อาการของโรคพุ่มพวง โรคพุ่มพวง ปลาปอมปาดัวร์ โรคพุ่มพวง สาเหตุ


2,380 ผู้ชม


อาการของโรคพุ่มพวง โรคพุ่มพวง ปลาปอมปาดัวร์ โรคพุ่มพวง สาเหตุ

                    อาการของโรคพุ่มพวง

โรค SLE คืออะไร

คนปกติจะมีระบบต่อสู้กับเชื้อโรคเรียกภูมิคุ้มกัน ถ้าภูมิคุมกันของคนเสียจากเชื้อไวรัส HIV เรียกโรคภูมิคุ้มกันบกพร่องหรือโรค AIDS ร่างกายจะไม่สามารถสร้างภูมิต่อสู้กับสิ่งแปลกปลอมได้ ในทางตรงกันข้ามภูมิคุ้มกันของร่างกายทำงานมากเกินไป และจำเนื้อเยื่อตัวเองไม่ได้ทำให้ภูมิคุ้มกันทำลายเนื้อเยื่อตัวเราเรียก autoimmune disease ทำให้เนื้อเยื่อนั้นเกิดการอักเสบและถูกทำลาย โดยคำจำกัดความหมายถึงโรคเรื้อรังที่เกิดระบบภูมิคุ้มกันทำลายเนื้อเยื่อตัวเอง เนื้อเยื่อที่มักเกิดอาการได้แก่ ข้อ joint ,ผิวหนัง skin, ไต kidneys, หัวใจ heart, ปอด lungs, หลอดเลือด blood vessels, และสมอง brain.ผู้ป่วยจะมีอาการเป็นๆหายๆ

ผู้ป่วย SLE รักษาไม่หายแต่สามารถมีคุณภาพีชีวิตใกล้เคียงคนปกติ ผู้ป่วยต้องทราบว่าโรคนี้จะมีบางช่วงที่ปราศจากอาการเรียก remission บางช่วงก็มีระยะที่เกิดโรคกำเริบเรียก flares ผู้ป่วยต้องเรียนรู้วิธีป้องกันโรคกำเริบและรู้วิธีรักษาโรคนี้มักจะเป็นในผู้หญิงแต่ไม่เป็นกรรมพันธุ์ โรค SLE มีได้หลายลักษณะดังนี้

  • Systemic lupus erythematosus (SLE) หมายถึงโรคที่มีการทำอักเสบและมีการทำลายเนื้อเยื่อหลายอวัยวะ เช่น ผิวหนัง ไต ข้อ หัวใจ
  • Discoid lupus erythematosus โรคที่เป็นเฉพาะผิวหนังโดยเฉพาะบริเวณหน้า หนังศีรษะ ผู้ป่วยจำนวนไม่มากที่เปลี่ยนไปเป็น SLE
  • Drug-induced lupus เป็นกลุ่มโรคที่มีอาการเหมือน SLE เช่น มีผื่น ข้ออักเสบ มีไข้ แต่ไม่เป็นโรคไต เมื่อหยุดยาอาการต่างๆจะหายไป
  • Neonatal lupus ทารกที่เกิดจากแม่ที่เป็น SLE พบน้อยมาก

สาเหตุของ SLE

สาเหตุที่แท้จริงไม่มีใครทราบแต่เชื่อว่าเกิดจากหลายสาเหตุเช่นพันธ์กรรม สิ่งแวดล้อมและระบบภูมิคุ้มกัน มักพบโรค  SLE ในคู่แผดจากไข่ใบเดียวกัน มากกว่าแผดจากไข่คนละใบ นักวิทยาศาสตร์เชื่อว่า แสงแดด ความเครียด ยาบางชนิด การติดเชื้อบางชนิด เป็นตัวกระตุ้นให้เกิดโรคในผู้ป่วยที่มีแนวโน้มโรคนี้ไม่สามารถติดต่อจากผู้ป่วยสู่คนอื่น ภูมิคุ้มกัน antibodies ของโรค SLE จะทำลายเนื้อเยื่อของตัวเองเรียก autoantibodies ทำให้เกิดการอักเสบของหลายอวัยวะ เกิดอาการ ปวด บวม แดง ร้อน ที่อวัยวะนั้น autoantibodiesบางส่วนจับกับสารในร่างกายเกิดเป็น immune complexes ซึ่งทำให้เกิดการอักเสบตามอวัยวะต่างๆ

 

 

อาการของโรค SLE

ผู้ป่วย SLE แต่ละคนจะมีอาการต่างกัน อาการมีตั้งแต่เป็นมาก บางรายเป็นน้อย อาการที่พบบ่อยได้แก่ อาการทางผิวหนังและอาการปวดข้อ อาการทางผิวหนังได้แก่มีผื่นโดยเฉพาะบริเวณที่ถูกแสงเรียกว่าแพ้แสงแดด Photosensitivity ผื่นมักจะเกิดมากบริเวณที่ถูกแสงแดด เช่นผื่นที่หน้าบริเวณโหนกแก้มและจมูกทำให้มีลักษณะคล้ายปีกผีเสื้อเรียก butterfly or malar rash นอกจากนั้นยังพบว่ามีอาการผมร่วงด้วย ส่วนอาการทางข้อได้แก่ ปวดข้อ บางครั้งอาจจะมีอาการข้ออักเสบ ข้อบวมและปวด ไข้สูง มีผื่น อาการอื่นที่พบได้แก่ แน่นหน้าอก ผมร่วง ถูกแสงแล้วมีผื่นที่ผิวหนัง ซีด ปลายนิ้วจะมีสีม่วงอ่อน บางรายปวดหัว ซึม ชัก

อาการที่พบบ่อย

ผู้ป่วย SLE บางรายอาจมีการอักเสบเพียงระบบเดียว บางรายมีการอักเสบหลายระบบได้แก่

  • ร้อยละ 90 จะมีอาการทั่วไป ได้แก่ไข้ อ่อนเพลีย ปวดข้อปวดกล้ามเนื้อ
  • ผู้ป่วยร้อยละ 90 จะมีอาการทางกล้ามเนื้อและข้อ จะมีอาการปวดข้อ ปวดกล้ามเนื้อ ข้อที่ปวดมักจะเป็นข้อนิ้วมือ proximal interphalangeal, metacarpophalangeal ข้อมือ ข้อเข่า
  • อากทารทางผิวหนังและเยื่อบุ ร้อยละ 30 ของผู้ป่วยจะมีแผลที่เพดานปาก แผลจะไม่เจ็บปวด แต่หากมีการติดเชื้อก็อาจจะทำให้เจ็บได้ แผลนี้ผู้ป่วยอาจจะไม่รู้ตัว ผื่นตามผิวหนังจะมีผื่นแพ้แสงแดดและผื่นที่หน้าดังได้กล่าวมาแล้ว ผู้ป่วยจะมีอาการผมร่วงซึ่งพบได้ร้อยละ 50 ผมจะร่วงช่วงที่โรคกำลังดำเนินงานแต่เมื่อโรคถูกควบคุมผมจะกลับสู่ปกติ นอกจากนั้นก็อาจจะมีอาการทางผิวหนังอื่น เช่น ลมพิษ Raynaud phenomenon
  • ไต มีการอักเสบของไต nephritis ทำให้ไตไม่สามารถเก็บไข่ขาวผู้ป่วยจะมีอาการบวม ในรายที่เป็นมากจะมีไตเสื่อมผู้ป่วยจะบวม ความดันโลหิตสูงขึ้น เนื่องจากผู้ป่วยที่ไตอักเสบเริ่มต้นจะไม่มีอาการ เราทราบได้จากการตรวจปัสสาวะพบไข่ขาวและเม็ดเลือดขาว
  • ระบบประสาท ผู้ป่วย SLE อาจมีอาการปวดศีรษะ ซึม อัมพาต ชัก ปัญหาเกี่ยวกับการมองเห็น เส้นเลือดมีการอักเสบอาจจะทำให้เกิดเลือดไปเลี้ยงสมองไม่พอ
  • ระบบไหลเวียน มีการอักเสบของหลอดเลือด vasculitis
  • เม็ดเลือด ผู้ป่วยจะมีจำนวณเม็ดเลือดลดลง เม็ดเลือดขาวต่ำลง เกร็ดเลือดต่ำลง ภูมิคุ้มกันทาลเม็ดเลือด
  • ระบบหายใจ จะมีเยื่อหุ้มปอดอักเสบ เจ็บหน้าอกเวลาหายใจเข้า
  • หัวใจ หลอดเลือดที่ไปเลี้ยงหัวใจมีการอักเสบทำให้เกิด กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ myocarditis เยื่อหุ้มหัวใจอักเสบ pericarditis ลิ้นหัวใจอักเสบ endocarditis
  • อาการทางตา อาจจะมีตาอักเสบanterior uveitis or iridocyclitisหรือเส้นเลือดไปเลี้ยงตาอุดตันทำให้ตาบอด
  • ระบบทางเดินอาหารมีเยื่อบุช่องท้องอักเสบทำให้เกิดอาการปวดท้อง หรือต่อมน้ำเหลืองในท้องรวมท้องลำไส้อักเสบ

การวินิจฉัยโรค SLE

ไม่ง่ายอย่างที่คิดเนื่องจากอาการของโรคซับซ้อนการวินิจฉัยต้องอาศัยประวัติการเจ็บป่วยที่ค่อยข้างละเอียด และแพทย์ต้องระลึกถึงโรคนี้อยู่เสมอ การตรวจร่างกายถ้าพบลักษณะเฉพาะก็สามารถวินิจฉัยได้ นอกจากนั้นแพทย์จะเจาะเลือดเพื่อวินิฉัยดังนี้

  1. Antinuclear antibody คือตรวจหาว่ามีภูมิคุ้มกันของร่างกาย antibody ทำลาย nucleus ตัวเองหรือไม่ วิธีการโดยการหยด serum ของผู้ป่วยบนเซลล์ของตับหนู แล้วใช้ antihuman IgG ซึ่งฉาบสารเรืองแสงส่องกล้องจุลทรรศน์เรืองแสงจะพบความผิดปกติได้ ถ้าการตรวจให้ผลบวกแสดงว่าเป็น SLE
  2. การตัดชิ้นเนื้อ biopsy ที่ผิวหนังและไตเพื่อตรวจหาภูมิคุ้มกันที่เกาะติดอวัยวะดังกล่าว
  3. การตรวจหา VDRL ให้ผลบวกหลอก
  4. การตรวจ CBC อาจจะพบว่าซีด หรือเม็ดเลือดขาวต่ำ หรือเกร็ดเลือดต่ำ
  5. การตรวจปัสสาวะพบว่ามีไข่ขาวรั่วมากกว่า 0.5กรัม ต่อวันและบางรายอาจจะพบเซลล์เม็ดเลือดแดง เม็ดเลือดขาวในปัสสาวะด้วย ผู้ป่วยบางรายต้องมีการเจาะชิ้นเนื้อไตเพื่อตรวจสำหรับวางแผนการรักษา
  6. ตรวจพบ LE cell ในเลือด
  7. ตรวจ Erythrocyte sedimentation rate (ESR) ถ้ามีการอักเสบมากค่า ESR จะสูงค่าตัวนี้ใช้ติดตามการรักษา
  8. เจาะหา Complement levels คือสารเคมีในร่างกายถ้าโรคเป็นมากค่านี้จะต่ำ

การรักษาโรค SLE

หลังจากวินิจฉัยโรคได้แล้วแพทย์จะทำการรักษาซึ่งอาจจะใช้แพทย์เปลืองเนื่องจากต้องใช้แพทย์ผู้เชี่ยวชาญหลายสาขา เช่น แพทย์โรคข้อ rheumatologist แพทย์เชี่ยวชาญผิวหนัง dermatologists แพทย์เชี่ยวชาญโรคไต nephrologists แพทย์เชี่ยวโรคภูมิคุ้มกัน immunologists การรักษาผู้ป่วย SLE ขึ้นกับผู้ป่วยแต่ละคนเนื่องจากแต่ละคนเจ็บป่วยไม่เหมือนกัน ยาที่แพทย์มักจะเลือกใช้

NSAIDs Used To Treat Lupus*
Generic Name 
Ibuprofen 

Naproxen 
Sulindac 
Diclofenac 
Piroxicam 
Ketoprofen 
Diflunisal 
Nabumetone 
Etodolac 
Oxaprozin 
Indomethacin 

  • Nonsteroidal anti-inflammatory drugs (NSAIDs) เป็นยาลดการอักเสบใช้รักษาไข้ ข้ออักเสบ ปวดข้อ ข้อบวม อาจใช้ร่วมกับยาชนิดอื่น ผลข้างเคียงของยาคือ โรคกระเพาะอาหาร ท้องเสีย และบวม

  • ยารักษามาลาเรีย มีการนำยารักษามาลาเรียมาใช้รักษา SLE โดยเฉพาะรักษาอากรเพลีย ปวดข้อ ผื่น และปอดอักเสบจาก SLE ได้แก่ยา hydrochloroquine
    , chloroquine (Aralen), and quinacrine (Atabrine) ผลข้างเคียงคือแน่นท้อง ตามัวลง
  • Steroid อาจเป็นยากิน ยาทา หรือยาฉีดขึ้นกับความรุนแรงของโรค เนื่องจากยามีผลข้างเคียงจึงนิยมใช้ยาให้มีขนาดน้อยที่สุดที่สามารถรักษาคนไข้ ผลข้างเคียงในระยะสั้นได้แก่ เจริญอาหาร บวม ไม่ควรหยุดยากลุ่มนี้ทันทีเพราะจะเกิดอันตราย หากกินยานี้เป็นเวลานานจะเกิดผลข้างเคียงคือ กระดูกพรุน ความดันโลหิตสูง เบาหวาน ต้อกระจก ติดเชื้อได้ง่าย ผู้ป่วยที่ได้ยา steroid ควรได้รับ แคลเซี่ยมและวิตามินดีเสริมเพื่อป้องกันโรคกระดูกพรุน
  • immunosuppressive หากไม่สามารถควบคุมโรคได้แพทย์จะใช้ยากลุ่มนี้เพื่อกดภูมิคุ้มกันได้แก่ยา azathioprine (Imuran) and cyclophosphamide (Cytoxan) ,methotrexate

เนื่องจากยามีผลข้างเคียงมากดั้งนั้นไม่ควรซื้อยารับประทานเองหรือหยุดยาเองเพราะอาจเกิดผลเสีย

สัญญาณเตือนภัย

  • อ่อนเพลีย Increased fatigue 
  • ปวดข้อ Pain 
  • ผื่น Rash 
  • ไข้ Fever 
  • แน่นท้อง Stomach discomfort 
  •  ปวดศีรษะ Headache 
  •  มึนงง Dizziness

การป้องกันการกำเริบ

  • ต้องเรียนรู้สัญญาณเตือนภัย
  • ต้องตรวจร่างกายอย่างสม่ำเสมอ
  • ตั้งเป้าหมายการรักษา
  • ต้องหลีกเลี่ยงแสงแดด
  • รักษาสุขภาพให้ดีและคุมอาหาร
  • หลีกเลี่ยงความเครียด
  • ต้องมีเวลาผักผ่อนเพียงพอ
  • ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ

ได้

คุณภาพชีวิตของผู้ป่วย SLE

แม้ว่าอาการของโรค SLE จะมีมากและผลข้างเคียงของยาจะมีมากแต่ผู้ป่วยสามารถมีชีวิตอย่างมีความสุขได้ หากเรียนรู้ถึงอาการเตือนของการกำเริบของโรค  และสามารถรู้ถึงวิธีป้องกันโรค ผู้ป่วยควรไดัรับการตรวจจากแพทย์อย่างสม่ำเสมอโดยการตรวจร่างกาย และตรวจเลือด ไม่ควรพบแพทย์เมื่อมีอาการเนื่องจากการรักษาแต่เริ่มแรก จะให้ผลการรักษาได้ผลดีกว่าการรักษาเมื่อโรคเป็นมากแล้ว

ผู้ป่วย SLE ควรได้รับการตรวจสุขภาพประจำปีเช่น การตรวจเต้านม การตรวจภายใน การตรวจสุขภาพช่องปาก และการฉีดวัคซีน ผู้ป่วยที่รับประทานยา steroid หรือยารักษามาลาเรียควรได้รับการตรวจตาทุกปี

         Link    https://www.siamhealth.net

++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

                   โรคพุ่มพวง ปลาปอมปาดัวร์

วิธีรักษาโรคปอมปาดัวร์ (DISCUS), How to cure the diseases of Discus

      การรักษาโรคปลาปอมปาดัวร์ (Discus) นั้น ไม่ยากเลย มีหลักการให้จับอยู่ นิดเดียว แต่ที่ยากก็คือ การรู้อย่างแน่ชัดว่าปลาเป็นอะไร เรียกอย่างโก้ๆ ว่า วินิจฉัยโรค ให้ถูกต้องแม่นยำ เรามาว่ากันแบบง่ายๆครับ ว่าโรคนั้นๆรักษาอย่างไรครับ แล้วเพื่อนๆ คงต้องใช้ประสพการณ์เพื่อเพิ่มความชำนาญเอาครับ โดยในบทความนี้จะเน้นการรักษาที่เพื่อนๆทุกท่านสามารถหายาและองค์ประกอบได้แบบง่ายๆ 

To cure the diseases of Discus is not difficult. There are a few tips. The difficult part is diagnosis. We will discuss in easy ways for how to cure the diseases. Then, you have to use your experience to increase your expert. This article focuses on curing that you can find the medicines and elements easily.

 โรคขี้ขาว   
          เป็นการติดเชื้อในกระเพาะอาหาร ลำใส้ ของปลา ตัวที่ทำให้เกิดอาการขี้ขาว คือ เชื้อโปรโตซัว กับพวกพยาธิตัวกลมทั้งหลายครับ
อาการปลาขี้ขาว มาจากการติดเชื้อในกระเพาะ สาเหตุหลักมาจากอาหาร เช่น
              - อาหารมีสิ่งมีชีวิตไม่พึงประสงค์ ..พยาธิ โปรโตซัว ...
              - อาหารเสีย บูดเน่า ...
 White feces syndrome

                This disease is from the infection in the stomach and intestine of the fish. Protozoa and roundworm cause this disease.

 White feces syndrome is from the infection in the stomach. The main causes are from

-         the undesired live food… worms and Protozoa …

-         the spoiled food…

การรักษา     ก็ใช้ เมโทรดินาโซล ก่อน เพื่อให้ อาการทุเลาลง (หาซื้อได้ตามร้านขายยาทั่วไป)
    มาจากเชิ้อโปรโตซัว ใช้ยาตัวเดียว เมโทรฯ สัก 3 - 4 มื้อก็น่าจะทุเลาลง (ใช้ 12 เม็ดในอาหาร 1 กก.)
    ถ้ามาจากพยาธิ       ใช้ยาตัวเดียวกัน หลังจากอาการทุเลาลง คงต้องถ่ายพยาธิ 
   พวกเราเข้าใจผิดเรื่องสรรพคุณของยาครับ เมโทรฯมิได้ใช้ถ่ายพยาธิ แต่ใช้กำจัด โปรโตซัว แต่อาการของการป่วย จาก พยาธิ และ โปรโตซัว เหมือนกัน เลยเข้าใจไม่ละเอียด
  เราจะรู้ได้อย่างไรว่าเกิดจากอะไร ถ้าจะให้รู้แน่ต้องเก็บตัวอย่าง คงยุ่งยากน่าดู ดี ไม่ ดี ปลาอาจตายก่อนรู้ว่าเป็นอะไร  ทางที่ดี เมื่อรักษาด้วยเมโทรหายแล้ว ก็ถ่ายพยาธิ ต่อเลยก็ดี 
   อย่างไรก็ตามการป้องกัน ดีที่สุด โดย 
    1.รักษาคุณภาพอาหาร
    2.ถ่ายพยาธิ ด้วยยาถ่ายพยาธิ สำหรับสัตว์
    3. ให้เมโทรฯผสมอาหารให้กิน   
    ทำอย่างนี้เป็นประจำ ปลาก็จะไม่ป่วยด้วยโรคนี้ครับ 

Treatment The fish can use Metrodinasol to relieve the symptom (available at the drugstore)

If the disease comes from Protozoa, you can use Metrodinasol for 3-4 meals. Then, the fish may get better (use 12 pills for 1 kg. of food).

If the disease comes from worms, you can use the same medicine. After, the symptom is better, the fish may be better to the

vermicide.

          We misunderstood about the properties of the medicine. Metrodinasol is not for anti worm, but it is used to get rid off  Protozoa. However, the sickness from Protozoa and worm is the same, so many people do not understand clearly.

          How will we know what causes the disease? If we want know the exact cause, we have to collect the sample. This might be complicated. The fish may die before we know the cause. It would be better. After, we use Metrodinasol and the fish is fine already. The fish should take the

vermicide.

However, the prevention is better. You can prevent as the followings:

                 1. Maintain the food’s quality
          2.Take the anti worm medicine for animals 
          3. Mix Metrodinasol with the feeding food  
   Follow the above guideline regularly. The fish will not get sick with this disease.
โรคจุดขาว
    เป็นพวกเชื้อพยาธิภายนอกพวกปรสิต  พวกนี้มักจะออกมารบกวนปลาในขณะที่อากาศเย็น อุณหภูมิลดต่ำลง ในตัวแก่เป็นเชื้อที่ ทนทานมาก จึงต้องกำจัดในขณะที่อยู่ในวัยละอ่อน จริงแล้วโรคนี้รักษาง่ายมากหากรักษาแต่เนินๆ ครับ ใช้เพียงเพิ่มอุณหภูิมิ สัก 30 องศา แล้วใช้เกลือ ก็เสร็จเราแล้ว 

 White Spot Disease

                This disease is from the outside worm (parasite), which disturbs the fish in the cold weather. The old worm has the strong disease. So, we had better get rid of it when the worm is young. Actually, this disease is very easy to cure in the beginning step. Just increase the temperature to 30 degree Celsius and use the salt.

  การรักษา   
  หากเป็ระยะเริ่มแรก ก็เพิ่มอุณหภูมิสัก 30 องศา แล้วใส่เกลือสัก 10 วัน เคลื่อนย้ายปลาไปใส่ตู้ใหม่ทุกครั้งที่เปลี่ยนน้ำ
  เกลือ 1 ขีด ต่อน้ำ 100 ลิตร ย้ายปลาไปตู้อื่นทุกครั้งที่เปลี่ยนน้ำ ทำติดต่อกัน 10 วัน

The Treatment

If the fish has this disease in the beginning step, you should increase the temperature to 30 degree Celsius and put the salt for 10 days. Then, you should move the fish to the new aquarium every time you change the water.

100 grams of salt for 100 liters of water. Then, you should move the fish to the new aquarium every time you change the water and do these steps for 10 days continuously.

    ระยะเริ่มแรก มีองค์ประกอบ หลักคืออุณหภูมินะครับ หากอุณหภูมิไม่ได้ลดลง คงไม่ใช่จุดขาวนะครับ 
ใช้การเพิ่มอุณหภูมิเอาซัก 30 องศา ก็เพียงพอครับ ( มากว่านั้น ปลาทนได้ครับ แต่ไม่สบายตัวหลอกครับ เหมือนเราอยู่อากาศร้อนๆนะครับ อยู่ได้ไหม อยู่ได้ แต่ร้อนมาก ) ใส่เกลือลงไป ก็เพียงพอครับ เอาเป็นว่า 
 เกลือ 1 ขีด ต่อน้ำ 100 ลิตร
 At the beginning step, the main factor is temperature. If the temperature does not decrease, it will be not White Spot Disease.  It’s enough to use 30-degree-Celsius water (if the water is  more than 30 degree Celsius, the fish can stand but it’s too hot and not comfortable.) and put 100 gram of salt for 100 liter of water.   
ดูยังไงที่เรียกว่าระยะเริ่มแรก
      1. อุณหภูมิ ลดลง
      2. ปลาเอาตัวไถวัสดุ ในตู้ปลา
      3. ตัวเป็นขุยๆ เล็กน้อย หรือเป็นคราบเมือก ตามลำตัว
 The symptoms in the beginning step are as the followings:

1.     The temperature decreases.

2.     The fish rubs itself with the material in the tank.

3.     The fish body has some slough a little bit or has mucilage on its body.

   ระยะแสดงอาการ
      ตามลำตัวปลา จะมีจุดขาวๆ เกาะอยู่บริเวณลำตัว ปลาจะใช้ตัวไถกับวัสดุในตู้ อีกทั้งมีอาการซึม ไม่กินอาหาร หอบ บางครั้งจะลอยตัวอยู่ผิวน้ำ ระยะนี้ต้องรีบรักษา มิฉนั้นจะโดนพวก ชอบซ้ำเติม พวกแบคทีเรียเข้าร่วมวงเล่นงานอีก  การรักษาระยะนี้ วิธีการเพิ่มขึ้นนิดหน่อย 
     -  เพิ่มอุณหภูมิ เป็นสัก 30 องศา
     -  ตัวยาก็ มี ดังนี้ครับ เลือกใช้เอานะครับ ขึ้นอยู่กับว่าหาอะไรสะดวก
           1. ฟลอมาลีน ขนาด 1 ซีซี กับน้ำ 15 - 20 ลิตร 
           2. ยาฆ่าเชื้อ อิ๊ค ที่มีขายตามร้านขายปลาชื่อคล้ายๆเชื้อนี่แหละครับ  (แต่ก็ทำมาจาก ฟลอมารีน + มาลาไคท์กรีน)
           3. ยา ที่เพื่อนๆเรียกเป็นตัวเลขครับ aq2 ก็จัดการได้ดี  (เมื่อวันจันทร์(30 พย.52) ได้พบ อ.จีระศักดิ์ ฯเลยถือโอกาศถามเรื่องใช้ เบอร์ 2 ผสมอาหารให้ปลากิน ท่านส่ายหน้า บอกไม่ได้ผล เป็นยาใช้ภายนอก) 
           4. ใช้ด่างทับทิม แช่ทิ้งไว้สัก 30 นาที แล้วเปลี่ยนน้ำ เอาแบบให้พอมองเห็นตัวปลานะครับ ทำเวลาถ่ายน้ำออกแล้ว เติมน้ำเกือบครึ่งตู้ แล้วค่อยแช่ อย่าใส่ก่อนเปลี่ยนน้ำ นะครับ อีกอย่างละลายด่างทับทิมก่อนใส่ในตู้ด้วย
 

Acting up period

          The fish body will have white spots and the fish will rub itself with the material in the tank. It will be inactive and will not eat the food. Also, it will pant. Sometimes, it will float on the water surface. In this step, you should cure the fish as soon as possible, otherwise, the bacteria can attack the fish. In this step, the treatment method should be added some more procedures:

  • Increase the temperature to 30 degree
  • The medications are as the followings. You can select which is more convenient to find.

           1. 1 cc. of formalin mixed with 15-20 liter of water.

           2. Ich antiseptic (ยาฆ่าเชื้อ อิ๊ค), which is sold in the fish shop with the similar name of this antiseptic (made from formalin and Malachite Green).

           3. The  medicine that you call in number (aq2) can deal with the disease. On 30th November 2009, I met Lecturer Jeerasak, so I asked him about how to use No.2 mixed with the fish food. He shakes his head and said it didn’t work, because the medicine is for the external usage).

          4. Put the fish in potassium permanganate for 30 minutes then change the water. You should mix the water that can see the fish. First, you should put the water only a half of the tank and mix and melt potassium permanganate in the water. Then, you can put the fish in the tank.


     - เปลี่ยนถ่ายน้ำทุกวัน แนะนำเปลี่ยน 80 เปอร์เซ็น และย้ายปลาลงตู้ใหม่  ตู้เก่าแช่ด้วยด่างทับทิมเข้มข้นไว้ ใช้วันต่อไป
     - ทำอย่างนี้สัก 10 วันนะครับ เพื่อให้หายขาด เพราะเชื้อนี้จะฝังตัวอยู่ในผิวหนังของปลา
     -  ระยะของการรักษา หากปลากินอาหารอยู่ ก็อย่าไปอดอาหารเลยนะครับ สงสารปลา ยิ่งป่วยอยู่ จะได้มีแรงไว้สู้กับโรคภัยไข้เจ็บครับ

- Change the water every day. I would recommend you to change 80% and move the fish into the new tank. The old tank should be put with the intense potassium permanganate for the next day usage.

     - You should do the above steps for 10 days, because, this disease will live in the fish skin.

     -  In the treatment period, if the fish can eat the food, don’t stop feeding it. So, the fish has the power to fight with the disease.

  
ข้อควรจำ    ยาปฏิชีวนะ พวกเต็ดตร้า อ๊อคซี่ หรืออื่นๆ ใช้กับเชื้อพวกนี้ไม่ได้ผลนะครับ อย่าใช้เลยเปลืองยา ท่านใดที่ใช้แล้วได้ผล ก็จะมาจากปัจจัยอื่นครับ รอให้จัดการเจ้าเชื้อนี้หมดก่อนค่อยใส่เพื่อรักษา ความเสียหายจากเชื้อนี้จะดีกว่าครับ
 การป้องกัน   ค่อนข้างยาก โรคนี้นักเพาะเลี้ยงปลาปอมปาดัวร์ ทั้งหลายใครไม่เคยเป็น ถือว่าเชยมาก แต่ก็มีองค์ประกอบที่ทำให้การเกิดโรคนี้น้อย ก็เรื่องของอาหารเหมือนเดิม อุณหภูมิ คุณภาพของสิ่งแวดล้อมตัวปลา

Remarks. The antibiotic medicine likes Tetra, oxy or others can not use with this disease. Don’t use them. If someone uses that kind of medicine and the disease can be cured, it will be from other factors. Wait until the disease is cured. Then, cure the affect from this disease.

  โรคยอดฮิตอีกตัว โรคตัวดำปี๋  (ขอยืมคำของน้องคนนึงในบอร์ด)
    โรคตัวดำปี๋ นี้ จริงแล้วมันเป็นกันทุกตัวแหละครับ หากเขาจะเป็น เพียงแต่ว่า สายพันธุ์บางสายพันธุ์ตัวไม่ดำเท่านั้น 
    มีสองอย่างครับ 2 สาเหตุ
        1. เอาปลาใหม่มาเลี้ยง แล้วเกิดอาการเครียด ตัวเลยดำ คำว่าเอาปลาใหม่ม่เลี้ยง ปลาที่จะเครียดเป็นได้ทั้งปลาเข้ามาใหม่ และ ปลาที่อยู่เก่าก็ได้นะครับ ประเภท กลัวเจ้าของไม่รัก รักตัวใหม่มากกว่า ...หากเกิดจากการเครียด ก็ทำดังนี้
         - เพิ่มอุณหภูมิ ไปสักเป็น 30 องศา ซี 
         - เติมเกลือลงไป ขนาด 1 ขีด ต่อน้ำ 100 ลิตร ครับ เปลี่ยนน้ำ 50 เปอร์เซ็น เติมเกลือตามสัดส่วน 
        2. ปลาติดเชื้อ โดยส่วนมากจะติดเชื้อปรสิต ภายนอก  การรักษาก็ ดังนี้
         - เพิ่มอุณหภูมิ ไปสักเป็น 30 องศา ซี
         - ใช้ยาพวกแก้อักเสบ เต็ดตร้าไซครีน 1 แคปซูล ต่อน้ำ 20 ลิตร
         - หรือใช้ ฟลอมาลีน ขนาด 1 ซีซี ต่อน้ำ 20 ลิตร
      ทั้ง 2 วิธี นี้ให้เปลี่ยนน้ำทุกวัน และเติมยาตามสัดส่วนครับ
 Another famous disease is the dark-skinned disease 

The dark-skinned disease can be occurred in every kind of fish, however, some kinds of fish are not dark. There are 2 causes.

        1. If your new or old fish is stressful and it becomes darker, you can do the followings:

         - Increase the temperature to 30 degree Celsius.

         - Put the salt into the water (100 grams of salt for 100 liters of water). Change 50% of water and put the salt proportionally.

        2. If the fish is infected (mostly from outside

parasite), you can use the following treatments:

         - Increase the temperature to 30 degree Celsius.

         - Use 1 capsule of Tetracycline per 20 liters of water.

         - Or use 1 cc of Formalin per 20 liters of water.

      The 2 above methods are needed to change the water everyday and put the medicine in proportion.

โรค ครีบเปื่อยหางเปื่อย
     เกิดจากเชื้อแบตทีเรีย เข้าเล่นงาน อันเกิดมาจาก คุณภาพของน้ำไม่ดีพอครับ หรือการดูแลรักษาอย่างไม่ถูกวิธี เชื้อพวกนี้มีอยู่ในน้ำอยู่แล้ว ปลาของเราอ่อนแอเมื่อใด ก็ถูกเข้าเล่นงาน การที่ผู้เลี้ยง ทำทุกอย่างเป็นปกติ ไม่ได้ทำอะไรที่คิดว่าจะก่อให้เกิดโรคได้ ทำไมถึงป่วยได้ ปัจจัยครับ มีปัจจัยหลายปัจจัย ทั้งปัจจัยที่ควบคุมได้ และควบคุมไม่ได้ครับ เป็นเหตุให้ปลาอ่อนแอได้ทั้งนั้น เช่น ปลาตกใจ อากาศเปลี่ยนแปลง ไม่ว่าสูง หรือ ต่ำ ปริมาณอาหาร เป็นเหตุได้ทั้งนั้นครับ

Rot tail and fin Disease:

This disease is from bacteria which live in water that the quality of water is not good enough or maybe you don’t care it good enough with incorrect method. These bacteria always compound in water and when our fishes become weak, they would be destroyed by these bacteria. Sometimes, although farmer take care the fishes as usual but they’re still ill that’s because several factors as both controllable and uncontrollable factors so the fishes would become ill and dead. Finally, it’s such as frighten situation of fishes, changed weather (both high and low temperature), food quantity etc. that they’re all the factors of illness.

  การรักษา
       - ปรับอุณหภูมิ สัก 30 องศาซี
       - ใช้ยาแก้อักเสบครับ เต็ดตร้า แอมม๊อคซี่ ได้ทั้งนั้น ขนาด 1 แคปซูล ต่อน้ำ 20 ลิตร
       -  หรือ ใช้ ฟลอมาลีน ขนาด 1 ซีซี ต่อน้ำ 20 ลิตร
       -  หรือใช้ทั้ง 2 อย่างร่วมกันก็ได้
 Treatment:

-         To adapt the temperature becoming 30 °C

-         To use antibiotics Dextral Emmoxy 1 capsule / 20 liters of water.

-         To use formalin for 1 CC per 20 liters of water

-         Or to use both of them above together.


สิ่งควรจำ โรคครีบเปื่อย หางเปื่อยเป็นโรคที่อันตรายมาก อีกทั้งดูแลช้าเกินไปปลาจะตายได้รวดเร็ว และการรักษาก็ยุ่งยากพอสมควร เมื่อรักษาหายแล้ว โรคชนิดนี้ก็มักจะทิ้งร่องรอยไว้ที่ตัวปลา กว่าจะกลับสู่ภาวะปกติได้ก็ต้องศัลยกรรมปลากันบ้างซึ่งก็ต้องใช้ประสบการณ์กันบ้างพอสมควร
 Essential Knowledge:

Rot tail and fin Disease is quite dangerous and if we know or absorb the fishes too late, they will die quickly. The methods of treatment are also complex. After finishing the treatment, this disease often give the trace on fishes bodies and if we want our fishes become beautiful features as previous, we must make surgery for fishes but however it must depend on the experience about the operation also.


โรคตกหมอก นิยมเรียกกันโรคพุ่มพวง
       โรคนี้สมัยก่อนเป็นที่เกรงกลัวกันมาก จนปัจจุบันนี้ การเล่าขาน การสอนของนักเพาะเลี้ยงรุ่นเก่า ยังทำให้หลายท่านเกรงกลัวกัน ปัจจุบัน การเพาะเลี้ยงมีการพัฒนาไปมาก การรักษาก็มากมายหลายวิธี พอปลารวมหัวกันเมื่อไหร่ ก็เหมาเอาว่า พุ่มพวงมาเยี่ยม โดยส่วนตัวแล้ว ผู้เขียน ไม่คิดว่าเป็นโรคเดียวกัน เพราะผู้เขียนใช้วิธีรักษาต่างกัน ระหว่างอาการตกหมอก กับปลารวมหัวกัน 
       ทำไมผู้เขียนคิดอย่างนั้นหรือครับ ปลาเล็ก ลูกปลาเมื่อป่วย รับรองรวมหัวกันแน่ครับ แล้วก็ทยอยตาย ไม่ทันได้เห็นหมอกหลอกครับ 2 - 3 วัน ก็เกือบหมดครอกแล้ว พวกนี้ใช้ยาแช่คืนเดียวก็วงแตก กลับมากินเหมือนเดิมแล้ว แต่ตกหมอกสำหรับปลาที่มีขนาดใหญ่หน่อย รักษากันนานพอสมควรทีเดียว และก็การรักษาต่างกัน ตัวยาก็ไม่เหมือนกัน จริงแล้วพวกโรคตกหมอกจะมีเอกลักษณ์ที่เฉพาะตัวนอกจากการที่ปลามีเมือกเกาะทั่วตัวนั้น คือ เรื่องของกลิ่นครับ กลิ่นคาวจะรุนแรงมาก ซึ่งปัจจุบันจะพบน้อยมาก ที่เป็นกันมักจะเป็นประเภท ที่เรียกว่าตกหมอกเทียมครับ
 

Falling Fog Disease or popularly called Pumpuang (This people call)Disease:

 Previously, everyone’s afraid this disease very much. Nowadays, new generation of farmers still are afraid it especially when they listenedhe suggestion or the information of old generation of farmers about this disease; they’re more frighten. At this present time, spawning is developed greatly and there’re many methods of treatment. When we see the dishes living in group, we often guess that they’re Pumpuang Disease. The writer hardly though that they’re the same disease that the writer would choose different methods of treatment for Falling Fog Disease and the feature of living in group of fishes.

 Why the writer think like that? When junior or baby fishes are ill, the writer guarantees that they’ll be together then they’ll die together continuously and we can’t see their fog that they’ll die almost all of them for 2-3 days. They’re frightened when we sink medicines only 1 night then they return to eat waste again. To become fog of large fishes is quite difficult to cure and it must be different in treatment with different medicines also. Actually, Falling Fog Disease owns character expected mucilage covered body being the scent that it’ll smell very bad but nowadays, it’s hardly found and Falling Fog Disease often found being the kind artificial Falling Fog Disease.

การรักษา
               สำหรับปลาขนาดเล็ก ให้ไปดูยาฆ่าเชื้อ แบคทีเรีย ครับ และต้องระมัดระวังเรื่องของอุณหภูมิด้วยนะครับ อย่าให้ร้อนมากนัก เเค่ 28 องศา ก็พอครับ จากประสบการณ์ ปลาเล็ก เมื่อรักษาโรคนี้ ถ้าให้อุณหภูมิสูงๆ มักมีจำนวนที่รอดค่อนข้างน้อยกว่า ให้อุณหภูมิที่ 28 องศา ส่วนการให้ยานั้น มี 2 วิธี
     1. ให้ยาฆ่าเชื้อแบคทีเรียอย่างแรง ซึ่งวิธีนี้ จะเกิดการเสียหายบ้าง แต่ปลาที่รอด จะกลับมาแข็งแรงได้ภายใน 2 - 3 วัน ความเสียหายโดยประมาณ 40 - 50 เปอร์เซ็น (วิธีนี้ผู้เขียนนิยมใช้ครับ เพราะรวดเร็วดี ไม่เสียแรง และเวลามากนัก)
     2. ให้ยาฆ่าเชื้อแบคทีเรียอย่างแรง แต่ลดปริมาณลง และจะค่อยๆเพิ่ม ปริมาณยามากขึ้นตามลำดับ วิธีนี้มีปริมาณลูกปลาที่รอดชีวิต มีจำนวนมาก เสียหายน้อย แต่ระยะเวลาในการดูแลรักษา ก็นานขึ้น ตามลำดับ โอกาศของการแพร่ขยายเชื้อ ก็มีมากขึ้นตามลำดับ
     สิ่งที่แปลกสำหรับโรคนี้ก็คือ เมื่อลูกปลาที่หายป่วยเป็นปกติ มักจะแข็งแรง เจริญเติบโตได้รวดเร็วและไม่ค่อยป่วยอีก ว่ากันว่าเป็นเพราะปลามีภูมิคุ้มกันโรคแล้ว จึงไม่ค่อยกลับมาป่วยอีก
 Treatment:

To use antibiotics for small fishes and it must to be careful about temperature that it should not be too hot with 28 °C only as proper temperature. As the experience, if temperature is higher than 28°C, the small fishes will die easier. There’re 2 methods of giving medicines as:

(1.)  To give concentrate antibacterial: this method maybe damage but the alive fishes will be stronger within 2-3 days and damage is about 40-50% (The writer often use this method because it’s very fast to do and it doesn’t waste time and energy to do).

(2.)  To give concentrate antibacterial but to reduce its quantity then to increase the quantity again continuously: this method makes lots of aliving fishes with little damage but the duration of treatment is quite long and it must to take lot of time to cure these fishes. Therefore, the occasions of spreading disease also occur quite easier. The strange of this disease is when the fishes recover, they always become strong and hardly being ill because of its immune.


     สำหรับปลาขนาดใหญ่ มีการใช้ยาที่หลากหลายชนิด เช่น เมื่อวันที่ 6 ธค. 52 ไปเยี่ยมเพื่อน นักเพาะเลี้ยงมือเก่า ยังมาทดลองใช้ยารักษาปลา โดยแยกปลาที่ป่วยเป็น 2 ตู้ แล้วใช้ยา 2 ตัว แล้วคอยดูว่า ตู้ไหนจะหายก่อน ฟังดูแล้วเพื่อนคนนี้มั่นใจมากว่ารักษาหายด้วยยา 2 ตัวนี้แน่นอน กลับมาเข้าเรื่องดีกว่า ยาที่ใช้อย่างที่กล่าวมีหลายชนิดมาก ตามแต่ประสบการณ์ และการถ่ายทอดองค์ความรู้ตอๆกันมา เริ่มตั้งแต่
      1. ฟลอมาลีน ใช้ ขนาด 4 - 6  ซีซี ต่อน้ำ 100 ลิตร
      2. AQ2 .ใช้ในปริมาณที่เพิ่มขึ้นนิดหน่อยตามปริมาณที่บอกไว้ข้างภาชนะบรรจุ
      3. สารละลายคอปเปอร์  ใช้ตามปริมาณ ที่แจ้งไว้ครับ
      4.  เมทีลีน บลู 
      5.  ฟังกัส 
     สำหรับผู้เขียนแล้วที่เคยใช้ได้ผล มี ฟลอมาลีน ปริมาณตามข้างต้น เปลี่ยนน้ำทุกวัน เติมยาเท่าเดิม และดูอาการของปลา เมื่อดีขึ้นก็หยุดยา แล้วมาให้ตัวอื่น เช่น เมทีลีนบลู ต่อ  
     อีกวิธีที่ได้ผล คือใช้สารละลายคอปเปอร์  ใส่ตามบริมาณที่กำหนด   หรือ
     ใช้เมทีลีนบลู เพียงตัวเดียวจนกว่าจะหายครับ 
     สุดท้ายนี้ การรักษาโรค สำหรับปลาเล็ก ต้องเกิดความเสียหาย บ้างอย่างแน่นอน แต่สิ่งที่สร้างความเสียหายมากที่สุด คือการสะดุดหยุดลงของการ แพร่พันธุ์ของปลา หรือ ความคึกคักของปลา ทำให้หยุดลง หรือไม่ได้ผลผลิต หลายเดือนทีเดียว ขึ้นอยู่กับท่านเจ้าของปลา จะสามารถกำจัดเชื้อโรคให้หมดจากตู้ได้มากน้อยขนาดไหน

For large fishes, it must to use several kinds of medicines; for example, on 6th December, the writer visited friend who is farmer and both of us try to use some medicines to cure fishes by separated fishes into two aquariums then we observed which aquarium will be these two medicines. Let’s come back to the same issue that there’re several kinds of medicines and the knowledge as transferred experiences are such

(1.)    Formalin for 4-6 CC / 100 liters of water

(2.)    To use little AQ2 as the quantity identified beside containers

(3.)    Copper solution is used as the identified quantity

(4.)     Meat line

(5.)     Fungus

 As the writer, formalin is quite efficient that it must to change water everyday then filled specific medicine with the some dose and observe the feedback of fishes when they’re better, we just stop to use that kind of medicine and then to change to use new kind of medicine is such as Meat line continuously. Another efficient method is to use Copper solution with specific dose or use only Meat line until the fishes become better. Finally, to cure disease of small fishes often causes some damage certainly but the most violent damage is to stop breeding so the productions of fishes will be reduced automatically also for many months depended on fish owner to use the time to eliminate the disease from water in aquarium.

  
โรคท้องบวม
       ช่วงนี้ได้รับคำถามในการรักษาโรคท้องบวมบ่อย โรคนี้ก็เป็นโรคยอดนิยม สำหรับปลาปอมปาดัวร์เหมือนกัน โรคนี้ ความรุนแรงมากน้อยก็แล้วแต่ระดับ โรคนี้แบ่งเป็น 2 ระดับ
ระดับ แรก    ระดับนี้รักษาไม่ยากนัก ท้องบวมจากการติดเชื้อในช่วงแรก
ระดับที่สอง  ระดับนี้รักษาค่อนข้างยากและใช้เวลานาน อีกทั้ง ยังไม่สามารถรับประกันได้ว่าจะรักษาได้กลับมาเป็นปกติหรือไม่ด้วยครับ บางตัวก็สบายดี กินปกติไม่แสดงอาการอะไร นอกจากท้องใหญ่ผิดปกติ ระดับนี้เรียกว่า เข้ากระแสเลือดแล้ว

Swollen Belly Disease:

The writer often gets the questions about this disease which is popular disease. This disease divided the violence into 2 levels for Pompadour as followed:

First level:            it’s not difficult to cure that Swollen Belly Disease occurs from Infection in first period.

Second level:        this level is quite difficult to cure and it must to take long time to recover fishes. However, it can’t guarantee that the fishes will be the same. Some fishes eat food as normal and never shown abnormal performance excepted their belly are too big called “Being into blood”. I’ll add some more details continuously.

   Link    https://www.aquariumthai.com

++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

 โรคพุ่มพวง สาเหตุ

รู้จัก โรคเอสแอลอี หรือโรคพุ่มพวง

เรียบเรียงข้อมูลโดยกระปุกดอทคอม
ภาพประกอบทางอินเทอร์เน็ต

          เพราะเคยสร้างความตื่นตะลึงด้วยการคร่าชีวิตราชินีลูกทุ่ง “พุ่มพวง ดวงจันทร์” มาแล้ว จึงทำให้คนไทยรู้จัก“โรคเอสแอลอี” กันในนาม “โรคพุ่มพวง” ซึ่งแม้ว่าช่วงนี้เราจะไม่ได้ยินชื่อของโรคนี้บ่อยนัก แต่รายงานทางการแพทย์ก็ยังพบผู้ป่วยด้วยโรคเอสแอลอีอยู่อย่างต่อเนื่อง ล่าสุด รายการเรื่องเด่นเย็นนี้ ได้นำเสนอข่าวของคุณแม่สู้ชีวิตที่ต้องเผชิญกับโรคเอสแอลอี อีกทั้งลูกชายวัย 3 ขวบเศษก็ต้องเจอโรคทางกระดูกรุมเร้า ทำให้ชีวิตของเธอและลูกชายไม่ได้สุขสบายเช่นคนทั่วไป…

          ขณะเดียวกัน หลายคนที่ได้รับรู้ข่าวนี้ อาจยังไม่รู้จักโรคเอสแอลดี และอยากรู้ว่าโรคนี้ร้ายแรงถึงขั้นเสียชีวิตหรือไม่ วันนี้เราจะพาไปค้นคำตอบของโรคเอสแอลอี หรือโรคพุ่มพวงกันค่ะ

          โรคเอสแอลอี (Systemic Lupus Erythematosus - SLE) หรือ โรคลูปัส จัดเป็นโรคที่เรื้อรังชนิดหนึ่ง ที่อยู่ในกลุ่มภูมิคุ้มกันเพี้ยน ซึ่งไม่ได้เป็นโรคที่มีอันตรายร้ายแรงอย่างที่ผู้คนส่วนมากเข้าใจ โรคเอสแอลอีเกิดจากการที่ผู้ป่วยมีการผลิตโปรตีนของภูมิคุ้มกันในเลือดที่เรียกว่า “แอนติบอดี้” ขึ้นมามากเกินปกติ ทำให้เกิดปัญหาในอวัยวะส่วนต่างๆ ของร่างกายไม่ว่าทั้งทางตรงและทางอ้อม กล่าวคือ จากปกติที่ภูมิคุ้มกันในร่างกายจะต่อต้านเชื้อโรคและสิ่งแปลกปลอม เช่น แบคทีเรีย หรือไวรัสจากภายนอกร่างกาย  แต่กลับต่อต้านร่างกายของตัวเอง จนทำให้เกิดการอักเสบที่อวัยวะต่างๆ  ถ้าเป็นรุนแรงจะมีการทำลายอวัยวะภายในด้วย เช่น ไต หัวใจ ปอด และระบบประสาท 

          สำหรับความรุนแรงของโรคจะแตกต่างกันไปในแต่ละคนบางคนเป็นรุนแรง บางคนเป็นไม่รุนแรง และในรายที่เป็นไม่รุนแรงวันดีคืนร้ายก็จะเป็นรุนแรงขึ้นมาได้อีก ในปัจจุบันโรคนี้ยังไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ แต่สามารถควบคุมอาการของโรคให้สงบ และดำเนินชีวิตได้ตามปกติหากรักษาได้ทันท่วงที

          ทั้งนี้ ผู้ป่วยด้วยโรคแอสเอลอี ส่วนใหญ่จะเป็นผู้หญิงวัยสาวถึงวัยกลางคน อายุระหว่าง 20-45 ปี อายุเฉลี่ยประมาณ 30 ปี โดยผู้หญิงมีโอกาสเป็นมากกว่าผู้ชายประมาณ 9:1 และพบได้ในทุกเชื้อชาติ แต่จะพบในคนผิวดำและผิวเหลืองมากกว่าผิวขาว โดยเฉพาะบริเวณเอเชียตะวันออก  เช่น ไทย, สิงคโปร์, มาเลเซีย, ฮ่องกง และจีน 

 สาเหตุของโรคเอสแอลอี 

          ในปัจจุบัน ยังไม่ทราบสาเหตุที่แท้จริงของโรคเอสแอลอีแน่ชัด  แต่จากหลักฐานทางการวิจัยพบว่า โรคนี้มีความเกี่ยวข้องกับกรรมพันธุ์, ฮอร์โมน และการติดเชื้อโรค (โดยเฉพาะเชื้อไวรัส) นอกจากนี้ ยังมีปัจจัยบางอย่างที่ทำให้ผู้ป่วยที่เป็นหรือมีโอกาสเป็นโรคเอสแอลอี มีอาการรุนแรงขึ้น เช่น แสงแดด โดยเฉพาะแสงอุลตร้าไวโอเลต การตั้งครรภ์ และยาบางชนิด

          1. พันธุกรรม พบว่าในแฝดจากไข่ใบเดียวกันมีโอกาสเกิดโรคนี้ถึงร้อยละ 30-50 และร้อยละ 7-12 ของผู้ป่วยเอสแอลอี เป็นญาติพี่น้องกัน เช่น แม่และลูกสาว หรือในหมู่พี่น้องผู้หญิงด้วยกัน

          2. ติดเชื้อไวรัส หรือแบคทีเรีย แต่จนถึงปัจจุบัน ยังไม่สามารถค้นพบเชื้อแบคทีเรียและไวรัสที่เป็นสาเหตุของโรคนี้ได้

          3. ฮอร์โมนเพศโดยเฉพาะเอสโตรเจน โรคที่พบมากในสตรีวัยเจริญพันธุ์ บ่งชี้ว่าน่าจะมีความสัมพันธ์กับฮอร์โมนเพศ นอกจากนี้ความรุนแรงของโรคยังแปรเปลี่ยนตามการมีครรภ์ ประจำเดือน และการใช้ยาคุมกำเนิด

          4. แสงแดดและสารเคมี ยาบางอย่างเป็นปัจจัยที่ส่งเสริมให้ผู้ที่มีปัจจัยเสี่ยงทางพันธุกรรม โรคแสดงอาการของโรคนี้ได้ 

 อาการของโรค

 

 

 

โรคเอสแอลอี

          โรคเอสแอลอี เป็นโรคที่มีลักษณะการแสดงออกได้หลากหลาย อาจมีอาการเฉียบพลันและรุนแรง หรือมีอาการค่อยเป็นค่อยไปเป็นช่วยระยะเวลานานหลายปี หรืออาจมีอาการแสดงออกของหลายอวัยวะในร่างกายพร้อมๆ กัน หรือมีการแสดงออกเพียงอวัยวะใดอวัยวะหนึ่งทีละอย่างก็ได้ โดยอาการที่พบบ่อยนั้น ได้แก่ มีไข้ ผื่นขึ้นที่ใบหน้า เกิดแผลในปาก ผมร่วง มีอาการปวดข้อ บางครั้งก็เป็น พอรักษาก็หายไป แต่แล้วก็เป็นขึ้นมาอีก ส่วนอาการอื่นๆ มีดังนี้

           อาการอ่อนเพลีย เบื่ออาหาร น้ำหนักตัวลด เป็นอาการที่พบได้บ่อยในขณะโรคกำเริบ

           อาการทางผิวหนังและเยื่อบุช่องปาก ในระยะเฉียบพลันที่พบได้บ่อยที่สุด คือ ผื่นรูปปีกผีเสื้อ ลักษณะเป็นผื่นบวมแดงนูนบริเวณโหนกแก้มและสันจมูก ผื่นจะเป็นมากขึ้นเมื่อถูกแสงแดด ปลายเท้าซีดเขียวเมื่อถูกน้ำหรืออากาศเย็น ผมร่วง มีแผลในปาก

           อาการทางข้อและกล้ามเนื้อ เป็นอาการที่พบได้บ่อยที่สุด ส่วนใหญ่เป็นอาการปวดข้อมากกว่าลักษณะข้ออักเสบ มักเป็นบริเวณข้อเล็กๆ ของนิ้วมือ ข้อมือ ข้อไหล่ ข้อเท้า หรือข้อเข่า เป็นเหมือนๆ กันทั้ง 2 ข้าง ร้อยละ 17-45 พบอาการปวดกล้ามเนื้อ

           อาการทางไต ผู้ป่วยบางรายมาพบแพทย์ด้วยอาการทางไตเป็นอาการนำ อาการแสดงที่สำคัญของไตอักเสบจากลูปัส ได้แก่ บวม ปัสสาวะเป็นฟอง ตรวจพบโปรตีนในปัสสาวะ ความดันโลหิตสูง

           อาการทางระบบเลือด อาการที่พบได้แก่ อ่อนเพลียหน้ามืดจากภาวะซีด เม็ดเลือดขาวต่ำ ทำให้ติดเชื้อได้ง่าย และเกร็ดเลือดต่ำ อาจพบจุดจ้ำเลือดออกตามตัวได้

           อาการทางระบบประสาท อาการที่พบได้ คือ อาการชักและอาการทางจิต นอกจากนี้อาจมีอาการปวดศรีษะรุนแรง หรือมีอ่อนแรงของแขนขา อาจพบได้ในระยะที่โรคกำเริบ

           อาการทางปอดและเยื่อหุ้มปอด อาการที่พบบ่อย คือ เยื่อหุ้มปอดอักเสบ อาการแสดงคือเจ็บหน้าอก โดยเฉพาะเวลาหายใจเข้าสุด ตรวจพบมีน้ำในช่องเยื่อหุ้มปอด บางรายมีอาการปอดอักเสบซึ่งต้องแยกจากปอดอักเสบติดเชื้อ
           อาการทางระบบหัวใจและหลอดเลือด ที่พบบ่อยคือเยื่อหุ้มหัวใจอักเสบ ซึ่งมักพบร่วมกับเยื่อหุ้มปอดอักเสบ ผู้ป่วยจะมาด้วยอาการ เจ็บหน้าอก มีน้ำในช่องเยื่อหุ้มหัวใจ เหนื่อยง่าย โรคหลอดเลือดหัวใจส่วนใหญ่เป็นผลมาจากภาวะหลอดเลือดแข็งจากการได้รับยาสเตียรอยด์นานๆ นอกจากนี้ภาวะความดันโลหิตสูง ก็เป็นภาวะแทรกซ้อนที่พบได้บ่อยจากไตอักเสบเรื้อรัง และจากการได้รับยาสเตียรอยด์

           อาการทางระบบทางเดินอาหาร ไม่มีอาการที่จำเพาะสำหรับโรคลูปัส อาการที่พบบ่อย ได้แก่ คลื่นไส้อาเจียน เบื่ออาหาร ปวดท้อง ซึ่งเป็นผลจากการใช้ยารักษาโรคลูปัส เช่น NSAIDS ยาสเตียรอยด์ อาการยังคงอยู่ได้แม้จะหยุดยาไปเป็นสัปดาห์

 การรักษา

          ปัจจุบันยังไม่มีวิธีรักษาใดที่ทำให้หายขาดได้ แต่การปฏิบัติตัวที่ดี การเลือกใช้ยาที่ถูกต้องทั้งชนิด ขนาด และช่วงเวลาที่เหมาะสม จะสามารถควบคุมอาการของโรคนี้ได้ การรักษาด้วยยายากลุ่ม NSAIDS และยาต้านมาลาเรีย (คลอโรควีนและไฮดรอกซีคลอโรควีน) ในผู้ป่วยที่มีอาการเล็กๆ น้อยๆ ที่ไม่มีปัญหาต่อการดำเนินชีวิตประจำวันมากนัก เช่น ผู้ป่วยที่มีอาการอย่างโรคตามทางผิวหนัง มีผื่นที่หน้า ปวดข้อและปวดกล้ามเนื้อ โดยที่ผลการตรวจทางปัสสาวะปกติ อย่างไรก็ตามในกรณียาเหล่านี้ควบคุมอาการไม่ได้ อาจให้ยาสเตียรอยด์ในขนาดต่ำๆ (prednisolone < 10 มิลลิกรัม /วัน) ร่วมด้วย เมื่อควบคุมโรคได้จึงค่อยลดยาลง

          ยาสเตียรอยด์ เช่น prednisolone เป็นยาหลักที่ใช้ในผู้ป่วยที่มีอาการอักเสบของอวัยวะสำคัญต่างๆ จากโรคลูปัส แพทย์จะปรับขนาดของยาตามอาการและผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการ ถ้าไม่ได้ผลอาจต้องให้ยากดระบบภูมิคุ้มกันอื่นๆ ร่วมด้วย

 ปฏิบัติตัวอย่างไรเมื่อป่วยเป็นโรคเอสแอลอี 

          1. ในระยะแรกต้องได้รับการรักษาด้วยยา ต้องรับประทานยาตามขนาดและระยะเวลาที่แพทย์กำหนดอย่างเคร่งครัด

          2. ควรพยายามอย่าให้ผิวหนังถูกแสงแดดโดยตรง ควรใส่หมวกปีกกว้าง กางร่ม และสวมใส่เสื้อแขนยาวเวลาที่จำเป็นต้องออกแดด

          3. ทำจิตใจให้สบาย ไม่ควรเครียด ถ้อถอย เศร้าใจ หรือกังวลใจ เพราะทำให้อาการกำเริบได้ ควรมีกำลังใจและมีความอดทนต่อการรักษา

          4. เสริมสร้างร่างกายให้แข็งแรง โดยการรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ โดยเฉพาะอาหารประเภท เนื้อสัตว์ ไข่ นม ผักและผลไม้ต่างๆ มีการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ และนอนหลับพักผ่อนให้พอเพียง

          5. เนื่องจากผู้ป่วยเอสแอลอี มีโอกาสติดเชื้อโรคได้ง่ายจึงต้องคอยระวังตัว ไม่เข้าใกล้ผู้อื่นที่กำลังเป็นโรคติดต่อ เช่น โรคหวัด พยายามไม่อยู่ในที่ผู้คนแออัด นอกจากนี้อาหารที่รับประทานทุกชนิดควรเป็นอาหารที่สะอาดและต้มสุกแล้ว

          6. ทำตามคำแนะนำของแพทย์ พยาบาล และไปรับการตรวจตามนัดอย่างสม่ำเสมอ เพื่อประโยชน์ในการรักษาและประเมินความรุนแรงของโรค และผลการรักษาแพทย์จะได้พิจารณา ให้การรักษาได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม

          7. ไม่ควรเปลี่ยนแพทย์ผู้รักษาบ่อยๆ เพราะแพทย์คนใหม่อาจจะไม่ทราบรายละเอียดของอาการเจ็บป่วย ทำให้เกิดความล่าช้าในการวินิจฉัยและการรักษา อาจทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อน หรืออาจเป็นอันตรายได้

          8. ไม่ควรซื้อยารับประทานเอง เพราะจะมีโอกาสแพ้ยาได้บ่อยและรุนแรงกว่าคนธรรมดา

          9. ไม่ควรเพิ่มหรือลดขนาดยาเอง

          10. ถ้ามีอาการผิดปกติ มีไข้ หรือไม่สบาย ควรรีบกลับไปปรึกษาแพทย์ผู้รักษาทันที หรือหากจะไปหาแพทย์อื่น ควรนำยาที่กำลังรับประทานอยู่ไปให้แพทย์ดูด้วยทุกครั้ง เพื่อว่าแพทย์จะได้จัดยาได้ถูกต้องและสอดคล้องกับยาประจำที่รับประทานอยู่

          11. ผู้ป่วยหญิงที่แต่งงานแล้ว ไม่ควรมีบุตรในระยะที่โรคกำเริบ เพราะจะเป็นอันตรายต่อแม่และเด็กในครรภ์ ไม่ควรใช้ยาคุมกำเนิด เพราะอาจจะทำให้อาการของโรคกำเริบขึ้น ควรเลี่ยงใช้วิธีอื่น­ๆ แทนโดยการปรึกษาแพทย์ ผู้ป่วยจะสามารถตั้งครรภ์ได้ เมื่อพ้นระยะที่โรคมีความรุนแรงแล้ว แต่ควรปรึกษาแพทย์ก่อนการตั้งครรภ์และขณะตั้งครรภ์ควรได้รับการดูแลอย่างใกล้ชิดจากแพทย์

   คลิกอ่านความคิดเห็นของเพื่อนๆ ได้ที่นี่ค่ะ

 ขอขอบคุณข้อมูลจาก
- thai-sle.com
- siamhealth.net
- vcharkarn.com
- psu.ac.th

++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

อัพเดทล่าสุด