โรคหัวใจโตควรกินเเตงโมหรือเปล่า โรคหัวใจโตสัมพันธ์กับอาการไออย่างไร โรคหัวใจโต อาการ สาเหตุ การป้องกัน


923 ผู้ชม


โรคหัวใจโตควรกินเเตงโมหรือเปล่า  โรคหัวใจโตสัมพันธ์กับอาการไออย่างไร  โรคหัวใจโต อาการ สาเหตุ การป้องกัน

          โรคหัวใจโตควรกินเเตงโมหรือเปล่า

กิน แตงโม แก้กระหายน้ำ ป้องกันสารพัดโรค ดับกระหายจริงๆ

หมวด : เกร็ดความรู้,ติว,ติวออนไลน์

Share

โรคหัวใจโตควรกินเเตงโมหรือเปล่า  โรคหัวใจโตสัมพันธ์กับอาการไออย่างไร  โรคหัวใจโต อาการ สาเหตุ การป้องกัน

    ดร.ปวีณา ไตรเพิ่ม อาจารย์ประจำ ภาควิชาพฤกษศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ให้ความรู้ว่า แตงโม เป็นไม้เกาะเลื้อยล้มลุกในกลุ่มเดียวกันกับแตงกวา น้ำเต้า ฟักทอง ซึ่งนักพฤกษ ศาสตร์จัดให้อยู่ในวงศ์แตง (Family Cucurbitaceae) มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Citrullus lanatus (Thunb.) Matsum. & Nakai ในผลแตงโมมีสารสำคัญสีแดงที่เรียกว่า "ไลโคปีน" (Lycopene) เป็นสารประกอบในกลุ่มแคโรทีนอยด์ (Carotenoid) ซึ่งเป็นสารแอนตี้ ออกซิแดนท์ (Anti oxidant) ที่ช่วยในการต้านอนุมูลอิสระ ช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดมะเร็งและโรคหัวใจ อีกทั้งเบตา แคโรทีน (B-Carotene) ที่มีในเนื้อแตงโมเป็นสารที่ร่างกายใช้เพื่อเปลี่ยนเป็นวิตามินเอ มีผลต่อระบบภูมิคุ้มกัน ป้องกันการติดเชื้อในระบบทางเดินอาหาร ระบบทางเดินหายใจและระบบขับปัสสาวะ ช่วยทำให้ผิวพรรณและผมแข็งแรง นอกจากนี้ยังมีส่วนช่วยเรื่องการมองเห็นอีกด้วย


กวดวิชาม.ต้น

สารสำคัญอีกชนิดหนึ่งคือสาร 'ซิทรูไลน์' (Citruline) ช่วยขยายเส้นเลือดดีต่อระบบภูมิคุ้มกันและยังเป็นประโยชน์สำหรับคนเป็นโรค อ้วนและเบาหวาน โดยจะพบสารซิทรูไลน์ในเปลือกมากกว่าส่วนของเนื้อ ฉะนั้นการรับประทานแตงโมที่มีส่วนขาวๆ ของเปลือกติดไปด้วยจึงได้ประโยชน์ที่ดีมากกว่าที่จะเฉือนออกทิ้ง ที่สำคัญสาวๆ ที่กำลังลดความอ้วนอยู่ก็สามารถเลือกรับประทานแตงโมได้เนื่องจากมีแคลอรีต่ำ อุดมไปด้วยวิตามินและแร่ธาตุที่มีประโยชน์ เช่น ธาตุโพแทสเซียม ช่วยควบคุมความดันโลหิต วิตามินซีช่วยป้องกันไข้หวัด โรคเลือดออกตามไรฟัน อีกทั้งโมเลกุลของน้ำตาลและกรดอะมิโนอีกเล็กน้อย ช่วยในการบำรุงผิวได้เป็นอย่างดี


กวดวิชาม.ต้น

    อย่างไรก็ตามแตงโมเป็นพืชที่ถูกรบกวนได้ง่ายจากแมลง ชาวสวนจึงนิยมฉีดยาฆ่าแมลงเป็นจำนวนมาก เพราะฉะนั้นก่อนที่เราจะผ่าแตงโมรับประทานควรจะล้างเปลือกให้สะอาดเสียก่อน ไม่ว่าจะเป็นแตงโมพันธุ์สีแดงหรือสีเหลือง ผลกลมหรือผลรีก็ตาม เพื่อป้องกันสารพิษตกค้างซึ่งอาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพได้


ที่มา  :  วิชาการดอทคอม

Link     https://www.clickforclever.com

++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

          โรคหัวใจโตสัมพันธ์กับอาการไออย่างไร

หัวใจโต

หลายท่านเมื่อไปตรวจกับแพทย์จะบอกกับท่านว่าหัวใจโต ซึ่งแพทย์อาจจะบอกกับท่านหลังจากตรวจร่างกายหรือดู x ray แล้วจึงบอกกับท่านว่าหัวใจโต ซึ่งส่วนใหญ่ก็ทำให้เกิดความวิตกกังวลเป็นอันมาก คำว่าหัวใจโตไม่ใช่โรคเป็นเพียงสิ่งที่ตรวจพบจากการตรวจร่างกายหรือการดู x ray แพทย์จำเป็นต้องตรวจวินิจฉัยอย่างอื่นเพื่อหาสาเหตุของหัวใจโต

อาการของคนที่หัวใจโต

หัวใจปกติหัวใจปกติ หัวใจโตหัวใจโต

ผู้ที่หัวใจโตส่วนใหญ่จะไม่ค่อยมีอาการหากหัวใจยังทำงานปกติ แต่หากหัวใจทำงานผิดปกติจะเกิดอาการต่างๆจากโรคที่เป็น อาการต่างๆได้แก่

  • หายใจลำบาก เหนื่อยง่ายกว่าปกติ
  • หายใจเร็ว
  • เวียนศีรษะ อ่อนเพลียง่าย
  • ใจสั่น
  • บวมบริเวณเท้าตอนสายๆ
  • ไอโดยเฉพาะเวลานอน
  • นอนราบไม่ได้เนื่องจากแน่หน้าอก

ท่านจะต้องประเมินอาการของท่านให้ดีเพราะบางครั้งอาการต่างๆค่อยๆเป็นไปจนกระทั่งคิดว่ามันเป็นเรื่องปกติ ท่านอาจจะเปรียบเทียบกับคนที่อยู่ในวัยเดียวกับท่านและมีวิถีชีวิตเหมือนกับท่านว่าท่านมีอาการต่างๆมากกว่าเขาหรือเปล่า หากมากกว่าหรือท่านไม่แน่ใจให้ไปพบแพทย์เพื่อประเมิน

เมื่อไรจะไปพบแพทย์

ท่านควรจะไปพบแพทย์เมื่ออาการนั้นเกิดขึ้นใหม่ หรืออาการของท่านกำเริบมากขึ้น อาการที่ต้องไปพบแพทย์คือ

  • เจ็บแน่นหน้าอก
  • เหนื่อยง่าย แรกๆอาจจะเดินขึ้นบันไดไม่ได้ ต่อมาเดินพื้นราบก็เหนื่อย หากเป็นมากจะเหนื่อยขณะพักเฉยๆ อ่านเรื่องหัวใจวาย
  • หายใจลำบาก หายใจเร็ว
  • หน้ามืดเป็นลม

สาเหตุของหัวใจโต

ผู้ที่หัวใจโตบางท่านอาจจะไม่มีสาเหตุแต่ส่วนใหญ่จะมีสาเหตุ ได้แก่

  • ความดันโลหิตสูง สำหรับท่านที่ความดันโลหิตสูงอย่างต่อเนื่องหัวใจท่านจะทำงานหนักจึงทำให้หัวใจโต
  • ท่านที่มีโรคลิ้นหัวใจ ไม่ว่าจะลิ้นหัวใจตีบหรือลิ้นหัวใจรั่ว หรือมีการอักเสบติดเชื้อที่ลิ้นหัวใจ โรคต่างๆเหล่านี้จะทำให้หัวใจโต
  • โรคของกล้ามเนื้อหัวใจเอง ที่เรียกว่า cardiomyopathy เช่นผู้ที่ดื่มสุราเป็นเวลานานกล้ามเนื้อหัวใจจะถูกทำลายทำให้หัวใจโต
  • โรคหัวใจพิการแต่กำเนิด เช่นผนังหัวใจรั่วเป็นต้น
  • ผู้ที่เป็นโรคหัวใจเต้นผิดปกติก็จะทำให้หัวใจโต
  • ผู้ที่เป็นโรคความดันในปอดสูง
  • ผู้ที่มีโลหิตจางหรือซีดเป็นเวลานาน
  • โรคของต่อมธัยรอยด์ไม่ว่าต่อมจะทำงานมากไปหรือน้อยไปก็ทำให้เกิดหัวใจโต
  • สำหรับท่านที่รับประทานฐาตุเหล็กมากไปจะมีการสะสมฐาตุเหล็กเกิดโรค hemochromatosis
  • มีความผิดปกติเกี่ยวกับโปรตีนทำให้มีการสะสมโปรตีนในกล้ามเนื้อหัวใจที่เรียกว่า Amyloidosis

จะป้องกันหัวใจโตได้อย่างไร

การป้องกันหัวใจโตจะต้องป้องกันไม่ให้เกิดโรคที่ทำให้หัวใจโตแนวทางป้องกันมีดังนี้

โรคแทรกซ้อนของหัวใจโต

โรคแทรกว้อนของหัวใจโตขึ้นกับว่าหัวใจโตมากน้อยแค่ไหน การทำงานของหัวใจว่ายังทำงานปกติหรือเริ่มมีอาการหัวใจวาย และขึ้นกับโรคพื้นฐาน โรคแทรกซ้อนที่พบได้บ่อยๆได้แก่

  • หัวใจวาย หัวใจที่โตและไม่สามารถบีบตัวไปเลี้ยงร่างกายได้อย่างเพียงพอ
  • มีลิ่มเลือดในหัวใจซึ่งอาจจะลอยไปอุกหลอดเลือดในสมอง ซึ่งหากมีลิ่มเลือดจะต้องรับประทานยาละลายลิ่มเลือด
  • ลิ้วหัวใจรั่ว หัวใจที่โตมากๆจะมีลิ้นหัวใจรั่วซึ่งจะทำให้โรคกำเริบเร็วขึ้น
  • หัวใจหยุดเต้นเฉียบพลัน ผู้ที่หัวใจโตจะเสี่ยงต่อหัวใจหยุดเต้นเฉียบพลัน

เมื่อจะไปพบแพทย์จะต้องเตรียมตัวอะไรบ้าง

คนทั่วไปเมื่อแพทย์บอกว่าเป็นหัวใจโตจะเกิดความกังวล แต่ส่วนใหญ่มักจะไม่ค่อยกล้าปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับโรคที่ตัวเองเป็นอยู่ มักจะไปพูดคุยหรือขอข้อมูลกับคนที่เคยเป็นโรคนี้มากก่อนทำให้ได้ข้อมูลที่ไม่ตรงกับข้อเท็จจริงทำให้การดูแลรักาาไม่ได้ผลดี การเตรียมตัวพบแพทย์ควรจะวางแผนดังนี้

เตรียมข้อมูลก่อนพบแพทย์

ข้อมูลที่ท่านต้องเตรียมก่อนพบแพทย์จะเป็นข้อมูลที่มีประโยชน์ต่อการรักษาท่าต้องเตรียมข้อมูลดังนี้

  • อาการของท่านเกิดเมื่อไร ความรุนแรง ระยะเวลาที่เกิดอาการ ความถี่ ปัจจัยที่กระตุ้นให้เกิดอาการ ทำอย่างไรอาการถึงจะหาย
  • ประวัติโรคที่ท่านเป็นอยู่ มีทั้งหมดกี่โรค แต่ละโรคเป็นมานานแค่ไหน และมีโรคแทรกว้อนอะไรบ้าง ประวัติโรคในครอบครัว เช่น ความดันโลหิตสูง เบาหวาน ไขมัน โรคหัวใจ เสียชีวิตเฉียบพลัน เป็นต้น
  • ประวัติการรับประทานยา ยาที่รับประทานปัจจุบัน ยาที่เคยรับประทาน หากมีการเปลี่ยนยาก็ระบุสาเหตุของการเปลี่ยนยา
  • ควรจะมีญาติหรือเพื่อนไปด้วยจะได้จำข้อมูล
  • ปรึกษาเรื่องการดูแลตัวเอง เช่นการออกกำลังกาย อาหาร น้ำหนัก

เตรียมข้อมูลสำหรับถามแพทย์

  • สาเหตุของโรคที่ทำให้เกิดหัวใจโต
  • การตรวจหาสาเหตุของโรคต้องตรวจอะไรบ้าง
  • การรักษามีกี่วิธี ข้อดีข้อเสียของการรักษาแต่ละวิธี
  • ต้องหลีกเลี่ยงอาหารประเภทใดบ้าง
  • การออกกำลังกายมีข้อจำกัดหรือไม่ ออกกำลังกายอะไรได้บ้าง ไม่ควรออกกำลังกายอะไร
  • จะต้องตรวจหาเบาหวาน หรือไขมันในเลือดหรือไม่
  • จะต้องมาตรวจหัวใจบ่อยแค่ไหน
  • หากมีโรคประจำตัวอย่างอื่นให้ปรึกษาแพทย์ว่าจะรับประทานยาร่วมกันได้หรือไม่
  • ต้องพบผู้เชี่ยวชาญหรือไม่
  • โรคดังกล่าวเป็นโรคทางพันธุกรรมหรือไม

การตรวจวินิจฉัยและการรักษา

การตรวจเพื่อหาสาเหตุของหัวใจโต

  1. การตรวจรังสีปอดและหัวใจซึ่งจะบอกได้ว่าหัวใจโตหรือไม่ แต่ไม่ได้บอกสาเหตุของหัวใจโต เป็นการตรวจเบื้องต้นเท่านั้น
  2. คลื่นไฟฟ้าหัวใจ ซึ่งจะวัดไฟฟ้าหัวใจว่าหัวใจเต้นผิดปกติหรือไม่ และกล้ามเนื้อหัวในหนาหรือไม่
  3. การตรวจหัวใจด้วยคลื่นเสียงความถี่สูงซึ่งจะบอกว่ากล้ามเนื้อหัวใจหนาหรือไม่ การบีบตัวของหัวใจเป็นอย่างไร ยังสามารถดูลิ้นหัวใจ เยื่อหุ้มหัวใจ
  4. การตรวจ computer scan ซึ่งจะให้รายละเอียดของหัวใจค่อนข้างมาก
  5. การเจาะเลือดตรวจ
  6. ในรายที่จำเป็นอาจจะต้องฉีดสีเพื่อดูเส้นเลือดหัวใจ และอาจจะจำเป็นต้องตัดชิ้นเนื้อหัวใจส่งตรวจ

การรักษา

การรักษาจะมุ่งเน้นไปที่การรักษาต้นเหตุ แต่หากผู้ป่วยเกิดอาการก็จำเป็นต้องได้ยาเพื่อรักษาอาการ ยาที่มักจะใช้ได้แก่

  • ยาขับปัสสาวะ ซึ่งมีหลายชนิดให้เลือกใช้ตามความเหมาะสม ยาที่สามารถเลือกใช้ได้แก่ furosemide, spironolactone ,hydrochlorothaizide ใช้ในกรณีที่มีอาการบวม และมีอาการของหัวใจวาย
  • Angiotensin-converting enzyme (ACE) inhibitors ใช้ลดความดันและรักาาอาการหัวใจวาย
  • Angiotensin receptor blockers (ARBs)ใช้ลดความดันและรักาาอาการหัวใจวาย
  • Beta blockers ใช้ลดความดันและอาการหัวใจวาย
  • Digoxin ใช้รักษากรณีที่มีการเต้นของหัวใจผิดปกติ

     Link    https://www.siamhealth.net

++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

 

             โรคหัวใจโต อาการ สาเหตุ การป้องกัน

โรคหัวใจ Heart Disease

โรคหัวใจ Heart Disease

 


โรคหัวใจ
 

เรียบเรียงข้อมูลโดยกระปุกดอทคอม
          ชั่วโมงการทำงานที่อัดแน่นด้วยความเครียด และการกินอาหารที่อุดมไปด้วยไขมันและเกลือ กำลังคุกคามสุขภาพของคนยุคปัจจุบัน อีกไม่นาน... การใช้ชีวิตสมัยใหม่แบบนี้ อาจทำให้ โรคหัวใจ ระบาดทั่วเมือง... 

          หัวใจคนเรามี 4 ห้อง แบ่งซ้าย - ขวา โดยผนังของกล้ามเนื้อหัวใจ และแบ่งเป็นห้องบน –ล่างโดยลิ้นหัวใจ ในทุกๆ วัน หัวใจคนเราจะเต้นประมาณ 100,000 ครั้ง และสูบฉีดเลือดประมาณวันละ 2,000 แกลลอน เปรียบเสมือนการทำงานปกติของ "หัวใจ" แต่ถ้าวันหนึ่ง... หัวใจเราเกิดอาการผิดปกติขึ้นมาล่ะ จะทำอย่างไร...?
          ทั้งนี้ นายแพทย์สุรพันธ์ สิทธิสุข แพทย์จากหน่วย โรคหัวใจ และหลอดเลือด คณะแพทย์ศาสตร์ ภาควิชาอายุรศาสตร์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ กล่าวว่า อาการผิดปกติเบื้องต้นของร่างกาย ซึ่งอาจเป็นข้อบ่งชี้ว่า มีอัตราเสี่ยงต่อการเป็น โรคหัวใจ สามารถแบ่งได้หลายชนิด ดังนี้
 โรคหัวใจ ที่อาการผิดปกติที่เกิดขึ้นเฉียบพลัน... 

          คือ อาการผิดปกติเบื้องต้นของร่างกาย ที่บ่งชี้ว่าอาจเป็น โรคหัวใจ พบบ่อยในคนทั่วไป ที่คิดว่าตัวเองมีสุขภาพดี ทั้งที่ความจริงอาจเป็นโรคหัวใจในระยะแรกเริ่ม มีดังนี้

           1. เหนื่อยเวลาออกกําลังกาย เพราะหัวใจทําหน้าที่ในการสูบฉีดโลหิตไปเลี้ยงส่วนต่างๆ ของร่างกาย ขณะที่เราออกกําลังกาย หัวใจจะทํางานหนักมากขึ้น ปกติเวลาที่เราออกกำลังกายไปถึงระดับหนึ่งจะรู้สึกเหนื่อย แต่ในรายของคนที่มีอาการเริ่มต้นของ โรคหัวใจ แม้ออกกำลังกายเพียงเล็กน้อย จะรู้สึกเหนื่อยผิดปกติอย่างไม่เคยเป็นมาก่อน ดังนั้นหากออกกำลังกาย แล้วรู้สึกเหนื่อยง่ายผิดปกติ อาจเป็นข้อบ่งชี้ได้ว่า คุณอาจเป็น โรคหัวใจ
           2. เจ็บหน้าอกหรือแน่นหน้าอก มักพบบ่อยในคนที่เป็นโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ และไขมันอุดตันในหลอดเลือดหัวใจ อาการดังกล่าวจะมีลักษณะเฉพาะคือ รู้สึกเหมือนหายใจอึดอัด และแน่นบริเวณกลางหน้าอก เหมือนมีของหนักทับอยู่ หรือรัดไว้ให้ขยายตัวเวลาหายใจ โดยมากอาการนี้ จะแสดงออกเวลาที่หัวใจต้องทำงานหนัก เช่น ระหว่างการออกกำลังกาย หรือใช้แรงมากๆ เป็นต้น ซึ่งเป็นอีกหนึ่งสัญญาณเตือนว่า อาจเป็น โรคหัวใจ
           3. ภาวะหัวใจล้มเหลว เกิดจากการที่หัวใจไม่สามารถสูบฉีดเลือดไปเลี้ยงส่วนต่างของร่างกายได้อย่างเพียงพอ โดยผู้ป่วยจะเริ่มมีอาการเหนื่อย ทั้งที่ออกกำลังกายเพียงนิดหน่อย หรือเหนื่อยทั้งที่นั่งอยู่เฉยๆ ในกรณีที่เป็นมาก อาจทำให้ไม่สามารถนอนราบได้เหมือนปกติ เพราะจะรู้สึกเหนื่อยเวลาหายใจ และอึดอัดตรงหน้าอก นอกจากนั้น อาจมีอาการหอบจนต้องตื่นขึ้นมาหอบกลางดึกอีกด้วย อาการภาวะหัวใจล้มเหลวนี้ หากไม่รีบไปพบแพทย์โดยเร็ว และไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที อาจมีอันตรายถึงชีวิตได้
           4. ใจสั่นและหัวใจเต้นผิดจังหวะ ปกติหัวใจของเราจะเต้นด้วยจังหวะที่สม่ำเสมอประมาณ 60 -100 ครั้ง/นาที แต่สำหรับคนที่มีอาการหัวใจเต้นผิดจังหวะ อาจขยับไปถึง150 -250 ครั้ง/นาที ซึ่งอัตราการเต้นของหัวใจที่ไม่สม่ำเสมอนี้ จะทำให้เหนื่อยง่าย ใจสั่น หายใจไม่ทัน
           5. เป็นลมหมดสติ คืออีกหนึ่งอาการที่เตือนว่าคุณอาจเป็น โรคหัวใจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้สูงอายุ ซึ่งมีอัตราเสี่ยงต่อการเป็นลมหมดสติสูง เนื่องจากจังหวะการเต้นของหัวใจไม่สม่ำเสมอ เพราะเซลล์ซึ่งทำหน้าที่ให้จังหวะไฟฟ้าในหัวใจเสื่อมสภาพ ส่งผลให้หัวใจเต้นช้าลง และส่งเลือดไปเลี้ยงสมองไม่เพียงพอ จนทำให้เป็นลมไปชั่วคราวได้ ทั้งนี้ การเป็นลมหมดสติ มักจะเกิดในท่ายืนมากกว่านั่ง ทำให้ขณะล้มลงศีรษะมีโอกาสฟาดพื้น และเกิดการกระทบกระเทือนต่อสมองได้มากกว่า ดังนั้น ใครที่เป็นลมบ่อยๆ ควรรีบไปพบแพทย์ เพราะอาจเป็น โรคหัวใจ ได้
           6. หัวใจหยุดเต้นกะทันหัน ในกรณีนี้มักเกิดจากความผิดปกติของเซลล์หัวใจโดยตรง และมักเกิดกับคนปกติที่ไม่มีอาการของ โรคหัวใจ มาก่อนล่วงหน้า ซึ่งหากมีอาการหัวใจหยุดเต้นกะทันหัน ถ้าไม่ได้รับการช่วยเหลือที่รวดเร็ว อาจเป็นอันตรายถึงชีวิตได้
 โรคหัวใจ ที่อาการผิดปกติที่สังเกตได้จากร่างกาย... 

          นอกจากความผิดปกติชนิดเฉียบพลันแล้ว อาการบ่งชี้ที่สังเกตได้จากร่างกายของเราเอง ก็เป็นอีกหนึ่งความผิดปกติที่เตือนให้รู้ว่า คุณอาจเป็น โรคหัวใจ และควรไปพบแพทย์โดยด่วนได้เช่นกัน เป็นต้นว่า...

           1. ขาหรือเท้าบวมโดยไม่ทราบสาเหตุ
 เมื่อกดดูแล้วมีรอยบุ๋มตามนิ้วที่กดลงไป ซึ่งหากเกิดขึ้นกับใคร ควรรีบไปพบแพทย์เพื่อตรวจเช็คโดยด่วน เพราะนั่นอาจเป็นสัญญาณเตือนให้รู้ว่า เวลานี้คุณอาจอยู่ในภาวะหัวใจล้มเหลวโดยที่ไม่รู้ตัว 
                
           2. ปลายมือ ปลายเท้า และริมฝีปากมีลักษณะเขียวคล้ำ อาการดังกล่าวแสดงให้เห็นว่า ทางเดินของเลือดในหัวใจห้องขวากับห้องซ้ายมีการเชื่อมต่อที่ผิดปกติ ส่งผลให้เกิดการผสมของเลือดแดงกับเลือดดํา และทําให้ปริมาณของออกซิเจนในเลือดมีปริมาณน้อยลง
 
 โรคหัวใจ ที่อาการผิดปกติที่ตรวจพบขณะตรวจร่างกาย...

 
          การไปพบแพทย์เพื่อตรวจสุขภาพประจำปี เป็นอีกวิธีหนึ่งที่จะทำให้เราสามารถคาดคะเนความเสี่ยงต่อการเกิด โรคหัวใจ ได้ เช่น ตรวจเลือดแล้วพบว่าเป็นเบาหวาน หรือมีไขมันในเลือดสูง ก็อาจสันนิษฐานได้ว่า มีความเสี่ยงต่อการเกิดหลอดเลือดหัวใจตีบได้เช่นกัน หรือเอ็กซเรย์แล้วพบว่า ขนาดของหัวใจโตกว่าปกติ ซึ่งอาจเกิดจากหลอดเลือดหัวใจตีบ ลิ้นหัวใจรั่ว และกล้ามเนื้อหัวใจบีบตัวอ่อนกำลังลง ทำให้ห้องต่างๆ ของหัวใจขยายขนาดใหญ่ขึ้น ทั้งนี้ ในกรณีที่ตรวจพบว่ามีความเสี่ยงสูง ไม่ควรนิ่งนอนใจ ควรรีบไปพบแพทย์โดยด่วน
 
 ป้องกัน โรคหัวใจ อย่างไรดี... 
          
          ข้อมูลที่ได้บอกไปข้างต้น เป็นเพียงข้อสันนิษฐานเบื้องต้นว่า เรามีอัตราเสี่ยงสูงต่อการป่วยเป็นโรคหัวใจ เท่านั้น ซึ่งผู้ที่จะวินิจฉัยว่าเราเป็น โรคหัวใจ หรือไม่ คือแพทย์ โรคหัวใจ เท่านั้น ดังนั้นหากพบความผิดปกติ ควรรีบไปพบแพทย์โดยด่วนดีที่สุด
 
 สำหรับคนที่หัวใจยังเป็นปกติ เรามีข้อแนะนำในการดูแลหัวใจ (ก่อนสายเกินไป) ดังนี้ค่ะ
           สังเกตความผิดปกติของตัวเองอยู่เสมอ โดยเฉพาะอาการผิดปกติที่เกิดขึ้นเฉียบพลัน เช่น ดูว่าอัตราการเต้นของหัวใจปกติดีหรือไม่ เจ็บหน้าอก ใจสั่นบ่อยๆ หรือเปล่า เป็นต้น
                
           ออกกำลังกายเป็นประจำ ซึ่งนอกจากจะทำให้ร่างกายแข็งแรงสมบูรณ์ สุขภาพจิตแจ่มใสแล้ว ยังช่วยให้หัวใจสูบฉีดเลือดได้ดีขึ้นอีกด้วย
 
           ดูแลสุขภาพใจให้ผ่องใสอยู่เสมอ พยายามไม่เครียด รู้จักควบคุมอารมณ์ และพึงระลึกไว้เสมอว่า ความเครียดและความโกรธ เป็นตัวการสำคัญที่ทำให้หัวใจเต้นแรง และทำงานหนักขึ้น
 
           รับประทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพ โดยงดอาหารที่มีไขมันสูง ซึ่งทำให้ความดันโลหิตสูง เกิดภาวะเส้นเลือดหัวใจตีบได้ง่าย และหันไปกินผักผลไม้ให้มากขึ้น
                
           ควรไปตรวจสุขภาพเป็นประจำทุกปี เพื่อป้องกันและรักษาโรคร้ายที่อาจคาดไม่ถึง เช่น โรคหัวใจ ซึ่งแฝงอยู่ในตัวเราตั้งแต่เนิ่นๆ

           Link      https://health.kapook.com

+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

อัพเดทล่าสุด