โรคริดสีดวงทวารหนัก อาการโรคริดสีดวง โรคริดสีดวง เกิดจาก


1,145 ผู้ชม


โรคริดสีดวงทวารหนัก อาการโรคริดสีดวง โรคริดสีดวง เกิดจาก

              โรคริดสีดวงทวารหนัก

โรคริดสีดวงทวารหนักคืออะไร,สาเหตุของการเกิดโรคริดสีดวงทวารหนักและการรักษาโรคริดสีดวงทวารหนัก

Posted by | Category: บทความเพื่อสุขภาพ | No Comments

โรคริดสีดวงทวารเป็นภาวะที่มีการอักเสบของเส้นเลือดดำที่ไส้ตรง จนทำให้เส้นเลือดบริเวณนี้โป่งหรือพองออกมา ซึ่งถ้าเป็นมากๆ จะเห็นเหมือนเป็นติ่งเนื้อโผล่ออกมาทางทวารหนัก ผู้ป่วยจะมีอาการเจ็บๆคันๆ ในระยะแรกและจะเพิ่มอาการเจ็บปวดมากขึ้น การโป่งของเส้นเลือดนี้จะทำให้เกิดการเสียดสีกับอุจจาระ ในที่สุดก็จะเกิดเป็นแผลและมีเลือดออกขณะเบ่งหรือถ่ายอุจจาระ

โรคริดสีดวงทวารนี้แบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือ ริดสีดวงทวารภายใน และ ริดสีดวงทวารภายนอก

ริดสีดวงทวารภายใน (Internal Hemorrhoids) เกิดจากเส้นเลือดที่ใต้เยื่อบุผิวโป่งพองออก ริดสีดวงชนิดนี้จะไม่เจ็บปวดมาก เพราะที่ใต้เยื่อเมือกไม่มีเส้นประสาทรับความรู้สึกปวด
ริดสีดวงทวารภายนอก (External Hemorrhoids) เป็นริดสีดวงทวารอีกชนิดหนึ่งที่คนเป็นกันมาก ซึ่งจะมีการโป่งพองของเส้นเลือดที่ผิวหนังบริเวณรอบทวารหนัก ซึ่งริดสีดวงทวารอย่างหลังนี้ผู้ที่เป็นจะเจ็บมากเวลาที่มีการอักเสบ เพราะตรงบริเวณรอบทวารหนักจะมีเส้นประสาทรับความรู้สึกอยู่เต็มไปหมด

ส่วนระดับความรุนแรงและอาการของริดสีดวงทวารก็สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ระยะ คือ

ขั้นแรก จะไม่มีก้อนหรือติ่งเนื้อโผล่ออกมาทางทวารหนัก แต่เวลาเบ่งอุจจาระแรงๆ หรือเวลาที่มีอาการท้องผูกจะมีเลือดไหลออกมาได้
ขั้นที่สอง จะเริ่มมีก้อนริดสีดวงโผล่ออกมา แต่จะโผล่ออกมาเฉพาะเวลาที่มีการอักเสบหรือท้องผูกเท่านั้น ซึ่งก้อนเนื้อนี้จะสามารถดันกลับได้

สาเหตุของริดสีดวงทวารหนัก
ริดสีดวงทวารหนักนั้นเกิดมาจากท้องผูก การตั้งครรภ์ ซึ่งในกรณีของการตั้งครรภ์นี้โรคริดสีดวงทวาร จะหายได้เองเมื่อคลอดบุตรแล้ว ส่วนสาเหตุอื่นๆ ก็เช่น พันธุกรรมและความชรา แต่สาเหตุหลักๆ ก็เกิดจากพฤติกรรมที่ผิด โดยเฉพาะการถ่ายอุจจาระ บางคนปล่อยให้ท้องผูกเรื้อรัง ไม่ชอบรับประทานผัก ผลไม้หรืออาหารที่มีเส้นใย ดื่มน้ำน้อย หรือชอบเบ่งแรงๆ เวลาถ่ายอุจจาระ เหล่านี้ก็ล้วนเป็นสาเหตุของการเกิดริดสีดวงทวาร แต่โชคร้ายโรคนี้ไม่สามารถรักษาให้หายขาด เว้นแต่จะปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการรับประทานอาหารและการถ่ายอุจจาระ

ยาสมุนไพรเพชรสังฆาต อภัยภูเบศร ขนาด 70 แคปซูล ราคาเพียง 139 บาทเท่านั้น!!!
การดูแลปฏิบัติตนเพื่อบรรเทาอาการโรคริดสีดวงทวารหนัก

1. ควรนั่งแช่น้ำอุ่น 10-15 นาที วันละ 3 ครั้ง เพื่อช่วยลดอาการปวด การอักเสบ และช่วยทำความสะอาดบริเวณที่เป็นโรค

2. ควรหลีกเลี่ยงอาการท้องผูก เพราะท้องผูกเป็นสาเหตุที่สำคัญอย่างหนึ่งของริดสีดวงทวารหนักทั้งเป็น สาเหตุของการเบ่ง และทำให้อุจจาระแข็ง ซึ่งมีวิธีแก้ไขอาการท้องผูกดังนี้
กินอาหารที่มีเส้นใยสูง เช่น ผัก ผลไม้ และเมล็ดธัญพืช เพื่อช่วยให้อุจจาระนุ่มขึ้น
ควรดื่มน้ำอย่างน้อยวันละ 8 แก้ว หรือ 2 ลิตรอย่าสม่ำเสมอ
ควร หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และกาเฟอีน เช่น สุรา เบียร์ ไวน์ กาแฟ ชา น้ำโคล่า เพราะจะทำให้ร่างกายขาดน้ำ อุจจาระแข็ง และถ่ายลำบาก
ควรหลีกเลี่ยงกลั้นอุจจาระ
ไม่ควรนั่งหรือเบ่งอุจจาระโดยไม่รู้สึกปวดจะถ่าย


3. ควรหลีกเลี่ยงการขัดถูบริเวณทวารหนักอย่างรุนแรง เพราะจะยิ่งระคายเคืองริดสีดวงทวารหนัก

4. ควรออกกำลังกายสม่ำเสมอ เพราะจะช่วยเพิ่มกระตุ้นการเคลื่อนไหวของลำไส้ ทำให้ถ่ายอุจจาระได้ง่าย
นอก จากนี้ ผู้ป่วยควรสำรวจและสังเกตตนเองว่าตนเองมีพฤติกรรมที่เสี่ยงในการส่งเสริมทำ ให้ท้องผูกหรือปัจจัยอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับโรคริดสีดวงทวารหนัก เช่น ชอบอ่านหนังสือในห้องสุขา การถ่ายอุจจาระบนส้วมชักโครก การยกของหนักๆ การนั่งหรือยืนท่าใดท่าหนึ่งติดต่อกันนานๆ การกลั้นอุจจาระ เป็นต้น ซึ่งถ้าพบและแก้ไขสิ่งต่างๆ เหล่านี้ ก็จะช่วยให้อาการดีขึ้นอย่างมาก

ขอขอบคุณข้อมูลจาก

- คอลัมภ์ “พืชใกล้ตัว” โดย ภญ.ผกากรอง ขวัญข้าว
ของวารสาร “อภัยภูเบศรสาร” ปีที่ 3 ฉบับที่ 36 ประจำเดือน มิถุนายน 2549

           Link     https://www.healthdd.info

+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

  

                 อาการโรคริดสีดวง

  ริดสีดวงจะมีอาการสำคัญก็คือการถ่ายอุจจาระออกมาเป็นเลือดสดๆทั้งนี้เนื่องจากการเบ่งถ่ายแรงๆ
หัวริดสีดวงทวาร (กลุ่มหลอดเลือดดำขอด) จะปริแตกออกอาการส่วนมากจะมีอาการเลือดออกทางทวารหนัก

เป็นเลือดแดงสด เกิดขึ้นขณะถ่ายอุจจาระ อาจสังเกตมีเลือดเปื้อนกระดาษชำระ หรือปนมากับอุจจาระ

หรือมีเลือดไหลออกเป็นหยดโดยไม่รู้สีกเจ็บปวดแต่อย่างไร บางคนอาจรู้สึกเจ็บที่ทวารหนัก และถ่ายอุจจาระลำบาก

หรืออาจมีอาการคันก้น ถ้าริดสีดวงอักเสบ หรือหลุดออกมาข้างนอก อาจทำให้รู้สึกปวดรุนแรง จนถึงกับนั่งยืน
หรือเดินไม่สะดวก และคลำได้ก้อนเนื้อนุ่มๆ สีคล้ำๆ ที่ปากทวารหนัก ถ้ามีเลือดออกมากหรือเรื้อรัง อาจมีอาการซีดได้
          การรักษาโรคริดสีดวงมีดังนี้ค่ะ คือ
             ระวังอย่าให้ท้องผูก ควรดื่มน้ำมาก ๆ และกินผักผลไม้มาก ๆ ถ้ายังท้องผูก ให้กินยาระบาย
เช่น ยาระบายแมกนีเซีย , ดีเกลือ , อีแอลพี หรือสารเพิ่มกากใย อย่ายืนนาน ๆ หรือนั่งเบ่งถ่ายนาน ๆ
             ถ้าปวดมากเนื่องจากมีการอักเสบ ให้กินยาแก้ปวด , นั่งแช่ในน้ำอุ่นจัด ๆ วันละ 2-3 ครั้ง ๆ ละ
15-30 นาที และใช้ยาเหน็บริดสีดวงทวาร เช่น อะนูซอล( Anusal), เชอริพร็อกต์ ( Scheriproct), พร็อกโตซีดิล
(Proctosedyl) เหน็บวันละ 2-3 ครั้ง (เช้า ก่อนนอน และหลังถ่ายอุจจาระ) จนอาการบรรเทา ใช้เวลาประมาณ 10 วัน
             ถ้ามีอาการซีดร่วมด้วยให้ใช้ เฟอร์รัสซัลเฟต วันละ 3 ครั้ง ๆ ละ 1 เม็ด

             ถ้ามีเลือดออกนานกว่า 1 สัปดาห์ หรือเป็น ๆ หาย ๆ บ่อย พบในคนอายุ 40 ปีขึ้นไป ควรไปพบแพทย์

อาจต้องใช้เครื่องส่องตรวจทวารหนัก ( proctoscope) ถ้าหากสงสัยเป็นมะเร็งของลำไส้ใหญ่  อาจต้องเอกซเรย์
ลำไส้ใหญ่ด้วยการสวน แป้งแบเรียม (Barium enema) หรือใช้เครื่องส่องตรวจลำไส้ใหญ่ถ้าเป็นริดสีดวงทวาร
โดย ไม่มีสาเหตุที่ร้ายแรง ก็มักจะให้การรักษาดังได้กล่าวข้างต้น ถ้าเป็นมากอาจรักษาด้วย
            การฉีดยาเข้าที่หัวริดสีดวงให้ฝ่อไป วิธีนี้สะดวก ปลอดภัย ไม่มีความเจ็บปวด มักจะฉีดสัปดาห์ละครั้ง
ประมาณ 3-5 ครั้ง ช่วยให้หายขาดได้ 60% ส่วนอีก 40% อาจกำเริบได้ใหม่ หรือ
             อาจรักษาโดยวิธีใช้ยางรัด ( rubber bandligation) ทำให้หัวริดสีดวงฝ่อ หรือใช้ แสงเลเซอร์รักษา
( laser photocoagulation) ถ้าเป็นมาก หรือมีภาวะแทรกซ้อน อาจต้องผ่าตัด
 
การป้องกันริดสีดวง ด้วยการอาหารที่มีไฟเบอร์เป็นประจำ เป็นทางเลือก ทีง่าย และปลอดภัยทีสุดค่ะ
ไฟโตไฟเบอร์ สารสกัดจากใยอาหาร ผลิตจากธรรมชาติ 100% รับประทานง่าย ราคาไม่แพง
สามารถใช้ทดแทนการขาดไฟเบอร์ในแต่ละวัน

                Link      https://www.thai4health.com

 

+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

 

            โรคริดสีดวง เกิดจาก

ริดสีดวงทวารหนักเกิดจากอะไร
+โพสต์เมื่อวันที่ : 25 ก.ย. 2551

 

ภาพประกอบจากอินเทอร์เน็ต

..... 

ริดสีดวงทวารหนัก หมายถึง การมีหลอดเลือดขอดโป่งพองของผนังเยื่อบุทวารหนัก ซึ่งเมื่อเกิดขึ้นจะพบเป็นก้อนโป่งพอง โผล่ออกมาขณะอุจจาระ หรืออาจทำให้เกิดอาการเลือดออกขณะหรือหลังถ่ายอุจจาระได้

ริดสีดวงทวารหนักเกิดขึ้นได้อย่างไร : โดยปกติแล้วที่บริเวณทวารหนักจะมีเลือดมาเลี้ยงมาก และมีลักษณะพิเศษอีก คือ มีกลุ่มหลอดเลือดดำสานเป็นร่างแหที่บริเวณเยื่อบุทวารหนัก 3 กลุ่มใหญ่ โดยรอบทวารหนัก เลือดภายในกลุ่มหลอดเลือดดำเหล่านี้จะไหลถ่ายเทขึ้นไปสู่หลอดเลือดดำใหญ่ภายในช่องท้อง แต่ถ้าหลอดเลือดไหลถ่ายเทไม่สะดวก และเป็นบ่อย ๆ จะเกิดการคั่งขึ้นภายในร่างแหหลอดเลือดดำ เกิดเป็นหลอดเลือดขอดโป่งพองขึ้นได้ เรียกว่า ริดสีดวงทวารหนัก ริดสีดวงทวารหนักอาจเกิดเป็นแบบภายในหรือภายนอก ขึ้นกับว่าเกิดที่หลอดเลือดภายใน หรือนอกทวารหนัก ส่วนมากมักเป็นแบบภายใน

สาเหตุของการเกิดริดสีดวงทวารหนัก : ที่พบบ่อยที่สุด คือ อุปนิสัยในการขับถ่ายอุจจาระ และการรับประทานอาหาร

ท้องผูก คือ การถ่ายอุจจาระลำบาก หลายๆ วันถ่ายครั้งหนึ่ง พวกนี้มักมีอุจจาระแข็ง ต้องเบ่งอยู่นานขณะขับถ่าย นั่งถ่ายอุจจาระนาน การรับประทานอาหาร ที่ไม่ค่อยมีผัก และผลไม้ จะทำให้อุจจาระมีกากอาหารน้อย ทำให้ท้องผูกได้มาก

สาเหตุอื่น ๆ ที่ทำให้เกิดริดสีดวงทวารหนัก ได้แก่ การตั้งครรภ์ เพราะมดลูกมีขนาดใหญ่ขึ้น กดทับทำให้เลือดดำไหลถ่ายเทลำบาก เกิดการคั่งได้ง่าย นอกจากนั้นยังกดลำไส้ใหญ่ทำให้ท้องผูกบ่อย ๆ ยิ่งทำให้เกิดริดสีดวงทวารหนักมากขึ้น หรือมีเนื้องอกอยู่ภายในลำไส้ใหญ่ อุจจาระออกลำบาก ต้องใช้แรงเบ่งมากก็มีโอกาสเกิดได้ง่ายขึ้น

อาการ : ผู้ที่เป็นริดสีดวงทวารหนัก โดยมากมักมีอาการถ่ายเป็นเลือด เลือดที่ออกมักจะเป็นเลือดสดๆ ระยะแรกอาจสังเกตว่ามีเลือดติดกระดาษชำระหลังอุจจาระ หรือเคลือบอุจจาระออกมา ต่อมาอาจออกมากจนมีเลือดหยดลงในโถส้วมขณะถ่ายอุจจาระ ถ้าเป็นมากขึ้นจะพบว่ามีก้อนโผล่ออกมาทางทวารหนัก โดยเฉพาะหลังถ่ายอุจจาระโดยมากจะไม่มีอาการเจ็บปวด (นอกจากถ้ามีการอักเสบร่วมด้วย) ยกเว้นในพวกที่เป็นริดสีดวงทวารหนักแบบภายนอก ซึ่งมักพบก้อนที่ทวารหนักตั้งแต่ระยะแรก และโดยมากจะเจ็บปวดที่ก้อนริดสีดวง จากอาการดังกล่าวทำให้แพทย์แบ่งริดสีดวงทวารหนักออกเป็น 4 ระยะ คือ

ระยะที่ 1 มีแต่อาการเลือดออก การตรวจต้องใช้เครื่องมือพิเศษส่องเข้าไปดูภายในทวารหนัก มองจากภายนอก หรือคลำดูจะไม่สามารถบอกได้เลย

ระยะที่ 2 ถ่ายอุจจาระแล้วมีก้อนริดสีดวงทวารหนักโผล่ออกมาเวลาเบ่ง แต่หดกลับเข้าไปได้เอง

ระยะที่ 3 ถ่ายอุจจาระแล้วริดสีดวงโผล่ออกมา และไม่หดกลับเข้าเองต้องใช้นิ้วมือดันกลับจึงเข้า

ระยะที่ 4 ริดสีดวงทวารโผล่ออกมาภายนอก และไม่สามารถดันกลับเข้าไปได้

อาการเลือดออกทางทวารหนัก หรือถ่ายเป็นเลือดแม้ว่ากว่า 90% จะเป็นริดสีดวงทวารหนัก แต่ก็อาจเกิดจากโรคอื่นได้ โดยเฉพาะโรคที่ร้ายแรง เช่น มะเร็งของลำไส้ใหญ่ และทวารหนัก ดังนั้นจึงควรได้รับการตรวจยืนยันว่าไม่มีโรคร้ายแรงเกิดขึ้น แต่ริดสีดวงทวารหนักเองนั้นไม่ใช่มะเร็ง และไม่ใช่สาเหตุให้เกิดมะเร็ง และการวินิจฉัยที่แน่นอนจะต้องตรวจโดยใช้กล้องส่องดูภายในทวารหนัก

การรักษา : แพทย์จะเลือกวิธีรักษาตามระยะของโรคอาจจะเป็น

1. ให้ยาชนิดป้าย หรือยาเหน็บทวารหนัก ใช้กับโรคระยะที่ 1

2. ใช้ยาฉีดหัวริดสีดวงทวารหนัก ยาจะทำให้หลอดเลือดดำฝ่อ และหัวริดสีดวงทวารหนักยุบลง ใช้กับโรคระยะที่ 2 การฉีดยาจะไม่เกิดอาการเจ็บปวดเลย ได้ผลดีมาก

3. ใช้ยางรัดหัวริดสีดวงทวารหนัก วิธีนี้จะรัดที่หัวริดสีดวงทำให้หัวริดสีดวงฝ่อแล้วหลุดไปเอง หลังรัดด้วยยางประมาณ 7 วัน ได้ประโยชน์ และผลดีในโรคระยะที่ 2 โดยเฉพาะเมื่อหัวริดสีดวงมีขนาดใหญ่ และพบว่ามักไม่มีอาการเจ็บปวดขณะใช้ยารักษาเช่นเดียวกัน

4. ใช้เครื่องขยายทวารหนัก หรือใช้ความเย็นจัด หรือใช้แสงอินฟราเรด เป็นวิธีการรักษาที่ใช้กับระยะที่ 2 แต่ยังไม่ค่อยนิยมเท่าแบบที่ 2, 3

5. ผ่าตัดใช้สำหรับโรคระยะที่ 3 และ 4 ซึ่งนับว่าเป็นมากแล้ว ความจริงการผ่าตัดไม่น่ากลัวเลย และไม่เจ็บขณะทำผ่าตัด เพราะแพทย์จะให้ยาสลบหรือฉีดยาชาเข้าไขสันหลัง หลังผ่าตัดอาจจะเจ็บปวดบ้าง แต่ก็ไม่มากมาย และสามารถระงับได้โดยยาแก้ปวด อยู่โรงพยาบาลประมาณ 3-4 วัน

ขณะทำการรักษาไม่ว่าโดยวิธีใด แพทย์จะแนะนำวิธีปฏิบัติตน รวมทั้งให้ยาบางอย่างที่จำเป็นเพื่อไม่ให้มีอาการท้องผูก หรือถ่ายอุจจาระลำบากร่วมด้วยเสมอ และการใช้ยากัดริดสีดวงทวารหนักนั้นเป็นสิ่งที่ไม่แนะนำ และจะก่อให้เกิดข้อแทรกซ้อนรุนแรงตามมา เช่น ทวารหนักเน่าหรือตีบตัน

คำแนะนำ

1. ฝึกอุปนิสัยในการถ่ายอุจจาระให้ถ่ายเป็นเวลา และไม่นั่งถ่ายนานหรือเบ่งอยู่นาน ๆ

2. พยายามอย่าให้ท้องผูก โดยการรับประทานอาหารประเภทผัก และผลไม้ ดื่มน้ำมากๆ การออกกำลังกายเป็นประจำ มีผู้พบว่าช่วยให้ระบบขับถ่ายดีขึ้น

3. ถ้าท้องผูก อาจรับประทานยาระบายชนิดอ่อน โดยเฉพาะประเภทที่ช่วยเพิ่มกากอาหารได้ และควรอยู่ในความดูแลของแพทย์

4. เมื่อมีปัญหาถ่ายเป็นเลือด ควรพบปรึกษาแพทย์ เพื่อให้ได้การวินิจฉัยว่าเป็นโรคริดสีดวงทวารหนักแน่ ไม่ใช่โรคร้ายแรงอื่น นอกจากนั้นถ้าเป็นโรคนี้ในระยะแรกๆ จะได้รีบรักษาซึ่งสามารถหลีกเลี่ยงการรักษาโดยการผ่าตัดได้ อย่าอายที่จะพบหรือได้รับการตรวจรักษาโดยแพทย์ การวินิจฉัยให้ได้แน่นอนจำเป็นต้องใช้เครื่องมือพิเศษส่องเข้าไปตรวจภายในทวารหนัก ซึ่งก็ไม่ก่อให้เกิดความเจ็บปวดแต่ประการใด และการรักษาโรคโดยการฉีดยา หรือรัดด้วยยางก็ไม่ยุ่งยาก ไม่เจ็บปวด เช่นเดียวกัน

5. ถึงแม้จะเป็นมากแล้ว และต้องรักษาโดยการผ่าตัด ก็ไม่ใช่เรื่องน่ากลัว การปล่อยทิ้งไว้โดยไม่รักษา ก่อให้เกิดปัญหาตามมาได้มาก เช่น มีแผลเกิดขึ้นที่หัวริดสีดวง มีการติดเชื้อบางครั้งเลือดออกมากจนเกิดอาการซีด เลือดจางได้ การผ่าตัดทำให้โรคหายขาดเกือบ 100% ถ้าระวังไม่ให้ท้องผูกอีก

6. อย่าซื้อยาเหน็บ หรือยากัดริดสีดวงทวารหนักใช้เอง เพราะมักเกิดอันตรายได้มาก

ข้อมูลจาก : https://www.bangkokhealth.com/gi_htdoc/gi_health_detail.asp?Number=9020

+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

อัพเดทล่าสุด