https://lentera.uin-alauddin.ac.id/question/gratis-terlengkap/https://old-elearning.uad.ac.id/gampang-menang/https://fk.ilearn.unand.ac.id/demo/https://elearning.uika-bogor.ac.id/tanpa-potongan/https://e-learning.iainponorogo.ac.id/thai/https://organisasi.palembang.go.id/userfiles/images/https://lms.binawan.ac.id/terbaik/https://disperkim.purwakartakab.go.id/storage/https://pakbejo.jatengprov.go.id/assets/https://zonalapor.fis.unp.ac.id/-/slot-terbaik/https://sepasi.tubankab.go.id/2024tte/storage/http://ti.lab.gunadarma.ac.id/jobe/runguard/https://satudata.kemenpora.go.id/uploads/terbaru/
โรครูมาตอยด์ห้ามกินนมเพราะ ยารักษาโรครูมาตอยด์ (arava) ปวดน่องสาเหตุจากการดป็นโรครูมาตอยด์ MUSLIMTHAIPOST

 

โรครูมาตอยด์ห้ามกินนมเพราะ ยารักษาโรครูมาตอยด์ (arava) ปวดน่องสาเหตุจากการดป็นโรครูมาตอยด์


2,097 ผู้ชม


โรครูมาตอยด์ห้ามกินนมเพราะ ยารักษาโรครูมาตอยด์ (arava) ปวดน่องสาเหตุจากการดป็นโรครูมาตอยด์

              โรครูมาตอยด์ห้ามกินนมเพราะ

กินอะไร เลี่ยงอะไร ในโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ (rheumatoid)


โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ (Rheumatoid arthritis)เป็น ความผิดปกติเรื้อรัง ซึ่งระบบภูมิคุ้มกันรุกรานเนื้อเยื่อในร่างกายหลายแห่งโดยเฉพาะส่วนข้อ ทำให้เกิดการอักเสบและทำให้ข้อเสื่อม  อาการแบ่งเป็น 2 ระยะ คือ ระยะที่ไม่มีอาการ ผู้ป่วยจะรู้สึกสบายดี ส่วนระยะที่อาการกำเริบ ผู้ป่วยจะมีอาการเมื่อยล้า เบื่ออาหาร มีไข้ต่ำๆ ปวดกล้ามเนื้อและข้อ     กล้ามเนื้อและข้อเกร็ง(พบมากในช่วงเช้า) ข้อเปลี่ยนเป็นสีแดง บวม ปวด นิ่ม โดยทั่วไปจะเกิดขึ้นทั้ง 2 ข้างของร่างกายสมดุลกัน มักเกิดกับข้อเล็ก  หากทิ้งไว้เรื้อรัง จะลุกลามมีผลทำลายอวัยวะอื่นๆ เช่นปอด หัวใจ เม็ดเลือด ทำให้ต่อมน้ำตาฝ่อ ตาแห้งฝืด ฯลฯ 

จะรับประทานอาหารอะไรได้บ้างที่ไม่มีผลทำให้อาการกำเริบ?

อาหารที่ไม่มีผลกระตุ้นให้เกิดอาการปวดข้อ ที่มีบทความต่างประเทศแนะนำไว้ ได้แก่

  • ข้าวกล้อง
  • ผลไม้ที่ผ่านความร้อน หรือทำแห้ง ได้แก่ เชอรี่ แครนเบอรี่ ลูกแพร์ ลูกพรุน (ยกเว้น ผลไม้ตระกูลส้ม กล้วยลูกพีช หรือมะเขือเทศ)
  • ผักสีเขียว เหลือง และส้ม ที่ผ่านความร้อน ได้แก่ หัวอาร์ติโช้ค หน่อไม้ฝรั่ง บร็อคโคลี่ ผักกาดแก้ว ผักโขม ถั่วฝักยาว มันเทศ มันสำปะหลัง และเผือก เป็นต้น
  • น้ำ ได้แก่ น้ำธรรมดา หรือ โซดา
  • เครื่องปรุงรส ได้แก่ เกลือปริมาณปานกลาง น้ำเชื่อมเมเปิ้ล และสารสกัดวานิลา

ควรหลีกเลี่ยงอาหารอะไรบ้าง?

                อาหารที่มีผลกระตุ้นให้อาการกำเริบ คือ ผลิตภัณฑ์นมทุกชนิด ทั้งจากนมวัวและนมแพะข้าวโพด เนื้อสัตว์ทุกชนิด ข้าวสาลี ข้าวโอ๊ต ข้าวราย ไข่ ผลไม้ตระกูลส้ม มันฝรั่ง มะเขือเทศ ถั่ว กาแฟ

อาหารอื่นที่อาจจะรับประทานได้ หรือควรจะหลีกเลี่ยงเพิ่มเติม มีอะไรบ้าง?

อาหารบางชนิดที่อาจจะกระตุ้นให้อาการกำเริบได้ในบางคน แต่ไม่กระตุ้นอาการในคนกลุ่มใหญ่ เช่น เครื่องดื่มอัลกอฮอล์ กล้วย ช็อกโกแล็ต มอลต์ ไนเตรต หอมใหญ่ ผลิตภัณฑ์ถั่วเหลือง น้ำตาลอ้อย และเครื่องเทศบางชนิด

หมายเหตุ     บทความสั้น เผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับอาหารและโภชนาการ จากภาควิชาอาหารเคมี ลำดับที่ 4

Link   https://www.pharmacy.mahidol.ac.th

++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++


              ยารักษาโรครูมาตอยด์ (arava)

ข้ออักเสบหมายถึงการอักเสบของข้อ  ซึ่งจะมีอาการปวด บวม แดง และร้อนภายในข้อครับ

ข้ออักเสบรูมาตอยด์เป็นการอักเสบเรื้อรังภายในข้อและมักเกิดขึ้นทั้ง 2 ข้าง เช่น ข้อนิ้วมือ ข้อมือ ครับ และการปวดข้อทั้ง 2 ข้างอาจสามารถช่วยแยกจากโรคข้ออักเสบอื่นๆได้อีก

อาการของข้ออักเสบรูมาตอยด์

  • อาการของข้ออักเสบรูมาตอยด์ได้แก่
  • การปวดข้อ และข้อบวม
  • รู้สึกขัดบริเวณข้อ โดยเฉพาะตอนเช้าหลังตื่นนอน

โดยทั่วไปแล้วอาการของโรคปวดข้อรูมาตอยด์จะแตกต่างไปในแต่ละคน โดยส่วนใหญ่อาการปวดข้อมักจะเกิดขึ้นอย่างค่อยเป็นค่อยไปครับ  และมักเกิดในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย  และเกิดขึ้นในทั้งผู้สูงอายุและวัยรุ่นก็ได้ครับ

สาเหตุของโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์
ไม่มีใครทราบครับ  แต่คาดว่าน่าจะเกิดจากหลายๆปัจจัย เช่น พันธุกรรม สิ่งแวดล้อม  โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ดูเหมือนจะมีการเปลี่ยนแปลงในระบบภูมิคุ้มกัน ซึ่งแทนที่จะจัดการทำลายสิ่งแปลกปลอมเข้าสู่ร่างกาย  กลับมีการทำลายที่บริเวณข้อแทน หรือถูกกระตุ้นภูมิคุ้มกันจากการติดเชื้อแบคทีเรีย หรือเชื้อไวรัส

การวิจัยยังบอกสาเหตุที่แน่ชัดไม่ได้ว่าพันธุกรรมมีบทบาทหรือไม่ บางคนถ้ามีญาติเป็นก็มีความเสี่ยงสูงขึ้น

ผลจากโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์
เมื่อระบบภูมิคุ้มกันถูกกระตุ้น  ระบบภูมิคุ้มกันจะเข้าสู่กระแสเลือดและเข้าสู่ข้อ และเยื่อหุ้มข้อที่เรียกว่า Synovium  ระบบภูมิคุ้มกันและเม็ดเลือดขาวก็จะสร้างสารที่ทำลายเนื้อเยื่อรอบข้างออก มา(ซึ่งตามปกติมีไว้เพื่อทำลายเชื้อโรค)  ทำลายกระดูกอ่อนภายในข้อ ทำให้มีการบวมแดง และอักเสบ และมีการสร้างของเหลวภายในข้อมากขึ้น

เมื่อกระดูกอ่อนภายในข้อถูกทำลาย ก็จะมีผลกระทบกับการเคลื่อนไหวของข้อครับ  และมีการเคลื่อนไหวและรูปร่างของข้อที่ผิดปกติ  และการเปลี่ยนแปลงนี้ย้อนกลับไม่ได้นะครับ และเสียรูปร่างไปอย่างถาวร

ในผู้ป่วยโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์จะมีลักษณะข้อมือที่ผิดรูป

การวินิจฉัยโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์
โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์จะมีเกณฑ์การวินิจฉัยอยู่ครับ

  • ปวดข้อนิ้วมือ ทั้ง 2 ข้าง แบบสมมาตรกัน (ปวดข้อนิ้วมือลักษณะที่เหมือนกันทั้ง 2 ข้าง)
  • การเคลื่อนไหวขัด โดยเฉพาะตอนเช้าหลังตื่นนอน
  • บางครั้งอาจพบตุ่มที่เกิดขึ้นตามข้อ
  • X-rays บ่งชี้ว่าเหมือนข้ออักเสบรูมาตอยด์
  • ผลเลือดของข้ออักเสบรูมาตอยด์ (เรียกว่า Rheumatiod factor)เป็นบวก

คนส่วนใหญ่ แต่ไม่ทั้งหมดที่มีผลเลือดรูมาตอยด์เป็นบวกนะครับ  ผลเลือดนี้บางครั้งอาจเป็นบวกได้แม้ว่าจะไม่เป็นโรค  อย่างไรก็ตามการวินิจฉัยจะใช้อาการเป็หลักครับ  ไม่ใช่แค่ผลเลือดอย่างเดียว

ในคนที่เป็นโรครูมาตอยด์อาจมีภาวะซีดได้ครับ  ผลเจาะเลือด ESR ( erythrocyte sedimentation rate) หรือ CRP(C-reactive protein ) อาจสูงกว่าปกติได้ ซึ่ง 2 ตัวนี้จะใช้วัดว่ามีการอักเสบอยู่หรือไม่

บางคนที่เป็นโรครูมาตอยด์อาจพบผลเลือด ANA (Antinuclear antibody test) เป็นบวกได้ครับ

การรักษาโรครูมาตอยด์
มีวิธีการรักษาอยู่หลายอย่างครับ  การใช้ยา  การพักข้อและการออกกำลังกาย ซึ่งการใช้ยาจะช่วยในเรื่องของอาการปวดและพยายามป้องกันไม่ให้เป็นมากขึ้น ครับ

ยาที่ใช้ได้แก่

  • ยาแก้ปวด เช่น แอสไพริน  ไอบูโปรเฟน  นาพรอกเซน
  • ยาเสตียรอยด์ เช่น เพรดนิโซโลน

มียาอยู่กลุ่มหนึ่งครับที่เรียกว่า DMARDs ย่อมากจาก Disease-modifying antirheumatic drugs  เป็นยาที่ใช้รักษาโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ ยานี้จะทำงานโดยกดการทำงานของภูมิคุ้มกันภายในข้อครับ ได้แก่

  • ยารักษาโรคมาเลเรีย Primaquin
  • ยากดภูมิคุ้มกัน เช่น Metrotrexate ,Imuran,Cytoxan ,Cyclosporin
  • ยาอื่นๆ เช่น Azulfidine , Arava , Enbrel , Humira และอื่นๆ

ทำไมการพักข้อและการออกกำลังกายจึงสำคัญ
เพราะระหว่างที่โรคกำเริบมากขึ้นวิธีที่ดีที่สุดที่จะทำให้บรรเทาโรคลงได้ คือการพักข้อครับ  คุณอาจใช้ผ้ายืดมาพันข้อเพื่อให้ลดการเคลื่อนไหวลงก็สามารถทำได้

และเมื่อคุณมีอาการปวดข้อลดลงแล้ว ให้ออกกำลังกายเพื่อเพิ่มการเคลื่อนไหวของข้อและทำให้กล้ามเนื้อรอบข้อแข็งแรง

โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์สามารถรักษาให้หายขาดได้หรือไม่
แม้ว่าจะไม่มีวิธีรักษาให้หายขาด แต่การรักษาก็สามารถช่วยให้ข้อไม่ถูกทำลาย หรือถูกทำลายช้าลงได้ครับ

Link   https://thaifittips.com

+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++


 

               ปวดน่องสาเหตุจากการดป็นโรครูมาตอยด์

ขยับกาย คลายปวดข้อรูมาตอยด์
ข้อมูลสุขภาพ
สุขภาพใจ สุขภาพจิต
โรคหัวใจ
โรคมะเร็ง
เบาหวาน
โคเลสเตอรอล
ไต
สุภาพสตรี
ผู้สูงอายุ
กระดูกและข้อ
ฟัน
โรคอ้วน
เฉพาะด้านอื่นๆ
สารอาหาร
ทั่วไป
 


ไขข้อข้องใจรูมาตอยด์

โรค ปวดข้อรูมาตอยด์ เป็นโรคข้ออักเสบชนิดหนึ่งที่รุนแรง และอาจทำให้พิการได้ โรคนี้จะพบในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย 3 เท่า และส่วนใหญ่จะพบในช่วงอายุ 20-50 ปี

สาเหตุมาจากการอักเสบเรื้อรัง ของเยื่อบุข้อเกือบทุกแห่งทั่วร่างกายพร้อมกัน ร่วมกับมีการอักเสบของพังผืด เส้นเอ็น และกล้ามเนื้อรอบๆ ข้อ เชื่อว่าเป็นผลมาจากระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย มีการตอบสนองอย่างผิดปรกติต่อเชื้อโรค หรือสารเคมีบางอย่าง ทำให้ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายเข้าใจว่า เนื้อเยื่อข้อปรกติเป็นสิ่งแปลกปลอม จึงสร้างกระบวนการกำจัดสิ่งแปลกปลอมขึ้น และส่งผลให้ข้ออักเสบ ซึ่งอาจจะเรียกอีกอย่างได้ว่า แพ้ภูมิตัวเอง (Autoimmune)

สังเกตอาการ

อาการของโรคนี้ จะเป็นแบบค่อยเป็นค่อย ไป เริ่มจากมีไข้ต่ำๆ อ่อนเพลีย เบื่ออาหาร น้ำหนักลด ชาปลายมือปลายเท้า โดยเฉพาะเวลาที่ร่างกายกระทบกับอากาศเย็นๆ หลังจากนั้นจะปวดเมื่อยตามตัวและข้อต่างๆ แล้วจึงมีอาการอักเสบของข้อปรากฏให้เห็น โดยข้อที่เริ่มมีการอักเสบก่อน ได้แก่ ข้อนิ้วมือนิ้วเท้า ข้อมือ ข้อเข่า ข้อศอก ต่อมาจะเป็นข้อไหล่ ส่วนข้อศอกจะปวดพร้อมกันทั้งสองข้าง และข้อจะบวมแดงร้อน นิ้วมือนิ้วเท้าจะบวม ต่อมาอาการอักเสบจะลุกลามไปทุกข้อทั่วร่างกาย

อาการปวดข้อจะมีลักษณะเฉพาะคือ ข้อแข็งขยับลำบาก มักจะเป็นมากในเวลาที่อากาศหนาวเย็น หรือในตอนเช้า พอสายๆ อาการจะทุเลา เข้าใจว่าความกดอากาศที่เปลี่ยนแปลงไป จะส่งผลต่อแรงดันภายในข้อที่เสื่อม โดยอาจไปบีบรัดปลายประสาทที่โผล่ออกมา

อาการปวดข้อจะเป็นอยู่ทุกวันและมากขึ้นๆ เป็นแรมเดือนแรมปี โดยมีบางระยะอาจทุเลาไปได้เอง แต่จะกลับมีอาการกำเริบรุนแรงขึ้นอีก ขณะมีความเครียดหรือขณะตั้งครรภ์ ถ้าข้ออักเสบเรื้อรังอยู่หลายปี ข้อจะแข็งและพิการ นอกจากนี้ ผู้ป่วยยังอาจมีอาการซีด ฝ่ามือแดง มีผื่นหรือตุ่มขึ้นตามผิวหนัง

วิธีดูแลตัวเอง

 
1.
นอกจากจะบำบัดรักษาด้วยการใช้ยา แล้ว ผู้ป่วยควรรักษาทางกายภาพบำบัดร่วมไปด้วย เช่น การใช้น้ำร้อนประคบ การแช่หรืออาบน้ำอุ่น ซึ่งแนะนำให้ทำในช่วงเช้าประมาณ 15 นาที
 
2.
ต้องเคลื่อนไหวข้อ และฝึกกายบริหารเป็นประจำทุกวัน อย่าอยู่นิ่งๆ เพราะยิ่งอยู่นิ่ง ข้อยิ่งแข็งฝืดและขยับยากยิ่งขึ้น ดังนั้นควรฝึกกายบริหารในท่าต่างๆ ท่าละ 10 ครั้ง ทำซ้ำทุก 1-2 ชั่วโมง จะช่วยทำให้ข้อลดความฝืดและเคลื่อนไหวได้ดีขึ้น
 
3.
ผู้ป่วยไม่ควรซื้อยาชุดกินเอง เพราะแม้จะช่วยให้อาการทุเลาได้ แต่ก็อาจเกิดโทษจากยาสเตียรอยด์ หรือยาอันตรายอื่นๆ ที่ผสมอยู่ในยาชุด
 
4.
ควรรู้สมดุลร่างกายของตัวเอง ว่าเมื่อใดควรพักข้อที่อักเสบ และเมื่อใดควรให้ข้อนั้นออกกำลังกาย จะช่วยให้รับมือกับโรคได้ดีขึ้น เช่น เมื่อข้อเกิดการอักเสบรุนแรงขึ้น ให้หยุดการออกกำลังบริเวณข้อทันที และเริ่มออกกำลังใหม่เมื่อการอักเสบลดลงแล้ว
 
5.
การออกกำลังกายในสภาพไร้น้ำหนัก เช่น ว่ายน้ำ เป็นวิธีดีที่ที่สุดสำหรับผู้ป่วยโรคข้ออักเสบ
 
6.
การนวด ถือเป็นอีกวิธีการหนึ่งที่จะช่วยบรรเทาความเจ็บปวดให้ทุเลาลงได้ ส่วนการใช้ยาทาถูนวดต่างๆ ที่ใช้สำหรับแก้ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ เช่น ยาหม่อง จะช่วยให้หายปวดได้ชั่วคราว เช่นเดียวกับการใช้ยาแก้อักเสบในรูปครีม นวดบริเวณรอบๆ ข้อที่มีการอักเสบ ก็จะช่วยบรรเทาอาการอักเสบได้ชั่วคราวเช่นกัน

ห่างไกลรูมาตอยด์ด้วยอาหาร

มีข้อเสนอแนะว่า การได้รับอาหารที่มีสารต้านออกซิเดชั่นในปริมาณเล็กน้อย ได้แก่ ธาตุซีลีเนียม วิตามินซี วิตามินอี และวิตามินเอ จะช่วยลดความเสี่ยงในการเป็นโรคนี้ได้ ดังนั้นอาหารประจำวันควรมีผัก และผลไม้สดในปริมาณที่เพียงพอ เพื่อให้ได้รับวิตามินซีและเบต้าแคโรทีน

ส่วนอาหารที่เป็นแหล่งวิตามินอี ได้แก่ น้ำมันพืช ถั่วเปลือกแข็ง ผลอะโวคาโด และเมล็ดทานตะวัน อาหารที่มีซีลีเนียม ได้แก่ ปลาที่มีไขมันมาก ธัญพืช และไข่ นอกจากนี้ปลาที่มีไขมันมากหรือน้ำมันปลา ยังมีกรดไขมันโอเมก้า-3 ที่อาจช่วยลดการอักเสบภายในร่างกายด้วย

ปัจจุบันยังไม่มีวิธีการรักษาโรคนี้ให้หายขาด ส่วนแผนการรักษาโรคส่วนใหญ่จะผสมผสานหลายวิธีเข้าด้วยกัน ทั้งการใช้ยา การออกกำลังกาย การบำบัดด้วยความร้อนและความเย็น การพักผ่อน และบางรายอาจต้องใช้วิธีผ่าตัดด้วย แต่คำแนะนำที่ดีที่สุดสำหรับป้องกันโรคนี้ คือการดูแลร่างกายให้แข็งแรงมีภูมิต้านทานที่ดีอยู่เสมอ ด้วยการรับประทานอาหารที่เหมาะสม และที่สำคัญต้องหมั่นออกกำลังกายด้วยค่ะ


            Link    https://www.yourhealthyguide.com

+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

อัพเดทล่าสุด