โรคกระดูกสันหลังยึดติด โรคกระดูกสันหลังยึดติด หินปูนเกาะกระดูกสันหลัง


1,256 ผู้ชม


โรคกระดูกสันหลังยึดติด โรคกระดูกสันหลังยึดติด หินปูนเกาะกระดูกสันหลัง

               โรคกระดูกสันหลังยึดติด

มารู้กันเถอะว่ามันคือโรคอะไร

เกริ่นนำก่อนนะครับ
บทความนี้ได้คัดลอกจากหนังสือ
"โรคข้อกระดูกสันหลังอักเสบชนิดติดยึด"
โดย ศ.นพ.วรวิทย์ เลาห์เรณู
หน่วยโรคข้อและรูมาติสซั่ม ภาควิชาอายุรศาสตร์
คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

คัดลอกเพื่อการศึกษาและเรียนรู้

ให้เครดิตคนแต่งหน่อยหน่ะครับ ซึ่งผมเองก็เป็น Reiter Syndrome เลยศึกษาเกี่ยวกับโรคนี้อยู่เหมือนกัน มาเข้าเนื้อหากันเลยดีกว่าครับ

โรคข้อกระดูกสันหลังอักเสบชนิดติดยึดคืออะไร?

โรคข้อกระดูกสันหลังอักเสบชนิดติดยึด หรือโรค Ankylosing Spondylitis หรือเรียกว่า AS เป็นโรคข้อชนิดหนึ่งจัดอยู่ในกลุ่มโรคข้อและข้อกระดูกสันหลังอักเสบ (Spondyloarthropathy) กลุ่มโรคนี้จะมีการอักเสบของกระดูกสันหลังเป็นลักษณะเด่น ร่วมกับมีข้ออักเสบ และมีอาการนอกระบบข้อร่วมด้วย

กลุ่มโรคข้อและข้อกระดูกสันหลังอักเสบ
1.โรคข้อกระดูกสันหลังอักเสบชนิดติดยึด(Ankylosing Spondylitis)
2.โรคข้ออักเสบรีแอคตีวหรือโรคไรเตอร์(Reactive arthritis or Reiter's disease)
3.โรคข้ออักเสบผิวหนังสะเก็ดเงิน (Psoriatic arthritis)
4.โรคข้ออักเสบที่พบร่วมกับโรคลำไส้อักเสบ (Arthritis associated with inflammotory bowel disease)
5.กลุ่มโรคข้อและข้อกระดูกสันหลังอักเสบที่ไม่สามารถจัดกลุ่มได้ (Undifferentiated spondyloarthropathy)

ในโรคข้อกระดูกสันหลังอักเสบชนิดติดยึดนั้น เมื่อมีการอักเสบที่กระดูกสันหลังเป็นระยะเวลานานจะก่อให้เกิดหินปูนจับที่บริเวณกระดูกสันหลัง ทำให้กระดูกสันหลังเชื่อมติดกันหมดเป็นแบบปล้องไม้ไผ่ ผู้ป่วยจะเคลื่อนไหวข้อกระดูกสันหลังไม่ได้เลย ผู้ป่วยอาจมีอาการอักเสบของข้อในส่วนอื่นๆ ของร่างกายร่วมด้วย เช่น ข้อเท้า ข้อเข่า ข้อสะโพก นอกจากนี้ผู้ป่วยยังอาจมีอาการหรืออาการแสดงในระบบอื่นๆ ของร่างกายได้ด้วย เช่น อาการตาแดง อาการทางระบบปอดและหัวใจ แต่ส่วนใหญ่จะมีอาการตาเป็นหลัง

โรคข้อกระดูกสันหลังอักเสบชนิดติดยึด เกิดขึ้นได้อย่างไร?

สาเหตุที่แท้จริงของโรคข้อกระดูกสันหลังอักเสบชนิดติดยึดยังไม่เป็นที่ทราบแน่ชัดแต่จากการศึกษาพบว่าโรคนี้มีส่วนเกี่ยวข้องกับพันธุกรรม พบว่าโรคนี้มีความสัมพันธ์กับการตราวจพบ HLA B27 ซึ่งเป็นสารพันธุกรรม ผู้ป่วยโรคข้อกระดูกสันหลังอักเสบชนิดติดยึดจะมีโอกาสตรวจพบ HLA B27 ได้มากกว่าร้อยละ 90 ญาติผู้ป่วยที่เป็นโรคนี้และตรวจพบ HLA B27 จะมีโอกาสเป็นโรคนี้เพิ่มมากขึ้น อย่างไรก็ตาม การตรวจพบ HLA b27เพียงอย่างเดียวไม่ได้บ่งว่าผู้ป่วยจะต้องเป็นโรคนี้ เพียงแต่ผู้ที่มี HLA B27 จะมีโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดโรคนี้ได้มากกว่าคนทั่วไป เชื่อว่าต้องมีปัจจัยอื่นเข้ามาเกี่ยวข้องด้วยเช่น การติดเชื้อหรือการได้รับสารเคมีบางอย่าง

ผู้ป่วยโรคข้อกระดูกสันหลังอักเสบชนิดติดยึดจะมีอาการอย่างไร?

โรคข้อกระดูกสันหลังอักเสบชนิดติดยึด พบได้บ่อยในเพศชายมากกว่าเพศหญิงประมาณ 10 เท่า อายุที่เริ่มเป็นจะอยู่ในช่วงวัยรุ่นหรือวัยฉกรรจ์ ผู้ป่วยจะมีอาการปวดหลังหรือรู้สึกหลังตึงขัดเรื้อรังเกิน 3 เดือนขึ้นไป อาการปวดในโรคนี้จะเริ่มที่บริเวณกระดูกสันหลังส่วนล่างและข้อกระเบนเหน็บ อาการปวดหลังหรือหลังตึงขัดจะเป็นมากภายหลังการตื่นนอนในตอนเช้าหรือภายหลังการหยุดการเคลื่อนไหวเป็นระยะเวลานาน และอาการจะดีขึ้นในตอนสายตอนบ่าย หรือเมื่อมีการเคลื่อนไหวกระดูกสันหลัง การอักเสบของข้อกระดูกสันหลังในโรคนี้จะลงท้ายด้วยการมีหินปูนจับบริเวณรอบตัวกระดูกสันหลัง ทำให้กระดูกสันหลังเชื่อมติดกัน ในรายที่เป็นมาเป็นระยะเวลานาน การอักเสบของข้อกระดูกสันหลังอาจจะลามจากบริเวณข้อกระเบนเหน็บ และข้อกระดูกสันหลังส่วนเอว ขึ้นไปบริเวณข้อกระดูกสันหลังส่วนทรวงอกหรือลำคอ ทำให้กระดูกสันหลังทั้งหมดเชื่อมติดกันแข็ง ผู้ป่วยไม่สามารถเคลื่อนไหวกระดูกสันหลังได้

ผู้ป่วยบางรายอาจมีอาการปวดข้อและมีข้ออักเสบร่วมด้วย ข้อที่พบบ่อยมักเป็นข้อส่วนล่างของร่างกาย ได้แก่ ข้อเข่า ข้อเท้า ข้อสะโพก ในบางรายอาจมีอาการที่ข้อศอก ข้อมือหรือข้อนิ้วมือ แต่จะพบได้น้อยกว่า และการกระจายของข้อที่อักเสบจะเป็นแบบไม่สมมาตร พบเอ็นหรือพังพืดอักเสบร่วมด้วยบ่อย เอ็นที่พบอักเสบบ่อยได้แก่ เอ็นร้อยหวาย ส่วนพังผืดที่พบอักเสบบ่อยได้แก่ พังพืดใต้ฝ่าเท้า

อาการแสดงนอกข้อที่อาจพบได้คือ อาการตาแดงอย่างรุนแรงจากม่านตาอักเสบ ในรายที่ไม่ได้รับการรักษาที่ถูกต้องอาจทำให้ตาบอดได้ ในรายที่เป็นเรื้อรังมานานอาจมีปัญหาที่ระบบปอดเกิดใยพังผืดในปอด หรืออาจเกิดจากการที่กระดูกซี่โครงเชื่อมติดกับกระดูกสันหลังทำให้ทรวงอกขยายตัวเวลาหายใจเข้าทำได้ไม่เต็มที่ในรายที่เป็นมานานอาจมี ความผิดปกติทางหัวใจร่วมด้วยได้แก่ ลิ้นหัวใจรั่ว ทำให้หัวใจและเกิดภาวะหัวใจล้มเหลวได้

จากรูปภาพ
จะเห็นได้ว่าข้อกระดูกสันหลังจะติดยึดเป็นปล้องๆ


รูปภาพข้างต้นมาจาก
โรคกระดูกสันหลังยึดติด โรคกระดูกสันหลังยึดติด หินปูนเกาะกระดูกสันหลัง

การวินัจฉัยโรค
จากอาการปวดหลังที่มีลักษณะเฉพาะการตรวจร่างกายและตรวจ X-Ray กระดูกสันหลังส่วนล่าง และข้อกระเบนเหน็บ ในบางกรณีต้องตรวจ X-ray คอมพิวเตอร์ และตรวจดูยีนส์ ต้นเหตุ HLA-B27 ร่วมด้วย

เกณฑ์การวินัจฉัยโรค

1.มีอาการปวดหลังส่วนล่างเรื้อรังอย่างน้อยสามเดือน โดยอาการปวดหลังจะขึ้นหลังจากออกกำลังกายและไม่ทุเลาแม้ได้พัก
2.มีการจำกัดการเคลื่อนไหวของหลัง
3.มีการขยายตัวของหน้าอกเล็กลง วัดขณะหายใจเข้ากับหายใจออก กว่าคนปกติ
4.ภาพเอ็กซเรย์ข้อกระเบนเหน็บผิดปกติทั้งสองข้าง ในระยะที่มีกระหนาตัวขึ้นไป
5.ภาพเอ็กซเรย์ข้อกระเบนเหน็บผิดปกติด้านเดียว แต่เป็นระยะช่องว่างในข้อแคบถึงข้อเชื่อมติดกัน

การวินิจฉัยเป็นโรคข้อสันหลังอักเสบติดยึด เมื่อพบภาพเอ็กซเรย์ในข้อสี่หรือห้า ร่วมกับอาการข้อใดข้อหนึ่งใน 3 ข้อแรก

ถ้าพิจารณาจากเกณฑ์การวินิจฉัยดังกล่าวแล้วซึ่งให้ความสำคัญกับการเปลี่ยนแปลงในภาพเอ็กซเรย์ เป็นหลัก แพทย์จำวินิจฉัยโรคได้เฉพาะผู้ป่วยที่เป็นโรคนี้มานานหลายปีแล้วเท่านั้น ในทางปฏิบัติถ้ามีลักษณะทางคลินิกเข้าได้ ก็สามารถให้การรักษาเบื้องต้นได้ ไม่จำเป็นต้องรอให้เห็นการเปลี่ยนแปลงทางภาพเอ็กซเรย์ก่อน

การรักษา
การรักษาเริ่มจากให้ความรู้ผู้ป่วย แนะนำให้เลิกสูบบุหรี่ ใช้ยาเพื่อลดอาการปวด การอักเสบ และออกกำลังกายเพื่อใช้ให้กระดูกสันหลังและข้อที่อักเสบ เคลื่อนไหวได้ดีขึ้น ป้องกันการติดแข็งผิดรูป การรักษาประกอบด้วย

1.การรักษาทางเวชศาสตร์ฟื้นฟู

ทางเวชศาสตร์ฟื้นฟู มีบทบาทในการลดอาการปวดโดยการใช้ความร้อนระดับต่างๆ และเพิ่มพิสัยของการเคลื่อนไหว ห้องการการพิการผิดรูป โดยการปรับเปลี่ยนทางทางต่างๆ เช่นการนอนบนฟูกที่แข็งป้องกันหลังโก่ง การนอนหงายโดยใช้หมอนบางๆรองต้นคอและนอนขาตรง จะดีกว่าการนอนตะแคง ซึ่งหลังมักจะโค้งงอ การนั่งและการเดินควรให้หลังตรง ไหล่ผายออก ศีรษะตั้งตรง ผู้ป่วยสามารถทดสอบตนเองได้โดย การยืนหันหลังชิดกำแพง โดยให้ส้นเท้า ก้น ไหล่ และศีรษะ แตะกับผนังได้ทุกส่วนในเวลาเดียวกันเพื่อนให้หลังตั้งตรงตลอดเวลา

การบริหารหลัง ให้นอนท่านอนคว่ำแล้วแอ่นตัวเพื่อเหยียดหลังให้มากที่สุด ต้านกับโรคที่มักทำให้หลังงอ ฝึกให้คอและหลังตั้งตรง การหายใจลึกๆเพื่อขยายทรวงอก ในรายที่มีการติดของกระดูกซี่โครงแล้ว ต้องฝึกบริหารการหายใจด้วยหน้าท้องและกระบังลม ส่วนข้ออื่นๆ ให้บริหารร่างกายเพื่อเพิ่มพิสัยการเคลื่อนไหวของข้อ การว่ายน้ำเป็นการบริหารร่างกายที่เหมาะสมกับผู้ป่วยกลุ่มนี้มากเพราะช่วยเพิ่มพิสัยของการเคลื่อนไหวข้อและเพิ่มความแข็งแรงแก่กล้ามเนื้อ อย่างไรก็ตามก่อนการบริหารควรอาบหรือแช่น้ำอุ่นเพื่อผ่อนคลายกล้ามเนื้อและข้อ แล้วจึงเริ่มการออกกำลังกายอย่างช้าๆ ในกรณีที่มีข้อยึดติด การเคลื่อนไหวไม่สะดวก อาจต้องมีการใช้อุปกรณ์ช่วยเหลือ เพื่อทำให้การใช้ชีวิตประจำวันง่ายขึ้น เช่นการใส่รองเท้า ให้ใช้ช้อนรองเท้าก้านยาวๆ เพื่อไม่ให้ต้องก้มตัว การขับรถยนต์ ให้คาดเข็มขัดนิรภัย ปรับที่หนุนคอให้พอดี ใช้กระจกมองหลังที่กว้าง เพื่อเพิ่มทัศนวิสัยในการมอง

        Link     https://www.bloggang.com
++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++


              

            หินปูนเกาะกระดูกสันหลัง

โรคหินปูนเกาะกระดูกสันหลัง ไม่มีในศัพท์ของราชวิทยาลัยออร์โธปิดิกส์ครับ ผมไม่ทราบว่าเป็นโรคทางภาษาอังกฤษว่าชื่อโรคอะไรครับ ดังนั้น เป็นการยากที่จะให้คำแนะนำได้อย่างละเอียดถี่ถ้วนนะครับ
หินปูนเกาะ ...เป็นศัพท์ที่คนไทยมักจะพูดกันเสมอ และคิดว่ามันคือโรค จริงๆแล้ว หินปูนเกาะ...มีทั้งที่เป็นโรค และเป็นภาวะปกติในผู้ที่มีปัญหาข้อเสื่อมธรรมดาตามวัยก็ได้ครับ
ซึ่งหินปูนเกาะ..ที่กล่าวมานี้ มักไม่ทำให้มีอาการติดของกระดูกสันหลัง จนทำให้หันคอไปไม่ได้ครับ
โรคที่หินปูนเกาะจนกระทั่ง หันศีรษะได้ลำบากนั้น มักจะเป็นโรคที่เรียกว่า Ankylosing spondylitis ซึ่งมักจะเป็นกับเพศชาย ไม่ค่อยพบกับเพศหญิงครับ
ใน กรณีที่เป็นโรคนี้ ถ้ามีอาการหลังค่อมมาก สามารถให้การรักษาโดยการผ่าตัดเพื่อให้หายจากหลังค่อมได้ครับ แต่เลือกทำในกรณีที่เป็นมากๆเท่านั้น เนื่องจากการผ่าตัดชนิดนี้(เรียกว่า การทำ Subtraction Osteotomy)มีความเสี่ยงค่อนข้างสูงครับ
หินปูนที่ เกาะกระดูกสันหลัง...ถ้าจะทำให้ถึงขนาดหันศีรษะไม่ได้ตามปกติแล้ว จะต้องเป็นหินปูนที่เกาะจำนวนมาก และเป็นหลายๆระดับ ถ้าเป็นหินปูนเกาะเล็กน้อยสองสามระดับ ตามความเสื่อมของกระดูกสันหลังแล้ว มักไม่มีปัญหาการหันของศีรษะครับ
ดังนั้น..อาการของคุณแมว ที่บอกว่าหันศีรษะและคอไม่ได้ตามปกตินั้น อาจไม่ได้เกิดจากหินปูนเกาะก็ได้ครับ...
คุณควรไปพบแพทย์ทางด้านกระดูกสันหลังให้วินิจฉัยอาการหันคอได้ลำบากอีกครั้ง ครับ อาจเป็นโรคเกี่ยวกับกล้ามเนื้อ หรือ เส้นเอ็นอักเสบเรื้่อรังก็ได้ครับ
นพ.ทายาท บูรณกาล

      Link        https://www.thaispine.com

++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

อัพเดทล่าสุด