การวัดกระดูกสันหลังคด sia การทํา mri กระดูกสันหลัง การวัดองศากระดูกสันหลัง


1,374 ผู้ชม


การวัดกระดูกสันหลังคด sia การทํา mri กระดูกสันหลัง การวัดองศากระดูกสันหลัง

              การวัดกระดูกสันหลังคด sia

   
โรคกระดูกสันหลังคดก็คือเป็นภาวะที่กระดูกสันหลังมีความโค้งในแนวซ้ายขวาที่ผิดปกติ นอกจากนี้อาจมีการบิดหรือหมุนออกไปจากแนวเดิมของกระดูกสันหลังอีกด้วย  ส่งผลให้กระดูกสันหลังมีรูปร่างคดคล้ายรูปตัวเอส S นั่นเอง
เราเป็นคนอีกคนหนึ่งในจำนวนหลาย ๆ คนที่เป็นโรคนี้ และคดจนเป็นรูปตัว S เลย  และเราก็เริ่มมีความคิดว่ามันน่าจะมีประโยชน์สำหรับคนอื่น ๆ ถ้าเราได้เขียนถึงรายละเอียดต่าง ๆ ของโรคให้คนอื่นได้รู้ เหมือนที่เรารู้อยู่ทุกวันนี้
            เราได้ทราบว่าตัวเองเป็นโรคนี้ตอนอายุประมาณ 18 ปี และหลังจากนั้นก็ปรึกษาแพทย์อยู่นานหลายปีทีเดียวเกี่ยวกับโรคที่ตัวเองเป็น จากการตรวจรักษาและการสอบถามของเรานั้นทำให้ทราบว่าโรคกระดูกสันหลังคดนี้มีสาเหตุ คือ เคยได้รับอุบัติเหตุที่ทำให้กระดูกสันหลังได้รับการกระทบกระเทือน และการที่กระดูกสันหลังคดมาตั้งแต่กำเนิด จะทำให้กระดูกสันหลังมีรูปร่างผิดปกติ ซึ่ง 2 อย่างนี้พบเพียงแค่ 10% เท่านั้น อีก 10 % มาจากการถ่ายทอดทางพันธุกรรม และที่พบบ่อยที่สุดคือการที่กระดูกสันหลังคดแบบไม่ทราบสาเหตุจะพบถึง 80 %  เลยทีเดียว ซึ่งแบบไม่ทราบสาเหตุนี้จะเกิดขึ้นในช่วงอายุของวัยเด็กและวัยรุ่น แต่เราเคยอ่านหนังสือบางเล่มเขาบอกเอาไว้ว่าการที่เรานั่งในท่าที่ผิด ๆ นาน ๆ จะส่งผลต่อกระดูกสันหลังด้วยเช่นกัน นั่นคือหากเรานั่งอ่านหนังสือ นั่งเรียนในลักษณะที่อยู่ในท่าที่สบายและถนัดแต่ตัวเอียง จะส่งผลให้กระดูกสันหลังค่อย ๆ คด ได้เช่นกัน
            หลายคนคงสงสัยว่าเราจะรู้ได้อย่างไรว่าตัวเองกระดูกสันหลังคดหรือไม่ อันนี้ก็ง่ายมากเลยให้เราลองถอดเสื้อแล้วยืนหน้ากระจกดู เราจะมองออกเลยว่าตัวเองเอียง ไหล่ทั้ง 2 ข้าง สูงต่ำไม่เท่ากัน เห็นว่าหลังนูน ๆ ขึ้นมา ระดับของแนวกระดูกสะโพกไม่เท่ากัน และการสังเกตที่ง่ายและได้ผลดีที่สุดก็คือ ลองยืนตัวตรงเท้าทั้ง 2 ข้างชิดกัน แล้วค่อย ๆ ยืดมือทั้ง 2 ข้างลงไปแตะปลายเท้า เราจะเห็นว่าความนูนของหลังจะไม่เท่ากัน (วิธีนี้เราทำบ่อยมากเพราะเวลาไปหาหมอ หมอก็จะให้ทำแบบนี้ทุกรอบเลย) แต่สำหรับวิธีที่เห็นเด่นชัดที่สุดก็คือการ x-ray นั่นเอง เพราะจะทำให้มองเห็นการเรียงตัวของกระดูกสันหลังได้อย่างชัดเจน
        ต่อไปก็พูดถึงอาการของคนเป็นโรคกระดูกสันหลังคดกัน นอกจากจะมีอาการตัวเอียง ไหล่เอียงแล้ว จะยังผลให้เกิดอาการไม่เจริญเติบโตเท่าที่ควร (อันนี้เราก็ไม่รู้ว่ามันไปเกี่ยวอะไรกันตรงไหนนะ) แต่หมอบอกว่าแบบนั้นคือถ้าองศาการเอียงมีมากเราจะหยุดโต ของเรามันคดถึง  45-50 องศา  ซึ่งถือว่าเยอะมาก  คดจนเป็นรูป S เลย  แล้วเราก็หยุดจริง ๆ ไม่เคยสูงขึ้นและไม่เคยน้ำหนักขึ้น แม้ว่าเราจะกินเยอะก็ตาม และอาการที่พบได้บ่อยที่สุดก็คือ ปวดเอว ปวดหลัง หายใจลำบาก รู้สึกเหนื่อยง่าย เพราะการที่กระดูกสันหลังมีรูปร่างผิดปกติมันจะส่งผลถึงซี่โครงด้วย และซี่โครงนี่เองที่จะทำให้ปอดขยายได้ไม่เต็มที่ทำให้เกิดอาการเหนื่อยง่าย แต่เราโชคดีตรงที่ว่าเราไม่เคยปวดหลัง หรือปวดเอวเลย มีแค่เหนื่อยง่าย ไม่โต และตัวเอียงเท่านั้น เพราะถ้าปวดหลังเราจะต้องใช้ยาช่วย สิ่งที่เราทำเป็นประจำโดยที่ไม่ใช้ยาก็คือไปโรงพยาบาลเพื่อถ่าย x-ray ทุก ๆ 6 เดือน เพื่อให้หมอกระดูกได้วัดองศาว่ากระดูกสันหลังของเราคดจากปกติกี่องศา และคดมากขึ้นหรือไม่
            การรักษาโรคนี้มี 2 อย่างก็คือ การใส่เสื้อเกราะเพื่อพยุงกระดูกสันหลัง และการผ่าตัด จากการที่เราตัดสินใจจะรักษา หมอแนะนำว่าการใส่เสื้อเกราะนั้นจะทำให้แก้ได้ช้าและมักจะมีผลมากกับเด็ก เพราะเด็กเป็นวัยที่กระดูกยังอ่อน ยังสามารถดัดได้ (เข้าสำนวนไม้อ่อนดัดง่าย ไม้แก่ดัดยากเลย) แต่ถ้านำมาใช้กับคนที่โตแล้วและหยุดการเจริญเติบโตแล้วเสื้อเกราะนี้ก็ไม่ควรใช้ เพราะมันจะไม่ได้ผล ส่วนการผ่าตัดนั้นจะเป็นการผ่าตัดใหญ่ (ใช้เวลานานและใช้หมอหลายคน) ผู้ที่จะเข้ารับการผ่าตัดต้องมีสุขภาพที่เหมาะในการเข้ารับการผ่าตัด เพราะในการผ่าตัดจะเสียเลือดด้วย วิธีการผ่าตัดก็คือผ่าตามแนวกระดูกสันหลังตั้งแต่คอลงไปจนถึงเอว แล้วนำเอาเหล็ก 2 อัน ยาว ๆ มาดามกระดูกไว้ มันคงคล้ายๆ เวลาที่คนฟันไม่สวยไปให้หมอฟันดัดฟันมั้ง แล้วก็ใส่เหล็กนั่นไว้ เมื่อหมอเห็นสมควรว่าถอดเหล็กได้ก็ถอดออกมา (ค่อนข้างนาน)   และหลังจากถอดเหล็กออกหมอก็จะให้ใส่เสื้อเกราะเพื่อพยุงกระดูกสันหลังที่ได้รับการผ่าตัดเอาไว้ด้วยจนกว่าจะหายดี ส่วนระยะเวลาในการผ่าตัดและฟื้นตัวนั้นหมอบอกเอาไว้ว่าก็แล้วแต่สภาพของคนไข้ บางรายก็ 1 อาทิตย์ออกจากโรงพยาบาลได้เลย แต่บางรายอาจะเป็นเดือน ดังนั้นคนไข้จึงควรมีสุขภาพที่แข็งแรงก่อนผ่าตัด  ส่วนค่าผ่าตัดถ้าเป็นโรงพยาบาลชองรัฐบาล (เมื่อ 5 ปีที่แล้วนะ) ประมาณ 20,000 บาท แต่สามารถทำเรื่องส่งตัวจากโรงพยาบาลที่ตัวเองมีบัตรทองอยู่เพื่อทำการผ่าตัดฟรีได้ เพราะในทางการแพทย์แล้วโรคกระดูกสันหลังคดนั้นไม่จัดเป็นการศัลยกรรมเพื่อความสวยงาม (แม้มันจะส่งผลให้บุคลิกภาพของเราไม่งามก็ตาม)
            ส่วนเรานั้นหลังจากที่ถามหมอในรายละเอียดทุกอย่างแล้วหมอให้เราเลือกได้เองว่าจะผ่าตัดหรือไม่ เพราะในกรณีของเราในตอนนี้เป็นเพียงแค่ส่งผลต่อบุคลิกภาพทำให้หลังไม่สวยเท่านั้นเอง เราก็เลยเลิกว่ายังไม่ผ่าตัดในตอนนี้ แต่เราก็คิดเอาไว้นะว่าไม่นานคงต้องผ่าตัด เพราะว่ามันทำให้เราหายใจลำบากและเหนื่อยง่าย
 
แต่ถ้าหากใครเป็นแล้วอยากปรึกษาแพทย์ เราคิดว่าโรงพยาบาลที่มีหมอกระดูกโดยเฉพาะจะสามารถให้คำปรึกษาเกี่ยวกับโรคนี้ได้นะ แต่โรงพยาบาลที่เราไปประจำก็คือโรงพยาบาลเลิศสิน และที่รู้ว่าสามารถให้คำปรึกษาได้และรักษาได้ก็ยังมีโรงพยาบาลศิริราช โรงพยาบาลจุฬา โรงพยาบาลสงขลานครินทร์ (มอ.  หาดใหญ่)โรงพยาบาลชัยวัฒน์ (หมอวิทย์) ที่ จังหวัดตรังแต่ที่นี่จะเป็นเอกชน เป็นต้น

       Link      https://www.dek-d.com


+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

            การทํา mri กระดูกสันหลัง


จากเรื่องก้อนในปอด ที่เกิดขึ้นกับเพื่อนปูผัด ทำให้ปูผัดไปถามคุณหมอ
" คุณหมอคะ ปูผัดจะขอทำ MRI ทั้งตัวเลยได้ไหมคะ ปูผัดอยากรู้ว่า มีก้อนอะไรในตัวปูผัดบ้าง "
หมอทำหน้างงๆ
" ต้องทำอย่างนั้นทำไมล่ะ  มันต้องมีเหตุให้ต้องทำ ไม่ใช่อยู่ๆไปทำ คิดได้ไง "
เอา เถอะ ไม่ทำก็ไม่ทำ แต่เรามาทำความรู้จักกับเจ้า เครื่อง MRI กันดีกว่านะคะ เดี๋ยวนี้ มีกันแทบจะทุกรพ.แล้วค่ะ ต่างกันตรงที่ว่า เป็นรุ่นไหน ใครใหม่กว่ากัน..เท่านั้น

MRI คืออะไร

MRI ( Magnetic Resonance Imaging)  คือ เครื่องตรวจร่างกายโดยการสร้างภาพเหมือนจริง ของส่วนต่างๆของร่างกาย โดยใช้สนามแม่เหล็กความเข้มสูง และคลื่นความถี่ในย่านความถี่วิทยุ(Radio Frequency) ด้วยการส่งคลื่นความถี่เข้าสู่ร่างกาย และรับคลื่นสะท้อนกลับ นำมาประมวลผลและสร้างเป็นภาพ ด้วยคอมพิวเตอร์ ซึ่งสามารถให้รายละเอียดและความคมชัดเสมือนการตัดร่างกายออกเป็นแผ่นๆ ทำให้แพทย์สามารถมองจุดที่ผิดปกติในร่างกายคนเราได้อย่างละเอียด โดยที่ไม่ก่อให้เกิดอันตรายใดๆต่อผู้รับการตรวจ

ข้อบ่งชี้และข้อดีในการใช้ MRI
1. MRI สามารถให้ภาพที่แยกความแตกต่างระหว่างเนื้อเยื่อต่างๆ ได้ชัดเจน ทำให้มีความถูกต้องแม่นยำในการวินิจฉัยโรคมากยิ่งขึ้น อีกทั้งสามารถทำการตรวจได้ในทุกๆระนาบ ไม่ใช่เฉพาะแนวขวางอย่างเอกซเรย์คอมพิวเตอร์
2. ใช้ได้ดีกับส่วนที่ไม่ ใช่กระดูก (non bony parts) คือเนื้อเยื่อ (soft tissues) โดยเฉพาะ สมอง เส้นประสาทไขสันหลัง และเส้นประสาทในร่างกาย ( CT scan ดูภาพกระดูกได้ดีกว่า )
3. ใช้ได้ดีกับ กล้ามเนื้อ เส้นเอ็นยึดกระดูกและกล้ามเนื้อ
4. สามารถ ตรวจเส้นเลือดได้โดย ไม่ต้องเสี่ยงกับการฉีดสารทึบรังสี และการสวนสายยางเพื่อฉีดสี ซึ่งมีประโยชน์ต่อวงการแพทย์แผนปัจจุบันเป็นอย่างมาก เพราะมีความปลอดภัยสูงและค่าใช้จ่ายที่ค่อนข้างต่ำ นอกจากนี้ยังสะดวกสบายกว่าเพราะไม่จำเป็นต้องเตรียมตัวใดๆทั้งก่อนและหลัง การตรวจ คนไข้สามารถกลับบ้านได้ทันทีที่ตรวจเสร็จ
5. ไม่ก่อให้เกิดอันตรายต่อเนื้อเยื่อเหมือนใน CT scan เพราะไม่ใช้คลื่นรังสี
ระบบ หรือ อวัยวะควรได้รับการตรวจ ด้วย MRI

1.MRI of Nervous System ใช้ได้ดีในการตรวจสมอง ไขสันหลังและเส้นประสาทในร่างกาย สามารถมองเห็นรอยโรคได้อย่างชัดเจน เช่น ภาวะสมองขาดเลือดโดยเฉพาะในช่วงแรก และความผิดปกติบริเวณก้านสมอง (สามารถตรวจหาความผิดปกติได้ดีกว่าการเอกซเรย์คอมพิวเตอร์) โรคเนื้องอกของสมอง และโรคลมชัก
2.MRI  of Musculoskeleton Systemใช้ได้ดีในการตรวจกระดูกสันหลังและระบบกล้ามเนื้อและข้อ ช่วยในการวินิจฉัยรอยโรคต่างๆ เช่น หมอนรองกระดูกทับเส้นประสาทหรือการบาดเจ็บต่อเส้นเอ็นบริเวณข้อต่างๆ  ปัจจุบันได้มีการตรวจโดยใช้คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (เอ็มอาร์ไอ) เพื่อช่วยในการวินิจฉัยโรคของกระดูกและข้อเป็นจำนวนมาก การตรวจ MRI จะเห็นความผิดปกติที่เกิดขึ้นภายในโพรงกระดูก หรือไขกระดูกได้อย่างชัดเจน เช่น เนื้องอกภายในกระดูก MRI จะสามารถบอกขอบเขตของโรคได้ถูกต้องแม่นยำ เพื่อประโยชน์ในการวางแผนการรักษา โรคของกระดูกบางอย่างเช่น การขาดเลือดไปเลี้ยงที่หัวของกระดูกต้นขา MRI เป็นการตรวจที่ไวที่สุด สามารถตรวจพบความผิดปกติได้ แม้ภาพเอ็กซ์เรย์ธรรมดายังปกติอยู่ ข้อที่มีการตรวจ MRI มากที่สุด คือ ข้อเข่า รองลงมา คือ ข้อไหล่ เมื่อสงสัยว่าจะมีการฉีกขาดของเส้นเอ็นหรือกระดูกอ่อนภายในข้อ การถ่ายภาพเอ็กซเรย์ธรรมดา อาจเห็นเพียงเงาของน้ำในข้อ แต่ MRI จะเห็นส่วนประกอบต่างๆภายในข้อได้อย่างชัดเจน และบอกได้อย่างแม่นยำว่ามีการบาดเจ็บต่อส่วนประกอบเหล่านั้นอย่างไรบ้าง
3MRI of Blood Vessels สามารถตรวจหลอดเลือดของอวัยวะต่างๆได้ดี (Magnetic Resonance Angiography,MRA) เช่น ความผิดปกติของหลอดเลือดสมองหรือ การตีบตันของหลอดเลือดไต โดยไม่ต้องเจาะใส่สายสวนเพื่อฉีดสี มีความปลอดภัยสูงสะดวกสบาย ไม่จำเป็นต้องเตรียมตัวใดๆทั้งก่อนและหลังการตรวจ และสามารถกลับบ้านได้ทันที
4.MRI of Abdomen สามารถตรวจช่องท้อง ท่อทางเดินน้ำดี และถุงน้ำดี (Magnetic Resonance Cholangiopancreatography,MRCP) ซึ่งให้ภาพที่ชัดเจนและเหมาะสำหรับการตรวจหาโรค เช่น นิ่วในทางเดินน้ำดี เนื้องอก หรือมะเร็งในท่อน้ำดีและบริเวณโดยรอบซึ่งทำให้เกิดการอุดตัน ตลอดจนสามารถแยกแยะเนื้องอกในช่องท้องได้ดี

ข้อมูลโดย
พลโท นพ.พร้อมพงษ์ พีระบูล ศัลยแพทย์ ระบบประสาทวิทยา รพ.วิภาวดี

                 Link  https://www.oknation.net/

สวัสดีครับ คุณ สุกิจ
จากอาการที่เล่ามานั้น ผู้ป่วยอาจอ่อนแรงจากอาการกระดูกสันหลังเสื่อม ทับเส้นประสาทได้ครับ
การรักษาที่แพทย์ท่านได้ให้ไว้ คือเริ่มต้นด้วยการรับประทานยา และ ทำกายภาพบำบัด ในตอนเริ่มต้นการรักษานั้น เป็นสิ่งที่ตรงตามแนวทางมาตราฐานแล้วครับ
ผู้ป่วยประมาณ 50-70% มีโอกาสหายจากการทำกายภาพบำบัดที่ถูกต้อง และ การบริหาร รับประทานยา ต่อเนื่องกันประมาณ หก สัปดาห์ครับ
ในกรณีที่อาการไม่ดีขึ้น หลังได้รับการรักษาแบบไม่ผ่าตัด(แบบอนุรักษ์นิยม)นี้เป็นเวลาติดต่อกัน หก สัปดาห์แล้ว ก็มีข้อบ่งชี้ที่จะทำ MRI เพิ่อเป็นแนวทางในการรักษาที่ invasive มากขึ้น
อย่าง ไรก็ตาม ก่อนที่ผู้ป่วยจะมาพบแพทย์ บางครั้งผู้ป่วยได้รับการรักษามาก่อนหน้านี้แล้ว ดังนั้น การตัดสินใจทำ MRI และ การรักษาเพิ่มเติมอื่นๆ เช่น การฉีดยา SNRB หรือ การผ่าตัด Laminectomy จึงอาจตัดสินใจทำได้เร็วกว่า หก สัปดาห์ ก็ได้ ขึ้นกับ วิจารณญาณ ของแพทย์แต่ละท่านครับ
1. ผมเน้นเสมอว่า กระดูกสันหลังทับเส้นประสาทระดับเอวนั้น ไม่ค่อยมีอาการเป็นมากขนาดทำให้เกิดอัมพฤกษ์ อัมพาต แบบ รุนแรงเหมือน โรคเส้นเลือดแตกในสมอง หรือ เส้นเลือดอุดตันในสมองหรอกครับ ส่วนใหญ่อาการค่อยๆเป็นอย่างช้าๆ และ แก้ไขได้ทัน บางครั้งผู้ป่วยและญาติ มีความวิตกกังวลมากเกินไปครับ
การทำ MRI ต้องเน้นว่า เป็นการใช้เพื่อให้คำอธิบายอาการตรวจร่างกาย (Sign) และ อาการผิดปกติของผู้ป่วย (Symptom) ได้เท่านั้นครับ
การ ใช้MRIเพียงอย่างเดียว ไม่สามารถให้การวินิจฉัยได้ 100%เสมอไปครับ พบบ่อยๆว่าเกิดการวินิจฉัยมากเกินไป(over diagnosis) จาก false positive ที่เกิดจาก Mri ครับ
อย่างไรก็ตาม ในขณะนี้ ถ้าให้พูกถึง การตรวจทางเอกซ์เรย์ที่ใช้อธิบายอาการกระดูกสันหลังทับเส้น และ เป็นการตรวจเพื่อวางแผนก่อนการผ่าตัดได้ดีที่สุด คือ MRI ครับ
2. รพ. รัฐบาลที่สามารถทำการผ่าตัดโรคชนิดนี้ได้ มีอยู่ทั่วไปครับ โดยเฉพาะในรร.แพทย์ และ รพ.ที่มีแพทย์ทางด้านกระดูกสันหลังอยู่เช่น พระมงกุฏ ภูมิพล ราชวิถี วชิระ เลิศสิน เป็นต้น
3.ค่าใช้จ่ายในการผ่าตัดรักษากระดูกสันหลังทับเส้นประสาทนั้น ผมขอใช้ rate ของรพ.รัฐบาลนะครับ
-ค่าห้องผ่าตัด ค่าเตียง ค่ายา ใน การนอนประมาณ 5-7 วัน น่าจะประมาณ 20,000-30,000 บาทครับ (เป็นอัตราที่กำหนดโดยกระทรวงการคลังครับ) ราคาอาจมากกว่านี้ ถ้าคุณสุกิจเลือกห้องพิเศษ และ ได้รับยาดีๆ ยาแพงๆ โดยแพทย์เจ้าของไข้ ครับ
-ค่าโลหะ(ถ้ามีการใช้เพื่อเชื่อมข้อ) ขึ้นกับยี่ห้อของโลหะนั้น ทำในเมืองไทย หรือ ต่างประเทศ และ จำนวนชิ้น ของโลหะที่ใช้ในผู้ป่วยแต่ละราย ราคาแตกต่างกันมากครับ (ราคาอาจแตกต่างกัน เป็นหลายๆหมื่นหรือ เป็นแสนบาทได้) ผู้ป่วยและญาติ ต้องปรึกษาแพทย์ให้ถี่ถ้วนก่อนที่จะตกลงใจผ่าตัดครับ
-ค่าเหนื่อยของแพทย์(Doctor fee) ใน การผ่าตัดและดมยาของวิสัญญีแพทย์ ถ้าคุณทำในรพ. รัฐบาล ก็ไม่มีค่าใช้จ่ายนี้ครับ(ซึ่งในรพ.เอกชน จะมีค่าแพทย์นี้หลายสตางค์อยู่นะครับ แพทย์แต่ละท่านก็คิดแตกต่างกันมากเป็นหลายๆหมื่นหรือเป็นแสน มีครับ ผู้ป่วยควรต้องประเมินค่าใช้จ่ายส่วนนี้ก่อนการผ่าตัดด้วยครับ)
-ค่าใช้จ่ายอื่นๆ ซึ่งก็คงไม่มากนักครับ
3. การทำ MRI นั้น เป็น none-invasive investigation (ไม่มีการทำให้เกิดบาดแผล) ดังนั้น ไม่น่าจะก่อให้เกิดความเสี่ยงใดๆครับ แต่ มีข้อห้าม ในผู้ป่วยที่ใส่อุปกรณ์ควบคุมการเต้นของหัวใจ(pace maker)ซึ่งคลื่นแม่เหล็กที่ใช้ในการตรวจMRI อาจกระทบกระเทือนการทำงานของเครื่องมือนี้ได้ครับ
4. ค่าใช้จ่ายในการทำ MRI อยู่ที่ประมาณ 8,000-12,000 บาท ครับ
ยินดีให้คำปรึกษาครับ
นพ. ทายาท บูรณกาล

              Link       https://www.thaispine.com

++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++=

             การวัดองศากระดูกสันหลัง

กระดูกสันหลังคด รักษาอย่างไร

Scoliosis คือ โรคกระดูกสันหลังคด

กระดูกสันหลังมีหน้าที่รับน้ำหนักและช่วยพยุงร่างกายให้สามารถตั้งตรง ได้  ในคนปกติหากมองจากด้านหลังจะเห็นกระดูกสันหลังเป็นแนวเส้นตรง   แต่ในคนที่เป็นโรคกระดูกสันหลังคด  เมื่อมองจากด้านหลังจะเห็นแนวกระดูกโค้งไปทางซ้ายหรือขวา ไม่เป็นเส้นตรงเหมือนคนปกติ  โรคกระดูกสันหลังคดพบประมาณ 2-3 % ของประชากร  พบได้เท่ากันในผู้ชายและผู้หญิง  แต่ผู้หญิงมักจะมีการคดงอของกระดูกมากกว่าผู้ชาย  โรคกระดูกสันหลังคดเกิดได้ในทุกอายุ พบได้ตั้งแต่เด็กเกิดจนถึงวัยผู้ใหญ่   แต่ส่วนมากมักเกิดในช่วงที่มีการเจริญเติบโตของกระดูกอย่างรวดเร็ว คืออายุประมาณ 10-15 ปี  

scoliosis1

สาเหตุ โรคกระดูกสันหลังคด

ผู้ป่วย 85% ไม่ทราบสาเหตุ    มีเพียงส่วนน้อยที่ทราบสาเหตุ เช่น กระดูกสันหลังคดจากขาที่ยาวไม่เท่ากัน  กระดูกสันหลังคดจากสมองพิการ หรือเกิดจากความผิดปกติแต่กำเนิด เป็นต้น

อาการ โรคกระดูกสันหลังคด

อาการในผู้ป่วยแต่ละรายอาจแตกต่างกัน ขึ้นกับว่ากระดูกคดเป็นมุมมากน้อยเพียงใด  อาการต่างๆที่พบได้มีดังนี้

  • การเดินผิดปกติ
  • ไหล่หรือสะโพก 2 ข้าง สูงไม่เท่ากัน
  • ปวดหลัง
  • มีอาการเหนื่อยง่ายกว่าปกติเวลาออกแรงหรือทำกิจกรรมต่างๆ

การตรวจ โรคกระดูกสันหลังคด

แพทย์จะตรวจกระดูกสันหลังของผู้ป่วยในท่ายืน โดยให้ผู้ป่วยก้มตัว เอานิ้วแตะปลายเท้าตัวเอง  ในท่านี้แพทย์จะเห็นลักษณะความผิดปกติของแผ่นหลังได้ชัดเจนมากขึ้น   การตรวจเพิ่มเติมด้วย x-ray มีประโยชน์ในการช่วยวัดมุม  และช่วยติดตามการดำเนินไปของโรคว่าแย่ลงหรือไม่

การรักษา โรคกระดูกสันหลังคด

การรักษาขึ้นกับมุมการคด  การเปลี่ยนแปลงของมุม  และอายุของผู้ป่วย

  • มุมการคดน้อยกว่า 25 องศา :  ยังไม่จำเป็นต้องได้รับการรักษาใดๆ  ให้ติดตามการเปลี่ยนแปลงของมุม ทุก 4-6 เดือน
  • มุมการคดมากกว่า 25 องศา : รักษาโดยการใส่เสื้อเกราะ(Brace)  เสื้อเกราะเป็นอุปกรณ์ค้ำจุน เพิ่มความแข็งแรง  ช่วยป้องกันหรือชะลอไม่ให้มุมการคดมีการเปลี่ยนแปลงไปมากกว่าเดิม
  • มุมการคดมากกว่า 45 องศา : อาจต้องรักษาโดยการผ่าตัดเพื่อจัดแนวกระดูกสันหลังใหม่  การผ่าตัดนี้ใช้หลักการเดียวกับการรักษากระดูกหักคือการใช้โลหะช่วยดาม กระดูกสันหลังให้ตรง

แพทย์ทางเลือก

สำหรับการรักษาด้วยวิธีอื่น  ปัจจุบันยังไม่มีงานวิจัยรับรองว่าประสบผลสำเร็จ

  • Chiropractic manipulation
  • Electrical stimulation of muscles
  • Biofeedback

สิ่งที่ควรรู้เกี่ยวกับ เสื้อเกราะ

  • เสื้อเกราะช่วยป้องกันไม่ให้มีการคดมากขึ้น  แต่มักไม่ช่วยแก้ไข้การคดให้กลับมาเป็นปกติ
  • ควรใส่เสื้อเกราะเป็นประจำ อย่างสม่ำเสมอ
  • เริ่มแรกอาจใส่เสื้อเกราะนานวันละ 2-3 ชั่วโมง  บางรายอาจต้องใส่ตลอดวัน  ขึ้นกับดุลยพินิจของแพทย์
  • อายุของผู้ป่วยมีความสัมพันธ์กับการ ดำเนินไปของโรค  โดยพบว่า เมื่อกระดูกของผู้ป่วยหยุดการเจริญเติบโตเมื่อใด  การเปลี่ยนแปลงของมุมการคดมักจะหยุดตาม  ซึ่งหมายความว่าผู้ป่วยสามารถเลิกใส่เสื้อเกราะได้เมื่อแพทย์เห็นว่าผู้ป่วย ไม่มีการเจริญเติบโตของกระดูกอีกต่อไป
  • เสื้อเกราะไม่ใช้รักษาโรคกระดูกสันหลังคดในผู้ใหญ่
  • ระหว่างใส่เสื้อเกราะ ผู้ป่วยสามารถทำกิจกรรมต่างๆในชีวิตได้ตามปกติ  เช่น เล่นดนตรี  เล่นกีฬา เป็นต้น
  • เสื้อเกราะจะถูกสวมใส่ไว้ด้านใน  และเสื้อผ้าปกติจะถูกใส่ทับด้านนอกเสื้อเกราะ  ดังนั้นผู้ป่วยควรเลือกซื้อเสื้อผ้าที่ใหญ่ขึ้นกว่าเดิมเพื่อความสบายตัว   เสื้อชั้นในควรเป็นผ้าฝ้าย 100%  ไม่มีตะเข็บ  ไม่มีรอยจีบย่น และพอดีตัว  ทั้งนี้เพื่อป้องกันการเสียดสีกับผิวหนัง ซึ่งทำให้เกิดอาการระคายเคืองได้

scoliosis-brace

           Link     https://www.healthy.freewer.net

+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

อัพเดทล่าสุด