรก และมีอาการรุนแรงมากในช่วง 3 ปีแรก แต่หลังจากนั้นอาการจะคงที่ และค่อย ๆ ดีขึ้น โดยใช้เวลาเป็นปี ๆ หากได้รับการวินิจฉัย และการรักษาที่ถูกต้อง
          นอกจากนี้ ในเด็กบางคนที่เป็นโรคมัยแอสทีเนีย กราวิส ตั้งแต่เกิด จะมีอาการแขนขาอ่อนแรง และขยับได้น้อย ส่วนเด็กที่เกิดจากมารดาที่เป็นโรคนี้ จะมีอาการกล้ามเนื้ออ่อนแรงตั้งแต่แรกคลอด และเป็นอยู่ราว 2 สัปดาห์ ก่อนจะหายได้เอง
สาเหตุของโรคมัยแอสทีเนีย กราวิส
          มีสาเหตุ 4 ประการที่ทำให้เกิดโรคมัยแอสทีเนีย กราวิส ได้ คือ
          1.ร่างกายผู้ป่วยสร้างแอนติบอดี้ต่อโปรตีนชนิดหนึ่ง ซึ่งทำหน้าที่เป็นตัวรับสารอะซิติลโคลีน โดยมักพบว่า ในตัวผู้ป่วยโรคมัยแอสทีเนีย กราวิส จะมีโปรตีนตัวรับสารอะซิติลโคลีนน้อยกว่าคนปกติถึงหนึ่งในสาม เพราะร่างกายสร้างแอนติบอดี้มากำจัดโปรตีนชนิดนี้ไปเกือบหมด
          2.สารอะซิติลโคลีน ซึ่งมีบทบาทสำคัญต่อการหดตัวของกล้ามเนื้อ ไม่สามารถทำงานได้ แม้ร่างกายจะหลั่งสารนี้ออกมาอย่างปกติ เนื่องจากโปรตีนตัวรับถูกทำลายโดยแอนติบอดี้ที่ร่างกายสร้างขึ้น
          3.กรรมพันธุ์ พบผู้ป่วยโรคมัยแอสทีเนีย กราวิส บางรายมีญาติพี่้น้องป่วยเป็นโรคเดียวกันนี้เช่นกัน แม้ส่วนใหญ่จะพบว่า โรคมัยแอสทีเนีย กราวิส มักเกิดจากความผิดปกติของระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายก็ตาม
          4. ความผิดปกติของต่อมไธมัส ทำ ให้เกิดโรคมัยแอสทีเนีย กราวิส ได้เช่นกัน โดยพบว่า เกิดจากเนื้องอกถึงร้อยละ 10 และเกิดจากต่อมไธมัสโตผิดปกติมากถึงร้อยละ 70 ซึ่งจะทำให้เกิดการสร้างแอนติบอดีต่อโปรตีนตัวรับสารอะซิติลโคลีนในปริมาณ สูง จึงส่งผลต่อการหดตัวของกล้ามเนื้อตามมา ดังนั้น จึงมักพบผู้ป่วยที่อายุระหว่าง 30-60 ปี ราวร้อยละ 20 มีอาการเนื้องอกที่ต่อมไธมัสด้วย
การวินิจฉัย โรคมัยแอสทีเนีย กราวิส
          แพทย์จะวินิจฉัยโดยการซักถามประวัติอย่างละเอียด และตรวจร่างกายระบบต่าง ๆ  รวมทั้งระบบประสาท และทดสอบด้วยวิธีอื่น ๆ เพิ่มเติม เพื่อยืนยันว่า เป็นโรคมัยแอสทีเนีย กราวิส หรือไม่
การรักษา โรคมัยแอสทีเนีย กราวิส
          มักพบผู้ป่วยโรคมัยแอสทีเนีย กราวิส มีอาการร่วมกับโรคลูปัส (โรคเอสแอลอี หรือโรคพุ่มพวง) โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ หรือโรคเบาหวานประเภทที่หนึ่ง โดยในสมัยก่อนผู้ป่วยโรคนี้มีอัตราการเสียชีวิตสูงมาก แต่เมื่อค้นพบยารักษาโรคได้ จึงทำให้อัตรายการตายของผู้ป่วยโรคนี้ลดลง
โดยโรคนี้สามารถรักษาได้ด้วย
          การให้ยาต้านฤทธิ์ของเอนไซม์โคลีนเอสเทอเรส ทำให้สารอะซิติลโคลีนไม่ถูกทำลาย และการที่มีสารนี้อยู่นานขึ้น ก็สามารถจับกับตัวรับได้มากขึ้น ช่วยให้ออกฤทธิ์ได้ดีขึ้น
          การให้ยาในกลุ่มคอร์ติโคสเตียรอยด์ ช่วยให้อาการดีขึ้นหรืออาการหายขาดได้มากถึงร้อยละ 75 ของผู้ป่วยทั้งหมด
          การให้ยากดภูมิคุ้มกัน
          การให้ยาอิมมูโนโกลบูลินชนิดฉีดเข้าเส้นเลือด
          การผ่าตัดต่อมไธมัส
         การเปลี่ยนถ่ายพลาสมา
          การรักษาทางกายภาพบำบัดในการป้องกันปัญหาข้อติดและช่วยฝึกการหายใจ
          โดยสรุปแล้ว โรคมัยแอสทีเนีย กราวิส เป็นโรคที่เกิดการความผิดปกติของระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย ซึ่งเราคงไม่สามารถป้องกันได้อย่างร้อยเปอร์เซ็นต์ แต่หากใครเป็นโรคนี้แล้ว ก็สามารถรักษาให้หายได้ ถ้าได้รับคำแนะนำ และการรักษาจากแพทย์อย่างถูกวิธี

          Link      https://health.kapook.com
++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

อัพเดทล่าสุด