อาการของโรคหัวใจรั่ว สาเหตุของโรคหัวใจรั่ว โรคหัวใจรั่ว


1,044 ผู้ชม


อาการของโรคหัวใจรั่ว สาเหตุของโรคหัวใจรั่ว โรคหัวใจรั่ว

             อาการของโรคหัวใจรั่ว

โรคลิ้นหัวใจรั่ว (Valvular Heart Disease) อีกมหันตภัยเงียบสำหรับคนไทย


โรคลิ้นหัวใจรั่วเป็นอีกโรคหนึ่งที่ถือเป็นภัยเงียบสำหรับคนไทย ที่บอกเป็นภัยเงียบก็เพราะโรคนี้เป็นโรคที่ไม่แสดงอาการในระยะเริ่มแรก แต่จะเริ่มแสดงอาการเมื่อเข้าสู่วัยรุ่น แต่อาการก็ไม่รุ่นแรง ซึ่งเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ไม่สามารถรักษาให้หายได้ตั้งแต่เนิน โรคลิ้นหัวใจรั่วเมื่อเกิดกับใครแล้วจะทำให้ประสิทธิภาพในการทำงานลดลง หรือรบกวนชีวิตประจำวันของคนๆนั้น เพราะเวลาจะทำอะไรก็จะรู้สึกเหนื่อยง่าย ไม่สามารถทำงานได้เต็มประสิทธิภาพอย่างที่ควรจะเป็น
โรคลิ้นหัวใจรั่วจะแสดงอาการรุ่นแรงเมื่ออายุประมาณ 40 - 50 ปีขึ้นไป จนทำให้ผู้ป่วยเหนื่อยและอ่อนเพลียมากขึ้นเกือบๆจะทุกการเคลื่อนไหว ซึ่งบางรายก็อาจเสียชีวิตได้เนื่องจากการทำงานของหัวใจล้มเหลว
โรคลิ้นหัวใจรั่วมักมีสาเหตุจากความผิดปกติของเนื้อเยื่อลิ้นหัวใจมาแต่กำเนิดงผลให้ลิ้นหัวใจเสื่อมไวกว่าคนทั่วไป โรคลิ้นหัวใจรั่ว ที่พบบ่อยในคนไทยคือ ลิ้นหัวใจที่กั้นระหว่างห้องบนและห้องล่างด้านซ้าย
โดยโรค ลิ้นหัวใจรั่ว ที่เกิดจากความผิดปกติแต่กำเนิด มักไม่แสดงอาการในวัยเด็ก แต่จะเริ่มเหนื่อยง่าย ใจสั่น เมื่อเข้าสู่วัยรุ่น โดยมีผลให้การออกกำลังกายได้น้อย ทำงานได้น้อยลง หรือแม้กระทั่งบางคนเพียงเดินขึ้นเดินขึ้นบันได 1-2 ชั้น ก็เหนื่อย นอนราบไม่ได้หายใจไม่ออก เป็นต้น
อาการของโรคลิ้นหัวใจรั่ว ไม่รุนแรง แต่เป็นแบบค่อยเป็นค่อยไป อาจยาวนานจนกระทั่ง 40 ปีผ่านไป จึงเริ่มแสดงอาการรุนแรง จากการที่ลิ้นหัวใจเสื่อมมากขึ้น จนทำให้ร่างกายเหนื่อย อ่อนเพลียง่ายกับทุกอิริยาบถการเคลื่อนไหว บางรายที่เป็นมากอาจเสียชีวิตเนื่องจากการทำงานของหัวใจล้มเหลว
การตรวจหาลิ้นหัวใจรั่ว
การตรวโรคลิ้นหัวใจรั่วที่ให้ผลแม่นยำและเป็นมาตรฐาน จะตรวจโดยการใช้คลื่นเสียงสะท้อนหรือเครื่องอัลตราซาวนด์ เรียกการตรวจชนิดนี้ว่า เอคโค่ (echocardiogram) ซึ่งต้องอาศัยเครื่องมือ และ ความชำนาญของแพทย์ในการทำ และแปลผลด้วย
โดยส่วนใหญ่การตรวจแบบใช้เครื่องอัลตราซาวนด์ สามารถใช้เวลาเพียง 30 นาทีก็สามารถรู้ผลการตรวจได้ว่าหัวมีความผิดปกติหรือไม่ และสภาพการทำงานเป็นอย่างไร เช่น ทิศทางการไหลเวียนของเลือด จังหวะการสูบฉีดเลือดของหัวใจเมื่อมีการหายใจเข้าออก การปิดเปิดของลิ้นหัวใจเมื่อเลือดสูบฉีดว่ามีการรั่ว หย่อนยาน หรือปูดขึ้นหรือไม่ ทั้งนี้แพทย์จะแนะนำวิธีการรักษาที่เหมาะสมกับผู้ป่วยด้วยว่าจะรักษาด้วยวิธีการใดถึงจะเหมาะสมกับอาการที่ผู้ป่วยเป็นอยู่
สาเหตุหลักๆของการเกิดลิ้นหัวใจรั่ว
1 มีความผิดปกติของลิ้นหัวใจที่เป็นมาแต่กำเนิด โดยอาจไม่มีอาการใดๆในวัยเด็กก็ได้ หรือตั้งแต่มารดาตั้งครรภ์
2 ลิ้นหัวใจเสื่อมตามอายุ เนื่องจากเป็นอวัยวะที่เคลื่อนไหวและรับแรงจากเลือดตลอดเวลา ดังนั้นจึงเกิดการเสื่อมขึ้น ลิ้นหัวใจ จะหนาตัวขึ้นและเริ่มมีหินปูน (calcium) เข้าไปสะสมในเนื้อเยื่อ ทำให้ปิดไม่สนิท
3 โรคหัวใจรูห์มาติค ซึ่งเริ่มต้นจากการติดเชื้อ Streptococus ในคอ ซึ่งพบบ่อยในเด็ก ร่างกายสร้างภูมิต้านทานขึ้นมา ต่อต้านหัวใจตนเอง เกิดการอักเสบของลิ้นหัวใจ ผลตามมาคือลิ้นหัวใจหนาตัวขึ้นมาก เกิดลิ้นหัวใจตีบและรั่ว โรคนี้ยังจัดเป็นปัญหา สาธารณสุขของประเทศอยู่ พบบ่อยๆ ในผู้ป่วยเศรษฐานะต่ำ หรืออยู่ในชุมชนแออัด
4 เกิดจากการติดเชื้อที่ลิ้นหัวใจ ทำให้ลิ้นหัวใจอักเสบเป็นรู เชื้อโรคอาจมาจากช่องปาก เข็มฉีดยาที่ไม่สะอาด (ในผู้ติดยา เสพติด) การเจาะตามร่างกาย(เช่น เจาะลิ้น เจาะอวัยวะเพศ)เป็นต้น 
อาการและการรักษา
การรักษาในช่วงที่ ลิ้นหัวใจรั่ว ไม่รุนแรงมาก แพทย์มักจะแนะนำให้ป้องกันการติดเชื้อโรคเข้าสู่กระแสเลือด เช่น การหลีกเลี่ยงทำฟันเมื่อมีแผลอักเสบในช่องปาก หรือควรบอกการเจาะตามร่างกายต่างๆ เช่น ผู้ที่ชอบเจาะลิ้น อวัยวะเพศ เป็นต้น
สำหรับผู้ป่วยรายที่ลิ้นหัวใจรั่วมาก จนกระทั่งกล้ามเนื้อที่พยุงการปิดเปิดลิ้นหัวใจเกิดการหย่อนยาน ปูด หรือหนา แพทย์จะเป็นผู้ชี้ขาดว่าวสมควรผ่าตัดซ่อมแซมลิ้นหัวใจที่เกิดการชำรุดหรือไม่ ซึ่งโดยมากแพทย์จะผ่าตัดเฉพาะในรายที่ลิ้นหัวใจชำรุดมากเท่านั้น หากชำรุดเพียงเล็กน้อย หรือปานกลางแพทย์มักจะแนะนำวิธีการปฏิบัติตัวและเฝ้าติดตามอาการไปเรื่อยๆ
เพราะการผ่าตัดซ่อมแซมลิ้นหัวใจในแต่ละครั้งจะเสียค่าใช้จ่ายที่สูง ซึ่งการผ่าตัดซ่อมแซมลิ้นหัวใจไม่สามารถรับประกันได้ทุกรายว่าจะหายเป็นปกติได้ตลอดชีวิตหลังการผ่าตัด โดยบางรายอาจต้องมีการผ่าตัดซ่อมแซมซ้ำอีก ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับการตอบสนองและการดูแลตัวเองของผู้ป่วยแต่ละราย
การปฏิบัติตัวเมื่อพบว่าตัวเองเป็นโรคลิ้นหัวใจรั่ว
โรคลิ้นหัวใจรั่วหากลิ้นหัวใจรั่วไม่มาก อาการของผู้ป่วยก็จะเป็นปกติ นั่นคือผู้ป่วยสามารถที่จะใช้ชีวิตและมีกิจกรรมปกติของตัวเองได้เหมือนอย่างคนทั่วไป แต่ถ้าลิ้นหัวใจรั่วมาก เช่น หอบเหนื่อยมากแม้จะทำงานเพียงเล็กน้อย ก็ต้องทำกิจกรรม หรือทำงานให้น้อยลง หรือหากเป็นมากก็ต้องงดกิจกรรมเหล่านั้นเลย เช่นในกรณีที่เป็นมากและเป็นผู้ป่วยที่ดื่มเหล้า สูบบุหรี่ ก็ต้องลด หรือหยุดไปเลย รวมทั้งอาหารที่มีรสเค็มจัด มันจัด เป็นต้น
นอกจากนี้การออกกำลังกายแบบหักโหม ก็มักจะเป็นอันตรายต่อผู้ป่วยโรคลิ้นหัวใจรั่วที่มีอาการรุ่นแรงเพราะอาจทำให้หัวใจล้มเหลวได้ 
นอกจากนี้ผู้ป่วยที่ต้องการทำฝัน เช่น ถอนฝัน ขูดหินปูน ที่จะทำให้เกิดแผลในช่องปากก็ควรจะระวังให้มาก หากต้องทำก็ต้องแจ้งแพทย์ที่ทำให้ทราบด้วยเพื่อจะได้ให้แพทย์ให้ยาในการป้องกันการติดเชื้อก่อน หรือแม้กระทั้งผู้ป่วยที่ต้องทำการผ่าตัดใดๆ ก็ต้องปฏิบัติเช่นเดียวกัน
ที่มา:
Health-Protect.com

+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++


               สาเหตุของโรคหัวใจรั่ว

  

โรคหัวใจ Heart Disease

โรคหัวใจ Heart Disease


โรคหัวใจ
 

เรียบเรียงข้อมูลโดยกระปุกดอทคอม
          ชั่วโมงการทำงานที่อัดแน่นด้วยความเครียด และการกินอาหารที่อุดมไปด้วยไขมันและเกลือ กำลังคุกคามสุขภาพของคนยุคปัจจุบัน อีกไม่นาน... การใช้ชีวิตสมัยใหม่แบบนี้ อาจทำให้ โรคหัวใจ ระบาดทั่วเมือง... 

          หัวใจคนเรามี 4 ห้อง แบ่งซ้าย - ขวา โดยผนังของกล้ามเนื้อหัวใจ และแบ่งเป็นห้องบน –ล่างโดยลิ้นหัวใจ ในทุกๆ วัน หัวใจคนเราจะเต้นประมาณ 100,000 ครั้ง และสูบฉีดเลือดประมาณวันละ 2,000 แกลลอน เปรียบเสมือนการทำงานปกติของ "หัวใจ" แต่ถ้าวันหนึ่ง... หัวใจเราเกิดอาการผิดปกติขึ้นมาล่ะ จะทำอย่างไร...?
          ทั้งนี้ นายแพทย์สุรพันธ์ สิทธิสุข แพทย์จากหน่วย โรคหัวใจ และหลอดเลือด คณะแพทย์ศาสตร์ ภาควิชาอายุรศาสตร์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ กล่าวว่า อาการผิดปกติเบื้องต้นของร่างกาย ซึ่งอาจเป็นข้อบ่งชี้ว่า มีอัตราเสี่ยงต่อการเป็น โรคหัวใจ สามารถแบ่งได้หลายชนิด ดังนี้
 โรคหัวใจ ที่อาการผิดปกติที่เกิดขึ้นเฉียบพลัน... 

          คือ อาการผิดปกติเบื้องต้นของร่างกาย ที่บ่งชี้ว่าอาจเป็น โรคหัวใจ พบบ่อยในคนทั่วไป ที่คิดว่าตัวเองมีสุขภาพดี ทั้งที่ความจริงอาจเป็นโรคหัวใจในระยะแรกเริ่ม มีดังนี้

           1. เหนื่อยเวลาออกกําลังกาย เพราะหัวใจทําหน้าที่ในการสูบฉีดโลหิตไปเลี้ยงส่วนต่างๆ ของร่างกาย ขณะที่เราออกกําลังกาย หัวใจจะทํางานหนักมากขึ้น ปกติเวลาที่เราออกกำลังกายไปถึงระดับหนึ่งจะรู้สึกเหนื่อย แต่ในรายของคนที่มีอาการเริ่มต้นของ โรคหัวใจ แม้ออกกำลังกายเพียงเล็กน้อย จะรู้สึกเหนื่อยผิดปกติอย่างไม่เคยเป็นมาก่อน ดังนั้นหากออกกำลังกาย แล้วรู้สึกเหนื่อยง่ายผิดปกติ อาจเป็นข้อบ่งชี้ได้ว่า คุณอาจเป็น โรคหัวใจ
           2. เจ็บหน้าอกหรือแน่นหน้าอก มักพบบ่อยในคนที่เป็นโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ และไขมันอุดตันในหลอดเลือดหัวใจ อาการดังกล่าวจะมีลักษณะเฉพาะคือ รู้สึกเหมือนหายใจอึดอัด และแน่นบริเวณกลางหน้าอก เหมือนมีของหนักทับอยู่ หรือรัดไว้ให้ขยายตัวเวลาหายใจ โดยมากอาการนี้ จะแสดงออกเวลาที่หัวใจต้องทำงานหนัก เช่น ระหว่างการออกกำลังกาย หรือใช้แรงมากๆ เป็นต้น ซึ่งเป็นอีกหนึ่งสัญญาณเตือนว่า อาจเป็น โรคหัวใจ
           3. ภาวะหัวใจล้มเหลว เกิดจากการที่หัวใจไม่สามารถสูบฉีดเลือดไปเลี้ยงส่วนต่างของร่างกายได้อย่างเพียงพอ โดยผู้ป่วยจะเริ่มมีอาการเหนื่อย ทั้งที่ออกกำลังกายเพียงนิดหน่อย หรือเหนื่อยทั้งที่นั่งอยู่เฉยๆ ในกรณีที่เป็นมาก อาจทำให้ไม่สามารถนอนราบได้เหมือนปกติ เพราะจะรู้สึกเหนื่อยเวลาหายใจ และอึดอัดตรงหน้าอก นอกจากนั้น อาจมีอาการหอบจนต้องตื่นขึ้นมาหอบกลางดึกอีกด้วย อาการภาวะหัวใจล้มเหลวนี้ หากไม่รีบไปพบแพทย์โดยเร็ว และไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที อาจมีอันตรายถึงชีวิตได้
           4. ใจสั่นและหัวใจเต้นผิดจังหวะ ปกติหัวใจของเราจะเต้นด้วยจังหวะที่สม่ำเสมอประมาณ 60 -100 ครั้ง/นาที แต่สำหรับคนที่มีอาการหัวใจเต้นผิดจังหวะ อาจขยับไปถึง150 -250 ครั้ง/นาที ซึ่งอัตราการเต้นของหัวใจที่ไม่สม่ำเสมอนี้ จะทำให้เหนื่อยง่าย ใจสั่น หายใจไม่ทัน
           5. เป็นลมหมดสติ คืออีกหนึ่งอาการที่เตือนว่าคุณอาจเป็น โรคหัวใจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้สูงอายุ ซึ่งมีอัตราเสี่ยงต่อการเป็นลมหมดสติสูง เนื่องจากจังหวะการเต้นของหัวใจไม่สม่ำเสมอ เพราะเซลล์ซึ่งทำหน้าที่ให้จังหวะไฟฟ้าในหัวใจเสื่อมสภาพ ส่งผลให้หัวใจเต้นช้าลง และส่งเลือดไปเลี้ยงสมองไม่เพียงพอ จนทำให้เป็นลมไปชั่วคราวได้ ทั้งนี้ การเป็นลมหมดสติ มักจะเกิดในท่ายืนมากกว่านั่ง ทำให้ขณะล้มลงศีรษะมีโอกาสฟาดพื้น และเกิดการกระทบกระเทือนต่อสมองได้มากกว่า ดังนั้น ใครที่เป็นลมบ่อยๆ ควรรีบไปพบแพทย์ เพราะอาจเป็น โรคหัวใจ ได้
           6. หัวใจหยุดเต้นกะทันหัน ในกรณีนี้มักเกิดจากความผิดปกติของเซลล์หัวใจโดยตรง และมักเกิดกับคนปกติที่ไม่มีอาการของ โรคหัวใจ มาก่อนล่วงหน้า ซึ่งหากมีอาการหัวใจหยุดเต้นกะทันหัน ถ้าไม่ได้รับการช่วยเหลือที่รวดเร็ว อาจเป็นอันตรายถึงชีวิตได้
 โรคหัวใจ ที่อาการผิดปกติที่สังเกตได้จากร่างกาย... 

          นอกจากความผิดปกติชนิดเฉียบพลันแล้ว อาการบ่งชี้ที่สังเกตได้จากร่างกายของเราเอง ก็เป็นอีกหนึ่งความผิดปกติที่เตือนให้รู้ว่า คุณอาจเป็น โรคหัวใจ และควรไปพบแพทย์โดยด่วนได้เช่นกัน เป็นต้นว่า...

           1. ขาหรือเท้าบวมโดยไม่ทราบสาเหตุ
 เมื่อกดดูแล้วมีรอยบุ๋มตามนิ้วที่กดลงไป ซึ่งหากเกิดขึ้นกับใคร ควรรีบไปพบแพทย์เพื่อตรวจเช็คโดยด่วน เพราะนั่นอาจเป็นสัญญาณเตือนให้รู้ว่า เวลานี้คุณอาจอยู่ในภาวะหัวใจล้มเหลวโดยที่ไม่รู้ตัว 
                
           2. ปลายมือ ปลายเท้า และริมฝีปากมีลักษณะเขียวคล้ำ อาการดังกล่าวแสดงให้เห็นว่า ทางเดินของเลือดในหัวใจห้องขวากับห้องซ้ายมีการเชื่อมต่อที่ผิดปกติ ส่งผลให้เกิดการผสมของเลือดแดงกับเลือดดํา และทําให้ปริมาณของออกซิเจนในเลือดมีปริมาณน้อยลง
 
 โรคหัวใจ ที่อาการผิดปกติที่ตรวจพบขณะตรวจร่างกาย...

 
          การไปพบแพทย์เพื่อตรวจสุขภาพประจำปี เป็นอีกวิธีหนึ่งที่จะทำให้เราสามารถคาดคะเนความเสี่ยงต่อการเกิด โรคหัวใจ ได้ เช่น ตรวจเลือดแล้วพบว่าเป็นเบาหวาน หรือมีไขมันในเลือดสูง ก็อาจสันนิษฐานได้ว่า มีความเสี่ยงต่อการเกิดหลอดเลือดหัวใจตีบได้เช่นกัน หรือเอ็กซเรย์แล้วพบว่า ขนาดของหัวใจโตกว่าปกติ ซึ่งอาจเกิดจากหลอดเลือดหัวใจตีบ ลิ้นหัวใจรั่ว และกล้ามเนื้อหัวใจบีบตัวอ่อนกำลังลง ทำให้ห้องต่างๆ ของหัวใจขยายขนาดใหญ่ขึ้น ทั้งนี้ ในกรณีที่ตรวจพบว่ามีความเสี่ยงสูง ไม่ควรนิ่งนอนใจ ควรรีบไปพบแพทย์โดยด่วน
 
 ป้องกัน โรคหัวใจ อย่างไรดี... 
          
          ข้อมูลที่ได้บอกไปข้างต้น เป็นเพียงข้อสันนิษฐานเบื้องต้นว่า เรามีอัตราเสี่ยงสูงต่อการป่วยเป็นโรคหัวใจ เท่านั้น ซึ่งผู้ที่จะวินิจฉัยว่าเราเป็น โรคหัวใจ หรือไม่ คือแพทย์ โรคหัวใจ เท่านั้น ดังนั้นหากพบความผิดปกติ ควรรีบไปพบแพทย์โดยด่วนดีที่สุด
 
 สำหรับคนที่หัวใจยังเป็นปกติ เรามีข้อแนะนำในการดูแลหัวใจ (ก่อนสายเกินไป) ดังนี้ค่ะ
           สังเกตความผิดปกติของตัวเองอยู่เสมอ โดยเฉพาะอาการผิดปกติที่เกิดขึ้นเฉียบพลัน เช่น ดูว่าอัตราการเต้นของหัวใจปกติดีหรือไม่ เจ็บหน้าอก ใจสั่นบ่อยๆ หรือเปล่า เป็นต้น
                
           ออกกำลังกายเป็นประจำ ซึ่งนอกจากจะทำให้ร่างกายแข็งแรงสมบูรณ์ สุขภาพจิตแจ่มใสแล้ว ยังช่วยให้หัวใจสูบฉีดเลือดได้ดีขึ้นอีกด้วย
 
           ดูแลสุขภาพใจให้ผ่องใสอยู่เสมอ พยายามไม่เครียด รู้จักควบคุมอารมณ์ และพึงระลึกไว้เสมอว่า ความเครียดและความโกรธ เป็นตัวการสำคัญที่ทำให้หัวใจเต้นแรง และทำงานหนักขึ้น
 
           รับประทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพ โดยงดอาหารที่มีไขมันสูง ซึ่งทำให้ความดันโลหิตสูง เกิดภาวะเส้นเลือดหัวใจตีบได้ง่าย และหันไปกินผักผลไม้ให้มากขึ้น
                
           ควรไปตรวจสุขภาพเป็นประจำทุกปี เพื่อป้องกันและรักษาโรคร้ายที่อาจคาดไม่ถึง เช่น โรคหัวใจ ซึ่งแฝงอยู่ในตัวเราตั้งแต่เนิ่นๆ
 
          ... ยามใดที่ร่างกายอ่อนล้า เราหยุดพักให้หายเหนื่อยได้... แต่ยามใดที่หัวใจอ่อนแรง มันก็ยังคงเดินต่อไป ทำงานต่อไป... เพราะฉะนั้น เมื่อรู้ว่า "หัวใจ" คนเราไม่เคยหยุดพัก อย่าลืมดูแลรักษามันไว้ให้ดีๆ นะคะ เพือจะได้ไม่เป็น โรคหัวใจ ค่ะ

          Link    https://health.kapook.com

+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

          โรคหัวใจรั่ว

สาเหตุและอาการโรคผนังกั้นห้องหัวใจรั่ว ซึ่งส่วนใหญ่มักเป็นโรคหัวใจพิการมาแต่กำเนิดและผู้ที่มีอาการดังกล่าวมักไม่รู้ตัวมาก่อน จึงปล่อยไว้โดยไม่ได้รับการตรวจรักษาจนมีอายุมากแล้วและมีอาการปรากฏชัดขึ้นและถึงขั้นรุนแรงแล้ว

หากแบ่งลักษณะโครงสร้างของหัวใจแล้ว สามารถแยกได้ว่าอย่างแรกเป็นโรคของตัวกล้ามเนื้อหัวใจหรือผนังหัวใจ โรคเกี่ยวกับลิ้นหัวใจผิดปกติ และอีกประเภทหนึ่งคือโรคเกี่ยวกับหลอดเลือดหัวใจผิดปกติ และเยื่อหุ้มหัวใจผิดปกติ และสำหรับโรคผนังกั้นห้องหัวใจรั่วนี้จะพบได้บ่อยในบริเวณผนังกั้นหัวใจห้องบนมากกว่าห้องล่าง อย่างไรก็ตามสำหรับผู้ป่วยที่มีภาวะผนังกั้นห้องหัวใจรั่วนั่นอาจเริ่มตั้งแต่ไม่แสดงอาการใดๆ จนกระทั่งมีอาการเหนื่อยง่ายกว่าปกติ  ตัวเขียว เพราะมีเลือดดำไปปนกับเลือดแดงเยอะ ออกซิเจนไม่เพียงพอ หัวใจโตจนถึงขั้นมีโอกาสหัวใจล้มเหลวเฉียบพลัน

ถ้าแรกๆเลย รูรั่วที่ไม่ใหญ่มากนักอาจจะไม่มีอาการอะไรเลย แต่บางคนถ้ารูค่อนข้างใหญ่ก็จะมีอาการเกิดเล็กน้อยตอนเด็กๆ ซึ่งอาจจะเหนื่อยง่ายกว่าปกติบ้างหรือว่าไม่สบายบ่อย มีภาวะปอดอักเสบ อันนี้ก็ให้สงสัยได้ว่าน่าจะมีปัญหาผนังหัวใจพิการแต่กำเนิดได้

ในส่วนของการตรวจวินิจฉัยผู้ป่วยบางรายที่ไม่แสดงอาการผิดปกติสามารถตรวจพบได้ด้วยการตรวจร่างกายทั่วไป โดยอายุรแพทย์ด้านโรคหัวใจจะใช้เพียงอุปกรณ์สำหรับตรวจวัดการเต้นของหัวใจก็สามารถตรวจจับความผิดปกติได้ ซึ่งหากสงสัยว่ามีความผิดปกติเกิดขึ้นแล้ว ผู้ป่วยจะต้องรับการตรวจพิเศษเพิ่มเติม อาทิ การตรวจกราฟหัวใจ เอ็กซเรย์ปอดหัวใจ รวมไปถึงการตรวจวัดคลื่นเสียงสะท้อนหัวใจด้วยเครื่องเอ็กโค่คาร์ดิโอแกรม ซึ่งจะได้ผลการตรวจที่ละเอียดและชัดเจนมากยิ่งขึ้น สำหรับใช้ประกอบเพื่อวางแผนการรักษาในขั้นตอนต่อไป

โรคนี้ถ้าตรวจพบแล้ว เราก็ต้องดูว่าปริมาณเลือดที่วิ่งจากซีกซ้ายไปซีกขวามีปริมาณมากน้อยเพียงใด ต่อไปจะทำให้มีปัญหาแรงดันในปอดสูงมากขึ้นเรื่อยๆ หรือไม่ ซึ่งถ้าเป็นอย่างนั้นจริงก็น่าจะต้องรักษาโดยการปิดรูรั่วนั่น เพราะถ้ารอถึงตอนที่แรงดันมีความสูงมาก อาจจะแก้ไขแล้วไม่ได้ผลได้

สำหรับวิธีการรักษาโดยการปิดรูรั่วของผนังกั้นห้องหัวใจนี้ ในปัจจุบันมีอยู่ 2 วิธีคือวิธีการผ่าตัด โดยจะผ่าตัดเปิดทางผนังทรวงอกเข้าไปใช้แผ่นอุปกรณ์ประกบปิดรูรั่วนั่น ทั้งนี้ต่อมาได้มีวิวัฒนาการทางการแพทย์ที่สามารถปิดรูรั่วได้โดยไม่ต้องผ่าตัด โดยอายุรแพทย์ด้านโรคหัวใจจะมีอุปกรณ์พิเศษทำหน้าที่คล้ายกับเป็นร่ม 2 ชั้นประกบกันสำหรับปิดรูรั่วสอดใส่เข้าไปทางบริเวณขาหนีบ ซึ่งจะคล้ายคลึงกับการทำบอลลูนขยายหลอดเลือดหัวใจ ทั้งนี้จะขึ้นอยู่กับขนาดของรูรั่วที่พบว่ามีขนาดใหญ่เพียงใด ซึ่งแพทย์จะพิจารณาเลือกวิธีการรักษาให้เหมาะสมกับผู้ป่วยแต่ละราย ถือเป็นหนึ่งในวิวัฒนาการทางการแพทย์ที่ช่วยให้ผู้ป่วยเจ็บตัวน้อยลงและพักฟื้นในโรงพยาบาล   1-2 วัน ก็สามารถกลับบ้านได้

จริงๆ แล้วโรคผนังกั้นห้องหัวใจรั่วเป็นโรคพิการแต่กำเนิด ในปัจจุบันสามารถจะตรวจวินิจฉัยได้ตั้งแต่เด็กแล้วก็ทำการรักษาตั้งแต่เด็ก แต่ถ้าหากว่าตอนเด็กไม่มีอาการจนล่วงเลยมาถึงวัยผู้ใหญ่แล้ว การมาตรวจเช็คร่างกายประจำปีปกติ ก็สามารถจะตอบได้แล้วว่าเรามีโรคนี้อยู่หรือไม่ ซึ่งถ้าตรวจพบแล้วควรทำการป้องกันรักษาไว้ก่อนน่าจะดีกว่ารอให้มีอาการรุนแรง ซึ่งจะยากแก่การรักษา


       Link   https://www.oknation.net

+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

อัพเดทล่าสุด