ยารักษาโรครูมาตอยด์ แพทย์ที่เก่งที่สุด เฉพาะทาง โรครูมาตอยด์ สมุนไพรรักษาโรครูมาตอยด์


7,053 ผู้ชม


ยารักษาโรครูมาตอยด์ แพทย์ที่เก่งที่สุด เฉพาะทาง โรครูมาตอยด์ สมุนไพรรักษาโรครูมาตอยด์

            ยารักษาโรครูมาตอยด์


โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ (Rheumatoid arthritis)

โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ (Rheumatoid arthritis)
นพ. อนวรรถ ซื่อสุวรรณ
อายุรแพทย์โรคข้อและรูมาติสซั่ม แพทย์ที่ปรึกษา รพ.วิภาวดี

โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์คืออะไร?
     โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ เป็นโรคข้ออักเสบเรื้อรังชนิดหนึ่ง ผู้ป่วยจะมีข้ออักเสบพร้อมกันหลายๆ ข้อ เมื่อข้ออักเสบเป็นเวลานานข้อจะถูกทำลาย ทำให้ข้อผิดรูป และเกิดความพิการตามมาได้ นอกจากอาการทางข้อแล้ว ผู้ป่วยบางรายอาจมีอาการแสดงในอวัยวะอื่นๆ นอกจากข้อได้ด้วย
สาเหตุการเกิดโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์คืออะไร?
     สาเหตุของการเกิดโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ยัง ไม่เป็นที่ทราบแน่ชัด จากการศึกษาพบว่ามีปัจจัยหลายประการที่มีส่วนเกี่ยวข้อง ได้แก่ ปัจจัยทางพันธุกรรม ปัจจัยทางการติดเชื้อ ปัจจัยทางด้านฮอร์โมนเพศ และปัจจัยทางระบบภูมิต้านทาน
ปัจจุบันเชื่อว่า การเกิดโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ จำเป็นต้องอาศัยองค์ประกอบหลายประการ คือ ผู้ป่วยมีปัจจัยทางพันธุกรรมซึ่งเอื้อต่อการเกิดโรค และได้รับการกระตุ้นด้วยปัจจัยต่างๆ
อาการที่สำคัญในโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์มีอะไรบ้าง?

     อาการที่สำคัญ ได้แก่ ข้ออักเสบจำนวนหลายข้อ โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่ข้อมือและข้อนิ้วมือ ผู้ป่วยจะมีอาการปวดข้อตลอดเวลาไม่ว่าจะใช้ข้อทำงานหรือไม่ก็ตาม และมีอาการข้อฝืดขัดหลังการตื่นนอนตอนเช้า นอกจากอาการที่ข้อแล้ว อาการในระบบอื่นที่อาจพบได้ เช่น ไข้ต่ำๆ อาการอ่อนเพลีย ปุ่มรูมาตอยด์ อาการปากแห้งตาแห้ง เป็นต้น เมื่อมีข้ออักเสบ ข้อจะสูญเสียหน้าที่การทำงาน ความสามารถในการเคลื่อนไหวข้อลดลง เมื่อข้อมีการอักเสบเป็นระยะเวลานานข้อจะถูกทำลาย และผิดรูป ผู้ป่วยโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์เมื่อมีอาการเต็มที่แล้วการให้การวินิจฉัยทำ ได้ไม่ยาก เนื่องจากผู้ป่วยจะมีข้ออักเสบหลายข้อ ส่วนใหญ่ในข้อเล็กๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่มือและเท้า มีการกระจายของข้อที่อักเสบแบบเหมือนกันทั้ง 2 ข้าง ร่วมกับพบลักษณะข้อผิดรูป แต่ในระยะแรกผู้ป่วยอาจมีอาการนำได้หลายแบบซึ่งในบางครั้งทำให้ยากในการวิ นิจฉัย
โรคที่มีอาการเลียนแบบหรือคล้ายโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์มีอะไรบ้าง?

     โรคข้ออักเสบที่คล้ายโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ ได้แก่ โรคเอสแอลอี (SLE) โรคข้ออักเสบ SNSA โรคเก๊าท์ โรคข้ออักเสบติดเชื้อ โรคข้ออักเสบที่พบร่วมกับโรคมะเร็ง เป็นต้น
ทำไมจึงต้องทำการตรวจทางห้องปฏิบัติการในผู้ป่วยโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์บ่อยๆ?
     การตรวจทางห้องปฏิบัติการในผู้ป่วยโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์มีความจำเป็น เพื่อใช้ในการวินิจฉัยโรค ใช้ประเมินความรุนแรงของโรค ใช้ในการประเมินผู้ป่วยก่อนพิจารณาเลือกใช้ยา ใช้ในการติดตามการตอบสนองต่อการรักษา และการติดตามผลข้างเคียงที่อาจจะเกิดขึ้นระหว่างการรักษา
รักษาโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ได้อย่างไร?
     การรักษาโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ประกอบด้วยองค์ประกอบ 3 ประการร่วมกัน ได้แก่ การรักษาด้วยวิธีการที่ไม่ใช้ยา การรักษาด้วยวิธีการใช้ยา และการรักษาด้วยการผ่าตัด
1. การรักษาด้วยวิธีการไม่ใช้ยา
     ผู้ป่วยควรมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโรค การปฏิบัติตัว และการใช้ยา ผู้ป่วยไม่ควรใช้ข้อทำงานหนักมากเกินไป ควรพักผ่อนอย่างเพียงพอ นอกจากนี้วิธีการทางเวชศาสตร์ฟื้นฟูมีส่วนสนับสนุนสำคัญ ในการช่วยรักษาและฟื้นฟูสภาพ ทำให้ผู้ป่วยปวดข้อน้อยลงและช่วยเหลือตัวเองได้มากขึ้น การปรับสภาพแวดล้อมภายในบ้านอาจมีความจำเป็น เช่น การปรับก๊อกน้ำเป็นชนิดใช้มือปัดแทนชนิดใช้มือหมุน การอาบน้ำด้วยฝักบัวแทนการใช้ขัน เป็นต้น
2. การรักษาด้วยวิธีการใช้ยา
     ปัจจุบันความรู้ความเข้าใจในโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ดีขึ้น มีการพัฒนาวิธีการรักษาโดยการใช้ยาหลายขนานร่วมกัน ทำให้ควบคุมข้ออักเสบได้ดีขึ้น ลดการทำลายข้อ โอกาสที่จะเกิดความพิการเมื่อเทียบกับในอดีตพบว่าลดลงอย่างชัดเจน ยาที่ใช้ในการรักษาประกอบด้วยยาหลายกลุ่ม ดังนี้ ยาต้านการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ เช่น ibuprofen, naproxen, indomethacin และ diclofenac เป็นต้น ยากลุ่มนี้มีคุณสมบัติบรรเทาปวดและลดการอักเสบ แต่มีผลข้างเคียงที่อาจพบได้ เช่น การระคายเคืองกระเพาะอาหาร ตับอักเสบ อาการบวมน้ำ ความดันโลหิตสูง และเลือดออกแล้วหยุดยาก เป็นต้น การรับประทานยาในกลุ่มนี้ควรรับประทานหลังอาหารทันที ในปัจจุบันมีการพัฒนายากลุ่มใหม่ซึ่งมีผลข้างเคียงต่อระบบทางเดินอาหารน้อย กว่ายาต้านการอักเสบเดิม แต่ประสิทธิภาพบรรเทาปวดและลดการอักเสบเท่าเดิม ยากลุ่มนี้ เช่น meloxicam, celecoxib และ etoricoxib เป็นต้น
     ยาต้านรูมาติสซั่มที่ปรับเปลี่ยนการดำเนินโรค ยาในกลุ่มนี้ไม่มีฤทธิ์ในการบรรเทาอาการปวดโดยตรง แต่จะออกฤทธิ์ทำให้เซลล์ก่อการอักเสบหลั่งสารก่อการอักเสบลดลง ทำให้ข้ออักเสบลดลง ควบคุมโรคได้ดีขึ้น เนื่องจากยาไม่ได้ออกฤทธิ์บรรเทาปวดโดยตรงจึงต้องรอเวลายาออกฤทธิ์หลาย สัปดาห์หรือหลายเดือนแล้วแต่ชนิดของยา ยากลุ่มนี้มีหลายชนิด เช่น chloroquine, sulfasalazine, methotrexate, gold salt, และ leflunomide เป็นต้น ยากลุ่มนี้มีผลข้างเคียงที่อาจพบได้แตกต่างกันแล้วแต่ชนิดของยา เช่น ผลข้างเคียงต่อจอประสาทตา ตับอักเสบ กดไขกระดูก และพังผืดปอด เป็นต้น ดังนั้นการใช้ยาเหล่านี้ควรอยู่ในการดูแลของแพทย์อย่างใกล้ชิด
     ยาคอร์ติโคสเตียรอยด์ หรือยาสเตียรอยด์ เป็นยาที่ระงับการอักเสบได้รวดเร็วและมีประสิทธิภาพดี แต่ผลข้างเคียงมาก เช่น ผิวหนังบาง น้ำหนักขึ้น ภาวะกระดูกบาง ต้อกระจก กระดูกขาดเลือด เป็นต้น ปัจจุบันแพทย์พยายามหลีกเลี่ยงการใช้ยานี้ อาจใช้เฉพาะผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรง หรือเพื่อควบคุมโรคในการรักษาช่วงแรกซึ่งยาในกลุ่มต้านรูมาติสซั่มที่ปรับ เปลี่ยนการดำเนินโรคยังไม่ออกฤทธิ์ เมื่อควบคุมโรคได้ดีแล้วก็จะลดขนาดยาและหยุดยาให้ได้เร็วที่สุด
     ยาต้านสารซัยโตไคน์ ในปัจจุบันพบว่าสารก่อการอักเสบที่สำคัญในโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์คือสารซัยโต ไคน์ ซึ่งมีคุณสมบัติในการกระตุ้นกระบวนการอักเสบต่างๆ จึงมีการพัฒนายาต้านสารซัยโตไคน์ขึ้น ตัวอย่างยาในกลุ่มนี้ เช่น infliximab, etanercept และ adalimumab เป็นต้น ยาในกลุ่มนี้มีประสิทธิภาพในการรักษาโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ได้ดีมาก ลดการอักเสบได้รวดเร็ว และยับยั้งการทำลายข้อได้ สามารถใช้ในผู้ป่วยซึ่งไม่ตอบสนองต่อยาต้านรูมาติสซั่มที่ปรับเปลี่ยนการ ดำเนินโรค ผลข้างเคียงที่อาจพบได้คือ อาจก่อให้เกิดการติดเชื้อวัณโรคแทรกซ้อนได้ การรักษาด้วยยาในกลุ่มนี้มีค่าใช้จ่ายสูง
3. การรักษาด้วยการผ่าตัด 
    
การ รักษาด้วยการผ่าตัดเป็นการรักษาที่สำคัญอีกวิธีหนี่งในการรักษาผู้ป่วยโรค ข้ออักเสบรูมาตอยด์ มีส่วนช่วยแพทย์ให้ดูแลผู้ป่วยได้ดียิ่งขี้น การผ่าตัดในผู้ป่วยโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ เช่น การผ่าตัดลอกเยื่อบุข้อ การผ่าตัดเปลี่ยนข้อเทียม การผ่าตัดซ่อมแซมกรณีข้อผิดรูป เป็นต้น 
     ในปัจจุบันมีความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์การแพทย์มากขึ้น ทำให้ผลการรักษาโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ดีขึ้นกว่าเดิมมาก ช่วยลดความทุกข์ทรมาน ลดความพิการ และเพิ่มคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ อย่างไรก็ตามจำเป็นต้องอาศัยการ วินิจฉัยและการรักษาตั้งแต่ระยะแรกของโรค ความเข้าใจโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ และการปฏิบัติตัวที่ถูกต้องของผู้ป่วย

Link       https://www.vibhavadi.com

++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++


               แพทย์ที่เก่งที่สุด เฉพาะทาง โรครูมาตอยด์

ชมรมเรียนรู้สู้รูมาตอยด์ View my profile

Favourites

Links

Categories

โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ เป็นโรคข้ออักเสบเรื้อรังที่เกิดจากความผิดปกติของระบบภูมิคุมกันของร่างกาย โดยมีการหลั่งสารออกมาทำลายเยื่อบุข้อ ทำให้เยื่อบุข้อมีการอักเสบหนาตัวขึ้น มีการสร้างน้ำไขข้อเพิ่มขึ้น ทำให้เกิดการปวด บวม แดงร้อนที่ข้อและข้อฝืดแข็ง เมื่อกระบวนการอักเสบเกิดขึ้นเรื้อรังและไม่ได้รับการรักษาที่ถูกต้องจะทำ ให้เกิดการทำลายข้อ กระดูก กระดูกอ่อนผิวข้อและส่วนประกอบอื่นๆของข้อ ทำให้ข้อเกิดอาหารผิดรูปได้

นอกจากอาการทางระบบข้อแล้ว ผู้ป่วยบางรายอาจมีอาการแสดงในระบบอื่นๆ นอกระบบข้อได้ด้วย เช่น ตา ประสาท กล้ามเนื้อ เป็นต้น

 

โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์พบได้บ่อยเพียงใด 

            โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์จัดเป็นโรคข้ออักเสบเรื้อรังที่พบบ่อยที่สุด พบได้ตั้งแต่เด็กจนกระทั่งผู้สูงอายุ แต่โดยทั่วไปแล้วจะพบในช่วงอายุ 20-40 ปี พบในเพศหญิงมากกว่าเพศชาย 3-4 เท่า และพบอุบัติการณ์ 1.2 คนต่อประชากร 1,000 คน

 

สาเหตุที่ทำให้เกิดโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ 

            ยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัด อาจเกี่ยวข้องกับลักษณะทางพันธุกรรมบางอย่างที่เสี่ยงต่อการเกิดโรคร่วมกับปัจจัยสิ่งแวดล้อมภายนอก เช่น การติดเชื้อไวรัส เชื้อแบคทีเรีย และความเครียด เป็นต้น

อาการของโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์เป็นอย่างไร 

            อาการแสดงทางข้อ 

  • มีไข้ต่ำ ๆ อ่อนเพลีย เบื่ออาหาร น้ำหนักลด
  • มีข้ออักเสบหลาย ๆ ข้อ พร้อมกัน ทั้งข้อเล็กและข้อใหญ่ มักเป็นที่ข้อมือ ข้อนิ้วมือ ข้อเท้า ข้อนิ้วเท้า ข้อศอก ข้อไหล่ ข้อเข่าทั้งสองข้าง มีอาการปวด บวม และกดเจ็บบริเวณข้อ
  • ข้อฝืดตึงขยับลำบาก โดยเฉพาะตอนตื่นนอนตอนเช้านานกว่า 30 นาที และอาการปวดตึงมากขึ้นเวลาอากาศเย็น

อาการแสดงนอกข้อ

  • ตรวจพบปุ่มรูมาตอยด์ใต้ผิวหนัง บริเวณข้อศอก ท้ายทอย หลังมือ และเท้า
  • หลอดเลือดอักเสบ เยื่อหุ้มหัวใจอักเสบ เยื่อหุ้มปอดอักเสบ หรือ ปอดอักเสบชนิดมีใยพังผืดแทรกในปอด
  • ปากแห้ง ตาแห้ง เยื่อบุตา หรือตาขาวอักเสบ
  • ชาบริเวณฝ่ามือ

แพทย์ให้การวินิจฉัยว่าเป็นข้ออักเสบรูมาตอยด์ได้อย่างไร 

  • จากการซักประวัติและการตรวจร่างกายทางข้อ 
  • ตรวจเอ๊กซเรย์บริเวณมือ 2 ข้าง 
  • ตรวจเลือด 

แนวทางการรักษาข้ออักเสบรูมาตอยด์ 

            เนื่องจากโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์เป็นโรคเรื้อรัง ไม่หายขาด การรักษาจะมุ่งเน้นที่ลดการอักเสบของข้อ บรรเทาอาการปวดข้อ ชะลอหรือยับยั้งการทำลายข้อ และจุดประสงค์ในการรักษาโรคระยะยาวคือควบคุมอาการโรคให้อยู่ในระยะสงบเพื่อไม่ให้โรคทำลายข้อ แม้วิธีการรักษาอาจมีผลข้างเคียงได้บ้าง แต่คุณประโยชน์ที่ได้รับมีเหนือกว่าอาการข้างเคียงที่เกิดขึ้น

การรักษาด้วยยา 

  1. ยาแก้ปวดและยาต้านอักเสบ

ยาในกลุ่มนี้จะช่วยบรรเทาอาการปวดและการอักเสบ แต่จะไม่มีผลต่อการดำเนินโรค คือโรคยังคงดำเนินไปเรื่อย ๆ ทำให้ข้อมีความเสียหายต่อไป

        ยาแก้ปวด ได้แก่ พาราเซตามอล (Paracetamol) และทรามาดอล (Tramadol) ยากลุ่มนี้ไม่มีผลลดการอักเสบของข้อ มีฤทธิ์เพียงลดอาการปวดเท่านั้น

ผลข้างเคียงของยาทรามาดอล  

คือมึนศีรษะ เวียนศีรษะ คลื่นไส้ อาเจียนได้ ถ้ามีอาการก็ให้ลดขนาดรับประทานลง ถ้ายังมีอาการอีกให้หยุดยา และมาพบแพทย์ เพื่อรักยาแก้ปวดตัวอื่น

        ยาต้านการอักเสบหรือยา NSAIDs (เอ็นเสด) ยากลุ่มนี้บางชนิดออกฤทธิ์เร็วทันทีที่ใช้ และหมดฤทธิ์เร็ว บางชนิดออกฤทธิ์ช้าแต่อยู่นาน ยากลุ่มนี้ ได้แก่ ไดโคลฟิแนค (Diclofenac) , นาพร็อกซิน (Naproxen) , ไอบูโปรเฟ็น (Ibuprofen)

ผลข้างเคียงของยาต้านการอักเสบ 

  • เกิดระคายเคืองทางเดินอาหาร เช่น จุกแน่น แสบท้อง จึงควรรับประทานยาพร้อมอาหาร และดื่มน้ำตามมาก ๆ แพทย์อาจให้ยาลดกรดในกระเพาะควบคู่ไปด้วย
  • ผื่นแพ้ยา
  • เลือดหยุดยากเมื่อมีบาดแผล
  • ไตทำงานบกพร่อง โดยเฉพาะผู้ป่วยที่มีโรคไตอยู่ก่อนหรือผู้สูงอายุ

 

  1. ยาปรับสภาพข้อ

เป็นยาที่ช่วยควบคุมกระบวนการอักเสบของข้อ ปรับเปลี่ยนการทำงานของระบบภูมิคุ้มกันที่ผิดปกติ ยากลุ่มนี้เป็นยาที่ออกฤทธิ์ช้า อาจต้องใช้เวลา 2-3 เดือนจึงจะเห็นผล ยาที่ใช้ส่วนใหญ่ ได้แก่

  • คลอโรควิน (Chloroquine)
  • ฮัยดร๊อกซี่คลอโรควิน (Hydroxychloroquine)
  • เมโธเทร็กเซท (Methotrexate)
  • ซัลผาซาลาซีน (Sulphasalazine) เป็นต้น

ผลข้างเคียงของยากลุ่มนี้

  • คลื่นไส้ อาเจียน ปวดท้อง
  • ผื่นแพ้ยา หรือ สีผิวคล้ำขึ้น
  • มีผลต่อการทำงานของไขกระดูกและตับ แพทย์จึงต้องเจาะเลือดดูเป็นระยะ ๆ
  • ยาบางตัว เช่น คลอโรควิน (Choloroquine) และฮัยดร๊อกซี่ คลอโรควิน (Hydroxychloroquine) เมื่อใช้ติดต่อกันเป็นเวลานานจะมีผลต่อการมองเห็น แพทย์จึงต้องให้ตรวจตาทุก 6 เดือน หรือปีละครั้ง
  • หากมีการตั้งครรภ์หรือประสงค์จะตั้งครรภ์ควรบอกแพทย์เนื่องจากยาบางตัวจะมีผลต่อการพัฒนาของทารกในครรภ์ได้ เช่น ยาเมโธเทร็กเซท (Methotrexate)
  1. ยาสเตียรอยด์

เป็นยาที่ทำให้อาการข้ออักเสบดีขึ้นเร็วที่สุดและลดอาการอักเสบได้เร็ว แต่ไม่ได้ยับยั้งการทำลายข้อ (เป็นยาที่มักผสมในยาหม้อ ยาลูกกลอน ยาสมุนไพร ยาชุดเกือบทุกชนิด) ยาสเตียรอยด์ที่ใช้ ได้แก่เพร็ดนิโซโลน (Preddisolone)

ผลข้างเคียงเมื่อใช้ติดต่อกันนาน ๆ

  • อ้วน หน้าบวม
  • ผิวบาง
  • กระดูกพรุน
  • มีโอกาสเป็นเบาหวาน ความดันโลหิตสูง
  • ภูมิต้านทานต่ำ ทำให้เสี่ยงต่อการติดเชื้อได้ง่าย
  • หัวกระดูกตะโพกยุบจากการขาดเลือด

 

  1. สารชีวภาพ (Biological agents)

เป็นสารกลุ่มใหม่ที่เพิ่งนำเข้ามาใช้ในประเทศไทยเมื่อไม่นานมานี้เอง เป็นสารที่มีฤทธิ์ยับยั้งสารที่ก่อให้เกิดการอักเสบในโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ ยากลุ่มนี้มีราคาค่อนข้างสูง ได้แก่ ยาอีทาเนอร์เซปท์ (Etanercept) , ยาอินฟลิซิแมบ (Infliximab) ยากลุ่มนี้ใช้โดยวิธีการฉีดเข้าเนื้อเยื่อใต้ผิวหนัง หรือฉีดเข้าหลอดเลือดดำ

 

การรักษาทางเวชศาสตร์ฟื้นฟู

            นอกจากการรักษาโดยการใช้ยาแล้ว การรักษาทางเวชศาสตร์ฟื้นฟูก็มีบทบาทสำคัญในการลดอาการปวด ป้องกันและลดภาวะข้อผิดรูปข้อติดแข็ง เพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อที่เกี่ยวข้อง ซึ่งจะทำให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น โดยแบ่งการรักษาทางเวชศาสตร์ฟื้นฟูตามระยะการอักเสบของข้อ คือ

1.ระยะข้ออักเสบเฉียบพลัน

ในระยะนี้จะมีอาการปวดข้ออย่างมาก มีอาการบวม แดงและร้อนบริเวณข้อชัดเจน การรักษาเวชศาสตร์ฟื้นฟูในระยะนี้คือ

1.1        เน้นให้พักข้อ เพื่อไม่ให้ข้ออักเสบมากขึ้น กล่าวคือ

  • ในกรณีที่มีการอักเสบที่ข้อมือหรือข้อนิ้วมือ ให้ละเว้นหรือลดกิจกรรมที่ต้องใช้มือ
  • ถ้ามีการอักเสบที่ข้อเข่าหรือข้อเท้า ให้ละเว้นการเดินมาก ๆ หรือใช้ไม้เท้าช่วยเพื่อลดการรับน้ำหนักของข้อ
  • ถ้ามีอาการปวดข้ออย่างมากหรือปวดหลายข้อ แนะนำให้นอนพัก

1.2        ประคบข้อด้วยความเย็น

1.3        ไม่จำเป็นต้องบริหารข้อหรือกล้ามเนื้อในระยะนี้

2.ระยะข้ออักเสบเรื้อรัง

ในระยะนี้การอักเสบของข้อลดลง แต่ยังมีอาการปวด บวม และข้อฝืดตึง เพื่อเป็นการป้องกันไม่ให้มีอาการข้อติดแข็ง ข้อผิดรูป รวมทั้งเพื่อเพิ่มกำลังกล้ามเนื้อรอบ ๆ ข้อ ป้องกันกล้ามเนื้อลีบ จึงต้องทำการออกกำลังกายบริหารข้อเช้า – เย็น และเพื่อให้บริหารข้อได้ง่ายขึ้น ควรประคบอุ่นหรือแช่น้ำอุ่นให้กับข้อครั้งละประมาณ 10 นาทีก่อน (เนื่องจากความร้อนจะช่วยยืดเอ็น คลายกล้ามเนื้อทำให้ข้อเคลื่อนไหวได้สะดวก และลดอาการปวดข้อ)

3.ระยะข้ออักเสบสงบหรือไม่มีอาการปวดบวมที่ข้อ

ในระยะนี้สามารถออกกำลังกายได้ตามกำลังเหมาะสม แต่ไม่ควรเป็นการออกกำลังกายที่เพิ่มแรงกระแทกกับข้อ การออกกำลังกายที่สามารถทำได้ เช่น ปั่นจักรยาน แอโรบิค ว่ายน้ำ เดิน เป็นต้น

การดูแลตนเองในผู้ป่วยโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์

1     รับประทานยาในเวลาที่แพทย์สั่งทุกวัน หรือทุกสัปดาห์ ถ้าลืมในวันนั้นให้รับประทานในวันถัดไป หรือทันทีที่นึกได้

2     ไม่ควรเปลี่ยนแปลงขนาดของยาที่รับประทานเอง เว้นแต่แพทย์สั่ง

3     เมื่ออาการของโรคดีขึ้นแล้ว อย่าหยุดยาเอง เนื่องจากแม้อาการอักเสบจะหายไปแล้วแต่การดำเนินดรคยังคงอยู่ ข้ออาจมีการถูกทำลายไปเรื่อย ๆ ทำให้เกิดความพิการของข้อได้

4     หมั่นไปพบแพทย์อย่างสม่ำเสมอตามแพทย์นัด เพื่อที่แพทย์จะได้ประเมินผลและปรับการรักษาได้อย่างถูกต้อง

5     ถ้ามีอาการจากผลข้างเคียงของยา ให้มาพบแพทย์ก่อนวันนัดได้

6     งดการทำงานหนักหรือใช้ข้อช่วงที่ข้อกำลังมีการอักเสบเพราะจะทำให้ข้ออักเสบมากขึ้นได้

7     ควรมีการปรับเปลี่ยนกิจวัตรประจำวันทั้งอาชีพการงานได้เหมาะสม เพราะการใช้งานข้อมากจะทำให้ข้ออักเสบมากขึ้น

8     ปรับเปลี่ยนวัสดุ อุปกรณ์ ของใช้ชีวิตประจำวันให้เหมาะสม

9     ถ้ามีอาการข้อฝืดตึงแข็งหลังตื่นนอนในตอนเช้า ให้แช่น้ำอุ่น หรือประคบอุ่นให้กับข้อประมาณ 10 นาที เนื่องจากความร้อนทำให้กล้ามเนื้อรอบ ๆ ข้อและเอ็นคลายตัว ช่วยให้ขยับข้อได้เร็วขึ้นและยังช่วยลดอาการปวดข้อด้วย

10  การควบคุมน้ำหนักตัว เพื่อลดแรงกดที่บริเวณข้อ

11  พักผ่อนร่างกายและทำให้จิตใจให้สงบ หลับพักผ่อน 6-8 ชั่วโมงต่อวัน

12  ทำการบริหารข้ออย่างเหมาะสมและสม่ำเสมอ

 Link       https://fightingrheumatoid.exteen.com

+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++=


 

                   สมุนไพรรักษาโรครูมาตอยด์


รูมาตอยด์ ...โรคข้อที่คุกคามผู้หญิง (Modernmom)
โดย: นพ.ปริยุทธิ์ เจียรพัฒนาคม
รู มาตอยด์เป็นหนึ่งในโรคข้ออักเสบ 4 ชนิด ซึ่งมีลักษณะอาการใกล้เคียงกับโรคข้ออื่น ๆ ทำให้เกิดความสับสนได้ อย่างเพื่อนของหมอป๊อบคนนี้ครับ
"อ้าว! เพ็ญไม่เจอกันตั้งนาน มาซื้อหนังสือเหรอ" หมอป๊อบทักเพื่อนสมัยมัธยม
"สบายดีเปล่า ครั้งสุดท้ายที่เจอกันก็ตอนเลี้ยงรุ่นกี่ปีแล้วเนี่ย" เพ็ญทักพร้อมกับทำท่าอยากคุยต่อ "กำลังว่าจะโทรไปหาอยู่พอดีเลย ขอปรึกษาหน่อยสิ"
เพ็ญเริ่มเล่าสาเหตุที่มาหาซื้อหนังสือ "เราปวดนิ้วมือทั้งสองข้างมาเกือบสองเดือนแล้ว ปวดสองข้างเท่า ๆ กันอย่างกับเอามือส่องกระจกแล้วความปวดวิ่งผ่านกระจก ได้แน่ะ ที่แปลกยิ่งไปกว่านั้น ตื่นเช้ามาจะปวดนานกว่าชั่วโมง พอได้ยืดเส้นยืดสายหน่อยเดี๋ยวก็ดีขึ้นมาเอง ความจริงนอนพักมาทั้งคืนน่าจะดีขึ้นด้วยซ้ำ วันนี้เลยว่าจะมาหาหนังสือเรื่องปวดข้อมืออ่านเสียหน ่อย"
"อืม! แล้วเคยมีอาการอย่างนี้มาก่อนหรือเปล่า"
"ปีที่แล้วเหมือนจะเป็นอยู่ซักเดือน กำลังจะไปหาหมอก็หายไปเอง สงสัยจะกลัวหมอมั้ง" เพ็ญรีบตอบ
"ขอดูมือหน่อยสิ" หมอป๊อบคลำดูมือของเพ็ญอย่างละเอียด พร้อมทั้งตรวจดูผิวที่แขนและข้อศอก แล้วอธิบายให้เพ็ญฟังว่า "ข้อนิ้วและเนื้อเยื่อรอบ ๆ ข้ออักเสบมากนะ เป็นทุกนิ้วเลย บวมเท่ากันทั้ง 2 ข้างเลย เคยสังเกตหรือเปล่าว่ามีตุ่มนูนที่ศอกขวาด้วย"
เพ็ญทำหน้างง ๆ แล้วลองคลำศอกตัวเอง "เออจริงด้วย ไม่เคยคลำดูเลย แต่ไม่เจ็บนะ"
หมอป๊อบเสริมต่อว่า "สงสัย ว่าจะเป็นโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ โรคนี้พบบ่อยเหมือนกัน จะเป็นกับผู้หญิงมากกว่าผู้ชายถึง 4 เท่า แล้วก็เป็นได้บ่อยในผู้หญิงช่วงอายุ 40 กว่าแบบเพ็ญนี่แหละ แต่บางทีเด็ก หรือคนสูงอายุก็เป็นได้"
ส่วนใหญ่เราจะดูว่า มีอาการที่เข้าเกณฑ์ของโรครูมาตอยด์ไหม จริง ๆ แล้วเกณฑ์ก็เป็นแค่แนวทางเท่านั้น บางครั้งคนไข้อาจยังมีอาการไม่ครบ แต่ตรวจเลือดหรือเอ็กซเรย์แล้วไม่พบเป็นโรคอื่น หมอก็อาจวินิจฉัยว่าคนไข้เป็นโรคนี้ได้"

เพ็ญรีบถามต่อ "แล้วอย่างเราต้องไปตรวจเลือด หรือเอ็กซเรย์หรือเปล่า"
"ก็ดีนะ แต่เราว่าผลเอ็กซเรย์มือของเพ็ญน่าจะอยู่ในเกณฑ์ปกติ เพราะเพิ่งเป็นไม่นาน คนที่เป็นโรคนี้แล้วดูแลรักษาไม่ดี ข้ออาจถูกทำลายจนเสีย เมื่อเอ็กซเรย์จะพบความผิดปกติ แม้ว่าจะมีอาการปวดข้อไม่มากก็ตาม อีกอย่างถ้าคนไข้มีอาการเหนื่อย หมออาจจะเอ็กซเรย์ปอด เพราะอาจมีความผิดปกติที่ปอดด้วย แต่พบไม่เยอะนะอาการแบบนี้"
ฟังหมออธิบายแล้วเพ็ญยิ่งสงสัย จึงถามต่อ "โรคนี้เกิดขึ้นได้ยังไงนะ"
หมอป๊อบเพิ่มเติมว่า "ยัง ไม่พบสาเหตุของโรคนี้ แต่เชื่อว่าอาจเกี่ยวกับฮอร์โมน กรรมพันธุ์ สิ่งแวดล้อม ที่อาจเกี่ยวข้องกับโรคนี้ คือการสูบบุหรี่ ขณะเดียวกันฮอร์โมนก็ส่งผลให้พบโรคนี้ในผู้หญิงมากกว ่าผู้ชาย ส่วนเรื่องกรรมพันธุ์พบว่า คนในครอบครัวเดียวกันมีโอกาสจะป่วยเป็นโรคนี้ได้สูงก ว่าคนทั่ว ๆ ไป ยิ่งเป็นพี่น้องแฝดไข่ใบเดียวกัน ยิ่งมีโอกาสป่วยเพิ่มขึ้น"
"โรคนี้ถ้าเป็นแล้วจะเป็นนาน อย่างน้อยก็เดือนกว่า บางคนเป็นหลายเดือน บางคนนานเป็นปี หรือเป็นตลอดชีวิตก็มี ไม่มีการตรวจที่สามารถบอกได้ว่าจะเป็นนานแค่ไหน ภูมิคุ้มกันของตัวเราที่เป็นตัวการสำคัญในการกระตุ้น ให้อวัยวะต่าง ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่ข้อเกิดการอักเสบ พออักเสบเรื้อรังนาน ๆ โดยที่เราดูแลตัวเองไม่ดี ข้อก็จะผิดรูป ข้อยึด และใช้งานได้น้อยลง"
"ฟังดูน่ากลัวจัง ถ้าเราเป็นควรดูแลตัวเองยังไงดีล่ะ" เพ็ญถาม
"อย่างแรกเลยนะ รีบไปหาหมอเพื่อตรวจว่าเป็นโรคนี้ หรือไม่ คุณหมอจะให้ยามากิน ยาบางตัวลดการอักเสบที่กำลังเกิด บางตัว ทำให้โรคไม่กำเริบหรือทำให้หายจากโรคนี้ ยากลุ่มหลังนี้ ส่วนใหญ่ต้องกินนาน และอาจมีผลข้างเคียงจากการใช้ ฉะนั้นต้องกินยาให้ตรงเวลา และไปตรวจตามที่หมอนัด หมออาจจะให้ตรวจเลือดเป็นระยะ ๆ ด้วย
เรื่องยาอย่าซื้อกินเอง โดยเฉพาะพวกยาชุด ยาลูกกลอนที่ไม่รู้ส่วนผสม เพราะอาจมีสารสเตียรอยด์ อาจจะมีผลข้างเคียงร้ายๆ ตามมาอีกเยอะ
ที่สำคัญก็ต้องดูแลตัวเอง จะพึ่งหมอฝ่ายเดียวคงไม่ได้ ปัญหาสำคัญของโรคนี้คือ เป็นมากจนข้อต่าง ๆ ถูกทำลาย ก่อนรักษาคนไข้ส่วนใหญ่จะปวดข้อมากจนไม่อยากขยับเขยื ้อน เมื่อไม่ได้ใช้งานนาน ๆ บวกกับผิวข้อถูกโรคทำลาย ข้อก็จะเสียไป การกินยาจะลดการอักเสบ และทำให้ไม่ปวด เมื่อ อาการปวดดีขึ้น ต้องรีบบริหารข้อโดยการขยับข้อให้ได้มากที่สุดเท่าที ่จะทำได้ เช่น ที่ข้อมือ เราอาจจะทำท่าพนมมือ แล้วกลับเอาหลังมือมาดันกันตรงกันข้ามกับการพนมมือ ก็จะทำให้ข้อมือขยับได้ดี การกำเหยียดนิ้วมือให้เต็มที่วันละหลาย ๆ ครั้ง ก็เป็นการบริหารข้อนิ้วมือ เป็นต้น
ถ้าเราไม่ฝืนบริหารให้เพียงพอ เป็นหลายปีเข้า อาจต้องลงเอยด้วยการผ่าตัด แต่การผ่าตัดเป็นแค่การปรับให้การใช้งานของข้อดีขึ้น กว่าก่อนผ่าตัดเท่านั้น ไม่ได้ทำให้ข้อกลับมาเหมือนเดิม การช่วยเหลือตัวเองจึงดีที่สุด
ถ้าเป็น แล้วปฏิบัติตัวดี ๆ ก็แล้วกัน โชคดีนะที่เดี๋ยวนี้มียาออกใหม่หลายตัว มีโอกาสทำให้หายปวดเร็ว และหายจากโรคนี้สูง เราแนะนำให้ไปหาหมอสาขารูมาโตโลยี่ที่โรงพยาบาลใกล้บ ้านนะ ได้ผลยังไงส่งข่าวด้วยนะ" หมอป๊อบทิ้งท้าย

ลองสังเกตตัวเองดูหน่อยว่า เสี่ยงกับโรคนี้บ้างหรือเปล่า
ข้อยึดในช่วงเช้าหลังตื่นนอนนานกว่า 1 ชั่งโมงเกือบทุกวัน ติดต่อกันอย่างน้อย 6 สัปดาห์
ข้ออักเสบบวมแดงอย่างน้อย 3 ใน 14 ข้อ ติดต่อกันอย่างน้อย 6 สัปดาห์
ข้อในมืออักเสบ ติดต่อกันอย่างน้อย 6 สัปดาห์
ข้ออักเสบในตำแหน่งที่สมมาตรกัน (เช่น ข้อมือซ้าย สมมาตรกับข้อมือขวา) ติดต่อกันอย่างน้อย 6 สัปดาห์
พบตุ่มนูนใต้ผิวหนังในบริเวณจำเพาะ
ตรวจเลือดพบรูมาตอยด์แฟกเตอร์
เอ็กซเรย์พบผิวข้อถูกทำลาย
* คนไข้ที่มีอาการอย่างน้อย 4 ใน 7 ข้อจะถือว่าเป็นโรคนี้

+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

อัพเดทล่าสุด