กระดูกสันหลังทรุด เจาะไขกระดูกสันหลัง อาการปวดกระดูกสันหลัง
กระดูกสันหลังทรุดโดย ทั่วไปแล้วเซลล์ที่สร้างกระดูกจะเริ่มทำงานน้อยลงตั้งแต่อายุ 35 ปี ซึ่งเกิดได้กับ คนทุกเชื้อชาติ ในแต่ละส่วนภูมิประเทศของโลก ลักษณะการรับประทานอาหาร และลักษณะ กิจกรรม หรือการออกกำลังกายจะช่วยลดอัตราการเสียมวลกระดูกได้ ในผู้สูงอายุมักจะมี ปัญหาของกระดูกที่มีมวลกระดูกน้อยอยู่แล้ว ซึ่งทำให้ความทนทานหรือความแข็งแรงต่อ กระดูกหักมีน้อยลง ภาวะกระดูกสันหลังทรุดพบได้น้อยในผู้สูงอายุที่มีปัญหาของโรคกระดูก พรุน ซึ่งบางครั้งพบโดยบังเอิญจากการตรวจถ่ายภาพรังสีโดยที่ไม่มีอาการแสดงความ เจ็บปวด
การ ที่มีกระดูกสันหลังทรุดทำให้เกิดหลังโกง หรือในรายที่มีอาการหลังโกงมาก ๆ จะทำให้ทำหน้าที่ ของปอดน้อยลง เหนื่อยง่ายกว่าปกติ และนอกจากนี้แล้วทำให้จุดศูนย์ถ่วงของร่างกายเปลี่ยนไปข้างหน้า ทำให้มีโอกาสเสี่ยงต่อการหกล้มได้สูง และอาจเกิดกระดูกหักในส่วนต่างๆ ของร่างกายตามมาได้ อาการ ปวดหลังจากกระดูกทรุดพบได้เกือบครึ่งหนึ่งของผู้ป่วยในช่วงแรกๆ และถ้าอาการปวดเป็นเรื้อรังอาจจะ เกิดจากกล้ามเนื้อหลังที่อ่อนแรง ปัจจัยหนึ่งที่สำคัญในการทำให้เกิดกระดูกพรุน คือ การไม่ค่อยเคลื่อนไหว หรือทำกิจกรรมน้อยในแต่ละวัน
ผลของการออกกำลังกายต่อโรคกระดูกพรุน
การออกกำลังกายในผู้ป่วยโรคกระดูกพรุนมีข้อคำนึงอยู่ 2 ข้อใหญ่
ข้อแรก คือ ภาวะ สมรรถภาพทางร่างกายที่ไม่ค่อยมากเนื่องจากไม่มีการออกกำลังกายมาก่อน หรือกิจกรรม กิจวัตรประจำวันที่น้อย การออกกำลังกายจึงเป็นขั้นต่ำๆ ในช่วงแรกไม่ให้หักโหมมาก
ข้อสอง คือ ภาวะ โรคทางกระดูกต่าง ๆ เช่น ข้อเสื่อมหรือเอ็นอักเสบ ซึ่งทำให้การออกกำลังกายทำได้ไม่เต็มที่ การออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอนั้นช่วยให้การเสื่อมสลายของมวลกระดูกให้ช้าลง และในปัจจุบันนี้ยังไม่มีการศึกษาที่ยืนยันได้ว่าการออกกำลังกายจะทำให้ มวลกระดูกเพิ่มขึ้น ดังนั้นการออกกำลังกายจึงควรประกอบไปกับการใช้ยาในการรักษา หรือป้องกันโรค กระดูกพรุน
แนะนำในการออกกำลังกาย
มีข้อควรระวังในผู้ป่วยที่มีโรคหัวใจอยู่ด้วย ถ้าไม่เคยตรวจหรือไม่เคยทราบว่ามีโรคหัวใจมาก่อน ควรพบแพทย์เพื่อรับคำแนะนำ ทำการทดสอบเพิ่มเติมต่อไป ก่อนจะทำการออกกำลังกายอยู่จริงจัง
ในผู้ป่วย ที่มีภาวะกระดูกทรุดและหลังโก่งควรหลีกเลี่ยงการออกกำลังกายโดยการใช้ เครื่องวิ่งสายพาน เนื่องจากจุด สมดุลของร่างกายที่เปลี่ยนไป ทำให้การทรงตัวในเครื่องวิ่งไม่คงที่อาจจะล้มและเป็นอันตรายได้ ควรจะ เปลี่ยนมาเป็นการใช้จักรยานปั่นอยู่กับที่แทน การประเมินความแข็งแกร่งของกล้ามเนื้อเป็นสิ่งที่สำคัญใน ผู้ป่วยกลุ่มนี้ เพื่อค้นหากลุ่มกล้ามเนื้อที่ไม่แข็งแรง และเน้นการออก กำลังกายไปยังกลุ่มกล้ามเนื้อนั้น ๆ การทดสอบความประสานงาน และความสมดุลของร่างกายก็เป็นสิ่งที่สำคัญ เพื่อช่วยให้การออกกำลังกาย เป็นไปด้วยความปลอดภัยและได้ประโยชน์สูงสุด
โปรแกรมในการออกกำลังกาย
ควร จะมีทั้งอาการออกกำลังกายเพื่อหวังผลทั้งทางด้าน แอโรบิค เช่น การเดินเร็ว วิ่งเบาๆ และ ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อควบคู่กันไป การเสริมสร้างความแข็งแรงของกล้ามเนื้อจะช่วยให้การทรงตัว ดีขึ้น และทำให้มวลกระดูกไม่เสื่อมสลายเร็ว
การ ออกกำลังกายเพื่อเสริมสร้างความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ ให้ได้ผลดีนั้น ควรใช้น้ำหนักที่เหมาะสมและจำนวนครั้งที่พอเหมาะ เน้นความแข็งแรงของกล้ามเนื้อทั้ง ส่วนบนและส่วนล่าง และกล้ามเนื้อ ลำตัว เป็นหลัก โดยเฉพาะกล้ามเนื้อหลังควรระวังท่าการออกกำลังกาย ที่ทำให้มีการงอของสันหลังในผู้ป่วยที่มีการะดูกพรุนอยู่แล้ว เพราะจะทำให้เกิดกระดูกทรุดใหม่ได้
ใน รายที่มีกระดูกทรุดหลายระดับ กระดูกบางมาก หรือปวดหลัง ไม่สามารถจะทำการออกกำลัง กายตามปกติได้ อาจมีทางเลือกในการออกกำลังกายโดยไม่ทำให้เกิดอาการปวดมากขึ้น เช่น การว่ายน้ำ เกิดในน้ำ หรือ แอโรบิคในน้ำ เพื่อเสริมสร้างความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ ความสมดุลของร่างกาย และลด อัตราการเกิดโรคหัวใจขาดเลือด
โปรแกรม ในการออกกำลังกายในผู้ป่วยแต่ละท่านจะแตกต่างกันไปแล้วแต่ภาวะโรคประจำตัว ที่มี อยู่ หรือภาวะโรคทางกระดูก หรือภาวะสมรรถภาพเดิม ดังนั้นเพื่อให้ได้ผลของการออกกำลังกายที่ดีและ เหมาะสม หากท่านไม่แน่ใจในโปรแกรมการออกกำลังกาย ควรเข้ารับการแนะนำจากแพทย์ เพื่อป้องกัน อันตรายอันอาจเกิดจากการออกกำลังกายที่ไม่ถูกต้อง และเพื่อให้ได้รับผลประโยชน์ของการออกกำลังกาย ได้ดีที่สุด
ขอบคุณข้อมูลจาก : รพ.พระราม9
+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
เจาะไขกระดูกสันหลัง
การเจาะน้ำไขสันหลัง
ครั้งแรกในชีวิต กับการเจาะน้ำไขสันหลัง
29 ธค. 2553
เจาะหลัง คืออะไร
การ เจาะหลัง/แทงหลัง เป็นการที่หมอแทงเข็มเข้าไปในช่องไขสันหลังเพื่อจุดประสงค์ต่างๆกัน ไม่ว่าจะเป็นการตรวจหาโรค , การให้ยาชา หรือการให้ยาเพื่อรักษาโรค
ช่องไขสันหลังคืออะไร
เรา ขยับแขนขาร่างกายได้ก็ด้วยการสั่งงานจากสมองผ่านทางเส้นประสาท โดยเส้นประสาทจากสมองจะเดินทางลงมาตามแนวกระดูกสันหลังเรียกว่า"ไขสันหลัง" (Spinal cord) จากนั้นจึงจะแยกออกไปบังคับแขนขาต่อไป ด้วยความที่ไขสันหลังต่อออกมาจากสมองโดยตรง ดังนั้นจึงเปรียบเหมือนเป็นส่วนหนึ่งของสมอง ถ้าสมองมีการติดเชื้อ เชื้อโรคก็จะออกมาอยู่ในน้ำรอบๆสมองและลงมาตามไขสันหลัง ถ้าเส้นเลือดมีการแตกออกมาที่น้ำรอบๆสมอง ก็จะตรวจเจอเลือดในน้ำไขสันหลัง ถ้าสมองมีความดันเพิ่มขึ้น น้ำในไขสันหลังก็จะมีความดันที่เพิ่มขึ้น ดังนั้น การตรวจน้ำจากไขสันหลัง จึงคล้ายกับว่าเราตรวจน้ำที่มาจากสมอง เพียงแต่เปลี่ยนจากการเจาะกระโหลกศีรษะเข้าไปมาเป็นการเจาะที่หลังซึ่งง่าย และปลอดภัยกว่าแทน
เวลา เจาะ แพทย์จะให้ผู้ป่วยนอนตะแคงเข่าคู้ จากนั้นจะทำความสะอาดที่หลังบริเวณก้นกบ จากนั้นก็จะแทงเข็มไขสันหลังเข้าไป ในระหว่างที่แทงผู้ป่วยจะต้องนอนนิ่งๆ แพทย์จะรองน้ำที่ไหลออกมาประมาณ 1-3ซีซี ลงในขวด ในกรณีที่ผู้ป่วยไม่ให้ความร่วมมือ เช่น ผู้ป่วยที่มีอาการผิดปกติทางสมองมาก หรือในผู้ป่วยเด็ก อาจจะมีการให้ยาหรือการรัดตรึงแขนขาในระหว่างการเจาะ
ผลแทรกซ้อนจากการเจาะ
ทุก สิ่งทุกอย่างมีข้อดีและข้อเสียของมันครับ ผลแทรกซ้อนที่เกิดตามหลังการเจาะหลังมีหลายตัวอยู่ด้วยกัน ผลแทรกซ้อนที่เจอได้บ่อยได้แก่ ปวดหัว(เป็นนานประมาณ 1สัปดาห์หลังการเจาะ),ปวดหลังตำแหน่งที่เจาะ(ประมาณ 1สัปดาห์ถึง1เดือน),แปลบๆชาๆที่ขา ผลแทรกซ้อนที่น่ากลัวแต่หายากได้แก่ ปวดหัวเกินกว่า1ปี, จิ้มโดนไขสันหลัง , เกิดก้อนเลือดกดไขสันหลังจนเป็นอัมพาตขา ติดเชื้อ ถ้าไปเปิดหนังสือการแพทย์อ่าน หรือไปไล่บี้หมอที่จะเจาะว่าการเจาะหลังมีโอกาสตายหรือพิการได้ไหม คำตอบคือ มีแต่น้อยมาก เมื่อเทียบกับประโยชน์ที่จะได้รับแล้วผลแทรกซ้อนที่ว่านั้นแทบจะไม่มีผลใน การตัดสินใจของแพทย์เลย เพราะในกลุ่มติดเชื้อในสมอง หากไม่เจาะหลังแล้วรักษา จะมีโอกาสตายและพิการอย่างมากมาย
การพยาบาลผู้ป่วยที่ได้รับการเจาะไขกระดูก
Bone marrow Aspiration and Biopsy
โรคทางโลหิตวิทยาหลายชนิดจำเป็นต้องอาศัยการตรวจพยาธิสภาพของไขกระดูก จึงสามารถให้การวินิจฉัยได้ นอกเหนือจากการตรวจเลือดและการตรวจทางห้องปฏิบัติการอื่น ๆ ดังนั้นการเจาะไขกระดูกจึงมีความสำคัญในทางเวชปฏิบัติ
การเตรียมอุปกรณ์
-ถุงมือ sterile 1 คู่
-ผ้าช่อง sterile สำหรับปูบริเวณที่เจาะ
-Antiseptic solution
-ยาชา 1 – 2 % xylocaine
-Syringe ขนาด 20 มล. ใช้สำหรับดูดไขกระดูก
-สไลด์แก้วขนาด 1 ? 3 นิ้ว จำนวน 5 – 10 แผ่น
วิธีทำ
1.เตรียมผู้ป่วย อธิบายให้ทราบถึงเหตุผลในการเจาะ เพื่อให้ผู้ป่วยเข้าใจและให้ความร่วมมือ
2.ตำแหน่ง เจาะไขกระดูก ในผู้ใหญ่ ตำแหน่งที่ใช้เจาะไขกระดูกนิยมทำที่ posterior superior -iliac spine ผู้ป่วยที่คว่ำไม่ได้เจาะที่ sternum ตรงตำแหน่ง intercostals space ช่อง 2 ชิดกับ manubrium นอกจากตำแหน่งดังกล่าว ตำแหน่งอื่นที่อาจเจาะไขกระดูกได้แก่ ที่ anterior-iliac crest และที่ spinous process ในเด็กอายุต่ำกว่า 1 ปี การเจาะไขกระดูกทำที่บริเวณ proximal end ของ medial surface ของกระดูก tibia ตรงตำแหน่งที่ต่ำกว่า tibialtubercle โดยทั่วไปผลการตรวจไขกระดูกในตำแหน่งต่าง ๆ ให้ผลไม่แตกต่างกัน
วิธีการเจาะไขกระดูกและเตรียมสไลด์
a.จัด ท่าผู้ป่วย ถ้าทำการเจาะที่ posterior superior iliac ให้ผู้ป่วยนอนคว่ำตะแคงหน้าขึ้น ยกแขน 2 ข้างขึ้นเหนือศีรษะ สำหรับที่ sternum ให้ผู้ป่วยนอนหงายไม่หนุนหมอน
b.ผู้ทำการเจาะใส่ถุงมือ
c.แพทย์ผู้เจาะจะทำความสะอาดบริเวณที่จะเจาะด้วย Antiseptic solution
d.ปูผ้าช่อง
e.ฉีด ยาชาตรงตำแหน่งเจาะประมาณ 5 มล. โดยเริ่มฉีดที่ผิวหนังก่อน แล้วแทงเข็มตั้งฉากจนถึงผิวกระดูก จึงฉีดยาชาอีกครั้งที่ subperiosteum ตำแหน่งที่จะทำให้เกิดความรู้สึกเจ็บคือที่ผิวหนังและ periosteum
f.เตรียม Syringe ขนาด 20 มล. ที่จะใช้ดูดไขกระดูก ทดสอบดูว่า Syringe ต่อเข้าได้กับเข็มเจาะไขกระดูก ตรวจสอบ stylet ว่าต่อเข้าได้พอดีกับเข็มเจาะไขกระดูกและปลาย stylet อยู่เสมอกับbevel ของเข็ม
g.จับเข็มเจาะกระดูกตรงตำแหน่ง guard ด้วยนิ่วชี้และนิ้วหัวแม่มือโดยให้โคนเข็มอยู่ในอุ้งมือ
h.แทง เข็มตั้งฉากกับผิวหนังตรงตำแหน่งที่ฉีดยา โดยที่มืออึกจ้างดึงผิวหนังให้ตึง ค่อย ๆ หมุนเข็มผ่านชิ้นเนื้อให้ผิวหนังจนรู้สึกว่าปลายเข็มถึงผิว periosteum จากนั้นจึงหมุนเข็ม เข้าไปในผิวกระดูกจนถึงช่องโพรงกระดูก ซึ่งจะลึกเข้าไปอีก 2 – 6 มม. เท่านั้นถ้าปลายเข็มเข้าดีในโพรงไขกระดูกจะเห็นว่าเข็มยึดแน่นกับกระดูกไม่ เคลื่อนไปมา
i.ถอด stylet ออกจากเข็มแล้วต่อ Syringe 20 มล. กับเข็ม ดูดน้ำไขกระดูกประมาณ 1–2มล.ถอด Syringe ออกให้ผู้ช่วยเพื่อเตรียม smear น้ำไขกระดูกบนสไลด์
j.ถ่ายน้ำไขกระดูกลงบนสไลด์ 5–6แผ่นตรงปลายด้านหนึ่งของสไลด์ตะแคงสไลด์เพื่อให้ส่วนที่เป็นน้ำไหลออก แล้วใช้ปลายอีกแผ่นเกลี่ยให้ไขกระดูกมาอยู่รวมกัน ใช้ผ้าก๊อซสะอาดเช็ดส่วนที่เป็นน้ำที่รอบเนื้อไขกระดูก วางสไลด์สะอาดลงบนสไลด์ที่มีเนื้อกระดูก โดยไม่ต้องกดและให้ขอบด้านยาวอยู่แนบกัน แต่ปลายสไลด์อยู่เหลื่อมกัน โดยที่มีเนื้อไขกระดูกเล็กน้อย จะเห็นเนื้อไขกระดูกถูกดันออกในแนบราบ
k.เมื่อ ได้ไขกระดูกเรียบร้อยแล้วจึงถอดเข็มออก ใช้ผ้าก๊อซสะอาดกดบริเวณที่เจาะจนแน่ใจว่าเลือดหยุด จึงใช้พลาสเตอร์ปิดทับไว้ ให้ผู้ป่วยนอนพักสักครู่
l.ย้อม สไลด์ที่ได้โดย Wright’s stain สำหรับการทำ Bone marrow biopsyมักกระทำควบคู่ไปกับ aspiration เสมอ ขั้นตอนที่ a–e จะเหมือนกัน สำหรับ biopsy ใช้ใบมืดกรีดผิวหนังตรงตำแหน่งเจาะ ขนาดพอให้เข็ม biopsy ทะลุผิวหนังได้ จากนั้นใช้เข็ม biopsy ซึ่งมี stylet แทงเข้าไขกระดูกดังข้อ h เมื่อทะลุผ่าน periosteum ดึงstylet ออก จากนั้นแทงเข็มให้ลึกพ้น core ยาวประมาณ 1 ซม.อยู่ภายในเข็ม จากนั้นจับที่โคนเข็มขยับไปมา หรือหมุนตามเข็มนาฬิกาหลาย ๆ ครั้ง เพื่อให้ bone core หลุดจากกระดูกจากนั้นจึงนำมาแตะบนสไลด์ เพื่อย้อม Wright’s stain จากนั้นนำส่งตรวจทางพยาธิวิทยา
ข้อควรระวังและภาวะแทรกซ้อน
1.ควร หลีกเลี่ยงการเจาะไขกระดูกตรงตำแหน่ง sternum ในผู้ป่วยที่ไม่ให้ความร่วมมือหรือผู้ป่วยที่มีกระดูกบางกว่าปกติ เช่น ผู้ป่วย multiple myeloma, ผู้สูงอายุ เป็นต้น
2.การใช้ guard มีความจำเป็นในการเจาะไขกระดูกที่ sternum เพื่อป้องกันเข็มเจาะทะลุกระดูก ทำให้เกิด injuryต่ออวัยวะใกล้เคียง ซึ่งทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนที่อันตรายถึงแก่ชีวิต ได้แก่ fatal hemorrhage,pericardial temponade, mediastinitis และ pneumomediastinum
3.ควรหลีกเลี่ยงการเจาะไขกระดูกในผู้ป่วยที่มีความผิดปกติของ coaglulation factors เพราะจะทำให้เลือดออกไม่หยุด
4.การ เจาะไขกระดูกควรทำด้วยวิธี aseptic technique โดยเฉพาะมนผู้ป่วยที่เม็ดเลือดขาวต่ำถึงแม้โอกาสติดเชื้อจากการเจาะไขกระดูก จะพบน้อยมากก็ตาม
การพยาบาลผู้ป่วยที่ได้รับการเจาะไขกระดูก
1.อธิบายให้ผู้ป่วยทราบถึงเหตุผลของการเจาะ วิธีการเพื่อให้ผู้ป่วยเข้าใจและให้ความร่วมมือ
2.เตรียมอุปกรณ์ให้พร้อมด้วย aseptic technique
3.จัดท่าผู้ป่วยให้เหมาะสม
4.อยู่เป็นเพื่อนผู้ป่วยในระหว่างที่แพทย์ทำการเจาะไขกระดูก พร้อมกับสังเกตอาการผิดปกติ
5.หลังจากแพทย์เจาะเสร็จแล้วควรใช้สำลีหรือผ้าก๊อซกดแผลจนเลือดหยุดไหล หรือให้ผู้ป่วยนอนหงายทับ
6.วัดสัญญาณชีพผู้ป่วย
7.ประเมินอาการปวดแผลและสังเกตภาวะเลือดออกมากกว่าปกติบริเวณแผลเจาะ
น้ำไขสันหลัง ( Cerebrospinal fluid , CSF )
-หน้าที่ สำคัญของน้ำไขสันหลัง คือ เป็นกันชนไม่ให้สมองและไขสันหลังได้รับการกระทบกระเทือนจากภายนอก รวมทั้งยังทำหน้าที่ในการขนส่งอาหารและลำเลียงของเสียต่าง ๆ ออกจากสมองด้วย
-หล่อเลี้ยงสมองและไขสันหลัง
-น้ำไขสันหลังสามารถนำมาใช้ตรวจดูการติดเชื้อในระบบบประสาทส่วนกลางได้
น้ำไขสันหลัง ( Cerebrospinal fluid , CSF )
-ในผู้ใหญ่จะมีปริมาณน้ำไขสันหลังประมาณ 90 – 150 มล.
-ในเด็กเล็กจะมีปริมาณ 10 – 60 มล.
น้ำไขสันหลัง ( Cerebrospinal fluid , CSF )
-ปกติน้ำไขสันหลังจะใส ไม่มีเลือดปน ไม่มีเซลล์
-ถ้ามีอาจเป็นความผิดปกติจริงของผู้ป่วย
-แต่ก็อาจมาจากการเจาะเก็บตัวอย่างไม่ดี มีเลือดปนหรือการ contaminate การตรวจพบและรายงานค่าอาจผิดพลาดได้
-ความ ผิดปกติจากการบาดเจ็บ มีการอักเสบและการติดเชื้อ ที่ไขสันหลัง ทำให้ลักษณะสีเปลี่ยน เช่นชมพูแดงจากบาดเจ็บมีเลือดปน ขุ่นขาวจากหนองหรือ
การตรวจน้ำไขสันหลัง ( Cerebrospinal fluid examination , CSF examination )
มีประโยชน์มากในการช่วยวินิจฉัย พยากรณ์โรค และการรักษา
ถ้าพบสิ่งผิดปกติ แสดงถึงความรุนแรงของโรคได้ หรืออาจพบสาเหตุของโรคได้
การตรวจน้ำไขสันหลัง ( Cerebrospinal fluid examination , CSF examination )
-สามารถเก็บน้ำไขสันหลังมาตรวจได้ครั้งละประมาณ 10 – 20 มล.
-โดย ปกติ CSF ที่ได้หลังการเจาะ ควรใส่ในขวดที่ปราศจากเชื้อ แล้วแบ่งเป็นส่วน ๆ ตามลำดับ ส่วนละ 2-3 มล. ประมาณ 3 ส่วน โดยแบ่งเป็นส่วนต่าง ๆ เพื่อส่งตรวจวิเคราะห์ ดังนี้
การตรวจน้ำไขสันหลัง ( Cerebrospinal fluid examination , CSF examination )
ขวดที่ 1 สำหรับส่งตรวจทางเคมี และอิมมูโนวิทยา
ขวดที่ 2 สำหรับส่งตรวจจุลชีววิทยา
ขวดที่ 3 สำหรับนับจำนวนของเซลล์และนับแยกชนิดของเซลล์
การตรวจน้ำไขสันหลัง ( Cerebrospinal fluid examination , CSF examination )
-เมื่อเก็บน้ำไขสันหลังได้แล้ว ควรรีบนำส่งห้องปฏิบัติการ และทำการตรวจวิเคราะห์โดยเร็วภายใน 1 ชั่วโมง
-ไม่ควรตั้งทิ้งไว้เกิน 1ชั่วโมง
-เพราะเซลล์ที่อยู่ในน้ำไขสันหลังแตกสลายได้ง่าย
การตรวจน้ำไขสันหลัง ( Cerebrospinal fluid examination , CSF examination )แบ่งการตรวจได้ดังนี้
-การตรวจด้วยตาเปล่า ( Macroscopic examination )
-การตรวจด้วยกล้องจุลทรรศน์ ( Microscopic examination )
-การตรวจทางเคมี ( Chemical examination )
การตรวจด้วยตาเปล่า ( Macroscopic examination )
ลักษณะของ CSFปกติ
-ใส ไม่มีสี
-ไม่มีตะกอน
-ไม่แข็งตัวเมื่อตั้งทิ้งไว้
-มีความหนืดเท่ากับน้ำ
การตรวจด้วยตาเปล่า ( Macroscopic examination )
-การสังเกตดูลักษณะความผิดปกติของน้ำไขสันหลัง ให้สังเกต สี ความขุ่น การมีเลือดปน รวมทั้งการเกิด clotted
การตรวจด้วยตาเปล่า ( Macroscopic examination )
ความผิดปกติที่อาจพบได้คือ
-CSF ขุ่น เนื่องจากมีเม็ดเลือดปนอยู่
-ถ้ามีเม็ดเลือดแดง มากกว่า 400 เซลล์/ลบ.มม.
-เม็ดเลือดขาวมากกว่า 200 เซลล์/ลบ.มม.
-จะมองเห็นความขุ่นได้ด้วยตาเปล่า
การตรวจด้วยตาเปล่า ( Macroscopic examination )
ความขุ่นที่เกิดขึ้นอาจเกิดจากมีเชื้อโรคปนอยู่ก็ได้ เช่น แบคทีเรีย เชื้อรา ยีสต์
รูปภาพ ความขุ่นที่เกิดขึ้นจากมีเชื้อโรคปนอยู่ เช่น เชือรา , แบคทีเรีย หรือ ยีสต์
การตรวจด้วยตาเปล่า ( Macroscopic examination )
-สี CSF ที่ผิดปกติ เช่น มีสีเหลืองใส เนื่องจาก Bilirubin และสารที่ได้จากการสลายตัวของ Hemoglobin
-สีของน้ำไขสันหลังที่มีเลือดปน จะมีสีแดง ชมพู เหลือง
-CSF มีเลือดปน อาจเกิดจากการเจาะ
-มี Lipid-like substance ปน ซึ่งอาจจะเป็นผลจากมีการทำลายของเนื้อสมอง
รูปภาพ น้ำไขสันหลังที่มีเลือดปนอยู่
การตรวจด้วยตาเปล่า ( Macroscopic examination )
-CSF แข็งตัว ( Clotted ) เมื่อตั้งทิ้งไว้ เนื่องจากมี protein พวก Fibrinogen สูงหรือมีเลือดปนมาก
การตรวจด้วยกล้องจุลทรรศน์ ( Microscopic examination )ประกอบด้วย
-การนับเซลล์ ( Cell count )
-การนับแยกชนิดของเม็ดเลือกขาว ( WBC differencial cell count )
การนับเซลล์ ( Cell count )
-ควรทำทันทีอย่างช้าไม่เกิน 1 ชั่วโมงหลังเจาะ มิฉะนั้นเซลล์จะเริ่มแตกทำให้การนับค่าผิดพลาดไปได้
การนับเซลล์ ( Cell count )จะนับจำนวนเซลล์เม็ดเลือดขาวและเซลล์เม็ดเลือดแดง
รูปภาพ การนับเม็ดเลือดขาวเม็ดเลือดแดง
การรายงานผลการตรวจวิเคราะห์
-รายงานผลการตรวจวิเคราะห์เป็นจำนวนเซลล์เม็ดเลือดขาวที่นับได้ ( cells/cu.mm )
-รายงานผลการตรวจวิเคราะห์เป็นจำนวนเซลล์เม็ดเลือดแดงที่นับได้ ( cells/cu.mm )
การนับแยกชนิดของเม็ดเลือดขาว( WBC differential )
เป็นการทดสอบที่สำคัญมาก เพราะจะช่วยบอกพยาธิสภาพต่าง ๆ
ผลการตรวจวิเคราะห์
-ปกติ 60 – 100% จะเป็นเซลล์พวก Lymphocyte , Monocyte
-เซลล์ปกติที่จะไม่พบใน CSF ได้แก่ Neutrophil , Eosinophil
-ถ้าพบเซลล์เหล่านี้อาจเกิดจาก Minigitis , Helminthic parasites , การอักเสบ ติดเชื้อ
การตรวจทางเคมี ประกอบด้วย
-การตรวจหา Protein ค่าปกติประมาณ 20 – 50 มก./ดล.
-การตรวจหา Glucose
การตรวจทางเคมี
-การตรวจหา Protein ค่าปกติประมาณ 20 – 50 มก./ดล.
การตรวจทางเคมี
-การตรวจหา Glucose ควรทำควบคู่กับการตรวจระดับน้ำตาลในพลาสมาด้วยกันเสมอ
-ระดับน้ำตาลที่สูงกว่าปกติไม่มีนัยสำคัญ เนื่องจากอาจเป็นผลกระทบจากปริมาณน้ำตาลในพลาสมาที่สูงขึ้น
การตรวจอื่น ๆ
-การย้อมเชื้อโรค และการเพาะเชื้อ
-ควรทำทุกรายเมื่อพบว่า CSF มีเม็ดเลือดขาวมากกว่าปกติ
ภาพเข็มเจาะน้ำไขสันหลัง
ที่มา.
https://www.med.cmu.ac.th
https://www.thaifittips.com
https://www.mor-maew.exteen.com
https://jama.ama-assn.org/content/vol296/issue16/images/medium/jpg1025f1.jpg
https://www.med.cmu.ac.thhospitallabMA51body%20fluid.pp
ขอบคุณ แพทย์ , พยาบาล , เจ้าหน้าที่ รพ.รามาธิบดี
https://ramaclinic.ra.mahidol.ac.th/
++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
อาการปวดกระดูกสันหลัง
กระดูกสันหลังคด รักษาอย่างไร
Scoliosis คือ โรคกระดูกสันหลังคด
กระดูกสันหลังมีหน้าที่รับน้ำหนักและช่วยพยุงร่างกายให้สามารถตั้งตรง ได้ ในคนปกติหากมองจากด้านหลังจะเห็นกระดูกสันหลังเป็นแนวเส้นตรง แต่ในคนที่เป็นโรคกระดูกสันหลังคด เมื่อมองจากด้านหลังจะเห็นแนวกระดูกโค้งไปทางซ้ายหรือขวา ไม่เป็นเส้นตรงเหมือนคนปกติ โรคกระดูกสันหลังคดพบประมาณ 2-3 % ของประชากร พบได้เท่ากันในผู้ชายและผู้หญิง แต่ผู้หญิงมักจะมีการคดงอของกระดูกมากกว่าผู้ชาย โรคกระดูกสันหลังคดเกิดได้ในทุกอายุ พบได้ตั้งแต่เด็กเกิดจนถึงวัยผู้ใหญ่ แต่ส่วนมากมักเกิดในช่วงที่มีการเจริญเติบโตของกระดูกอย่างรวดเร็ว คืออายุประมาณ 10-15 ปี
สาเหตุ โรคกระดูกสันหลังคด
ผู้ป่วย 85% ไม่ทราบสาเหตุ มีเพียงส่วนน้อยที่ทราบสาเหตุ เช่น กระดูกสันหลังคดจากขาที่ยาวไม่เท่ากัน กระดูกสันหลังคดจากสมองพิการ หรือเกิดจากความผิดปกติแต่กำเนิด เป็นต้น
อาการ โรคกระดูกสันหลังคด
อาการในผู้ป่วยแต่ละรายอาจแตกต่างกัน ขึ้นกับว่ากระดูกคดเป็นมุมมากน้อยเพียงใด อาการต่างๆที่พบได้มีดังนี้
- การเดินผิดปกติ
- ไหล่หรือสะโพก 2 ข้าง สูงไม่เท่ากัน
- ปวดหลัง
- มีอาการเหนื่อยง่ายกว่าปกติเวลาออกแรงหรือทำกิจกรรมต่างๆ
การตรวจ โรคกระดูกสันหลังคด
แพทย์จะตรวจกระดูกสันหลังของผู้ป่วยในท่ายืน โดยให้ผู้ป่วยก้มตัว เอานิ้วแตะปลายเท้าตัวเอง ในท่านี้แพทย์จะเห็นลักษณะความผิดปกติของแผ่นหลังได้ชัดเจนมากขึ้น การตรวจเพิ่มเติมด้วย x-ray มีประโยชน์ในการช่วยวัดมุม และช่วยติดตามการดำเนินไปของโรคว่าแย่ลงหรือไม่
การรักษา โรคกระดูกสันหลังคด
การรักษาขึ้นกับมุมการคด การเปลี่ยนแปลงของมุม และอายุของผู้ป่วย
- มุมการคดน้อยกว่า 25 องศา : ยังไม่จำเป็นต้องได้รับการรักษาใดๆ ให้ติดตามการเปลี่ยนแปลงของมุม ทุก 4-6 เดือน
- มุมการคดมากกว่า 25 องศา : รักษาโดยการใส่เสื้อเกราะ(Brace) เสื้อเกราะเป็นอุปกรณ์ค้ำจุน เพิ่มความแข็งแรง ช่วยป้องกันหรือชะลอไม่ให้มุมการคดมีการเปลี่ยนแปลงไปมากกว่าเดิม
- มุมการคดมากกว่า 45 องศา : อาจต้องรักษาโดยการผ่าตัดเพื่อจัดแนวกระดูกสันหลังใหม่ การผ่าตัดนี้ใช้หลักการเดียวกับการรักษากระดูกหักคือการใช้โลหะช่วยดาม กระดูกสันหลังให้ตรง
แพทย์ทางเลือก
สำหรับการรักษาด้วยวิธีอื่น ปัจจุบันยังไม่มีงานวิจัยรับรองว่าประสบผลสำเร็จ
- Chiropractic manipulation
- Electrical stimulation of muscles
- Biofeedback
สิ่งที่ควรรู้เกี่ยวกับ เสื้อเกราะ
- เสื้อเกราะช่วยป้องกันไม่ให้มีการคดมากขึ้น แต่มักไม่ช่วยแก้ไข้การคดให้กลับมาเป็นปกติ
- ควรใส่เสื้อเกราะเป็นประจำ อย่างสม่ำเสมอ
- เริ่มแรกอาจใส่เสื้อเกราะนานวันละ 2-3 ชั่วโมง บางรายอาจต้องใส่ตลอดวัน ขึ้นกับดุลยพินิจของแพทย์
- อายุของผู้ป่วยมีความสัมพันธ์กับการ ดำเนินไปของโรค โดยพบว่า เมื่อกระดูกของผู้ป่วยหยุดการเจริญเติบโตเมื่อใด การเปลี่ยนแปลงของมุมการคดมักจะหยุดตาม ซึ่งหมายความว่าผู้ป่วยสามารถเลิกใส่เสื้อเกราะได้เมื่อแพทย์เห็นว่าผู้ป่วย ไม่มีการเจริญเติบโตของกระดูกอีกต่อไป
- เสื้อเกราะไม่ใช้รักษาโรคกระดูกสันหลังคดในผู้ใหญ่
- ระหว่างใส่เสื้อเกราะ ผู้ป่วยสามารถทำกิจกรรมต่างๆในชีวิตได้ตามปกติ เช่น เล่นดนตรี เล่นกีฬา เป็นต้น
- เสื้อเกราะจะถูกสวมใส่ไว้ด้านใน และเสื้อผ้าปกติจะถูกใส่ทับด้านนอกเสื้อเกราะ ดังนั้นผู้ป่วยควรเลือกซื้อเสื้อผ้าที่ใหญ่ขึ้นกว่าเดิมเพื่อความสบายตัว เสื้อชั้นในควรเป็นผ้าฝ้าย 100% ไม่มีตะเข็บ ไม่มีรอยจีบย่น และพอดีตัว ทั้งนี้เพื่อป้องกันการเสียดสีกับผิวหนัง ซึ่งทำให้เกิดอาการระคายเคืองได้
Link https://www.healthy.freewer.net
+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++