การรักษาโรคหอบหืดให้หายขาด สถานการณ์โรคหอบหืด ข้อวินิจฉัยทางการพยาบาลโรคหอบหืด
การรักษาโรคหอบหืดให้หายขาด
โรคหอบหืด
ถ้าหากท่านหรือญาติเป็นโรคหอบหืด ท่านไม่ได้เป็นหอบหืดคนเดียวเพราะเราพบโรคหอบหืดได้ทั่วโรค โดยมากมักจะเริ่มเป็นตั้งแต่เด็ก โรคหอบหืดเป็นโรคเรื้อรัง อาการแต่ละคนรุนแรงไม่เท่ากัน และการหอบแต่ละครั้งก็มีความแตกต่างกัน บางคนอาจหอบไม่กี่นาทีก็หาย บางคนหอบมากถึงกับเสียชีวิตก็มี
เนื่องไม่สามารถคาดเดาได้ว่าเมื่อไร่จะเป็นหอบหืด และไม่ทราบว่าหอบแต่ละครั้งจะเป็นมากแค่ไหน การศึกษาให้เข้าใจโรค รวมทั้งการมีแผนการรักษาที่ดีสามารถทำให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ดี รายละเอียดที่จะนำเสนอต่อไปนี้ได้มาจากตำราของต่างประเทศ และของประเทศไทยเหมาะสำหรับผู้ป่วย ญาติ และนักเรียนที่จะนำข้อมูลที่ได้ไปใช้ สำหรับท่านผู้อ่านที่เป็นโรคหอบหืดอยู่แล้วท่านเริ่มอ่านที่จุดประสงค์ของการรักษา ส่วนท่านที่ยังไม่ทราบว่าตัวเองเป็นหรือไม่แนะนำให้เริ่มอ่านตั้งแต่เริ่มต้น เนื้อหาข้อมูลจะเป็นแนวทางการดูแลตัวเอง
นิยาม
โรคหอบหืดเป็นโรคของหลอดลมที่มีการอักเสบเรื้อรัง [Chronic inflammatory] เป็นผลให้มี cell ต่างๆ เช่น mast cell,eosinophils,T-lymphocyte,macrophage,neutrophil มาสะสมที่เยื่อบุผนังหลอดลม ทำให้เยื่อบุผนังหลอดลมมีปฏิกิริยาตอบสนองต่อสารภูมิแพ้ และสิ่งแวดล้อมมากกว่าคนปกติ[bronchial hyper-reactivity] ผลจากการอักเสบจึงทำให้เยื่อบุผนังหลอดลมมีการหนาตัว กล้ามเนื้อหลอดลมมีการหดเกร็งตัว ทำให้ผู้ป่วยมีอาการไอ แน่นหน้าอก หายใจมีเสียงหวีด และหอบเหนื่อย อาการหอบเหนื่อยจะเกิดขึ้นทันทีที่ได้รับสารภูมิแพ้
ขณะที่ท่านเป็นหอบหืด หลอดลมของท่านจะมีการเปลี่ยนแปลงดังนี้
เมื่อท่านหายใจเอาสารภูมิแพ้เข้าไปในปอดจะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในปอดดังนี้
- Acute bronchoconstriction มีการหดเกร็งของกล้ามเนื้อหลอดลม[Airway muscle] หลังจากได้รับสารภูมิแพ้ทำให้ลมผ่านหลอดลมลำบาก
- Air way edemaเนื่องจากมีการหลั่งของน้ำทำให้ผนังหลอดลมบวมผู้ป่วยจะหอบเพิ่มขึ้น
- Chronic mucous plug formation มีเสมหะอุดหลอดลมทำให้ลมผ่านหลอดลมลำบาก
- Air way remodeling มีการหนาตัวของผนังหลอดลมทำให้หลอดลมตีบเรื้อรัง
หลอดลมของคนปกติจะมีกล้ามเนื้อ [Airway muscle] และเยื่อบุหลอดลม[Airway lining]ในสภาพปกติ |
เมื่อร่างกายได้รับสารภูมิแพ้มากระตุ้น กล้ามเนื้อหลอดลมจะบีบตัว เยื่อบุหลอดลมจะมีการอักเสบเกิดการหน้าตัว ร่วมการหลั่งของเสมะเป็นปริมาณมากทำให้เกิดการอุดทางเดินหายใจ ผู้ป่วยจะหายใจลำบาก |
จากกลไกดังกล่าวทำให้หลอดลมมีการหดเกร็ง ผู้ป่วยจึงเกิดอาการดังต่อไปนี้
- หายใจตื้น หรือหายใจสั้น
- แน่นหน้าอก
- ไอ
- หายใจเสียงดัง
โรคหอบหืดจะมีอาการไม่แน่นอนอาการของผู้ป่วยจะผันแปรได้หลายรูปแบบ
- อาการหอบอาจจะเบาจนกระทั่งหอบหนัก
- อาการแต่ละคนจะไม่เหมือนกัน
- อาการอาจจะกำเริบเป็นครั้งๆ หรืออาการอาจจะหายไปเป็นเวลานาน
- อาการหอบแต่ละครั้งจะไม่เท่ากัน
จุดประสงค์ของการรักษาหอบหืด
- ไม่มีอาการหอบหืด เช่น ไอ หายใจเสียงดังหวีด แน่นหน้าอก
- ไม่ต้องตื่นกลางคืนเพราะอาการหอบหืด
- ไม่ต้องเข้าห้องฉุกเฉิน หรือนอนโรงพยาบาลเพราะโรคหอบหืด
- สามารถคุมอาการให้สงบลงได้และหอบหืดเรื้อรังน้อยที่สุด
- ป้องกันไม่ให้เกิดอาการกำเริบของโรค
- ยกระดับสมรรถภาพการทำงานของปอดให้ดีทัดเทียมกับคนปกติ
- สามารถดำรงชีวิตอยู่ได้เหมือนคนปกติไม่ต้องหยุดเรียนหรือหยุดงาน
- หลีกเลี่ยงผลแทรกซ้อนจากยารักษาโรคหืด
- ลดอุบัติการณ์การเสียชีวิตจากโรคหอบหืด
- ใช้ยา beta2-agonistเพื่อระงับอาการหอบให้น้อยที่สุด
- ไม่มีภาวะฉุกเฉินของอาการหอบหืด
- สามารถออกกำลังกายได้เหมือนคนปกติ
หลังการรักษาไม่ควรมีอาการหอบหืดอย่าเข้าใจผิดว่าหากมีอาการหอบ พอพ่นยาแล้วหายหอบคืออาการดีขึ้น การรักษาที่ดีต้องไม่หอบ
การรักษาให้ได้ผลดีต้องประกอบด้วยต้องประกอบด้วยแผนการรักษาดังนี้ ท่านผู้อ่านที่เป็นหอบหืดติดตามทีละหน้า และพยายามทำความเข้าใจ จะทำให้นำไปปฏิบัติได้
- การวินิจฉัย
- การหลีกเลี่ยงหรือขจัดสิ่งต่างๆที่ก่อให้เกิดปฏิกิริยาภูมิแพ้ผู้ป่วยทุกคนควรทราบถึงปัจจัยที่ทำให้หอบหืดเป็นมากขึ้น
- การจำแนกความรุนแรงของโรคหอบหืดเมื่อให้ผู้ป่วยทราบความรุนแรงของโรคว่าอยู่ในขั้นไหนจะทำให้ทราบว่าควรจะได้รับยาอะไรบ้าง
- ยาที่ใช้รักษาโรคหอบหืดผู้ป่วยควรทราบว่ายาที่ใช้อยู่เป็นยาที่ใช้บรรเทาอาการหรือเป็นยาที่ใช้รักษาโรคในระยะยาว
- แผนการรักษาโรคหอบหืดเรื้อรังเป็นแผนการรักษาสำหรับผู้ป่วยที่มีความรุนแรงในแต่ละขั้น
- แผนการรักษาหอบหืดฉับพลันสำหรับผู้ป่วยเป็นแผนการรักษาเมื่อเกิดหอบหืดเฉียบพลันเพื่อให้ผู้ป่วยดูแลตัวเองเบื้องต้นที่บ้าน
- คุณต้องเตรียมตัวอย่างไรก่อนพบแพทย์เป็นการเตรียมข้อมูลเพื่อให้แพทย์ทราบอาการของโรค
- ผู้ป่วยมีอาการดังต่อไปนี้ควรพบแพทย์ทันทีเพื่อให้ผู้ป่วยเป็นแนวทางในการพิจารณาถึงความรุนแรงและเร่งด่วนของโรค
- ผู้ป่วยคนไหนที่ควรอยู่ในโรงพยาบาลเพื่อรักษา
- ผู้ป่วยคนไหนที่มีปัจจัยเสี่ยงต่อการเสียชีวิตจากโรคหืด
- โรคหอบหือในภาวะพิเศษ เช่นโรคหอบกลางคืน หอบขณะออกกำลังกาย หอบขณะตั้งท้อง
++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
สถานการณ์โรคหอบหืด
แพทย์ชี้ผู้ป่วยโรค"หอบหืด"เพิ่มขึ้นทุกปี
สปสช.หนุนคณะแพทย์ มข.ร่วม รพ.ในเครือข่าย 900 แห่ง จัดตั้งเครือข่ายคลินิกโรคหืด เผยมีผู้ป่วย 4 ล้านคนเพิ่มขึ้นทุกปี
นพ.วัชรา บุญสวัสดิ์ ประธานเครือข่ายคลินิกโรคหืดและโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น กล่าวว่า คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ได้ร่วมกับโรงพยาบาลในเครือข่ายกว่า 900 แห่ง และโดยการสนับสนุนจากสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ได้จัดตั้งเครือข่ายคลินิกโรคหืดและโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังขึ้น เพื่อพัฒนาคุณภาพบริการให้ผู้ป่วยโรคหืดมีคุณภาพชีวิตที่ดี
ขณะนี้ สถานการณ์โรคหืดในประเทศไทยรุนแรงขึ้นทุกปี คนไทยป่วยเป็นโรคนี้ 7% หรือกว่า 4 ล้านคน ในขณะที่ทั่วโลกมีผู้ป่วยทั้งหมด 300 ล้านคน สิ่งที่น่าวิตกกังวล คือ เมืองไทยมีจำนวนผู้ป่วยที่ต้องเข้าห้องฉุกเฉินของโรงพยาบาลจากโรคหืดปีละ 1 แสนกว่าคน เป็นโรคเรื้อรังที่มีอุบัติการณ์สูง บั่นทอนคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยและคนรอบข้าง นำไปสู่การสูญเสียทางเศรษฐกิจครั้งใหญ่ จึงได้ก่อตั้งขึ้นคลินิกขึ้น เพื่อเสริมความรู้ให้กับบุคลากรทางการแพทย์ในโรงพยาบาล
ในระยะแรกจะมีโรงพยาบาลที่เข้าร่วมโครงการไม่มาก เนื่องจากข้อจำกัดของหน่วยบริการ แต่หลังจากปี พ.ศ. 2551 สปสช.ได้มีนโยบายและดำเนินการสนับสนุนการพัฒนาระบบบริการโรคหืดอย่างเป็นรูปธรรม ทำให้โรงพยาบาลเข้าร่วมโครงการและมีการจัดบริการเป็นไปตามมาตรฐานเพิ่มขึ้น ส่งผลให้แต่ละปีมีโรงพยาบาลที่มีผลงานดีเด่นเข้าร่วมเสนอผลงานและประกวดชิงรางวัลหลายแห่ง นับเป็นความภาคภูมิใจของทีมบุคลากรที่ได้รับรางวัลซึ่งสนับสนุนโดย สปสช. นพ.วัชรากล่าว
พญ.สุมาลี เกียรติบุญศรี นายกสมาคมอุรเวชช์แห่งประเทศไทย กล่าวว่า เป็นเรื่องที่ดีที่ สปสช.ที่ให้การสนับสนุนการพัฒนาระบบบริการดูแลผู้ป่วยโรคหืดและผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังให้เป็นรูปธรรมมากขึ้น ซึ่งเป็นแรงเสริมสำคัญให้กับฝ่ายวิชาการและผู้ให้บริการในการผลักดันให้เกิดบริการตามมาตรฐานสากล เพื่อผู้ป่วยได้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
ด้าน นพ.วินัย สวัสดิวร เลขาธิการ สปสช. กล่าวว่า การดูแลรักษาผู้ป่วยโรคหืดและปอดอุดกั้นเรื้อรังจำเป็นต้องกระทำแบบองค์รวมและครบวงจร สปสช.ได้เห็นความสำคัญของการให้บริการผู้ป่วย จึงสนับสนุนการพัฒนาระบบบริการดูแลผู้ป่วยโรคหืดและผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังให้เป็นรูปธรรมมากขึ้น โดยได้รับความร่วมมือจากพันธมิตรทางสุขภาพทั้งสมาคมอุรเวชช์ เครือข่ายคลินิกโรคหืดและโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง
"ในไทยมีผู้ป่วยกว่า 4 ล้านคนเพิ่มขึ้นทุกปี"
ที่มา: หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ
Link https://www.thaihealth.or.th
+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
ข้อวินิจฉัยทางการพยาบาลโรคหอบหืด
ข้อวินิจฉัยทางการพยาบาล
โจทย์กรณีศึกษา
วิชาการพยาบาลบุคคลสุขภาพเบี่ยงเบน ๑
๑๙ พ.ค.๔๓
นางโสภา สุขใจ อายุ ๕0 ปี รูปร่างค่อนข้างผอม ความสูง ๑๖o ซม. น้ำหนัก ๕o กก. อาชีพแม่บ้าน นางโสภา มาที่ OPD รพ. เอกชนแห่งหนึ่งด้วยเรื่อง คลำพบก้อนแข็งที่เต้านม กดไม่เจ็บ พบแพทย์ได้รับการตรวจร่างกาย พบว่าลักษณะก้อนมีความผิดปกติ แพทย์จึงขอตรวจแล็บพิเศษ โดยอุตราซาวน์และตัดชิ้นเนื้อที่เต้านมข้างซ้ายตรวจที่ห้องปฏิบัติการ รอผลตรวจอีก ๒ สัปดาห์ แพทย์นัดให้นางโสภา มาพบอีกครั้งในวันที่ ๒ มิ.ย.๕๓
ภาวะสุขภาพ
อาการสำคัญ: คลำพบก้อนแข็ง บริเวณเต้านมข้างซ้าย กดไม่เจ็บ
ประวัติความเจ็บป่วยในปัจจุบัน : ๑ วันก่อนมา รพ. ผู้ป่วย อาบน้ำสังเกตเห็นว่า เต้านมไม่เท่ากัน คลำดูพบว่า เต้านมข้างซ้ายมีก้อนแข็ง กดไม่เจ็บจึงมา รพ.
ประวัติการเจ็บป่วยในอดีต : ปฏิเสธการเจ็บป่วยที่ต้องนอน รพ.
ประวัติการเจ็บป่วยในครอบครัว: มารดาเสียชีวิตด้วยมะเร็งปากมดลูก พ่อเป็นเบาหวาน
ระหว่างรอผลการตรวจนางโสภา วิตกกังวลมาก ทานอาหารไม่ได้ น้ำหนักลด ๒ กิโลกรัม คิดไปต่างๆนานา สามีและลูกช่วยกันปลอบโยน แต่ก็ยังกังวลอยู่
ข้อมูลสนับสนุน
ข้อมูลปรนัย : -
ข้อมูลอัตนัย: ผู้ป่วยกล่าวว่าขณะอาบน้ำ คลำเต้านมข้างซ้ายพบมีก้อนแข็ง กดไม่เจ็บ
ข้อวินิจฉัย: ผู้ป่วยมีความวิตกกังวล เนื่องจากคลำพบก้อนเนื้อบริเวณเต้านม
วัตถุประสงค์ของการพยาบาล: ผู้ป่วยมีความวิตกกังวลลดลง
เกณฑ์การประเมินผล: ๑. ผู้ป่วยมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการคลำพบก้อนเนื้อที่เต้านม
๒. ผู้ป่วยสามารถยอมรับสภาพความเป็นจริง กับภาวะที่มีผลกระทบต่อสุขภาพ
การวางแผนการพยาบาล
๑. ประเมินสภาพความวิตกกังวลของผู้ป่วย
๒. อธิบายให้ผู้ป่วยเข้าใจเกี่ยวกับการพบก้อนบริเวณเต้านม
๓. ส่งเสริมให้เกิดการแลกเปลี่ยนความรู้และความคิดเห็นระหว่างผู้ป่วยด้วยกันหรือผู้ป่วยกับพยาบาล
๔. สร้างความมั่นใจให้กับผู้ป่วย ในข้อวินิจฉัยของแพทย์
๕. สร้างสัมพันธภาพ เปิดโอกาสให้ผู้ป่วยได้ระบายความรู้สึก
ประเมินการพยาบาล
๑. ผู้ป่วยมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการคลำพบก้อนเนื้อบริเวณเต้านม
๒. ผู้ป่วยคลายความวิตกกังวล สังเกตจากสีหน้าสดชื่นขึ้น รับประทานอาหารได้เพิ่มขึ้น
ผู้ป่วยมาพบแพทย์ตามนัด โดยลูกสาวมา รพ. แพทย์ได้รับผลตรวจแล้วแจ้งว่า
ผลการตรวจ MA mammography with ultrasound พบว่ามี upper-outer left breast appears at USG as parenchymal defect(size 22*20mm) from recent surgical excision of the malignant.
Lmp:BIRADS VI-LUOQ malignant. Following recent surgical excision.
แพทย์แจ้งผลการตรวจและแนวทางการรักษาเบื้องต้นดังนี้
๑ ต้องผ่าตัดเต้านมข้างซ้าย และเลาะต่อมน้ำเหลืองออก
๒หลังจากนั้นต้องให้เคมีบำบัดเป็นจำนวน ๑๐ครั้ง
๓นัดให้ผู้ป่วยมา admitted รพ. ในวันที่ ๕ มิ.ย. ที่ตึกศัลยกรรมหญิง set ผ่าตัดในวันที่๖มิ.ย. ๕๓
ข้อวินิจฉัยการพยาบาล : เสี่ยงต่อการไม่ยอมรับภาพลักษณ์ของตนเอง เนื่องจากต้องผ่าตัดเต้านมข้างซ้าย และทำเคมีบำบัด
ข้อมูลสนับสนุน : 1. จากการตรวจ mammography และอุลตร้าซาวน์ พบว่าเป็นBIRADS VI-LUOQ malignant
2. แพทย์แจ้งแนวทางการรักษา ต้องผ่าตัดเต้านมข้างซ้าย และเลาะต่อมน้ำเหลืองออก
3. ต้องให้เคมีบำบัดเป็นจำนวน 10 ครั้ง
เป้าหมายการพยาบาล : 1. ยอมรับภาพลักษณ์ที่เปลี่ยนไปของตนเองได้
2. มีการปรับตัวต่อภาพลักษณ์ของตนเองอย่างเหมาะสม
3. ส่งเสริมให้มีความมั่นใจในตนเอง
เกณฑ์การประเมิน : 1. ยอมรับสภาพการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นโดยให้ความร่วมมือในการดูแลรักษา
2. ไม่แสดงถึงความอับอายเมื่อพูดถึงการผ่าตัดเต้านม
3. สนใจ พูดคุย และซักถามเกี่ยวกับการผ่าตัดและการทำเคมีบำบัด
4. แสดงความมั่นใจ โดยกล้าที่จะเปิดเผยเรื่องการผ่าตัดเต้านมต่อญาติและเพื่อนๆ
กิจกรรมการพยาบาล : 1. สังเกตพฤติกรรมและซักถามความรู้ของผู้ป่วยต่อภาพลักษณ์ที่กำลังจะเปลี่ยนแปลงไป
2. อธิบายให้ผู้ป่วยและสามีเข้าใจเกี่ยวกับการดำเนินของโรค การดูแลและการหลังผ่าตัด รวมทั้งเปิดโอกาสให้ผู้ป่วยและสามีซักถามในสิ่งที่สงสัย
3. เปิดโอกาสให้ผู้ป่วยระบายความรู้สึกออกมา โดยรับฟังอย่างตั้งใจ
4. แนะนำให้ผู้ป่วยและสามีได้พูดคุยแลกเปลี่ยนความรู้สึกต่อกันให้สามีเข้าใจ ให้กำลังใจ และแสดงความห่วงใยให้ภรรยาเห็น
5. เนื่องจากการรักษาด้วยยาเคมีบำบัดอาจมีผมร่วง แนะนำให้ผู้ป่วยใช้ผมปลอมหรือผ้าโพกศีรษะ และอธิบายให้ผู้ป่วยเข้าใจว่าเป็นเพียงอาการชั่วคราว
6. ถ้ามีโอกาสอาจจะให้ผู้ป่วยได้พูดคุยกับผู้ป่วยที่มีการผ่าตัดเต้านมเหมือนกัน เพื่อแลกเปลี่ยนประสบการณ์ อาจช่วยให้ผู้ป่วยสามารถปรับตัวต่อภาพลักษณ์ของตนเองได้
การประเมินผลการพยาบาล : 1. ผู้ป่วยมีอาการสนใจที่จะมีส่วนร่วมในการรักษา มีการซักถามข้อมูลต่างๆที่เกี่ยวข้องกับการผ่าตัดเต้านมและการให้ยาเคมีบำบัด
2. สามีเอาใจใส่ดูแลภรรยาอย่างใกล้ชิด แสดงถึงความรัก ความห่วงใย
3. ผู้ป่วยกล้าที่จะให้ญาติหรือเพื่อนเข้าเยี่ยม
4. ผู้ป่วยมีความมั่นใจ เมื่อเข้าสังคมและสามารถทำกิจกรรมต่างๆได้เป็นปกติ
14 มิ.ย. 53
หลังจากผ่าตัดผู้ป่วยฟื้นตัวดีขึ้น แพทย์แจ้งว่าต้องเริ่มให้เคมีบำบัด เริ่มตั้งแต่วันที่ 15 มิ.ย. 53 จำนวน 10 ครั้ง ผู้ป่วยรู้สึกอ่อนเพลีย ปวดเมื่อยตามร่างกาย และเริ่มง่วง เบื่ออาหาร กลืนละบากขึ้น เริ่มมีแผลในช่องปาก
ข้อมูลสนับสนุน :
ข้อมูลอัตนัย : ผู้ป่วยบอกว่ารู้สึกว่าร่างกายอ่อนเพลีย ปวดเมื่อยตามร่างกาย เบื่ออาหาร กลืนลำบาก
ข้อมูลปรนัย : ผู้ป่วยเริ่มมีผมร่วง มีแผลในช่องปาก
ข้อวินิจฉัย : มีแผลในช่องปากเนื่องจากดูแลความสะอาดในช่องปากไม่ดี
วัตถุประสงค์ : ลดการเกิดแผลในช่องปาก
เกณฑ์การประเมินผล : 1. แผลเล็กลง ไม่มีอาการบวมแดง
2. ไม่มีอาการเป็นแผลในช่องปาก
กิจกรรมทางการพยาบาล : 1. ประเมินแผลในช่องปาก
2. กระตุ้นให้ดื่มน้ำมากๆ อย่างน้อยวันละ 2000 cc/วัน
3. ดูแลความสะอาดในช่องปากอยู่เสมอ อาจให้ NSS บ้วนปากทุกชั่วโมง
4. รับประทานอาหารอ่อน ย่อยง่าย หลีกเลี่ยงอาหารเผ็ด รสจัด
ประเมินผลทางการพยาบาล : ผู้ป่วยบอกว่าบาดแผลในปากลดลง ขนาดของแผลเล็กลง บวมแดงเล็กน้อย
(1 ก.ค. 53)
ผู้ป่วยมา รพ. ด้วยอาการหายใจลำบาก เหนื่อย ใช้กล้ามเนื้อหายใจ ผอม ทานอาหารไม่ได้ แพทย์สั่งให้ใส่ O2 canular และสั่งเจาะเลือด ตรวจเอ็กซ์เรย์คอมพิวเตอร์ปอดเพิ่มเติม ผลพบว่า meditational metastasis
ข้อมูลสนับสนุน
- ข้อมูลปรนัย : ผู้ป่วยมา รพ. ด้วยอาการหายใจลำบาก เหนื่อย ใช้กล้ามเนื้อหายใจ ผอม ทานอาหารไม่ได้
- ข้อมูลอัตนัย : -
ข้อวินิจฉัย : ขาดสารอาหารอย่างรุนแรง เนื่องจากทานอาหารไม่ได้
วัตถุประสงค์ : 1. ได้รับอาหารที่มีประโยชน์ และใกล้เคียงกับความต้องการของร่างกาย
2. ป้องกันอันตรายที่เกิดจากภาวะขาดสารอาหารอย่างรุนแรง
3. หายใจสะดวกขึ้น และไม่เหนื่อยง่าย
กิจกรรมการพยาบาล : 1. ให้อาหารแก่ผู้ป่วยผ่านทางสายยาง
2. จัดท่าให้หายใจสะดวกขึ้น
เกณฑ์การประเมินผล : 1. ผู้ป่วยมีน้ำหนักเพิ่มขึ้นอย่างน้อยครึ่งกิโลกรัมต่อสัปดาห์
2. ผู้ป่วยไม่มีอาการเหนื่อยหอบขณะหายใจ หายใจสะดวกขึ้น
ประเมินผลทางการพยาบาล : 1. ผู้ป่วยมีน้ำหนักเพิ่มขึ้น 0.3 กิโลกรัมต่อสัปดาห์
2. ผู้ป่วยหายใจไม่เหนื่อยหอบ และหายใจได้สะดวกขึ้น
3 ก.ค. 53
ผู้ป่วยมีไข้ T = 38.9 C, R = 24 ครั้ง/นาที, BP = 90/60 mmHg ปัสสาวะออกน้อย 200 ml./วัน ผู้ป่วยหายใจเหนื่อยมากขึ้น ผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการ CT scan พบ Cardiomegaly ที่หลอดเลือดแดงมีไขมันเกาะหนา Atherosclerosis และพบว่า Infiltration บริเวณ Alveolar ผู้ป่วยเหนื่อยมาก แพทย์ให้ on Bird’s respiration ส่งตรวจ Sputum
ข้อมูลสนับสนุน :
ข้อมูลอัตนัย : -
ข้อมูลปรนัย : T = 38.9 C, R = 24 ครั้ง/นาที, BP = 90/60 mmHg ปัสสาวะออกน้อย 200 ml./วัน, ผู้ป่วยหายใจเหนื่อย, CT scan พบ Cardiomegaly ที่หลอดเลือดแดงมีไขมันเกาะหนา Atherosclerosis, พบ Infiltration บริเวณ Alveolar, on Bird’s respiration
ข้อวินิจฉัย : เสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อน เนื่องจากมีปริมาณเลือดออกจาหัวใจลดลง
วัตถุประสงค์ : 1. ไม่มีอาการเหนื่อยหอบ
2. BP ไม่ต่ำกว่า 90/60 mmHg
3. จำนวนปัสสาวะมากกว่า 200 ml./วัน
กิจกรรมทางการพยาบาล : 1. ตรวจวัดสัญญาณชีพเพื่อประเมินภาวะปริมาณเลือดในระบบไหลเวียน และการทำงานของหัวใจ
2. ดูแลให้ O2 ตามแผนการรักษา และประเมินอาการขาด O2 เช่นอาการเหนื่อยหอบ
3. ดูแลให้เลือดและสารน้ำ อิเลกโตรลัยท์ทางหลอดเลือดดำตามการรักษาของแพทย์ สังเกตุอากรข้างเคียง เช่น การแพ้เลือด ภาวะน้ำเกิน
4. ประเมินอาการที่แสดงว่าเลือดไปเลี้ยงไตไม่เพียงพอ โดยประเมินจากการบันทึกสารน้ำเข้าออก จำนวนปัสสาวะที่ขับออกจากร่างกายลดลง ปัสสาวะมีสีเหลืองเข้ม ความถ่วงจำเพาะของปัสสาวะเพิ่มขึ้น
ประเมินผลทางการพยาบาล : บรรลุเป้าหมายทุกส่วน คือ ไม่มีอาการเหนื่อยหอบ BP = 110/70 mmHg จำนวนปัสสาวะ 500 ml./วัน
5 ก.ค. 53
อาการผู้ป่วยแย่ลง หายใจเหนื่อยมากขึ้น แพทย์คุยกับญาติและให้วินิจฉัย ผู้ป่วยเข้าสู่ระยะสุดท้ายของชีวิต Care Level 1 ผล Sputum พบเชื้อ Moderate gram negative bacilli
ข้อมูลสนับสนุน
ข้อมูลอัตนัย : -
ข้อมูลปรนัย : ผู้ป่วยอาการแย่ลง หายใจเหนื่อยมากขึ้น ผู้ป่วยเข้าสู่ระยะสุดท้าย
ของชีวิต Care Level 1 ผล Sputum พบเชื้อ Moderate gram negative bacilli
ข้อวินิจฉัยการพยาบาล : ผู้ป่วยเข้าสู่ระยะสุดท้ายของชีวิต
วัตถุประสงค์ : ผู้ป่วยเข้าสู่ระยะสุดท้ายของชีวิตอย่างเหมาะสม
เกณฑ์ประเมินผล : ผู้ป่วยอมรับผลการรักษาได้
ผู้ป่วยและครอบครัวยอมรับสภาพการเปลี่ยนแปลงและมีการปรับตัวได้อย่าง
เหมาะสมครอบครัว มีการวางแผนในอนาคตได้อย่างเหมาะสม
กิจกรรมการพยาบาล :
- เข้าใจและยอมรับพฤติกรรมที่ผู้ป่วยและญาติแสดงออก ไม่โต้ตอบด้วยคำพูดหรือกริยาที่มีความรุนแรง แต่ควรใช้ความอ่อนโยน นุ่มนวล
- แนะนำให้ญาติมีการปรับตัวและยอมรับต่อการจากไปของผู้ป่วยได้
- ช่วยเหลือและอำนวยความสะดวกแก่ญาติได้เตรียมความพร้อมก่อนวาระสุดท้ายของชีวิตที่จะมาถึง
การประเมินผล :
- ผู้ป่วยจากไปอย่างสงบ ไม่ทุกข์ทรมาน
- ญาติมีการเตรียมตัวกับการจากไปของผู้ป่วยได้