วิธีรักษาโรคน้ําในหูไม่เท่ากัน สมุนไพรรักษาโรคน้ําในหูไม่เท่ากัน โรคน้ําในหูไม่เท่ากัน สาเหตุ
วิธีรักษาโรคน้ําในหูไม่เท่ากันคุณเคยมีอาการแบบนี้ไหม...
อยู่ดีๆ แท้ๆ ก็เกิดอาการเหมือนโลกหมุนติ้วอยู่รอบๆ ตัว หรือที่หลายๆ คนเรียกว่า อาการเวียนศีรษะบ้านหมุน กระเพาะอาหารเริ่มปั่นป่วน พร้อมจะอาเจียนออกมาได้ทุกเมื่อ ในหูมีเสียงดังอยู่ตลอดเวลา
เมื่อไปพบแพทย์ แพทย์อาจจะบอกให้เข้าใจง่ายๆ ว่า คุณเป็นโรคน้ำในหูไม่เท่ากัน แต่ที่จริงแล้ว เรียกว่า โรคแรงดันน้ำในช่องหูชั้นในผิดปกติ (ฟังชื่อโรคแล้วบ้านยิ่งหมุนหนักกว่าเดิม)
สารบัญ[ซ่อนสารบัญ] |
[แก้ไข] หูคนเราประกอบด้วยหูชั้นนอก หูชั้นกลาง และหูชั้นใน
หูชั้นในแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ ส่วนที่มีลักษณะคล้ายก้นหอย ทำหน้าที่รับเสียง อีกส่วนหนึ่งเป็นอวัยวะรูปร่างคล้ายเกือกม้า 3 อัน ทำหน้าที่เกี่ยวกับการทรงตัว
หูชั้นในนอกจากจะแบ่งตามหน้าที่แล้ว ยังแบ่งตามโครงสร้างได้เป็น 2 ส่วน คือ ส่วนที่เป็นกระดูก กับส่วนที่เป็นเยื่อหุ้มภายใน ส่วนที่เป็นกระดูกจะห่อหุ้มส่วนที่เป็นเยื่อหุ้มภายใน ภายในส่วนที่เป็นเยื่อหุ้มภายในจะมีของเหลวอยู่
เมื่อเกิดโรคแรงดันน้ำในช่องหูชั้นในผิดปกติ ของเหลวที่อยู่ภายในส่วนที่เป็นเยื่อหุ้มภายในจะคั่งมาก ทำให้การไหลเวียนไม่สะดวก แรงดันที่เพิ่มขึ้นในหูชั้นในจะขัดขวางการทำงานของกระแสประสาทที่เกี่ยวกับ การได้ยินและการทรงตัว ทำให้สูญเสียการได้ยินและความสมดุล เกิดอาการเวียนศีรษะขึ้น เมื่อแรงดันมากขึ้นผู้ป่วยจะรู้สึกตึงๆ ในหูข้างที่ผิดปกติ
[แก้ไข] อาการของโรค
- อาการเวียนศีรษะบ้านหมุน เป็นอาการที่พบได้บ่อย ร่วมกับอาการคลื่นไส้ อาเจียน เหงื่อออก ลักษณะอาการคือจะเกิดขึ้นในทันทีทันใด อาจจะเป็นอยู่นานกว่า 20 นาที ถึง 2-3 ชั่วโมง อาการดังกล่าวมักเป็นรุนแรง แต่ไม่ทำให้หมดสติหรือเป็นอัมพาต เมื่อหายเวียนศีรษะ ผู้ป่วยจะรู้สึกเหมือนเป็นปกติ
- หูอื้อ อาจจะเป็นชั่วคราวหรือถาวรก็ได้ ถ้าเป็นระยะแรกๆ การสูญเสียการได้ยินจะเป็นแค่ชั่วคราว หลังจากหายเวียนศีรษะแล้ว การได้ยินจะกลับมาเป็นปกติ แต่ถ้าผู้ป่วยมีอาการเวียนศีรษะบ่อยๆ หรือเป็นมานาน อาการหูอื้อมักจะเป็นถาวร บางครั้งอาจถึงขั้นหูหนวกไปเลยก็เป็นได้
- เสียงดังในหู ผู้ป่วยจะมีเสียงดังในหูข้างที่ผิดปกติร่วมด้วย เสียงดังในหูอาจเป็นตลอดเวลาหรือเป็นเฉพาะขณะที่เวียนศีรษะก็ได้
- อาการตึงๆ ภายในหูคล้ายกับมีแรงดัน เกิดจากแรงดันของน้ำในช่องหูชั้นในที่ผิดปกติ
[แก้ไข] สาเหตุของโรค
ผู้ป่วยที่เป็นโรคแรงดันน้ำในช่องหูชั้นในผิดปกติ ส่วนใหญ่มักจะไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัด ในกลุ่มที่ทราบสาเหตุจะเรียกว่า กลุ่มอาการมีเนีย ได้แก่ โรคซิฟิลิส หูน้ำหนวก เป็นต้น เพราะฉะนั้นโรคนี้จึงรักษาไม่หายขาด เพียงแต่สามารถรักษาอาการเวียนศีรษะให้หายเป็นปกติได้เท่านั้น อาการผิดปกติอาจเกิดขึ้นกับหูเพียงข้างเดียวหรือทั้งสองข้างก็ได้ ระยะแรกๆ มักเป็นข้างเดียว แต่เมื่อเป็นนานๆ เข้า โอกาสที่หูข้างที่สองจะเป็นร่วมด้วยก็มีมากขึ้น
[แก้ไข] การรักษา
ทำได้โดยการควบคุมอาหาร ลดอาหารที่มีรสเค็ม โดยจำกัดเกลือ แนะนำให้เติมเกลือลงในอาหารวันละไม่เกิน 2 กรัม หรือประมาณ 1 ช้อนชา
[แก้ไข] การรักษาทางยา ได้แก่
- ยาขับปัสสาวะ เพื่อลดสภาวะอาการบวมและคั่งของน้ำในหูชั้นใน
- ยาลดอาการเวียนศีรษะและคลื่นไส้อาเจียน ควรใช้ในขณะที่มีอาการเท่านั้น
- ยากล่อมประสาทและยานอนหลับ เพื่อช่วยให้ผู้ป่วยผ่อนคลายและนอนหลับได้เป็นปกติ
- ยาขยายหลอดเลือด เพื่อช่วยลดอาการบวมและคั่งของน้ำในหูชั้นใน
สำหรับผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาทางยาแล้วอาการยังไม่ดีขึ้น แพทย์อาจพิจารณาผ่าตัดให้
[แก้ไข] ข้อควรปฏิบัติต่างๆ ที่สำคัญ ได้แก่
- ลดภาวะเครียด ควบคุมอารมณ์ให้เบิกบานแจ่มใส
- ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
- พักผ่อนให้เพียงพอ โดยเฉพาะเวลานอนหลับ อาจมีเสียงรบกวนในหูมาก จนทำให้นอนไม่หลับได้ ข้อแนะนำคือ เปิดเพลงเบาๆ ขณะนอน เพื่อกลบเสียงที่รบกวนในหู
- หลีกเลี่ยง ชา กาแฟ และเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ รวมทั้งบุหรี่ เพราะสิ่งเหล่านี้จะทำให้อาการแย่ลง
- การบริหารระบบการทรงตัว เป็นการบริหารศีรษะและการทรงตัว ทำให้สมองสามารถปรับตัวได้รวดเร็วขึ้น
- พยายามหลีกเลี่ยงสิ่งกระตุ้น เช่น สถานที่ที่มีเสียงดัง แสงแดดจ้า หรืออากาศร้อนอบอ้าว เป็นต้น
- จัดสถานที่ ทั้งที่บ้านและที่ทำงานให้ปลอดภัย ทางเดินที่ต้องเดินเป็นประจำ ควรปราศจากของมีคมหรือตกแตกง่าย
- หลีกเลี่ยงกิจกรรมบางอย่างที่อาจทำให้เกิดอันตรายหากเกิดอาการขึ้นมา เช่น การขับรถ
การปฏิบัติตัวตามคำแนะนำดังกล่าว เป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่งในชีวิตประจำวัน ซึ่งจะช่วยให้ผู้ป่วยลดภาวะอาการของโรคลงได้
Link https://www.panyathai.or.th/
++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
สมุนไพรรักษาโรคน้ําในหูไม่เท่ากัน
สวัสดีค่ะคุณเต่าญี่ปุ่นและพี่น้องบ้านกลมกลิ้ง ได้ทราบข่าวเรื่องคุณเต่าญี่ปุ่นกำลังประสบกับโรคเวียนศรีษะที่เกิดจากน้ำใน หูไม่สมดุล
จึงอยากเสนอยาของแพทย์ทางเลือก ซึ่งเคยใช้ได้ผลกับตัวเอง
เมื่อหลายปีก่อนเคยเป็นโรคนี้เหมือนกันค่ะ เป็นโรคที่ทรมานสุดๆ
มีอาการเป็นพักๆ เป็นๆหายๆ วันนึงได้อ่านหนังสือนิตยสารดิฉัน มีคอลัมภ์ชื่อเป็นหู เป็นตา
ผู้ เขียนคือ คุณศิเรมอร อุณหธูป เธอเขียนว่ารู้จักกับคุณประกายเพชร ซึ่งเป็นแพทย์ทางเลือก แล้วได้ตำรายาปรับน้ำในหูให้สมดุลมาจากคุณประกายเพชร
เลยลองทำ ยาทานตามที่คุณประกายเพชรแนะนำ แปลกจังตั้งแต่นั้นจนปัจจุบันนี้ไม่เคยเป็นโรคนี้อีกเลย เดชะบุญจริงๆยังนึกขอบพระคุณคุณศิเรมอร อุณหธูป และคุณประกายเพชร ที่ทำให้เราไม่ต้องทรมานด้วยโรคนี้อีกต่อไป
แต่ก็ไม่รู้ว่าจะได้ผลทุกคนหรือเปล่านะคะ อยากให้ลองเผื่อจะช่วยได้
ยาแก้อาการมึนงงจากโรคน้ำในหูไม่เท่ากัน
คุณประกายเพชรแนะนำให้ตำพริกไทยดำ 3 เม็ดจนละเอียด
ชงกับน้ำร้อน1ถ้วย รอจนน้ำเริ่มอุ่นตัวเสียก่อนจึงเติมน้ำผึ้งแท้ๆลง
ไป 1 ช้อนกาแฟ คนให้เข้ากัน ดื่มทุกวันตอนไหนก็ได้
เธอรับรองว่าหายเลย เพราะช่วยปรับสมดุลน้ำในหูโดยตรง
จะได้ไม่ต้องผ่าหรือขึ้นเขียง
ตอนที่เป็นโรคนี้ส่วนตัวแล้วคิดว่าพริกไทย 3 เม็ดนี้ดูจะน้อยไป
เลยตักพริกไทยดำบดละเอียดใส่ไปแบบไม่ได้นับเม็ด แต่ก็ไม่มากจนกลืนไม่ลง จิบบ่อยๆ พอหายขาดแล้วก็ไม่ได้ทำอีกเลยค่ะ
ขออวยพรให้คุณเต่าหายจากอาการนี้โดยเร็วนะคะ
ขอลงตำรายาอีกตัวที่คุณประกายเพชรได้แนะนำไว้ เพราะเห็นว่าสมาชิกบ้านนี้เดินทางข้ามประเทศกันบ่อย เผื่อจะเป็นประโยชน์บ้าง
สำหรับคนที่มีอาการตะครั่นตะครอเนื่องจากการเปลี่ยนที่ เปลี่ยนอากาศ คุณประกายเพชรเธอมีคนไข้เป็นพวกสจ๊วตกับแอร์โฮสเตส
ที่ต้องเดินทางขึ้นเครื่องไปประเทศต่างๆ แล้วไม่สบาย เธอได้ให้ทำแบบนี้ค่ะ
ให้ตำพริกไทยดำ 15 เม็ด
ลูกกระวาน 2 เม็ด
เม็ดผักชี 1 ช้อนกาแฟ
ตำ ให้ละเอียดใส่ขวดแก้วเล็กๆ พกติดกระเป๋าไปบินด้วย หากมีอาการตะครั่น ตะครอเนื่องจากการเปลี่ยนที่ เปลี่ยนอากาศ จะได้เทผสมน้ำร้อน 1 ถ้วยกาแฟ (แบบmug) รอให้น้ำอุ่นแล้วเติมน้ำผึ้ง 1-2 ช้อนกาแฟ ชงให้เข้ากันแล้วดื่ม ขณะที่อุ่นๆค่อนไปในทางร้อน (ย้ำ สูตรนี้สำหรับคนที่อยู่ไม่เป็นที่ต้องเดินทางบ่อย เดินทางข้ามประเทศ ข้ามทวีป)
ยังมียาตัวอื่นรักษาโรค กระเพาะ ลำไส้ของคุณประกายเพชรแนะนำไว้อีกบ้าง ถ้าเพื่อนๆสนใจ จะทยอยนำมาลงให้นะคะ แต่ตอนนี้ขอลงยารักษาอาการที่คุณเต่าญี่ปุ่น กำลังเป็นอยู่ก่อนค่ะ
++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
โรคน้ําในหูไม่เท่ากัน สาเหตุ
โรคน้ำในหู ไม่เท่ากัน
สาเหตุเกิดได้หลายอย่าง ตั้งแต่พักผ่อนน้อย ไมเกรน เครียด ไข้หวัด หูชั้นในอักเสบ
การ ป้องกัน พักผ่อนให้เพียงพอ ไม่เครียด ออกกำลังกายอย่างน้อย 30 นาที สัปดาห์ละ 3 วัน ระวังไม่ให้เป็นหวัด การฝังเข็มสามารถช่วยลดอาการได้
***********************************************************************************************************
สาเหตุของโรคน้ำในหูไม่เท่ากัน
เนื่อง จากหูคนเราประกอบด้วยหูชั้นนอก, หูชั้นกลางและหูชั้นใน หูชั้นในแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ ส่วนมีลักษณะคล้ายก้นหอยทำหน้าที่รับเสียง กับส่วนที่เป็นอวัยวะรูปเกือกม้า 3 อันมารวมกันทำหน้าที่เกี่ยวกับการทรงตัว หูชั้นในนอกจากจะแบ่งตามหน้าที่แล้วยังแบ่งตามโครงสร้างเป็น 2 ส่วน คือ ส่วนที่เป็นกระดูก กับส่วนที่เป็นเยื่อหุ้มภายใน ส่วนที่เป็นกระดูกจะห่อหุ้มส่วนที่เป็นเยื่อหุ้มภายใน ภายในส่วนเยื่อหุ้มภายในจะมีของเหลวอยู่ เมื่อเกิดพยาธิสภาพของโรคมีเนีย ของเหลวที่อยู่ภายในจะคั่งมาก ทำให้การไหลเวียนไม่สะดวก แรงดันที่เพิ่มขึ้นในหูชั้นในจะขัดขวางการทำงานของกระแสประสาทที่เกี่ยวกับ การได้ยินและการทรงตัว ทำให้สูญเสียการได้ยินและสมดุลย์เกิดอาการเวียนศีรษะเมื่อแรงดันมากขึ้นผู้ ป่วยจะรู้สึกตึง ๆ ในหูข้างที่ผิดปกติ
อาการของโรค
- อาการเวียนศีรษะบ้านหมุน เป็นอาการที่พบบ่อยมักพบร่วมกับอาการคลื่นไส้ อาเจียน เหงื่อออกเกิดขึ้นในทันทีทันใด ระยะเวลาอาจจะอยู่นานกว่า 20 นาทีถึง 2-3 ชั่วโมง อาการดังกล่าวมักเป็นรุนแรงแต่ไม่ทำให้หมดสติหรือเป็นอัมพาตเมื่อหายเวียน ศีรษะผู้ป่วยจะรู้สึกเหมือนเป็นปกติ
- หูอื้อ อาจจะเป็นชั่วคราวหรือถาวร ถ้าเป็นระยะแรกการสูญเสียการได้ยินจะเป็นแค่ชั่วคราวหลังจากหายเวียนศีรษะ แล้วการได้ยินจะกลับมาเป็นปกติ แต่ถ้าผู้ป่วยที่มีอาการเวียนบ่อย ๆ หรือเป็นมานานอาการหูอื้อมักจะถาวรบางทีหูหนวกไปเลยก็ได้
- เสียงดังในหู ผู้ป่วยจะมีเสียงดังในหูข้างที่ผิดปกติร่วมด้วย ผู้ป่วยบางคนจะบอกว่ามีเสียงเหมือนจั๊กจั่นหรือจิ้งหรีดร้อง บางคนก็บอกว่าเหมือนเสียงคำรามอยู่ในหูตลอดเวลา เสียงดังในหูอาจเป็นตลอดเวลา หรือเป็นขณะเวียนศีรษะ
- อาการตึง ๆ ภายในหูคล้ายกับมีแรงดัน เกิดจากแรงดันของน้ำในหูชั้นในที่ผิดปกติ
การรักษาทางยา
- ยาขับปัสสาวะ เพื่อลดสภาวะอาการบวมและคั่งของน้ำในหูชั้นใน
- ยาลดอาการเวียนศีรษะและคลื่นไส้อาเจียน ควรใช้ในขณะที่มีอาการเท่านั้น
- ยากล่อมประสาท และยานอนหลับ เพื่อช่วยให้ผู้ป่วยผ่อนคลายและนอนหลับได้เป็นปกติ
- ยาขยายหลอดเลือด ช่วยลดอาการบวมและคั่งของน้ำในหูชั้นใน
นอกจากนี้การปฏิบัติตัวเพื่อให้ผู้ป่วยลดภาวะ อาการของโรคเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่งในชีวิตประจำวัน สิ่งต่าง ๆ เหล่านี้ได้แก่
- ลดภาวะเครียด ควบคุมอารมณ์ให้เบิกบานแจ่มใส และลดงานบางอย่างที่มากจนเกินไป
- ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
- พักผ่อนให้เพียงพอ โดยเฉพาะการนอนหลับ ถ้ามีเสียงรบกวนในหูมากจนทำให้นอนไม่หลับ ข้อแนะนำที่ดีคือเปิดเพลงเบา ๆ ขณะนอนเพื่อกลบเสียงที่รบกวนในหูให้หมดไป
- หลีกเลี่ยงสิ่งต่อไปนี้ คือ ชา กาแฟ เครื่องดื่มประเภทแอลกอฮอล์ การสูบบุหรี่ เพราะสิ่งเหล่านี้จะทำให้อาการแย่ลง
- การบริหารระบบการทรงตัว เป็นการบริหารศีรษะและการทรงตัวทำให้สมองสามารถปรับตัวได้รวดเร็วขึ้น
- พยายามหลีกเลี่ยงสิ่งกระตุ้น เช่น ในที่มีเสียงดัง แสงแดดจ้าหรืออากาศร้อนอบอ้าว เป็นต้น
- จัดสถานที่ที่บ้าน และที่ทำงานให้ปลอดภัย ทางเดินที่เดินเป็นประจำจะต้องปราศจากของมีคม และตกแตกง่าย
- การควบคุมอาหาร โดยลดอาหารที่มีรสเค็มโดยจำกัดเกลือ แนะนำให้เติมเกลือลงในอาหารวันละไม่เกิน 2 กรัม (ประมาณ 1 ช้อนชา)
การรักษาโดยการผ่าตัด จำเป็นในผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาทางยาแล้วไม่ได้ผล
**********************************************************************************************************
น้ำในหูไม่เท่ากัน…จริงหรือ
ผศ.นพ. ปารยะ อาศนะเสน
ภาควิชาโสต นาสิก ลาริงซ์วิทยา คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล
อาการเวียนศีรษะ บ้านหมุน เป็นอาการที่พบบ่อย แต่อาการดังกล่าวไม่ได้เกิดจากโรคน้ำในหูไม่เท่ากันเท่านั้น อาการเวียนศีรษะ บ้านหมุน อาจเกิดจากหลายสาเหตุ เช่น จากโรคของหูชั้นนอก โรคของหูชั้นกลาง หรือ โรคของทางเดินประสาท และสมอง ดังนั้นเมื่อท่านมีอาการเวียนศีรษะ บ้านหมุน จึงควรมาพบแพทย์ เพื่อแพทย์จะได้ซักประวัติ ตรวจร่างกาย และส่งการสืบค้นเพิ่มเติม เพื่อให้ได้การวินิจฉัย สาเหตุของอาการเวียนศีรษะ และการรักษาที่ถูกต้อง
คราวนี้มาทำความรู้จักโรคน้ำในหูไม่เท่ากัน หรือโรคมีเนีย (Meniere’s disease) กัน
โรคมีเนีย เป็นโรคที่มีความผิดปกติของหูชั้นใน โดยมีน้ำในหูชั้นในมากผิดปกติ หูชั้นในของคนเรามีเซลล์ประสาทที่ทำหน้าที่เกี่ยวกับการทรงตัวและการได้ยิน อยู่ โดยปกติจะมีน้ำในหูชั้นใน ปริมาณที่พอดีกับการทำงานของเซลล์ประสาทที่ทำหน้าที่ควบคุมการทรงตัว และการได้ยินดังกล่าว และมีการไหลเวียนถ่ายเทเป็นปกติ เมื่อมีการเคลื่อนไหวของน้ำในหู ขณะเคลื่อนไหวศีรษะ จะกระตุ้นเซลล์ประสาทดังกล่าวให้มีการส่งสัญญาณไปยังสมองเกี่ยวกับการ เคลื่อนไหวของร่างกาย เมื่อใดก็ตามมีความผิดปกติของการไหลเวียนของน้ำในหู เช่นการดูดซึมของน้ำในหูไม่ดี ทำให้น้ำในหูชั้นในมีปริมาณมากขึ้นกว่าปกติ (endolymphatic hydrops) จะส่งผลต่อการทำงานของเซลล์ประสาทที่ควบคุมการทรงตัว และการได้ยิน ทำให้เซลล์ดังกล่าวทำงานผิดปกติ ทำให้ผู้ป่วยโรคนี้มีอาการ
- ประสาทหูเสื่อม ผู้ป่วยจะมีการเสียการได้ยินแบบประสาทเสียงเสีย (sensorineural hearing loss) ทำให้หูอื้อ ได้ยินไม่ชัด รู้สึกแน่นในหูเป็นๆหายๆ บางครั้งการได้ยินดีขึ้น บางครั้งการได้ยินเลวลง ในระยะแรกเริ่มมักมีการเสียของประสาทหูที่ความถี่ต่ำก่อน แต่ในระยะยาวแล้วระดับการได้ยินจะแย่ลงเรื่อยๆ อาจถึงขั้นหูหนวกได้ ในระยะแรกอาจมีอาการที่หูข้างเดียว ในระยะหลังอาจมีอาการที่หูทั้งสองข้าง อาจมีอาการปวดหู หรือปวดศีรษะข้างที่เป็นด้วยได้
- มีเสียงดังในหู
- อาการเวียนศีรษะ บ้านหมุน บางครั้งอาจมี คลื่นไส้ อาเจียน เหงื่อออกร่วมด้วย อาการเวียนดังกล่าวมักเป็นๆหายๆ ส่วนใหญ่มักเวียนศีรษะไม่เกินครึ่งชั่วโมง แต่อาจเวียนเป็นชั่วโมงได้ เมื่อมีอาการเวียนศีรษะ มักมีอาการทางหู เช่น หูอื้อ เสียงดังในหูร่วมด้วย อาการเวียนศีรษะเป็นอาการที่รบกวนผู้ป่วยมากที่สุด ทำให้ผู้ป่วยไม่สามารถทำกิจวัตรประจำวันได้ตามปกติ ต้องนอนพัก
โรคนี้พบมากในคนอายุ 30-60 ปี พบได้ทั้งเพศชาย และเพศหญิง โดยมากอาการมักจะเริ่มเมื่ออายุ 30 ปี ในประเทศไทย ข้อมูลทางระบาดวิทยาของโรคนี้ยังมีน้อย โรคนี้มักเป็นในหูข้างเดียว แต่อาจเป็นทั้งสองหูได้ร้อยละ 30 อาการของโรคนี้มักจะเกิดขึ้นทันทีทันใด อาจมีอาการทุกวัน หรือนานๆครั้งก็ได้ ซึ่งไม่สามารถทำนายได้ว่าจะเกิดอีกเมื่อไร แต่ละครั้งที่มีอาการ อาจมีอาการเป็นระยะเวลาสั้นๆ เป็นนาที หรือมีอาการเป็นระยะเวลานานเป็นชั่วโมงได้ หรืออาจมีอาการน้อย หรือมากได้ นอกจากนั้นผู้ป่วยอาจมีอาการปวดศีรษะ ปวดท้อง หรือท้องเสียร่วมด้วยได้
การวินิจฉัยโรคนี้ประกอบด้วย การซักประวัติ อาการที่สำคัญ 3 อาการดังกล่าว ซึ่งมักจะเป็นๆหายๆ และการตรวจระบบประสาทการทรงตัว และการตรวจการได้ยิน รวมทั้งการตรวจรังสีวินิจฉัย รวมทั้งการเจาะเลือด และตรวจปัสสาวะเพื่อวินิจฉัย แยกจากโรคอื่นๆ
การรักษาประกอบด้วย การปฏิบัติตัวที่ถูกต้องเวลาเวียนศีรษะ, การให้ยาบรรเทาอาการ และการผ่าตัด
การปฏิบัติตัวที่ถูกต้องเวลาเวียนศีรษะ
เมื่อ มีอาการเวียนศีรษะขณะเดิน ควรหยุดเดิน และนั่งพัก เพราะการฝืนเดินขณะเวียนศีรษะ อาจทำให้ผู้ป่วยล้ม เกิดอุบัติเหตุได้ เช่นกัน ถ้าอาการเวียนศีรษะเกิดขณะขับรถ หรือขณะทำงาน ควรหยุดรถข้างทาง หรือหยุดการทำงาน โดยเฉพาะการทำงานที่เกี่ยวกับเครื่องจักรกล ซึ่งอาจเกิดอุบัติเหตุได้ ถ้าเวียนมากควรนอนบนพื้นราบที่ไม่มีการเคลื่อนไหว เช่นพื้น และ ผู้ป่วยควรมองไปยังวัตถุที่อยู่นิ่ง ไม่เคลื่อนไหว
รับประทานยาที่แพทย์ให้รับประทาน เวลาเวียนศีรษะ
พยายามอย่ารับประทาน หรือดื่มมากนัก จะได้มีโอกาสอาเจียนน้อยลง
หลีกเลี่ยงการเดินทางโดยทางเรือ เพราะจะทำให้มีอาการเวียนศีรษะมากขึ้นได้
ถ้าอาการเวียนศีรษะน้อยลง ค่อยๆลุกขึ้น แต่อาจรู้สึกง่วง หรือเพลียได้ แนะนำให้นอนหลับพักผ่อน ถ้าง่วง หลังตื่นนอน อาการมักจะดีขึ้น
การให้ยาบรรเทาอาการ และรักษา
ควร จำกัดความเค็ม เพราะความเค็มหรือ เกลือโซเดียมที่มีปริมาณมากขึ้นในร่างกาย จะทำให้มีน้ำคั่งในร่างกาย และในหูชั้นในมากขึ้น อาจทำให้อาการผู้ป่วยแย่ลงได้
การรับประทานยาขับปัสสาวะ อาจทำให้น้ำคั่งในหูชันในน้อยลง ผู้ป่วยอาจมีอาการดีขึ้นได้
ให้ยาบรรเทาอาการเวียนศีรษะ หรือคลื่นไส้ อาเจียน
การรับประทานยาขยายหลอดเลือด (ฮิสตะมีน) จะช่วยให้การไหลเวียนของน้ำในหูดีขึ้น
ถ้าผู้ป่วยหายเวียนศีรษะแล้ว ควรออกกำลังกายสม่ำเสมอ เพื่อเพิ่มเลือดไปเลี้ยงหูชั้นใน
หลีก เลี่ยงสารคาเฟอีน (ชา เครื่องดื่มน้ำอัดลม และกาแฟ) เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ การสูบบุหรี่ และความเครียดซึ่งจะทำให้อาการของผู้ป่วยโรคนี้แย่ลง เนื่องจากจะไปลดเลือดที่ไปเลี้ยงหูชั้นใน
3) การผ่าตัด เพื่อระบายน้ำที่คั่งอยู่ในหูชั้นใน จะทำเมื่อให้ยารักษาเต็มที่แล้ว อาการของโรคโดยเฉพาะอาการเวียนศีรษะไม่ดีขึ้น และรบกวนคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยมาก
การผ่าตัดได้แก่
การทำลาย อวัยวะควบคุมการได้ยิน และการทรงตัวในหูชั้นใน (labyrinthectomy) ซึ่งจะช่วยควบคุมอาการเวียนศีรษะได้ดี แต่ผู้ป่วยจะสูญเสียการได้ยินในข้างนั้นด้วย มักจะทำในผู้ป่วยที่สูญเสียการได้ยินในหูข้างนั้นมากแล้ว แต่ยังมีอาการเวียนศีรษะมากอยู่
การตัดเส้นประสาทที่ทำหน้าที่เกี่ยวกับ การทรงตัวในหูชั้นใน (vestibular neurectomy) มักจะทำในผู้ป่วยที่มีอาการเวียนศีรษะมาก แต่ยังมีการได้ยินดีอยู่
การ ฉีดยาที่มีพิษต่อระบบประสาทหูและการทรงตัวเข้าไปในหูชั้นกลาง เพื่อให้ดูดซึมเข้าไปในหูชั้นใน เช่น gentamycin ซึ่งเป็นยาต้านจุลชีพกลุ่ม aminoglycoside เพื่อทำลายระบบประสาททรงตัว ทำให้อาการเวียนศีรษะน้อยลง แต่การได้ยิน อาจเสียไปด้วย
ถึงแม้โรคมีเนีย จะไม่มีวิธีรักษาที่ทำให้โรคหายขาด แต่อาการของผู้ป่วย ส่วนใหญ่สามารถควบคุมได้ด้วยยา และการปฏิบัติตัวที่ถูกต้อง
ที่มา : Forward Mail
Link https://blog.eduzones.com
++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++