สาเหตุของโรคหัวใจโต การรักษาโรคหัวใจโต โรคหัวใจโตอันตรายไหม


1,111 ผู้ชม


สาเหตุของโรคหัวใจโต การรักษาโรคหัวใจโต โรคหัวใจโตอันตรายไหม

           สาเหตุของโรคหัวใจโต

หัวใจโต เกิดจากอะไร

 
 

      หัวใจโตเกิดจากขนาดหัวใจที่โตกว่าปกตินั้น อาจแบ่งเป็น 2 ชนิดใหญ่ๆ คือ โตจากกล้ามเนื้อที่หนาตัวกว่าปกติ ลองนึกภาพคนเล่นกล้าม นักเพาะกาย กล้ามเนื้อใหญ่ขึ้น เพราะทำงานหนัก กล้ามเนื้อหัวใจก็เช่นกัน หากต้องทำงานหนัก บีบตัวมากๆ เช่น ในกรณีความดันโลหิตสูง หรือ ลิ้นหัวใจตีบ ก็ทำให้กล้ามเนื้อหัวใจหนา ขึ้นได้ อีกประการหนึ่งคือขนาดของหัวใจโตขึ้นเพราะกล้ามเนื้อหัวใจบีบตัวไม่ดี มีเลือด คั่งค้างในห้องหัวใจมากคล้ายลูกโป่งใส่น้ำ ทำให้ขนาดโตขึ้น มีหลายโรคที่ทำให้เกิดภาวะหัวใจ ที่เป็นดาราประจำก็ คือ ความดัน โลหิตสูง ลิ้นหัวใจตีบหรือรั่ว หัวใจขาดเลือดหรือกล้ามเนื้อหัวใจตาย เบาหวาน เป็นต้น นอกจากนั้นแล้วโรคของกล้ามเนื้อหัวใจที่หนา กว่าปกติโดยไม่ทราบสาเหตุ โรคหัวใจจากแอลกอฮอล์ ก็เป็นสาเหตุหนึ่งเช่นกัน

หัวใจโตมีอาการอย่างไร

 

      ผู้ที่หัวใจโตส่วนใหญ่จะไม่ค่อยมีอาการหากหัวใจยังทำงานปกติ แต่หากหัวใจทำงานผิดปกติจะเกิดอาการต่างๆจากโรคที่เป็น อาการต่างๆได้แก่

  • หายใจลำบาก เหนื่อยง่ายกว่าปกติ
  • หายใจเร็ว
  • เวียนศีรษะ อ่อนเพลียง่าย
  • ใจสั่น
  • บวมบริเวณเท้าตอนสายๆ
  • ไอโดยเฉพาะเวลานอน
  • นอนราบไม่ได้เนื่องจากแน่หน้าอก

ท่านจะต้องประเมินอาการของท่านให้ดีเพราะบางครั้งอาการต่างๆค่อยๆเป็นไปจนกระทั่งคิดว่ามันเป็นเรื่องปกติ ท่านอาจจะเปรียบเทียบกับคนที่อยู่ในวัยเดียวกับท่านและมีวิถีชีวิตเหมือนกับท่านว่าท่านมีอาการต่างๆมากกว่าเขาหรือเปล่า หากมากกว่าหรือท่านไม่แน่ใจให้ไปพบแพทย์เพื่อประเมิน 
การตรวจร่างกายจะบอกได้หากหัวใจมีขนาดโตมาก แต่โดยทั่วไปแล้ว การตรวจร่างกายจะมุ่งหาสาเหตุของหัวใจโต มากกว่าที่จะ บอกขนาดของหัวใจ การตรวจที่จำเป็นคือคลื่นไฟฟ้าหัวใจ และ เอกซเรย์ทรวงอก (ปอดและหัวใจ) หากกล้ามเนื้อหัวใจหนากว่าปกติมาก หรือ เคยมีปัญหา กล้ามเนื้อหัวใจตายมาก่อน จะแสดง ให้เห็นจากคลื่นไฟฟ้าหัวใจ แต่อย่างไรก็ตามคลื่นไฟฟ้าหัวใจเป็นการตรวจที่มีความไวต่ำ หมายความว่า แม้คลื่นไฟฟ้า หัวใจปกติ ก็มิได้หมายความว่าหัวใจไม่โต หรือ ไม่มีโรคหัวใจขาดเลือด คลื่นไฟฟ้าหัวใจอาจบอกว่าโต แต่จริงๆแล้วไม่โตก็ได้ เอกซเรย์ ทรวงอกบอกขนาด หัวใจได้ดีพอสมควร แต่ก็ผิดพลาดได้ง่าย เพราะขึ้นกับเทคนิค ระยะห่างระหว่างหัวใจกับฟิล์ม การหายใจ เป็นต้น 
บ่อยครั้งที่ดูว่าหัวใจโตจากเอกซเรย์ แต่จริงๆแล้วขนาดหัวใจปกติ ไม่โตเลย ในทางกลับกันเอกซเรย์บอกว่าปกติแต่ความจริงมีกล้ามเนื้อหัวใจหนากว่าปกติมากก็เป็นได้ ต้องเข้าใจว่า การตรวจเหล่านี้ ล้วนมีข้อจำกัดทั้งสิ้น บ่อยครั้งที่แพทย์สั่งตรวจพิเศษเหล่านี้หลายๆอย่าง ทั้งนี้เพื่อให้ได้ข้อมูลมากที่สุด เพื่อประกอบการตัดสินใจ ในการให้ความเห็นและรักษา กรุณาอย่าคิดว่าแพทย์สั่งตรวจมากๆเพราะไม่เก่งหรือเพราะต้องการค่าแพทย์มากๆ

 

สาเหตุของหัวใจโต

       ผู้ที่หัวใจโตบางท่านอาจจะไม่มีสาเหตุแต่ส่วนใหญ่จะมีสาเหตุ ได้แก่

  • ความดันโลหิตสูง สำหรับท่านที่ความดันโลหิตสูงอย่างต่อเนื่องหัวใจท่านจะทำงานหนักจึงทำให้หัวใจโต
  • ท่านที่มีโรคลิ้นหัวใจ ไม่ว่าจะลิ้นหัวใจตีบหรือลิ้นหัวใจรั่ว หรือมีการอักเสบติดเชื้อที่ลิ้นหัวใจ โรคต่างๆเหล่านี้จะทำให้หัวใจโต
  • โรคของกล้ามเนื้อหัวใจเอง ที่เรียกว่า cardiomyopathy เช่นผู้ที่ดื่มสุราเป็นเวลานานกล้ามเนื้อหัวใจจะถูกทำลายทำให้หัวใจโต
  • โรคหัวใจพิการแต่กำเนิด เช่นผนังหัวใจรั่วเป็นต้น
  • ผู้ที่เป็นโรคหัวใจเต้นผิดปกติก็จะทำให้หัวใจโต
  • ผู้ที่เป็นโรคความดันในปอดสูงก็จะทำให้หัวใจโต
  • ผู้ที่มีโลหิตจางหรือซีดเป็นเวลานาน
  • โรคของต่อมไทรอยด์ไม่ว่าต่อมจะทำงานมากไปหรือน้อยไปก็ทำให้เกิดหัวใจโต
  • สำหรับท่านที่รับประทานธาตุเหล็กมากไปจะมีการสะสมธาตุเหล็กเกิดโรค hemochromatosis
  • มีความผิดปกติเกี่ยวกับโปรตีนทำให้มีการสะสมโปรตีนในกล้ามเนื้อหัวใจที่เรียกว่า Amyloidosis

จะป้องกันหัวใจโตได้อย่างไร

การป้องกันหัวใจโตจะต้องป้องกันไม่ให้เกิดโรคที่ทำให้หัวใจโตแนวทางป้องกันมีดังนี้

  1. สำหรับท่านที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคความดันโลหิตสูง เช่น อ้วนไม่ได้ออกกำลัง มีประวัติครอบครัวเป็นโรคความดันโลหิตสูง ท่านจะต้องปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อลดโอกาสในการเกิดความดันโลหิตสูง สำหรับท่านที่มีความดันโลหิตสูงแล้วท่านต้องรับประทานยาและปฏิบัติตามแพทย์สั่งโดยเคร่งครัด
  2. สำหรับโรคทางพันธุกรรมคงจะหลีกเลี่ยงยาก แต่ท่านอาจจะหยุดโรคโดยสอบประวัติครอบครัว หากภรรยา/สามี มีประวัติโรคหัวใจในครอบครัว ท่านควรปรึกษาแพทย์
  3. รักษาปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ
การตรวจเพื่อหาสาเหตุของหัวใจโต
  • การตรวจรังสีปอดและหัวใจซึ่งจะบอกได้ว่าหัวใจโตหรือไม่ แต่ไม่ได้บอกสาเหตุของหัวใจโต เป็นการตรวจเบื้องต้นเท่านั้น
  • คลื่นไฟฟ้าหัวใจ ซึ่งจะวัดไฟฟ้าหัวใจว่าหัวใจเต้นผิดปกติหรือไม่ และกล้ามเนื้อหัวในหนาหรือไม่
  • การตรวจหัวใจด้วยคลื่นเสียงความถี่สูงซึ่งจะบอกว่ากล้ามเนื้อหัวใจหนาหรือไม่ การบีบตัวของหัวใจเป็นอย่างไร ยังสามารถดูลิ้นหัวใจ เยื่อหุ้มหัวใจ
  • การตรวจ computer scan ซึ่งจะให้รายละเอียดของหัวใจค่อนข้างมาก
  • การเจาะเลือดตรวจ
  • ในรายที่จำเป็นอาจจะต้องฉีดสีเพื่อดูเส้นเลือดหัวใจ และอาจจะจำเป็นต้องตัดชิ้นเนื้อหัวใจส่งตรวจ
การรักษาหัวใจโต

การรักษาหัวใจโตจะมุ่งเน้นไปที่การรักษาต้นเหตุ แต่หากผู้ป่วยเกิดอาการก็จำเป็นต้องได้ยาเพื่อรักษาอาการ ยาที่มักจะใช้ได้แก่

  • ยาขับปัสสาวะ ซึ่งมีหลายชนิดให้เลือกใช้ตามความเหมาะสม ยาที่สามารถเลือกใช้ได้แก่ furosemide, spironolactone ,hydrochlorothaizide ใช้ในกรณีที่มีอาการบวม และมีอาการของหัวใจวาย
  • Angiotensin-converting enzyme (ACE) inhibitors ใช้ลดความดันและรักษาอาการหัวใจวาย
  • Angiotensin receptor blockers (ARBs)ใช้ลดความดันและรักษาอาการหัวใจวาย
  • Beta blockers ใช้ลดความดันและอาการหัวใจวาย
  • Digoxin ใช้รักษากรณีที่มีการเต้นของหัวใจผิดปกติ

การรักษาอื่นๆที่อาจจะมีความจำเป็น

  • สำหรับผู้ที่หัวใจเต้นผิดปกติก็อาจจะจำเป็นต้องใช้เครื่องควบคุมการเต้นของหัวใจ
  • การผ่าตัด โดยเฉพาะผู้ที่มีความผิดปกติของลิ้นหัวใจ
  • การผ่าตัดเปลี่ยนหัวใจ
  • การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม

นอกจากจะใช้ยาแล้วการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจะทำให้ควบคุมอาการได้ดียิ่งขึ้น

  • หยุดสูบบุหรี่
  • ลดน้ำหนัก
  • รับประทานอาหารจืด
  • ควบคุมเบาหวาน
  • ควบคุมความดันให้เหมาะสม
  • ออกกำลังกาย
  • หลับพักอย่างน้อยวันละ 8 ชั่วโมง

ปรึกษาและรับคำแนะนำเกี่ยวกับหัวใจโตได้ที่ทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคหัวใจ โรงพยาบาลเวชธานี

รายชื่อแพทย์ อายุรกรรมโรคหัวใจและหลอดเลือด

สาเหตุของโรคหัวใจโต การรักษาโรคหัวใจโต โรคหัวใจโตอันตรายไหม นพ.ปัญเกียรติ โตพิพัฒน์ สาเหตุของโรคหัวใจโต การรักษาโรคหัวใจโต โรคหัวใจโตอันตรายไหม นพ.ไพศาล บุญศิริคำชัย
สาเหตุของโรคหัวใจโต การรักษาโรคหัวใจโต โรคหัวใจโตอันตรายไหม นพ.ไพศาล กอบเกื้อชัยพงษ์ สาเหตุของโรคหัวใจโต การรักษาโรคหัวใจโต โรคหัวใจโตอันตรายไหม ศ.นพ.เกียรติชัย ภูริปัญโญ
สาเหตุของโรคหัวใจโต การรักษาโรคหัวใจโต โรคหัวใจโตอันตรายไหมนพ.อัมพล อิทธิฤทนานนท์ สาเหตุของโรคหัวใจโต การรักษาโรคหัวใจโต โรคหัวใจโตอันตรายไหม นพ.สุขขุม รุจิชานันทกุล
สาเหตุของโรคหัวใจโต การรักษาโรคหัวใจโต โรคหัวใจโตอันตรายไหม พญ.ชาดา โชติพันธุ์วิทยากุล สาเหตุของโรคหัวใจโต การรักษาโรคหัวใจโต โรคหัวใจโตอันตรายไหม นพ.วัฒนา บุญสม
สาเหตุของโรคหัวใจโต การรักษาโรคหัวใจโต โรคหัวใจโตอันตรายไหม นพ.ปริวัตร เพ็งแก้ว สาเหตุของโรคหัวใจโต การรักษาโรคหัวใจโต โรคหัวใจโตอันตรายไหม นพ.ขจร ขาวไพศาล
สาเหตุของโรคหัวใจโต การรักษาโรคหัวใจโต โรคหัวใจโตอันตรายไหม พญ.วรนุช จุนพึ่งพระเกียรติ สาเหตุของโรคหัวใจโต การรักษาโรคหัวใจโต โรคหัวใจโตอันตรายไหม นพ.วิทยา ไชยธีระพันธ์
สาเหตุของโรคหัวใจโต การรักษาโรคหัวใจโต โรคหัวใจโตอันตรายไหม นพ.เทิดศักดิ์ เชิดชู สาเหตุของโรคหัวใจโต การรักษาโรคหัวใจโต โรคหัวใจโตอันตรายไหม นพ.วันจักร พงษ์สิทธิศักดิ์
สาเหตุของโรคหัวใจโต การรักษาโรคหัวใจโต โรคหัวใจโตอันตรายไหม นพ.นาวิน สุรภักดี

             Link   https://www.vejthani.com

++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++


               การรักษาโรคหัวใจโต

หัวใจโต (enlarged heart)หมายถึง ขนาดของหัวใจที่ตรวจพบว่าโตขึ้น โดยเป็นผลที่เกิดขึ้นตามมาเนื่องจากโรคอื่นๆ หลายชนิด ขนาดหัวใจที่โตกว่าปกตินั้น อาจแบ่งเป็น 2 ชนิดใหญ่ๆ คือ หัวใจโตจากกล้ามเนื้อที่หนาตัวกว่าปกติ เช่น ในกรณีความดันโลหิตสูง หรือลิ้นหัวใจตีบ ก็ทำให้กล้ามเนื้อหัวใจหนาขึ้นได้ อีกประการหนึ่งคือ ขนาดของหัวใจโตขึ้นเพราะกล้ามเนื้อหัวใจบีบตัวไม่ดี มีเลือดคั่งค้างในห้องหัวใจมาก ทำให้ขนาดของหัวใจโตขึ้น


สาเหตุ

สาเหตุที่ทำให้หัวใจโตมีหลายประการ ได้แก่

  1. ความดันโลหิตสูง ขณะ ที่หัวใจสูบฉีดโลหิตผ่านหลอดเลือดแดงแล้วไปเลี้ยงส่วนต่างๆ ทั่วร่างกาย แรงที่เกิดขึ้นในการทำให้เลือดไหลเวียนอยู่นี้จะมีผลต่อผนังหลอดเลือดแดง ด้วย แรงมากระทำมากผนังหลอดเลือดแดงก็ต้องยืดขยายมากไปด้วย หาก หัวใจสูบฉีดโลหิตด้วยความแรงที่สูงกว่าปกติตลอดเวลา ระบบการไหลเวียนของโลหิตจะตกอยู่ในสภาพที่หลอดเลือดแดงรับบทหนักตลอดเวลา หากไม่ได้รับการรักษาให้ความดันโลหิตที่สูงกลับไปสู่ปกติ

  2. สาเหตุของโรคหัวใจโต การรักษาโรคหัวใจโต โรคหัวใจโตอันตรายไหมโรคลิ้นหัวใจตีบหรือรั่ว ส่วน ใหญ่มักจะเกิดในสภาพสังคมที่ค่อนข้างจะยากจน สาเหตุการเกิดเนื่องจากมีการติดเชื้อที่บริเวณทางเดินหายใจ หลังจากนั้นเชื้อหรือปฏิกิริยาจากการติดเชื้อก็ลงไปจู่โจมที่ลิ้นหัวใจ ทำให้ลิ้นหัวใจเกิดการอักเสบ เกิดการทำลายเกิดขึ้นแล้วเกิดลิ้นหัวใจตีบและลิ้นหัวใจรั่วตามมา

  3. โรคหัวใจขาดเลือดหรือกล้ามเนื้อหัวใจตาย ใน ประเทศไทย พบว่าจำนวนผู้ป่วยโรคเส้นเลือดหัวใจมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นทุกปี ผู้ป่วยมีอาการเจ็บหน้าอก ใจสั่น เหนื่อยง่ายเมื่อออกกำลังกาย บางครั้งเป็นลมหมดสติโดยไม่ทราบสาเหตุ สาเหตุเกิดจากการตีบแคบ หรืออุดตันในหลอดเลือดโคโรนารี่ที่นำเลือดไปเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจ ทำให้หัวใจขาดเลือด จึงเกิดอาการต่างๆ เช่น จุกแน่น เสียดแสบบริเวณทรวงอก อาจแผ่กระจายไปที่แขน ลำคอ ขากรรไกร กราม หากเป็นมากจะอ่อนเพลีย เหงื่อออก เป็นลม จนถึงเสียชีวิตแบบเฉียบพลัน

  4. โรคเบาหวาน โรคเบาหวานมีความสัมพันธ์กับโรคหัวใจอย่างใกล้ชิด ผู้ป่วยโรคเบาหวานพบความผิดปกติของหลอดเลือดทั่วร่างกาย มาก บ้างน้อยบ้างแล้วแต่ความรุนแรง และความเรื้อรังของโรค นอกจากนี้ผู้ป่วยโรคเบาหวานยังมีความผิดปกติของไขมันในเลือด ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้การทำงานของหัวใจบกพร่องไปเรื่อยๆ

  5. สาเหตุของโรคหัวใจโต การรักษาโรคหัวใจโต โรคหัวใจโตอันตรายไหมโรคกล้ามเนื้อหัวใจหนากว่าปกติชนิดไม่ทราบสาเหตุ เชื่อว่าการเกิดโรคนี้เกี่ยวข้องกับปัจจัยทางพันธุกรรม ลักษณะ สำคัญของโรค พบการหนาตัวผิดปกติของกล้ามเนื้อหัวใจ ส่วนใหญ่เป็นการหนาตัวที่เกิดขึ้นไม่เท่ากันในแต่ละบริเวณ โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่ผนังกล้ามเนื้อหัวใจห้องล่างซ้ายและบริเวณผนังกั้นกลาง ระหว่างหัวใจห้องล่างซ้ายและขวา ทำให้เกิดการอุดกั้นเลือดที่ไหลออกจากหัวใจขณะที่บีบตัว

  6. โรคหัวใจจากแอลกอฮอล์ การดื่มแอลกอฮอล์ในปริมาณสูงจะส่งผลโดยตรงต่อความดันโลหิต ทำให้ความดันโลหิตเพิ่มสูงขึ้น พบว่าการทำงานของกล้ามเนื้อหัวใจบกพร่องและเป็นไปในลักษณะเรื้อรัง นอก จากนี้สารอะเซตัลดีไฮด์ที่เกิดจากการบริโภคแอลกอฮอล์ ยังเป็นสารที่ก่อให้เกิดอนุมูลอิสระจำนวนมาก สารเหล่านี้มีบทบาทสำคัญที่ทำให้เกิดอันตรายต่อเซลล์เยื่อบุหลอดเลือดและ เซลล์เนื้อเยื่อปลายทาง ผลที่สำคัญประการหนึ่งเป็นความผิดปกติของไมโตคอนเดรียที่อยู่ในเซลล์กล้ามเนื้อหัวใจ

อาการ

ผู้ป่วยที่ตรวจพบว่าหัวใจโตอาจ ไม่มีอาการผิดปกติแต่อย่างใด หากจะมีอาการ ก็มักจะเป็นอาการอันเนื่องจากโรคที่เป็นต้นเหตุ และอาการจากภาวะหัวใจล้มเหลว เช่น เหนื่อยง่าย หอบ แน่นหน้าอก เป็นต้น

ภาวะหัวใจโตไม่ถือเป็นโรค แต่ เป็นภาวะหนึ่งของโรคหัวใจ หมายความว่าโรคหัวใจชนิดต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นโรคกล้ามเนื้อหัวใจ โรคหลอดเลือดหัวใจ เมื่อปล่อยให้โรคดำเนินไปมากขึ้นแล้ว จะเกิดภาวะหัวใจโตขึ้น เพราะฉะนั้นถ้าปล่อยให้หัวใจโตแล้ว จะเป็นสัญญาณเตือนว่าวันข้างหน้าโรคหัวใจเหล่านี้จะทำให้การทำงานของหัวใจ ล้มเหลว เข้าสู่โรคหัวใจระยะสุดท้ายและมีโอกาสเสียชีวิตได้

การวินิจฉัย

สาเหตุของโรคหัวใจโต การรักษาโรคหัวใจโต โรคหัวใจโตอันตรายไหมสามารถให้การวินิจฉัยได้จาก การซักถามประวัติอาการ และการตรวจร่างกายโดยเฉพาะอย่างยิ่งการตรวจระบบหัวใจและหลอดเลือดโดยละเอียด ซึ่งจะบอกได้หากหัวใจมีขนาดโตมาก นอกจากนี้การตรวจร่างกายอาจจะช่วยให้ทราบถึงสาเหตุของหัวใจโตได้เช่นกัน

การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจและ การถ่ายภาพรังสีทรวงอกช่วยในการวินิจฉัยได้มาก ในกรณีกล้ามเนื้อหัวใจหนากว่าปกติมาก หรือผู้ป่วยที่เคยมีปัญหากล้ามเนื้อหัวใจตายมาก่อน จะตรวจพบได้จากการตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ

ข้อควรระวังคือการตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจเป็นการตรวจที่มีความไวต่ำ การที่คลื่นไฟฟ้าหัวใจปกติมิได้หมายความว่าหัวใจไม่โต ในทางตรงข้ามแม้คลื่นไฟฟ้าหัวใจบอกว่าหัวใจโต แต่จริงๆ แล้วอาจจะไม่โตก็ได้

ภาพรังสีทรวงอกบอก ขนาดของหัวใจได้ดีพอสมควร แต่ก็มีข้อจำกัดอยู่บ้าง บ่อยครั้งที่แพทย์อาจพิจารณาสั่งการตรวจพิเศษหลายอย่าง ทั้งนี้เพื่อให้ได้ข้อมูลมากที่สุด เพื่อประกอบการตัดสินใจในการให้ความเห็นและรักษา

สาเหตุของโรคหัวใจโต การรักษาโรคหัวใจโต โรคหัวใจโตอันตรายไหมการตรวจหัวใจด้วยคลื่นเสียงความถี่สูง หรือคลื่นอัลตราซาวน์ บางครั้งเรียกว่าการตรวจคลื่นสะท้อนหัวใจ (echocardiography)ซึ่ง ช่วยให้เห็นห้องหัวใจและสามารถวัดขนาดได้ว่าโตหรือไม่ การตรวจชนิดนี้นังช่วยให้เห็นการทำงานของลิ้นหัวใจ เห็นลักษณะของกล้ามเนื้อหัวใจ และความสามารถในการบีบตัวของหัวใจ

การรักษา

หลักการรักษาภาวะหัวใจโต เป็น การให้การรักษาตามสาเหตุ เช่น รักษาความดันโลหิตสูงให้อยู่ในเกณฑ์ที่ควบคุมได้ บางรายอาจได้รับการผ่าตัดลิ้นหัวใจ สำหรับผู้ที่หัวใจวายต้องได้รับการรักษาภาวะหัวใจล้มเหลวให้ดีขึ้น

นอกจากนั้นยังควรให้ความสำคัญกับเรื่องโภชนาการที่ถูกต้องเหมาะสม การออกกำลังกายที่เพียงพอ ควบคุมระดับไขมันในเลือดไม่ให้สูงผิดปกติ อย่าง ไรก็ตาม แม้ว่าการรักษาอย่างเต็มที่แล้ว อาจจะไม่ได้ลดขนาดหัวใจลงให้เห็นได้ชัดเจน แต่การรักษาจะช่วยป้องกันไม่ให้หัวใจโตขึ้นเรื่อยๆ ได้

            Link   https://www.dae.mi.th/LF03D_enlarged%20heart_TH.htm

+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

            โรคหัวใจโตอันตรายไหม

หัวใจโต (enlarged heart) อันตรายแค่ไหน
โดย : นพ.วรวุฒิเจริญศิริ

         หัวใจโต (enlarged heart)หมายถึง ขนาดของหัวใจที่ตรวจพบว่าโตขึ้น โดยเป็นผลที่เกิดขึ้นตามมาเนื่องจากโรคอื่นๆ หลายชนิด ขนาดหัวใจที่โตกว่าปกติ... 

อาจแบ่งเป็น 2 ชนิดใหญ่ๆ คือ หัวใจโตจากกล้ามเนื้อที่หนาตัวกว่าปกติ เช่น ในกรณีความดันโลหิตสูง หรือลิ้นหัวใจตีบ ก็ทำให้กล้ามเนื้อหัวใจหนาขึ้นได้ อีกประการหนึ่งคือ ขนาดของหัวใจโตขึ้นเพราะกล้ามเนื้อหัวใจบีบตัวไม่ดี มีเลือดคั่งค้างในห้องหัวใจมาก ทำให้ขนาดของหัวใจโตขึ้น


สาเหตุ

สาเหตุที่ทำให้หัวใจโตมีหลายประการ ได้แก่

  1. ความดันโลหิตสูง ขณะที่หัวใจสูบฉีดโลหิตผ่านหลอดเลือดแดงแล้วไปเลี้ยงส่วนต่างๆ ทั่วร่างกาย แรงที่เกิดขึ้นในการทำให้เลือดไหลเวียนอยู่นี้จะมีผลต่อผนังหลอดเลือดแดงด้วย แรงมากระทำมากผนังหลอดเลือดแดงก็ต้องยืดขยายมากไปด้วย หากหัวใจสูบฉีดโลหิตด้วยความแรงที่สูงกว่าปกติตลอดเวลา ระบบการไหลเวียนของโลหิตจะตกอยู่ในสภาพที่หลอดเลือดแดงรับบทหนักตลอดเวลา หากไม่ได้รับการรักษาให้ความดันโลหิตที่สูงกลับไปสู่ปกติ
  2. โรคลิ้นหัวใจตีบหรือรั่ว ส่วนใหญ่มักจะเกิดในสภาพสังคมที่ค่อนข้างจะยากจน สาเหตุการเกิดเนื่องจากมีการติดเชื้อที่บริเวณทางเดินหายใจ หลังจากนั้นเชื้อหรือปฏิกิริยาจากการติดเชื้อก็ลงไปจู่โจมที่ลิ้นหัวใจ ทำให้ลิ้นหัวใจเกิดการอักเสบ เกิดการทำลายเกิดขึ้นแล้วเกิดลิ้นหัวใจตีบและลิ้นหัวใจรั่วตามมา
  3. โรคหัวใจขาดเลือดหรือกล้ามเนื้อหัวใจตาย ในประเทศไทย พบว่าจำนวนผู้ป่วยโรคเส้นเลือดหัวใจมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นทุกปี ผู้ป่วยมีอาการเจ็บหน้าอก ใจสั่น เหนื่อยง่ายเมื่อออกกำลังกาย บางครั้งเป็นลมหมดสติโดยไม่ทราบสาเหตุ สาเหตุเกิดจากการตีบแคบ หรืออุดตันในหลอดเลือดโคโรนารี่ที่นำเลือดไปเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจ ทำให้หัวใจขาดเลือด จึงเกิดอาการต่างๆ เช่น จุกแน่น เสียดแสบบริเวณทรวงอก อาจแผ่กระจายไปที่แขน ลำคอ ขากรรไกร กราม หากเป็นมากจะอ่อนเพลีย เหงื่อออก เป็นลม จนถึงเสียชีวิตแบบเฉียบพลัน
  4. โรคเบาหวาน โรคเบาหวานมีความสัมพันธ์กับโรคหัวใจอย่างใกล้ชิด ผู้ป่วยโรคเบาหวานพบความผิดปกติของหลอดเลือดทั่วร่างกาย มากบ้างน้อยบ้างแล้วแต่ความรุนแรง และความเรื้อรังของโรค นอกจากนี้ผู้ป่วยโรคเบาหวานยังมีความผิดปกติของไขมันในเลือด ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้การทำงานของหัวใจบกพร่องไปเรื่อยๆ
  5. โรคกล้ามเนื้อหัวใจหนากว่าปกติชนิดไม่ทราบสาเหตุ เชื่อว่าการเกิดโรคนี้เกี่ยวข้องกับปัจจัยทางพันธุกรรม ลักษณะสำคัญของโรค พบการหนาตัวผิดปกติของกล้ามเนื้อหัวใจ ส่วนใหญ่เป็นการหนาตัวที่เกิดขึ้นไม่เท่ากันในแต่ละบริเวณ โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่ผนังกล้ามเนื้อหัวใจห้องล่างซ้ายและบริเวณผนังกั้นกลางระหว่างหัวใจห้องล่างซ้ายและขวา ทำให้เกิดการอุดกั้นเลือดที่ไหลออกจากหัวใจขณะที่บีบตัว
  6. โรคหัวใจจากแอลกอฮอล์ การดื่มแอลกอฮอล์ในปริมาณสูงจะส่งผลโดยตรงต่อความดันโลหิต ทำให้ความดันโลหิตเพิ่มสูงขึ้น พบว่าการทำงานของกล้ามเนื้อหัวใจบกพร่องและเป็นไปในลักษณะเรื้อรัง นอกจากนี้สารอะเซตัลดีไฮด์ที่เกิดจากการบริโภคแอลกอฮอล์ ยังเป็นสารที่ก่อให้เกิดอนุมูลอิสระจำนวนมาก สารเหล่านี้มีบทบาทสำคัญที่ทำให้เกิดอันตรายต่อเซลล์เยื่อบุหลอดเลือดและเซลล์เนื้อเยื่อปลายทาง ผลที่สำคัญประการหนึ่งเป็นความผิดปกติของไมโตคอนเดรียที่อยู่ในเซลล์กล้ามเนื้อหัวใจ

อาการ

ผู้ป่วยที่ตรวจพบว่าหัวใจโตอาจไม่มีอาการผิดปกติแต่อย่างใด หากจะมีอาการ ก็มักจะเป็นอาการอันเนื่องจากโรคที่เป็นต้นเหตุ และอาการจากภาวะหัวใจล้มเหลว เช่น เหนื่อยง่าย หอบ แน่นหน้าอก เป็นต้น

ภาวะหัวใจโตไม่ถือเป็นโรค แต่เป็นภาวะหนึ่งของโรคหัวใจ หมายความว่าโรคหัวใจชนิดต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นโรคกล้ามเนื้อหัวใจ โรคหลอดเลือดหัวใจ เมื่อปล่อยให้โรคดำเนินไปมากขึ้นแล้ว จะเกิดภาวะหัวใจโตขึ้น เพราะฉะนั้นถ้าปล่อยให้หัวใจโตแล้ว จะเป็นสัญญาณเตือนว่าวันข้างหน้าโรคหัวใจเหล่านี้จะทำให้การทำงานของหัวใจล้มเหลว เข้าสู่โรคหัวใจระยะสุดท้ายและมีโอกาสเสียชีวิตได้

การวินิจฉัย

สามารถให้การวินิจฉัยได้จากการซักถามประวัติอาการ และการตรวจร่างกายโดยเฉพาะอย่างยิ่งการตรวจระบบหัวใจและหลอดเลือดโดยละเอียด ซึ่งจะบอกได้หากหัวใจมีขนาดโตมาก นอกจากนี้การตรวจร่างกายอาจจะช่วยให้ทราบถึงสาเหตุของหัวใจโตได้เช่นกัน

การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจและการถ่ายภาพรังสีทรวงอกช่วยในการวินิจฉัยได้มาก ในกรณีกล้ามเนื้อหัวใจหนากว่าปกติมาก หรือผู้ป่วยที่เคยมีปัญหากล้ามเนื้อหัวใจตายมาก่อน จะตรวจพบได้จากการตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ

ข้อควรระวังคือการตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจเป็นการตรวจที่มีความไวต่ำ การที่คลื่นไฟฟ้าหัวใจปกติมิได้หมายความว่าหัวใจไม่โต ในทางตรงข้ามแม้คลื่นไฟฟ้าหัวใจบอกว่าหัวใจโต แต่จริงๆ แล้วอาจจะไม่โตก็ได้

ภาพรังสีทรวงอกบอกขนาดของหัวใจได้ดีพอสมควร แต่ก็มีข้อจำกัดอยู่บ้าง บ่อยครั้งที่แพทย์อาจพิจารณาสั่งการตรวจพิเศษหลายอย่าง ทั้งนี้เพื่อให้ได้ข้อมูลมากที่สุด เพื่อประกอบการตัดสินใจในการให้ความเห็นและรักษา

การตรวจหัวใจด้วยคลื่นเสียงความถี่สูง หรือคลื่นอัลตราซาวน์ บางครั้งเรียกว่าการตรวจคลื่นสะท้อนหัวใจ (echocardiography) ซึ่งช่วยให้เห็นห้องหัวใจและสามารถวัดขนาดได้ว่าโตหรือไม่ การตรวจชนิดนี้นังช่วยให้เห็นการทำงานของลิ้นหัวใจ เห็นลักษณะของกล้ามเนื้อหัวใจ และความสามารถในการบีบตัวของหัวใจ

การรักษา

หลักการรักษาภาวะหัวใจโต เป็นการให้การรักษาตามสาเหตุ เช่น รักษาความดันโลหิตสูงให้อยู่ในเกณฑ์ที่ควบคุมได้ บางรายอาจได้รับการผ่าตัดลิ้นหัวใจ สำหรับผู้ที่หัวใจวายต้องได้รับการรักษาภาวะหัวใจล้มเหลวให้ดีขึ้น

นอกจากนั้นยังควรให้ความสำคัญกับเรื่องโภชนาการที่ถูกต้องเหมาะสม การออกกำลังกายที่เพียงพอ ควบคุมระดับไขมันในเลือดไม่ให้สูงผิดปกติ อย่างไรก็ตาม แม้ว่าการรักษาอย่างเต็มที่แล้ว อาจจะไม่ได้ลดขนาดหัวใจลงให้เห็นได้ชัดเจน แต่การรักษาจะช่วยป้องกันไม่ให้หัวใจโตขึ้นเรื่อยๆ ได้

         Link   https://www.108health.com

++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

อัพเดทล่าสุด