อาการโรคไส้เลื่อนลงอัณฑะ ยารักษาโรคไส้เลื่อน รูปภาพโรคไส้เลื่อน
อาการโรคไส้เลื่อนลงอัณฑะไส้เลื่อน
คำว่าไส้เลื่อนหมายถึงภาวะที่ลำไส้ได้เคลื่อนที่ออกจากช่องท้องมาสู่ภายนอก เช่นบริเวณขาหนีบ หรืออาจจะเลื่อนมาในตำแหน่งรอยผ่าตัด
ปกติอวัยวะเช่นลำไส้ ตับจะถูกปกคลุม โดยเยื่อหุ้มช่องท้องที่เรียกว่า peritonium และมีพังผืดหรือกล้ามเนื้อหุ้มอีกชั้น เพื่อป้องกันอวัยวะภายใน ปกติจะมีรูที่ให้ท่อรังไข่ และท่อนำเชื้อในผู้ชายผ่านทางรู เมื่อมีความอ่อนแอของพังผืด ไส้ก็จะเลื่อนออกมาที่ขาหนีบ ซึ่งมีสองชนิดคือ indirect inguinal hernia และ direct inguinal hernia
Indirect inguinal hernia
ขณะที่เป็นตัวอ่อนในท้อง อัณฑะจะอยู่ในช่องท้อง เมื่ออายุครรภ์ได้ 7 สัปดาห์อัณฑะจะเคลื่อนที่ออกจากช่องท้องมาอยู่ในถุงอัณฑะ และรูหรือทางที่มันเคลื่อนที่จะปิด แต่เด็กผู้ชายบางคนทางเดินและรูมันไม่ปิดทำให้ลำไส้เคลื่อนสู่ถุงอัณฑะที่เราเรียกว่าไส้เลื่อนซึ่งมักจะพบในผู้ชาย สำหรับผู้หญิงก็เกิดโรคนี้ได้เหมือนกัน โดยรูที่เปิดเกิดจากเยื่อที่ยึดมดลูก round ligament มีการเคลื่อนตัวเหมือนอัณฑะ ไส้เลื่อนชนิดนี้พบบ่อยที่สุด
Direct inguinal hernia
ลำไส้ไม่เคลื่อนออกจากช่องท้องบริเวณพังผืดที่หย่อนที่สุด โดยมีปัจจัยส่งเสริมคือมีความดันในช่องท้องเพิ่มมากขึ้น เช่นตับแข็งและมีน้ำในช่องท้อง หรือพวกถุงลมโป่งพองไอมากๆ
ใครบ้างที่มีโอกาสเป็นโรคไส้เลื่อน
ผู้ที่มีความดันในช่องท้องสูงเช่น การตั้งครรภ์ ไอเรื้อรัง คนอ้วน ท้องผูก ต่อมลูกหมากโตทำให้ต้องเบ่งเมื่อปัสสาวะ ปัจจัยเสี่ยงเหล่านี้จะช่วยส่งเสริมให้เกิดไส้เลื่อน
อาการ
อาการที่สำคัญสำหรับไส้เลื่อนทั้งสองชนิดได้แก่ การที่มีก้อนที่บริเวณขาหนีบ ก้อนนี้จะโตขึ้นเวลายกของหนักหรือไอแรงๆจะทำให้ก้อนโผล่ออกมา และอาจจะได้ความรู้สึกมีเสียงเคลื่อนไหวของลำไส้เหมือนเวลาเราหิวข้าว เมื่อนอนลง หรือจับก้อนยัดเข้าไปในรูก้อนจะหายไป
โรคแทรกซ้อนของไส้เลื่อนที่สำคัญได้แก่
- Incarcerated hernia เป็นภาวะที่ลำไส้เคลื่อนออกมาแล้วไม่สามารถดันกลับเข้าไปในช่องท้อง
- Strangulated hernia เป็นภาวะที่ลำไส้ในถุงมีการบิดทำให้ลำไส้เกิดการขาดเลือดไปเลี้ยงและเกิดไส้เน่าตามมา ผู้ป่วยจะมีอาการปวดท้องอย่างมากแรกๆจะปวดบิดๆ คลื่นไส้อาเจียน เมื่อลำไส้เน่าจะปวดทั้งท้องปวดมากจนต้องนอนนิ่งๆ การขยับตัวก็จะปวด มีไข้ บางรายอาจจะมีอาการความดันโลหิตต่ำ
- Bowel obstruction เกิดเมื่ออุจาระไม่สามารถเคลื่อนผ่านลำไส้นี้ไปได้ผู้ป่วยจะปวดท้องมวนๆ คลื่นไส้อาเจียน ท้องอืดไม่ผายลม
สำหรับผู้ที่เป็นไส้เลื่อนเมื่อมีอาการต่อไปนี้ให้พบแพทย์
- ปวดบริเวณไส้เลื่อน
- ก้อนนั้นไม่สามารถดันกลับเข้าไปในช่องท้อง
- ปวดท้องและอาเจียนท้องอืด
การวินิจฉัย
การวินิจฉัยทำได้ง่ายโดยการซักประวัติและการตรวจร่างกาย
การรักษา
การรักษาไส้เลื่อนทั้งสองชนิดทำได้โดยการผ่าตัด นำลำไส้กลับเข้าไปในช่องท้องและเย็บซ่อมรูหรือตำแหน่งที่ลำไส้ออกมา การผ่าตัดมักจะได้ผลดี
- การผ่าตัดที่เรียกว่า Herniorrhaphy ผ่าตัดบริเวณไส้เลื่อนเมื่อนำไส้กลับเข้าในช่องท้องแล้วก็เย็บซ่อมรูหรือจุดอ่อน คลิกดูรูป
- การผ่าตัดที่เรียกว่า Hernioplasty วิธีนี้จะใช้แผ่นสารสังเคราะห์เย็บปิดรูหรือจุดอ่อนคลิกดูรูป
Link https://www.siamhealth.net
+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
ยารักษาโรคไส้เลื่อน
โรคไส้เลื่อน(Hernia)
จำรัส เซ็นนิล รวบรวม/เรียบเรียง
โรคไส้เลื่อน(Hernia) หมายถึง ภาวะที่ลำไส้เลื่อนออกนอกช่องท้องผ่านผนังช่องท้องที่บอบบาง ตำแหน่งที่ลำไส้จะเลื่อนออกนอกช่องท้องมีหลายแห่ง เช่น บริเวณขาหนีบ(Groin Hernia)ผนังหน้าท้อง(Abdominal Hernia) สะดือ(Umbilical Hernia) และ รอยแผลผ่าตัด(Incisional Hernia) เป็นต้นลำไส้เลื่อนส่วนใหญ่จะพบที่บริเวณขาหนีบ ผนังช่องท้องบริเวณนี้มีหลายตำแหน่งที่ไส้เลื่อนออกนอกช่องท้องได้ ในผู้ชายส่วนมากลำไส้จะเลื่อนผ่านรูที่ช่องท้องที่มีลักษณะเป็นวงแหวน เข้าไปในถุงอัณฑะ(Indirect Inguinal Hernia) บางรายผ่านผนังช่องท้องออกมาที่ขาหนีบมีลักษณะนูนเป็นลำ บางรายผ่านผนังช่องท้องแต่ไม่นูนออกมาให้เห็นและคลำไม่ได้
อาการที่สำคัญสำหรับไส้เลื่อนนี้ได้แก่ การที่มีก้อนที่บริเวณขาหนีบ โดยก้อนนี้จะโตขึ้นเวลายกของหนักหรือไอแรงๆจะทำให้ก้อนโผล่ออกมา และอาจจะได้ความรู้สึกมีเสียงเคลื่อนไหวของลำไส้เหมือนเวลาเราหิวข้าว เมื่อนอนลง หรือจับก้อนยัดเข้าไปในรู ก้อนจะหายไป แต่ถ้าลำไส้ถูกรัดแน่นจะมีอาการปวดคล้ายในกรณีของลำไส้ตัน
สาเหตุของไส้เลื่อนนั้นส่วนมากเกิดจากความบอบบางของผนังช่องท้องในส่วนต่างๆของร่างกาย แต่บางรายเกิดความผิดปกติตั้งแต่แรกเกิด บางรายเกิดจากการผ่าตัด บางรายเกิดร่วมกับโรคอื่นๆที่ทำความดันในช่องท้องมากขึ้น เช่น คนไข้ที่มีน้ำในช่องท้องจากสาเหตุอื่น ดันให้ผนังท้องแยกออก หรือคนไข้ที่มีอาการไอเรื้อรัง หรือมีอาการท้องผูกเรื้อรัง เป็นต้น
ส่วนการรักษา ไส้เลื่อนยังใช้การผ่าตัดเป็นการรักษาหลัก เพื่อเอาลำไส้ส่วนที่เลื่อนออกนอกช่องท้องกลับเข้าที่และซ่อมผนังที่ผิดปกติให้แข็งแรงคงทนเพื่อไม่ให้ลำไส้เลื่อนออกไปได้อีก การรับประทานยาหรือฉีดยาไม่สามารถรักษาโรคไส้เลื่อนได้
ในปัจจุบันการผ่าตัดได้ก้าวหน้าไปมาก มีการใช้วัสดุที่คงทนแข็งแรงมาซ่อมแซมส่วนที่อ่อนแอ ทำให้มีโอกาสในการเป็นซ้ำลดลง นอกจากนี้เทคนิคในการผ่าตัดก็ยังทันสมัยและรวดเร็ว ซึ่งอาจจะไม่ต้องดมยาสลบ เพียงแต่ใช้ยาฉีดเข้าในไขสันหลังซึ่งจะทำให้ส่วนล่างของร่างกายชา ก็สามารถทำการผ่าตัดได้
แต่ในบางกรณีที่คนไข้ไม่สามารถรับการผ่าตัดได้ อาจจะใช้กางเกงรัดที่บริเวณขาหนีบเพื่อไม่ให้ลำไส้เลื่อนออกมาได้ ซึ่งอาจช่วยป้องกันผลแทรกซ้อนจากลำไส้อุดตันได้บ้าง สามารถเข้ารับการผ่าตัดได้ที่โรงพยาบาลทั่วไปหรือโรงพยาบาลศูนย์ ที่มีศัลยแพทย์ผ่าตัด
เรื่องของอาหาร ไม่มีอาหารชนิดใดห้ามกิน แต่บางสถาบันการแพทย์จะเน้นเรื่องอาหารที่ไม่ทำให้เกิดอาการท้องผูกเพราะจะต้องเบ่งอุจจาระ แต่ในกรณีนี้จะแนะนำในคนไข้ที่เกิดอาการภาวะไส้เลื่อนอย่างรุนแรง
ส่วนการออกกำลังกาย จะไม่มีข้อห้ามในกรณีการออกกำลังกายนั้นไม่ต้องใช้การเบ่งหรือการเกร็ง หรือการใช้กล้ามเนื้อหน้าท้องเพื่อเพิ่มความดันในช่องท้อง เช่น ห้ามเด็ดขาดในการออกกำลังกายโดยการยกน้ำหนัก การ Situp ก็จะทำให้ต้นขาและขาหนีบทำงานมากขึ้น และในการ Situp บางจังหวะก็จะทำให้ความดันในช่องท้องเพิ่มขึ้น ก็จะยิ่งไปทำให้ลำไส้มีโอกาสหลุดเลื่อนลงมาได้มาก
(ข้อมูลจากคอลัมน์ "แพทย์บางกอก" ในนิตยสาร บางกอก ปีที่ ๕๐ ฉบับที่ ๒๕๖๔ ประจำวันที่ ๕ กรกฎาคม ๒๕๕๐)
มีหลายคนสอบถามผมมาเกี่ยวกับโรคไส้เลื่อน ผมพยายามสืบเสาะหาค้นคว้าหาสมุนไพรและวิธีรักษาจากตำรับตำราและคุณหมอรวมไปถึงปราชญพื้นบ้านหลายคนมารวบรวมให้ได้ศึกษา บางคนมีอาการหายใจไม่เต็มปอดติดๆขัดๆที่ท้อง ท้องผูก เหมือนมีลมอยู่ที่ท้องเยอะ อัณฑะโตขึ้น เมื่อยกล้ามเนื้อหน้าท้องเเละร้า ท้องน้อยบวมมีสียง คลุกๆ เหมือนท้องร้อง รูสึกเหมือนมีของเหลวหรือก้อนไหลลงไปที่ข้างล่าง เจ็บๆอัณฑะ เดินหรือวิ่งเเล้วเหมือนไส้จะลงไปข้างล่างเรื่อยๆ
วิธีการรักษาให้ใช้ท่าโยคะ ยืนด้วยหัวเเละท่ายืนด้วยไหล่สองข้าง ทำท่านี้วันละ ๔๐ นาทีเช้า ๒๐ นาที ก่อนนอน ๒๐ นาที เเละไปซื้อกางเกงsupporter มา ใส่ตอนวิ่งหรือเล่นกีฬา
วิธีฝึกท่ายืนด้วยไหล่สองข้าง ( ลักษณะเหมือนตัวแอล L )
- พับผ้าห่มสองถึง3ชั้น กว้าง 1-2 ฟุต ให้นอนโดยส่วนไหล่อยู่บนผ้าห่ม ศีรษะวางบนพื้น วางแขนไว้ข้างลำตัว
- ชันเข่าขึ้นให้ส้นเท้าวางกับพื้นติดก้น ให้หายใจออก ใช้แขนและมือทั้งสองข้างกดบนพื้นยกสะโพกขึ้นพร้อมดึงเข่าไปทางศีรษะในท่าเข่างอ ทำให้ฝ่าเท้าไม่ติดพื้นต้นขาแนบลำตัว
- หายใจเข้าช้าๆ ขณะหายใจออกยกก้นขึ้นจากพื้น แล้วยกหลังขึ้นจากพื้นจนเข่าทั้งสองข้างอยู่หน้าใบหน้า ใช้มือสองข้างประคองแผ่นหลังจนกระทั่งหลังตั้งฉากกับพื้น แล้วค่อยเลื่อนมือลงดันแผ่นหลังไว้
- หายใจเข้าช้าๆ ขณะหายใจออกเหยียดเข่ายกปลายเท้าชี้บนเพดาน
- ดันลำตัวขึ้นจนหน้าอกชิดกับคาง หน้าตั้งตรง
- ให้คงท่านี้ไว้ 30 วินาทีสำหรับผู้ที่ฝึกใหม่แล้วค่อยเพิ่มวันละ 5- 10 วินาทีจนกระทั่งทำได้นาน 3 นาทีทำซ้ำ 2-3 ครั้ง
- กลับสู่ท่านอนหงาย(ศพ)
ข้อห้ามการฝึก กำลังมีประจำเดือน ท้องร่วง มีโรคที่กระดูกคอและหลัง ความดันโลหิตสูง กำลังตั้งครรภ์
ขอบคุณ Blogspot.com-ครูขามสะแกแสง เอื้อเฟื้อภาพ
ในส่วนของตำราหมอพื้นบ้านรักษาอาการไส้เลื่อนให้ใช้เปลือกของต้นสำโรง จะเป็นเปลือกต้นสำโรงสดหรือเปลือกสำโรงแห้งก็ได้ เอามาฝนกับฝาละมีหรือกระเบื้องดินเผา ผสมน้ำปูนใส จะใช้ปูนแดงหรือปูนขาวที่กินกับหมากพลูก็ได้ ฝนจนน้ำขุ่นแล้วนำไปทาที่ลูกอัณฑะ บริเวณที่บวม หรือเป็นไส้เลื่อน ทาวันละหลายๆครั้ง ก็จะทำให้ลูกอัณฑะหดตัว ประมาณ ๑ เดือน อาการก็จะดีขึ้น
เรื่องไส้เลื่อนนี้ผมได้ปรึกษาคุณหมอคำปัน กิ้งเงิน หมอพื้นบ้านจังหวัดลำปางท่านแนะนำใหกินสมุนไพรชักมดลูก โดยเอามาต้มกิน ถ้ากินยากก็ให้บดเป็นผงใส่แค็ปซูลกินก็ได้ มีคนกินหายมาหลายรายแล้ว (หมอคำปัน) ๐๘-๔๔๘๙-๕๑๗๙
+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
รูปภาพโรคไส้เลื่อน
++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++