ระบบขับถ่ายของสัตว์มีกระดูกสันหลัง การย่อยอาหารของสัตว์ที่มีกระดูกสันหลัง ไดโคโตมัสคีย์ สัตว์มีกระดูกสันหลัง


9,524 ผู้ชม


ระบบขับถ่ายของสัตว์มีกระดูกสันหลัง การย่อยอาหารของสัตว์ที่มีกระดูกสันหลัง ไดโคโตมัสคีย์ สัตว์มีกระดูกสันหลัง

                  ระบบขับถ่ายของสัตว์มีกระดูกสันหลัง

 - ปลา มี ไต 1 คู่ อยู่ภายในช่องท้องติดกับกระดูกสันหลัง ทำหน้าที่กำจัด ของเสียยูเรียและของเสียอื่นๆ ออกจากเลือด ของเสียจะผ่านท่อไต (Ureter) ไปยังกระเพาะปัสสาวะ (Uninary bladder) และเปิดออกทาง Urogenital opening 

 - สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก (Amphibian) มีไต 1 คู่ นำน้ำปัสสาวะผ่านท่อไต (Urinary duct หรือ Ureter)   ไปเปิดและกำจัดออกทางโคลเอกา (Cloaca)

- สัตว์เลื้อยคลานและสัตว์ปีก (Reptile and Aves) มี ไต (Kidney) เป็นอวัยวะขับถ่าย สุดท้ายจะขับถ่ายออกทางช่องเปิดของโคลเอกา (Cloaca opening) อวัยวะขับถ่ายสามารถเปลี่ยนของเสียประเภทแอมโมเนียให้กลายเป็นกรดยูริก (Uric acid) ซึ่งไม่เป็นพิษ ดังนั้นน้ำปัสสาวะของสัตว์พวกนี้จะอยู่ในลักษณะกึ่งแข็งกึ่งเหลว (Semisolid)  กรดยูริกที่มายังโคลเอกาจะตกตะกอนเป็นผลึกสีขาวรวมตัวกับอุจจาระ

ช่วงที่เป็นเอ็มบริโอกรดยูริกจะเก็บสะสมไว้ในถุงแอลแลนทอยด์ (Allantosis)


-สัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม (Mammal) อวัยวะ ขับถ่ายประกอบด้วย ไต 1 คู่ โครงสร้างของไตประกอบด้วยเนื้อเยื่อชั้นนอก คือ คอร์เทกซ์ (Cortex) และเยื่อชั้นใน คือ เมดัลลา (Medulla) ในเนื้อเยื่อของไตมีหน่วยไต (Nephron) เป็นจำนวนมาก ทำหน้าที่สร้างน้ำปัสสาวะและลำเลียงไปตามท่อไต (Ureter) และเก็บไว้ที่กระเพาะปัสสาวะ (Urinary bladder) ก่อนจะขับถ่ายออกนอกร่างกายทางท่อปัสสาวะ (Urethra) สัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมจะขับถ่ายของเสียซึ่งเป็นสารประกอบไนโตรเจนเป็นยูเรีย


                    Link          https://www.scimath.org

+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++


                    การย่อยอาหารของสัตว์ที่มีกระดูกสันหลัง

 วิธีการศึกษาทดลอง

        นำสัตว์ที่มีกระดูกสันหลังชนิดใดก็ได้ที่พบในท้องถิ่น  และไม่เป็นอันตราย ไก่ เป็ด ปลาช่อน ปลายตะเพียน มาผ่าดูท่างเดินอาหารโดยศึกษาลักษณะของปาก ความลำไส้ ความหนา ขนาด และความแข็งแรงของกระเพาะอาหารแล้วเขียนแผนผังทางเดินอาหารตามที่ได้ศึกษา จริง

ทางเดินอาหารของปลาตะเพียน ppt :  https://www.4shared.com/file/152634525/46edf162/1_online.html

Tongue out  ภาพการทดลอง 

 
Wink ภาพถ่ายและภาพวาดปลาตะเพียน
**********************************************************************
 
 
 
 
 
 
Wink ภาพถ่ายและภาพวาดเปิดดูทางเดินอาหารของปลาตะเพียน
********************************************************************** 
 
  
 
 
 
 
 
Wink ภาพภ่ายและภาพวาดทางเดินอาหารของปลาตะเพียน

            

++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
 
 

            ไดโคโตมัสคีย์ สัตว์มีกระดูกสันหลัง

  ไดโคโตมัสคีย์ของสัตว์มีกระดูกสันหลัง

สุนัขพันธุ์บางแก้ว
ที่มาของรูปภาพ    https://www.tarad.com/dogpartner/imglib/spd_20070322153115_b.jpg
สุนัขพันธุ์บางแก้ว   เริ่มมีชื่อเสียงมาตั้งแต่ประมาณปี  2529   ผ่านหน้าหนังสือพิมพ์เกือบทุกฉบับว่าเป็นสุนัขไทยที่เข้าฝึกกับทางทหาร   ฝึกยุทธวิธีไปจนถึงฝึก
กระโดดร่มเพื่อลงพื้นที่ลาดตระเวนร่วมกับทหาร   ในคราวนั้นได้สร้างความฮือฮาให้กับบรรดาคนขอบเลี้ยงสุนัขเป็นอย่างยิ่ง   ว่าสุนัขไทยเรากำลังจะเทิร์นโปร เทียบ
กับสุนัขเมืองนอก   ซึ่งในสมัยนั้นสุนัขที่ฉลาดและกล้าหาญขนาดนั้นต้องเป็นสุนัขฝรั่งตัวโต ๆ   ราคาหลาย ๆ   หมื่นบาท  
สุนัข พันธุ์บางแก้ว   เป็นสุนัขไทยแท้ ๆ   หน้าตาบ้องแบ้ว    ขนปุยน่ารัก    เหมือนสุนัขไทยพันธุ์   Mid-road (ข้างถนน) ทั่วๆ ไป   แต่ด้วยสายพันธุ์ที่สืบทอด
มาจากสุนัขป่าจึงทำให้สุนัขพันธุ์บางแก้วมี ความดุ    รูปร่างของสุนัขบางแก้วถึงแม้จะเป็นพันธุ์ไทย    แต่จะมีรูปร่างที่ใหญ่   บึกบึน   ในขณะที่ยืนหรือเดินจะดูน่า
เกรงขาม พร้อมที่จะเข้าประจัญบานกับผู้ที่ ประสงค์ร้ายในทุกขณะ
สุนัข พันธุ์บางแก้ว   มีต้นกำเนิด   ตำบลบางแก้ว   อำเภอบางระกำ   จังหวัดพิษณุโลก   ซึ่งเป็นอำเภอที่ราบแถบลุ่มแม่น้ำยม   และมีน้ำท่วมถึงในทุกๆ   ปี
จึงไม่แปลกที่สุนัขพันธุ์บางแก้วจะเป็นสุนัข ที่มีความผูกพันธ์กับน้ำเป็น พิเศษ   เรียกได้ว่าถ้าเป็นน้ำเมื่อใดก็ต้องกระโจนลงไปดำผุดดำว่ายให้สนุกสนาน บันเทิง
เป็นทุกที
ที่มาของข้อมูล   https://www.phitsanulok.go.th/bangkaew.html
เป็ดเทศกบินทร์บุรี 
ที่มาของรูปภาพ  https://www.dld.go.th/lsut_uth/image/duck.jpg
เป็ดเทศกบินทร์บุรี เป็นเป็ดที่ได้รับการวิจัยและพัฒนามาจากเป็ดเทศบาร์บารี่ ซึ่งมาจากประเทศฝรั่งเศส เมื่อปี พ.ศ. 2533 ลักษณะขนมีสีขาวปลอด ยกเว้นบริเวณกลางหัวมีจุดดำ มีการเจริญเติบโตเร็ว ให้ไข่ดก ปีละ 160-180 ฟอง/แม่เริ่มไข่เมื่ออายุ 6-7 เดือน เพศผู้โตเต็มที่ 4.5-5 กิโลกรัม เพศเมีย 2.8-3 กิโลกรัม กินอาหารวันละ 150-160 กรัม ปัจจุบันได้ขยายพันธุ์ไปทั่วประเทศ ได้รับความนิยมสูงมาก เนื่องจากเลี้ยงง่ายในสภาพชนบท เติบโตเร็ว สามารถขุนส่งตลาดได้เมื่อน้ำหนักตัว 3.5 กิโลกรัม ภายใน 60-70 วัน อัตราการแลกเนื้อ 3.5 : 1 คุณภาพเนื้อสีแดงคล้ายเนื้อโคมีไขมันต่ำ เนื่องจากขนสีขาวทำให้ราคาดี เมื่อนำไปใช้ชำแหละสามารถขยายพันธุ์ได้เอง ปัจจุบันได้ขยายพันธุ์สู่เกษตรกรทั่วทุกภาคของประเทศ

ที่มาของข้อมูล  https://www.dld.go.th/poultry/breed_muscovy.htm

 +++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

อัพเดทล่าสุด