https://lentera.uin-alauddin.ac.id/question/gratis-terlengkap/https://old-elearning.uad.ac.id/gampang-menang/https://fk.ilearn.unand.ac.id/demo/https://elearning.uika-bogor.ac.id/tanpa-potongan/https://e-learning.iainponorogo.ac.id/thai/https://organisasi.palembang.go.id/userfiles/images/https://lms.binawan.ac.id/terbaik/https://disperkim.purwakartakab.go.id/storage/https://pakbejo.jatengprov.go.id/assets/https://zonalapor.fis.unp.ac.id/-/slot-terbaik/https://sepasi.tubankab.go.id/2024tte/storage/http://ti.lab.gunadarma.ac.id/jobe/runguard/https://satudata.kemenpora.go.id/uploads/terbaru/
วิธีรักษากระดูกสันหลังคด โรคกระดูกสันหลังเสื่อม มะเร็งกระดูกสันหลัง MUSLIMTHAIPOST

 

วิธีรักษากระดูกสันหลังคด โรคกระดูกสันหลังเสื่อม มะเร็งกระดูกสันหลัง


1,158 ผู้ชม


วิธีรักษากระดูกสันหลังคด โรคกระดูกสันหลังเสื่อม มะเร็งกระดูกสันหลัง

             วิธีรักษากระดูกสันหลังคด


 

     

โรคกระดูกสันหลังคด

       กระดูก สันหลังมีหน้าที่รับน้ำหนักและช่วยพยุงร่างกายให้ สามารถตั้งตรงได้ ในคนปกติหากมองจากด้านหลังจะเห็นกระดูกสันหลังเป็นแนว เส้นตรง แต่ในคนที่เป็นโรคกระดูกสันหลังคด เมื่อมองจากด้านหลังจะเห็นแนวกระดูกโค้งไปทางซ้ายหรือขวา ไม่เป็นเส้นตรงเหมือนคนปกติ โรคกระดูกสันหลังคดพบประมาณ 2-3 % ของประชากร พบได้เท่ากันในผู้ชายและผู้หญิง แต่ผู้หญิงมักจะมีการคดงอของกระดูกมากกว่าผู้ชาย โรคกระดูกสันหลังคดเกิด ได้ในทุกอายุ พบได้ตั้งแต่เด็กเกิดจนถึงวัยผู้ใหญ่ แต่ส่วนมากมักเกิดในช่วงที่มีการเจริญเติบโตของกระดูกอย่างรวดเร็ว คืออายุประมาณ 10-15 ปี

สาเหตุการเกิดโรคกระดูกสันหลังคด

      กระดูกสันหลังคด เกิดจากหลายสาเหตุร่วมกันค่ะ เช่น พันธุกรรม การบาดเจ็บที่กระดูกสันหลัง สิ่งแวดล้อม เนื้องอก ซึ่งแบ่งประเภทของกระดูกสันหลังคดได้เป็น 3 ประเภท คือ
1. กระดูกสันหลังผิดรูปตั้งแต่แรกเกิด ในกรณีนี้เป็นสาเหตุที่เกิดจากเด็ก มีการสร้างกระดูกสันหลังผิดปกติตั้งแต่อยู่ในท้องคุณแม่ เช่น กระดูกสันหลังมีการเชื่อมติดกันผิดรูป หรือกระดูกสันหลังแหว่ง เป็นต้น
2. มีโรคทางระบบประสาทหรือระบบกล้ามเนื้อผิดปกติ ซึ่งทำให้กล้ามเนื้อหลังไม่สมดุล กระดูกสันหลังมีโอกาสเอียงไปมาซ้ายหรือขวาได้
3. กระดูกสันหลังเจริญผิดปกติในภายหลัง ซึ่งเป็นกรณีที่เด็กเกิดมาใหม่ๆ กระดูกสันหลังไม่ผิดปกติ แต่ต่อมาจะค่อย ๆ เพิ่มความองศาความเอียงขึ้นเรื่อย ๆ ทั้งนี้ เพราะกระดูกสันหลังเจริญเติบโตไม่เท่ากัน เช่น เบี้ยวไปข้างใดข้างหนึ่ง

      ทั้ง 3 ปัจจัยที่กล่าวมาข้างต้น ปัจจัยที่ 3 เป็นสาเหตุของโรคกระดูกสันหลังคดที่พบมากที่สุดค่ะ โดยเฉพาะในช่วงเริ่มเข้าวัยรุ่นหรืออายุประมาณ 10-12 ปี และส่วนใหญ่จะเกิดในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย

แนวทางการรักษาโรคกระดูกสันหลังคด

      การรักษาโรคกระดูกสันหลังคดขึ้นกับมุมการคด  การเปลี่ยนแปลงของมุม  และอายุของผู้ป่วย

  • มุมการคดน้อยกว่า 25 องศา :  ยังไม่จำเป็นต้องได้รับการรักษาใดๆ  ให้ติดตามการเปลี่ยนแปลงของมุม ทุก 4-6 เดือน
  • มุมการคดมากกว่า 25 องศา : รักษาโดยการใส่เสื้อเกราะ(Brace)  เสื้อเกราะเป็นอุปกรณ์ค้ำจุน เพิ่มความแข็งแรง  ช่วยป้องกันหรือชะลอไม่ให้มุมการคดมีการเปลี่ยนแปลงไปมากกว่าเดิม
  • มุมการคดมากกว่า 45 องศา : อาจต้องรักษาโดยการผ่าตัดเพื่อจัดแนวกระดูกสันหลังใหม่  การผ่าตัดนี้ใช้หลักการเดียวกับการรักษากระดูกหักคือการใช้โลหะช่วยดาม กระดูกสันหลังให้ตรง
การใส่ Brace หรืออุปกรณ์คัดลำตัว

      ถ้า กระดูกสันหลังคดน้อยกว่า 40 องศา ขั้นต้นอาจทำการรักษาด้วยการใส่ Brace หรือเรียกว่าอุปกรณ์คัดลำตัว เพื่อช่วยยันไม่ให้กระดูกคดเพิ่มขึ้น แต่ว่าการใส่ Brace ไม่ทำให้กระดูกสันหลังที่คดสามารถ ตรงขึ้นมาได้ เพียงแต่ไม่ทำให้คดมากกว่าเดิมค่ะ ซึ่งวิธีนี้จะช่วยประคองกระดูกสันหลังไว้จนกระทั่งกระดูกโตเต็มที่ และจะไม่คดต่อไปอีก โดยไม่ต้องรักษาด้วยการผ่าตัด

      แต่ การใส่ Brace จะต้องใส่ตลอดเวลา หากผู้ป่วยไม่ได้ใส่ตลอดเวลาแล้วมีผลให้กระดูกสันหลังบิดตัวไปเยอะ ทำให้องศาความคดเพิ่มขึ้น อาจต้องรักษาด้วยการผ่าตัดในที่สุด
การ ผ่าตัด

      การ รักษาด้วยการผ่าตัดคือ การผ่าตัดกระดูกที่คดให้ตรงขึ้นด้วยการตามเหล็ก เพื่อคงความตรงไว้อย่างนั้น ซึ่งเป็นวิธีที่ใช้กับอาการกระดูกสันหลังคดที่รุนแรงเท่า นั้นค่ะ เช่น ถ้าไม่ทันได้สังเกตแล้วปล่อยให้คดมากกว่า 40 องศาหรืออาจถึง 90 องศา ถือว่าคดในระดับอันตราย หรือรักษาด้วยการใส่ Brace แล้วไม่ได้ผลที่สำคัญ การผ่าตัดนั้นมีทั้งข้อดีและข้อเสีย จะต้องพิจารราร่วมกับคุณหมอ หากต้องรักษาด้วยวิธีนี้

      ข้อดี : สามารถทำให้หลังที่คดตรงได้ถาวร โดยต้องพักฟื้นจนกว่ากระดูกเชื่อมติดกันใช้เวลาประมาณ 3-6 เดือน ซึ่งถ้าคนไข้ไม่มีปัญหากับการตามโลหะในภายหลัง เช่น เหล็กไปกดทับเนื้อทำให้เจ็บ ก็สามารถใส่โลหะนั้นไว้ตลอดชีวิตโดยไม่ต้องผ่าออก

      ข้อเสีย : การผ่าตัด ลักษณะนี้จะมีค่าใช้จ่ายสูงมาก ค่าการผ่าตัดต่อครั้งต้องใช้เงินประมาณ 2-3 แสนบาทขึ้นไป วิธีการผ่าตัดจะใกล้ไขสันหลังและเส้นประสาท อาจเสี่ยงต่อการที่ไขสันหลัง และเส้นประสาทถูกยืดหรือถูกกดทับทำให้เส้นประสาทไม่ทำงาน ซึ่งเรื่องนี้คุณหมอจะระวังเป็นพิเศษ ทั้งขณะผ่าตัดและหลังการผ่าตัดเสร็จสิ้น

 

รายชื่อแพทย์ศัลยกรรมกระดูกสันหลัง

วิธีรักษากระดูกสันหลังคด โรคกระดูกสันหลังเสื่อม มะเร็งกระดูกสันหลัง นพ.พรเอนก ตาดทองวิธีรักษากระดูกสันหลังคด โรคกระดูกสันหลังเสื่อม มะเร็งกระดูกสันหลัง นพ.ธงชัย ธีระจรรยาภรณ์
 วิธีรักษากระดูกสันหลังคด โรคกระดูกสันหลังเสื่อม มะเร็งกระดูกสันหลัง นพ.วิเชียร เลาหเจริญสมบัต  วิธีรักษากระดูกสันหลังคด โรคกระดูกสันหลังเสื่อม มะเร็งกระดูกสันหลัง นพ.ชัยวัฒน์ ไกรวัฒนพงศ์
วิธีรักษากระดูกสันหลังคด โรคกระดูกสันหลังเสื่อม มะเร็งกระดูกสันหลัง นพ.หาญพงศ์ ฟักทองพรรณ์ วิธีรักษากระดูกสันหลังคด โรคกระดูกสันหลังเสื่อม มะเร็งกระดูกสันหลัง นพ.ธเนศ วัฒนะวงษ
วิธีรักษากระดูกสันหลังคด โรคกระดูกสันหลังเสื่อม มะเร็งกระดูกสันหลังนพ.ศักรินทร์ วงศ์เลิศศิริ             วิธีรักษากระดูกสันหลังคด โรคกระดูกสันหลังเสื่อม มะเร็งกระดูกสันหลัง นพ.กันต์ แก้วโรจน์
 

  Thailand Consumers Choice,

   
วิธีรักษากระดูกสันหลังคด โรคกระดูกสันหลังเสื่อม มะเร็งกระดูกสันหลัง

Thailand Consumers Choice แบรนด์ที่อยู่ในใจมวลชน Consumers Choice หรือ CC เป็นเสมือนตัวชี้วัดความสำเร็จ ของแบรนด์ต่างๆ โดยดูจาก ความเชื่อมั่นของผู้บริโภค ในตัวสินค้าและบริการ เฉพาะสาขานั้นๆ โดยมีพื้นฐานมาจากการเก็บข้อมูล
วิจัยขององค์กรอิสระซึ่งอยู่ภายใต้ การจัดการของบริษัท Asian Integrated Media จำกัด ปัจจุบัน Consumers Choice ได้รับการยอมรับอย่างแพร่หลาย ในเอเชียแปซิฟิกและยุโรป และเมื่อเร็วๆ นี้
   โรงพยาบาลเวชธานี ได้รับการ ยืนยันจาก Consumers Choice ถึงการยอมรับของผู้บริโภค แล้วว่า เป็นแบรนด์ที่แข็งแกร่งในตลาด สาขาสถานพยาบาล ซึ่งประชาชน ให้ความไว้วางใจ และเชื่อมั่นใน คุณภาพการให้บริการ

                     
วิธีรักษากระดูกสันหลังคด โรคกระดูกสันหลังเสื่อม มะเร็งกระดูกสันหลัง

 


           Link    https://www.vejthani.com

+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++


                 โรคกระดูกสันหลังเสื่อม

กระดูกสันหลังเสื่อม


         กระดูกสันหลังเสื่อมเป็นโรคที่พบได้บ่อย เหมือนกับบรรดาข้อกระดูกเสื่อมทั้งหลาย เช่น ข้อเข่าเสื่อม ข้อสะโพกเสื่อม
ก่อนอื่นขออธิบายถึงลักษณะของข้อกระดูกสันหลังก่อนว่า กระดูกสันหลังมี 3 ระดับ ระดับคอมีกระดูกสันหลัง 7 ชิ้น ระดับกลางหลัง 12 ชิ้น ระดับบั้นเอวมี 5 ชิ้น กระดูกสันหลังแต่ละอันมาเรียงต่อกันเป็นปล้องๆ โดยด้านหน้ามีหมอนรองกระดูกกั้นอยู่ ส่วนด้านหลังเป็นข้อต่อเล็กๆ 2 ข้าง ทำให้ข้อกระดูกสันหลังมีการเคลื่อนไหวได้ เช่นการก้ม การเงย ของคอ การก้มหลังและแอ่นหลัง เป็นต้น
ข้อกระดูกสันหลังเสื่อมที่พบได้บ่อย ได้แก่ ข้อกระดูกสันหลังระดับบั้นเอว และระดับคอ สำหรับการเสื่อมของกระดูกสันหลัง จะมีความแตกต่างกว่าข้อเข่าและข้อสะโพกคือ การเสื่อมส่วนใหญ่จะเริ่มเกิดขึ้นที่หมอนรองกระดูกซึ่งเป็นตัวกั้นระหว่าง กระดูกสันหลังแต่ละปล้อง หมอนรองกระดูกสันหลังมีลักษณะคล้ายเยลลี่ที่มีความยืดหยุ่น ทำหน้าที่เหมือนโช็คอัพ กระดูกสันหลังระดับบั้นเอวและระดับคอมีการใช้งานมากกว่าระดับอื่น จึงเสื่อมง่ายกว่า หมอนรองกระดูกบางส่วนอาจจะมีการเคลื่อนที่ไปกดทับเส้นประสาท ทำให้มีอาการปวดร้าวไปตามแขนหรือขาที่เส้นประสาทนั้นๆ ไปเลี้ยงก็ได้ ในกรณีที่หมอนรองกระดูกเสื่อม แต่ไม่ไปกดเส้นประสาท จะมีผลทำให้ข้อกระดูกสันหลังที่อยู่ด้านหลังมีการเปลี่ยนแปลง โดยมีการอักเสบหรือขรุขระหรืออาจมีกระดูกงอก ทำให้เกิดมีอาการเจ็บปวดขึ้นบริเวณหลังและปวดร้าวลงมาบริเวณกระเบนเหน็บ หรือสะโพกทั้ง 2 ข้างได้ คนอ้วน คนที่ใช้หลังไม่ถูกต้อง เช่น ก้มๆ เงยๆ ยกของหนัก มีโอกาสข้อกระดูกสันหลังเสื่อมได้เร็วกว่าคนอื่น
สำหรับการรักษาส่วนใหญ่คือการนอนพัก การรับประทานยาแก้อักเสบของกระดูกและข้อ การระมัดระวังไม่ใช้หลังอย่างผิดๆ ถ้าไม่ดีขึ้นอาจต้องทำกายภาพบำบัด เนื่องจากโรคนี้จะมีโอกาสเป็นเรื้อรังในระยะยาวควรที่จะลดน้ำหนัก และบริหารกล้ามเนื้อหน้าท้องและหลังให้แข็งแรง การรักษาด้วยวิธีอื่นๆ เช่นการฉีดยา และการผ่าตัด ขึ้นอยู่ในวิจารณญาณของแพทย์ผู้รักษา

ข้อกระดูกเสื่อม


          ข้อกระดูกเสื่อมเป็นโรคที่พบบ่อยสุดในบรรดาโรคที่เกี่ยวกับข้ออักเสบ ข้อกระดูกเสื่อมมีสาเหตุมาจากการใช้งานข้อนั้นๆ มาเป็นเวลานาน เกิดการเปลี่ยนแปลงของผิวข้อกระดูก ซึ่งมักจะสัมพันธ์กับการย่างเข้าสู่วัยสูงอายุ
การเปลี่ยนแปลงของข้อกระดูกเสื่อม จะเกิดขึ้นกับกระดูกอ่อนของปลายกระดูกที่มาประกอบกันเป็นข้อ ขอยกตัวอย่างให้เห็นภาพได้ชัดเจนว่า กระดูกอ่อนคือส่วนปลายกระดูก สีขาวมัน เหมือนเช่น เวลาเรารับประทานขาไก่ เราจะเห็นกระดูกอ่อนที่เป็นส่วนปลาย สีขาวมัน ผิวมีลักษณะเรียบ ซึ่งลักษณะแบบนี้ก็เหมือนกระดูกอ่อนในคนอายุไม่มาก เวลาข้อกระดูกเสื่อม ผิวที่เรียบนี้จะขรุขระ เพราะมีการทำลายกระดูกอ่อน จนลงไปถึงตัวกระดูกข้างใต้ เวลามีการเคลื่อนไหวจะมีอาการปวด และจะขัดเวลาเริ่มมีการเคลื่อนไหว ข้อกระดูกที่เคยได้รับอุบัติเหตุมาก่อนก็จะเสื่อมเช่นนี้ได้เร็วกว่าปกติ
ข้อกระดูกเสื่อมเป็นโรคที่เมื่อเกิดขึ้นแล้วจะไม่มีทางหายขาด ถือเป็นโรคเรื้อรังที่จะต้องคอยประคับประคอง ไม่ให้มีการเสื่อมมากขึ้นไปอีก ดังนั้นถ้าท่านยังไม่มีภาวะข้อกระดูกเสื่อม ท่านคงจะต้องระมัดระวังและปฏิบัติตนเพื่อชะลอการเสื่อม            โดยหลักของการปฏิบัติตนคงจะไม่พ้นการควบคุมน้ำหนักตัวให้อยู่ใน เกณฑ์ปกติ เพราะน้ำหนักเป็นสาเหตุที่ทำให้ข้อกระดูกเสื่อมได้ เนื่องจากรับแรงมากกว่าปกติ นอกจากนี้ท่านจะต้องทราบว่า ท่าทางต่างๆ ในชีวิตประจำวันท่าใดที่ไม่ควรกระทำเพราะจะทำให้ข้อเข่า ข้อกระดูกสันหลังรับแรงมากเกินไป การบริหารร่างกายเฉพาะส่วนเช่น การบริหารกล้ามเนื้อหลัง จะช่วยชลอข้อสันหลังเสื่อมได้
สำหรับรายละเอียดการดูแลรักษา หรือการตรวจวิเคราะห์เพิ่มเติมเกี่ยวกับข้อกระดูกเสื่อม ท่านสามารถสอบถามได้จากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญโรคกระดูกและข้อ หรือที่เรียกว่าศัลยแพทย์ออร์โธปิดิกส์นะคะ


ข้อเข่าเสื่อม


             ข้อเข่าเสื่อมเป็นโรคข้อกระดูกเสื่อม ที่พบได้บ่อยมาก ในบรรดาข้อกระดูกเสื่อมทั้งหลาย จะเกิดขึ้นในผู้สูงอายุเกือบทุกคนก็ว่าได้ เพราะการใช้งานตั้งแต่คนเราเริ่มต้นตั้งแต่อายุ 1 ขวบ เดิน วิ่ง กระโดดโลดเต้น ล้วนแล้วแต่มีแรงไปกระทำที่ข้อเข่าทั้งสิ้น ซ้ำร้ายบางคนน้ำหนักตัวมากเกินกว่าปกติขึ้นไปอีก ยิ่งทำให้ข้อเข่าเสื่อมได้รวดเร็วกว่าวัยอันสมควรนอกจากนี้ผู้ที่ได้รับอุบัติเหตุบริเวณข้อเข่า เช่น กระดูกบริเวณข้อเข่าหัก หรือเอ็นที่ยึดข้อเข่าขาด แล้วไม่ได้รับการรักษาที่ถูกต้องก็มีส่วนทำให้ข้อเข่าเสื่อมเร็วขึ้นไปอีก
การเปลี่ยนแปลงของข้อเข่าเสื่อมที่เกิดขึ้นคือ ผิวของกระดูกอ่อนหายไป จนทำให้ผิวข้อส่วนนั้นกลายเป็นเนื้อกระดูก ไม่ใช่กระดูกอ่อนที่มาสัมผัสกันเวลาข้อเข่าเคลื่อนไหว ซึ่งทำให้เกิดความเจ็บปวดมาก และบางครั้งทำให้ข้ออักเสบ บวม มีน้ำในข้อเข่า และต้องไปรับการเจาะเอาน้ำออก ข้อเข่าที่เสื่อมนี้เวลางอเข่ามากๆ เช่นนั่งยองๆ นั่งพับเพียบ หรือนั่งขัดสมาธิ ผิวข้อยิ่งเบียดกันมากจะยิ่งมีอาการปวดมากจนบางครั้งผู้ป่วยไม่สามารถงอเข่ามากๆ ได้
ท่านพอที่จะทราบการเปลี่ยนแปลงและอาการของข้อเข่าเสื่อมแล้ว สำหรับท่านที่ยังไม่มีอาการหรือเริ่มมีอาการ ท่านสามารถป้องกันไม่ให้ข้อเข่าเสื่อมเร็วได้ โดยการระมัดระวังในการใช้เข่า ไม่ปล่อยให้มีน้ำหนักตัวมากกว่าที่ควรเป็น การบริหารกล้ามเนื้อต้นขาโดยการเหยียดเข่าตรงแล้วยกขึ้น เพื่อให้กล้ามเนื้อต้นขาแข็งแรง จะช่วยลดแรงที่ลงไปที่กระดูกข้อเข่าได้บ้าง สำหรับท่านที่มีอาการแล้ว ควรลดกิจกรรมลง ถ้าไม่ดีขึ้นควรไปพบแพทย์เพื่อตรวจรักษา ซึ่งส่วนใหญ่เป็นการรักษาด้วยยาลดการอักเสบของข้อ และการอธิบายให้ระวังการใช้ข้อเข่า บางรายอาจจำเป็นต้องได้รับการรักษาทางกายภาพบำบัดร่วมด้วย และถ้าไม่หาย การรักษาอาจจะใช้วิธีส่องกล้องเข้าไปในข้อเข่า เพื่อผ่าตัดทำให้ข้อเข่าเรียบขึ้น หรืออาจใช้การผ่าตัดจัดข้อเข่าให้ตรงขึ้นในรายที่ข้อเข่าโก่ง และบางรายที่ข้อเข่าเสื่อมมากๆ อาจจำเป็นต้องผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียมจึงจะทำให้หายปวดได้

 

 

ปัญหาการใช้ยาในคนสูงอายุ


            ผู้สูงอายุส่วนใหญ่มักจะต้องรับประทานยาไม่มากก็น้อย ยาบางอยางไม่ใช่ยาอันตราย เช่น วิตามิน ยาบำรุงต่างๆ แต่ยาบางอย่างก็เป็นยาอันตราย ซึ่งต้องการความระมัดระวัง ทั้งจำนวนและเวลาที่ควรรับประทาน เนื่องจากการออกฤทธิ์ของยานั้นมีความแตกต่างกันไปแล้วแต่ชนิดของยา แพทย์ผู้ให้การรักษาจะคำนวณแล้วว่า ควรจะให้รับประทานกี่มื้อ ห่างกันทุกกี่ชั่วโมง ดังนั้นการเลื่อนเวลาออกไปเพราะลืม หรือเลื่อนเวลาออกไปเพราะมื้ออาหารไม่แน่นอน หรือด้วยเหตุผลใดๆ ก็ตาม ถ้าเป็นยาที่ต้องการความแน่นอนของระยะเวลา ซึ่งผู้สูงอายุเองหรือลูกหลาน อาจจะต้องทำความเข้าใจ และถามแพทย์ผู้รักษาให้แน่ใจในวิธีการรับประทานที่ถูกต้องและควรปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด จึงจะได้ผลดีต่อตนเอง
สิ่งที่ควรจะกระทำอย่างยิ่งคือการจดรายละเอียด วิธีการรับประทานยาของยาแต่ละชนิดที่แพทย์สั่งไว้ให้ชัดเจน พร้อมกับชื่อยาแต่ละอย่างถ้าท่านทราบ ซึ่งในปัจจุบันโรงพยาบาลเกือบทุกแห่งจะเขียนชื่อยาติดไว้ที่ข้างซองเสมอ การเตรียมยาไว้ให้พร้อมทุกมื้อใน 1 วัน จะช่วยป้องกันไม่ให้ลืมรับประทานยา และจะได้ไม่สับสนว่ารับประทานมื้อนี้แล้วหรือยัง ท่านอาจจะเตรียมใส่ซอง หรือกล่องพลาสติก ซึ่งเดี๋ยวนี้กล่องสำหรับใส่ยาโดยเฉพาะ มีขายตามท้องตลาดทั่วไป จะยังมีความสะดวกมากขึ้น ยาก่อนอาหาร ยาหลังอาหาร หรือยาก่อนนอน เตรียมไว้ให้พร้อมในตอนเช้า แล้วท่านจะไม่ลืมรับประทานยา แต่มีข้อควรระวังในกรณีที่บ้านท่านมีเด็กเล็กๆ ที่กำลังซนอยู่ด้วย ท่านต้องเก็บยาเหล่านี้ให้พ้นมือของหนูน้อยเหล่านี้ด้วย ถ้าท่านเผลอ เด็กเหล่านี้อาจรับประทานยาของท่านเข้าไป ซึ่งยาบางอย่างจะมีอันตรายต่อเด็กอย่างมากด้วย


สมองฝ่อในผู้สูงอายุ


           สมองฝ่อเป็นความผิดปกติของสมอง โดยเฉพาะด้านความจำที่เสื่อมลงไปทีละน้อย มีการเสื่อมของเซลล์สมอง มีจำนวนเซลล์น้อยลง สาเหตุที่แท้จริงยังไม่ทราบ แต่พบได้บ่อยในผู้สูงอายุประมาณ 75 ปีขึ้นไป สภาวะเลือดไปเลี้ยงสมองน้อย ก็เป็นสาเหตุหนึ่งของโรคสมองฝ่อ ในคนสูงอายุที่มีอาการนี้ อาจเกิดจากการอุดตันของเส้นเลือดที่ไปเลี้ยงสมองหลายๆ เส้น เกิดการตายของเซลล์สมองหลายๆ ตำแหน่ง ขนาดไม่ใหญ่ถึงกับทำให้คนสูงอายุนั้นเป็นอัมพาต ไม่มีอาการอะไรรุนแรง นอกจากความจำเสื่อม ผู้ที่ดื่มเครื่องดื่มทีมีแอลกอฮอล์มาก มีส่วนทำให้เกิดโรคสมองฝ่อได้มากกว่าผู้ที่ไม่ดื่ม
สำหรับอาการของโรคสมองฝ่อ จะเริ่มต้นจากการลืมเหตุการณ์ที่เพิ่งจะเกิดขึ้น ต่อมาจะเกี่ยวข้องกับสมองในด้านการรับรู้ การเข้าใจและการมีเหตุผล ขาดความสนใจในเหตุการณ์หรือกิจกรรมรอบๆ ตัวเอง และถ้าเป็นมากขึ้น บุคลิกภาพของผู้สูงอายุนั้นจะเสียไป บางรายมีอาการเกร็งของกล้ามเนื้อแขนและขา ทำให้เคลื่อนไหวลำบาก
สำหรับการรักษาโรคสมองฝ่อนั้น จะเห็นได้ว่าสาเหตุบางอย่างสามารถแก้ไขได้ เช่น สภาวะเลือดไปเลี้ยงสมองลดน้อยลงในระยะเริ่มต้น และได้รับการรักษาทันท่วงที ก็อาจป้องกันการเกิดโรคสมองฝ่อได้ หรือการรับประทานยาบางอย่าง เช่น ยานอนหลับ ยาแก้ปวด ก็อาจมีส่วนทำให้มีอาการโรคสมองฝ่อได้ ส่วนโรคสมองฝ่อที่เกิดขึ้นแล้วไม่ทราบสาเหตุ การรักษาคงเป็นการรักษาตามอาการ

   Link   https://www.scc.ac.th

++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++


 

            มะเร็งกระดูกสันหลัง

มะเร็งกระดูก

มะเร็งที่แพร่กระจายไปที่กระดูก

มะเร็งที่แพร่กระจายไปที่กระดูกคืออะไร

การแพร่กระจายของมะเร็ง คือการที่มะเร็งแพร่กระจายไปยังส่วนอื่นของร่างกายนอกเหนือ

จากตำแหน่งที่เริ่มต้นเป็นมะเร็ง โดยเซลล์มะเร็งจะกระจายทางเลือดไปยังระบบน้ำเหลืองและไป

ยังอวัยวะต่างๆ มะเร็งแต่ละชนิดจะมีตำแหน่งที่มักแพร่กระจายไปต่างกัน แต่ตำแหน่งที่พบการ

แพร่กระจายได้บ่อยไม่ว่าจะเป็นมะเร็งชนิดใดก็ตามได้แก่ กระดูก ตับและปอด

การเรียกชื่อมะเร็งที่กระจายออกไปเรามักเรียกตามตำแหน่งต้นกำเนิด เช่น มะเร็งต่อม-

ลูกหมากที่กระจายไปยังกระดูก เราจะเรียกว่าเป็นมะเร็งต่อมลูกหมากที่มีการกระจายไปยังกระดูก

ไม่เรียกว่าเป็นมะเร็งกระดูก ในบางกรณีที่ตรวจพบมะเร็งที่กระจายไปยังส่วนอื่นของร่างกาย แต่

ตรวจไม่พบตำแหน่งต้นกำเนิดมะเร็ง เราจะเรียกว่ามะเร็งที่ไม่ทราบต้นกำเนิด ซึ่งจะกล่าวต่อไป

ภายหลัง และในบางครั้งผู้ป่วยยังไม่การแพร่กระจายของมะเร็ง เมื่อตอนที่ตรวจพบมะเร็งใน

ตำแหน่งเริ่มต้น หรือแม้กระทั่งมาพบภายหลังจากการรักษาหรือภายหลังจากที่หายไประยะหนึ่ง

ซึ่งการกระจายในลักษณะนี้คาดว่าเกิดจากการที่มีเซลล์มะเร็งที่เดินทางออกนอกตำแหน่งเริ่มต้น

ก่อนที่การรักษาจะเสร็จสิ้น นอกจากนี้มะเร็งที่กลับมาเป็นอีกหลังจากที่รักษาและเคยหายแล้ว

เรียกว่า มะเร็งที่กลับเป็นซ้ำ (หรือมะเร็งกำเริบ)

มะเร็งที่เกิดขึ้นที่กระดูกเป็นตำแหน่งเริ่มต้นเราเรียกว่า มะเร็งกระดูกชนิดปฐมภูมิ

(primary bone cancer) ซึ่งมีความแตกต่างอย่างมากกับมะเร็งกระดูกที่เกิดจากการแพร่

กระจายมาจากที่อื่น มะเร็งที่แพร่กระจายมายังกระดูกเป็นสาเหตุที่พบได้บ่อยในผู้ป่วยมะเร็งที่

มีอาการปวด เมื่อมะเร็งแพร่กระจายมาที่กระดูกทำให้กระดูกอ่อนลงและสามารถหักได้ ทั้งนี้

เนื่องจากเซลล์มะเร็งทำลายกระดูก เกิดการสลายแคลเซียมเข้าสู่กระแสเลือด ทำให้เกิดปัญหา

แคลเซียม ในเลือดสูงตามมา

มะเร็งกระดูกที่เกิดจากการแพร่กระจายมักมีตำแหน่งเริ่มต้นจากมะเร็งเต้านม มะเร็ง

ปอด และมะเร็งต่อมลูกหมาก เซลล์มะเร็งสามารถแพร่กระจายไปยังกระดูกทุกชิ้นในร่างกาย

แต่ที่พบบ่อยที่สุดคือ กระดูกสันหลัง รองลงมาคือ กระดูกสะโพก กระดูกขาท่อนบน กระดูกแขน

ท่อนบน กระดูกซี่โครง และกะโหลกศีรษะ

ปัจจัยเสี่ยงในการเกิดการแพร่กระจายของมะเร็งไปที่กระดูก

ปัจจัยเสี่ยงในการเกิดการแพร่กระจายของมะเร็งไปที่กระดูกก็คือปัจจัยเสี่ยงใดๆก็ตามที่

ก่อให้เกิดมะเร็ง ซึ่งมะเร็งแต่ละชนิดก็จะมีปัจจัยเสี่ยงที่จำเพาะต่างกันออกไป เช่น การสูบบุหรี่

ทำให้เกิดมะเร็งปอดเป็นต้น

ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดมะเร็ง

- การสูบบุหรี่

- การรับประทานอาหารที่ไม่ดีต่อสุขภาพ

- การขาดการออกกำลัง

- ภาวะอ้วน

- การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์

ปัจจัยเสี่ยงข้างต้นพบว่ามีส่วนในการก่อให้เกิดมะเร็งถึง 2/3 ของผู้ป่วยมะเร็ง ในขณะที่

ปัจจัยทางพันธุกรรมมีผลเพียง 5-10% และพบว่า 6% ตายจากกการสัมผัสต่อสารก่อมะเร็งจาก

ที่ทำงานหรือมลภาวะทางสิ่งแวดล้อม

ปัจจัยเสี่ยงในการเกิดการแพร่กระจายของมะเร็งไปที่กระดูก

ปัจจุบันยังไม่ทราบปัจจัยเสี่ยงที่แน่นอน แต่พบว่าผู้ป่วยสองคนที่เป็นมะเร็งชนิดเดียวกัน

ผู้ป่วยคนที่มีเนื้องอกมะเร็งที่ใหญ่กว่าและมีการกระจายไปยังต่อมน้ำเหลืองมีโอกาสเสี่ยงต่อการ

แพร่กระจายไปยังกระดูกมากกว่า หรือสำหรับมะเร็งบางชนิด มะเร็งที่ มีระดับความรุนแรง

(high grade) มีความเสี่ยงต่อการแพร่กระจายไปยังกระดูกมากกว่า

สาเหตุที่ทำให้เกิดการแพร่กระจายไปที่กระดูก

ขั้นตอนการแพร่กระจายของเซลล์มะเร็ง

1. เซลล์มะเร็งแต่ละเซลล์มีความผิดปกติมากน้อยต่างกันเซลล์ที่มีความผิดปกติมากมี

แนวโน้มที่จะเจริญ เติบโตรวดเร็วกว่าเซลล์ที่มีความผิดปกติน้อย และยังมีแนวโน้มที่จะแพร่

กระจายมากกว่า

2. ก้อนเนื้องอกสามารถสร้างหลอดเลือดเพื่อนำเลือดมาเลี้ยงตัวมันเองได้ เรียกกระบวน

การนี้ว่า แองจิโอเจเนซิส (Angiogenesis) ส่งผลทำให้ก้อนเนื้องอกสามารถโตอย่างรวดเร็ว

3. เซลล์มะเร็งที่เจริญเติบโตอย่างรวดเร็วสามารถที่จะเดินทางผ่านเนื้อเยื่อ ผนังหลอด

เลือดและผนังท่อน้ำเหลืองไปยังเนื้อเยื่ออื่นๆ ได้

4. เซลล์มะเร็งส่วนใหญ่ที่เดินทางเข้ากระแสเลือดจะถูกระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายทำลาย

แต่เฉพาะเซลล์มะเร็งที่มีความเป็นมะเร็งสูงเท่านั้นสามารถอยู่รอดได้

5. เมื่อเซลล์มะเร็งมาถึงเนื้อเยื่อในตำแหน่งใหม่ มันสามารถเกาะยึดกับอวัยวะหรือต่อม

น้ำเหลืองนั้นๆ และสร้างเนื้องอกก้อนใหม่

6. เนื้องอกก้อนใหม่นี้จะสร้างหลอดเลือดของตนเองเพื่อนำสารอาหารและออกซิเจน

ไปเลี้ยง

ทำไมมะเร็งบางชนิดมีการกระจายมาที่กระดูก

เนื่องจากเซลล์มะเร็งแต่ละชนิดมีความสามารถในการเกาะยึดกับเนื้อเยื่อที่แตกต่างกัน

มะเร็งที่มักเกิดการกระจายมาที่กระดูกมีความสามารถในการกับเซลล์กระดูกได้ดี นอกจากนี้

เซลล์กระดูกยังมีการสร้างสารที่ทำให้มะเร็งสามารถเจริญได้ดี

จะเกิดอะไรขึ้นเมื่อเซลล์มะเร็งเจริญเติบโตในกระดูก

เซลล์มะเร็งจะสร้างสารทำลายกระดูกทำให้กระดูกสลาย อ่อนแอและหักง่าย เมื่อกระดูกถูก

สลายก็จะทำให้แคลเซียมถูกปล่อยเข้าสู่กระแสเลือด ซึ่งก่อให้เกิดภาวะ แคลเซียมในเลือดสูงซึ่ง

อาจทำให้ผู้ป่วยหมดสติหรือชักได้ นอกจากนี้ในบางกรณีพบว่าเซลล์มะเร็งสามารถทำให้กระดูก

หนาขึ้นผิดปกติ (Osteoblastic) ซึ่งพบได้น้อยกว่าแบบที่สลายกระดูก (Osteolytic) อย่างไรก็

ตามทั้งสองแบบสามารถทำให้เกิดอาการปวดกระดูกได้ทั้งคู่

การป้องการแพร่กระจายของมะเร็งไปที่กระดูก

การป้องกันมีวิธีเดียวคือการตรวจพบมะเร็งตั้งแต่เริ่มต้นก่อนที่จะแพร่กระจายและรักษา

ด้วยการผ่าตัด เคมีบำบัด หรือรังสีรักษา ปัจจุบันแนะนำให้ ตรวจคัดกรอง มะเร็งเต้านม มะเร็ง

ลำไส้ และมะเร็งปากมดลูก

การวินิจฉัยมะเร็งที่กระจายไปที่กระดูก

อาการและอาการแสดง

- ปวดกระดูก ส่วนมากจะเป็นอาการแรกที่พบ การปวดช่วงแรกมักเป็นๆ หายๆ ปวดมาก

ตอนกลางคืน ถ้ามีการเคลื่อนไหวจะดีขึ้น หลังจากนั้นอาการปวดจะเป็นบ่อยมากขึ้นและอาจแย่

ลงถ้ามีการเคลื่อนไหวร่างกาย ผู้ป่วยควรบอกเล่าอาการให้แพทย์ได้ทราบ เพื่อประโยชน์ในการ

วินิจฉัยโรค

- กระดูกหัก สามารถเกิดจากการหกล้ม อุบัติเหตุ หรือแม้กระทั่งขณะกำลังทำกิจวัตร

ประจำวันตามปกติ กระดูกหักจะมีอาการปวดอย่างรุนแรงขึ้นมากะทันหัน ไม่สามารถเคลื่อนไหว

ส่วนที่หักได้ ตำแหน่งที่พบได้บ่อย เช่น กระดูกขา กระดูกแขน และกระดูกสันหลัง

- การกดทับไขสันหลัง ผู้ป่วยจะมีอาการชา อ่อนแรง อัมพาต หรือมีปัญหาในการปัสสาวะ

- ภาวะแคลเซียมในเลือดสูง ผู้ป่วยจะมีอาการท้องผูก คลื่นไส้ เบื่ออาหาร กระหายน้ำ

ปัสสาวะบ่อย ร่างกายขาดน้ำ ง่วงซึม สับสน หมดสติ

การตรวจที่ใช้ในการวินิจฉัย

- เอกซเรย์

- การแสกนกกระดูก

- การเอกซเรย์คอมพิวเตอร์

- PET สแกน

- การตรวจเลือดหาระดับ PSA

- การตรวจเลือดหาระดับแคลเซียม

- การตรวจเลือดหาระดับ Alkaline phosphatase

- การตรวจปัสสาวะหาระดับ N-telopeptide

- การตัดชิ้นเนื้อเพื่อส่งตรวจทางพยาธิวิทยา

การรักษา

การรักษาขึ้นกับ

- ชนิดของมะเร็งตั้งต้น

- ตำแหน่งของกระดูกและจำนวนกระดูกที่มะเร็งแพร่กระจายไป

- การเปลี่ยนแปลงของกระดูกที่เกิดจากเซลล์มะเร็ง ว่าเป็นชนิดที่ถูกทำลายหรือถูกสร้างเพิ่ม

- ชนิดของการรักษาที่ผู้ป่วยได้รับอยู่

- สภาพร่างกายของผู้ป่วยในขณะนั้น

การรักษาทั้งร่างกาย

เคมีบำบัด

ยาเคมีบำบัดมีทั้งแบบฉีดเข้าเส้นเลือดดำและยารับประทาน ยาจะเข้าไปในกระแสเลือด

และไปยังเซลล์มะเร็งทั่วร่างกาย ทำให้ผู้ป่วยลดอาการปวดลงได้ เคมีบำบัดใช้เป็นการรักษาหลัก

ในมะเร็งที่แพร่กระจายหลายชนิด เช่น มะเร็งต่อมลูกหมาก มะเร็งรังไข่ มะเร็งลำไส้ และมะเร็ง

เต้านมบางชนิด ในบางกรณีมีการใช้เคมีบำบัดร่วมกับการรักษาเฉพาะที่เช่นการฉายแสง

เคมีบำบัดนอกจากจะทำลายเซลล์มะเร็งแล้วอาจทำลายเซลล์ปกติที่แบ่งตัวเร็วด้วย ทำให้

เกิดผลข้างเคียง เช่น คลื่นไส้ อาเจียน เบื่ออาหาร ผมร่วง แผลในปาก รวมทั้งทำลายเซลล์สร้าง

เม็ดเลือดชนิดต่างๆ ทำให้เพิ่มความเสี่ยงต่อการติดเชื้อ เลือดออกง่าย มีความผิดปกติของการ

แข็งตัวของเลือด อ่อนเพลีย ผลข้างเคียงส่วนใหญ่จะหายไปเองหลังจากหยุดยา อย่างไรก็ตาม

แพทย์มักจะให้ยาเพื่อช่วยลดผลข้างเคียงจากยาเคมี เช่น ยาแก้คลื่นไส้อาเจียน เป็นต้น

ฮอร์โมนบำบัด

ฮอร์โมนเอสโตรเจน ซึ่งสร้างจากรังไข่สามารถเพิ่มการเจริญเติบโตของมะเร็งเต้านม

ฮอร์โมนเทสโทสเตอโรน ซึ่งสร้างจากอัณฑะสามารถเพิ่มการเจริญเติบโตของมะเร็งต่อมลูกหมาก

ดังนั้นจึงมีการรักษาเพื่อพยายามลดระดับฮอร์โมนเหล่านี้ลง เช่น การตัดรังไข่ ในผู้ป่วยมะเร็ง

เต้านมและตัดอัณฑะในผู้ป่วยมะเร็งต่อมลูกหมากตามลำดับ นอกจากนี้ยังมีการใช้ฮอร์โมน เพื่อ

ยับยั้งการสร้างฮอร์โมนดังกล่าว เช่น luteinizing-releasing hormone (LHRH) ผลข้างเคียง

ของฮอร์โมน เช่น อาการร้อนวูบวาบ ซีด น้ำหนักลด สมรรถภาพ กัมมันตภาพรังสีรักษาจะให้ผลดี

กว่ารังสีรักษา และมีข้อดีกว่ารังสีรักษาคือสามารถให้ได้ในครั้งเดียว ผลข้างเคียง ได้แก่ เพิ่มความ

เสี่ยงในการติดเชื้อและเลือดออกง่าย และอาจทำให้ผู้ป่วยมีอาการปวดมากขึ้นก่อนที่อาการปวดจะ

ดีขึ้นในภายหลัง

บิสฟอสโฟเนต (Bisphosphonate)

ปกติเป็นยาที่ใช้รักษาโรคกระดูกพรุน แต่ผู้ป่วยมะเร็งที่กระจายมาที่กระดูก บิสฟอนโพเนต

สามารถลดอาการปวดกระดูก ลดอัตราการทำลายกระดูกของเซลล์มะเร็ง ลดภาวะแคลเซียมใน

เลือดสูง ลดความเสี่ยงในการเกิดกระดูกหัก ผลข้างเคียงของยา ได้แก่ อ่อนเพลีย ไข้ คลื่นไส้

อาเจียน ซีด และปวดกระดูกหรือปวดข้อ

การรักษาเฉพาะที่

รังสีรักษา

เป็นการใช้รังสีพลังงานสูงหรืออนุภาคในการทำลายเซลล์มะเร็ง การฉายรังสีสามารถทำได้

สองแบบ คือ ฉายรังสีปริมาณมากในครั้งเดียว หรือ ฉายรังสีปริมาณน้อยหลายๆ ครั้ง ซึ่งส่วนมาก

แพทย์ มักจะแนะนำการฉายหลายครั้งมากกว่าเนื่องจากพบว่าผู้ป่วยมีโอกาสกลับมามีอาการปวด

น้อยกว่า การฉายรังสีเหมาะกับมะเร็งที่แพร่กระจายไม่มาก เช่น 1-2 แห่ง แต่ถ้ามะเร็งกระจาย

ไปทั่วร่างกายแล้วอาจจะไม่เหมาะ ซึ่งกรณีที่มีการแพร่กระจายหลายตำแหน่ง อาจใช้การฉีดสาร

เภสัชรังสี ซัมมาเรียม-153 (sm-153) เข้าทางหลอดเลือดดำ สารดังกล่าวจะไปจับกับบริเวณที่

มะเร็งกระจายที่กระดูกแล้วปลดปล่อยรังสีบริเวณนั้นทำให้อาการปวดทุเลา

การจี้

การจี้ก้อนเนื้องอกด้วยความร้อน ความเย็น สารเคมี แต่ที่นิยมที่สุดคือการใช้กระแสไฟฟ้า

จี้ การจี้ไฟฟ้านี้ต้องทำขณะผู้ป่วยได้รับยาสลบ วิธีนี้ไม่เป็นที่นิยมใช้

การผ่าตัด

เป้าหมายของการผ่าตัดเพื่อบรรเทาอาการที่เกิดจากการกระจายมาที่กระดูก แพทย์จะ

ทำการยึดกระดูกเพื่อเสริมสร้างความแข็งแรง ป้องกันกระดูกหัก นอกจากนี้ยังมีการฉีดสาร

polymethyl methacrylate (PMMA) ซึ่งทำหน้าที่คล้ายซีเมนต์หรือกาว ให้ความแข็งแรง

แก่กระดูก สามารถลดอาการปวดกระดูก

ภาวะฉุกเฉินในผู้ป่วยที่มีการกระจายของมะเร็งมาที่กระดูก

ผู้ป่วยที่มีอาการดังต่อไปนี้ควรมาพบแพทย์ทันที

- ปวดหลัง (อาจมีอาการปวดหลังร้าวลงขา)

- ชาขาหรือช่วงท้อง

- ขาอ่อนแรงหรือมีปัญหาในการเคลื่อนไหว

- ไม่สามารถกลั้นปัสสาวะอุจจาระได้ หรือมีปัญหาในการปัสสาวะ

การรักษาเช่น การฉายรังสีร่วมกับยาคอร์ติโคสเตียรอยด์ หรือการผ่าตัด ถ้าหากไม่ได้รับ

การรักษาอย่างทันท่วงทีอาจทำให้เกิดอัมพาตได้

การใช้ยาลดอาการปวดที่เกิดจากมะเร็งที่แพร่กระจายมาที่กระดูก

แพทย์มักจะเริ่มต้นให้ยาแก้ปวดเช่น พาราเซตามอล หรือ NSAIDs แต่ถ้าไม่สามารถ

ควบคุมอาการปวดได้ แพทย์อาจพิจารณายาแก้ปวดกลุ่มopioidเช่น codeine, hydrocodone,

morphine หรือ oxycodone ยากลุ่มopioidมีประสิทธิภาพดีที่สุดในการลดอาการปวดที่เกิด

จากมะเร็ง แต่มีผู้ป่วยบางส่วนไม่อยากได้ยานี้เนื่องจากกลัวการติดยา ซึ่งในความเป็นจริงเกิด

ขึ้นน้อย นอกจากนี้ผู้ป่วยยังมีความกังวลว่ายากลุ่มopioidจะทำให้ง่วงจนไม่สามารถทำกิจวัตร

ประจำวันได้ตามปกติ ซึ่งความจริงแล้วอาการง่วงจะดีขึ้นเรื่อยๆ และเมื่อพิจารณาถึงการที่ยา

สามารถลดปวดได้อย่างมาก ผู้ป่วยจึงไม่ควรลังเลที่จะรับยาแก้ปวดเมื่อมีอาการ

การรักษาอาการปวดจากโรคมะเร็ง

             Link       https://www.chulacancer.net

+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

อัพเดทล่าสุด