สปสช โรคหอบหืด โรคหอบหืด การตั้งครรภ์ โรคหอบหืดกับผลของการสูบบุหรี่


880 ผู้ชม


สปสช โรคหอบหืด โรคหอบหืด การตั้งครรภ์ โรคหอบหืดกับผลของการสูบบุหรี่

                      สปสช โรคหอบหืด

สปสช.เตรียมตั้งคลินิกโรคหืดในรพ.ทั่วประเทศ

สปสช.จับมือเครือข่ายคลินิกโรคหืด พัฒนารูปแบบบริการผู้ป่วยโรคหืดอย่างเป็นระบบ จัดตั้งคลินิกโรคหืดแบบง่ายในรพ.ชุมชนทั่วประเทศ หลังนำร่องที่ขอนแก่นประสบผลสำเร็จ สามารถลดจำนวนผู้ป่วยภาวะหอบเฉียบพลันได้กว่าร้อยละ 20 และมีอัตราผู้ป่วยเข้าถึงบริการมากขึ้น ส่งผลผู้ป่วยไม่ต้องทุกข์ทรมานจากการหอบ ลดการรักษาในห้องฉุกเฉินได้

เมื่อวันที่ 15 ธันวาคม 2553 ที่โรงแรมเอเชีย กทม. ในการประชุมใหญ่ประจำปีการดูแลผู้ป่วยโรคหืด ซึ่งเป็นความร่วมมือระหว่างโครงการเครือข่ายคลินิกโรคหืด คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี สมาคมอุรเวชช์แห่งประเทศไทย และสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ(สปสช.) ได้มีพิธีลงนามความร่วมมือระหว่างโครงการเครือข่ายคลินิกโรคหืดและสปสช. ในการพัฒนารูปแบบบริการผู้ป่วยโรคหืดอย่างเป็นระบบ

 แพทย์หญิงเขมรัสมี ขุนศึก-เม็งราย ที่ปรึกษาอาวุโส  สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ กล่าวว่า    จากข้อมูลของกระทรวงสาธารณสุขพบว่า จำนวนผู้ป่วยโรคหืดที่เข้านอนรับการรักษาในรพ.เพิ่มมากขึ้นทุกปี ในปี 2538 มีอัตรา 66,679 คน เพิ่มเป็น 100,808 คน ในปี 2550 และคาดว่าจะมีผู้ป่วยโรคหืดที่มีอาการหอบรุนแรงจนต้องไปรักษาที่ห้องฉุกเฉินไม่ต่ำกว่าปีละ 1 ล้านคน ทำให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตต่ำ นอกจากนั้นพบว่าผู้ป่วยโรคหืดในประเทศไทยที่ได้รับยาพ่น สเตียรอยด์ ซึ่งเป็นยาหลักที่ใช้ในการรักษาโรคมีเพียงร้อยละ 6.7 ซึ่งสอดคล้องกับผลการดำเนินงานของสปสช.ในปี 2550 พบว่าการรักษาด้วยยาพ่นสเตียรอยด์ การประเมินสมรรถภาพปอด และการประเมินการใช้ยาสูด อยู่ในระดับต่ำกว่าร้อยละ 10 สะท้อนว่าผู้ป่วยโรคหืดเข้าถึงบริการน้อยมาก

  ทั้งนี้    สปสช.จึงได้พัฒนาแนวทางการดูแลผู้ป่วยโรคหืด โดยเริ่มดำเนินการในปี 2551 นำร่องจัดบริการคลินิกโรคหืดแบบง่าย(Easy Asthma Clinic) ตามรพ.ชุมชนในพื้นที่สปสช.เขตขอนแก่น โดยความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยขอนแก่น ผลการดำเนินงานพบว่าหน่วยบริการที่ให้การดูแลตามแนวทางที่กำหนดจะสามารถลดจำนวนผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาด้วยภาวะหอบรุนแรงเฉียบพลันได้มากกว่าร้อยละ 20 และมีจำนวนผู้ป่วยได้รับการรักษาด้วยยาพ่นสเตียรอยด์จำนวนเพิ่มขึ้น ในปี 2553 ด้วยความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยขอนแก่นจึงได้ขยายบริการคลินิกโรคหืดแบบง่ายในรพ.ทั่วประเทศเพิ่มเป็น 451 แห่ง และในปี 2554 จะขยายให้ครอบคลุมหน่วยบริการประจำทั่วประเทศ ซึ่งการลงนามความร่วมมือกับโครงการเครือข่ายคลินิกโรคหืดครั้งนี้ เป็นการสนับสนุนด้านวิชาการในการดำเนินการคลินิกในรพ.นั่นเอง

 รศ.นพ.วัชรา บุญสวัสดิ์ ประธานโครงการเครือข่ายคลินิกโรคหืด กล่าวว่า การจัดตั้งคลินิกโรคหืดแบบง่ายตามรพ.ชุมชนนั้น เป็นการทำให้แนวทางการรักษาโรคหืดง่ายขึ้น เป็นการจัดระบบที่จะทำให้แพทย์ใช้เวลาน้อยลงในการดูแลผู้ป่วย และการให้ความรู้เรื่องโรคหืดรวมทั้งแนวทางการรักษาโรค ความรู้เรื่องยาและวิธีการใช้ยาพ่นชนิดต่างๆแก่ผู้ป่วย ทำให้การดูแลรักษาผู้ป่วยมีประสิทธิภาพมากขึ้น ผลที่ได้รับจากการจัดตั้งคลินิกโรคหืดแบบง่าย คือ การรักษาโรคหืดในรพ.ชุมชนที่อยู่ห่างไกลจะได้มาตรฐาน มีการวัดประเมินสมรรถภาพปอด และมีการใช้ยา สเตียรอยด์เพิ่มขึ้น ซึ่งจะทำให้ผู้ป่วยโรคหืดมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ไม่ต้องทุกข์ทรมานกับอาการหอบ และสามารถลดการเข้ารับการรักษาที่ห้องฉุกเฉิน และลดการนอนรักษาที่รพ.ได้ด้วย

 ทั้งนี้  มีหน่วยบริการที่เข้ารอบในการดำเนินกิจกรรมคลินิกโรคหืด   6 แห่ง ประกอบด้วย รพ.พหลพลพยุหเสนา จ.กาญจนบุรี  รพ.ปากน้ำชุมพร จ.ชุมพร รพ.ขอนแก่น (กุมารเวชกรรม) จ.ขอนแก่น รพ.สมเด็จพระยุพราชท่าบ่อ จ.หนองคาย รพ.สมเด็จพระยุพราช เชียงของ จ.เชียงราย รพ.ปากพนัง จ.นครศรีธรรมราช

  

         Link     https://www.komchadluek.net

  

+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

  

                   โรคหอบหืด การตั้งครรภ์

เมื่อแม่ตั้งครรภ์เป็นหอบหืด!

เมื่อแม่ตั้งครรภ์เป็นหอบหืด!

 

ตั้งครรภ์

เมื่อแม่ตั้งครรภ์เป็นหอบหืด!
 (รักลูก)
เรื่อง : เมธาวี

         หนึ่งในโรคที่แม่ตั้งครรภ์มักไม่รู้ตัวว่าเป็น จนตั้งครรภ์ถึงรู้ว่าเป็นคือ โรคหอบหืด ซึ่งทำให้เกิดความกังวลได้สารพัด แต่คำตอบจากคุณหมอผู้เชี่ยวชาญต่อไปนี้ จะช่วยให้คุณแม่สบายใจขึ้น แต่ต้องปฏิบัติตัวตามคำแนะนำอย่างเคร่งครัดนะคะ

หอบหืด...ทำไมถึงเป็นได้

         กว่าร้อยละ 50 โรคหอบหืดจะเกิดในคุณแม่ตั้งครรภ์ที่เคยมีประวัติการเป็นโรคมาก่อน หรือมีประวัติเป็นโรคภูมิแพ้มาก่อน เมื่อได้รับสารกระตุ้นภูมิแพ้ เช่น ขนสัตว์ ฝุ่น หรืออาหารบางชนิด ก็จะไปกระตุ้นให้เกิดอาการภูมิแพ้ คุณแม่บางคนนั้นอาจจะมีอาการรุนแรงได้ แต่ก็มีคุณแม่บางคนมีอาการหอบหืดโดยที่ไม่ทราบมาก่อนว่าตัวเองเป็น เช่น เดินเยอะ ๆ แล้วมีอาการหอบเหนื่อย และมีอาการมากขึ้นในช่วงตั้งครรภ์ ซึ่งพอมาตรวจวินิจฉัยจริง ๆ จึงพบว่าเป็นโรคหอบหืด
ป้องกันหอบหืด...ก่อนตั้งครรภ์
         คุณแม่ที่เคยมีประวัติเป็นโรคหอบหืดมาก่อน ควรวางแผนก่อนการตั้งครรภ์ โดยเข้าไปปรึกษาคุณหมอ เพื่อคุมโรคให้มีอาการคงที่ หรือมีอาการลดลงให้มากที่สุด
         คุณหมอจะทำการตรวจดูลักษณะการหอบของคุณแม่ ว่าอยู่ในความรุนแรงระดับไหน มีการซักประวัติเพิ่มเติม เพื่อประเมินอาการ เพื่อจะได้ทำการรักษา และคุมไม่ให้มีอาการกำเริบขึ้นมาอีก
ยาแก้หอบหืด ส่งผลต่อลูกจริงหรือ
         ยาส่วนใหญ่ค่อนข้างปลอดภัยในสตรีตั้งครรภ์ ผลข้างเคียงจากการใช้ยามีน้อย และได้มีการพิสูจน์กันมาแล้วว่า มีผลกระทบต่อทารกในครรภ์น้อยมาก หากได้รับยาอยู่ในเกณฑ์ที่ปลอดภัย และใช้กับแม่ตั้งครรภ์ได้ ไม่มีผลรบกวนต่อระบบเมตาบอลิซึมของทารกในครรภ์ อย่างที่หลาย ๆ คนเชื่อกันมาก่อนหน้านี้
         แต่อย่างไรก็ตาม ถ้าหากคุณแม่ดูแลสุขภาพดี กินอาหารที่มีประโยชน์ ออกกำลังกายสม่ำเสมอ ที่สำคัญอยู่ในสถานที่ที่มีอากาศดี ก็จะเป็นการควบคุมโรคได้ดี รวมทั้งหลีกเลี่ยงสิ่งกระตุ้นต่าง ๆ ก็จะทำให้การใช้ยาน้อยลง การเกิดภาวะแทรกซ้อนน้อยลง การตั้งครรภ์ก็เป็นไปอย่างปกติ ถ้าคุณแม่ไม่ใส่ใจดูแลสุขภาพตนเอง พาตัวเองไปสัมผัสสิ่งกระตุ้น โรคหอบหืดก็อาจจะกลับมา และมีอาการกำเริบรุนแรงได้ค่ะ
เช็กตัวเองเป็นหอบหืดรุนแรงแค่ไหน
         หากคุณแม่มีอาการหอบบ่อย เดินหรือทำอะไรนิดหน่อยก็เหนื่อยหอบ ต้องนั่งพักตลอด รวมถึงใช้ยามากกว่า 2 ครั้ง/สัปดาห์ ถือว่ามีอาการค่อนข้างเยอะ ควรปรึกษาคุณหมออย่างใกล้ชิด
         ส่วนคุณแม่ที่มีระดับอาการรุนแรงคือ มีความถี่ในการใช้ยา 2 ครั้ง/สัปดาห์ หรือทุกวัน หากต้องใช้ทั้งเช้า กลางวัน เย็น และดึก ถือว่ามีอาการค่อนข้างเยอะ ต้องอยู่ในความดูแลของคุณหมอ และต้องใช้ยาเพื่อคุมอาการให้ดีขึ้นด้วย
         คุณแม่ตั้งครรภ์จะมีอาการเหนื่อยง่ายอยู่แล้ว แม้จะไม่ได้เป็นโรคหอบหืดก็ตาม ดังนั้น เพื่อให้แน่ใจว่าตัวเองเป็นหรือไม่ ควรได้รับการตรวจด้วยเครื่องมือทางการแพทย์ เพื่อตรวจวัดสมรรถภาพทางปอด เพื่อดูการทำงานของปอด การหายใจเข้าหายใจออก ระดับความแรงที่ใช้ในการเป่าลมออกมาเป็นอย่างไร มีระดับมากน้อยแค่ไหน
         การเข้าตรวจโรคอย่างละเอียดยังมีประโยชน์ช่วยในการทำนายการเกิดภาวะแทรกซ้อนของโรคได้อีกด้วย และยังสามารถนำมาใช้ในการบ่งบอกแนวทางการรักษา ว่าต้องรักษาอย่างไร ต้องใช้ยาประเภทไหนบ้าง เพื่อการตั้งครรภ์ที่มีคุณภาพที่สุด
คุมโรค...ไม่ให้หอบหืดกลับมา

         การหลีกเลี่ยงปัจจัยกระตุ้นที่จะทำให้เกิดภาวะอาการหอบหืดเป็นวิธีการควบคุมได้อย่างดี ซึ่งในแต่ละคนก็จะไม่เหมือนกัน ส่วนหนึ่งมาจากอาการภูมิแพ้เดิมของแม่ที่เคยเป็นมาก่อน เช่น แพ้อาหารในช่วงที่แพ้ท้อง อาจมีอาการอยากกิน พอได้กินก็เลยทำให้เกิดอาการกำเริบขึ้น หรือบางคนที่แพ้เกสรดอกไม้ พอเจอดอกไม้หรือสูดดมก็มีโอกาสเกิดอาการกำเริบได้ ฉะนั้น ปัจจัยกระตุ้นก็จะเป็นส่วนหนึ่งที่บ่งชี้ว่า คุณแม่ควรจะต้องระวังอะไรบ้าง ควรหลีกเลี่ยงอะไร จะเป็นการช่วยคุมโรคได้ทางหนึ่ง
         คุณแม่ที่เป็นหอบหืดตามฤดูกาลนั้น อาจจะมีอาการกำเริบได้ในช่วงกลางคืน ดังนั้น ควรดูแลสุขภาพด้วยการอาบน้ำอุ่น นอนห่มผ้า หรือการใส่ผ้าพันคอเพื่อให้ร่างกายอบอุ่น การดูแลสุขภาพของตนเอง มีส่วนสำคัญที่จะช่วยให้โรคหอบหืดไม่ถามหาอีกค่ะ

เป็นหอบหืดรุนแรง...ส่งผลต่อทารกในครรถ์

         คุณแม่ที่มีอาการหอบหืดกำเริบขณะตั้งครรภ์ และนำไปสู่ภาวะรุนแรงคือ เกิดภาวะหายใจติดขัด เพราะหลอดลมตีบทำให้มีอาการหอบหืดขึ้นมา จะทำให้การส่งออกซิเจนจากตัวแม่ไปสู่ลูกลดลง และถ้ารุนแรงมาก ๆ คือเมื่อคุณแม่หายใจติดขัด ออกซิเจนภายในร่างกายลดลง ออกซิเจนที่จะส่งไปมดลูก และไปสู่ทารกในครรภ์ก็จะลดลงตามไปด้วย ทำให้ทารกเกิดภาวะขาดออกซิเจน และถ้าเกิดขึ้นบ่อย ๆ โดยที่คุณแม่ไม่ทำการรักษาโรค หรือไม่คุมโรค อาจทำให้การขนส่งออกซิเจนไปสู่ทารกได้ไม่ดี ส่งผลต่อพัฒนาการทารกในครรภ์ ทำให้ทารกมีการเจริญเติบโตช้ากว่าเกณฑ์ หรือตัวเล็กกว่าเกณฑ์ปกติได้
         นอกจากนี้ยังอาจเกิดภาวะแทรกซ้อนอื่น ๆ ซึ่งเราพบว่ามีโอกาสเกิดความดันสูงในระยะตั้งครรภ์ ส่งผลภาวะเจ็บครรภ์ก่อนกำหนดด้วย แต่ในปัจจุบันพบว่า ถ้าคุณแม่มีการคุมโรคได้ดี หรือดูแลตัวเองได้ดี การเกิดภาวะแทรกซ้อนเหล่านี้ก็จะลดลง หรืออาจจะมีภาวะเป็นปกติ สามารถตั้งครรภ์ได้ตามปกติได้ค่ะ
ตั้งครรภ์ปกติ & สุขภาพแข็งแรง แม้เป็นหอบหืด

         อย่างที่ทราบกันดีอยู่แล้วว่า โรคหอบหืดไม่มีทางหาย หรืออาจจะมีอาการกำเริบขึ้นมาอีกได้ เมื่อไหร่ก็ไม่รู้ วิธีที่ดีที่สุดนั้นก็คือการดูแลตัวเอง และหาทางป้องกันก่อนที่อาการจะกำเริบ ซึ่งการใช้ยาในคุณแม่ตั้งครรภ์ เป็นวิธีหนึ่งที่จะช่วยคุมอาการของหอบหืดได้ โดยก่อนอื่นคุณหมอต้องแบ่งระดับความรุนแรงของคุณแม่ก่อนว่า มีความรุนแรงระดับไหน เมื่อรู้ระดับความรุนแรงแล้ว คุณหมอจะสามารถแบ่งแนวทางการรักษาได้ว่าคุณแม่อาจจะใช้แค่ยาพ่นขยายหลอดลม หรือใช้เป็นยากลุ่มสเตียรอยด์พ่น เพื่อช่วยลดอาการ ในคุณแม่ที่เป็นหอบหืดเรื้อรัง การใช้ยาจะช่วยควบคุมอาการระหว่างตั้งครรภ์ ซึ่งจะช่วยให้ผลลัพธ์ของการตั้งครรภ์เป็นไปด้วยดี
         การที่คุณแม่บางคนเลี่ยงไม่ใช้ยา อาจจะทำให้ระดับความรุนแรงของโรคเพิ่มมากขึ้น มีผลต่อการทำงานของระบบการหายใจ หรือมีภาวะแทรกซ้อนอื่น ๆ ที่รุนแรงคือ อาจทำให้หยุดหายใจไปก็มี ซึ่งส่งผลต่อพัฒนาการลูกในครรภ์แน่นอน
         ดังนั้น ถ้ามีอาการให้รีบไปหาคุณหมอ เพื่อดูการใช้ยา แล้วคุณหมอจะทำการปรับยาให้เหมาะสม อย่าปรับใช้เอง เพราะอาการบางอย่างคุณแม่ไม่สามารถประเมินเองได้ ต้องใช้เครื่องมืออุปกรณ์ ช่วยในการตรวจ เพื่อประเมินการทำงานของปอด และทำการวินิจฉัยเพื่อหาแนวทางการรักษาให้เหมาะสมต่อไปค่ะ
         คุณแม่ที่เป็นหอบหืดก็ไม่ต้องกังวลจนเกินไปค่ะ ถ้าคุณแม่มีอาการไม่รุนแรงมาก หรือมีการคุมโรคหอบหืดได้ดีแล้ว ผลแทรกซ้อนก็จะน้อยลง และผลการตั้งครรภ์ก็จะค่อนข้างดีหรือเป็นปกติค่ะ



ขอขอบคุณข้อมูลจาก
  
++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
  
 

               โรคหอบหืดกับผลของการสูบบุหรี่

ผลเสียของการสูบบุหรี่สปสช โรคหอบหืด โรคหอบหืด การตั้งครรภ์ โรคหอบหืดกับผลของการสูบบุหรี่

ทุกปีจะมีผู้เสียชีวิตจากบุหรี่ปีละ 400000

คนหรืออาจจะมากว่านั้นแต่ละปีรัฐบาลต้องเสียงบประมาณเป็นค่ารักษาโรคที่เกิดจากบุหรี่มากมาย โทษของบุหรี่สมัยนี้มีมากว่าสมัยก่อนหลายเท่าเนื่องจากบุหรี่ปัจจุบันมีสารนิโคตินและ tar ต่ำทำให้คนสูดบุหรี่เข้าปอดให้ลึกๆ

ผู้ที่อยู่กับผู้ที่สูบบุหรี่ก็ได้รับผลเช่นเดียวกันเราเรียกกลุ่มนี่ว่าสูบบุหรี่มือสอง ควันที่ออกจากผู้สูบบุหรี่จะมีสารที่มีขนาดเล็กสามารถเข้าปอดของผู้สูบบุหรี่มือสองผลเสียของการสูบบุหรี่ได้แก่

  1. โรคหัวใจ

การสูบบุหรี่จะทำให้เกิดโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ ผู้ที่สูบบุหรี่จะเพิ่มอัตราการเกิดโรหัวใจ 5 เท่าเมื่อเทียบกับผู้ที่ไม่สูบบุหรี่ ผู้ที่สูบบุหรี่จะมีระดับไขมัน HDL-Cholesterol(ไขมันซึ่งป้องกันหลอกเลือดแดงตีบ)ต่ำ และยังกระตุ้นระบบประสาทอัตโนมัติทำให้หัวใจและหลอดเลือดเกิดโรค ยิ่งสูบมากยิ่งมีโอกาสเกิดโรคมาก โดยเฉพาะคุณผู้หญิงที่สูบบุหรี่จะมีความเสี่ยงต่อโรคหัวใจมากกว่าผู้ชายที่สูบบุหรี่เนื่องจาการสูบบุหรี่มีผลต่อระดับฮอร์โมน estrogen มีรายงานว่าผู้ที่สูบุหรี่มือสองเมื่ออยู่ในห้องที่สูบบุหรี่เพียงครึ่งชั่วโมงระดับของสารต้านอนุมูลอิสระในเลือดเช่นวิตามิน ซีจะมีระดับลดลง

  1. โรคมะเร็ง 

 ร้อยละ30ของผู้ป่วยมะเร็งจะสูบบุหรี่ ผู้ป่วยมะเร็งปอดจะสูบุหรี่ร้อยละ85 ผู้ที่สูบบุหรี่มือสองจะมีการเพิ่มขึ้นของมะเร็งปอดร้อยละ 25 ผู้ที่สูบุหรี่ที่มีไส้กรองจะมีอุบัติการณ์ของมะเร็งปอดชนิด adenocarcinoma สูงเนื่องจากผู้ป่วยจะสูดเข้าแรงมากทำให้สารก่อมะเร็งเข้าสู่ปอด ผู้ที่สูบบุหรี่ที่ใส่ menthol ก็มีโอกาสเป็นมะเร็งปอดสูง นอกจากมะเร็งปอดแล้วบุหรี่ยังก่อให้เกิดมะเร็งที่คอ ปาก หลอดอาหาร ไตกระเพาะปัสสาวะ มดลูก

  1. โรคอัมพาตและสมองเสื่อม

ผู้ที่สูบบุหรี่วันละซองจะมีโอกาสเสี่ยงต่อโรคอัมพาต2เท่าครึ่งเมื่อเทียบกับคนที่ไม่สูบ และยังพบว่าปัจจัยเสี่ยงยังคงมีอยู่หลังหยุดสูบบุหรี่ 14 ปี นอกจากนั้นยังพบโรคสมองเสื่อมเพิ่มในผู้ที่สูบบุหรี่

  1. โรคปอด

ปีหนึ่งจะมีผู้ที่สูบบุหรี่เสียชีวิตจากโรคถุงลมโป่งพอง ปอดบวม หลอดลมอักเสบเป็นจำนวนมาก

  1. การตั้งครรภ์และทารก

ผู้ที่สูบบุหรี่วันละซองโดยเฉพาะที่เริ่มสูบตั้งแต่อายุ 18 ปีจะมีความเสี่ยงต่อการเกิดโรค เป็นหมัน ครรภ์นอกมดลูกและการแท้งและยังเพิ่มอัตราการตายในทารก การสูบบุหรี่จะไปลดกรดโฟลิก กรดโฟลิกจะมีส่วนช่วยป้องกันความพิการแต่กำเนิด ลูกที่เกิดจากแม่ที่สูบบุหรี่มักจะมีน้ำหนักตัวน้อยกว่าปกติ

สำหรับเด็กที่เติบโตในสิ่งแวดล้อมที่พ่อหรือแม่ที่สูบบุหรี่จะมีอุบัติการณ์การเกิดโรคหอบหืด โรคหลอดลมอักเสบ ปอดบวม เพิ่มขึ้นร้อยละ50

  1. การสูบบุหรี่กับสุขภาพช่องปาก

การสูบบุหรี่สามารถทำให้โรคมะเร็งในช่องปากและโรคเหงือก โดยควันบุหรี่จะทำลายเนื้อเยื่อที่ยึดระหว่างเหงือกและฟันทำให้เหงือกร่น ทำให้ดื่มน้ำร้อนหรือน้ำเย็นจะเสียว เกิดฟันผุ ทำให้แผลหายช้า มีกลิ่นปาก มีคราบบุหรี่ติดที่เหงือกและฟัน

  1. การสูบบุหรี่กับโรคกระดูกและกล้ามเนื้อ

โรคที่เกิดจากการสูบบุหรี่เป็นโรคที่สามารถป้องกันได้ ผู้ที่สูบจะมีอายุสั้นกว่าผู้ที่ไม่สูบประมาณ 7-10ปี บุหรี่นอกจากจะทำให้เกิดโรคมะเร็ง โรคหัวใจและหลอดเลือดยังก่อให้เกิดโรคข้อและกระดูกดังนี้

  • โรคกระดูกพรุน การสูบบุหรี่จะลดเลือดที่ไปเลี้ยงกระดูก นิโคตินที่อยู่ในบุหรี่ยังลดการสร้างกระดูกและลดการดูดซึมแคลเซียมทำให้ผู้ที่สูบมีโรคกระดูกพรุน กระดูกหักง่าย
  • การสูบบุหรี่ทำให้กระดูกสะโพกหักง่ายเนื่องจากกระดูกพรุน
  • การสูบบุหรี่ทำให้เกิดการอักเสบของข้อและกระดูกจากการออกกำลังได้ง่าย มีการฉีกของเอ็นและกล้ามเนื้อ
  • การสูบบุหรี่ทำให้กระดูกที่หักต่อติดกันได้ยากและทำให้แผลหายช้า
  • การสูบบุหรี่ทำให้ประสิทธิภาพของนักกีฬาลดลงเนื่องจากการทำงานของปอดสู้ผู้ที่ไม่สูบบุหรี่ไม่ได้ ผู้ที่สูบบุหรี่จะหายใจมากกว่าผู้ที่ไม่สูบ 3 ครั้ง
  • ผู้ที่สูบบุหรี่มีโรคปวดหลังมากกว่าผู้ที่ไม่สูบบุหรี่
  1. การสูบบุหรี่กับโรคทางเดินอาหาร

การสูบบุหรี่ทำให้เกิดโรคร้ายแรงมากมาย และมีการเปลี่ยนแปลงระบบต่างๆรวมทั้งระบบอาหาร โรคทางเดินอาหารที่สัมพันธ์กับบุหรี่มีดังนี้

Heartburn 

หรือคนไทยเรียกร้อนใน ผู้ป่วยจะมีอาการจุกหน้าอก เกิดจาการที่บุหรี่ทำให้หูรูดที่กั้นระหว่างกระเพาะและหลอดอาหารหย่อนตัว กรดจากกระเพาะล้นเข้าไปยังหลอดอาหารทำให้เกิดการอักเสบ

Peptic Ulcer

เชื่อว่าบุหรี่ทำให้เกิดการติดเชื้อ Helicobacter pylori (H.pylori)ได้ง่าย เชื้อดังกล่าวเป็นสาเหตุของโรคกระเพาะอาหาร นอกจากนั้นการสูบบุหรี่ยังทำให้ตับอ่อนไม่สามารถสร้างด่างได้มากพอ กรดที่มาจากกระเพาะจึงมีความเป็นกรดมากจึงทำให้เกิดแผลโดยเฉพาะแผลที่ลำไส้เล็กส่วนต้น duodenal ulcer และจะหายยากกว่าผู้ที่ไม่สูบบุหรี่

โรคตับ

ตับมีหน้าที่กำจัดของเสียออกจากร่างกาย มีหลักฐานว่าการสูบบุหรี่จะทำให้ความสามารถในการกำจัดของเสียลดลง

1| 2 | 3 | 4 | 5 | 6 | 7 | 8

Link        https://www.siamhealth.net

++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

อัพเดทล่าสุด