การออกกำลังกายยืดกระดูกสันหลัง เทคโนโลยีสมัยใหม่กับการผ่าตัดกระดูกสันหลัง การผ่าตัดโรคกระดูกสันหลังคอเสื่อม


1,050 ผู้ชม


การออกกำลังกายยืดกระดูกสันหลัง เทคโนโลยีสมัยใหม่กับการผ่าตัดกระดูกสันหลัง การผ่าตัดโรคกระดูกสันหลังคอเสื่อม

               การออกกำลังกายยืดกระดูกสันหลัง

ออกกำลังกาย ยืดอายุกระดูกสันหลัง

ออกกำลังกาย ยืดอายุกระดูกสันหลัง

ออกกำลังกาย ยืดอายุกระดูกสันหลัง
อย่างที่ นพ.ทายาท บอกเอาไว้ว่า สิ่งสำคัญที่จะทำให้กระดูกยังคงความแข็งเอาไว้ได้นานที่สุดนั่นก็คือการออกกำลังกายซึ่งการออกกำลังกายที่ถูกวิธีเพื่อป้องกันอาการปวดหลังนั้นมีข้อควร ปฏิบัติดังนี้

    เคลื่อนไหวในแต่ละท่าอย่างช้าๆ ห้ามกระชาก หายใจเข้าออกตามปกติ ระวังอย่ากลั้นหายใจ
    อย่าฝืนหรือหักโหมเกินไป
    ไม่ควรให้มีอาการปวดหรือเจ็บใดๆ ในขณะที่ออกกำลังกาย
    เพื่อให้ได้ผลที่ดีควรออกกำลังกายให้เป็นประจำ และสม่ำเสมออย่างน้อยสัปดาห์ละ 3 วัน วันละไม่ต่ำกว่า 30 นาที

ท่ายืดกล้ามเนื้อหลัง

    นั่ง บนเก้าอี้ เท้าวางราบกับพื้น ผ่อนคลายคอ หลัง พร้อมก้มตัวลงช้าๆ ให้มือแตะพื้นค้างในท่านี้ 5-10 วินาที ค่อย ๆ เงยหน้าขึ้นช้าๆ สู่ท่าเริ่มต้น
    นั่งให้ฝ่าเท้าชนกัน ผ่อนคลายคอและหลัง พร้อมกับก้มตัวเหยียดมือไปข้างหน้าช้าๆ ค้างไว้ 5-10 วินาที ถ้าตึงบริเวณต้นขาด้านในมากไปให้เหยียดขาออกไปด้านหน้าได้อีก
    นั่งเหยียด ขาไปกับพื้น ยกเท้าขวาไขว้ไปวางด้านนอก ค่อยๆ หมุนตัวไปด้านขวา มือขวาเท้าไปด้านหลัง ให้รู้สึกว่ากล้ามเนื้อลำตัวด้านซ้ายตึง ค้างไว้ 5-10 วินาที
    นอนหงาย ค่อยๆ ดึงเข่าทั้ง 2 ข้างมาชิดอกช้าๆ ค้างไว้ 10 วินาที จะรู้สึกตึงบริเวณส่วนล่าง หากมีอาการปวดเข่าให้สอดมือทั้ง 2 ข้างตรงบริเวณข้อพับเข่า

ท่าออกกำลังกายเพื่อเพิ่มความแข็งแรงกล้ามเนื้อหลัง

    นอนหงาย ชันเข่า 2 ข้าง เกร็งกล้ามเนื้อหน้าท้อง กดหลังให้ติดกับพื้นมากที่สุดค่อยๆ ยกศีรษะและไหล่ขึ้นค้างไว้ 5 วินาที
    นอนคว่ำมือข้างลำตัว ยกศีรษะและไหล่ขึ้นค้างไว้ 5 วินาที จากนั้นค่อยๆ วางลง
    นอนคว่ำ แขนยื่นออกไปด้านหน้าเล็กน้อย ดันแขนยกตัวขึ้นให้สะโพกติดพื้นค้างไว้ 5-10 วินาที
    นอนหงาย ตั้งเข่า 2 ข้างขึ้น มือ 2 ข้าววางข้างลำตัว เท้า 2 ข้างยันพื้น ยกก้นขึ้นค้างไว้ 5 วินาที
    นั่งเก้าอี้ไม่มีพนักพิง หลังติดกำแพงยกมือ 2 ข้างขึ้นเหนือศีรษะ ยืดตัวดันหลังด้านกำแพงค้างไว้ 5-10 วินาที
    ยืน ตรงแขนทั้ง 2 ข้างทิ้งข้างลำตัว ยกแขนซ้ายขึ้นเหนือศีรษะ เอนตัวไปด้านขวาค้างไว้ 3 วินาที แล้วกลับมายืนในท่าเริ่มต้นสลับทำอีกข้าง
    ยืนตรงมือทั้ง 2 ข้างยันค้ำไว้ด้านหลังบริเวณเอว เอนตัวไปข้างหลังเล็กน้อย ค้างไว้ 3 วินาที
    นั่งประสานมือ แขน 2 ข้างกางออกไประดับไหล่ หลังเหยียดตรง ค่อยๆ หมุนลำตัวและศีรษะจากข้างหนึ่งไปยังอีกข้างหนึ่งเท่าที่สามารถจะทำได้ โดยทำทั้ง 2 ข้าง

“การออกกำลังกายนอกจากจะเกิดประโยชน์ทาง ด้านกล้ามเนื้อแล้ว ยังช่วยทำให้มีอาหารไปเลี้ยงหมอนรองกระดูกสันหลังและกระดูกสันหลังได้ดีขึ้น การไหลเวียนของเลือดบริเวณนั้นดีขึ้นทำให้สุขภาพของกระดูกสันหลังดีขึ้น เพราะมีผลการพิสูจน์มาแล้วว่า คนที่ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอหมอนรองกระดูกจะได้รับสารอาหารที่ทำให้หมอน รองกระดูกเสื่อมสภาพช้าลง นอกจากนั้นอาหารที่มาจากธรรมชาติ เช่น ผักสด ผลไม้ ธัญพืช จะส่งผลดีต่อกระดูกสันหลังมากกว่าอาหารปรุง แต่อีกอย่างก็คือ บุหรี่ ที่มีรายงานชัดเจนว่า คนที่สูบบุหรี่จะมีการเสื่อมของกระดูกสันหลังมากกว่าคนที่ไม่สูบบุหรี่อย่าง เห็นได้ชัด”
เพียงแค่ปฏิบัติตามคำแนะนำดีๆ เหล่านี้ กระดูกสันหลังที่แข็งแรงก็จะอยู่กับเราไปได้อีกนานเท่านาน

หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ
++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++


              เทคโนโลยีสมัยใหม่กับการผ่าตัดกระดูกสันหลัง

เทค​โน​โลยี​ใหม่...ผ่าตัดกระดูกสันหลัง...(ส่วน​เอว) ตอนที่ 1

​เมื่อพูด​ถึง​การผ่าตัดกระดูกสันหลัง​ในระยะที่ผ่านมา ​แน่นอน​เป็น​เรื่องที่​ใหญ่มากๆ ​และคน​ไข้มักจะ​เกิด​ความหวาดกลัว วิตกกังวล ​ทั้ง​เรื่องของกรรมวิธี​ใน​การผ่าตัด ขนาดของ​แผล ​โอกาสผิดพลาด ​และระยะ​เวลาของ​การพักฟื้น ​แต่​ในปัจจุบันปัญหาดังกล่าว​ได้คลี่คลายลง ด้วย​เทค​โน​โลยีสมัย​ใหม่ที่​ทำ​ให้​การผ่าตัดกระดูกสันหลัง กลาย​เป็น​เรื่อง​เล็ก ​และปลอดภัย ​ถึงขนาดที่ อาจ​ทำ​ให้คน​ไข้มี​ความรู้สึกว่า ​เป็น​เรื่องจิ๊บจ๊อย...​เลยที​เดียว

​เทค​โน​โลยี​ใหม่ที่ว่านี้ มี 2 ​แบบ คือ Endroscope ​เป็นกล้องปากกา ที่สามารถ​ใส่​เข้า​ไป​ในร่างกาย​เพื่อดู​แผลข้าง​ใน​ได้​เลย ​และ Microscope ​เป็นกล้องที่​ใช้ภายนอกร่างกาย ​เพื่อมองผ่าน​แผล​เข้า​ไป ​ซึ่ง​ทั้ง 2 ​แบบนี้จะคล้ายกัน​แต่​ไม่​เหมือนกัน ส่วน​การจะ​เลือก​ใช้​แบบ​ไหน ​แพทย์จะ​เป็น​ผู้​เลือก ​เพราะขึ้นอยู่กับสภาพปัญหา ​และตำ​แหน่งของหมอนรองกระดูกของคน​ไข้​แต่ละราย บางรายอาจ​ใช้​แบบ​ใด​แบบหนึ่ง บางรายอาจ​ใช้​ทั้ง 2 ​แบบ ​หรือกรณีที่​ใช้​ทั้ง 2 ​แบบนี้​ไม่​ได้ ​ก็อาจจะต้อง​ใช้​การผ่าตัด​แบบ​เดิม ​แต่​ไม่ว่าจะ​ใช้​แบบ​ไหน ​แผลผ่าตัดจะ​เล็กกว่า​เดิมอย่าง​แน่นอน ​โดยถ้า​เป็น Endroscope ​แผลจะ​เล็กมาก​แค่ 1 ​เซนติ​เมตร​เท่านั้น ส่วน Microscope ​ก็จะ​เป็น 2 ​เท่า คือ 2 ​เซนติ​เมตร ​ซึ่ง​ก็​ไม่​ได้​แตกต่างกัน​เท่า​ไร ขณะที่​การผ่าตัดสมัยก่อน จะ​เป็น​การ​เปิด​แผล​ใหญ่ประมาณ 20-30 ​เซนติ​เมตร อย่าง​ไร​ก็ตาม​ในภาพรวม​แล้ว ​ทั้ง Endroscope ​และ Microscope จะสามารถช่วยรักษา​เรื่องของหมอนรองกระดูก​ได้อยู่​แล้ว ยก​เว้นกรณีที่มีปัญหา​ใน​เรื่องอื่นด้วย

​โดยข้อ​เท็จจริง​แล้ว ​โรคของกระดูกสันหลังมีมาก ​แต่ที่มากที่สุด​และพบบ่อยที่สุด คือ หมอนรองกระดูกกดทับ​เส้นประสาท สำหรับขั้นตอนของ​การรักษา​ก็​ไม่ยุ่งยาก ​และคน​ไข้ต้องนอน​โรงพยาบาล​เพียง 3 วัน​เท่านั้น คือก่อนผ่าตัด 1 วัน วันผ่าตัด 1 วัน ​และหลังผ่าตัดอีก 1 วัน จากนั้นจะมี​การวินิจฉัย​โรคด้วย​การ​เอกซ​เรย์ธรรมดา ​เพื่อดูสภาพ​โดยรวมของมวลกระดูกว่า​เป็นอย่าง​ไร กระดูกมี​การ​เคลื่อน​หรือ​ไม่ ​เพราะถ้ากระดูก​เคลื่อน ​ก็​ไม่สามารถผ่าด้วยวิธี​การนี้​ได้ ​แต่จะต้องยืด​และดามด้วย​เหล็ก

จากนั้นจะ​เข้าสู่ขั้นตอน​เอกซ​เรย์​แม่​เหล็ก ​แล้วพิจารณาว่าผลจาก​การ​เอกซ​เรย์กับอา​การที่​เป็นตรงกัน​หรือ​ไม่ ​ซึ่งถ้าตรงกัน คือ ตรวจร่างกาย​เจอ​เส้นประสาท​เส้นนี้ที่​เป็น ​และ​เอกซ​เรย์​เห็นว่าหมอนรองกระดูกกดทับ​เส้นประสาท​เส้นนี้​เหมือนกัน ​เรา​ก็​ให้​ความมั่น​ใจ​ได้ว่า ผลสำ​เร็จของ​การผ่าตัดจะสูงมาก ​ซึ่งถ้าคิวว่าง​ก็สามารถ​ทำ​ได้​เลย

ข้อมูลจาก น.พ.ธีรชัย ผาณิตพงศ์
น.พ.สุรพงศ์ อำพันวงษ์
          Link           https://www.ryt9.com/s/bmnd/669005
+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

             การผ่าตัดโรคกระดูกสันหลังคอเสื่อม

โรคกระดูกสันหลังระดับคอเสื่อม ผ่าตัดดีหรือไม่ดี

ดิฉันเป็นโรคกระดูกสันหลังระดับคอเสื่อม มีอาการเจ็บรอบๆหัวไหล่ซ้ายและคอ มีเจ็บแปล๊บๆลงไปทางปลายแขนซ้าย ได้ตรวจ MRI แล้วหมอกระดูกแนะนำให้ผ่าตัด หมอประสาทวิทยาแนะนำว่าไม่ควรผ่า อยากได้ข้อมูลที่มีสาระน้ำหนักพอให้ตัดสินใจได้
ตอบ
ผมให้ข้อมูลคุณเป็นประเด็นๆไปนะครับ
ประเด็นที่หนึ่ง ระดับความรุนแรงของโรค ที่พอบอกได้จากอาการ คือเรื่องการปวดไหล่ปวดคอนี้มีระดับความรุนแรง 3 ระดับคือ
1. เป็นการปวดกล้ามเนื้อและเอ็น (myofascial pain) ซึ่งอาจมีการเสื่อมของกระดูกสันหลังระดับคอ (cervical spondylosis) ร่วมด้วยแต่ไม่เกี่ยวอะไรกับเส้นประสาทและแกนประสาท มักบอกตรงที่ปวดได้แม่นยำ กดลงไปก็มักถูกตรงที่ปวดได้ อันนี้ไม่รุนแรง การรักษาใช้วิธีบีบๆนวดๆไม่ต้องผ่าตัด
2. การเสื่อมของกระดูกสันหลังที่มีการกดทับโคนเส้นประสาท (cervical spondylotic radiculopathy) ร่วมด้วย อาการที่เป็นคือมีอาการปวดหรือเสียวแปล๊บร้าวไปตามบริเวณที่เส้นประสาทนั้น เลี้ยงอยู่ เช่นร้าวจากไหล่ลงไปแขน ทำ MRI จะเห็นว่ามีหมอนกระดูกหรือกระดูกงอกกดโคนเส้นประสาทชัดเจน กรณีเช่นนี้ทางแพทย์ศัลยกรรมกระดูกมักแนะนำให้ผ่าตัดเร็วหน่อย แต่ถ้าเป็นแพทย์อายุรกรรมประสาทก็จะแนะนำให้ผ่าตัดช้าหน่อย เรียกว่าเป็นความชอบส่วนตัวของหมอแต่ละสาขา ต่างฝ่ายต่างมีข้อมูลมาสนับสนุนตัวเอง แต่เป็นข้อมูลคนละชุด เข้าทำนองพระเถียงกันเพราะอ้างพระไตรปิฎกคนละบทนั่นแหละครับ
3. การเสื่อมของกระดูกสันหลังที่มีการกดทับแกนประสาทสันหลัง (cervical spondylotic myelopathy - CSM) มีอาการเสียการทำงานของแกนประสาทสันหลัง เช่นกลั้นปัสสาวะ อุจจาระไม่อยู่ หายใจติดขัด ทำ MRI เห็นหมอนกระดูกกดแกนประสาทสันหลังชัดเจน กรณีนี้ทางแพทย์อายุรกรรมประสาทจะถือเป็นเรื่องรุนแรง และมักแนะนำให้ผ่าตัด
ประเด็นที่สอง นัยสำคัญของผล MRI โดยสถิติจะพบ MRI ที่ผิดปกติได้เสมอแม้ในผู้สูงอายุที่ไม่มีอาการอะไรเลยก็ยังพบว่า MRI ผิดปกติได้ถึง 60% คือเห็นหมอนกระดูกกดโคนเส้นประสาทบ้าง กดแกนประสาทสันหลังบ้าง ดังนั้น ความผิดปกติที่พบใน MRI จึงมีความเป็นไปได้ว่าสิ่งที่พบใน MRI อาจจะเป็นสาเหตุ หรืออาจจะไม่ได้เป็นสาเหตุของอาการปวดกล้ามเนื้อที่ระดับคอและหลังส่วนบนก็ ได้ นั่นเป็นเหตุผลว่าทำไมในบางรายเราผ่าตัดแก้ความผิดปกติที่เห็นใน MRI ไปหมดแล้วแต่ไม่หายก็มี
ประเด็นที่สาม การดำเนินของโรคกรณีที่ไม่รักษา โรคนี้กรณีไม่ได้รับการรักษามีความเป็นไปได้ในระยะยาวสองแบบ แบบที่หนึ่ง ซึ่งเกิดกับผู้ป่วยส่วนใหญ่ คือผู้ป่วยจะมีระยะปลอดอาการค่อนข้างยาวนาน สลับกับระยะมีอาการเป็นครั้งคราวแล้วหายไปเอง (intermittent) กับ แบบที่สอง ซึ่งเกิดกับผู้ป่วยจำนวนหนึ่ง (โดยไม่มีใครทราบว่ากี่เปอร์เซ็นต์) คืออาการของโรคจะแย่ลงๆ จนถึงระดับเกิดภาวะทุพลภาพ
ประเด็นที่สี่ ประโยชน์และความเสี่ยงของแต่ละทางเลือกในการรักษา ทางเลือกยังคงมีสองวิธี คือ
1. การรักษาด้วยวิธีไม่ผ่าตัด (มีหลายวิธี ได้แก่ให้ยา, ตรึงคอ, ปรับไลฟ์สไตล์ (เช่นการสอนท่าร่างในการทำงาน), ทำกายภาพบำบัด (เช่นดึงคอ ออกกำลังกาย) และการรักษาทางเลือกอื่นๆเช่นจัดกระดูก บีบนวด การติดตามผู้ป่วยในงานวิจัยหนึ่งนาน 15 ปี พบว่าการรักษาด้วยวิธีไม่ผ่าตัดนี้ทำให้อาการหายไปได้ 79% โดยที่ยังไม่มีข้อมูลว่าการวิธีการใดดีกว่ากัน และไม่มีข้อมูลว่าการทำสิ่งเหล่านี้กับการอยู่เฉยๆไม่ทำอะไรเลย อย่างไหนจะดีกว่ากัน
2. การผ่าตัด มี ข้อดี คือหากแก้ไขภาวะกระดูกเสื่อมที่มีอยู่ได้ครบถ้วนทุกระดับ โอกาสที่อาการจะหาย มี 90% (ไม่ใช่ 100%) แต่ถ้าการผ่าตัดนั้นไม่ได้แก้ไขความเสื่อมครบถ้วนทุกระดับ จะหายแค่ 60% โดยมี ข้อเสีย หรือความเสี่ยงของการผ่าตัด คือ (1) ภาวะแทรกซ้อนของการดมยาสลบ ที่ซีเรียสที่สุดคือโอกาสที่จะเสียชีวิตจากการดมยาสลบ แม้ว่าโอกาสเกิดเรื่องดังกล่าวจะมีน้อยกว่าหนึ่งในหมื่นแต่ก็เป็นความเสี่ยง ที่ยังมีอยู่ (2) ภาวะแทรกซ้อนจากการผ่าตัดเอง ได้แก่ (2.1) ที่ถึงเสียชีวิตได้คือการเกิดฟองไขมันเข้าไปตามกระแสเลือด (fat embolism) แต่มีโอกาสเกิดน้อยมากในการผ่าตัดกระดูกชนิดนี้ น้อยกว่าหนึ่งในหมื่น (2.2) ที่ซีเรียสรองลงมาคือเกิดภาวะอัมพาตหรือแขนขาอ่อนแรงอย่างถาวร (quadriplegia) มีโอกาสเกิดขึ้นได้น้อยกว่าหนึ่งในหมื่นเช่นกัน (
3) ภาวะแทรกซ้อนที่ไม่ถึงกับซีเรียส แต่ก็เป็นสาเหตุให้ต้องอยู่รพ.นานขึ้นและอาจมีความทุพลภาพตามมาได้ เช่น การติดเชื้อแผลผ่าตัด การเกิดเลือดออกหลังผ่าตัดจนต้องกลับไปผ่าตัดใหม่ เป็นต้น ภาวะแทรกซ้อนเหล่านี้มีระดับความรุนแรงได้แตกต่างกัน และมีโอกาสเกิดขึ้นได้ประมาณ 1% โดยเกิดขึ้นได้เสมอแม้ว่าแพทย์จะได้ทำการผ่าตัดอย่างถูกต้องตามหลักวิชาเต็ม ที่แล้วก็ตาม
ทั้งหมดนี้คือข้อมูลที่ทางการแพทย์มีอยู่ ณ ขณะนี้ เนื่องจากผลการผ่าตัดมีทั้งออกหัว (คือหาย) และออกก้อย (คือไม่หาย) ทั้งข้อมูลที่มีอยู่ก็หลวมโพรกเพรก ไม่แน่นหนาพอที่จะตัดสินใจได้ฉับฉับว่าจะทำอย่างไรดี การตัดสินใจจึงตกเป็นหน้าที่ของคนไข้ต้องเลือกเอาเองครับ
นพ.สันต์ ใจยอดศิลป์
บรรณานุกรม
1. Fouyas IP, Statham PF, Sandercock PA. Cochrane review on the role of surgery in cervical spondylotic radiculomyelopathy. Spine (Phila Pa 1976). Apr 1 2002;27(7):736-47.
2. Chagas H, Domingues F, Aversa A, Vidal Fonseca AL, de Souza JM. Cervical spondylotic myelopathy: 10 years of prospective outcome analysis of anterior decompression and fusion. Surg Neurol. 2005;64 Suppl 1:S1:30-5; discussion S1:35-6.
 
         Link    https://visitdrsant.blogspot.com
+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

อัพเดทล่าสุด