สมุนไพรรักษาโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ ฉันไม่สบายเป็นโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ อาการโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ


1,523 ผู้ชม


สมุนไพรรักษาโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ ฉันไม่สบายเป็นโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ อาการโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ

             สมุนไพรรักษาโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ      

โรคหัวใจ

                                             

4.   โรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ  โรคนี้มีหลายชนิด บางชนิดไม่เป็นอันตราย บางชนิด อันตรายมากและกลุ่มที่เป็นอันตราย    มักมีความผิดปกติของกล้ามเนื้อหัวใจ และ หลอดเลือดหัวใจร่วมด้วย ทั้งนี้ การเต้นของหัวใจที่ผิดจังหวะ สาเหตุเกิดจาก ระบบไฟฟ้าในหัวใจทำงานผิดปกติไป เช่น มีจุดกำเนิดไฟฟ้าแปลกปลอมขึ้น หรือเกิดทาง ลัดในระบบ ( เหมือนไฟฟ้าลัดวงจร )

5.   โรคหลอดเลือดหัวใจ โรคนี้อาจเรียกว่าโรคหัวใจขาดเลือดก็ได้

เพราะหลอดเลือดหัวใจมีหน้าที่นำเลือดไปเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจ   และถ้าหลอดเลือดทำงานผิดปกติ  ทำให้กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด  สำหรับสาเหตุที่เกิดโรคนี้           มีด้วยกันหลายสาเหตุ แต่ที่พบบ่อยที่สุดในผู้ป่วยโรคเบาหวานและไขมันในเส้นเลือดสูง  มีสาเหตุมาจากการสะสมของไขมันที่ผนังหลอดเลือด  ทำให้ตีบตัน

6.   มะเร็งที่หัวใจ มะเร็งที่หัวใจพบได้น้อยมาก ส่วนใหญ่จะมีสาเหตุมาจาก   อวัยวะที่เป็นมะเร็งอยู่ใกล้กันกับหัวใจแล้วลุกลามไปยังหัวใจ เช่นมะเร็งที่ปอด  หรือมะเร็งที่เต้านม เป็นต้น

7.    การติดเชื้อที่หัวใจ  พบได้บ่อยในผู้ป่วยภูมิต้านทานต่ำ  หรือติดยาเสพติดชนิดฉีด โดยมากจะติดเชื้อที่ลิ้นหัวใจ   ทำให้รักษาได้ยากมาก

8.   โรคเยื่อหุ้มหัวใจ  โรคนี้พบไม่บ่อย ส่วนใหญ่เกิดจากการติดเชื้อ แบคทีเรีย   หรือไวรัส   หรือเชื้อวัณโรค   ทำให้เกิดการอักเสบ โรคนี้ส่วนใหญ่รักษาได้   ยกเว้นกรณีที่มะเร็งแพร่กระจายมายังเยื่อหุ้มหัวใจ

                สรุปโรคหัวใจในความเป็นจริงยังมีรายละเอียดปลีกย่อยอีกมากคำว่า  “ โรคหัวใจ ” มีความหมายที่กว้างมาก อาการที่เกิดจากโรคหัวใจ เช่น อาการเจ็บหน้าอก  หอบเหนื่อย  ใจสั่น  ขาบวม  เป็นลมวูบ  อาการเหล่านี้ไม่ได้เกิดขึ้นเฉพาะในผู้ป่วยด้วยโรคหัวใจเท่านั้น ยังมีโรคอื่น ๆ อีก ที่อาการคล้ายกัน ดังนั้นการพิจารณาวินิจฉัย ว่าจะเป็นโรคหัวใจหรือไม่   อาจต้องใช้วิธีพิเศษ เช่น การตรวจเลือด ตรวจปัสสาวะ เอ็กซเรย์   เพื่อแยกชนิดโรคต่าง ๆ ที่มีอาการคล้ายกัน

     

เห็ดหลินจือ

              กับโรคหัวใจ                      

ปีพ.ศ. 2547  กระทรวงสาธารณสุขเผย คนไทยเสียชีวิตเพราะโรคหัวใจ ชั่วโมงละ 4 ราย  และป่วยเป็นโรคหัวใจและหลอดเลือดเพิ่มมากขึ้นทุกปี

ทั่วประเทศมีผู้เสียชีวิตจากโรคนี้ 32,896 ราย เฉลี่ยเดือนละ 2,741 ราย หรือชั่วโมงละเกือบ 4 ราย  เป็นสาเหตุการตายอันดับ 3 รองจากโรคมะเร็ง และอุบัติเหตุ  จังหวัดที่มีอัตราการตายสูงที่สุดในประเทศ ได้แก่ กรุงเทพฯ เฉลี่ยแสนละ 91 ราย  เพศชายมีอัตราแสนละ106 ราย สูงกว่าค่าเฉลี่ยของประเทศ 2  เท่าตัว  เพศหญิงมีอัตราการตายแสนละ 77 ราย  และมีแนวโน้มว่าคนป่วยจะมีอายุน้อยลงเรื่อยๆ  สาเหตุของโรคหัวใจ 80% มาจากพฤติกรรมจากการรับประทานอาหารที่มีแป้ง น้ำตาล ไขมันสูง ไม่ออกกำลังกาย 

กล่าวกันว่า  ชาวจีนโบราณรู้จักใช้เห็ดหลินจือบำรุงและรักษาโรคหัวใจ  ตั้งแต่ต้นสมัยราชวงศ์หมิงราว  630  ปี  และที่ผ่านมาหมอจีนโบราณยังคงใช้รักษา ต่อเนื่องกันมาจนถึงปัจจุบัน

                มีรายงานการทดลองทางคลินิกโดยคณะแพทย์ที่กรุงปักกิ่ง  ในผู้ป่วยที่มีอาการเจ็บหน้าอก  ที่มีสาเหตุมาจากหลอดเลือดในหัวใจตีบ  จำนวน  120  ราย  จากการติดตามอาการและการเปลี่ยนแปลงของคลื่นไฟฟ้าหัวใจ  พบว่า  หลังจากให้กินเห็ดหลินจือผ่านไป  1  เดือน  ผู้ป่วยส่วนใหญ่มีอาการดีขึ้น  และเมื่อให้กินติดต่อกันนาน  3  เดือน  ผู้ป่วยจากจำนวน  120  ราย  มีอาการดีขึ้น  108  ราย  คิดเป็น  90%  ซึ่งเป็นตัวเลขที่น่าพอใจ 

     

เห็ดหลินจือกับโรคหัวใจ

                                                     

และยังมีรายงานผลการศึกษาทางคลินิกที่มหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์เมืองเซียงไฮ้  พบว่า  ในผู้ป่วยที่มีภาวะอุดตันของเส้นเลือด  ตามส่วนต่าง ๆ  ทั้งในสมอง  หัวใจ  และ  แขน  ขา  ได้ผลสรุปออกมาว่า

1.       ผู้ป่วยที่มีอาการปวดศีรษะดีขึ้น                   75.0  %

2.       ผู้ป่วยที่มีอาการนอนไม่หลับดีขึ้น                64.7  %

3.       ผู้ป่วยที่มีอาการวิงเวียนดีขึ้น                       58.8  %

4.       ผู้ป่วยที่มีอาการเจ็บหน้าอกดีขึ้น                  53.8  %

5.       ผู้ป่วยที่มีอาการมือเท้าเย็นดีขึ้น                  52.9  %

จากรายงานการวิจัยนี้  สรุปไว้ว่า  เห็ดหลินจือมีฤทธิ์ลดความหนืดของเลือด  ลดความเข้มข้นของเลือด  ทำให้เลือดไหลเวียนดี  ได้สะดวก  เพิ่มค่าความเร็วในการตกตะกอนของเลือด  ลดระดับไขมันในเลือดทั้งคลอเรสเตอรอล  และไตรกลีเซอไรด์  ยับยั้งการรวมตัวของเกร็ดเลือด ช่วยให้เม็ดเลือดแดงเปลี่ยนแปลงรูปร่างเพื่อให้ไหลผ่านไปตามเลือดไปตามอวัยวะต่าง ๆได้ง่ายขึ้น

ปี ค.ศ.  1980  นักวิจัยชาวญี่ปุ่นยืนยันผลการทดลองเช่นเดียวกับจีน  โดยพบว่า  สารสำคัญที่ช่วยลดความดันโลหิต  และลดไขมันในเลือดคือ  กรดกาโนเดอริค  ที่มีอยู่ในเห็ดหลินจือทำหน้าที่ยับยั้งการรวมตัวของเกร็ดเลือด  นอกจากนี้ยังพบอีกว่า  เห็ดหลินจือมี   สารอัลคาลอยด์  ซึ่งสารชนิดนี้จะทำหน้าที่ลดแรงเสียดทานในผนังของเส้นเลือดของหัวใจ

จากผลการศึกษาทางคลินิกที่โรงพยาบาลแห่งหนึ่งในกรุงโตเกียว  ประเทศญี่ปุ่นมีการใช้เห็ดหลินจือที่เป็นยาสกัด    รักษาผู้ป่วยที่มีภาวะความดันโลหิตสูง  53  ราย  เป็นเวลานาน  6  เดือน พบว่าความดันโลหิตลดลงได้  10 – 29  มิลลิเมตรปรอท  =  57.5 %

     

เห็ดหลินจือกับโรคหัวใจ

                                             

นอกจากนี้ยังมีการศึกษาผู้ป่วยด้วยโรคหัวใจ   90  รายพบว่าสารสกัดจากเห็ดหลินจือสามารถลดอาการต่างๆได้หลายอย่างเช่น

1.       ลดอาการแน่นหน้าอกได้                            90.4 % 

2.       ลดอาการเจ็บหน้าอก                                  84.5 % 

3.       ลดอาการอ่อนเพลียได้                                77.8% 

4.       ลดอาการมือเท้าเย็น                                    73.9% 

5.       ลดอาการนอนไม่หลับ                                 77.8% 

6.       ลดภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะได้                       60.0% 

7.      ลดอาการหายใจขัด                                      72.5% 

           บทสรุป

เห็ดหลินจือ   นับเป็นสมุนไพรที่ได้รับความสนใจจากนักวิจัยทั่วโลก  มีผลการศึกษาที่เป็นวิทยาศาสตร์ ทั้งประเทศจีน   ญี่ปุ่น  เพื่อไขปริศนาความเชื่อของแพทย์จีนโบราณที่ใช้เห็ดหลินจือรักษาโรคหัวใจ   โดยเฉพาะในประเทศรัสเซีย  ก็ได้ทำการวิจัยพืชสมุนไพร  21  ชนิด  ภายในศูนย์วิจัยโรคหัวใจแห่งชาติที่กรุงมอสโคว์  พบว่าเห็ดหลินจือมีฤทธิ์ต่อระบบการไหลเวียนของโลหิตและหัวใจได้อย่างกว้าง ขวาง   และมีประสิทธิภาพดีที่สุด  ตรงกับสรรพคุณยาของจีนโบราณที่ระบุไว้ในการบำรุงและรักษาโรคหัวใจทุก ประการ   เพราะฉะนั้นไม่น่าแปลกใจเลยว่าเพราะเหตุใดที่ผ่านมาหมอจีนโบราณยังคงใช้เห็ด หลินจือรักษาผู้ป่วยโรคหัวใจอย่าง ต่อเนื่องกันมาจนถึงปัจจุบัน   และเป็นเรื่องเชื่อถือได้   ส่วนในคนที่ไม่ได้ป่วยเป็นโรคหัวใจ   แพทย์จีนโบราณจะให้ใช้เห็ดหลินจือเพื่อบำรุงร่างกาย   และเป็นการป้องกันไม่ให้ป่วยเป็นโรคหัวใจได้โดยง่าย

     

มุนไพรไทยจีน

                     

สมุนไพรรักษาโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ ฉันไม่สบายเป็นโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ อาการโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ

     Link    lingzhibook.com

+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

              ฉันไม่สบายเป็นโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ

โรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ


สมุนไพรรักษาโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ ฉันไม่สบายเป็นโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ อาการโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ

รูป 1 Cardiac Arrhythmias(2)

สมุนไพรรักษาโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ ฉันไม่สบายเป็นโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ อาการโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ

รูป 2 schematic of pacemaker system (3)

ปกติ หัวใจของคนเรา (ชีพจร)  จะเต้นประมาณ 72-80 ครั้งต่อนาที จังหวะสม่ำเสมอ และ แรงเท่ากันทุกครั้ง

ภายหลังการออกกำลัง ตื่นเต้นตกใจ  ดื่มชากาแฟ หรือเหล้า สูบบุหรี่ กินยาเข้าคาเฟอีน หรือเป็นไข้ ชีพจรอาจเต้นเร็วกว่านี้ได้ ซึ่งถือเป็นภาวะปกติธรรมดา

คนที่ออกกำลังกายสม่ำเสมอ  ชีพจรอาจเต้นช้ากว่านี้ก็ได้ แสดงว่าร่างกายอยู่ในภาวะแข็งแรง (ฟิต)  เต็มที่

แต่คนที่มีความผิดปกติของหัวใจ ก็อาจมีชีพจรผิดปกติ เช่น เต้นช้าไป หรือเร็วไป หรือเต้นไม่สม่ำเสมอ หรือไม่เป็นจังหวะ เราจึงเรียกรวม ๆ ว่า โรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ ซึ่งอาจแสดงอาการได้หลายแบบและมีสาเหตุได้หลายอย่างด้วยกัน

ถ้าหัวใจเต้นช้ากว่า 60 ครั้งต่อนาที เรียกว่า หัวใจเต้นช้า (Bradycardia) อาจพบเป็นปกติในคนที่เป็นโรคหัวใจขาดเลือด (96) หรืออาจเกิดจากพิษของยา เช่น ไดจอกซิน (Digoxin), ลาน็อกซิน (Lanoxin), ยาปิดกั้นเบตา (เช่น โพรพราโนลอล) ที่ใช้รักษาโรคหัวใจ

ถ้าหัวใจเต้นเร็วกว่า 140 ครั้งต่อนาที จังหวะไม่สม่ำเสมอ และแรงไม่เท่ากัน อาจพบในคนที่เป็นโรคหัวใจรูมาติก (94), โรคหัวใจขาดเลือด (96), คอพอกเป็นพิษ (121)

ถ้าหัวใจเต้นด้วยความเร็วที่อยู่ในเกณฑ์ปกติ (60-100 ครั้งต่อนาที)  แต่มีบางจังหวะที่เต้นเร็ว หรือวูบหายไป  ก็อาจพบเป็นปกติในคนบางคน แต่ก็อาจพบในคนที่เป็นโรคหัวใจขาดเลือด (96), โรคหัวใจรูมาติก (94) หรือเกิดจากบุหรี่ ชา กาแฟ หรือเกิดจากพิษของยา (เช่น ไดจอกซิน, ลาน็อกซิน)

อาการ

ในรายที่ไม่มีสาเหตุร้ายแรง อาจไม่มีอาการอะไรเลย บางคนอาจเพียงแต่บ่นว่ารู้สึกใจสั่น หรือใจวูบหายเป็นครั้งเป็นคราว แต่ก็ยังสามารถทำงานได้ตามปกติ

ผู้ป่วยที่มีสาเหตุจากโรคหัวใจ คอพอกเป็นพิษ หรือสาเหตุที่ร้ายแรงอื่น ๆ อาจรู้สึกอ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย ใจสั่น เจ็บหน้าอก หน้ามืด วิงเวียน เป็นลม

ถ้าเป็นมาก ๆ  อาจแสดงอาการของภาวะหัวใจวาย (96)  หรือชัก ชีพจรและหัวใจมักจะเต้นไม่สม่ำเสมอ

สำหรับผู้ที่มีสาเหตุร้ายแรง ชีพจรอาจเต้นต่ำกว่า 40 ครั้งต่อนาทีหรือมากกว่า 140 ครั้ง ต่อนาที เสียงหัวใจอาจดังไม่เท่ากันและไม่เป็นจังหวะ หรือชีพจรแรงบ้างค่อยบ้าง ไม่เป็นจังหวะแน่นอน บางครั้งอาจตรวจพบอาการของโรคหัวใจรูมาติก (94) หรือคอพอกเป็นพิษ (121)

ถ้าไม่มีสาเหตุร้ายแรง ชีพจรอาจเต้นรัวหรือวูบหายไป  เป็นบางจังหวะ แทรกระหว่างชีพจรที่ปกติ และชีพจรมักเต้นระหว่างนาทีละ 60 ถึง 100 ครั้ง

การรักษา

1. ถ้ามีอาการเป็นลม ชัก หรือมีภาวะหัวใจวาย (98) ควรให้การรักษาเบื้องต้นแล้วส่งโรงพยาบาลด่วน

2. ถ้ามีอาการวิงเวียน เจ็บหน้าอก เหนื่อยง่าย หรือ ชีพจรต่ำกว่า 60 ครั้งต่อนาที หรือมากกว่า 100 ครั้งต่อนาที ควรแนะนำไปตรวจรักษาที่โรงพยาบาล อาจต้องตรวจคลื่นหัวใจ (EKG), เอกซเรย์ ตรวจเลือด หรืออื่น ๆ เพื่อค้นหาสาเหตุและแก้ไขตามสาเหตุ

  • ในรายที่ชีพจรเต้นช้ากว่านาทีละ 40 ครั้ง อาจให้ อะโทรพีน (ย20) หรือ โพรแบทีน (Probanthine) เพื่อกระตุ้นให้หัวใจเต้นเร็วขึ้น
  • ใน รายที่ชีพจรเต้นเร็วกว่า 140 ครั้ง อาจให้ไดจอกซิน (หรือ ลาน็อกซิน) หรือยาปิดกั้นเบตา เช่น โพรพราโนลอล (Propranolol) เพื่อควบคุมให้หัวใจเต้นช้าลง

3.ถ้าไม่มีอาการผิดปกติอื่น ๆ และชีพจรเต้นระหว่าง 60 ถึง 100 ครั้งต่อนาที อาจให้ไดอะซีแพม (17.2) ขนาด 2-5 มิลลิกรัม วันละ 2-3 ครั้ง ถ้าสงสัยเกิดจากบุหรี่ ชา กาแฟ หรือยา (เช่น ลาน็อกซิน, ไดออกซิน) ควรบอกให้ผู้ป่วยงดเสพสิ่งเหล่านี้ ถ้าไม่ได้ผล ควรแนะนำผู้ป่วยไปตรวจที่โรงพยาบาล เมื่อมีโอกาส

ข้อแนะนำ

1. ผู้ ป่วยที่บ่นว่ามีอาการใจสั่น ใจหวิว อาจเกิดจากโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ หรือสาเหตุอื่น ๆ ควรซักถามอาการ ตรวจชีพจร (ควรจับให้ได้ 1-2 นาทีเป็นอย่างน้อย ) และฟังหัวใจ ถ้าชีพจรช้าหรือเร็วกว่าปกติหรือไม่สม่ำเสมอ ก็แสดงว่าเป็นโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะจริง

2. ชา กาแฟ บุหรี่และเหล้า อาจทำให้เกิดอาการใจสั่นหรือหัวใจเต้นผิดจังหวะได้ ถ้าเคยเป็น ควรงดเสพสิ่งเหล่านี้

เอกสารอ้างอิง

1. สุรเกียรต์ อาชานานุภาพ. ตำราการตรวจรักษาโรคทั่วไป: หลักการวินิจฉัยและการรักษา/280โรคและการดูแลรักษา.กรุงเทพ: พิมพ์ดี กรุงเทพฯ. พิมพ์ครั้งที่ 3. 2544.

2.  www.cvrti.utah.edu (picture: “Cardiac Arrhythmias”)

3. www.solarstorms.org/Pictures/pacemaker.jpg (picture: “schematic of pacemaker system”)

ผู้เรียบเรียงข้อมูล  นายธวัชชัย ธูปอ่อน

ผู้ตรวจสอบ อ.ธีราพร ชนะกิจ

----------------------------------------------------------------------------------------

การรักษาโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะด้วยการผ่าตัด

21 มี.ค. 2554

คน ไทยมีชีวิตยืนยาวกว่าในอดีตมาก ประชากรอายุมากกว่า 70 ปีมีสัดส่วนมากขึ้น  หลายคนยังแข็งแรง แต่มีปัญหาทางสุขภาพที่พบได้บ่อยและอาจทำให้ทุพลภาพคือ ภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะที่เรียกว่า Atrial fibrillation– AF ประชากรอายุมากขึ้นก็จะป่วยด้วยโรคนี้มากขึ้น โรคนี้อาจพบร่วมกับโรคหัวใจอื่น ๆ เช่น ลิ้นหัวใจพิการ หลอดเลือดหัวใจตีบตัน หรืออาจไม่พบร่วมกับโรคหัวใจอื่น เรียกว่า Lone atrial fibrillation     
โรคนี้กล้ามเนื้อหัวใจจะทำงาน ปกติ แต่ความผิดปกติเกิดที่หัวใจห้องบนทั้งซีกซ้าย และ ขวา มีกระแสไฟฟ้าผิดปกติ ทำให้หัวใจห้องบนเต้นเร็วมากจนไม่สามารถบีบตัวได้อย่างมีประสิทธิภาพ มีผลให้เลือดไหลเวียนในหัวใจในห้องบนนาน อาจเกิดลิ่มเลือดในหัวใจ ห้องบน โดยพบที่ซีกซ้ายบ่อยกว่าซีกขวา ลิ่มเลือดนี้อาจหลุดออกมาผ่านหัวใจห้องซ้าย ล่างออกไปที่ หลอดเลือดแดงใหญ่ และหลุดไปอุดเส้นเลือดแดงต่าง ๆ ของร่างกาย เช่น หลอดเลือดแดงของสมอง และหลอดเลือดแดงของแขน ขา หลอดเลือดแดงในช่องท้อง เช่น ไต ตับ  ลำไส้เล็ก เป็นผลให้อวัยวะเหล่านี้ขาดเลือดและตายได้ อันเป็นอันตรายอย่างยิ่งต่อชีวิตคนไข้

สมุนไพรรักษาโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ ฉันไม่สบายเป็นโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ อาการโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ

การที่หัวใจห้องบนเต้นเร็ว อาจมีการนำกระแสไฟฟ้ามาที่ห้องล่าง ทำให้หัวใจห้องล่างเต้นเร็วด้วย ซึ่งส่งผลให้สูบฉีดโลหิตไปเลี้ยงร่างกายลดน้อยลง ทำให้มีอาการใจสั่น เหนื่อย หน้ามืดเป็นลมได้
คนไข้ที่มีอายุมาก และเป็นอัมพาตร่างกายครึ่งซีก และตรวจพบว่าเป็น AF มักได้รับการรักษาด้วยยาป้องกันไม่ให้เลือดแข็งตัวง่าย คือ warfarin  ซึ่งช่วยให้เลือดในหัวใจห้องบนแข็งตัวได้ยากขึ้น โอกาสเกิดลิ่มเลือดลดลง แต่การรับประทานยานี้จำต้องตรวจระดับการแข็งตัวของเลือดของคนไข้สม่ำเสมอ ที่เรียกว่า prothrombin time (PT)  หรือเจาะหา INR ยานี้มีผลกับยาและอาหารมาก เช่นถ้ารับประทานยาแก้ปวดเข่า ปวดกล้ามเนื้อ อาจทำให้ระดับของ PT สูงมากจนอาจเกิดเลือดออกผิดปกติในร่างกาย เช่นที่สมอง ตามผิวหนัง เลือดออกในอวัยวะภายใน เช่นในกระเพาะอาหาร ในกระเพาะปัสสาวะ ล้วนก่อให้เกิดอันตรายจากผลข้างเคียงของยานี้ได้ ในทางตรงข้ามถ้าทานยาน้อยเกินไป ก็ไม่สามารถป้องกันการแข็งตัวของเลือดได้ดี คนไข้ก็ยังเสี่ยงต่อลิ่มเลือดในหัวใจ 
คนไข้ที่เป็นโรค หัวใจเต้นผิดจังหวะนี้มานาน เช่น นานกว่า 6 เดือน โอกาสที่จะใช้ยาแก้ให้หัวใจเต้นจังหวะปกติจะมีน้อยมาก แต่ยาจะช่วยลดการกระตุ้นของกระแสไฟฟ้าที่หัวใจห้องล่าง ทำให้หัวใจห้องล่างเต้นไม่เร็วนัก คนไข้ก็จะไม่มีอาการขาดเลือดของสมองและอวัยวะต่าง ๆ ความดันโลหิตก็จะไม่ต่ำ 
ดังนั้นคนไข้ที่ป่วยเป็นโรคนี้ โดยเฉพาะในรายที่เกิดภาวะแทรกซ้อนจากโรคแล้วเคยเป็นอัมพาต เคยมีหลอดเลือดแดงของอวัยวะต่าง ๆ อุดตัน การรักษาด้วยยาป้องกันไม่ให้เลือดแข็งตัวง่ายอย่างเดียวอาจไม่เพียงพอ ต้องรักษาโดยมีเป้าหมายให้หัวใจเต้นจังหวะปกติ ในปัจจุบันมีการรักษาได้สองวิธี คือ การรักษาด้วยสายสวนโดยช่างไฟฟ้าหัวใจ และการรักษาด้วยการผ่าตัดโดยศัลยแพทย์ทรวงอก 
การรักษาด้วยสายสวน ต้อง ใช้เครื่องคอมพิวเตอร์เพื่อหาจุดในหัวใจที่ก่อให้เกิดการเต้นผิดจังหวะ นี้ และใช้คลื่นความถี่สูงจี้ทำลายจุดกำเนิดไฟฟ้านี้ หัวใจก็จะเต้นจังหวะปกติ ข้อดีของวิธีนี้คือไม่ต้องมีแผลผ่าตัด ไม่ต้องดมยาสลบ ความเจ็บปวดมีน้อยมาก ข้อเสียคือ ยังเป็นวิธีที่ค่อนข้างใหม่ ทำให้เวลาที่ใช้ทำยังนานมาก อาจนานหลายชั่วโมง และผลที่ได้คือ การที่หัวใจเต้นจังหวะปกติยังได้ประมาณร้อยละ 70 ค่าใช้จ่ายยังสูง อาจมีภาวะแทรกซ้อนที่เป็นอันตรายมาก เช่น ทำให้หลอดเลือดดำจากปอดที่กลับเข้าหัวใจห้องซ้ายบนตีบ บางรายอาจทำให้อวัยวะข้างเคียงได้รับบาดเจ็บที่เป็นอันตรายมากคือ หลอดอาหารทะลุทำให้มีหนองในทรวงอก เกิดการติดเชื้อรุนแรง 
การรักษาด้วยการผ่าตัด ซึ่งอาจทำได้สองวิธี คือ

1.  การรักษาภายนอกห้องหัวใจ ไม่ ต้องใช้เครื่องหัวใจและปอดเทียม อาจใช้คลื่นความถี่สูงทำให้มีแผลเป็นที่หลอดเลือดดำจากปอดทั้งสองข้าง (เพื่อให้ไม่นำกระแสไฟฟ้า) ซึ่งพบว่าจุดที่ก่อให้เกิดการเต้นผิดจังหวะนี้มักอยู่ใกล้หลอดเลือดดำจากปอด การรักษาด้วยวิธีนี้มีข้อดีคือ รอยแผลผ่าตัดเล็ก ไม่ต้องใช้เครื่องหัวใจและปอดเทียม ข้อเสียของวิธีนี้คือ ความสำเร็จได้ประมาณ 80%
2.  การรักษาด้วยการผ่าตัดหัวใจแบบเปิดโดยใช้วิธีตัดแล้วเย็บ และ จี้ในห้องหัวใจบางจุดด้วยความเย็นจัด หรือใช้สายความถี่สูงจี้ภายในห้องหัวใจซีกบนเพื่อให้เกิดแผลเป็น ไฟฟ้าที่กำเนิดมาจากจุดกำเนิดจะนำไปอย่างมีระเบียบ หัวใจก็จะเต้นจังหวะปกติ ข้อดีของวิธีนี้คือได้ผลดีที่สุด คือการใช้วิธีตัดและเย็บได้ผลสำเร็จมากกว่า ร้อยละ 90 ส่วนวิธีใช้สายจี้คลื่นความถี่สูงจะได้ผลประมาณ ร้อยละ 85  แม้ว่าการผ่าตัดจะมีแผลยาวกว่าวิธีอื่น ๆ และต้องใช้เครื่องหัวใจและปอดเทียม แต่มีข้อดีที่ชัดเจนคือ 
อัตราการตายและเกิดภาวะแทรกซ้อนไม่สูง อัตราตายประมาณ ร้อยละ 2 และอัตราเกิดภาวะแทรกซ้อนเช่นหัวใจเต้นช้า ต้องใส่เครื่องกระตุ้นไฟฟ้าหัวใจแบบถาวรประมาณ ร้อยละ 5  ภาวะเลือดออกมากหลังผ่าตัดอาจพบได้ถ้าใช้วิธีตัดและเย็บ แต่ถ้าศัลยแพทย์มีความชำนาญสูง โอกาสจะมีเพียง ร้อยละ 2-3 ถ้ามีโรคหัวใจอื่นร่วมด้วย เช่น หลอดเลือดหัวใจตีบ ลิ้นหัวใจพิการ ก็สามารถทำพร้อมกันอย่างปลอดภัย คนไข้ที่ได้รับการซ่อมลิ้นหัวใจ ก็จะไม่ต้องรับประทานยาป้องกันเลือดแข็งตัวง่ายไปตลอด 
เวลาในการผ่าตัดมักไม่เกิน 4-5 ชั่วโมง วิธีนี้ยังถือเป็นวิธีมาตรฐานในปัจจุบัน ได้ใช้มาประมาณ 10 ปีแล้ว ภาวะแทรกซ้อนในระยะยาวมีน้อยมาก เช่นต้องให้เครื่องกระตุ้นหัวใจพบได้ประมาณร้อยละ 4    ค่าใช้จ่ายไม่สูงมากกว่าค่าใช้จ่ายผ่าตัดหัวใจเปิดทั่วไป เพราะไม่ต้องการเครื่องมือพิเศษที่มีราคาแพงมากนัก 
ในปัจจุบันเป็นที่น่าเสียดายที่คนไข้ที่ป่วยด้วยโรคนี้ มักไม่ได้รับการแนะนำให้รักษาโดยมีเป้าหมายเพื่อทำให้หัวใจเต้นจังหวะปกติ แต่ให้รับประทานยา ซึ่งคนไข้หลายคนจะเกิดภาวะแทรกซ้อนของโรคหลายครั้งจนเป็นอันตรายต่อชีวิต หรือเกิดทุพลภาพรุนแรง เช่น อัมพาตครึ่งซีก แขนขาเน่าตายต้องตัดแขนขากลายเป็นคนพิการ ทั้ง ๆ ที่การรักษาที่กล่าวนี้ จะป้องกันภาวะแทรกซ้อนของหัวใจเต้นผิดปกติอย่างได้ผลดีมาก และทำให้โรคหัวใจเต้นผิดจังหวะหายได้

---------------------------------------------------------------------------------

สมุนไพรรักษาโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ ฉันไม่สบายเป็นโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ อาการโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ

โรคหัวใจ ที่เกิดภาวะ หัวใจเต้นผิดจังหวะ รุนแรง (Ventricular Fibrillation) หัวใจจะหยุดสูบฉีดเลือด (Cardiac Arrest) และจะเสียชีวิตในเวลาไม่กี่นาที การรักษาที่ให้ผลที่สุด คือการส่งไฟฟ้าพลังงานสูง (ช๊อค) ผ่านหัวใจ เพื่อให้สัญญาณไฟฟ้าหัวใจที่ผิดจังหวะกลับมาปกติในทันที ผู้ป่วยที่รอดชีวิตจาก หัวใจเต้นผิดจังหวะ รุนแรง นี้ หรือผู้ป่วยที่มีหัวใจล้มเหลวกล้ามเนื้อหัวใจบีบตัวแย่ มีโอกาสสูงที่จะเกิดหัวใจเต้นผิดจังหวะรุนแรงนี้ หากเกิดขึ้นนอกโรงพยาบาลโอกาสที่จะได้รับการักษาด้วยเครื่องช๊อคไฟฟ้า (Defibrillator) ในทันทีนั้นมีน้อย ผู้ป่วยเหล่านี้ ควรได้รับการผ่าตัดใส่เครื่องช๊อคไฟฟ้าหัวใจ ชนิดผ่าตัดฝังติดตัวผู้ป่วย (Implantable Cardioverter Defibrillator, ICD) เครื่องไอซีดี (ICD) นี้เป็นอุปกรณ์อิเลคทรอนิค เช่นเดียวกับเครื่องให้จังหวะหัวใจเทียม (Pacemaker) แต่ มีขนาดใหญ่กว่า 3-4 เท่า เพราะต้องใช้ไฟฟ้าพลังงานสูงแม้ส่วนของแบตเตอรี่จึงมีขนาดใหญ่กว่ามาก แต่อายุแบตเตอรี่ จะใช้งานได้ 3-6 ปี เช่นเดียวกับเครื่องให้จังหวะหัวใจเทียม (Pacemaker) แพทย์จะใส่สายเข้าไปในห้องหัวใจโดยผ่านทางหลอดเลือดดำ ที่บริเวณใต้กระดูกไหปลาร้า

สมุนไพรรักษาโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ ฉันไม่สบายเป็นโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ อาการโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ

เครื่อง เพซเมคเกอร์ ( Pacemaker )

สายนี้จะรับสัญญาณไฟฟ้าหัวใจส่งไป ที่เครื่อง เมื่อมีสัญญาณที่บ่งถึงหัวใจเต้นผิดจังหวะรุนแรง เครื่องจะส่งไฟฟ้าพลังงานสูง มาที่หัวใจผ่านสายดังกล่าวให้คลื่นไฟฟ้าหัวใจกลับมาปกติได้ในเวลาไม่กี่ วินาที ก่อนที่ผู้ป่วยจะหมดสติ

เครื่องไอซีดีนี้ทำหน้าที่ปรับหัวใจเต้นผิดจังหวะรุนแรงให้กลับคืนอย่าง รวดเร็ว แต่ไม่ใช่ลดหรือป้องกันภาวะเต้นผิดจังหวะรุนแรง ผู้ป่วยจึงยังต้องได้รับการรักษาจากแพทย์โรคหัวใจตามอาการและสภาพโรคหัวใจ ซึ่งการรักษาด้วยยา อาจมีส่วนช่วยลดความบ่อยของหัวใจเต้นผิดจังหวะรุนแรงได้ด้วย โดยทั่วไปแพทย์นัดผู้ป่วยทุก 3-6 เดือน เพื่อตรวจเช็คเครื่องสอบถามอาการตรวจผิวหนังบริเวณที่ฝังเครื่องและอาจปรับ เปลี่ยนโปรมแกรมตามความ เหมาะ สมนอกจากตรวจตามเวลานัดแล้วหากเครื่อง “ช๊อค” ผู้ป่วยควรติดต่อแพทย์เพื่อนัดหมายตรวจเครื่องทุกครั้งที่เครื่องช๊อค ผู้ป่วยสามารถกลับไปใช้ชีวิตได้เกือบปกติใช้เครื่องไฟฟ้าในบ้านได้ ใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่ (มือถือ) ได้ อย่างไรก็ตามเนื่องจากหัวใจเต้นผิดจังหวะรุนแรง แม้มีเครื่องไอซีดีแล้วแต่บางครั้งยังมีความเสี่ยงที่อาจหมดสติไปชั่ววูบได้ จึงไม่แนะนำให้ขับรถเอง

สมุนไพรรักษาโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ ฉันไม่สบายเป็นโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ อาการโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ

สมุนไพรรักษาโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ ฉันไม่สบายเป็นโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ อาการโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ

เครื่องไอซีดี (ICD)

ที่มา...

  • https://thaiwonders.com/pharma/index.php?option=com_content&task=view&id=389&Itemid=49
  • https://www.piyavate.com/heart-palpitation_th.php
  • https://guru.sanook.com/search/%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B8%A9%E0%B8%B2%E0%B9%82%E0%B8%A3%E0%B8%84%E0%B8%AB%E0%B8%B1%E0%B8%A7%E0%B9%83%E0%B8%88%E0%B9%80%E0%B8%95%E0%B9%89%E0%B8%99%E0%B8%9C%E0%B8%B4%E0%B8%94%E0%B8%88%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B8%AB%E0%B8%A7%E0%B8%B0%E0%B8%94%E0%B9%89%E0%B8%A7%E0%B8%A2%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%9C%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%95%E0%B8%B1%E0%B8%94

ภาพประกอบ....

              Link     https://www.api586.com

++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++


          อาการโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ

อาการโรคหัวใจ สมุนไพรรักษาโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ ฉันไม่สบายเป็นโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ อาการโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ

 

ความ เป็นจริงแล้วคำว่า"โรคหัวใจ"มีความหมายกว้างมาก   อาการที่เกิดจากโรคหัวใจหรือสัมพันธ์กับหัวใจนั้น มีไม่มากนัก ดังอาการ ข้างล่างนี้ แต่อย่างไรก็ตามอาการดังกล่าวก็มิได้เกิดขึ้นกับผู้ป่วยโรคหัวใจเท่านั้น ยังมีโรคอื่นๆที่ให้อาการคล้ายกัน ดังนั้นการที่ แพทย์จะพิจารณาให้การวินิจฉัยนั้น จำเป็นต้องอาศัยประวัติ อาการโดยละเอียด ร่วมกับการตรวจร่างกาย บางครั้งต้องอาศัยการ ตรวจพิเศษต่างๆ เช่น เลือด ปัสสาวะ เอกซเรย์ เป็นต้น เพื่อแยกโรคต่างๆที่มีอาการคล้ายกัน

สมุนไพรรักษาโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ ฉันไม่สบายเป็นโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ อาการโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ   สมุนไพรรักษาโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ ฉันไม่สบายเป็นโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ อาการโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ

เจ็บหน้าอก

อวัยวะ ที่อยู่ในทรวงอกนอกจากหัวใจแล้วยังมี เยื่อหุ้มหัวใจ ปอด เยื่อหุ้มปอด หลอดอาหาร หลอดเลือดแดงใหญ่ กระดูกหน้าอก กระดูกซี่โครง เต้านม กล้ามเนื้อบริเวณหน้าอก เมื่อมีการอักเสบหรือพยาธิสภาพของอวัยวะเหล่านี้ก็ทำให้เกิดอาการเจ็บหน้าอก ได้ทั้งสิ้น แต่ลักษณะอาการอาจแตกต่างกัน

อาการต่อไปนี้เข้าได้กับอาการเจ็บหน้าอกจากโรคหัวใจขาดเลือด
1 เจ็บแน่นๆ อึดอัด บริเวณกลางหน้าอก อาจจะเป็นด้านซ้าย หรือ ทั้งสองด้าน (มักจะไม่เป็นด้านขวาด้านเดียว) บางรายจะร้าวไป ที่แขนซ้าย หรือ ทั้งสองข้าง หรือ จุกแน่นที่คอ บางรายเจ็บบริเวณกรามคล้ายเจ็บฟัน
2 อาการตามข้อ 1 เกิดขึ้นขณะออกกำลัง เช่น เดินเร็วๆ รีบ หรือ ขึ้นบันได วิ่ง โกรธโมโห อาการดังกล่าวจะดีขึ้นเมื่อหยุดออกกำลัง
3 ในบางรายที่อาการรุนแรง อาการแน่นหน้าอกอาจเกิดขึ้นในขณะพัก เช่น นั่ง หรือ นอน หรือ หลังอาหาร
4 กรณีที่เกิดหลอดเลือดหัวใจอุดตัน กล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน อาการจะรุนแรงมาก อาจมีอาการอื่นๆร่วมด้วย เช่น เหงื่อออก มาก เป็นลม (อาการเช่นนี้ยังพบได้ในโรคของหลอดเลือดแดงใหญ่ปริ ฉีก)

อาการต่อไปนี้ไม่เหมือนอาการเจ็บหน้าอกจากโรคหัวใจขาดเลือด
1 เจ็บแหลมๆคล้ายเข็มแทง เจ็บแปล๊บๆ เจ็บจุดเดียว กดเจ็บบริเวณหน้าอก
2 อาการเจ็บเกิดขึ้นในขณะพัก มีอาการนานเป็นชั่วโมงหรือเป็นวัน
3 อาการมากขึ้นเมื่อเปลี่ยนท่า หรือ ขยับตัว หรือ หายใจเข้าลึกๆ
4 อาการเจ็บร้าวขึ้นศีรษะ ปลายมือ ปลายเท้า
อาการตามข้อ 1,2 และ 3 อาจเกิดจากกระดูก กล้ามเนื้อหน้าอก เยื่อหุ้มปอดอักเสบ เยื่อหุ้มหัวใจอักเสบ

อย่าง ไรก็ตามการวินิจฉัยโรคหัวใจขาดเลือด นอกจากอาการเจ็บหน้าอกแล้ว ต้องอาศัยประวัติอื่นๆด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งปัจจัย เสี่ยงต่างๆ ดังนั้นในผู้ป่วยบางรายที่อาการไม่เหมือนนัก แต่มีปัจจัยเสี่ยงหลายข้อ ก็ควรได้รับการตรวจพิเศษเพิ่มเติมด้วย

หอบ เหนื่อยง่ายผิดปกติ

อาการ หอบ เหนื่อยง่าย เวลาออกแรง เช่น เดิน วิ่ง ทำงาน มีสาเหตุมากมาย เช่น โลหิตจาง(ซีด) โรคอ้วน ความดันโลหิตสูง โรคปอด ต่อมไทรอยด์เป็นพิษ โรคหัวใจ ภาวะหัวใจล้มเหลว (heart failure) แม้แต่ความวิตกกังวล หรือ โรคแพนิค ก็ทำให้เหนื่อยได้เช่นกัน อาการเหนื่อยง่ายจากโรคหัวใจ และ ภาวะหัวใจล้มเหลวนั้น จะเหนื่อย หอบ หายใจเร็ว โดยเป็นเวลาออกแรง แต่ในรายที่เป็นรุนแรง จะเหนื่อยในขณะพัก บางรายจะเหนื่อยมากจนนอนราบไม่ได้ (นอนแล้วจะเหนื่อย ไอ) ต้องนอนศีรษะสูงหรือ นั่งหลับ

คำ ว่าเหนื่อย หอบ ในความหมายของแพทย์หมายถึง อัตราการหายใจมากกว่าปกติ แต่ในความหมายของผู้ป่วยอาจรวมไปถึง อาการเหนื่อยเพลีย หมดแรง เหนื่อยใจ

อาการเหนื่อยแบบหมดแรง มือเท้าเย็นชา พูดก็เหนื่อย (โดยอัตราการหายใจปกติ) เหล่านี้มักจะไม่ใช่อาการเหนื่อยจากโรคหัวใจ

ใจสั่น

ใจ สั่นในความหมายแพทย์หมายถึง การที่หัวใจเต้นเร็วผิดปกติ ผิดจังหวะ หรือ เต้นไม่สม่ำเสมอ เต้นๆหยุดๆ อาการดังกล่าวอาจพบ ได้ในคนปกติ  โรคหัวใจ และโรคอื่นๆที่มีผลต่อหัวใจ เช่น ต่อมไทรอยด์เป็นพิษ โรคปอด แพทย์จะซักประวัติละเอียดถึงลักษณะของ อาการใจสั่น เพื่อให้แน่ใจว่าเกิดจากหัวใจเต้นผิดจังหวะหรือไม่ บ่อยครั้งที่ผู้ป่วยรู้สึก"ใจสั่น"โดยหัวใจเต้นปกติ

การ ตรวจวินิจฉัยกลุ่มอาการใจสั่นเป็นเรื่องที่ทำได้ไม่ง่ายนัก เนื่องจากผู้ป่วยมักมีอาการชั่วขณะ เมื่อมาพบแพทย์อาการดังกล่าว ก็หายไปแล้ว แพทย์จึงไม่สามารถให้การวินิจฉัยได้ว่าเกิดจากหัวใจเต้นผิดจังหวะหรือไม่ ดังนั้นท่านควรศึกษาวิธีจับชีพจรตัวเอง เมื่อเกิดอาการ ว่าหัวใจเต้นกี่ครั้งในเวลา 1 นาที และสม่ำเสมอหรือไม่ ข้อมูลเหล่านี้จะช่วยให้แพทย์ให้การวินิจฉัยได้รวดเร็วขึ้น

ขาบวม

อาการ ขาบวมเกิดจากการที่ร่างกายมีเกลือ(โซเดียม)และน้ำคั่งอยู่ในร่างกาย โดยอาจเกิดจากโรคไต (ขับเกลือไม่ได้) โรคหลอด เลือดดำอุดตัน (การไหลเวียนไม่สะดวก) ขาดอาหาร โปรตีนในเลือดต่ำ โรคตับ ยาและฮอร์โมนบางชนิด โรคหัวใจ หรือ ในบางราย ไม่พบสาเหตุ (idiopathic edema) การบวมในผู้ป่วยโรคหัวใจเกิดจากการที่หัวใจด้านขวาทำงานลดลง เลือดจากขาไม่สามารถ ไหลเทเข้าหัวใจด้านขวาได้โดยสะดวก จึงมีเลือดค้างอยู่ที่ขามากขึ้น โรคเยื่อหุ้มหัวใจอักเสบเรื้อรังก็ให้อาการเช่นนี้ได้เช่นกัน ดังนั้นเมื่อมีอาการขาบวม แพทย์จำเป็นต้องตรวจหลายระบบ เพื่อหาสาเหตุ จึงให้การรักษาได้ถูกต้อง

เป็นลม วูบ

คำ ว่า "วูบ" นี้เป็นปัญหาในการซักประวัติอย่างมาก เนื่องจากในภาษาไทยคำนี้มีความหมายต่างๆกัน แต่ในความหมายของแพทย์แล้ว จะตรงกับภาษาอังกฤษว่า syncope หมายถึง การหมดสติ หรือ เกือบหมดสติ ชั่วขณะ โดยอาจรู้สึกหน้ามืด จะเป็นลม ตาลาย มองไม่เห็นภาพชัดเจน โดยอาการเป็นอยู่ชั่วขณะ ไม่รวมถึงอาการเวียนศีรษะ บ้านหมุน โคลงเครง วูบวาบตามตัว หายใจไม่ออก อาการดังกล่าวอาจเกิดจาก ความผิดปกติของสมอง เช่น ลมชัก (แม้จะไม่ชักให้เห็น) เลือดออกในสมอง ความผิดปกติของหัวใจ เช่น หัวใจเต้นผิดจังหวะชนิดร้ายแรง หรือหยุดเต้นชั่วขณะ หรือ ความผิดปกติของระบบประสาทอัตโนมัติที่ควบคุมหัวใจ นอกจากนั้นแล้ว "วูบ" ยังอาจพบได้ในคนปกติที่ขาดน้ำ เสียเลือด ท้องเสีย ไม่สบาย ขาดการออกกำลังกาย ยาลดความดันโลหิต

    Link     https://www.thaiheartweb.com

++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

           

อัพเดทล่าสุด