ข้อสอบเรื่องโรคทางพันธุกรรมพร้อมเฉลย ขอสอบโรคทางพันธุกรรม ความผิดปกติที่เกิดจากการแปรผันทางพันธุกรรมและโรคทางพันธุกรรม


13,612 ผู้ชม


ข้อสอบเรื่องโรคทางพันธุกรรมพร้อมเฉลย ขอสอบโรคทางพันธุกรรม ความผิดปกติที่เกิดจากการแปรผันทางพันธุกรรมและโรคทางพันธุกรรม

            ข้อสอบเรื่องโรคทางพันธุกรรมพร้อมเฉลย

ข้อสอบONET ปี 2551 ข้อที่ 1-4

1.ต่อมไร้ท่อใด หากถูกทำลายไปเมื่อร่างกายเจริญเติบโตเต็มที่แล้ว อาจมีชีวิตอยู่ได้ระยะหนึ่งเท่านั้น
   1.ตับอ่อน          2.ต่อมหมวกไตส่วนใน           3.ต่อมไทรอยด์         4.ต่อมใต้สมองส่วนหน้า
ตอบข้อที่ 4 เพราะ
1.Pancreas: ตับอ่อน  เป็นต่อมขนาดใหญ่ซึ่งเป็นทั้งต่อมมีท่อของระบบย่อยอาหารและต่อมไร้ท่อ   ตับอ่อนสร้างนํ้าย่อยหลั่งออกมาตามท่อของตับอ่อน    ตับอ่อนจะประกอบด้วยกลุ่มเซลล์ที่เรียกว่า  ไอส์เลตออฟแลงเกอร์ฮานส์ทำหน้าที่เป็นต่อมไร้ท่อที่หลั่งฮอร์โมนอินซูลินและ กลูคากอน
2.Adrenal  glands  or  supra  renal  glands: ต่อมหมวกไต  เป็นต่อม 1คู่  ตั้งอยู่ตอนบนของไตแต่ละข้าง  ต่อมแต่ละอันจะมีเยื่อชั้นนอกเรียกว่า คอร์เทกซ์ สร้างฮอร์โมนอัลโดสเตอโรนคอร์ติโซนและไฮโดรคอร์ติโซน  ส่วนผนังด้านในเรียกว่าเมดูลลาสร้างฮอร์โมนอะดรีนาลินและนอร์อะดรีนาลิน
3.Thyroid   gland: ต่อมไทรอยด์   เป็นต่อมที่มีขนาดใหญ่อยู่รอบๆกล่องเสียง  ต่อมนี้สร้างฮอร์โมนไธรอกซินและไธโรคัลซิโทนิน
4.Pituitary   gland   pituitary   body  or hypophysis: ต่อมใต้สมอง   เป็นต่อมที่อยู่ด้านล่างของสมอง  ติดกับสมองส่วนไฮโปทาลามัสแบ่งเป็น  2 ส่วน  คือส่วนหน้าต่อมใต้สมองพูหน้าและต่อมใต้สมองพูหลังฮอร์โมนที่ต่อมนี้สร้างมี หลายชนิดซึ่งจะไปกระตุ้นให้ต่อมไร้ท่ออื่นๆหลั่งฮอร์โมน  ต่อมใต้สมองจะสร้างฮอร์โมน ACTH,  TSH,  STH,  FSH, LH แลคโตจีนิกฮอร์โมน,ออกซิโทซิน  และ ADH และยังควบคุมต่อมไร้ท่อต่างๆอีก
ดังนั้นตอบข้อ 4 เพราะ สมองสำคัญที่สุดถ้าสมองไม่ทำงานคนก็ตายและต่อมใต้สมองส่วนหน้ายังทำหน้าที่ ควบคุม ฮอร์โมนและต่อมไร้ท่อต่างๆอีกมากมาย
https://202.143.128.195/kanngan/site_students/Webnonglak/conteits/glands.htm

2.ต่อมใต้สมองเป็นต่อมหลักสำคัญที่ควบคุมต่อมไร้ท่อต่างๆยกเว้นข้อใด
  1.ต่อมไทรอยด์          2.ต่อมพาราไทรอยด์           3.ต่อมหมวกไต         4.ต่อมเพศ
ตอบข้อที่  2 เพราะ
ต่อมใต้สมองควบคุม Hormone ดังนี้
• Hormone กระตุ้นต่อมไทรอยด์ให้สร้าง Thyroxin เพิ่มขึ้น  (ข้อที่ 1 )
• Hormone กระตุ้นการสร้างเซลสืบพันธ์ ( ข้อที่ 4 )
• Hormone กระตุ้นต่อมหมวกไต ส่วนเปลือกให้สร้างฮอร์โมนเพิ่มมากขึ้น ( ข้อที่ 3 )
ดังนั้นตอบข้อที่ 2 เนื่องจากต่อมใต้สมองไม่ได้ทำหน้าที่ควบคุม

3.ข้อใดไม่ถูกต้องถ้าเปรียบเทียบระบบหายใจกับต้นไม้กลับหัว
  1.ลำต้น : ขั้วปอด          2.ลำต้น : หลอดลม       3.กิ่งก้าน : ท่อลมเล็กๆ       4.แขนงกิ่ง : ถุงลม
ตอบข้อที่ 2 เพราะ
ลำต้น : หลอดลม เพราะเมื่อเปรียบเทียบระบบหายใจกับต้นไม้ลำต้นของต้นไม้เปรียบได้กับหลอดลม เนื่องจากลำต้นของต้นไม้มีท่อน้ำ  ท่ออาหารที่จะลำเลียงไปยังกิ่งก้านสาขาซึ่งเหมือนกับหลอดลมที่นำแก๊ส ออกซิเจนไปสู่ปอดเพื่อช่วยในการฟอกเลือดหรือนำแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ออก นอกร่างกาย

4.ข้อใดเป็นพัฒนาการการคบเพื่อนของวัยรุ่น
  1.คบเพื่อนวัยเดียวกัน    2.คบเพื่อนต่างวัย        3.คบเพื่อนเพศเดียวกัน     4.คบเพื่อนต่างเพศ
ตอบข้อที่ 4 เพราะ
1.คบเพื่อนวัยเดียวกันเมื่อวัย (เด็ก/เรียนหนังสือ)
2.คบเพื่อนต่างวัยเมื่อวัยทำงาน(วัยผู้ใหญ่)
3.คบเพื่อนเพศเดียวกันเมื่อ (วัยเด็ก)
ดังนั้นตอบข้อ 4 เนื่องจากวัยรุ่นเริ่มมีการเปลี่ยนแปลงหลายๆอย่างรวมไปถึงการเริ่มคบเพื่อนต่างไวและเริ่มมีแฟน
https://www.love4home.com/index.php?lay=show&ac=article&Id=109752&Ntype=5

14.กล้ามเนื้อในร่างกายมนุษย์ ประกอบด้วยกล้ามเนื้อใดมากที่สุด

1.กล้ามเนื้อเรียบ

2.กล้ามเนื้อแดง

3.กล้ามเนื้อลาย

4.กล้ามเนื้อหัวใจ

ตอบ...กล้ามเนื้อลาย (Skeletal Muscle) ทำหน้าที่สำคัญเกี่ยวกับกล้ามเนื้อลาย (Skeletal Muscle) ทำหน้าที่สำคัญเกี่ยวการเคลื่อนที่ การหายใจ การทรงตัว และการรักษาอุณหภูมิของร่างกาย ในสิ่งมีชีวิต กล้ามเนื้อลาย เป็นส่วนประกอบที่มีมากที่สุดของร่างกาย คือ ราวๆ 44% ของน้ำหนักตัว

15.นักกีฬาวิ่งมาราธอน จะมีเส้นใยกล้ามเนื้อสีใดมากที่สุด

1.สีขาว

2.สีแดง

3.สีชมพู

4.สีดำ

ตอบ... สีแดง เพราะมีส่วนประกอบของ myoglobin และ เส้นเลือดเป็นจำนวนมาก เซลล์มีขนาดเล็ก ภายในเซลล์บรรจุ mitochondria เป็นจำนวนมาก มี mitochondrial cristae ค่อนข้างใหญ่ แสดงว่า การทำงานของกล้ามเนื้อชนิดนี้ต้องเกี่ยวข้องกับการใช้พลังงาน oxidative phosphorylation ซึ่งจะมีการหดตัวอย่างช้าๆ (Slow twitch) แต่สามารถทำงานทนอยู่ได้เป็นระยะเวลานานๆ เช่น กล้ามเนื้อแขนและขา เป็นต้น

16.คุณสมบัติของกล้ามเนื้อหัวใจ คือข้อใด

1.มีลักษณะคล้ายกล้ามเนื้อลาย

2.มีลักษณะคล้ายกล้ามเนื้อเรียบปนกล้ามเนื้อลาย

3.ทำงานใต้อำนาจจิตใจ

4.ทำงานนอกอำนาจจิตใจ

ตอบ กล้ามเนื้อหัวใจ ประกอบเป็นกล้ามเนื้อหัวใจเพียงแห่งเดียวอยู่นอกอำนาจจิตใจ มีลักษณะเป็นเซลล์รูปทรงกระบอกมีลายตามขวางเป็นแถบสีทึบสลับกับสีจาง เซลล์กล้ามเนื้อนี้มีแขนงไปประสานกับแขนงของเซลล์ใกล้เคียง เซลล์ทั้งหมดจึงหดตัวพร้อมกัน และหดตัวเป็นจังหวะตลอดชีวิต ควบคุมโดยระบบประสาทอัตโนมัติ

1. ข้อความใดไม่ถูกต้อง
 1. หญิงเข้าสู่วัยเจริญพันธุ์เร็วกว่าชาย
 2. การสำเร็จความใคร่ด้วยตนเองเป็นการระบายอารมณ์ทางเพศที่ไม่ควรกระทำ
 3. การใส่เสื้อสายเดี่ยวนุ่งกระโปรงสั้นอาจทำให้เกิดอาชญากรรมทางเพศได้
 4. ชายสามารถมีลูกได้จนอายุ 60 ปี

 

  ตอบข้อ 2   การ สำเร็จความใคร่ด้วยตนเองเป็นการระบายอารมณ์ทางเพศที่สามารถกระทำได้ แต่ต้องไม่บ่อยมากและต้องเหมาะสมทั้งนี้เพราะถ้าหากปฏิบัติบ่อยๆ อาจส่งผลต่อพฤติกรรมทางเพศได้

 

 

12. เมื่ออยู่ในวัยเรียนหากนักเรียนหญิงตั้งครรภ์โดยไม่ตั้งใจวิธีการแก้ปัญหาที่ควรกระทำคือข้อใด
          1. ปรึกษาผู้ใหญ่หรือครูอาจารย์
          2. หาทางแก้ปัญหากับคนรัก
          3. ลาออกจากโรงเรียน
          4. ทำแท้ง

 

  ตอบข้อ 1    เพราะ การที่นักเรียนหญิงตั้งครรภ์โดยไม่ตั้งใจวิธีการแก้ปัญหาที่ควรกระทำ ปรึกษาผู้ใหญ่  ครู อาจารย์ ทั้งนี้เพราะสถานการณ์ดังกล่าวเมื่อเกิดขึ้นจะส่งผลกระทบต่อสุขภาพกายและ สุขภาพจิตของนักเรียนเป็นอย่างมากและมีผลต่อการดำเนินชีวิตของนักเรียนหญิง ต่อไปนี้ในอนาคต ดังนั้น พ่อแม่ ผู้ใหญ่หรือครู อาจารย์ ซึ่งเป็นผู้ที่มีประสบการณ์ช่วยแก้ไข

 

 

13. ข้อใดเป็นความเสี่ยงต่อการเกิดโรคเอดส์
          1. สำส่อนทางเพศ
          2. ใช้ของร่วมกับผู้ป่วย
          3. เที่ยวสถานเริงรมย์
          4. ใช้ห้องน้ำสาธารณะร่วมกับผู้ป่วย
 

 

ตอบข้อ 1    เพราะ โรคเอดส์เกิดจากการสัมผัสกับสารคัดหลั่งของร่างกายโดยเฉพาะจากการมีเพศสัมพันธ์กับบุคคลที่ติดเชื้อเอดส์  

17. นักเรียนฝึกการออกกำลังกายด้วยการวิดพื้นเป็นประจำจะช่วยเพิ่มสมรรถภาพของกล้ามเนื้อส่วนใดมากที่สุด
           1. กล้ามเนื้อต้นขา
           2. กล้ามเนื้อหลัง
           3. กล้ามเนื้อหน้าท้อง
          4. กล้ามเนื้อแขน

ตอบข้อ 4 เพราะ การออกกำลังกายแขนโดยการวิดพื้นคือวิธีที่ดีที่สุดที่ช่วยเพิ่มสมรรถภาพ ของกล้ามเนื้อแขน ทำให้กล้ามเนื้อแขนแข็งแรงและได้รูป นอกจากนี้การวิดพื้นเป็นประจำจะมีประโยชน์โดยตรงกับหน้าอกและกล้ามเนื้อแขน ด้านหลังซึ่งเมื่อกล่ามเนื้อหลังแขนได้รับการพัฒนาแขนก็จะดูดีและแข็งแรง ขึ้น
 
18. นักวิ่งระยะสั้นฝึกซ้อมการวิ่ง 100 เมตร ติดต่อกัน 10 เที่ยวทำให้ล้าเนื่องจากเกิดของเสียใดในร่างกาย
            1. กรดแลคติก
            2. กรดยูริก
            3. กรดเกลือ
            4. กรดอะมิโน

ตอบข้อ 1 เพราะ กรดแล็กติกเป็นของเสียที่เกิดจากกระบวนการการหายใจ (การเผาผลาญพลังงาน) ที่ไม่ใช่ออกซิเจนในกรณีที่ออกซิเจนไม่เพียงพอ เช่น การออกกำลังกาย การทำงานหนัก เป็นต้น กรดแล็กติกจะทำให้กล้ามเนื้อเมื่อยล้าแต่เมื่อหยุดพัก กรดแล็กติกจะถูกเผาผลาญให้พลังงานต่ออีกด้วยกระบวนการ Aerobic Metabolism หรือการใช้ออกซิเจนเหมือนในภาวะปกติเมื่อได้หยุดพักกล้ามเนื้อจะเมื่อยล้าลด ลงสามารถเล่นต่อได้อีก

19. การอบอุ่นร่างกายในข้อใดเหมาะสมที่สุดสำหรับการเล่นกีฬาฟุตบอล
1. หมุนคอ วิ่งรอบสนาม สะพานโค้ง วิดพื้น
2. วิ่งรอบสนาม หมุนคอ ลุก-นั่ง สะพานโค้ง
3. วิ่งรอบสนาม หมุนคอ หมุนข้อเท้า เหยียดเท้า
4. ลุก-นั่ง วิดพื้น หมุนคอ เหยียดเท้า

ตอบข้อ 3 เพราะ การเล่นกีฬาฟุตบอล นักกีฬาส่วนใหญ่จะต้องวิ่งมากเพื่อเป็นการกระตุ้นกล้ามเนื้อขา รวมทั้งให้ร่างกายยืดหยุ่น เกิดความคล่องแคล่วว่องไวในการเคลื่อนไหวจึงควรวิ่งรอบสนาม หมุนคอ หมุนข้อเท้าและเหยียดเท้า



เฉลยข้อสอบ O-net ปี 49 ข้อ 5-8
5. ในการลดความอ้วนต้องคำนึงถึงข้อใดมากที่สุด
1) ปริมาณและคุณค่าอาหาร
2) ปริมาณอาหารและแคลอรี่
3) ความพยายามและกำลังใจ
4) จำนวนมิ้ออาหารและชนิดของอาหาร
ตอบ  ข้อ 2. ปริมาณอาหารและแคลอรี่  เพราะจะต้องคำนึงถึงการทานที่ไม่ควรจะทานเกินกำหนด

6. โดยทั่วไปคนอ้วนมักตายด้วยโรคใดมากที่สุด
1) โรคหัวใจ
2) โรคเบาหวาน
3) โรคมะเร็ง
4) โรคไขข้ออักเสบ
ตอบ  ข้อ 1 โรคหัวใจ เป็นสาเหตุการตายอันดับหนึ่งของประเทศอุตสาหกรรม รวมทั้งประเทศไทยด้วย เนื่องจากไขมันไปเกาะตามผนังหลอดเลือด ทำให้เกิดภาวะหลอดเลือดตีบหรืออุดตัน หัวใจทำงานเพิ่มมากขึ้น ถ้าเป็นกับเส้นเลือดที่หล่อเลี้ยงหัวใจก็ทำให้เกิดโรคหัวใจขาดเลือด และหัวใจวาย

7. บุคคลทั่วไปมีน้ำหนักมาตรฐานขึ้นอยู่กับข้อใด
1) อายุ ส่วนสูง โครงสร้างของร่างกาย
2) เพศ ส่วนสูง โครงสร้างของร่างกาย
3) อายุ อาหารและการออกกำลังกาย
4) พันธุกรรม อาหาร การออกกำลังกาย
ตอบ  ข้อ  4 เพราะขึ้นอยู่กับพ่อแม่ด้วยว่าลักษณะรูปร่างเป็นอย่างไร และยังประกอบด้วยกับปริมาณการรับประทานอาหาร และ การออกกำลังกาย
แต่หากต้องการที่จะมีน้ำหนักที่มาตรฐานก็ต้องรับประทานพอดี ออกกำลังกายให้พอเหมาะ

8. รัฐภูมิมีส่วนสูง 175 เซนติเมตร หนัก68 กิโลกรัม รัฐภูมิมีรูปร่างอยู่ในเกณฑ์ใด
1) อ้วน
2) ผอม
3) ได้สัดส่วน
4) ควรเพิ่มน้ำหนัก
ตอบ ข้อ  3 คิดได้จาก ค่าBMI โดยนำ น้ำหนัก/(ส่วนสูง)2
ต่ำกว่า 18.5  ผอม
18.5 – 24.9  ปกติ
25.0 – 29.9 อ้วน
30.0  ขึ้นไป  อ้วนมาก
68/(175)2 = 68/3.0625 =22.20
ได้ 22.20 จะอยู่ในเกณฑ์ ปกติ ก็คือ ได้สัดส่วน

++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++


              ขอสอบโรคทางพันธุกรรม

Question Excerpt From ข้อสอบวิทยาศาสตร์พื้นฐาน (หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 )
Q.1) 

โครงสร้างใดภายในเซลล์ที่เป็นพาหะในการนำยีนจากรุ่นหนึ่งไปสู่อีกรุ่นหนึ่ง

   
A.
B.
C.
D.
Q.2) 

ขณะที่เซลล์กำลังแบ่งตัว โครโมโซมมีลักษณะตามข้อใด 

   
A.
B.
C.
D.
Q.3) 

ข้อใดกล่าว ไม่ ถูกต้องเกี่ยวกับโครโมโซม 

   
A.
B.
C.
D.
Q.4) 

เมนเดลได้ศึกษาเรื่องราวของพันธุกรรม โดยค้นพบหลักเกณฑ์ในข้อใด

   
A.
B.
C.
D.
Q.5) 

ลักษณะในข้อใดน่าจะนำโดยยีนด้อย

   
A.
B.
C.
D.
Q.6) 

ใช้ข้อมูลต่อไปนี้ตอบคำถามข้อ
"ฮีโมฟีเลีย" เป็นโรคทางพันธุกรรมที่นำโดยยีนด้อย และเป็นยีนที่อยู่บนโครโมโซมเพศ ถ้าชายเป็น

โรคฮีโมฟีเลียแต่งงานกับหญิงปกติ   (ศึกษาพันธุประวัติแล้วไม่พบญาติคนใดเป็นโรคนี้เลย)

   
A.
B.
C.
D.
Q.7) 

ใช้ข้อมูลต่อไปนี้ตอบคำถามข้อ
"ฮีโมฟีเลีย" เป็นโรคทางพันธุกรรมที่นำโดยยีนด้อย และเป็นยีนที่อยู่บนโครโมโซมเพศ ถ้าชายเป็น

โรคฮีโมฟีเลียแต่งงานกับหญิงปกติ   (ศึกษาพันธุประวัติแล้วไม่พบญาติคนใดเป็นโรคนี้เลย)

   
A.
B.
C.
D.
Q.8) 

ใช้ข้อมูลต่อไปนี้ตอบคำถามข้อ

            "ฮีโมฟีเลีย" เป็นโรคทางพันธุกรรมที่นำโดยยีนด้อย และเป็นยีนที่อยู่บนโครโมโซมเพศ ถ้าชายเป็น

โรคฮีโมฟีเลียแต่งงานกับหญิงปกติ   (ศึกษาพันธุประวัติแล้วไม่พบญาติคนใดเป็นโรคนี้เลย)

   
A.
B.
C.
D.
Q.9) 

ใช้ข้อมูลต่อไปนี้ตอบคำถามข้อ

            "ฮีโมฟีเลีย" เป็นโรคทางพันธุกรรมที่นำโดยยีนด้อย และเป็นยีนที่อยู่บนโครโมโซมเพศ ถ้าชายเป็น

โรคฮีโมฟีเลียแต่งงานกับหญิงปกติ   (ศึกษาพันธุประวัติแล้วไม่พบญาติคนใดเป็นโรคนี้เลย

   
A.
B.
C.
D.
Q.10) 


 

ใช้ข้อมูลต่อไปนี้ตอบคำถาม

            "ฮีโมฟีเลีย" เป็นโรคทางพันธุกรรมที่นำโดยยีนด้อย และเป็นยีนที่อยู่บนโครโมโซมเพศ ถ้าชายเป็น

โรคฮีโมฟีเลียแต่งงานกับหญิงปกติ   (ศึกษาพันธุประวัติแล้วไม่พบญาติคนใดเป็นโรคนี้เลย)

                        กำหนดให้  ˜ =   ยีนเด่น          ™ =   ด้อย

9. ถ้าแม่เป็นฮีโมฟีเลีย มียีนเป็น XX พ่อปกติ มียีนเป็น XY กลุ่มยีนในลูก คือข้อใด

            ก.    XX    XX    XY    XY                                     ข.    XX    XX    XY    XY

            ค.    XX    XX     XY    XY                                    ง.    XX    XX    XY   

10.      จากข้อ  9.  ข้อใดสรุปถูกต้อง

   
A.
B.
C.
D.
Q.11) 

ใช้ข้อมูลต่อไปนี้ตอบคำถาม

                    หากตาบอดสีนำโดยยีนด้อย พบอยู่บนโครโมโซม X และตาปกตินำโดยยีนเด่น พบอยู่บนโครโมโซม X ถ้าพ่อตาปกติแต่งงานกับแม่ตาปกติ แต่มียีนตาบอดสีแฝงอยู่

   
A.
B.
C.
D.
Q.12) 

ลักษณะของลูกชายจะมีโอกาสเป็นไปตามข้อใด

   
A.
B.
C.
D.
Q.13) 

ใช้ข้อมูลต่อไปนี้ตอบคำถามข้อ

                    โรคฮีโมฟีเลียถูกควบคุมโดยยีนด้อยที่อยู่บนโครโมโซมเพศ ถ้าพ่อปกติแต่งงานกับแม่ปกติแต่มียีนฮีโมฟีเลียแฝง

   
A.
B.
C.
D.
Q.14) 

ใช้ข้อมูลต่อไปนี้ตอบคำถาม

                    โรคฮีโมฟีเลียถูกควบคุมโดยยีนด้อยที่อยู่บนโครโมโซมเพศ ถ้าพ่อปกติแต่งงานกับแม่ปกติแต่มียีนฮีโมฟีเลียแฝงอยู่

                               

   
A.
B.
C.
D.
Q.15) 

ใช้ข้อมูลต่อไปนี้ตอบคำถาม

                    โรคฮีโมฟีเลียถูกควบคุมโดยยีนด้อยที่อยู่บนโครโมโซมเพศ ถ้าพ่อปกติแต่งงานกับแม่ปกติแต่มียีนฮีโมฟีเลียแฝงอยู่


ลูกแต่ละคนมีโอกาสปกติร้อยละเท่าใด

   
A.
B.
C.
D.
Q.16) 

ใช้ข้อมูลต่อไปนี้ตอบคำถาม

                    โรคฮีโมฟีเลียถูกควบคุมโดยยีนด้อยที่อยู่บนโครโมโซมเพศ ถ้าพ่อปกติแต่งงานกับแม่ปกติแต่มียีนฮีโมฟีเลียแฝงอยู่

ลูกแต่ละคนมีโอกาสเป็นโรคฮีโมฟีเลียร้อยละเท่าใด

   
A.
B.
C.
D.
Q.17) 

ใช้ข้อมูลต่อไปนี้ตอบคำถาม

                    โรคฮีโมฟีเลียถูกควบคุมโดยยีนด้อยที่อยู่บนโครโมโซมเพศ ถ้าพ่อปกติแต่งงานกับแม่ปกติแต่มียีนฮีโมฟีเลียแฝงอยู่

ลูกแต่ละคนมีโอกาสเป็นพาหะของยีนฮีโมฟีเลียร้อยละเท่าใด

   
A.
B.
C.
D.
Q.18) 

โครโมโซมมีองค์ประกอบเป็นสารประเภทใด

   
A.
B.
C.
D.
Q.19) 

นักเรียนจะสามารถพบโครโมโซมได้มากที่สุดบริเวณใดของเซลล์

   
A.
B.
C.
D.
Q.20) 

หน่วยที่ควบคุมและถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรมคืออะไร

   
A.
B.
C.
D.
Q.21) 

จากลักษณะหรืออาการที่เกิดขึ้นกับนัยน์ตาดังต่อไปนี้

   1.    สีของตา             2.        สายตาสั้น          3.        ตาบอดกลางคืน       4.    ตาบอดสี           5. ตาเป็นต้อ

ข้อใดเป็นลักษณะที่ถ่ายทอดทางพันธุกรรม

   
A.
B.
C.
D.
Q.22) 

ในเซลล์ของคน "ออโทโซม" หมายถึง โครโมโซมคู่ที่เท่าใด

                                                                                     
   
A.
B.
C.
D.
Q.23) 

Autosome หมายถึง                    

   
A.
B.
C.
D.
Q.24) 

ลักษณะ มีลักยิ้มเป็นลักษณะเด่น ลักษณะไม่มีลักยิ้มเป็นลักษณะด้อย ซึ่งอยู่บนออโทโซม ถ้าพ่อมีลักยิ้ม (แต่มียีนเป็นยีนพันทาง) แม่ไม่มีลักยิ้ม ลูกจะมีโอกาสมีลักยิ้มแสดงออกเป็นลักษณะปรากฏได้ร้อยละเท่าใด

   
A.
B.
C.
D.
Q.25) 

 

24. ลักษณะมีลักยิ้มเป็นลักษณะเด่น ลักษณะไม่มีลักยิ้มเป็นลักษณะด้อย ซึ่งอยู่บนออโทโซม ถ้าพ่อมีลักยิ้ม (แต่มียีนเป็นยีนพันทาง) แม่ไม่มีลักยิ้ม ลูกจะมีโอกาสมีลักยิ้มแสดงออกเป็นลักษณะปรากฏได้ร้อยละเท่าใด

            ก.    0                                  ข.        25                           ค.    50                       ง.    100

 

 

จากข้อ 24 ลูกที่ไม่มีลักยิ้มจะมีโอกาสเป็นไปได้ร้อยละเท่าใด

                                               
   
A.
B.
C.
D.
Q.26) 

ข้อใดกล่าวถูกต้อง

   
A.
B.
C.
D.
Q.27) 

โรคกลุ่มใดเกิดจากความผิดปกติของออโทโซม

   
A.
B.
C.
D.
Q.28) 

ลักษณะเป็นชาย แต่มีบางอย่างคล้ายหญิง เช่น เต้านมโต และส่วนมากเป็นหมัน เป็นลักษณะที่มีโครโมโซมเพศตามข้อใด

   
A.
B.
C.
D.
Q.29) 

29.      ข้อใด ไม่ ตรงกับข้อเท็จจริง

   
A.
B.
C.
D.
Q.30) 

ประโยชน์ที่มนุษย์ได้จากการศึกษาเรื่อง "พันธุกรรม" คือข้อใด

   
A.
B.
C.
D.

++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++=

 

             ความผิดปกติที่เกิดจากการแปรผันทางพันธุกรรมและโรคทางพันธุกรรม

ความผิดปกติที่เกิดจากการแปรผันทางพันธุกรรมและโรคทางพันธุกรรม
     การแปรผันทางพันธุกรรมที่ทำให้เกิดความผิดปกติในร่างกายของสิ่งมีชีวิต โดยส่วนใหญ่แล้วจะเป็นการแปรผันทางพันธุกรรมที่เกิดกับยีนหรือสารพันธุกรรม ในส่วนที่เป็นตัวกำหนดลักษณะของสิ่งมีชีวิต ซึ่งการแปรผันเหล่านี้จะส่งผลให้เกิดความผิดปกติของการถอดรหัสพันธุกรรมและ การสังเคราะห์โปรตีนต่าง ๆ โดยความผิดปกติที่เกิดขึ้นนี้อาจเป็นลักษณะที่สามารถสังเกตเห็นได้ง่ายจาก ภายนอกหรืออาจเป็นความผิดปกติที่ไม่สามารถสังเกตเห็นได้จากภายนอกก็ได้
     ลักษณะความผิดปกติที่เป็นลักษณะภายนอกหรือฟีโนไทป์ที่มีการแสดงออกให้เห็น อย่างชัดเจน จะพบได้ในการเปลี่ยนแปลงลักษณะทางพันธุกรรมที่เกิดขึ้นในกรณีของคู่ยีนที่ เป็นโฮโมโลกัสโครโมโซม หรือคู่ของยีนที่ควบคุมลักษณะเดียวกัน โดยส่วนใหญ่ลักษณะความผิดปกติที่เกิดขึ้นจะเป็นลักษณะบนยีนด้อย ซึ่งมีโอกาสแสดงออกน้อย ลักษณะความผิดปกติทางพันธุกรรมหรือโรคทางพันธุกรรมที่สามารถพบเห็น ได้แก่ ผิวเผือก กลุ่มอาการดาวน์ และธาลัสซีเมีย เป็นต้น 
     ส่วนลักษณะความผิดปกติที่เป็นลักษณะภายในร่างกายที่ไม่สามารถเห็นได้จากภาย นอก มักจะเป็นความผิดปกติที่เกิดกับยีนควบคุมการสร้างสารชีวโมเลกุลที่เป็นตัว กลางหรือเป็นสารที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการต่าง ๆ ในร่างกายทั้งที่เป็นกระบวนการเมแทบอลิซึมและกระบวนการแคทาบอลิซึม เช่น ความผิดปกติในยีนควบคุมการสังเคราะห์เอนไซม์อินซูลินจะทำให้เกิดโรคเบาหวาน (Diabetes) ได้ เป็นต้น
     ความผิดปกติที่เกิดขึ้นในยีนจะสามารถถูกถ่ายทอดผ่านทางเซลล์สืบพันธุ์ไปสู่ รุ่นลูกหลานได้ โดยสามารถจำแนกลักษณะการถ่ายทอดยีนที่ผิดปกติได้เป็น 2 กลุ่ม ตามประเภทของโครโมโซมที่นำพายีนนั้นได้ ดังนี้
     1)  การถ่ายทอดลักษณะบนออโตโซมหรือโครโมโซมร่างกาย คือ การที่ยีนที่ผิดปกติเป็นยีนที่อยู่บนโครโมโซมร่างกาย เป็นยีนด้อยหรือลักษณะด้อย ในกรณีเช่นนี้การถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรมที่เป็นลักษณะด้อยและมีความผิด ปกติจะมาจากทั้งพ่อและแม่ โดยมีโอกาสเกิดความผิดปกติในเพศชายและเพศหญิงใกล้เคียงกัน ลักษณะความผิดปกติเหล่านี้ ได้แก่ โรคธาลัสซีเมีย ลักษณะผิวเผือก และเซลล์เม็ดเลือดแดงเป็นรูปเคียว เป็นต้น
     2)  การถ่ายทอดลักษณะบนโครโมโซมเพศ คือ การที่ยีนที่ผิดปกติเป็นยีนบนโครโมโซมเพศ ซึ่งหากอยู่บนโครโมโซมเพศหญิงหรือโครโมโซม X จะเรียกว่า x-linked gene ลักษณะความผิดปกติเหล่านี้ ได้แก่ ตาบอดสี และอาการเลือดไหลไม่หยุด (haemophilia) แต่ถ้ายีนที่ผิดปกติเป็นยีนที่อยู่บนโครโมโซมเพศชายหรือโครโมโซม Y จะเรียกว่า y-linked gene ลักษณะความผิดปกติเหล่านี้ ได้แก่ การมีขนยาวที่ใบหู นิ้วเท้ามีพังพืด และผิวหนังมีสะเก็ดดำทั้งตัว เป็นต้น ดังนั้นยีนผิดปกติที่อยู่บนโครโมโซมเพศนี้จึงมีโอกาสแสดงลักษณะผิดปกติได้ แตกต่างกันไปในแต่ละเพศ นอกจานี้ยังมีลักษณะที่อยู่บนโครโมโซมร่างกายบางลักษณะที่เพศมีอิทธิพลต่อ การแสดงออกได้ เช่น ลักษณะหัวล้าน เป็นต้น
     จากความรู้ที่ว่าลักษณะทางพันธุกรรมที่ผิดปกตินี้สามารถถ่ายทอดไปสู่รุ่นลูก หลานได้ จึงทำให้ในปัจจุบันมีการศึกษาและหาแนวทางป้องกันเพื่อไม่ให้มีการถ่ายทอด ลักษณะที่ไม่ต้องการไปสู่รุ่นลูกหลาน ตลอดจนมีการศึกษาเพื่อหาวิธีการรักษาความผิดปกติซึ่งเกิดจากพันธุกรรมเหล่า นี้มากขึ้น
     ปัจจุบันจะใช้วิธีการป้องกันเป็นแนวทางหลักเพื่อควบคุมความผิดปกติทางพันธุ กรรม ซึ่งวิธีหนึ่ง คือ การตรวจสอบพันธุกรรมที่มีความผิดปกติของคู่สมรสเพื่อหลีกเลี่ยงการแต่งงาน ของผู้มีพันธุกรรมผิดปกตินอกจากนี้ยังมีการศึกษาถึงวิธีการรักษาความผิดปกติ ทางพันธุกรรมด้วยการแก้ไขเปลี่ยนแปลงยีนผิดปกติหรือตัดต่อยีนผิดปกติให้ แสดงออกเฉพาะลักษณะที่ต้องการ วิธีนี้เรียกว่า ยีนบำบัด (gene therapy) ซึ่งจะมีการนำไปใช้รักษาโรคต่าง ๆ เช่น เบาหวาน (diabetes) นอกจากนั้นยังมีการศึกษาวิธีการใช้สายอาร์เอ็นเอสายสั้น ๆ (short interference RNA; siRNA) เพื่อไปขัดขวางการแสดงออกของยีนที่ไม่ต้องการ หรือขัดขวางการแสดงออกของลักษณะที่ผิดปกติไม่ให้เกิดขึ้น
     การแปรผันทางพันธุกรรม การกลายพันธุ์ หรือความผิดปกติทางพันธุกรรมต่าง ๆ นอกจากจะมีสาเหตุมาจากความผิดปกติมาตั้งแต่เกิด หรือความผิดปกติที่เกิดในขณะการสร้างเซลล์สืบพันธุ์แล้ว ยังอาจมีสาเหตุจากการได้รับหรือก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของสารพันธุกรรมได้ โดยสารเหล่านี้สามารถแบ่งได้เป็น 3 กลุ่ม ตามลักษณะการก่ออันตรายหรือผลกระทบที่เกิดขึ้นได้ดังนี้
     1.  สารก่อกลายพันธุ์ (mutagen) จัดเป็นกลุ่มของสารที่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงหรือมีผลทำให้พันธุกรรมของ สิ่งมีชีวิตมีการแปรผันไปได้ เช่น สารจำพวกพอลิไซคริก อะไรมาติก ไฮโดรคาร์บอน (Polycyclic Aromatic Hydrocarbon) ซึ่งพบได้ในอาหารปิ้งย่างที่เป็นไขมัน หรือเฮตเทอโร เอมีน (Heterocyclic Amines) ที่เกิดจากการเสียสภาพของโปรตีน เป็นต้น
     2.  สารก่อมะเร็ง (carcinogen) จัดเป็นกลุ่มของสารที่ก่อให้เกิดเซลล์หรือร่างกายเกิดเนื้องอกและมะเร็งใน ที่สุด ได้แก่ ไดออกซิน สารพิษแอลฟลาทอกซิน (aflatoxin) สีผสมอาหารเป็นประเภทอโซดาย (Azodye) และอะโรมาติก เอมีน (Aromatic amine) เป็นต้น
     3.  สารก่อลูกวิรูป (teratogen) จัดเป็นกลุ่มของสารที่ก่อให้เกิดความผิดปกติต่อตัวอ่อนหรือทารกในครรภ์ซึ่ง สารเหล่านี้ ได้แก่ สารกำจัดแมลงชนิดต่าง ๆ เช่น คลอเดรน (chlordane) มาลาไทออน (malathion) และคาร์บามิว (carbamyl) เป็นต้น
ที่มาและได้รับอนุญาตจาก : 
ดร.ฤทธิ์ วัฒนชัยยิ่งเจริญ . ชีวิตกับสิ่งแวดล้อมสิ่งมีชีวิตกับกระบวนการดำรงชีวิต . พิมพ์ครั้งที่ 1 . กรุงเทพ ฯ : อักษรเจริญทัศน์

  Link     https://www.trueplookpanya.com

++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++=

++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

อัพเดทล่าสุด