โรคน้ําในหูไม่เท่ากันเกิดจาก อาการโรคน้ําในหูไม่เท่ากัน โรคน้ําในหูไม่เท่ากัน


1,311 ผู้ชม


โรคน้ําในหูไม่เท่ากันเกิดจาก อาการโรคน้ําในหูไม่เท่ากัน โรคน้ําในหูไม่เท่ากัน

              โรคน้ําในหูไม่เท่ากันเกิดจาก

โรคน้ำในหูไม่เท่ากัน เป็นอีกหนึ่งโรคที่คนวัยทำงาน ควรใส่ใจ

เมื่อเช้าตรู่วันอังคาร ดิฉันรู้สึกตัวตื่นตอนตีห้าครึ่ง ระหว่างที่กำลังลุกเพื่อไปเข้าห้องน้ำปรากฎว่า ไม่สามารถทรงตัวได้  และมึนศรีษะมาก คล้าย ๆ บ้านหมุน  ในใจตอนนั้นคิดว่า คงเป็นเพราะลุกขึ้นเร็วเกินไปรึเปล่า  ก็เลยนอนหลับไปอีกรอบ  ตื่นมาอีกทีตอน 6.30 น. อาการก็ยังเหมือนเดิม  ลงไปจัดการให้ลูก ๆ อาบน้ำ ทานข้าว แล้วส่งลูก ๆ ไปโรงเรียน  กะว่าทานยาแก้ปวดหัว แล้วนอนพักผ่อนสักครึ่งวันอาการคงจะดีขึ้น  ปรากฎว่า ตื่นมาก็ยังปวดหัว ลุกขึ้นเดินไม่ไหว ต้องรีบนั่งทันที เพราะบ้านหมุน  ทานยา ทานข้าวต้ม ก็อาเจียรออกหมด เริ่มรู้สึกว่าตัวเองอาการแย่แล้ว ในใจตอนนั้นคิดว่า "ความดันแน่ ๆ "

เนื่อง จากวันนั้น คุณพ่อบ้านไปต่างจังหวัด ดิฉันจึงได้โทรตามให้น้องที่รู้จักกันมารับไปโรงพยาบาล   เมื่อไปถึงปรากฎว่า เดินได้แค่สามสี่ก้าว รู้สึกเซ ๆ เจ้าหน้าที่เลยพารถเข็นมาให้นั่ง แล้วเข็นเข้าห้องฉุกเฉินทันที

หลัง จากคุณหมอซักประวัติ  ก็ให้น้ำเกลือ แล้วฉีดยาแก้เวียนหัวให้ 1 เข็ม  สั่งเจาะเลือดเพื่อตรวจหาสาเหตุ  ปรากฎว่า ผลการตรวจเลือดทุกอย่างออกมาปกติ  ความดันวัดตลอดทุกชั่วโมง ก็ยังอยู่ในช่วงปกติ   คุณหมอเลยฟันธงว่า สาเหตุของอาการที่ดิฉันเป็นทั้งหมดนี้ นั่นคือ "ความดันของน้ำในหูไม่เท่ากัน"

ดิฉันนอนพักผ่อนที่โรงพยาบาล 1 คืน  กินน้ำเกลือไป 1 ถุง คุณหมอก็ให้กลับบ้านได้ พร้อมให้ยามาทานต่อ

ใคร ไม่มาเจอกับตัวเอง ไม่รู้หรอกค่ะว่า อาการเวียนหัวจนบ้านหมุนนั้น มันทรมานขนาดไหน เคยได้ยินแต่คนอื่นเขาพูดกัน พอมาเจอกับตัวเอง ทรมานมาก ๆ เลยค่ะ

ไหน ๆ ก็เกริ่นมาซะยาวแล้ว เพื่อให้เข้าใจได้ดียิ่งขึ้น ดิฉันจึงได้ search หาข้อมูล ไอ้เจ้าโรคน้ำในหูไม่เท่ากันเนี่ย มันคืออะไร  สาเหตุเกิดจากอะไร และมีวิธีการรักษาและป้องกันอย่างไร

มาอ่านไปพร้อม ๆ กันนะค่ะ

สาเหตุของโรคน้ำในหูไม่เท่ากัน
เนื่อง จากหูคนเราประกอบด้วยหูชั้นนอก, หูชั้นกลางและหูชั้นใน หูชั้นในแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ ส่วนมีลักษณะคล้ายก้นหอยทำหน้าที่รับเสียง กับส่วนที่เป็นอวัยวะรูปเกือกม้า 3 อันมารวมกันทำหน้าที่เกี่ยวกับการทรงตัว หูชั้นในนอกจากจะแบ่งตามหน้าที่แล้วยังแบ่งตามโครงสร้างเป็น 2 ส่วน คือ ส่วนที่เป็นกระดูก กับส่วนที่เป็นเยื่อหุ้มภายใน ส่วนที่เป็นกระดูกจะห่อหุ้มส่วนที่เป็นเยื่อหุ้มภายใน ภายในส่วนเยื่อหุ้มภายในจะมีของเหลวอยู่ เมื่อเกิดพยาธิสภาพของโรคมีเนีย ของเหลวที่อยู่ภายในจะคั่งมาก ทำให้การไหลเวียนไม่สะดวก แรงดันที่เพิ่มขึ้นในหูชั้นในจะขัดขวางการทำงานของกระแสประสาทที่เกี่ยวกับ การได้ยินและการทรงตัว ทำให้สูญเสียการได้ยินและสมดุลย์เกิดอาการเวียนศีรษะเมื่อแรงดันมากขึ้นผู้ ป่วยจะรู้สึกตึง ๆ ในหูข้างที่ผิดปกติ

อาการของโรค
- อาการเวียนศีรษะบ้านหมุน เป็นอาการที่พบบ่อยมักพบร่วมกับอาการคลื่นไส้ อาเจียน เหงื่อออกเกิดขึ้นในทันทีทันใด ระยะเวลาอาจจะอยู่นานกว่า 20 นาทีถึง 2-3 ชั่วโมง อาการดังกล่าวมักเป็นรุนแรงแต่ไม่ทำให้หมดสติหรือเป็นอัมพาตเมื่อหายเวียน ศีรษะผู้ป่วยจะรู้สึกเหมือนเป็นปกติ

- หูอื้อ อาจจะเป็นชั่วคราวหรือถาวร ถ้าเป็นระยะแรกการสูญเสียการได้ยินจะเป็นแค่ชั่วคราวหลังจากหายเวียนศีรษะ แล้วการได้ยินจะกลับมาเป็นปกติ แต่ถ้าผู้ป่วยที่มีอาการเวียนบ่อย ๆ หรือเป็นมานานอาการหูอื้อมักจะถาวรบางทีหูหนวกไปเลยก็ได้

- เสียงดังในหู ผู้ป่วยจะมีเสียงดังในหูข้างที่ผิดปกติร่วมด้วย ผู้ป่วยบางคนจะบอกว่ามีเสียงเหมือนจั๊กจั่นหรือจิ้งหรีดร้อง บางคนก็บอกว่าเหมือนเสียงคำรามอยู่ในหูตลอดเวลา เสียงดังในหูอาจเป็นตลอดเวลา หรือเป็นขณะเวียนศีรษะ

- อาการตึง ๆ ภายในหูคล้ายกับมีแรงดัน เกิดจากแรงดันของน้ำในหูชั้นในที่ผิดปกติ

การรักษาทางยา
- ยาขับปัสสาวะ เพื่อลดสภาวะอาการบวมและคั่งของน้ำในหูชั้นใน
- ยาลดอาการเวียนศีรษะและคลื่นไส้อาเจียน ควรใช้ในขณะที่มีอาการเท่านั้น
- ยากล่อมประสาท และยานอนหลับ เพื่อช่วยให้ผู้ป่วยผ่อนคลายและนอนหลับได้เป็นปกติ
- ยาขยายหลอดเลือด ช่วยลดอาการบวมและคั่งของน้ำในหูชั้นใน

นอกจากนี้การปฏิบัติตัวเพื่อให้ผู้ป่วยลดภาวะ อาการของโรคเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่งในชีวิตประจำวัน สิ่งต่าง ๆ เหล่านี้ได้แก่
- ลดภาวะเครียด ควบคุมอารมณ์ให้เบิกบานแจ่มใส และลดงานบางอย่างที่มากจนเกินไป
- ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
- พักผ่อนให้เพียงพอ โดยเฉพาะการนอนหลับ ถ้ามีเสียงรบกวนในหูมากจนทำให้นอนไม่หลับ ข้อแนะนำที่ดีคือเปิดเพลงเบา ๆ ขณะนอนเพื่อกลบเสียงที่รบกวนในหูให้หมดไป
- หลีกเลี่ยงสิ่งต่อไปนี้ คือ ชา กาแฟ เครื่องดื่มประเภทแอลกอฮอล์ การสูบบุหรี่ เพราะสิ่งเหล่านี้จะทำให้อาการแย่ลง
- การบริหารระบบการทรงตัว เป็นการบริหารศีรษะและการทรงตัวทำให้สมองสามารถปรับตัวได้รวดเร็วขึ้น
- พยายามหลีกเลี่ยงสิ่งกระตุ้น เช่น ในที่มีเสียงดัง แสงแดดจ้าหรืออากาศร้อนอบอ้าว เป็นต้น
- จัดสถานที่ที่บ้าน และที่ทำงานให้ปลอดภัย ทางเดินที่เดินเป็นประจำจะต้องปราศจากของมีคม และตกแตกง่าย
- การควบคุมอาหาร โดยลดอาหารที่มีรสเค็มโดยจำกัดเกลือ แนะนำให้เติมเกลือลงในอาหารวันละไม่เกิน 2 กรัม (ประมาณ 1 ช้อนชา)

การรักษาโดยการผ่าตัด จำเป็นในผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาทางยาแล้วไม่ได้ผล

ที่มา :  www.bangkokhealth.com

++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++


                อาการโรคน้ําในหูไม่เท่ากัน

น้ำในหูไม่เท่ากัน โรคอันตรายที่ควรรู้

รู้สึก วิงเวียน รู้สึกหมุน อ่อนแรง  อย่านิ่งนอนใจ ชี้เสี่ยงเป็นได้

 

 

 

                แย่แล้ว แย่แล้ว!! คุณมีอาการเหล่านี้หรือเปล่า ???  รู้สึก วิงเวียน โลกหมุนได้ทั้งใบทั้งๆ ที่หลับตา และเมื่อลืมตาขึ้นก็ยังไม่หยุดหมุน... หรือเริ่มรู้สึกว่าตัวเองกำลังเคลื่อนไหวทั้งที่จริงแล้วคุณกำลังยืน นั่ง หรือนอนอยู่กับที่โดยไม่ได้เคลื่อนไหวใดๆ เลย  และ เริ่มรู้สึกว่าทุกอย่างที่กำลังทำมีการเคลื่อนไหวมากกว่าที่เราขยับจริงแล้ว ละก็ นั่นเป็นสัญญาณเตือนบ่งบอกให้คุฯรู้ว่า ระบบการทรงตัวของร่างกายในหูชั้นใน ซึ่งเป็นระบบที่ช่วยรักษาการทรงตัวของร่างกาย รักษาการมองเห็นให้คงที่ ควบคุมการเคลื่อนไหวของคุณเริ่มมีปัญหาแล้ว และนี่บ่งบอกได้ว่าคุณกำลังเป็น “โรคน้ำในหูไม่เท่ากัน” แล้ว

 

              “โรคน้ำในหูไม่เท่ากัน” เป็น โรคที่แรงดันน้ำในช่องหูชั้นในผิดปกติ ของเหลวที่อยู่ภายในส่วนที่เป็นเยื่อหุ้มภายในจะคั่งมาก ทำให้การไหลเวียนไม่สะดวก แรงดันที่เพิ่มขึ้นในหูชั้นในจะขัดขวางการทำงานของกระแสประสาทที่เกี่ยวกับ การได้ยินและการทรงตัว ทำให้สูญเสียการได้ยินและความสมดุล จึงทำให้เกิดอาการเวียนศีรษะขึ้น เมื่อแรงดันมากขึ้นผู้ป่วยจะรู้สึกตึงๆ ในหูข้างที่ผิดปกติ

            โรค แรงดันน้ำในช่องหูชั้นในผิดปกติ ส่วนใหญ่มักจะไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัด ในกลุ่มที่ทราบสาเหตุจะเรียกว่า กลุ่มอาการมีเนีย ได้แก่ โรคซิฟิลิส หูน้ำหนวก เป็นต้น เพราะฉะนั้นโรคนี้จึงรักษาไม่หายขาด เพียงแต่สามารถรักษาอาการเวียนศีรษะให้หายเป็นปกติได้เท่านั้น อาการผิดปกติอาจเกิดขึ้นกับหูเพียงข้างเดียวหรือทั้งสองข้างก็ได้ ระยะแรกๆ มักเป็นข้างเดียว แต่เมื่อเป็นนานๆ เข้า โอกาสที่หูข้างที่สองจะเป็นร่วมด้วยก็มีมากขึ้น

            ส่วนอาการของโรคที่ พบบ่อยๆของโรคน้ำในหูไม่เท่ากันจะเริ่มต้นกันด้วยอาการเวียนศีรษะที่รู้สึก เหมือนกำลังหมุนไปพร้อมๆกับอาการคลื่นไส้ อาเจียน เหงื่อออก ลักษณะอาการคือจะเกิดขึ้นในทันทีทันใด อาจจะเป็นอยู่นานกว่า 20 นาที ถึง 2-3 ชั่วโมง อาการดังกล่าวมักเป็นรุนแรง แต่ไม่ทำให้หมดสติหรือเป็นอัมพาต เมื่อหายเวียนศีรษะ ผู้ที่เป็นจะมีความรู้สึกเหมือนเป็นปกติ

ต่อมาเป็นอาการ หูอื้อ อาจจะเป็นชั่วคราวหรือถาวรก็ได้ ถ้าเป็นระยะแรกๆ จะสูญเสียการได้ยินแค่ชั่วคราว หลังจากหายเวียนศีรษะแล้ว การได้ยินจะกลับมาเป็นปกติ แต่ถ้าผู้ป่วยมีอาการเวียนศีรษะบ่อยๆ หรือเป็นมานาน อาการหูอื้อมักจะเป็นถาวร บางครั้งอาจถึงขั้นหูหนวกไปเลยก็เป็นได้

อาการที่มีเสียงดังในหูและ อาการตึงๆ ภายในหูคล้ายกับมีแรงดัน ผู้ป่วยจะมีเสียงดังในหูข้างที่ผิดปกติ และจะเกิดแรงดันของน้ำอาการของโรคน้ำในหูไม่เท่ากันนี้อาจเป็นได้ตลอดเวลา หรือเป็นเฉพาะขณะที่เวียนศีรษะ

 

แล้วเมื่อเป็นแล้วควรทำอย่างไร.....


               
ง่ายๆ เพียงมีการควบคุมอาหาร ลดอาหารที่มีรสชาติเค็ม โดยจำกัดเกลือ ขอแนะนำนะค่ะว่าให้เติมเกลือลงในอาหารวันละไม่เกิน 2 กรัม หรือประมาณ 1 ช้อนชาเท่านั้น   ส่วนการรักษาโดยการใช้ยาเรามีหลายชนิดมาแนะนำเช่นกันค่ะไม่ว่าจะเป็น  ยาขับปัสสาวะ เพื่อลดสภาวะอาการบวมและคั่งของน้ำในหูชั้นใน   ยาลดอาการเวียนศีรษะและคลื่นไส้อาเจียน ควรใช้ในขณะที่มีอาการเท่านั้น   ยากล่อมประสาทและยานอนหลับ เพื่อช่วยให้ผู้ป่วยผ่อนคลายและนอนหลับได้เป็นปกติ และ   ยาขยายหลอดเลือด เพื่อช่วยลดอาการบวมและคั่งของน้ำในหูชั้นใน
       
               หาก ยังไม่ดีขึ้นก็ควรที่จะไปรับการรักษาจาก แพทย์เพื่อที่จะรับการพิจารณาและทำการผ่าตัดต่อไป แต่สิ่งที่ดีที่สุดของการรักษาคุณควรที่จะรับประทานอาหารให้ครบทั้ง 5 หมู่และทำร่างกายให้แข็งแรง สมบูรณ์ เพียงแค่นี้โรคต่างๆก็ไม่สามารถมาเคาะประตูหน้าบ้านของคุณได้แล้ว

เรื่องโดย : นางสาว มณีรัตณ แช่มมณี Team Content www.thaihealth.or.th

 ++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++


 

             โรคน้ําในหูไม่เท่ากัน

โรคน้ำในหูไม่เท่ากัน

โรคน้ำในหูไม่เท่ากัน

น้ำในหูไม่เท่ากัน

เวียนหัว...ทรงตัวไม่อยู่หนึ่งสัญญาณอันตราย!!  (เดลินิวส์)
          เคย ไหมที่อยู่ดี ๆ ก็เกิดอาการหน้ามืด วิงเวียนศีรษะ คล้าย ๆ บ้านหมุนโดยไม่รู้สาเหตุ กระเพาะอาหารปั่นป่วน อยากจะอาเจียนออกมา พอลุกขึ้นยืนก็ทรงตัวไม่อยู่จะล้มเสียให้ได้!??
  
          ลักษณะอาการเช่นนี้ อาจเป็นสัญญาณเตือนให้รู้ว่า คุณกำลังเข้าข่ายเป็น "โรคน้ำในหูไม่เท่ากัน"
  
          นพ.วัชชิระ ตีระพิพัฒนกุล เวชศาสตร์ครอบครัว ศูนย์ตรวจสุขภาพ โรงพยา บาลปิยะเวท อธิบายถึงลักษณะ ของโรคน้ำในหูไม่เท่ากันให้ฟังว่า คำว่า โรคน้ำในหูไม่เท่ากันนั้นเป็นภาษาที่เรียกกันทั่วไป แต่ทางการแพทย์จะเรียกว่า  "โรคแรงดันน้ำในช่องหูชั้นในผิดปกติ"
  
          ปกติหูชั้นในจะแบ่งเป็น 2 ส่วน คือ ส่วนที่มีลักษณะคล้ายก้นหอย ทำหน้าที่รับเสียง อีกส่วนหนึ่งเป็น อวัยวะรูปร่างคล้ายเกือกม้า ซึ่งมีอยู่ 3 ชิ้นด้วยกัน ทำหน้าที่เกี่ยวกับการทรงตัว
   
          หู ชั้นในนอกจากจะแบ่ง ตามหน้าที่แล้ว ยังแบ่งตามโครงสร้างได้เป็น 2 ส่วน คือ ส่วนที่เป็นกระดูก กับส่วนที่เป็นเยื่อหุ้มภายใน ส่วนที่เป็นกระดูกจะห่อหุ้มส่วนที่เป็นเยื่อหุ้มภายใน โดยในส่วนที่เป็นเยื่อหุ้มภายในจะมีของเหลวอยู่ เมื่อเกิดโรคแรงดันน้ำในช่องหูชั้นในผิดปกติ ของเหลวที่อยู่ในส่วนที่เป็นเยื่อหุ้มภายในจะคั่งมาก ทำให้การไหลเวียนไม่สะดวก แรงดันที่ เพิ่มขึ้นในหูชั้นใน จะขัดขวางการทำงานของกระแสประสาทที่เกี่ยวกับการได้ยินและการทรงตัว ทำให้สูญเสียการได้ยินและความสมดุล เกิดอาการเวียนศีรษะขึ้น
  
          โรค ๆ นี้ไม่ได้พบบ่อยนัก ในจำนวนของคนไข้ที่เข้ามาพบแพทย์ ด้วยอาการเวียนศีรษะ อาเจียน จะมีเพียงร้อยละ 7 เท่านั้นที่เป็นโรคนี้
  
          ฉะนั้น ในการวินิจฉัยโรคจะต้องใช้อาการเฉพาะ เพื่อแยกโรคอื่นที่เกี่ยวกับหูออกไปเสียก่อน โดยใช้วิธีการตรวจเพิ่มเติมในส่วนของหูชั้นใน ซึ่งบางครั้งอาจไม่พบความผิดปกติ แต่อาจตรวจโรคอื่นที่ไม่ใช่โรคน้ำในหูไม่เท่ากัน เช่น หูน้ำหนวก ซึ่งเกิดในหูชั้นกลาง แต่ก็อาจจะกระ ทบไปถึงหูชั้นในด้วย
  
          ต่อมา คือภาวะหูชั้นในอักเสบเฉียบพลัน ซึ่งภาวะนี้จะประกอบไปด้วย 2 โรคด้วยกัน เรียกว่า ภาวะของการทรงตัวผิดปกติอย่างเดียวกับโรคที่หูชั้นในผิดปกติแบบเฉียบพลัน ซึ่งจะมีทั้งที่ระบบการทรงตัวเสียและการได้ยินเสียไปด้วย และอีกโรคหนึ่งที่พบบ่อย ๆ คือ บางทีคนไข้ไปตรวจกับหมอแล้วหมอพบว่า หินปูนที่เกาะอยู่ในหูชั้นในหลุด ตรงนี้จะเป็นเรื่องของโรคเกี่ยวกับหูที่หมอจะแยกออกไปจากโรคน้ำในหูไม่เท่า กัน เมื่อแยกโรคออกแล้วคนไข้มาด้วยอาการเฉพาะจึงจะบอกได้ว่าคน ๆ นั้น เป็นโรคน้ำในหูไม่เท่ากัน

          ลักษณะเฉพาะที่ว่านั้น คือ เวียนศีรษะคล้ายบ้านหมุน ร่วมด้วยหูอื้อ หรือมีเสียงในหูอื้อ ๆ ๆ อยู่ในหูตลอดเวลา อาจจะได้ยินข้างเดียวหรือทั้ง 2 ข้าง ก็แล้วแต่พยาธิสภาพว่าจะเป็นข้างเดียวหรือเป็นทั้ง 2 ข้าง โดยหูอื้อ อาจจะเป็นชั่วคราวหรือถาวรก็ได้ ถ้าเป็นระยะแรก จะสูญเสียการได้ยินโดยจะเป็นแค่ชั่วคราว หลังจากหายเวียนศีรษะแล้วการได้ยินจะกลับมาเป็นปกติ แต่ถ้าที่มีอาการวิงเวียนบ่อย ๆ หรือเป็นมานานอาการหูอื้อมักจะถาวร
  
          ที่ สำคัญ คือ อาการมึนงง เวียนศีรษะคล้ายบ้านหมุนเหล่านี้จะเป็นอยู่ไม่นานมากนัก โดยจะมึนเวียนหัวอยู่ประมาณ 20 นาที ถึง 2 ชั่วโมงก็จะหาย แล้วไม่ นานก็จะกลับมาปวดหัวหรือมีอาการ ดังกล่าวอีก โดยจะมีลักษณะเป็น ๆ หาย ๆ ซึ่งอาการเหล่านี้เป็นลักษณะเฉพาะของโรคน้ำในหูไม่เท่ากัน
          โรคนี้มีโอกาสเป็นได้ทุกเพศ และทุกวัย เพราะเป็นโรคที่ไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัด พบมากในวัยทำงานที่มีอายุ 40 ปีขึ้นไป แต่ มีปัจจัยต่าง ๆ ที่มีผลต่อการดำเนินโรคได้ โดยพบว่าอาหารที่มีปริมาณเกลือโซเดียมสูง หรืออาหารที่มีรสเค็ม สามารถกระตุ้นให้เกิดอาการได้ เช่นเดียวกับ การสูบบุหรี่ ดื่มสุรา ความเครียด และสภาวะแวดล้อมที่มีเสียงดังอึกทึก
การรักษา
          เนื่องจากโรคนี้ไม่มีความจำเพาะของพยาธิสภาพ หมอจะรู้แต่เพียงว่าความดันในหูไม่เท่ากัน ส่วนใหญ่จะรักษาตามอาการที่ตรวจพบ โดยจะให้ยาขับปัสสาวะ เพื่อลดสภาวะอาการ บวมและคั่งของน้ำในหูชั้นใน รวมทั้งยาขยายหลอดเลือด ยาลดอาการเวียนศีรษะและคลื่นไส้อาเจียน ตลอดจนยากล่อมประสาท และยานอนหลับ เพื่อช่วยให้ผู้ป่วยผ่อนคลายและนอนหลับได้เป็นปกติ
การป้องกัน
          ทำได้โดย เมื่อทราบภาวะที่จะกระตุ้นให้เกิดโรคแล้ว อะไรที่เป็นภาวะเสี่ยงก็ ควรลดภาวะนั้น ๆ อาทิ หลีกเลี่ยงการดื่มสุรา ชา กาแฟ การสูบบุหรี่ ลดการบริโภคอาหารที่มีรสชาติเค็ม นอกจากนี้ การปฏิบัติตัวเพื่อให้ลดภาวะและอาการของโรคเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่งในชีวิต ประจำวัน ได้แก่ ลดภาวะเครียด ควบคุมอารมณ์ให้เบิกบานแจ่มใส และลดงานบางอย่างที่มากจนเกินไป
   
          รวมทั้งหาเวลาออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ และพักผ่อนให้เพียงพอ พยายามหลีกเลี่ยงสิ่งกระตุ้น เช่น อยู่ในที่ที่มีเสียงดังเป็นเวลานาน ตลอดจน แสงแดดจ้าหรืออากาศที่ร้อนอบอ้าว
  
          นพ.วัชชิระ กล่าวทิ้งท้ายว่า เมื่อมีอาการของโรค อย่าตระหนกกับอาการ เพราะไม่ได้เป็นโรคที่ทำให้เกิดการเจ็บป่วยมากนัก ไม่ได้ทำให้ล้มหมอนนอนเสื่อ แต่ถ้าเป็นมากจนกระทั่งรบกวนการทำงาน ควรดูแลตนเองด้วยการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
  
          อย่าเครียด เมื่อรู้ว่าเครียดควรหาวิธีผ่อนคลายหยุดการทำงานสักพัก เมื่อดีขึ้นจึงค่อยกลับไปทำงานต่อ รวมทั้งลดการบริโภคอาหารรสเค็มจัด หลีกเลี่ยงอาหารที่ ใส่เกลือมาก ๆ ลดการดื่มสุรา หากมีอาการเวียนหัวบ้านหมุนเมื่อไรควรรีบมาพบแพทย์ เพื่อแพทย์จะได้วินิจฉัยแยกโรคให้ชัดเจน จะได้ทำการรักษาได้อย่างถูกต้องและทันท่วงทีต่อไป

  เคล็ดลับสุขภาพ สุขภาพใกล้ตัว โรคและการป้องกัน คลิกเลย

คลิกอ่านความคิดเห็นของเพื่อนๆ ได้ที่นี่ค่ะ


ขอขอบคุณข้อมูลจาก


+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++=

อัพเดทล่าสุด