เรียงความวันภาษาไทย คําขวัญวันภาษาไทยแห่งชาติ 2555 ประวัติวันภาษาไทยแห่งชาติ 2555


1,489 ผู้ชม


เรียงความวันภาษาไทย คําขวัญวันภาษาไทยแห่งชาติ 2555 ประวัติวันภาษาไทยแห่งชาติ 2555

วันภาษาไทยแห่งชาติ 29 ก.ค. 2555


เรียบเรียงข้อมูลโดยกระปุกดอทคอม

          รู้กันหรือไม่ว่าภาษาไทยที่เราใช้กันอยู่ในทุกวันนี้ ก็มีวันที่ระลึกถึงภาษาไทยของเราด้วยเหมือนกัน โดยในวันที่ 29 กรกฎาคมของทุกปี ประเทศไทยได้กำหนดให้เป็น "วันภาษาไทยแห่งชาติ"


ความเป็นมาของวันภาษาไทยแห่งชาติ


          สืบ เนื่องจากคณะกรรมการรณรงค์เพื่อภาษาไทย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้ตระหนักในคุณค่าและความสำคัญของภาษาไทย และมีความห่วงใยในปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้นต่อภาษาไทย รวมถึงเพื่อกระตุ้นและปลุกจิตสำนึกให้คนไทยทั้งชาติได้ตระหนักถึงคุณค่าและ ความสำคัญของภาษาไทย ตลอดจนร่วมมือกันทำนุบำรุง ส่งเสริม และอนุรักษ์ภาษาไทยให้คงอยู่คู่ชาติไทยตลอดไป จึงได้เสนอขอให้รัฐบาลประกาศให้วันที่ 29 กรกฎาคมของทุกปี เป็น วันภาษาไทยแห่งชาติ เช่นเดียวกับวันสำคัญอื่นๆ ที่รัฐบาลได้จัดให้มีมาก่อนแล้ว เช่น วันวิทยาศาสตร์,วันสื่อสารแห่งชาติ เป็นต้น และคณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันอังคารที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2542 เห็นชอบให้วันที่ 29 กรกฎาคมของทุกปี เป็นวันภาษาไทยแห่งชาติ 


เหตุผลที่เลือกวันที่ 29 กรกฎาคม เป็นวันภาษาไทยแห่งชาติ


          สำหรับเหตุผลที่เลือกวันที่ 29 กรกฎาคม เป็น วันภาษาไทยแห่งชาติ นั้นเพราะวันดังกล่าว ตรงกับวันที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้เสด็จพระราชดำเนินไปเป็นประธาน และทรงร่วมอภิปรายในการประชุมทางวิชาการของชุมนุมภาษาไทย ที่คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ณ ห้องประชุมคณะอักษรศาสตร์ เมื่อวันที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2505 ทรงเปิดอภิปรายในหัวข้อ "ปัญหาการใช้คำไทย" โดยพระองค์ทรงดำเนินการอภิปรายและทรงสรุปการอภิปราย ที่แสดงถึงพระปรีชาสามารถและความสนพระราชหฤทัยรวมถึงความห่วงใยในภาษาไทย ซึ่งเป็นที่ประทับใจกับผู้ร่วมเข้าประชุมในครั้งนั้นเป็นอย่างยิ่ง


          สำหรับ พระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในครั้งนั้น มีใจความตอนหนึ่งว่า "เรามีโชคดีที่มีภาษาของตนเองแต่โบราณกาล จึงสมควรอย่างยิ่งที่จะรักษาไว้ ปัญหาเฉพาะในด้านรักษาภาษาก็มีหลายประการ อย่างหนึ่งต้องรักษาให้บริสุทธิ์ในทางออกเสียง คือให้ออกเสียงให้ถูกต้องชัดเจน อีกอย่างหนึ่งต้องรักษาให้บริสุทธิ์ในวิธีใช้ หมายความว่าวิธีใช้คำมาประกอบประโยค นับเป็นปัญหาที่สำคัญ ปัญหาที่สามคือความร่ำรวยในคำของภาษาไทย ซึ่งพวกเรานึกว่าไม่ร่ำรวยพอ จึงต้องมีการบัญญัติศัพท์ใหม่มาใช้... สำหรับคำใหม่ที่ตั้งขึ้นมีความจำเป็นในทางวิชาการไม่น้อย แต่บางคำที่ง่ายๆ ก็ควรจะมี ควรจะใช้คำเก่าๆ ที่เรามีอยู่แล้ว ไม่ควรจะมาตั้งศัพท์ใหม่ให้ยุ่งยาก..."


          นับ เป็นครั้งแรกและครั้งเดียวในประวัติศาสตร์ของวงการภาษาไทย ที่ได้รับพระราชทานพระมหากรุณาธิคุณดังกล่าว ซึ่งในโอกาสต่อมาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวยังได้ทรงแสดงความสนพระราชหฤทัย และความห่วงใยในภาษาไทยอีกหลายโอกาส อย่างในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรแก่นิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เมื่อวันที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2512 ที่ได้ทรงมีพระบรมราโชวาทตอนหนึ่งว่า "ใน ปัจจุบันนี้ปรากฏว่า ได้มีการใช้คำออกจะฟุ่มเฟือย และไม่ตรงกับความหมายอันแท้จริงอยู่เนืองๆ ทั้งออกเสียงก็ไม่ถูกต้องตามอักขรวิธี ถ้าปล่อยให้เป็นไปดังนี้ ภาษาของเราก็มีแต่จะทรุดโทรม ชาติไทยเรามีภาษาของเราใช้เองเป็นสิ่งอันประเสริฐอยู่แล้ว เป็นมรดกอันมีค่าตกทอดมาถึงเราทุกคนจึงมีหน้าที่จะต้องรักษาไว้ ฉะนั้นจึงขอให้บรรดานิสิตและบัณฑิต ตลอดจนครูบาอาจารย์ได้ช่วยกันรักษาและส่งเสริมภาษาไทย ซึ่งเป็นอุปกรณ์และหลักประกันเพื่อความเจริญวัฒนาของประเทศชาติ"


          นอก จากนี้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ยังมีพระปรีชาญาณและพระอัจฉริยะภาพในการใช้ภาษาไทย ทรงรอบรู้ปราดเปรื่องถึงรากศัพท์ของคำไทย คือ ภาษาบาลีและสันสกฤต ทรงพระอุตสาหะวิริยะแปลและเรียบเรียงวรรณกรรมภาษาต่างประเทศเป็นภาษาไทยที่ สมบูรณ์ด้วยลักษณะวรรณศิลป์ มีเนื้อหาสาระที่มีคุณค่า เป็นคติในการเสียสละเพื่อส่วนรวม และเป็นแบบอย่างแก่ประชาชนในการใช้ภาษาไทย ดังจะเห็นได้จากพระราชนิพนธ์แปลเรื่องนายอินทร์ผู้ปิดทองหลังพระ ติโต พระราชนิพนธ์แปลบทความเรื่องสั้นๆ หลายบท และพระราชนิพนธ์เรื่อง พระมหาชนก เป็นต้น


วัตถุประสงค์ในการจัดวันภาษาไทยแห่งชาติ มีดังต่อไปนี้


           1. เพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ผู้ทรงเป็นนักปราชญ์และนักภาษาไทย รวมทั้งเพื่อน้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณของพระองค์ที่ได้ทรงแสดงความห่วงใย และพระราชทานแนวคิดต่างๆ เกี่ยวกับการใช้ภาษาไทย


           2. เพื่อร่วมเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในมหามงคลสมัยเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ ในวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2542


           3. เพื่อกระตุ้นและปลุกจิตสำนึกของคนไทยทั้งชาติ ให้ตระหนักถึงความสำคัญและคุณค่าของภาษาไทย ตลอดจนร่วมมือร่วมใจกันทำนุบำรุงส่งเสริม และอนุรักษ์ภาษาไทย ซึ่งเป็นเอกลักษณ์และเป็นสมบัติวัฒนธรรมอันล้ำค่าของชาติ ให้คงอยู่คู่ชาติไทยตลอดไป


           4. เพื่อเพิ่มพูนประสิทธิภาพในการใช้ภาษาไทย ทั้งในวงวิชาการและวิชาชีพ รวมทั้งเพื่อยกมาตรฐานการเรียนการสอนภาษาไทยในสถานศึกษาทุกระดับ ให้มีสัมฤทธิผลยิ่งขึ้น


           5. เพื่อเปิดโอกาสให้หน่วยงานต่างๆ ทั้งภาครัฐฯ และเอกชนทั่วประเทศ มีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมที่หลากหลาย เพื่อเผยแพร่ความรู้ภาษาไทยในรูปแบบต่างๆ ไปสู่สาธารณชน ทั้งในฐานะที่เป็นภาษาประจำชาติ และในฐานะที่เป็นภาษาเพื่อการสื่อสารของทุกคนในชาติ


ประโยชน์ที่คาดว่าได้รับจากการมีวันภาษาไทยแห่งชาติ


           1. วันภาษาไทยแห่งชาติ จะทำให้หน่วยงานต่างๆ ทั้งภาครัฐฯ และเอกชน โดยเฉพาะอย่างยิ่งหน่วยงานในกระทรวงศึกษาธิการ และทบวงมหาวิทยาลัย ตระหนักในความสำคัญของภาษาไทย และร่วมกันจัดกิจกรรมเพื่อกระตุ้นเตือน เผยแพร่ และเน้นย้ำให้ประชาชนเห็นความสำคัญของ "ภาษาประจำชาติ" ของคนไทยทุกคน และร่วมมือกันอนุรักษ์การใช้ภาษาไทยให้มีความถูกต้องงดงามอยู่เสมอ


           2. บุคคลในวงวิชาชีพต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการใช้ภาษาไทย โดยเฉพาะในวงการศึกษา และวงการสื่อสาร ช่วยกันกวดขันดูแลให้การใช้ภาษาไทยเป็นไปอย่างถูกต้องเหมาะสม มิให้ผันแปรเปลี่ยนแปลง จนเกิดความเสียหายแก่คุณลักษณะของภาษาไทยอันเป็นเอกลักษณ์ของชาติ


           3. ผลสืบเนื่องในระยะยาว คาดว่าปวงชนชาวไทยทั่วประเทศจะตื่นตัวและสนใจที่จะร่วมกันฟื้นฟู ทำนุบำรุง ส่งเสริมและอนุรักษ์ภาษาไทย อันเป็นเอกลักษณ์และสมบัติวัฒนธรรมที่สำคัญของชาติให้ดำรงคงอยู่คู่ชาติไทย ตลอดไป


กิจกรรมในวันภาษาไทยแห่งชาติ

          กิจกรรม ในวันนี้ ก็จะมีทั้งของสถาบันการศึกษา,หน่วยงานภาครัฐฯ และเอกชน ที่จะมีการจัดกิจกรรมต่างๆ เช่น การจัดนิทรรศการ,การอภิปรายทางวิชาการ,การประกวดแต่งคำประพันธ์ ร้อยแก้ว ร้อยกรอง การขับเสภา การเล่านิทาน เป็นต้น
          ภาษา ไทยถือเป็นภาษาแห่งชาติ และเป็นเอกลักษณ์ของชาติที่เราคนไทยควรภาคภูมิใจ เพราะบางประเทศไม่มีแม้กระทั่งภาษาที่เป็นของตัวเอง ดังนั้นเราควรอนุรักษ์ภาษาไทยให้คงอยู่ และสืบทอดต่อไปให้ลูกหลานได้ศึกษา หากเราคนไทยไม่ช่วยกันรักษาไว้ สักวันหนึ่งอาจจะไม่มีภาษาไทยให้ลูกหลานใช้ก็เป็นได้ 
กิจกรรม วันภาษาไทยแห่งชาติ ปี 2554 

          นาย สมชาย เสียงหลาย ปลัดกระทรวงวัฒนธรรม  แถลงข่าว วันภาษาไทยแห่งชาติ ประจำปี 2554 โดยระบุว่า กระทรวงวัฒนธรรม จะจัดกิจกรรมรณรงค์เนื่องในวันภาษาไทยแห่งชาติในวันที่ 29  กรกฎาคมนี้ มีกิจกรรม เช่น นิทรรศการและกิจกรรมหมอภาษา การแสดงทางวัฒนธรรมโดยใช้ภาษาถิ่น รวมทั้งได้ร่วมกับบริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด จัดทำดวงตราไปรษณีย์ที่ระลึกเนื่องในวันภาษาไทยแห่งชาติเป็นครั้งแรกด้วย พร้อมกันนี้ได้สรรหาและคัดเลือกผู้ใช้ภาษาไทยดีเด่นเพื่อเป็นแบบอย่างแก่ เยาวชน และสังคม ประจำปี 2554


สำหรับรายชื่อผู้ที่ได้รับรางวัล วันภาษาไทยแห่งชาติ 2554 มีดังนี้
ปูชนียบุคคลด้านภาษาไทย ได้แก่
            พระธรรมโกศาจารย์ (ศ.ดร.ประยูร ธมฺมจิตโต)
            ศาสตราจารย์พิเศษ ดร.กิ่งแก้ว อัตถากร
            คุณหญิงคณิตา เลขะกุล
            นางชอุ่ม ปัญจพรรค์
            นายช่วย พูลเพิ่ม
            ศาสตราจารย์ธวัช ปุณโณทก
            ศาสตราจารย์เกียรติคุณ นพ.พูนพิศ อมาตยกุล
            ศาสนาจารย์ ดร.มะเนาะ ยูเด็น
            ศาสตราจารย์กิตติคุณ ดร.วิจินตน์ ภาณุพงศ์
            ผศ.วิพุธ โสภวงศ์
            พล.ต.ม.ร.ว.ศุภวัฒย์ เกษมศรี
            นายอาจิณ จันทรัมพร
            ผศ.รอ.เสนีย์ วิลาวรรณ


ผู้ใช้ภาษาไทยดีเด่น (ชาวไทย) ได้แก่

            นายกันตชาติ เกษมสันต์ ณ อยุธยา
            ผศ.ดร.ตรีศิลป์ บุญขจร
            นายธีรภาพ โลหิตกุล
            น.ส.นภา หวังในธรรม
            นายนิติพงษ์ ห่อนาค
            พล.ต.ประพาศ ศกุนตนาค
            นายประภัสสร เสวิกุล
            นายปราโมทย์ สัชฌุกร
         
            นายศุ บุญเลี้ยง
            นางสินจัย เปล่งพานิช
            น.ท.สุมาลี วีระวงศ์
            นายสัญญา คุณากร
            นางอารีย์ นักดนตรี
            นายเอนก นาวิกมูล

ผู้ใช้ภาษาไทยดีเด่น (ชาวต่างประเทศ) ได้แก่

            ศ.ดร.เอสเธอร์ เวคแมน
            นางศริสตี แอนน์ เคนนีย์ บราวน์ฟิลด์ เอกอัครราชทูตสหรัฐประจำประเทศไทย
ผู้ใช้ภาษาไทยถิ่นดีเด่น ได้แก่ 

            พระราชประสิทธิคุณ (สุนันท์ สุภาจาโร)
            ดร.ฉันทัส ทองช่วย
            น.ส.นฤมล มั่นวงศ์วิโรจน์
            นายบุญธรรม เทิดเกียรติชาติ
            นายพงษ์เทพ กระโดนชำนาญ
            นายมนัส สุขสาย
            นายเมืองดี นนทะธรรม
            ผศ.สนิท บุญฤทธิ์
            นายอินตา เลาคำ 
               
          ส่วน โครงการรางวัล เพชรในเพลง ครั้งที่ 8 ซึ่งจะมอบให้กับนักร้อง เพลงไทยสากล-ลูกทุ่ง ที่ออกเสียงได้ถูกต้องตามอักขระภาษาไทย มีผู้ได้รับการประกาศยกย่อง ดังนี้
รางวัลเชิดชูเกียรติผู้ประพันธ์เพลงดีเด่นในอดีต ได้แก่
            เพลงบ้านเรา ประพันธ์โดย นายชาลี อินทรวิจิตร
            เพลงกลิ่นโคลนสาบควาย ประพันธ์โดย คือ นายไพบูลย์ บุตรขัน
รางวัลประเภทการประพันธ์เพลงดีเด่นด้านภาษาไทย ได้แก่
            เพลงบ้านเราจะเหมือนเดิม ประพันธ์โดย นายประภาส ชลศรานนท์
            เพลงกราบดิน ประพันธ์โดย นายปฏิเวธ อุทัยเฉลิม (ฟองเบียร์)
            เพลงเพลงของเธอ ประพันธ์โดย นายสุทธิพงษ์ สมบัติจินดา
            เพลงเทียนไขไฟฟ้า ประพันธ์โดย นายสิปปภาส รักวงค์ (ปาน ประกาศิต)
        
รางวัลการขับร้องเพลงดีเด่นด้านภาษาไทย ได้แก่
          เพลงลิขิตรักจากเบื้องบน ขับร้องโดย นายอุเทน พรหมมินทร์
          เพลงขอไปให้ถึงดาว ขับร้องโดย น.ส.ธนพร แวกประยูร (ปาน ธนพร)
          เพลงสัญญาก่อนนอน ขับร้องโดย นายสร่างศัลย์ เรืองศรี (หนูมิเตอร์ อาร์สยาม)
          เพลงกลัว ขับร้องโดย น.ส.เตือนใจ ศรีสุนทร (ฝน ธนสุนทร)
 
อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมจาก
 culture.go.th, tungsong.com

อัพเดทล่าสุด