การพยาบาลผู้ป่วยโรคหัวใจขาดเลือด ศูนย์โรคหัวใจโรงพยาบาลศิริราช ภาพลวงตาคนเป็นโรคหัวใจห้ามดู
การพยาบาลผู้ป่วยโรคหัวใจขาดเลือดหลักการและเหตุผล
โรค หัวใจขาดเลือด อันเนื่องจากหลอดเลือดหัวใจตีบตัน เป็นสาเหตุการตายอันสืบเนื่องของประชากรทั่วโลกเช่นเดียวกับประเทศไทย ในปัจจุบันพบโรคนี้เพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆเนื่องจากรับเอาวัฒนธรรมตะวันตกเข้า มา และการพัฒนาเศรษฐกิจอย่างรวดเร็ว
ใน ช่วง 20 ปีที่ผ่านมาพบว่ามีอัตราการเสียชีวิตด้วยโรคหลอดเลือดหัวใจตีบเพิ่มสูงขึ้น 20 เท่า และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ในอนาคต ดังนั้นการตระหนักและคิดถึงโรคนี้ ในผู้ป่วยที่มีอาการและปัจจัยเสี่ยงที่อาจทำให้เกิดการอุดตันของหลอดเลือดก็ สามารถรักษาได้ทันท่วงทีและช่วยชีวิตผู้ป่วยได้มาก เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดกล้ามเนื้อหัวใจตายที่อาจทำให้เกิดเสียชีวิตกระทัน หัน หรือ หัวใจล้มเหลวในที่สุด
การ พยายามเปิดหลอดเลือดที่ตีบให้เร็วที่สุด ไม่ว่าจะด้วยการใช้ยาละลายลิ่มเลือดหรือการขยายเส้นเลือดโดยใช้บอลลูนขยาย สามารถทำให้มีเลือดไปเลี้ยงหัวใจได้ทันท่วงที ถ้ารักษาช้า ผลในการละลายลิ่มเลือดจะลดลงตามลำดับซึ่งอาจสายเกินไปที่จะป้องกันไม่ให้ กล้ามเนื้อหัวใจตาย ดังนั้นประโยชน์ที่จะได้รับ ขึ้นอยู่กับเวลาที่เกิดอาการ จนผู้ป่วยมาพบแพทย์ ถ้ายิ่งเร็วก็ได้รับประโยชน์มาก โดยส่วนใหญ่ควรจะเร็วภายใน 6-12 ชั่วโมง ซึ่งสามารถป้องกันไม่ให้กล้ามเนื้อหัวใจตายไปเสียก่อน
วัตถุ ประสงค์สำคัญในการรักษาผู้ป่วยภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน คือ การทำให้หลอดเลือดอุดตันหายอุดตันและกลับมีเลือดไหลผ่านได้เป็นปกติ การรักษาวิธีหนึ่งที่จะทำให้หลอดเลือดนั้นเปิดออกได้คือการให้ยาละลายลิ่ม เลือดโดยเร็ว ความสำคัญของความรวดเร็วในการรักษาผู้ป่วยนี้ถูกสังเกตเป็นครั้งแรกจากการ ศึกษา GISSI-1 พบว่าผู้ป่วยที่ได้ Streptokinase มีอัตราตายลดลงร้อยละ 29 เมื่อเทียบกับยาหลอก (Placebo) โดยผู้ที่ใช้ยาละลายลิ่มเลือดภายใน 1 ชั่วโมงหลังจากเริ่มมีอาการแน่นหน้าอกจะมีอัตราตายลดลงถึงร้อยละ 50 รายงานจาก TIMI-2 ยังพบอีกว่าถ้าผู้ป่วยได้รับยาละลายลิ่มเลือดเร็วขึ้น อัตราตาย(absolute mortality)จะลดลงวันละ1 ในทุก 1 ชั่วโมงที่ได้ยาเร็วขึ้น ซึ่งหมายถึงสามารถช่วยชีวิตผู้ป่วยได้ 10 ราย ในการรักษาทุก 1,000 ราย ถ้าลดความล่าช้าในการรักษาลงได้ 1 ชั่วโมง ซึ่งข้อมูลนี้ก็ได้รับการยืนยันจากการศึกษา GUSTO-1 และในผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาด้วยการขยายหลอดเลือด ซึ่งประโยชน์ที่ผู้ป่วยได้รับจากการรักษาที่เร็วขึ้นนี้อธิบายได้จากทฤษฎี หลอดเลือดเปิด (Open artery) และผู้ที่ได้รับการรักษาเร็วจะมีกล้ามเนื้อหัวใจตายเป็นบริเวณแคบโดยมีการทำ งานของหัวใจดีกว่าผู้ที่ได้รับการรักษา ดังนั้นทฤษฎีหลอดเลือดเปิด(Open artery) จึงสนับสนุนว่าผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาเร็วไม่ว่าจะเป็นโดยใช้ยาละลายลิ่ม เลือด หรือขยายหลอดเลือดมีโอกาสรอดชีวิตสูงกว่าผู้ที่ได้รับการรักษาช้า
โรค หลอดเลือดหัวใจเป็นโรคที่ทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิตมากที่สุดในปัจจุบัน ผู้ป่วยส่วนใหญ่จะมาด้วยอาการเจ็บแน่นหน้าอก การวินิจฉัยที่ถูกต้อง รวดเร็ว จะทำให้ผู้ป่วยได้รับการรักษาที่ถูกต้อง ลดภาวะแทรกซ้อน ลดค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลและเกิดการใช้ทรัพยากรต่าง ๆ อย่างมีประสิทธิภาพ ดังนั้นการจัดทำChest pain pathway จึงมีจุดประสงค์ ดังนี้
1. เพื่อให้ผู้ป่วยเจ็บหน้าอกได้รับการรักษาที่ถูกต้องตามาตรฐาน
2. เพื่อให้ผู้ป่วยเจ็บหน้าอกจากกล้ามเนื้อหัวใจตายได้รับการรักษาแบบเปิดหลอดเลือดอย่างเหมาะสมโดยมีเป้าหมายดังนี้
2.1 การให้ยาละลายลิ่มเลือด (Fibrinolysis) : Door-to-Drug < 30 นาที
2.2 การขยายหลอดเลือดด้วยบอลลูน 90 + 30 นาที
หน่วยงานหลักที่เกี่ยวข้อง
1. ศูนย์หัวใจกรุงเทพพัทยา
2. แผนกฉุกเฉินและเคลื่อนย้ายผู้ป่วย
3. แผนกเวรเปล
4. แผนกเวชระเบียน
5. แผนก CCU
6. หอผู้ป่วยโรคหัวใจ ( Ward 3 )
ลักษณะอาการที่ควรสงสัยว่าผู้ป่วยกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด
อาการต่อไปนี้เป็นได้กับอาการเจ็บหน้าอกจากโรคหัวใจขาดเลือด
1. เจ็บแน่นหน้าอก อึดอัดบริเวณกลางหน้าอก อาจจะเป็นด้านซ้าย หรือทั้งสองด้าน บางรายจะร้าวไปที่แขนซ้าย หรือจุกแน่นที่คอ บางรายเจ็บบริเวณกรามคล้ายเจ็บฟัน
2. อาการตามข้อ 1 เกิดขึ้นขณะออกกำลัง เช่น เดินเร็ว ๆ หรือขึ้นบันได วิ่ง โกรธ /โมโหอาการดังกล่าวจะดีขึ้นเมื่อหยุดออกกำลัง
3. ในบางรายที่อาการรุนแรง อาการแน่นหน้าอกอาจเกิดขึ้นในขณะพัก เช่น นั่ง /นอน หรือหลังอาหาร
4. กรณีที่เกิดหลอดเลือดหัวใจตีบตัน กล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน อาการจะรุนแรงมากอาจมีอาการอื่น ๆ ร่วมด้วย เช่น เหงื่อออก ใจสั่นเป็นลม
5. มักพบในคนวัยกลางคน และผู้สูงอายุ
6. อาจแสดงออกด้วยอาการอื่น ๆ คือ เหนื่อยง่าย หมดแรง วูบเป็นลม หรือในบางรายอาจจะเสียชีวิตอย่างกระทันหัน
อาการต่อไปนี้ไม่เหมือนอาการเจ็บหน้าอกจากโรคหัวใจขาดเลือด
1. เจ็บแหลม ๆ คล้ายเข้มแทง เจ็บแปล็บ ๆ เจ็บจุดเดียว กดเจ็บบริเวณหน้าอก
2. อาการเจ็บเกิดขึ้นในขณะพัก มีอาการนานเป็นชั่วโมงหรือเป็นวัน
3. อาการมากขึ้นเมื่อเปลี่ยนท่า หรือ ขยับตัว หรือหายใจเข้าลึก ๆ
4. อาการเจ็บร้าวขึ้นศีรษะ ปลายมือ ปลายเท้า
อาการตามข้อ 1, 2 และ 3 อาจเกิดจากกระดูก กล้ามเนื้อหน้าอก เยื่อหุ้มปอดอักเสบ และเยื่อหุ้มหัวใจอักเสบ
อย่าง ไรก็ตามการวินิจฉัยโรคหัวใจขาดเลือดนอกจากอาการเจ็บหน้าอกแล้ว ต้องอาศัยประวัติอื่นๆด้วยโดยเฉพาะ อย่างยิ่งปัจจัยเสี่ยงต่างๆ ดังนั้น ในผู้ป่วยบางรายที่อาการไม่เหมือนนัก แต่มีปัจจัยเสี่ยงหลายอย่าง อันได้แก่ อายุมากกว่า 40 ปี เบาหวาน ความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง สูบบุหรี่ ประวัติโรคหัวใจในครอบครัว ก็ควรได้รับการตรวจพิเศษเพิ่มเติม
วิธีการ
ก. คัดแยกผู้ป่วยโดยซักประวัติ ตรวจร่างกายโดยแพทย์อายุรกรรมหัวใจ และทำคลื่นไฟฟ้าหัวใจภายใน 10 นาที หลังผู้ป่วยมาถึงโรงพยาบาลโดยไม่ต้องรอ OPD Card คัดแยกผู้ป่วยเป็น 3 กลุ่ม
1. คลื่นไฟฟ้าหัวใจมี ST ยกสูงขึ้น หรือเกิด LBBB ใหม่ พิจารณาให้ Reperfusion therapy
ตามข้อบ่งชี้และข้อบ่งห้ามและในเวลาที่กำหนด โดยรับผู้ป่วยเข้า CCU
2. คลื่นไฟฟ้าหัวใจมี ST ลดต่ำลง พิจารณาให้ Antithormbin therapy โดยรับผู้ป่วยเข้า CCU
3. คลื่นไฟฟ้าหัวใจปกติ พิจารณาทำ ECG ซ้ำและเจาะเลือดตรวจ Troponin T ใน 30-60 นาที
และ 4-6 ชั่วโมงต่อมา โดยรับผู้ป่วยเข้าหอผู้ป่วย CCU ถ้า ECG และ Troponin Tปกติ
ให้พิจารณาทำ Stress test ใน 24 ชั่วโมง ถ้า Stress test ปกติทำจำหน่ายและนัด 1 เดือน
ถ้าผิดปกติให้การรักษาตามเกณฑ์ข้อ 1 หรือ 2
ข. กำหนดบทบาทของเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องทุกแผนก
ค. ทำ Check list ข้อบ่งชี้สำหรับการให้ Fibrinolysis และข้อบ่งห้ามของการให้ Fibrinolysis
ประโยชน์และการคาดหวัง
1. เพื่อการดูแลรักษาผู้ป่วยให้ได้ผลดี
2. จัดลำดับความเสี่ยง โดยการประเมินผู้ป่วยเจ็บหน้าอกทุกราย
3. ตรวจพบอาการกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันได้รวดเร็วและรักษาโดยการเปิดหลอดเลือด
ได้แต่เนิ่น ๆ
4. ตรวจพบอาการ Unstable angina ได้รวดเร็ว เน้นการป้องกันการดำเนินของโรคไปสู่โรค
กล้ามเนื้อหัวใจตาย เฉียบพลัน
5. เพื่อประเมินผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงน้อยและปานกลางได้
6. ทำให้ไม่มีการจำหน่ายผู้ป่วยกล้ามเนื้อหัวใจตาย ซึ่งเป็นการป้องกันความผิดพลาดไม่ให้เกิดขึ้น
7. ติดตามผู้ป่วยที่เริ่มมีความเสี่ยงน้อยได้
8. เป็นการประหยัดค่าใช้จ่าย
การประเมิน
ดูจากตารางลงเวลาทำการให้การดูแลรักษาผู้ป่วย โดยดู Indicator ดังนี้
1. อัตราผู้ป่วยได้รับการทำ ECG ภายใน 10 นาที ที่มาถึงโรงพยาบาล (เป้าหมาย 95%)
2. อัตราผู้ป่วยได้รับยาละลายลิ่มเลือด (Fibrinolysis) ในเวลา (Door-to-Drug time) < 30 นาที
(เป้าหมาย 90%)
3. อัตราผู้ป่วยได้รับการทำPrimary PTCA ในเวลา (Door-to-Balloon time) 90 + 30 นาที
(เป้าหมาย 90%)
เอกสาร
1. แผนภูมิการดูแลผู้ป่วยเจ็บหน้าอก
2. ตารางเวลาสำหรับผู้ป่วย "เจ็บหน้าอกสงสัยหัวใจขาดเลือด"
3. Check list ข้อบ่งชี้และข้อบ่งห้ามของ Fibrimolysis
4. Chest Pain Check List for Ambulance, ER personnal
Chest pain checklist for use by emergency medical technician
Yes | No | Remark | ||
1 | เจ็บหน้าอก ( > 20 นาทีและ < 12 ชั่วโมง) | - | ||
2 | พูดคุยรู้เรื่อง, ทำตามสั่งได้ | - | ||
3 | อายุ > 35 ปี ( > 40 ปี ถ้าเป็นผู้หญิง) | - | ||
4 | มีประวัติแขนขาข้างใดข้างหนึ่งอ่อนแรง | - | ||
5 | มีประวัติเลือดออกผิดปกติ | - | ||
6 | มีประวัติเลือดออกภายใน ในช่วง 2 สัปดาห์ที่ผ่านมา | - | ||
7 | ผ่าตัดหรือได้รับอุบัติเหตุในช่วง 2 สัปดาห์ที่ผ่านมา | - | ||
8 | เป็นโรคมะเร็งในระยะสุดท้าย | - | ||
9 | มีอาการเหลืองตับอักเสบ หรือเป็นโรคไตวาย | - | ||
10 | ใช้ยาละลายลิ่มเลือดอยู่ | - | ||
11 | EKG done | - | ||
12 | Heart rate > 100 bpm | - | ||
13 | SBP < 100 mmHg | - | ||
14 | Pulmonary edema | - | ||
15 | Shock | - |
อาการเจ็บหน้าอกเวลาเริ่มต้น Time
มาถึงโรงพยาบาล Time
EKG แผ่นแรกทำเมื่อ Time
เริ่มเคลื่อนย้าย จาก ER Time
ถึง CCU Time
เริ่มให้ SK. Time
Cath lab Time
ข้อบ่งชี้มูล Fibrinolysis
1. เจ็บหน้าอกแบบเฉพาะของกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด
2. คลื่นไฟฟ้าหัวใจเปลี่ยนเปลง
มี ST elevation > 1 mm limb leads
มี ST elevation > 2 mm , > 2 preordcal leads
3. ไม่มีข้อห้ามใช้
ข้อห้ามใช้ Fibrinolysis
ห้ามใช้โดยเด็ดขาด | ข้อควรระมัดระวัง |
1. มีเลือดอกจากอวัยวะภายใน 2. มะเร็งในสมองหรือมีบาดเจ็บที่ศีรษะในช่วง 1-2 สัปดาห์ที่ผ่านมา 3. สงสัยว่าจะมีเส้นเลือดเอออต้า (Aorta) ปริแยก 4. ตั้งครรภ์ 5. มีประวัติเป็นอัมพฤกษ์อัมพาตในช่วง 2 สัปดาห์ที่ ผ่านมา 6. ความดันโลหิตสูง > 200 /120 mmHg 7. อุบัติเหตุผ่าตัดและมีโอกาสเลือดออกภายใน 2 สัปดาห์ 8. แพ้ยา Streptokinase | 1. เคยเป็นอัมพฤกษ์ อัมพาตแต่ตอนนี้ปกติดี 2. การทำ CPR ยาวนาน 3. เคยได้รับอุบัติเหตุ การผ่าตัด > 2 สัปดาห์ 4. โรคแผลในกระเพาะระยะเฉียบพลัน 5. เคยมีประวัติความดันสูงและความดัน Diastolic > 100 6. มีประวัติเลือดออกและใช้ยาละลายลิ่มเลือดอยู่ |
Link https://www.pattayahealth.com/
+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++=
ศูนย์โรคหัวใจโรงพยาบาลศิริราช
นย์ตรวจรักษาโรคหัวใจพิเศษ
ศูนย์ตรวจรักษาโรคหัวใจพิเศษ
The Heart by Siriraj คือศูนย์ตรวจรักษาโรคหัวใจพิเศษแห่งใหม่ดำเนินงานโดยโรงพยาบาล
ศิริราช ซึ่งเป็นโรงพยาบาลและมหาวิทยาลัยชั้นนำของไทย เราจึงเป็นศูนย์รวมแห่งความเป็นเลิศด้านวิทยาการล่าสุดในการวินิจฉัยและ รักษาโรคหัวใจ ทัดเทียมกับสถาบันที่มีชื่อเสียงด้านการรักษาโรคหัวใจระดับสากล
The Heart by Siriraj
เปิดให้บริการรักษาโรคหัวใจสำหรับชาวไทยและชาวต่างประเทศด้วยระดับคุณภาพ บริการที่เทียบเท่าโรงแรมชั้นนำ เพรียบพร้อมด้วยสิ่งอำนวยความสะดวกอย่างครบครัน
สมัย นี้ผู้หญิงวัยทำงาน วัยนักบริหาร มีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคหัวใจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ มากขึ้น ทั้งนี้ เป็นเพราะในปัจจุบัน วิถีชีวิตที่เปลี่ยนไปทำให้ผู้หญิงมีหน้าที่การงานดีขึ้น ทำให้ต้องแบกรับความเครียดสูง ขณะเดียวกันชีวิตประจำวันที่เร่งรีบทำให้ผู้หญิงบางคนหันไปรับประทานพวก อาหารจานด่วนหรืออาหารที่มีไขมันสูงบ่อยๆ พักผ่อนน้อย ไม่ค่อยมีเวลาออกกำลังกาย นอกจากนี้ บางคนก็ยังสูบบุหรี่จัด สิ่งที่ตามมาก็คือ อาการไขมันในเลือดสูง ความดันสูง ส่งผลให้เกิดการสะสมตัวของคราบไขมันและหินปูนภายในหลอดเลือดหัวใจ นานเข้า ก็จะทำให้เกิดอาการหลอดเลือดหัวใจตีบ หรือกล้ามเนื้อหัวใจตายได้
ผู้หญิง ยุคใหม่ วัยนักบริหาร ที่มีภาวะเสี่ยงที่ว่ามาข้างต้น ควรสังเกตอาการของตนเองให้ดี ถ้ามีอาการอึดอัด คลื่นไส้ เจ็บหน้าอกเฉียบพลัน หรือหายใจขัด ก็ควรจะรีบไปปรึกษาแพทย์เพื่อตรวจให้แน่ชัด และถ้าจะให้ดี ก็ควรจะดูแลตนเอง หลีกเลี่ยงปัจจัยต่างๆ ที่ก่อให้เกิดโรคหัวใจ อย่าประมาทว่าอายุยังน้อยเด็ดขาด เพราะโรคหัวใจนั้น ทุกคนก็รู้กันดีว่า หากพลาดไป แม้แค่ช่วงเวลาสั้นๆ ก็อาจหมายถึงชีวิต
สำหรับ วิธีป้องกันการเกิดโรคหัวใจในสตรีสูงอายุ คือ ต้องไม่เครียด ใช้ชีวิตที่ถูกสุขลักษณะ รับประทานอาหาร ออกกำลังกาย และพักผ่อนอย่างเพียงพอมาตลอดตั้งแต่ในวัยสาว พอย่างเข้าวัยสูงอายุ ก็ต้องเริ่มใส่ใจ ระวังโรคหัวใจเช่นกัน ทั้งนี้เป็นเพราะโอกาสเสี่ยงในการเกิดโรคหัวใจสำหรับผู้หญิงจะสูงขึ้นอย่าง รวดเร็วในช่วง 7-10 ปี หลังหมดประจำเดือน เนื่องจากการขาดฮอร์โมนเพศหญิงซึ่งเคยช่วยควบคุมระดับไขมันในร่างกาย
ส่วน สตรีวัยทองจะต้องมีวินัยกับการตรวจสุขภาพประจำปี เพราะการตรวจสุขภาพสำหรับผู้สูงวัยนั้น แพทย์จะเพ่งเล็งที่เรื่องหัวใจไปด้วยในตัว โดยนอกจากการตรวจโดยทั่วไปแล้ว จะมีการซักถามประวัติ ความเสี่ยง โรคประจำตัว และอาการผิดปกติต่างๆ ที่อาจส่อเค้าว่าจะเป็นโรคหัวใจ ซึ่งหากพบสิ่งน่าสงสัย ก็จะมีการส่งต่อไปตรวจสุขภาพหัวใจอย่างละเอียดและทำการรักษาอย่างเหมาะสม ตั้งแต่เนิ่นๆ
ใน ระยะเวลา 30 ปีที่ผ่านมา คนไทยเราเสียชีวิต หรือทุพพลภาพจากโรคหัวใจ และระบบไหลเวียนเป็นจำนวนมาก และเพิ่มขึ้นเป็นลำดับคือ จากเดิม 16.2 ต่อแสนคน เป็นถึง 108 ต่อแสนคน ซึ่งเป็นอัตราเพิ่มที่น่าวิตกมาก โดยมีปัจจัยเสี่ยง คือ อายุที่เพิ่มขึ้น ประกอบกับสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไป พฤติการการบริโภคอาหารที่มีไขมันมาก มีผักน้อย ความเครียดจากการงาน ภาวะเศรษฐกิจและสังคม การสูบบุหรี่ การขาดการพักผ่อน และการขาดการออกกำลังกายอย่างเพียงพอ
อาการ ที่ต้องตระหนักคืออาการที่ส่อให้รู้ว่ากำลังถูกคุกคามโดยโรคหลอดเลือด หัวใจตีบคือ อาการเจ็บหน้าอก เหนื่อยง่าย โดยเฉพาะอย่างยิ่งช่วงออกกำลังกาย บางรายอาจเกิดอาการเฉียบพลันและรุนแรงจนทำให้เกิดภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตาย หรือ Heart Attack ซึ่งมีโอกาสเสียชีวิตสูง หากไม่ได้รับการรักษาทันท่วงทีและเหมาะสม
ถ้า เทียบกันแล้ว โรคหัวใจจะเกิดกับผู้หญิงช้ากว่าผู้ชายก็จริง แต่โอกาสเสี่ยงในการเกิดโรคหัวใจสำหรับผู้หญิงจะสูงขึ้นอย่างรวดเร็วในช่วง 7-10 ปี หลังจากหมดประจำเดือนแล้ว
The Heart by Siriraj
เลขที่ 2 อาคารศูนย์โรคหัวใจสมเด็จพระบรมราชินีนาถ โรงพยาบาลศิริราช
ถนนพรานนก แขวงศิริราช เขตบางกอกน้อย กรุงเทพฯ 10700
2 Her Majesty Cardiac Center Building, Siriraj Hospital
Prannok Road, Bangkoknoi, Bangkok 10700
Link https://www.thaitravelhealth.com
++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
ภาพลวงตาคนเป็นโรคหัวใจห้ามดู
ต่อมา่ . . .
ภาพนี้มองหาจุดดำๆๆๆ
ลองดูว่าเห็นภาพเส้นตรงที่ลากเป็นตารางแล้วคิดว่าเส้นที่เห็นตรงแค่ไหน
....
คำตอบคือเป็นเส้นตรงแน่ๆ ลองเอามือทาบเส้นแต่ละเส้นบนจอภาพสิ
ภาพนี้ดูดีๆคนสูงเท่ากันมั๊ย
ภาพแบบปอนโซ
ต่อมา ครับ
ภาพมหัศจรรย์ เป็นภาพ 3 มิติเชิงซ้อน(3D Complex)
จ้องมองที่สีฟ้าลาง ๆ บริเวณกึ่งกลางประตู ประมาณ 20-30 วินาที
จะมองเห็นภาพที่ซ้อนภาพอยู่ภายใน
(ภาพนี้คนเป็นโรคหัวใจห้ามดูเด็ดขาด)
.....
....
...
..
.
มือใหม่ ถ้าผิดถูกยังไง ก้ขออภัยด้วยครับ
อ้างอิง[/quote]
Link https://webboard.gg.in.th
++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++