กายภาพบําบัด กระดูกสันหลังคด กระดูกสันหลังอักเสบ โรคกระดูกสันหลังทับเส้นประสาท
กายภาพบําบัด กระดูกสันหลังคดโรคกระดูกสันหลังคดคือโรคอะไร
• โรคกระดูกสันหลังคดตั้งแต่กำเนิด (Congenital Scoliosis)
• โรคกระดูกสันหลังคดจากความผิดปกติของกล้ามเนื้อระบบประสาท ( Neuromuscular Scoliosis )
• ระดับหัวไหล่ 2 ข้างไม่เท่ากัน
• ด้านหลังอาจมีกระดูกนูน เห็นชัดในท่าก้มตัวไปข้างหน้า
• ผู้ป่วยจึงมักมาพบแพทย์ด้วยความกังวลเกี่ยวกับรูปร่าง มีคนไข้ ส่วนน้อยเท่านั้นที่มีอาการปวดหลัง
Adam ' s forward bending test ให้ผู้ป่วยยืนเท้าชิดกัน และให้ก้มไปด้านหน้า ใช้มือ 2 ข้างพยายามแตะพื้น จะเห็นความนูนของหลังไม่เท่ากัน ( Rib Hump ) ดังรูป
• 1. การรักษาด้วยการไม่ผ่าตัด การรักษาวิธีนี้ ใช้ในกรณีผู้ป่วยมีมุมองศาที่คดไม่มาก โดยใช้การ สังเกตอาการ (observe) หรืออาจต้องใช้เสื้อเกราะ ( brace ) ใน ผู้ป่วยบางราย
• 2. การรักษาด้วยการผ่าตัด การรักษาวิธีนี้ใช้ในกรณีผู้ป่วยมีมุมองศาที่คดมาก หรือมีการเพิ่ม ของมุมองศาที่คดมากขึ้นขณะติดตามการรักษา
2. ผู้ป่วยที่มีมุมของกระดูกสันหลังคดมากกว่า 50-55 องศา ในวัยที่หยุด การเจริญเติบโตแล้ว ( maturity )
3. ผู้ป่วยที่มีการคดของกระดูกสันหลังมากขึ้นเรื่อยๆ ขณะรับการรักษาโดย การใส่เสื้อเกราะ ( brace )
• โดยการผ่าตัดแพทย์จะจัดแนวกระดูกสันหลังแล้วใช้อุปกรณ์ยึด กระดูกสันหลัง หลังจากนั้น ทำการเชื่อม
ภาพถ่ายทางรังสีในผู้ป่วย ที่ได้รับการผ่าตัดแก้ไขกระดูกสันหลังคด
ภาพผู้ป่วยก่อนได้รับการผ่าตัด
ภาพผู้ป่วยหลังได้รับการผ่าตัด
ภาพผู้ป่วยหลังได้รับการผ่าตัด
ภาพผู้ป่วยก่อนได้รับการผ่าตัด
ภาพผู้ป่วยหลังได้รับการผ่าตัด
++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
กระดูกสันหลังอักเสบ
โรคข้อและกระดูกสันหลังอักเสบ
โรคข้อและกระดูกสันหลังอักเสบคืออะไร
โรคข้อและกระดูกสันหลังอักเสบหมายถึงกลุ่มโรคที่มีการอักเสบของข้อกระดูก สันหลังและข้อรยางค์ (แขนและขา) ร่วมกับการอักเสบของปลายเอ็นส่วนที่ยึดติดกับกระดูก ซึ่งก่อให้เกิดอาการปวดตึงหลัง ปวดข้อของแขนหรือขา และเจ็บที่เอ็น นอกจากนี้ยังอาจมีอาการแสดงในระบบอื่นๆ เช่น ผื่นผิวหนัง ตาแดง ตามัว หรือท้องเสีย เป็นต้น
โรคที่อยู่ในกลุ่มนี้แบ่งออกเป็น 5 โรคได้แก่
1. โรคข้อกระดูกสันหลังอักเสบชนิดติดยึด (ankylosing spondylitis)
2. โรคข้ออักเสบรีแอ๊คตีฟ (reactive arthritis)
3. โรคข้ออักเสบสะเก็ดเงิน (psoriatic arthritis)
4. โรคข้ออักเสบร่วมกับโรคลำไส้อักเสบ (enteropathic spondyloarthropathy)
5. โรคข้อและกระดูกสันหลังอักเสบที่ยังไม่ทราบชนิด (undifferentiated spondyloarthropathy)
สาเหตุโรคข้อและกระดูกสันหลังอักเสบคืออะไร
สาเหตุที่แท้จริงยังไม่ทราบ อย่างไรก็ตามพบว่าสมาชิกของครอบครัวที่มีผู้ป่วยเป็นโรคข้อและกระดูกสันหลัง อักเสบจะมีโอกาสเป็นโรคนี้มากขึ้น โดยมีความสัมพันธ์กับยีนชนิดหนึ่งที่เรียกว่า HLA-B27 ดังนั้นจึงเชื่อว่าปัจจัยทางพันธุกรรมหรือยีนที่ผิดปกติน่าจะเป็นสาเหตุที่ สำคัญของโรคนี้
นอกจากนี้การติดเชื้อโรคบางชนิดเช่น เชื้อคลามัยเดียที่ทำให้เกิดการอักเสบของท่อปัสสาวะ หรือเชื้อโรคที่ทำให้เกิดท้องร่วงเช่น เชื้อซาโมเนลลา ก็สามารถกระตุ้นให้โรคข้ออักเสบรีแอ๊คตีฟกำเริบขึ้นได้ ดังนั้นปัจจัยทางสิ่งแวดล้อมโดยเฉพาะการติดเชื้อจึงเป็นสาเหตุที่สำคัญอีก ประการหนึ่งที่มากระตุ้นให้เกิดโรคนี้ขึ้น
ใครมีโอกาสเป็นโรคข้อและกระดูกสันหลังอักเสบบ้าง
โรคข้อและกระดูกสันหลังอักเสบพบบ่อยในช่วงวัยรุ่นถึงวัยกลางคน โดยพบในผู้ชายบ่อยกว่าผู้หญิง 2-3 เท่า สมาชิกในครอบครัวของผู้ป่วยเป็นโรคนี้จะมีโอกาสเป็นโรคมากขึ้นกว่าประชากร ทั่วไป
โรคนี้พบบ่อยในประชากรของประเทศแถบขั้วโลกเหนือเช่น ชาวเอสกิโม และชาวอลาสกา รวมถึงชนพื้นเมืองของทวีปอเมริกาเหนือทางตะวันตก อุบัติการณ์ในประเทศไทยยังไม่ทราบแน่ชัดแต่คาดว่าน่าจะใกล้เคียงกับประเทศ ทางตะวันตก
แพทย์จะวินิจฉัยโรคข้อและกระดูกสันหลังอักเสบได้อย่างไร
การวินิจฉัยโรคจะอาศัยประวัติครอบครัว ร่วมกับอาการข้อและกระดูกสันหลังอักเสบของท่าน การถ่ายภาพเอกซเรย์ของกระดูกสันหลังและกระดูกเชิงกรานจะช่วยยืนยันการ วินิจฉัยโรคได้ ส่วนการตรวจหายีน HLA-B27 ก็อาจช่วยในการประเมินปัจจัยเสี่ยงของโรคแต่ก็ไม่จำเป็นต้องตรวจในผู้ป่วย ทุกคน
ลักษณะอาการเด่นและมีความจำเพาะต่อโรคนี้ คืออาการปวดหรือตึงหลัง ซึ่งมักจะปวดที่บริเวณกระดูกสันหลังส่วนล่างและกระเบนเหน็บ โดยจะเป็นมากในช่วงตื่นนอนตอนเช้า อาการจะค่อยๆ ดีขึ้นในช่วงสายๆ หรือบ่ายๆ ผู้ป่วยที่เป็นโรคมานานอาจมีหินปูนเชื่อมกระดูกสันหลังให้ติดกันและทำให้ไม่ สามารถก้มหรือหงายหลังได้อย่างเต็มที่
ผู้ป่วยอีกส่วนหนึ่งจะมีอาการปวดข้อและข้ออักเสบร่วมด้วย โดยพบบ่อยที่ข้อเข่า ข้อเท้า และข้อสะโพก บางรายอาจมีข้ออักเสบที่ข้อมือ ข้อศอก หรือข้อนิ้วมือ นอกจากนี้ยังอาจพบการอักเสบของปลายเอ็นตรงตำแหน่งที่ยึดเกาะกับกระดูก เช่น เอ็นร้อยหวาย และเอ็นฝ่าเท้าหรือส้นเท้า เป็นต้น
ผู้ป่วยบางรายอาจมีผื่นเป็นสะเก็ดที่ผิวหนัง เล็บผิดปกติ ท้องเสียเรื้อรัง ม่านตาอักเสบ เยื่อบุตาอักเสบ หรือลิ้นหัวใจรั่วร่วมด้วย อาการแสดงนอกข้อเหล่านี้มีประโยชน์ช่วยทำให้ทราบว่าผู้ป่วยเป็นโรคใดในกลุ่ม โรคข้อและกระดูกสันหลังอักเสบนี้
โรคข้อและกระดูกสันหลังอักเสบมีวิธีการรักษาอย่างไร
การรักษาโรคในกลุ่มนี้จะมีความคล้ายคลึงกับโรคอื่นๆ ที่มีข้ออักเสบ โดยมีหลักการเบื้องต้นคือการออกกำลังกาย การทำกายภาพบำบัด และการใช้ข้ออย่างถูกวิธี ซึ่งจะช่วยให้ท่านสามารถทำกิจวัตรประจำวันได้เหมือนคนปกติ ผู้ป่วยที่มีอาการปวดข้อหรือมีอาการติดยึดของกระดูกสันหลังอย่างมากก็จำเป็น จะต้องใช้ยารักษาร่วมด้วย ส่วนการผ่าตัดมีความจำเป็นในผู้ป่วยบางรายที่มีความพิการของข้อหรือกระดูก สันหลังอย่างมากแล้ว
ยาที่ใช้รักษาโรคนี้มี 2 กลุ่มคือ
1. กลุ่มยาที่ช่วยบรรเทาอาการ ได้แก่ ยาที่มีฤทธิ์บรรเทาอาการอักเสบและเจ็บปวดที่ข้อ ได้แก่ ยาแก้ปวดและยาต้านการอักเสบที่ไม่ใช่สารเสตียรอยด์ (non-steroidal anti-inflammatory drugs, NSAIDs)
2. กลุ่มยาที่สามารถปรับเปลี่ยนการดำเนินโรคเพื่อทำให้โรคสงบ ในผู้ป่วยที่มีอาการเรื้อรังหรือรุนแรงแพทย์จะพิจารณาใช้ยาในกลุ่มนี้ซึ่ง ได้แก่ ยาเม็ทโธเทรกเซท (methotrexate) และยาซัลฟาซาลาซีน (sulfasalazine) ในระยะหลังได้มีการนำยาใหม่ๆ มาใช้รักษาโรคนี้ โดยเฉพาะกลุ่มยาชีวภาพซึ่งออกฤทธิ์ต้านการทำงานของสารทีเอ็นเอฟ (anti-TNF agents) อย่างไรก็ตามยาเหล่านี้มีราคาค่อนข้างสูงและยังทำให้เกิดผลข้างเคียงที่ รุนแรงหลายอย่าง การใช้ยาดังกล่าวจึงควรอยู่ในดุลพินิจของแพทย์ผู้รักษาและจะต้องมีการติดตาม การรักษาอย่างใกล้ชิด
ท่านจะดูแลตนเองอย่างไรเมื่อเป็นโรคข้อและกระดูกสันหลังอักเสบ
ถึงแม้ว่าผู้ป่วยโรคนี้จะมีความเจ็บปวดจากการอักเสบของข้อ แต่ผู้ป่วยส่วนใหญ่ก็สามารถดำรงชีวิตได้เช่นคนทั่วไป การออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอเป็นสิ่งจำเป็น เพราะจะช่วยเพิ่มสมรรถภาพการทำงานของร่างกายและลดความพิการของข้อและกระดูก สันหลังลงได้
ข้อควรจำ
- โรคข้อและกระดูกสันหลังอักเสบเป็นโรคชนิดหนึ่งที่มีการอักเสบของข้อ กระดูกสันหลังและข้อรยางค์ของแขนและขา ร่วมกับการอักเสบของปลายเอ็นส่วนที่ยึดติดกับกระดูก โดยที่ผู้ป่วยส่วนหนึ่งจะมีผื่นผิวหนัง เล็บผิดปกติ ท้องเสียเรื้อรัง ม่านตาอักเสบ เยื่อบุตาอักเสบ หรือลิ้นหัวใจรั่วร่วมด้วย
- โรคนี้พบบ่อยในช่วงวัยรุ่นถึงวัยกลางคน โดยพบในผู้ชายบ่อยกว่าผู้หญิง 2-3 เท่า สมาชิกในครอบครัวของมีโอกาสเป็นโรคนี้มากขึ้นกว่าประชากรทั่วไป
- การออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ การทำกายภาพบำบัด และการใช้ข้ออย่างถูกวิธี ร่วมกับการใช้ยารักษาโรคจะช่วยให้ท่านสามารถทำกิจวัตรประจำวันและมีคุณภาพ ชีวิตดีเหมือนคนปกติ
Link https://www.thairheumatology.org
++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
โรคกระดูกสันหลังทับเส้นประสาท
โรคหมอนรองกระดูกสันหลังกดทับเส้นประสาท : Herniated Discs
โรคหมอนรองกระดูกสันหลังกดทับเส้นประสาท
เป็น ภาวะที่พบบ่อยในชายวัยหนุ่มถึงวัยกลางคน เกิดจากความเสื่อมของหมอนรองกระดูกตามวัย หรือจากการที่หมอนรองกระดูกรับน้ำหนักมากเกินไป เช่น เล่นกีฬาหักโหม หรือการทำงานที่ต้องรับน้ำหนักบริเวณหลังมากๆ
หมอนรองกระดูกสันหลังคืออะไร ?
กระดูก สันหลังของคนเราประกอบด้วยกระดูกสันหลังชิ้นย่อยๆ เรียงต่อกันเป็นแนวยาว จากต้นคอจรดก้นกบ โดยมีแผ่นเนื้อเยื่อที่เรียกว่า “ หมอนรองกระดูกสันหลัง ” คั่นกลางระหว่าง กระดูกสันหลังแต่ละคู่ โดยหมอนรองกระดูกสันหลังทำหน้าที่รองรับแรงกระแทก และสร้างความยืดหยุ่นเวลาเคลื่อนไหวตามข้อจำกัดของกระดูกสันหลัง
หมอนรองกระดูกสันหลังเป็นอย่างไร ?
ลักษณะ รูปร่างหมอนรองกระดูกสันหลังเป็นวงกลมๆ โดยมีขอบเป็นพังผืดเหนียว แข็งแรง ประกอบด้วยเส้นใยประสานกันคล้ายยางรถ ส่วนภายในจะมีของเหลวคล้ายเจล เป็นสารถ่ายรับน้ำหนักเปรียบได้กับลมยางในยางรถ ที่เมื่อได้รับน้ำหนักบรรทุก ก็จะรับและกระจายน้ำหนักเพียงแต่หมอรองกระดูกสันหลัง อยู่ในท่าวางนอนราบ รับน้ำหนักที่กระทำจากด้านบนลงล่าง
อาการ
หากมีการออกแรงหรือมี น้ำหนักกดลงบนหมอนรองกระดูกสันหลังมากเกินไปจนเกินกว่าที่หมอนรองกระดูกจะ รับได้ เปลือกของหมอนรองกระดูกด้านนอกจะฉีกออก และเนื้อเจลภายใน
จะเคลื่อนออกมากดทับเส้นประสาทบริเวณข้างเคียง
ผู้ ป่วยโรคนี้จึงมีอาการปวดหลัง ร่วมกับมีอาการปวดร้าวไปที่สะโพก ขา น่อง ปลายเท้า ตามแนวเส้นประสาท และอาจมีอาการชาขา หรือ ขาอ่อนแรง ร่วมด้วย
เมื่ออาการปวดเป็นมากขึ้น จะไม่สามารถยืน เดินหรือนั่งนานๆได้ อาการจะไม่หายเมื่อรับประทานยาแก้ปวดแต่จะทุเลาลงหากได้นอนพัก
หลักการรักษา
ในคนไข้ส่วนใหญ่มากกว่า 80 % สามารถรักษาหายได้โดย
ไม่ต้องผ่าตัดรักษา
1.หลีกเลี่ยงแรงกดบนหมอนรองกระดูกสันหลัง
คือ การนอนพักใน 2 – 3 วันแรก เพราะในท่านอนเป็นท่าที่มีแรงกดบนหมอนรองกระดูกสันหลังที่น้อยที่สุด แต่ไม่ควรนอนพักนานเกินกว่า 2–3 วัน เพราะจะทำให้กล้ามเนื้อลีบ กล้ามเนื้ออ่อนแรง เกิดพังผืด ทำให้กลายเป็นปวดหลังเรื้อรังได้มากขึ้น และหายช้ากว่าปกติ หลังจากอาการปวดน้อยลง เริ่มบริหารกล้ามเนื้อหลัง ยืน เดินโดยให้หลังอยู่ในท่าที่ปกติมากที่สุด อาจจะต้องใส่เครื่องช่วยพยุงหลัง เพื่อป้องกันการก้มหรือเอียงบริเวณกระดูกสันหลัง
2.รับประทานยาบรรเทาอาการปวด เช่น ยาพาราเซตามอล
ยา แก้ปวดลดอาการอักเสบ ยาคลายกล้ามเนื้อ ไม่ควรซื้อยากินเองนาน ๆ เพราะอาจมีภาวะแทรกซ้อนต่อกระเพาะอาหารและต่อระบบอื่น ๆ ได้ง่าย การทายาบริเวณที่ปวดหรือยาแก้ปวด ยาคลายกล้ามเนื้อช่วยลดอาการให้น้อยลงได้
3.ทำ กายภาพบำบัด เช่น การดึงหลัง การประคบร้อน การใช้อัลตราซาวด์ ช่วยให้กล้ามเนื้อคลายตัวลดการอักเสบและช่วยให้เส้นประสาทถูกกดทับน้อยลง หรือ ใส่เฝือกอ่อนพยุงหลัง (เครื่องรัดหลัง) การบริหารกล้ามเนื้อหน้าท้องและกล้ามเนื้อหลังให้แข็งแรง เป็นต้น
4. การผ่าตัดรักษา
การผ่าตัดถือว่าเป็นวิธีรักษาวิธีสุดท้าย ซึ่งจะผ่าตัดเมื่อมีข้อบ่งชี้
ที่ ชัดเจน เช่น ปวดมากและรักษาด้วยวิธีไม่ผ่าตัดแล้วไม่ดีขึ้น หรือ มีการกดทับเส้นประสาททำให้ไม่สามารถกลั้นอุจจาระ ปัสสาวะได้ เป็นต้น
“ การรักษาโรค หมอนรองกระดูกสันหลังทับเส้น
มีหลายวิธี แต่ละวิธีก็ให้ความสำเร็จที่น่าพอใจ
แต่การหายที่เสี่ยงน้อยที่สุดคือ การหายแบบ
ธรรมชาติ ดังนั้นการรักษาควรเริ่มจากการ
รับประทานยา ลดการอักเสบ แก้ปวด คลาย
กล้ามเนื้อ ทำกายบริหาร และกายภาพบำบัด ”
การป้องกัน
แพทย์ ส่วนใหญ่มักให้คำแนะนำว่า สิ่งที่ดีกว่าการรักษา คือ การป้องกันแต่เนิ่นๆ เพียงแค่ใช้หลังอย่างถูกวิธี โดยหลีกเลี่ยงการยกของหนัก หากต้องนั่งนานๆ ควรหาโอกาสเปลี่ยนอิริยาบถบ่อยๆ และควรหมั่นบริหารกล้ามเนื้อหลังและหน้าท้องให้แข็งแรง ก็จะยืดอายุการใช้งานของหมอนรองกระดูกไม่ให้เสื่อมสภาพก่อนวัยอันควร
+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++