พยาธิสภาพโรคหัวใจ กาแฟกับโรคหัวใจ อัตราการเสียชีวิตจากโรคหัวใจ


1,867 ผู้ชม


พยาธิสภาพโรคหัวใจ กาแฟกับโรคหัวใจ อัตราการเสียชีวิตจากโรคหัวใจ

              พยาธิสภาพโรคหัวใจอาการโรคหัวใจ พยาธิสภาพโรคหัวใจ กาแฟกับโรคหัวใจ อัตราการเสียชีวิตจากโรคหัวใจ

ความ เป็นจริงแล้วคำว่า"โรคหัวใจ"มีความหมายกว้างมาก   อาการที่เกิดจากโรคหัวใจหรือสัมพันธ์กับหัวใจนั้น มีไม่มากนัก ดังอาการ ข้างล่างนี้ แต่อย่างไรก็ตามอาการดังกล่าวก็มิได้เกิดขึ้นกับผู้ป่วยโรคหัวใจเท่านั้น ยังมีโรคอื่นๆที่ให้อาการคล้ายกัน ดังนั้นการที่ แพทย์จะพิจารณาให้การวินิจฉัยนั้น จำเป็นต้องอาศัยประวัติ อาการโดยละเอียด ร่วมกับการตรวจร่างกาย บางครั้งต้องอาศัยการ ตรวจพิเศษต่างๆ เช่น เลือด ปัสสาวะ เอกซเรย์ เป็นต้น เพื่อแยกโรคต่างๆที่มีอาการคล้ายกัน

พยาธิสภาพโรคหัวใจ กาแฟกับโรคหัวใจ อัตราการเสียชีวิตจากโรคหัวใจ   พยาธิสภาพโรคหัวใจ กาแฟกับโรคหัวใจ อัตราการเสียชีวิตจากโรคหัวใจ

เจ็บหน้าอก

อวัยวะ ที่อยู่ในทรวงอกนอกจากหัวใจแล้วยังมี เยื่อหุ้มหัวใจ ปอด เยื่อหุ้มปอด หลอดอาหาร หลอดเลือดแดงใหญ่ กระดูกหน้าอก กระดูกซี่โครง เต้านม กล้ามเนื้อบริเวณหน้าอก เมื่อมีการอักเสบหรือพยาธิสภาพของอวัยวะเหล่านี้ก็ทำให้เกิดอาการเจ็บหน้าอก ได้ทั้งสิ้น แต่ลักษณะอาการอาจแตกต่างกัน

อาการต่อไปนี้เข้าได้กับอาการเจ็บหน้าอกจากโรคหัวใจขาดเลือด
1 เจ็บแน่นๆ อึดอัด บริเวณกลางหน้าอก อาจจะเป็นด้านซ้าย หรือ ทั้งสองด้าน (มักจะไม่เป็นด้านขวาด้านเดียว) บางรายจะร้าวไป ที่แขนซ้าย หรือ ทั้งสองข้าง หรือ จุกแน่นที่คอ บางรายเจ็บบริเวณกรามคล้ายเจ็บฟัน
2 อาการตามข้อ 1 เกิดขึ้นขณะออกกำลัง เช่น เดินเร็วๆ รีบ หรือ ขึ้นบันได วิ่ง โกรธโมโห อาการดังกล่าวจะดีขึ้นเมื่อหยุดออกกำลัง
3 ในบางรายที่อาการรุนแรง อาการแน่นหน้าอกอาจเกิดขึ้นในขณะพัก เช่น นั่ง หรือ นอน หรือ หลังอาหาร
4 กรณีที่เกิดหลอดเลือดหัวใจอุดตัน กล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน อาการจะรุนแรงมาก อาจมีอาการอื่นๆร่วมด้วย เช่น เหงื่อออก มาก เป็นลม (อาการเช่นนี้ยังพบได้ในโรคของหลอดเลือดแดงใหญ่ปริ ฉีก)

อาการต่อไปนี้ไม่เหมือนอาการเจ็บหน้าอกจากโรคหัวใจขาดเลือด
1 เจ็บแหลมๆคล้ายเข็มแทง เจ็บแปล๊บๆ เจ็บจุดเดียว กดเจ็บบริเวณหน้าอก
2 อาการเจ็บเกิดขึ้นในขณะพัก มีอาการนานเป็นชั่วโมงหรือเป็นวัน
3 อาการมากขึ้นเมื่อเปลี่ยนท่า หรือ ขยับตัว หรือ หายใจเข้าลึกๆ
4 อาการเจ็บร้าวขึ้นศีรษะ ปลายมือ ปลายเท้า
อาการตามข้อ 1,2 และ 3 อาจเกิดจากกระดูก กล้ามเนื้อหน้าอก เยื่อหุ้มปอดอักเสบ เยื่อหุ้มหัวใจอักเสบ

อย่าง ไรก็ตามการวินิจฉัยโรคหัวใจขาดเลือด นอกจากอาการเจ็บหน้าอกแล้ว ต้องอาศัยประวัติอื่นๆด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งปัจจัย เสี่ยงต่างๆ ดังนั้นในผู้ป่วยบางรายที่อาการไม่เหมือนนัก แต่มีปัจจัยเสี่ยงหลายข้อ ก็ควรได้รับการตรวจพิเศษเพิ่มเติมด้วย

หอบ เหนื่อยง่ายผิดปกติ

อาการ หอบ เหนื่อยง่าย เวลาออกแรง เช่น เดิน วิ่ง ทำงาน มีสาเหตุมากมาย เช่น โลหิตจาง(ซีด) โรคอ้วน ความดันโลหิตสูง โรคปอด ต่อมไทรอยด์เป็นพิษ โรคหัวใจ ภาวะหัวใจล้มเหลว (heart failure) แม้แต่ความวิตกกังวล หรือ โรคแพนิค ก็ทำให้เหนื่อยได้เช่นกัน อาการเหนื่อยง่ายจากโรคหัวใจ และ ภาวะหัวใจล้มเหลวนั้น จะเหนื่อย หอบ หายใจเร็ว โดยเป็นเวลาออกแรง แต่ในรายที่เป็นรุนแรง จะเหนื่อยในขณะพัก บางรายจะเหนื่อยมากจนนอนราบไม่ได้ (นอนแล้วจะเหนื่อย ไอ) ต้องนอนศีรษะสูงหรือ นั่งหลับ

คำ ว่าเหนื่อย หอบ ในความหมายของแพทย์หมายถึง อัตราการหายใจมากกว่าปกติ แต่ในความหมายของผู้ป่วยอาจรวมไปถึง อาการเหนื่อยเพลีย หมดแรง เหนื่อยใจ

อาการเหนื่อยแบบหมดแรง มือเท้าเย็นชา พูดก็เหนื่อย (โดยอัตราการหายใจปกติ) เหล่านี้มักจะไม่ใช่อาการเหนื่อยจากโรคหัวใจ

ใจสั่น

ใจ สั่นในความหมายแพทย์หมายถึง การที่หัวใจเต้นเร็วผิดปกติ ผิดจังหวะ หรือ เต้นไม่สม่ำเสมอ เต้นๆหยุดๆ อาการดังกล่าวอาจพบ ได้ในคนปกติ  โรคหัวใจ และโรคอื่นๆที่มีผลต่อหัวใจ เช่น ต่อมไทรอยด์เป็นพิษ โรคปอด แพทย์จะซักประวัติละเอียดถึงลักษณะของ อาการใจสั่น เพื่อให้แน่ใจว่าเกิดจากหัวใจเต้นผิดจังหวะหรือไม่ บ่อยครั้งที่ผู้ป่วยรู้สึก"ใจสั่น"โดยหัวใจเต้นปกติ

การ ตรวจวินิจฉัยกลุ่มอาการใจสั่นเป็นเรื่องที่ทำได้ไม่ง่ายนัก เนื่องจากผู้ป่วยมักมีอาการชั่วขณะ เมื่อมาพบแพทย์อาการดังกล่าว ก็หายไปแล้ว แพทย์จึงไม่สามารถให้การวินิจฉัยได้ว่าเกิดจากหัวใจเต้นผิดจังหวะหรือไม่ ดังนั้นท่านควรศึกษาวิธีจับชีพจรตัวเอง เมื่อเกิดอาการ ว่าหัวใจเต้นกี่ครั้งในเวลา 1 นาที และสม่ำเสมอหรือไม่ ข้อมูลเหล่านี้จะช่วยให้แพทย์ให้การวินิจฉัยได้รวดเร็วขึ้น

ขาบวม

อาการ ขาบวมเกิดจากการที่ร่างกายมีเกลือ(โซเดียม)และน้ำคั่งอยู่ในร่างกาย โดยอาจเกิดจากโรคไต (ขับเกลือไม่ได้) โรคหลอด เลือดดำอุดตัน (การไหลเวียนไม่สะดวก) ขาดอาหาร โปรตีนในเลือดต่ำ โรคตับ ยาและฮอร์โมนบางชนิด โรคหัวใจ หรือ ในบางราย ไม่พบสาเหตุ (idiopathic edema) การบวมในผู้ป่วยโรคหัวใจเกิดจากการที่หัวใจด้านขวาทำงานลดลง เลือดจากขาไม่สามารถ ไหลเทเข้าหัวใจด้านขวาได้โดยสะดวก จึงมีเลือดค้างอยู่ที่ขามากขึ้น โรคเยื่อหุ้มหัวใจอักเสบเรื้อรังก็ให้อาการเช่นนี้ได้เช่นกัน ดังนั้นเมื่อมีอาการขาบวม แพทย์จำเป็นต้องตรวจหลายระบบ เพื่อหาสาเหตุ จึงให้การรักษาได้ถูกต้อง

เป็นลม วูบ

คำ ว่า "วูบ" นี้เป็นปัญหาในการซักประวัติอย่างมาก เนื่องจากในภาษาไทยคำนี้มีความหมายต่างๆกัน แต่ในความหมายของแพทย์แล้ว จะตรงกับภาษาอังกฤษว่า syncope หมายถึง การหมดสติ หรือ เกือบหมดสติ ชั่วขณะ โดยอาจรู้สึกหน้ามืด จะเป็นลม ตาลาย มองไม่เห็นภาพชัดเจน โดยอาการเป็นอยู่ชั่วขณะ ไม่รวมถึงอาการเวียนศีรษะ บ้านหมุน โคลงเครง วูบวาบตามตัว หายใจไม่ออก อาการดังกล่าวอาจเกิดจาก ความผิดปกติของสมอง เช่น ลมชัก (แม้จะไม่ชักให้เห็น) เลือดออกในสมอง ความผิดปกติของหัวใจ เช่น หัวใจเต้นผิดจังหวะชนิดร้ายแรง หรือหยุดเต้นชั่วขณะ หรือ ความผิดปกติของระบบประสาทอัตโนมัติที่ควบคุมหัวใจ นอกจากนั้นแล้ว "วูบ" ยังอาจพบได้ในคนปกติที่ขาดน้ำ เสียเลือด ท้องเสีย ไม่สบาย ขาดการออกกำลังกาย ยาลดความดันโลหิต

           Link   https://www.thaiheartweb.com

+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++


            กาแฟกับโรคหัวใจ

ส่วนประกอบที่สำคัญของกาแฟพยาธิสภาพโรคหัวใจ กาแฟกับโรคหัวใจ อัตราการเสียชีวิตจากโรคหัวใจ

ส่วนประกอบที่สำคัญของกาแฟคือ caffeine หรือมีชื่อทางเคมีว่า 1,3,7-trimethylxanthine ซึ่งเป็นอนุพันธ์ของยาขยายหลอดลม theophylline

caffeine สามารถพบได้ในหลายชนิดได้แก่ เมล็ดคา เมล็ดกาแฟ ใบชา โคลา caffeineถูกผสมลงในน้ำอัดลม ยาแก้หวัดบางชนิด ยาแก้ปวด ยาลดน้ำหนัก

กาแฟจะถูกดูดซึมอย่างรวดเร็วหลังจากที่เราดื่มกาแฟและจะถูกขับออกไปครึ่ง หนึ่งในเวลาประมาณ 4 ชั่วโมงกาแฟจะไม่สะสมในร่างกายโดยจะถูกทำลายและขับออกหมด ผู้ที่สูบบุหรี่จะมีการขับถ่ายกาแฟมากกว่าผู้ที่ไม่สูบ ดังนั้นคนที่สูบบุหรี่หากต้องการการกระตุ้นของกาแฟจะต้องดื่มกาแฟบ่อยกว่าคน ที่ไม่สูบบุหรี่ คนท้องและผู้ที่กินยาคุมกำเนิดจะมีการขับกาแฟน้อยกว่าคนทั่วไป กาแฟจะออกฤทธิ์โดยการกระตุ้นสมองทำให้รู้สึกสดชื่นและมีสมาธิ นอกจากนี้ยังมีรายงานว่ากาแฟจะทำให้มีการหลั่งสาร cortisone และ adrenaline ซึ่งไม่เป็นผลดีต่อร่างกาย

ปริมาณcaffeine ที่มีในเครื่องดื่มแต่ละชนิดขึ้นกับความเข้มข้น ตารางข้างล่างเป็นตัวอย่างปริมาณกาแฟ

Milligrams of Caffeine

ชนิดของเครื่องดื่ม ปริมาณ Range*
Coffee (150ml cup)
ต้ม, drip method
เครื่องต้มกาแฟ
กาแฟสำเร็จ
Decaffeinated
Espresso (30ml cup)

115
80
65
3
40

60-180
40-170
30-120
2-5
30-50

Teas (150ml cup)
ชาที่ต้ม
ชาเป็นซอง
ชาเย็น (240ml glass)


40
30
45


20-90
25-50
45-50

น้ำอัดลม (180ml) 18 15-30
Cocoa beverage (150ml) 4 2-20
นมรสChocolate  (240ml) 5 2-7
Chocolateนม (30g) 6 1-15
Dark chocolate, semi-sweet (30g) 20 5-35
Cooking chocolate (30g) 26 26


นักวิทยาศาสตร์ประมาณว่าวันหนึ่งๆเราจะรับสาร caffeine ประมาณ 250-600 มก.ซึ่งไม่เกิดผลข้างเคียงต่อร่างกาย

ผลดีของกาแฟ

กาแฟจะกระตุ้นระบบประสาทส่วนกลางทำให้ไม่ง่วง สมาธิในการทำงานดีขึ้น ผู้ที่ดื่มกาแฟจะทำให้ไม่ง่วงนอน มีสมาธิในการทำงาน และยังทำให้ความสามารถในการทำงานดีขึ้น และยังลดอาการปวดเมื่อยเนื่องจากไขหวัด

ผลดีของกาแฟจะทำให้ไม่ง่วงนอนโดยเฉพาะผู้ที่ทำงานเป็นกะ และช่วยลดอุบัติเหตุขณะขับรถ

กระตุ้นอวัยวะของร่างกายและเพิ่มการเผาผลาญไขมันและช่วยลดน้ำหนักได้ด้วย กาแฟจะมีฤทธิ์ขับปัสสาวะอ่อนๆดังนั้นขณะออกกำลังกายหรือหลังออกกำลังกาย ไม่ควรรับเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของกาแฟเพราะจะทำให้ร่างกายขาดน้ำ

การดื่มกาแฟจะเพิ่มความสามารถในการออกกำลังกายหรือไม่

จากการศึกษาพบว่าการดื่มกาแฟจะทำให้สามารถออกกำลังกาย ได้นานขึ้น แต่การศึกษาดังกล่าวศึกษาในผู้ชาย คำแนะนำอาจจะดื่มกาแฟสักแก้ประมาณหนึ่งชั่วโมงก่อนออกกำลังกาย หากดื่มมากกาแฟจะออกฤทธิ์เสมือนยาขับปัสสาวะทำให้ร่างกายขาดน้ำ ปริมาณกาแฟที่ขับออกมาทางปัสสาวะหากมากกว่า 12 micrograms/mlจะถูกห้าม(เท่ากับการดื่มกาแฟ 4 แก้ว)

ดื่มนานๆจะติดกาแฟหรือไม่

องค์การอนามัยโลกกล่าวว่าไม่มีหลักฐานว่ากาแฟจะเป็นสารซึ่งหากดื่มนานๆแล้วจะเสพติด การดื่มกาแฟจะเป็นนิสัยมากกว่าเสพติดเนื่องจากไม่จำเป็นต้องเพิ่มปริมาณของกาแฟ และเมื่อหยุดกาแฟบางคนก็เกิดอาการปวดหรือมึนศีรษะเพียงเล็กน้อย

ดื่มกาแฟแค่ไหนถึงจะเรียกว่ามากไป

การดื่มกาแฟ 2-4 แก้วอาจจะไม่เป็นผลเสียต่อสุขภาพ แต่หากดื่มมากไปอาจจะมีผลเสียต่อสุขภาพโดยรวมได้ หากดื่มกาแฟมากเกินไป 4-7แก้วอาจจะเกิดผลเสียอะไรบ้าง

  • นอนไม่หลับ
  • หงุดหงิดง่าย
  • สับสน
  • อารมณ์แปรปวน
  • คลื่นไส้อาเจียน และอาการทางเดินอาหาร
  • ใจสั่นหรือหัวใจเต้นเร็ว
  • กล้ามเนื้อกระตุก
  • ปวดสีรษะ
  • วิตกกังวล

หากท่านเกิดอาการดังกล่าวแสดงว่าท่านดื่มกาแฟมากเกินไป

สำหรับท่านที่ดื่มกาแฟประจำเมื่อหยุดดื่มไป 12-24 ชม ก็จะเกิดอาการของการหยุดการแฟ อาการจะคงอยู่ประมาณ 24 ชม อาการดังกล่าวจะหายไป

ยาที่เรารับประทานจะมีผลต่อกาแฟหรือไม่

ยาหรือสมุรไพรบางชนิดอาจจะส่งผลต่อระดับกาแฟอินในร่างกาย

  • ผู้ที่รับประทานยา Ciprofloxacin (Cipro)หรือ norfloxacin อาจจะทำให้ระดับกาแฟในเลือดสูงขึ้นทำให้เกิดอาการข้างเคียง
  • ผู้ที่ทานยาขยายหลอดลม เช่น Theophylline จะออกฤทธิ์เหมือนกาแฟ อาจจะทำให้เกิดอาการใจสั่น
  • สำหรับผู้ที่รับประทานสมุนไพร Ephedra (ma-huang) ซึ่งอาจจะทำให้เกิดหัวใจเต้นผิดปกติหรือชัก หากรับร่วมกับกาแฟจะเพิ่มความเสี่ยงดังกล่าว

ผลดีของกาแฟต่อสุขภาพ

  • โรคหอบหืด มีรายงานว่าการดื่มกาแฟวันละ 3 แก้วจะลดอาการหอบหืด หากดื่มมากกว่า 6 แก้วการทดสอบสมรรถภาพปอดจะดีขึ้น
  • กาแฟก็เหมือนกับพืชอื่นๆมีสาร flavanoid ซึ่งเป็นสารต้านอนุมูลอิสระ
  • การดื่มกาแฟจะลดอาการง่วงนอน และทำให้มีสมาธิในการทำงานดีขึ้นโดยเฉพาะผู้ที่ทำงานเป็นกะ และลดอุบัติเหตุขณะขับขี่
  • กาแฟช่วยลดอาการซึมเศร้าและคลายความวิตกกังวล
  • การดื่มกาแฟเป็นประจำจะลดอุบัติการณ์การเกิดนิ่วในทางเดินปัสสาวะ และยังลดอุบัติการณ์ของนิ่วในถุงน้ำดี
  • มีหลักฐานพอจะเชื่อว่าการดื่มกาแฟจะป้องกันมะเร็งลำไส้ใหญ่เมื่อดื่มวันละ 4 แก้ว

กาแฟกันสุขภาพสตรี

  • กาแฟกับการตั้งครรภ์ The Food Standards Agency ก่อนหน้านี้มีความเชื่อว่าการดื่มกาแฟจะเป็นผลเสียต่อการตั้งครรภ์ แต่จากหลักฐานยังไม่พบผลเสียดังกล่าว ประเทศอังกฤษได้แนะนำว่าการดื่มวันละ 3-4 แก้วขณะตั้งครรภ์ไม่เกิดผลเสีย สำหรับผู้ที่ตั้งท้องหากงดได้ก็น่าจะงด
  • การเป็นหมัน พบว่าหากดื่มกาแฟมากกว่า 1แก้วจะมีโอกาสเกิดการเป็นหมันเพิ่มขึ้น
  • สมาคมสูติของอเมริกาแนะนำสำหรับผู้ที่ตั้งครรภ์ก็ สามารถดื่มได้ไม่เกินวันละหนึ่งแก้วโดยไม่ทำให้คลอดก่อนกำหนด หรือเกิดอาการแท้ง แต่หากดื่มมากกว่านี้มีรายงานว่าอาจจะเกิดผลเสียต่อการตั้งครรภ์

กาแฟกับโรคกระดูกพรุน

  • ยังมีรายงานทั้งสนับสนุนว่าการดื่มกาแฟทำให้เกิดโรคกระดูกพรุน บางรายงานก็กล่าวว่าไม่เกิดโรค ผู้ที่เกิดโรคกระดูกพรุนมักจะได้รับแคลเซียมไม่พอแนะนำว่าควรจะดื่มนมเริมสำหรับผู้ที่ดื่มกาแฟวันละ 2 แก้วขึ้นไป

กาแฟกับโรคมะเร็ง

  • มีรายงานจากWorld Cancer Research Fund ว่าการดื่มกาแฟปริมาณปานกลางไม่มีความสัมพันธ์กับโรคมะเร็ง
  • มีรายงานกล่าวว่าการดื่มกาแฟมีผลดีต่อการป้องกันมะเร็งตับอ่อนเล็กน้อย
  • มีรายงานว่าการดื่มกาแฟอาจจะมีผลป้องกันโรคมะเร็งลำไส้ใหญ๋

กาแฟกับโรคหัวใจ

  • เท่ามีรายงานขณะนี้พบว่าการดื่มกาแฟวันละ 4 แก้วไม่มีความสัมพันธ์กับโรคหัวใจ

กาแฟกับความดันโลหิตสูง

  • การดื่มกาแฟ 2-3แก้วจะทำให้ความดันโลหิตเพิ่มได้ 3-14/4-13 แต่ยังไม่ทราบกลไกที่ทำให้ความโลหิตสูงขึ้น สำหรับผู้ที่ดื่มเป็นประจำความดันโลหิตอาจจะไม่สูง คำแนะนำ สำหรับผู้ที่มีความดันโลหิตสูงควรจะลดปริมาณกาแฟลงไม่เกินสองแก้วต่อวัน และควรจะงดดื่มในกรณีที่ความดันจะสูง เช่น การออกกำลังกาย การทำงานหนัก ท่านอาจจะทดสอบว่ากาแฟมีผลต่อความดันหรือไม่โดยวัดความดันโหอต 30 นาทีหลังจากดื่มกาแฟ หากสูงขึ้นควรจะลดหรือเลิก

กาแฟกับโรคเบาหวาน

  • จากการศึกษาพบว่าการดื่มกาแฟจะทำให้เกิดภาวะดื้อต่ออินซูลินเพิ่มขึ้น 15 % กรดไขมันในเลือดเพิ่มขึ้น ฮอร์โมน epinephrineเพิ่มสูงขึ้น ความดันโลหิตสูงขึ้น ซึ่งอาจจะส่งผลเสียต่อผู้ป่วยที่เป็นเบาหวาน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

              Link     https://www.siamhealth.net

++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

            อัตราการเสียชีวิตจากโรคหัวใจ

ระบาดวิทยา

องค์การอนามัยโลกได้ประเมินว่า แต่ละปีจะมีผู้ที่เสียชีวิตจากโรคหัวใจและหลอดเลือดปีละ 17 ล้านคน โดยเฉพาะโรคหัวใจ โดยมีปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญคือ

  • การสูบบุหรี่ พบว่าผู้ที่สูบบุหรี่จะมีอัตราการเกิดโรคหัวใจเพิ่มขึ้น 2-3 เท่าเมื่อเทียบกับผู้ที่ไม่ได้สูบบุหรี่อาจจะสูบเองหรือคนใกล้ชิดสูบบุหรี่ก็ทำให้เกิดโรคนี้ได้เร็วขึ้น
  • โรคความดันโลหิตสูง ผู้ที่มีความดันโลหิตมากกว่า 110/75 มิลิเมตรปรอท ผนังหลอดเลือดแดงจะรับแรงกระแทก ซึ่งเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดแดงตีบและแข็ง
  • ไขมันในเลือดสูง
  • โรคเบาหวาน
  • โรคอ้วน
  • การขาดการออกกำลังกาย
  • ความเครียดและความโกรธ จะทำให้เกิดหลอดเลือดตีบเร็วขึ้นซึ่งอาจจะมาจากการที่รับประทานอาหารมากขึ้นหรือสูบบุหรี่เพิ่มขึ้น
  • การดื่มสุรามาก เกินไป แม้ว่าดื่มสุราปริมาณที่เหมาะสมจะช่วยลดอุบัติการของการเกิดหลอดเลือดตีบ แต่การดื่มมากเกินไปจะเพิ่มความเสี่ยงของการเกิดหลอดเลือดแดงตีบเนื่องจาก ความดันโลหิตและไขมัน triglyceride ที่เพิ่มขึ้น

ผู้ป่วยที่เสียชีวิตจากโรคหัวใจและหลอดเลือดจำแนกออกได้ดังนี้

  1. เสียชีวิตจากโรคหัวใจปีละประมณ 7.2 ล้านคน
  2. เียชีวิตจากโรคหลอดเลือดสมองปีละ 5.5 ล้านคน
  3. จากโรหัวใจอื่นๆ 2.4 ล้านคน
  4. โรคหัวใจที่เกิดจากความดันโลหิตสูง 9 แสนคน
  5. การอักเสบของหัวใจ 4 แสนคน
  6. โรคหัวใจ Rheumativ 3 แสนคน

อัตราการเสียชีวิตของโรคหัวใจขึ้นกับหลายๆปัจจัย ประเทศที่อายุเฉลี่ยต่ำจะมีอัตราการเสียชีวิตจากโรคนี้ต่ำ ประเทศที่มีไขมันในเลือดสูง ความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน ประเทศเหล่านี้จะมีอัตราการเสียชีวิตสูงโดยเชื่อว่าโรคเหล่านี้เกิดจากกรรม พันธ์

อัตราการเสียชีวิตจากโรคหัวใจและหลอดเลือดในอเมริกาและประเทศ ทางยุโรปมีแนวโน้มลดลง แต่ประเทศกำลังพัฒนาพบว่าอัตราการเสียชีวิตจากโรคหัวใจเพิ่มขึ้นอย่างมาก ประเทศไทยมีผู้เสียชีวิตจากโรคหัวใจและหลอดเลือดปีละ10000-90000 คน

ประเทศซึ่งมีอัตราการเสียชีวิตลดลงได้แก่

  • Greece
  • Portugal
  • USA ลดลงร้อยละ 30
  • Netherlands ลดลงร้อยละ 35
  • Sweden ลดลงร้อยละ 40
  • Luxembourg ลดลงร้อยละ 30
  • Australia ลดลงร้อยละ 45
  • Denmark ลดลงร้อยละ 47

ประเทศที่อัตราการเสียชีวิตลดลงเนื่องจากมีการรณรงค์เรื่องการสูบบุหรี่ การควบคุมความเสี่ยงต่างๆ การเฝ้าระวังอาการที่เริ่มเป็น และการรักษาที่มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง

     Link   https://www.siamhealth.net

+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++


 

อัพเดทล่าสุด