กระดูกสันหลังยุบ โรคกระดูกสันหลังคด กระดูกสันหลังเสื่อม


15,036 ผู้ชม


กระดูกสันหลังยุบ โรคกระดูกสันหลังคด กระดูกสันหลังเสื่อม

               กระดูกสันหลังยุบ

การฉีดซีเมนต์รักษากระดูกสันหลังยุบ

ค่าใช้จ่ายในการทำ vertebroplasty หรือการฉีดซีเมนต์ซ่อมกระดูกเข้าไปรักษากระดูกสันหลังยุบตัว ในรพ.เอกชน ประมาณ 80,000 ถึง 120,000 บาท ขึ้นอยู่กับว่ายุบตัวกี่ปล้องยุบมากยุบน้อย ไม่รวมค่าทำ MRI เพื่อตรวจวินิจฉัยอีกประมาณ 6,000 – 8,000 บาท ครับ

1. ซีเมนต์ซ่อมกระดูก ( bone cement) เป็นสารสังเคราะห์หลายตัว ตัวหลักชื่อ polymethylmetacrylate (PMM) ซึ่งเมื่อส่วนย่อยเป็นผงกับเป็นน้ำมาผสมกันแล้วก็จะแข็งตัวเหมือนเวลาเราผสม ปูนซีเมนต์ก่อสร้าง มันอยู่ในร่างกายคนได้นาน ทางการแพทย์ใช้มานานหลายสิบปีแล้ว

2. โรคกระดูกหลังยุบตัว ( compression fracture of spine) หรือเรียกง่ายๆว่าโรคหลังโกงในคนสูงอายุนะแหละ ภาวะนี้เกิดจากองค์ประกอบหลายอย่าง อันได้แก่ ( 1) ตัวกระดูกเองไม่แข็ง ( 2) กล้ามเนื้อที่ช่วยรับแรงกดแทนกระดูกคือกล้ามเนื้อหลัง กล้ามเนื้อหน้าท้อง ก็ไม่แข็ง ทำให้มีแรงกระทำต่อกระดูกมาก ( 3) ท่าร่างไม่ถูกต้อง คือชอบทำหลังค่อมๆก้มๆ เวลานั่งก็ชอบทำตัวงอๆไม่ชอบยืดอก ทำให้น้ำหนักหัวและลำตัวท่อนบนกระทำต่อกระดูกสันหลังส่วนหน้ามากกว่าส่วน หลัง ( 4) อาจมีบางจังหวะที่เกิดแรงขย่มมากกว่าปกติ เช่นตกมาจากที่สูง หรือแม้กระทั่งเดินลงบันไดแบบกระแทกตัวลงแรงๆ ก็เป็นการตั้งต้นให้กระดูกที่จะยุบไม่ยุบแหล่อยู่แล้วยุบตัวลงได้ เมื่อกระดูกหลังยุบตัวลง เรียกภาษาชาวบ้านก็คือหลังหัก หลังก็จะงองุ้ม ถ้าเป็นน้อยอาจจะดูไม่ค่อยออก ต้องเอ็กซเรย์ดูจึงจะเห็น แต่ถ้าเป็นมากลำตัวจะค่อมและโน้มไปข้างหน้ามากจนต้องอาศัยไม้เท้าช่วยค้ำยัน เวลาเดิน

3. ความรู้แพทย์ปัจจุบันทำให้เราช่วยแก้ปัญหาเมื่อกระดูกสันหลังยุบได้ระดับ หนึ่ง โดยเมื่อมันยุบใหม่ๆก็รีบทำการง้างกระดูกที่ยุบให้อ้าขึ้น อาจจะโดยการใช้บอลลูนเป่าลมเข้าไปช่วยง้าง ( kyphoplasty) แล้วอัดซีเมนต์ซ่อมกระดูกเข้าไปในโพรงกระดูก ( vertebroplasty) หรือฉีดซีเมนต์อัดเข้าไปดื้อๆโดยไม่ต้องเอาบอลลูนเข้าไปอ้า เมื่อทิ้งให้ซีเมนต์ซ่อมกระดูกแข็งตัวขึ้น แนวกระดูกสันหลังก็จะกลับมาใกล้เคียงปกติมากขึ้นไม่ค่อมมากเกินไป การทำหัตถการทั้งสองอย่างนี้ทำได้โดยฉีดยาชาโดยไม่ถึงขั้นต้องดมยาสลบ และในบางสถาบันก็ทำแบบผู้ป่วยนอก คือไม่ต้องนอนโรงพยาบาล

4. ที่สำคัญอย่างที่สุดคือการที่คนตั้งแต่วัยหนุ่มสาวเป็นต้นไป ควรหันมาใส่ใจป้องกันกระดูกหักเมื่อตนสูงอายุขึ้น ซึ่งประกอบด้วย การป้องกันกระดูกพรุน โดย

4.1 โภชนาการที่ดี ไม่รีดน้ำหนักให้ตัวเองผอมเกินไป ได้รับแคลเซียมจากอาหารธรรมชาติเพียงพอ เช่นนม นมถั่วเหลือง ปลาเล็กปลาน้อย เป็นต้น

4.2 ให้ตัวเองได้รับแสงแดดบ้าง อย่าเอาแต่ทาครีมกันแดดตะพึด แสงแดดที่จะให้วิตามินดีต้องเป็นแดดแก่ๆระหว่าง 10.00 – 15.00 น. และต้องรับตรงๆ ไม่ผ่านกระจกหน้าต่างหรือกระจกรถยนต์

4.3 ออกกำลังกายทุกวัน โดยต้องมีอาการออกกำลังกายแบบสร้างความแข็งแรงกล้ามเนื้อ หรือเล่นกล้ามด้วย ทั้งนี้อย่าลืมเล่นกล้ามเนื้อหลัง เช่นใช้ท่ากายบริหาร หรือท่ารำกระบองต่างๆ

4.4 ฝึกหัดท่าร่าง ( posturing) ให้เป็นนิสัยที่ดีติดตัว คือต้องหัดยืดตัวเสมอ นั่งก็หลังตั้งตรง ยืนก็ยืดหลังตรง เมื่อใดที่นึกขึ้นได้ก็ให้แขม่วท้องแบบทหาร หัดแขม่วท้องบ่อยๆ เพราะการแขม่วท้องเป็นการเล่นกล้ามเนื้อหน้าท้อง ซึ่งเป็นกล้ามเนื้อที่ช่วยค้ำกระดูกสันหลังที่สำคัญ

หมายเหตุ

ค่าใช้จ่ายในการทำ vertebroplasty หรือการฉีดซีเมนต์ซ่อมกระดูกเข้าไปรักษากระดูกสันหลังยุบตัว ในรพ.เอกชน ประมาณ 80,000 ถึง 120,000 บาท ขึ้นอยู่กับว่ายุบตัวกี่ปล้องยุบมากยุบน้อย ไม่รวมค่าทำ MRI เพื่อตรวจวินิจฉัยอีกประมาณ 6,000 – 8,000 บาท ครับ

นพ.สันต์ ใจยอดศิลป์

                        Link   https://www.health.co.th

++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++


                    โรคกระดูกสันหลังคด

     

โรคกระดูกสันหลังคด

     
       กระดูก สันหลังมีหน้าที่รับน้ำหนักและช่วยพยุงร่างกายให้ สามารถตั้งตรงได้ ในคนปกติหากมองจากด้านหลังจะเห็นกระดูกสันหลังเป็นแนว เส้นตรง แต่ในคนที่เป็นโรคกระดูกสันหลังคด เมื่อมองจากด้านหลังจะเห็นแนวกระดูกโค้งไปทางซ้ายหรือขวา ไม่เป็นเส้นตรงเหมือนคนปกติ โรคกระดูกสันหลังคดพบประมาณ 2-3 % ของประชากร พบได้เท่ากันในผู้ชายและผู้หญิง แต่ผู้หญิงมักจะมีการคดงอของกระดูกมากกว่าผู้ชาย โรคกระดูกสันหลังคดเกิด ได้ในทุกอายุ พบได้ตั้งแต่เด็กเกิดจนถึงวัยผู้ใหญ่ แต่ส่วนมากมักเกิดในช่วงที่มีการเจริญเติบโตของกระดูกอย่างรวดเร็ว คืออายุประมาณ 10-15 ปี

สาเหตุการเกิดโรคกระดูกสันหลังคด

      กระดูกสันหลังคด เกิดจากหลายสาเหตุร่วมกันค่ะ เช่น พันธุกรรม การบาดเจ็บที่กระดูกสันหลัง สิ่งแวดล้อม เนื้องอก ซึ่งแบ่งประเภทของกระดูกสันหลังคดได้เป็น 3 ประเภท คือ
1. กระดูกสันหลังผิดรูปตั้งแต่แรกเกิด ในกรณีนี้เป็นสาเหตุที่เกิดจากเด็ก มีการสร้างกระดูกสันหลังผิดปกติตั้งแต่อยู่ในท้องคุณแม่ เช่น กระดูกสันหลังมีการเชื่อมติดกันผิดรูป หรือกระดูกสันหลังแหว่ง เป็นต้น
2. มีโรคทางระบบประสาทหรือระบบกล้ามเนื้อผิดปกติ ซึ่งทำให้กล้ามเนื้อหลังไม่สมดุล กระดูกสันหลังมีโอกาสเอียงไปมาซ้ายหรือขวาได้
3. กระดูกสันหลังเจริญผิดปกติในภายหลัง ซึ่งเป็นกรณีที่เด็กเกิดมาใหม่ๆ กระดูกสันหลังไม่ผิดปกติ แต่ต่อมาจะค่อย ๆ เพิ่มความองศาความเอียงขึ้นเรื่อย ๆ ทั้งนี้ เพราะกระดูกสันหลังเจริญเติบโตไม่เท่ากัน เช่น เบี้ยวไปข้างใดข้างหนึ่ง

      ทั้ง 3 ปัจจัยที่กล่าวมาข้างต้น ปัจจัยที่ 3 เป็นสาเหตุของโรคกระดูกสันหลังคดที่พบมากที่สุดค่ะ โดยเฉพาะในช่วงเริ่มเข้าวัยรุ่นหรืออายุประมาณ 10-12 ปี และส่วนใหญ่จะเกิดในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย

แนวทางการรักษาโรคกระดูกสันหลังคด

      การรักษาโรคกระดูกสันหลังคดขึ้นกับมุมการคด  การเปลี่ยนแปลงของมุม  และอายุของผู้ป่วย

  • มุมการคดน้อยกว่า 25 องศา :  ยังไม่จำเป็นต้องได้รับการรักษาใดๆ  ให้ติดตามการเปลี่ยนแปลงของมุม ทุก 4-6 เดือน
  • มุมการคดมากกว่า 25 องศา : รักษาโดยการใส่เสื้อเกราะ(Brace)  เสื้อเกราะเป็นอุปกรณ์ค้ำจุน เพิ่มความแข็งแรง  ช่วยป้องกันหรือชะลอไม่ให้มุมการคดมีการเปลี่ยนแปลงไปมากกว่าเดิม
  • มุมการคดมากกว่า 45 องศา : อาจต้องรักษาโดยการผ่าตัดเพื่อจัดแนวกระดูกสันหลังใหม่  การผ่าตัดนี้ใช้หลักการเดียวกับการรักษากระดูกหักคือการใช้โลหะช่วยดาม กระดูกสันหลังให้ตรง
การใส่ Brace หรืออุปกรณ์คัดลำตัว

      ถ้า กระดูกสันหลังคดน้อยกว่า 40 องศา ขั้นต้นอาจทำการรักษาด้วยการใส่ Brace หรือเรียกว่าอุปกรณ์คัดลำตัว เพื่อช่วยยันไม่ให้กระดูกคดเพิ่มขึ้น แต่ว่าการใส่ Brace ไม่ทำให้กระดูกสันหลังที่คดสามารถ ตรงขึ้นมาได้ เพียงแต่ไม่ทำให้คดมากกว่าเดิมค่ะ ซึ่งวิธีนี้จะช่วยประคองกระดูกสันหลังไว้จนกระทั่งกระดูกโตเต็มที่ และจะไม่คดต่อไปอีก โดยไม่ต้องรักษาด้วยการผ่าตัด

      แต่ การใส่ Brace จะต้องใส่ตลอดเวลา หากผู้ป่วยไม่ได้ใส่ตลอดเวลาแล้วมีผลให้กระดูกสันหลังบิดตัวไปเยอะ ทำให้องศาความคดเพิ่มขึ้น อาจต้องรักษาด้วยการผ่าตัดในที่สุด
การ ผ่าตัด

      การ รักษาด้วยการผ่าตัดคือ การผ่าตัดกระดูกที่คดให้ตรงขึ้นด้วยการตามเหล็ก เพื่อคงความตรงไว้อย่างนั้น ซึ่งเป็นวิธีที่ใช้กับอาการกระดูกสันหลังคดที่รุนแรงเท่า นั้นค่ะ เช่น ถ้าไม่ทันได้สังเกตแล้วปล่อยให้คดมากกว่า 40 องศาหรืออาจถึง 90 องศา ถือว่าคดในระดับอันตราย หรือรักษาด้วยการใส่ Brace แล้วไม่ได้ผลที่สำคัญ การผ่าตัดนั้นมีทั้งข้อดีและข้อเสีย จะต้องพิจารราร่วมกับคุณหมอ หากต้องรักษาด้วยวิธีนี้

      ข้อดี : สามารถทำให้หลังที่คดตรงได้ถาวร โดยต้องพักฟื้นจนกว่ากระดูกเชื่อมติดกันใช้เวลาประมาณ 3-6 เดือน ซึ่งถ้าคนไข้ไม่มีปัญหากับการตามโลหะในภายหลัง เช่น เหล็กไปกดทับเนื้อทำให้เจ็บ ก็สามารถใส่โลหะนั้นไว้ตลอดชีวิตโดยไม่ต้องผ่าออก

      ข้อเสีย : การผ่าตัด ลักษณะนี้จะมีค่าใช้จ่ายสูงมาก ค่าการผ่าตัดต่อครั้งต้องใช้เงินประมาณ 2-3 แสนบาทขึ้นไป วิธีการผ่าตัดจะใกล้ไขสันหลังและเส้นประสาท อาจเสี่ยงต่อการที่ไขสันหลัง และเส้นประสาทถูกยืดหรือถูกกดทับทำให้เส้นประสาทไม่ทำงาน ซึ่งเรื่องนี้คุณหมอจะระวังเป็นพิเศษ ทั้งขณะผ่าตัดและหลังการผ่าตัดเสร็จสิ้น

 

รายชื่อแพทย์ศัลยกรรมกระดูกสันหลัง

กระดูกสันหลังยุบ โรคกระดูกสันหลังคด กระดูกสันหลังเสื่อม นพ.พรเอนก ตาดทองกระดูกสันหลังยุบ โรคกระดูกสันหลังคด กระดูกสันหลังเสื่อม นพ.ธงชัย ธีระจรรยาภรณ์
 กระดูกสันหลังยุบ โรคกระดูกสันหลังคด กระดูกสันหลังเสื่อม นพ.วิเชียร เลาหเจริญสมบัต

 กระดูกสันหลังยุบ โรคกระดูกสันหลังคด กระดูกสันหลังเสื่อม นพ.ชัยวัฒน์ ไกรวัฒนพงศ์

 

กระดูกสันหลังยุบ โรคกระดูกสันหลังคด กระดูกสันหลังเสื่อม นพ.หาญพงศ์ ฟักทองพรรณ์ กระดูกสันหลังยุบ โรคกระดูกสันหลังคด กระดูกสันหลังเสื่อม นพ.ธเนศ วัฒนะวงษ
กระดูกสันหลังยุบ โรคกระดูกสันหลังคด กระดูกสันหลังเสื่อมนพ.ศักรินทร์ วงศ์เลิศศิริ             กระดูกสันหลังยุบ โรคกระดูกสันหลังคด กระดูกสันหลังเสื่อม นพ.กันต์ แก้วโรจน์

 Link       https://www.vejthani.com

++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++=

                กระดูกสันหลังเสื่อม

กระดูกสันหลังเสื่อม


         กระดูกสันหลังเสื่อมเป็นโรคที่พบได้บ่อย เหมือนกับบรรดาข้อกระดูกเสื่อมทั้งหลาย เช่น ข้อเข่าเสื่อม ข้อสะโพกเสื่อม
ก่อนอื่นขออธิบายถึงลักษณะของข้อกระดูกสันหลังก่อนว่า กระดูกสันหลังมี 3 ระดับ ระดับคอมีกระดูกสันหลัง 7 ชิ้น ระดับกลางหลัง 12 ชิ้น ระดับบั้นเอวมี 5 ชิ้น กระดูกสันหลังแต่ละอันมาเรียงต่อกันเป็นปล้องๆ โดยด้านหน้ามีหมอนรองกระดูกกั้นอยู่ ส่วนด้านหลังเป็นข้อต่อเล็กๆ 2 ข้าง ทำให้ข้อกระดูกสันหลังมีการเคลื่อนไหวได้ เช่นการก้ม การเงย ของคอ การก้มหลังและแอ่นหลัง เป็นต้น
ข้อกระดูกสันหลังเสื่อมที่พบได้บ่อย ได้แก่ ข้อกระดูกสันหลังระดับบั้นเอว และระดับคอ สำหรับการเสื่อมของกระดูกสันหลัง จะมีความแตกต่างกว่าข้อเข่าและข้อสะโพกคือ การเสื่อมส่วนใหญ่จะเริ่มเกิดขึ้นที่หมอนรองกระดูกซึ่งเป็นตัวกั้นระหว่าง กระดูกสันหลังแต่ละปล้อง หมอนรองกระดูกสันหลังมีลักษณะคล้ายเยลลี่ที่มีความยืดหยุ่น ทำหน้าที่เหมือนโช็คอัพ กระดูกสันหลังระดับบั้นเอวและระดับคอมีการใช้งานมากกว่าระดับอื่น จึงเสื่อมง่ายกว่า หมอนรองกระดูกบางส่วนอาจจะมีการเคลื่อนที่ไปกดทับเส้นประสาท ทำให้มีอาการปวดร้าวไปตามแขนหรือขาที่เส้นประสาทนั้นๆ ไปเลี้ยงก็ได้ ในกรณีที่หมอนรองกระดูกเสื่อม แต่ไม่ไปกดเส้นประสาท จะมีผลทำให้ข้อกระดูกสันหลังที่อยู่ด้านหลังมีการเปลี่ยนแปลง โดยมีการอักเสบหรือขรุขระหรืออาจมีกระดูกงอก ทำให้เกิดมีอาการเจ็บปวดขึ้นบริเวณหลังและปวดร้าวลงมาบริเวณกระเบนเหน็บ หรือสะโพกทั้ง 2 ข้างได้ คนอ้วน คนที่ใช้หลังไม่ถูกต้อง เช่น ก้มๆ เงยๆ ยกของหนัก มีโอกาสข้อกระดูกสันหลังเสื่อมได้เร็วกว่าคนอื่น
สำหรับการรักษาส่วนใหญ่คือการนอนพัก การรับประทานยาแก้อักเสบของกระดูกและข้อ การระมัดระวังไม่ใช้หลังอย่างผิดๆ ถ้าไม่ดีขึ้นอาจต้องทำกายภาพบำบัด เนื่องจากโรคนี้จะมีโอกาสเป็นเรื้อรังในระยะยาวควรที่จะลดน้ำหนัก และบริหารกล้ามเนื้อหน้าท้องและหลังให้แข็งแรง การรักษาด้วยวิธีอื่นๆ เช่นการฉีดยา และการผ่าตัด ขึ้นอยู่ในวิจารณญาณของแพทย์ผู้รักษา

ข้อกระดูกเสื่อม


          ข้อกระดูกเสื่อมเป็นโรคที่พบบ่อยสุดในบรรดาโรคที่เกี่ยวกับข้ออักเสบ ข้อกระดูกเสื่อมมีสาเหตุมาจากการใช้งานข้อนั้นๆ มาเป็นเวลานาน เกิดการเปลี่ยนแปลงของผิวข้อกระดูก ซึ่งมักจะสัมพันธ์กับการย่างเข้าสู่วัยสูงอายุ
การเปลี่ยนแปลงของข้อกระดูกเสื่อม จะเกิดขึ้นกับกระดูกอ่อนของปลายกระดูกที่มาประกอบกันเป็นข้อ ขอยกตัวอย่างให้เห็นภาพได้ชัดเจนว่า กระดูกอ่อนคือส่วนปลายกระดูก สีขาวมัน เหมือนเช่น เวลาเรารับประทานขาไก่ เราจะเห็นกระดูกอ่อนที่เป็นส่วนปลาย สีขาวมัน ผิวมีลักษณะเรียบ ซึ่งลักษณะแบบนี้ก็เหมือนกระดูกอ่อนในคนอายุไม่มาก เวลาข้อกระดูกเสื่อม ผิวที่เรียบนี้จะขรุขระ เพราะมีการทำลายกระดูกอ่อน จนลงไปถึงตัวกระดูกข้างใต้ เวลามีการเคลื่อนไหวจะมีอาการปวด และจะขัดเวลาเริ่มมีการเคลื่อนไหว ข้อกระดูกที่เคยได้รับอุบัติเหตุมาก่อนก็จะเสื่อมเช่นนี้ได้เร็วกว่าปกติ
ข้อกระดูกเสื่อมเป็นโรคที่เมื่อเกิดขึ้นแล้วจะไม่มีทางหายขาด ถือเป็นโรคเรื้อรังที่จะต้องคอยประคับประคอง ไม่ให้มีการเสื่อมมากขึ้นไปอีก ดังนั้นถ้าท่านยังไม่มีภาวะข้อกระดูกเสื่อม ท่านคงจะต้องระมัดระวังและปฏิบัติตนเพื่อชะลอการเสื่อม            โดยหลักของการปฏิบัติตนคงจะไม่พ้นการควบคุมน้ำหนักตัวให้อยู่ใน เกณฑ์ปกติ เพราะน้ำหนักเป็นสาเหตุที่ทำให้ข้อกระดูกเสื่อมได้ เนื่องจากรับแรงมากกว่าปกติ นอกจากนี้ท่านจะต้องทราบว่า ท่าทางต่างๆ ในชีวิตประจำวันท่าใดที่ไม่ควรกระทำเพราะจะทำให้ข้อเข่า ข้อกระดูกสันหลังรับแรงมากเกินไป การบริหารร่างกายเฉพาะส่วนเช่น การบริหารกล้ามเนื้อหลัง จะช่วยชลอข้อสันหลังเสื่อมได้
สำหรับรายละเอียดการดูแลรักษา หรือการตรวจวิเคราะห์เพิ่มเติมเกี่ยวกับข้อกระดูกเสื่อม ท่านสามารถสอบถามได้จากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญโรคกระดูกและข้อ หรือที่เรียกว่าศัลยแพทย์ออร์โธปิดิกส์นะคะ


ข้อเข่าเสื่อม


             ข้อเข่าเสื่อมเป็นโรคข้อกระดูกเสื่อม ที่พบได้บ่อยมาก ในบรรดาข้อกระดูกเสื่อมทั้งหลาย จะเกิดขึ้นในผู้สูงอายุเกือบทุกคนก็ว่าได้ เพราะการใช้งานตั้งแต่คนเราเริ่มต้นตั้งแต่อายุ 1 ขวบ เดิน วิ่ง กระโดดโลดเต้น ล้วนแล้วแต่มีแรงไปกระทำที่ข้อเข่าทั้งสิ้น ซ้ำร้ายบางคนน้ำหนักตัวมากเกินกว่าปกติขึ้นไปอีก ยิ่งทำให้ข้อเข่าเสื่อมได้รวดเร็วกว่าวัยอันสมควรนอกจากนี้ผู้ที่ได้รับอุบัติเหตุบริเวณข้อเข่า เช่น กระดูกบริเวณข้อเข่าหัก หรือเอ็นที่ยึดข้อเข่าขาด แล้วไม่ได้รับการรักษาที่ถูกต้องก็มีส่วนทำให้ข้อเข่าเสื่อมเร็วขึ้นไปอีก
การเปลี่ยนแปลงของข้อเข่าเสื่อมที่เกิดขึ้นคือ ผิวของกระดูกอ่อนหายไป จนทำให้ผิวข้อส่วนนั้นกลายเป็นเนื้อกระดูก ไม่ใช่กระดูกอ่อนที่มาสัมผัสกันเวลาข้อเข่าเคลื่อนไหว ซึ่งทำให้เกิดความเจ็บปวดมาก และบางครั้งทำให้ข้ออักเสบ บวม มีน้ำในข้อเข่า และต้องไปรับการเจาะเอาน้ำออก ข้อเข่าที่เสื่อมนี้เวลางอเข่ามากๆ เช่นนั่งยองๆ นั่งพับเพียบ หรือนั่งขัดสมาธิ ผิวข้อยิ่งเบียดกันมากจะยิ่งมีอาการปวดมากจนบางครั้งผู้ป่วยไม่สามารถงอเข่ามากๆ ได้
ท่านพอที่จะทราบการเปลี่ยนแปลงและอาการของข้อเข่าเสื่อมแล้ว สำหรับท่านที่ยังไม่มีอาการหรือเริ่มมีอาการ ท่านสามารถป้องกันไม่ให้ข้อเข่าเสื่อมเร็วได้ โดยการระมัดระวังในการใช้เข่า ไม่ปล่อยให้มีน้ำหนักตัวมากกว่าที่ควรเป็น การบริหารกล้ามเนื้อต้นขาโดยการเหยียดเข่าตรงแล้วยกขึ้น เพื่อให้กล้ามเนื้อต้นขาแข็งแรง จะช่วยลดแรงที่ลงไปที่กระดูกข้อเข่าได้บ้าง สำหรับท่านที่มีอาการแล้ว ควรลดกิจกรรมลง ถ้าไม่ดีขึ้นควรไปพบแพทย์เพื่อตรวจรักษา ซึ่งส่วนใหญ่เป็นการรักษาด้วยยาลดการอักเสบของข้อ และการอธิบายให้ระวังการใช้ข้อเข่า บางรายอาจจำเป็นต้องได้รับการรักษาทางกายภาพบำบัดร่วมด้วย และถ้าไม่หาย การรักษาอาจจะใช้วิธีส่องกล้องเข้าไปในข้อเข่า เพื่อผ่าตัดทำให้ข้อเข่าเรียบขึ้น หรืออาจใช้การผ่าตัดจัดข้อเข่าให้ตรงขึ้นในรายที่ข้อเข่าโก่ง และบางรายที่ข้อเข่าเสื่อมมากๆ อาจจำเป็นต้องผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียมจึงจะทำให้หายปวดได้

 

 

ปัญหาการใช้ยาในคนสูงอายุ


            ผู้สูงอายุส่วนใหญ่มักจะต้องรับประทานยาไม่มากก็น้อย ยาบางอยางไม่ใช่ยาอันตราย เช่น วิตามิน ยาบำรุงต่างๆ แต่ยาบางอย่างก็เป็นยาอันตราย ซึ่งต้องการความระมัดระวัง ทั้งจำนวนและเวลาที่ควรรับประทาน เนื่องจากการออกฤทธิ์ของยานั้นมีความแตกต่างกันไปแล้วแต่ชนิดของยา แพทย์ผู้ให้การรักษาจะคำนวณแล้วว่า ควรจะให้รับประทานกี่มื้อ ห่างกันทุกกี่ชั่วโมง ดังนั้นการเลื่อนเวลาออกไปเพราะลืม หรือเลื่อนเวลาออกไปเพราะมื้ออาหารไม่แน่นอน หรือด้วยเหตุผลใดๆ ก็ตาม ถ้าเป็นยาที่ต้องการความแน่นอนของระยะเวลา ซึ่งผู้สูงอายุเองหรือลูกหลาน อาจจะต้องทำความเข้าใจ และถามแพทย์ผู้รักษาให้แน่ใจในวิธีการรับประทานที่ถูกต้องและควรปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด จึงจะได้ผลดีต่อตนเอง
สิ่งที่ควรจะกระทำอย่างยิ่งคือการจดรายละเอียด วิธีการรับประทานยาของยาแต่ละชนิดที่แพทย์สั่งไว้ให้ชัดเจน พร้อมกับชื่อยาแต่ละอย่างถ้าท่านทราบ ซึ่งในปัจจุบันโรงพยาบาลเกือบทุกแห่งจะเขียนชื่อยาติดไว้ที่ข้างซองเสมอ การเตรียมยาไว้ให้พร้อมทุกมื้อใน 1 วัน จะช่วยป้องกันไม่ให้ลืมรับประทานยา และจะได้ไม่สับสนว่ารับประทานมื้อนี้แล้วหรือยัง ท่านอาจจะเตรียมใส่ซอง หรือกล่องพลาสติก ซึ่งเดี๋ยวนี้กล่องสำหรับใส่ยาโดยเฉพาะ มีขายตามท้องตลาดทั่วไป จะยังมีความสะดวกมากขึ้น ยาก่อนอาหาร ยาหลังอาหาร หรือยาก่อนนอน เตรียมไว้ให้พร้อมในตอนเช้า แล้วท่านจะไม่ลืมรับประทานยา แต่มีข้อควรระวังในกรณีที่บ้านท่านมีเด็กเล็กๆ ที่กำลังซนอยู่ด้วย ท่านต้องเก็บยาเหล่านี้ให้พ้นมือของหนูน้อยเหล่านี้ด้วย ถ้าท่านเผลอ เด็กเหล่านี้อาจรับประทานยาของท่านเข้าไป ซึ่งยาบางอย่างจะมีอันตรายต่อเด็กอย่างมากด้วย


สมองฝ่อในผู้สูงอายุ


           สมองฝ่อเป็นความผิดปกติของสมอง โดยเฉพาะด้านความจำที่เสื่อมลงไปทีละน้อย มีการเสื่อมของเซลล์สมอง มีจำนวนเซลล์น้อยลง สาเหตุที่แท้จริงยังไม่ทราบ แต่พบได้บ่อยในผู้สูงอายุประมาณ 75 ปีขึ้นไป สภาวะเลือดไปเลี้ยงสมองน้อย ก็เป็นสาเหตุหนึ่งของโรคสมองฝ่อ ในคนสูงอายุที่มีอาการนี้ อาจเกิดจากการอุดตันของเส้นเลือดที่ไปเลี้ยงสมองหลายๆ เส้น เกิดการตายของเซลล์สมองหลายๆ ตำแหน่ง ขนาดไม่ใหญ่ถึงกับทำให้คนสูงอายุนั้นเป็นอัมพาต ไม่มีอาการอะไรรุนแรง นอกจากความจำเสื่อม ผู้ที่ดื่มเครื่องดื่มทีมีแอลกอฮอล์มาก มีส่วนทำให้เกิดโรคสมองฝ่อได้มากกว่าผู้ที่ไม่ดื่ม

                 Link       https://www.scc.ac.th

++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++


 


              

อัพเดทล่าสุด