สมุนไพรรักษาโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ วิธีรักษาโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ อาการโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ


1,913 ผู้ชม


สมุนไพรรักษาโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ วิธีรักษาโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ อาการโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ

           สมุนไพรรักษาโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ

เห็ดหลินจือกับโรคหัวใจ

 
     
 

นอกจากนี้ยังมีการศึกษาผู้ป่วยด้วยโรคหัวใจ   90  รายพบว่าสารสกัดจากเห็ดหลินจือสามารถลดอาการต่างๆได้หลายอย่างเช่น

1.       ลดอาการแน่นหน้าอกได้                            90.4 % 

2.       ลดอาการเจ็บหน้าอก                                  84.5 % 

3.       ลดอาการอ่อนเพลียได้                                77.8% 

4.       ลดอาการมือเท้าเย็น                                    73.9% 

5.       ลดอาการนอนไม่หลับ                                 77.8% 

6.       ลดภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะได้                       60.0% 

7.      ลดอาการหายใจขัด                                      72.5% 

           บทสรุป

เห็ดหลินจือ   นับเป็นสมุนไพรที่ได้รับความสนใจจากนักวิจัยทั่วโลก  มีผลการศึกษาที่เป็นวิทยาศาสตร์ ทั้งประเทศจีน   ญี่ปุ่น  เพื่อไขปริศนาความเชื่อของแพทย์จีนโบราณที่ใช้เห็ดหลินจือรักษาโรคหัวใจ   โดยเฉพาะในประเทศรัสเซีย  ก็ได้ทำการวิจัยพืชสมุนไพร  21  ชนิด  ภายในศูนย์วิจัยโรคหัวใจแห่งชาติที่กรุงมอสโคว์  พบว่าเห็ดหลินจือมีฤทธิ์ต่อระบบการไหลเวียนของโลหิตและหัวใจได้อย่างกว้างขวาง   และมีประสิทธิภาพดีที่สุด  ตรงกับสรรพคุณยาของจีนโบราณที่ระบุไว้ในการบำรุงและรักษาโรคหัวใจทุกประการ   เพราะฉะนั้นไม่น่าแปลกใจเลยว่าเพราะเหตุใดที่ผ่านมาหมอจีนโบราณยังคงใช้เห็ดหลินจือรักษาผู้ป่วยโรคหัวใจอย่าง ต่อเนื่องกันมาจนถึงปัจจุบัน   และเป็นเรื่องเชื่อถือได้   ส่วนในคนที่ไม่ได้ป่วยเป็นโรคหัวใจ   แพทย์จีนโบราณจะให้ใช้เห็ดหลินจือเพื่อบำรุงร่างกาย   และเป็นการป้องกันไม่ให้ป่วยเป็นโรคหัวใจได้โดยง่าย

มุนไพรไทยจีน

 
 

สมุนไพรรักษาโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ วิธีรักษาโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ อาการโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ


เห็ดหลินจือกับ

 
   

พิกัดเกสรทั้ง 5

 
 

ในหัวข้อที่แล้วได้พูดถึงเห็ดหลินจือกับโรคหัวใจ ที่ชาวจีนโบราณรู้จักใช้เห็ดหลืนจือบำรุงและรักษาโรคหัวใจ ตั้งแต่ต้นสมัยราชวงศ์หมิงราว  630  ปี

แต่ในหัวข้อนี้จะขอพูดถึงตำรับยา เห็ดหลินจือกับพิกัดเกสรทั้ง  5  ซึ่งเป็นตำรับยาที่มีความลงตัวกันระหว่าง สมุนไพรของไทยกับสมุนไพรของจีน  และสมุนไพรทั้ง 2 ชนิดนี้ต่างมีสรรพคุณโบราณที่ตรงกันในเรื่องของโรคหัวใจ 

สำหรับตำรับยานี้เป็นการนำเอา เห็ดหลืนจือ ซึ่งเป็นสมุนไพรของจีนมาใช้ร่วมกันกับ  พิกัดเกสรทั้ง 5  ซึ่งเป็นสมุนไพรไทย  หมอแผนโบราณของไทยใช้บำรุงและรักษาโรคที่เกี่ยวกับหัวใจมานานหลายร้อยปี  เช่นเดียวกันกับเห็ดหลินจือของจีน  และยังเป็นที่ยอมรับใช้กันมาจนถึงปัจจุบัน

พิกัดเกสรทั้ง  5  ประกอบด้วย    ดอกมะลิ    ดอกพิกุล    ดอกสารภี    ดอกบุนนาค    เกสรบัวหลวง     มีสรรพคุณเฉพาะอย่างดังนี้

  ดอกมะลิ กลิ่นหอม   รสเย็น   บำรุงหัวใจ   แก้ร้อนในกระหายน้ำ   แก้โรคตา
   
  ดอกพิกุล กลิ่นหอม   รสเย็น   บำรุงหัวใจ  แก้ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ   แก้ไข้ 
 

แก้ปวดหัว    เจ็บคอ  แก้ร้อนใน  แก้ไข้จับสั่น    แก้ไข้หมดสติ      แก้ไข้เพ้อคลั่ง

   
  ดอกสารภี กลิ่นหอม     รสขม    บำรุงหัวใจ  เป็นยาหอมชูกำลัง   เจริญอาหาร
   

บำรุงเส้นประสาท  แก้ลมวิงเวียน   หน้ามืดตาลาย  แก้โลหิตพิการ 

   
  ดอกบุนนาค

กลิ่นหอม รสสุขุม บำรุงหัวใจ บำรุงโลหิต แก้กลิ่นตัว    แก้ไข้  

 

แก้กระหายน้ำ   แก้ตามัว   แก้ลมหาวเรอ แก้ลม  ทำให้หูอื้อ           

   
  เกสรบัวหลวง

กลิ่นหอม รสฝาด บำรุงหัวใจ เป็นยาชูกำลัง  ขับชีพจร  แก้ลม

                 สรุปสรรพคุณโดยรวม ของพิกัดเกสรทั้ง 5  เป็นยาหอม  บำรุงหัวใจ   บำรุงโลหิต   แก้ลมวิงเวียน   หน้ามืดตาลาย    แก้โรคตา  แก้ร้อนในกระหายน้ำและแก้ไข้ 

พิกัดเกสรทั้ง 5 จัดอยู่ในกลุ่มยารสสุขุม  ใช้บำรุงและรักษาโรคที่เกี่ยวกับหัวใจ เป็นยาที่ปู่ย่าตายายของเราต่างก็ใช้กันมาช้านานและยังใช้กันต่อเนื่องมาจนถึงทุกวันนี้     

ปัจจุบันกระทรวงสาธารณะสุขอนุญาตให้สมุนไพรเห็ดหลินจือและพิกัดเกสรทั้ง 5 ขึ้นทะเบียนเป็นตำรับ  “ ยาสามัญประจำบ้าน ” สรรพคุณบำรุงร่างกาย เป็นยาสกัดที่มีเห็ดหลินจือบวกกับพิกัดเกสรทั้ง 5 บรรจุอยู่ในแคปซูลเดียวกันที่มีคุณค่าน่าใช้สำหรับท่านที่สนใจก็ใช้ได้เพราะเป็น “ แพทย์ทางเลือก ”  ( Alternative  medicine )  ที่สามารถทำได้  


 
 

สมุนไพรรักษาโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ วิธีรักษาโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ อาการโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ

 
 
 

ห็ดหลินจือธรรมชาติ Ganoderma สายพันธุ์สีแดงประเภทดอกยังอยู่วัยสาว  ชูดอกออกสีส้มหวานเหมือนลูกกวาด   ขึ้นอยู่บนมอสสีเขียวท่ามกลางบรรยากาศหมอกสลัวเป็นภาพที่ดูนุ่มตาสบายใจ  สลับตัดกับสีของท้องฟ้าชวนให้ซึ้งตึงใจ

เห็ดหลินจือสกัด Gp2

 

   ยาเห็ดหลินจือสกัด Gp 2   เป็นเห็ดหลินจือที่ผ่านการสกัด 2 ขั้นตอนเพื่อให้ได้สารสำคัญ   2  ชนิด คือ กลุ่มสารไตรเทอร์ปินนอยด์ ( Triterpenoids  ) ที่มีสารสำคัญ คือ กรดกาโนเดอริค (Ganoderic acid A, B, C1, C2, D-K, R-Z)และสารกลุ่มสาร โพลิแซ็กคาไรด์  ( Polysaccharides )  รวมอยู่ในแคปซูลเดียวกัน

 

   โดยสารกลุ่มสารไตรเทอร์ปินนอยด์ (Triterpenoids ) ที่มีสารกรดกาโนเดอริคในเห็ดหลินจือ Gp 2 ได้รับการตรวจสอบรับรองปริมาณของสารที่พบโดย Quality Herbal Product  ProjectFaculty of pharmacy Mahidol University   

Link    https://www.freshandshine.com

+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

                วิธีรักษาโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ

คลื่นไฟฟ้า รักษาโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ

สมุนไพรรักษาโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ วิธีรักษาโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ อาการโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ
สมุนไพรรักษาโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ วิธีรักษาโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ อาการโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ
โดย คม ชัด ลึก วัน เสาร์ ที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551 12:17 น.
 
  ไม่ต้องบินไปถึงเมืองนอกเมืองนาแล้ว สำหรับผู้ที่ป่วยเป็น โรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ ชนิดเอเอฟ (Atrial fibrillation-AF) เพราะในขณะนี้มีการใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ล่าสุด

ที่ ศูนย์รักษาผู้ป่วยภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ โรงพยาบาลรามาธิบดี แถลงข่าวเปิดตัวเมื่อเร็วๆ นี้ ที่ถือเป็นความสำเร็จครั้งแรกในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

ก่อนอื่นมาทำความรู้จักกับ โรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ กัน อาการนี้เกิดจากการสร้างสัญญาณไฟฟ้าหัวใจผิดปกติ ซึ่งมักสัมพันธ์กับความเสื่อมของร่างกาย การดื่มสุรา หรือความผิดปกติของโครงสร้างหัวใจ ผู้ป่วยจะมีอาการใจสั่น รู้สึกไม่สบาย ระบบไหลเวียนเลือดผิดปกติ บางรายอาจพบลิ่มเลือดในหัวใจ ซึ่งเป็นภาวะแทรกซ้อนอันตราย หากลิ่มเลือดอุดตันที่หลอดเลือดในอวัยวะสำคัญ อาจเป็นอัมพฤกษ์ อัมพาต มีโอกาสเกิดขึ้นได้กับผู้ป่วย 5-7 คน ใน 100 คน หรือ 2 เท่าของผู้ที่หัวใจเต้นปกติ

เพื่อความเข้าใจยิ่งขึ้น ศ.นพ.รัชตะ รัชตะนาวิน คณบดีคณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี อธิบายว่า โรคหัวใจเป็นสาเหตุของการเสียชีวิตของคนไทยในอันดับต้นๆ มีผู้เสียชีวิตจากโรคหัวใจประมาณ 4 หมื่นรายต่อปี เฉลี่ยชั่วโมงละ 4 ราย ทั้งนี้คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี ได้ทำการวิจัยและพัฒนากระบวนการรักษาเพื่อให้บริการผู้ป่วยอย่างต่อเนื่อง และเปิดศูนย์บำบัดผู้ป่วยภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะที่ดูแลผู้ป่วยครบวงจร

ด้าน ผศ.นพ.ครรชิต ลิขิตธนสมบัติ หัวหน้าศูนย์รักษาผู้ป่วยภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ กล่าวว่า ปกติจุดกำเนิดของไฟฟ้าหัวใจอยู่ที่ห้องขวาบน ธรรมดาไฟฟ้าจะวิ่งจากบนผ่านลงมาข้างล่าง สำหรับภาวะปกติอยู่ที่ 60 ครั้งต่อนาที ส่วนไฟฟ้าที่ลัดวงจรเกิดจากการที่ระบบทำงานไหลเวียนไม่เป็นระเบียบ จากที่วิ่งบนลงล่าง ยังมีบางส่วนที่วิ่งจากล่างขึ้นบน ทำให้เกิดการลัดวงจร เป็นสาเหตุทำให้หัวใจเต้นเร็ว จากเดิม 60 ครั้งต่อนาที เป็น 180 ครั้งต่อวินาที ซึ่งเป็นอาการหัวใจเต้นผิดปกติ

การที่หัวใจห้องบนเต้นเร็ว อาจมีการนำกระแสไฟฟ้ามาที่ห้องล่าง ทำให้หัวใจห้องล่างเต้นเร็วด้วย ซึ่งส่งผลให้สูบฉีดโลหิตไปเลี้ยงร่างกายลดน้อยลง ทำให้มีอาการใจสั่น เหนื่อย หน้ามืดเป็นลมได้ ภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะชนิดเอเอฟ จะมีสัญญาณไฟฟ้าในหัวใจมากหลายจุด 1 นาที มีวงจรไฟฟ้าเต้นอยู่ 350 ครั้งต่อนาที ทำให้หัวใจเต้นเร็วไม่เป็นระเบียบ คุณหมอ อธิบาย

คุณหมออธิบายต่อว่า สมัยก่อนการรักษาจะใช้ยาควบคุมไม่ให้หัวใจเต้นเร็ว แต่ปัจจุบันมีเทคนิคใหม่ คือ การสวนหัวใจด้วยสาย สวนด้วยระบบคาร์โต (Carto system) การผ่าตัดขนาดเล็ก และการผ่าตัดด้วยการส่องกล้อง ซึ่งการใส่สายสวนเข้าไปต้องใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ เพื่อกะพริบสัญญาณไฟฟ้าในหัวใจ ในการหาจุดหัวใจที่ก่อให้เกิดการเต้นผิดจังหวะ และจี้ด้วยวิทยุคลื่นความถี่สูง เรียกว่า การรักษาโรคหัวใจเต้นเร็วด้วยคลื่นวิทยุความถี่สูง (Radiofrequency Ablation) โดยใช้กลไกความถี่สูงตามวัตต์ที่ต้องการ จี้เสร็จหัวใจก็กลับมาเป็นปกติเหมือนเดิม ส่วนใหญ่บริเวณที่จี้จะเป็นเนื้อเยื่อหัวใจด้านบนซ้าย

คนไข้หนึ่งในจำนวนผู้ที่ได้รับการรักษาคือ พีระพงษ์ สุทธนารักษ์ อายุ 41 ปี บอกว่า เริ่มมีอาการตอนอยู่สหรัฐอเมริกา ช่วงแรกนึกว่าเป็นโรคความดันโลหิตสูง แต่เมื่อไปตรวจ หมอบอกว่าเป็นเอเอฟ ส่วนตัวแล้วรู้สึกงง เพราะไม่รู้ว่าเอเอฟคืออะไร จนกระทั่งกลับมาที่เมืองไทย และเข้ารับการรักษาอยู่ที่โรงพยาบาลรามาธิบดี ก่อนผ่าตัดอาการที่พบคือ หัวใจเต้นมั่วมาก ไม่เป็นจังหวะ ใจสั่น ท้องเสีย ตอนนั้นกลัวว่าจะเป็นหัวใจวายตายมาก สุดท้ายมาเข้ารับการผ่าตัด ซึ่งก็เหมือนการผ่าตัดทั่วๆ ไป มีการเตรียมตัว 2-3 วัน

ด้าน พิจิตร อยู่ในศีล วัย 71 ปี ผู้เข้ารับการรักษาภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ เล่าว่า ตอนนั้นมีอาการหัวใจเต้นเร็วมาก หน้ามืด รักษาตัวเองมาตลอด แต่ยังไม่หาย จนกระทั่งมารักษาอยู่ที่โรงพยาบาลรามาธิบดี หลังจากผ่าตัดด้วยเทคนิคใหม่แล้ว ปรากฏว่าอาการที่เคยเป็นไม่กลับมาเป็นอีก ทำงานได้ตามปกติ เดิน 4-5 กิโลเมตรได้โดยไม่เหนื่อย ยกของหนักได้เหมือนเดิม โดยไม่มีผลกระทบใดตามมา และการเข้ารับการรักษาก็ใช้เวลาพักฟื้นเพียงไม่นาน

ผศ.นพ.ครรชิต ให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่า ค่ารักษาผู้ป่วยเป็นเอเอฟตกประมาณ 1 แสนบาท สำหรับเทคนิคการผ่าตัด อย่างไรก็ตามทีมแพทย์จะเป็นคนเลือกวิธีการรักษาเอง ว่าใครเหมาะสมกับวิธีการไหน

สำหรับผู้ที่สนใจ เรื่องโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะสามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ www.ramacvmc.org

         Link    https://news.sanook.com

+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++


 

           อาการโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ

โรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ (arrhythmia)

คำจำกัดความ

ในภาวะปกติ ที่บริเวณหัวใจห้องบน จะทำหน้าที่สร้างสัญญาณไฟฟ้า เพื่อมากระตุ้นการเต้นของหัวใจเอง

ภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ (arrhythmia) เป็นคำรวมของโรคที่เกิดจากสัญญาณไฟฟ้าที่หัวใจสร้างขึ้นมีความผิดปกติไปจากเดิม ทำให้จังหวะการเต้นของหัวใจผิดปกติ โดยหัวใจอาจเต้นเร็วขึ้นหรือเต้นช้าลงหรือเต้นไม่เป็นจังหวะ

ภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะนี้ บางภาวะไม่อันตรายและคนส่วนใหญ่มีโอกาสเป็นได้ โดยอาจรู้สึกหัวใจเต้นเร็วและแรง หรือใจสั่นเป็นครั้งคราวและหายได้เอง แต่บางโรคอาจรบกวนการใช้ชีวิตประจำวัน และบางครั้งอาจเป็นอันตรายถึงแก่ชีวิตได้ เช่น ทำให้เกิดเส้นเลือดในสมองอุดตันหรือหัวใจหยุดเต้นกระทันหันได้ (sudden cardiac arrest)

ภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ สาเหตุแบ่งเป็นกลุ่มได้หลายแบบ
ถ้าแบ่งตามตำแหน่งของหัวใจที่ส่งสัญญาณไฟฟ้าผิดปกติ : แบ่งได้เป็น 4 ชนิด คือ

  • หัวใจห้องบนผิดปกติ (Atrium) เช่น Atrial flutter, Atrial fibrillation, Premature atrial contraction (PAC) เป็นต้น
  • ทางเชื่อมระหว่างหัวใจห้องบนและห้องล่างผิดปกติ (Atrio-ventricular node) เช่น Wolff-Parkinson-White syndrome
  • Junctional arrhythmia เช่น supraventricular tachycardia
  • หัวใจห้องล่างผิดปกติ (Ventricle) เช่น Premature ventricular contraction (PVC), Ventricular fibrillation

ถ้าแบ่งตามอัตราการเต้นของหัวใจ : แบ่งได้เป็น 2 ชนิด คือ

  • อัตราการเต้นของหัวใจเร็วกว่าปกติ (Tachycardia) : อัตราการเต้นของหัวใจมากกว่า 100 ครั้ง/นาที
  • อัตราการเต้นของหัวใจช้ากว่าปกติ (bradycardia) : อัตราการเต้นของหัวใจน้อยกว่า 60 ครั้ง/นาที

ถ้าแบ่งตามกลไกการเกิดโรค : แบ่งได้เป็น

  • Automaticity : เกิดจากมีจุดอื่นในหัวใจสร้างกระแสไฟฟ้าออกมากระตุ้นหัวใจได้เร็วกว่าสัญญาณไฟฟ้าปกติ
  • Reentry : เกิดจากกระแสไฟฟ้าที่สร้างจากจุดกำเนิดปกติในหัวใจ มากระตุ้นที่หัวใจแล้ววกกลับมากระตุ้นหัวใจใหม่อีกซ้ำๆ เป็นวงกลม

อาการ

1. การที่หัวใจเต้นผิดปกติ ส่วนหนึ่งของผู้ป่วยจะไม่มีอาการผิดปกติอะไร แพทย์ก็ตรวจพบโดยบังเอิญ
2. ผู้ป่วยส่วนหนึ่งอาจรับรู้ได้ถึงหัวใจที่เต้นผิดปกติ คือ มีอาการสั่นระรัวที่บริเวณหน้าอกหรือใจสั่น : เป็นการที่ผู้ป่วยรับรู้ถึงการที่หัวใจเต้น (ในภาวะปกติ เราจะไม่รู้สึกว่าหัวใจเต้น)
3. ผู้ป่วยส่วนหนึ่งมีอาการจากภาวะแทรกซ้อนที่เกิดตามหลังภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ เช่น

  • หัวใจเต้นเร็วกว่าปกติ ทำให้แรงบีบตัวของหัวใจในแต่ละครั้งไม่เพียงพอจะสูบฉีดเลือดออกไปเลี้ยงส่วนต่างๆ ของร่างกาย เช่น เจ็หน้าอก ในรายที่มีโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดอยู่แล้ว, สับสน มึนงง
  • หัวใจเต้นช้ากว่าปกติ จนเลือดไปเลี้ยงส่วนต่างๆ ของร่างกายไม่พอ ทำให้มีอาการหน้ามืดคล้ายจะเป็นลมหรือ เป็นลมหมดสติ
  • มีลิ่มเลือดอยู่ในหัวใจ แล้วลิ่มเลือดหลุดไปที่เส้นเลือดส่วนปลาย ทำให้เกิดอาการจากอวัยวะส่วนปลายอุดตัน เช่น เส้นเลือดสมองตีบ , หลอดเลือดแดงส่วนปลายที่ไปเลี้ยงแขนขาอุดตันเฉียบพลัน เป็นต้น

สาเหตุ

สาเหตุของภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะมีได้หลากหลาย ขึ้นอยู่กับโรค แต่สาเหตุที่พบได้บ่อย คือ

  • โรคหัวใจบางโรคทำให้หัวใจเต้นผิดจังหวะได้ เช่น โรคหลอดเลือดหัวใจ,โรคลิ้นหัวใจ เป็นต้น
  • โรคความดันโลหิตสูง
  • โรคเบาหวาน
  • ภาวะฮอร์โมนจากต่อมไทรอยด์สูงเกิน
  • เกลือแร่ในเลือดผิดปกติ
  • การสูบบุหรี่
  • การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอร์ หรือชา/กาแฟ
  • ใช้ยาผิดวิธี
  • ภาวะเครียด
  • อาหารหรือสมุนไพรบางชนิด
  • ยาบางชนิด

การวินิจฉัย

ประวัติ : ผู้ป่วยจะมีอาการดังที่กล่าวมาแล้ว

การตรวจร่างกาย : บ่อยครั้งที่แพทย์ตรวจพบความผิดปกติโดยที่ผู้ป่วยไม่มีอาการ ซึ่งการตรวจร่างกายสามารถทำได้ง่ายๆ โดยการใช้หูฟังฟังเสียงหัวใจที่เต้นผิดปกติหรือจับชีพจรที่แขนขาแล้วรู้สึกถึงการเต้นที่ผิดปกติ การตรวจนี้มีข้อจำกัด คือ

  • สามารถบอกได้แค่คร่าวๆ ว่าผู้ป่วยมีภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ (คืออัตราการเต้นของหัวใจเร็วหรือช้ากว่าปกติ หรือจังหวะการเต้นของหัวใจไม่สม่ำเสมอ) แต่ไม่สามารถบอกได้ว่าเป็นโรคอะไร
  • ทุกสัญญาณไฟฟ้าที่สร้างจากหัวใจ โดยเฉพาะที่สร้างออกมาผิดปกติ ไม่ได้สามารถกระตุ้นให้เกิดการเต้นของหัวใจทุกครั้ง จึงไม่สามารถตรวจพบได้จากการฟังเส้นหัวใจเต้นหรือจับชีพจร

การตรวจเพิ่มเติมทางห้องปฎิบัติการ : ประกอบด้วย

  • การตรวจด้วยเครื่องวัดคลื่นไฟฟ้าหัวใจ (Electrocardiogram, EKG) : เป็นการตรวจที่ทำได้ง่ายๆ , ใช้เวลาไม่นานและผู้ป่วยไม่เจ็บ ทำได้โดยใช้เครื่องมือติดที่หน้าอกและแขนขา จากนั้นเครื่องจะตรวจดูสัญญาณไฟฟ้าที่หัวใจสร้าง และแปลผลออกมาเป็นกราฟ
  • การใช้เครื่องบันทึกคลื่นไฟฟ้าหัวใจต่อเนื่อง 24 ชั่วโมง (Holter monitor) : ทำในกรณีที่ตรวจด้วยคลื่นไฟฟ้าหัวใจแล้วผลออกมาปกติ แต่ผู้ป่วยมีอาการที่ชวนสงสัยภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ เพราะคลื่นไฟฟ้าที่สร้างจากหัวใจอาจมีความผิดปกติเป็นๆ หายๆ ได้

ภาวะแทรกซ้อน

โรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ สามารถทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนต่างๆ ได้ดังนี้

  • หัวใจเต้นเร็วกว่าปกติจนทำให้แรงบีบตัวของหัวใจในแต่ละครั้งไม่เพียงพอจะสูบฉีดเลือดออกไปเลี้ยงส่วนต่างๆ ของร่างกาย ทำให้เกิดอาการจากอวัยวะส่วนปลายขาดเลือด เช่น เจ็บหน้าอกจากกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด (มักพบในรายที่มีโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดอยู่ก่อนแล้ว) , สับสนหรือมึนงง จากเลือดไปเลี้ยงสมองไม่พอ
  • หัวใจเต้นช้ากว่าปกติ จนทำให้เลือดไปเลี้ยงส่วนต่างๆ ของร่างกายไม่พอ : ทำให้มีอาการหน้ามืดคล้ายจะเป็นลมหรือเป็นลมหมดสติ
  • หัวใจเต้นผิดจังหวะ ทำให้เลือดบางส่วนคั่งค้างอยู่ในหัวใจ ไม่ไหลออกจากตามปกติ เมื่อมีเลือดค้างอยู่นานๆ เลิอดเหล่านั้นจะมารวมกันจนกลายเป็นลิ่มเลือดอยู่ในหัวใจ ซึ่งลิ่มเลือดนี้มีโอกาสจะหลุดไปอุดที่เส้นเลือดส่วนปลายได้ตลอดเวลา ทำให้ผู้ป่วยเกิดอาการจากอวัยวะส่วนปลายอุดตัน เช่น เส้นเลือดสมองตีบ (Stroke) , หลอดเลือดแดงส่วนปลายที่ไปเลี้ยงแขนขาอุดตันเฉียบพลัน (Arterial occlusion) เป็นต้น

การรักษาและยา

การรักษาภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ ขึ้นอยู่กับสาเหตุของโรค แต่มีหลักการรักษาที่สำคัญ คือ
1.การทำให้หัวใจที่เต้นผิดจังหวะ กลับมาสู่ภาวะปกติ : สามารถทำได้หลายวิธี ขึ้นอยู่กับสภาพของผู้ป่วยและสาเหตุของโรค คือ

  • การใช้วิธีทางกายภาพ (Physical maneuvers) : เพื่อเพิ่มระบบประสาท parasympathetic (ทำหน้าที่ยับยั้งสัญญาณไฟฟ้าที่สร้างจากหัวใจ ทำให้หัวใจเต้นช้าลงและยับยั้งสัญญาณไฟฟ้าที่ผิดปกติ) เช่น การนวดบริเวณเส้นเลือดแดงที่คอ (carotid massage), การประคบน้ำแข็งที่หน้า, การให้เบ่ง เป็นต้น
  • การรักษาด้วยยาต้านหัวใจเต้นผิดจังหวะ (Antiarrhythmic drug) : มียาหลายกลุ่มที่มีกลไลการออกฤทธิ์แตกต่างกัน แต่ช่วยให้หัวใจกลับมาเต้นตามปกติ เช่น ยา amiodarone
  • การใช้เครื่องผลิตสัญญาณไฟฟ้ากระตุ้นที่หัวใจของผู้ป่วย เพื่อกระตุ้นให้หัวใจกลับมาเต้นปกติ (electrical cardioversion)
  • การเข้าไปทำลายจุดที่สร้างสัญญาณไฟฟ้าผิดปกติในหัวใจ (Electrical cautery) โดยใช้ความร้อน, ความเย็น, กระแสไฟฟ้า หรือเลเซอร์ มักทำในรายที่กลไกของภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะเกิดจาก Automaticity ( มีจุดอื่นในหัวใจสร้างกระแสไฟฟ้าออกมากระตุ้นหัวใจได้เร็วกว่าสัญญาณไฟฟ้าปกติ)

2.ในรายที่ภาวะหัวใจเต้นผิดปกติเป็นมานานและกำลังรอวิธีการรักษาที่ทำให้หัวใจที่เต้นผิดจังหวะกลับมาสู่ภาวะปกติ แพทย์จะให้การรักษาเพื่อควบคุมอัตราการเต้นของหัวใจให้เหมาะสม เช่น

  • ในกรณีที่หัวใจเต้นเร็วเกินไป แพทย์จะให้ยาช่วยลดอัตราการเต้นของหัวใจ เช่น propranolol, verapamil, diltiazem, digoxin เป็นต้น
  • ในกรณีที่หัวใจเต้นช้าเกินไป แพทย์จะให้ผู้ป่วยติดเครื่องกระตุ้นหัวใจ (pacing, ทำหน้าที่ผลิตสัญญาไฟฟ้ามากระตุ้นให้หัวใจบีบตัว ในจังหวะที่ไม่มีสัญญาณไฟฟ้าจากหัวใจมากระตุ้นตามปกติ) ทั้งแบบชั่วคราวและถาวร เพื่อป้องกันภาวะหัวใจหยุดเต้นเฉียบพลัน

3.ให้ยาป้องกันการเกิดลิ่มเลือดในหัวใจ เพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนจากลิ่มเลือดหลุดไปอุดที่เส้นเลือดส่วนปลาย
ได้แก่ ยาต้านเกล็ดเลือด (เช่น aspirin) หรือยาต้านการแข็งตัวของเลือด (เช่น warfarin) แพทย์จะเลือกใช้ยาตัวใด ขึ้นอยู่กับความเสี่ยงในการเกิดภาวะแทรกซ้อนจากลิ่มเลือดหลุดไปอุดที่เส้นเลือดส่วนปลายในผู้ป่วยแต่ละราย โดยเฉพาะความเสี่ยงต่อการเกิดเส้นเลือดสมองตีบ

ยาที่เกี่ยวข้อง

ยาที่ใช้บ่อย Aspirin, Diltiazem, Verapamil, amiodarone, propranolol, digoxin, warfarin

แหล่งอ้างอิง

1. วิทยา ศรีดามา, บรรณาธิการ. ตำราอายุรศาสตร์4. โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. พิมพ์ครั้งที่ 3. 2550, 245-259.
2. Anthony S.Fauci, Eugene Braunwald, et al, editors. Harrison’s principles of internal medicine. 17th edition. 2008, 1416-1442.
3. Ziad F.Issa, John M.Miller, Douglas P.Zipes, editors. Clinical arrhythmology and electrophysiology. 2009.
4. ชาญ ศรีรัตนสถาวร, รุ่งโรจน์ กฤตยพงษ์ และคณะ , บรรณาธิการ. ภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ บียอนด์ พับลิสซิ่ง จำกัด. พิมพ์ครั้งที่2. 2546.

         Link   https://healthy.in.th

++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

อัพเดทล่าสุด