ค่ารักษาโรคริดสีดวง รักษาโรคริดสีดวงคนท้อง การรักษาโรคริดสีดวงทวารหนักภายใน ระยะที่ 3
ค่ารักษาโรคริดสีดวงนวัตกรรมใหม่ในการผ่าตัดริดสีดวงทวารหนักในวงการแพทย์ไทย
ประธานชมรมศัลยแพทย์ลำไส้ใหญ่และทวารหนัก เผยข้อสรุปนวัตกรรมใหม่ในการรักษาริดสีดวง ด้วยวิธีการผ่าตัดแบบสมัยใหม่ โดยใช้เครื่องมือตัดเย็บแบบใหม่ (Stapled hemorrhoidectomy) หรือที่เรียกว่า การผ่าตัดรักษาด้วยวิธี PPH (procedure for prolapsed and hemorrhoid) ช่วยให้ผู้ป่วยเจ็บน้อยและแผลหายเร็วขึ้น
กรุงเทพฯ - มิถุนายน 2552 - พล.ต.รศ.นพ.ปริญญา ทวีชัยการ ศัลยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญโรคระบบลำไส้ใหญ่และทวารหนัก ประธานชมรมศัลยแพทย์ลำไส้ใหญ่และทวารหนัก (ประเทศไทย) เปิดเผยถึง ข้อสรุปนวัตกรรมใหม่ในการรักษาริดสีดวงทวารหนักในวงการแพทย์ไทย ด้วยนวัตกรรมการผ่าตัดแบบสมัยใหม่ ที่ทำให้ผู้ป่วยเจ็บน้อยและแผลหายเร็วยิ่งขึ้น ว่าวงการแพทย์ไทยได้มีการจัดประชุมวิทยาการเกี่ยวกับการรักษาโรคริดสีดวงทวาร ซึ่งได้ข้อสรุปทางเทคนิคในการผ่าตัดรักษาริดสีดวงทวารที่เป็นประโยชน์ต่อผู้ป่วย หรือผู้ที่กำลังมีปัญหาการรักษาในปัจจุบัน ด้วยนวัตกรรมวิธีการผ่าตัดแบบสมัยใหม่ ซึ่งนับเป็นอีกทางเลือกหนึ่งสำหรับผู้ป่วย ในกรณีที่ต้องรักษาโรคริดสีดวงทวารหนักด้วยการผ่าตัดโดยพบข้อดีสำหรับผู้ป่วยหลังการผ่าตัดด้วยเครื่องมือผ่าตัดแบบใหม่ ที่เรียกว่า Stapled hemorrhoidectomy ซึ่งจะทำให้ผู้ป่วยเจ็บน้อย และใช้ระยะเวลาในการผ่าตัดและพักฟื้นตัวน้อย ระยะเวลาการฟื้นตัวของผู้ป่วยหลังการผ่าตัดเร็ว ความต้องการในการรับประทานยาแก้ปวดของผู้ป่วยน้อยกว่าเมื่อเปรียบเทียบกับการผ่าตัดแบบเดิม รวมถึงผลข้างเคียง หลังการผ่าตัดไม่ก่อให้เกิดโรคแทรกซ้อน ผู้ป่วยจึงกลับไปใช้ชีวิตปกติได้ไวกว่าการผ่าตัดแบบเดิม
โรคริดสีดวงทวารหนักเป็นโรคที่พบบ่อยทั้งในเพศชายและเพศหญิง แต่ผู้ป่วยจำนวนมาก
มีแนวโน้มที่จะเก็บความทุกข์ทรมานจากโรคนี้ไว้ตามลำพังเนื่องจากความอายและกลัวการผ่าตัด โดยสมาคมศัลยแพทย์ลำไส้ใหญ่และทวารหนักแห่งสหรัฐอเมริการายงานว่า ประชากรประมาณ 50 เปอร์เซ็นต์ของประเทศจะมีโอกาสเป็นโรคริดสีดวงทวารหนักในช่วงชีวิตของเขา และเหตุผลหนึ่งที่ผู้ป่วยไม่กล้าปรึกษาแพทย์เพราะกลัวการรักษาด้วยการผ่าตัดแบบเดิม ซึ่งมีข้อมูลว่าเจ็บปวดแสนสาหัส อีกทั้งผู้ป่วยที่ไม่ได้รับการรักษาอย่างถูกต้องจากศัลยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญระบบลำไส้ใหญ่และทวารหนัก หรือไปรักษาจากบุคคลากรที่ไม่ใช่แพทย์ มักจะก่อให้เกิดปัญหาโรคแทรกซ้อนตามมา ที่พบบ่อยที่สุดคือรูทวารตีบตันไม่สามารถถ่ายอุจจาระได้ ซึ่งมักพบจากการรักษาริดสีดวงทวารหนัก โดยการจี้ด้วยธูปความร้อน จี้ด้วยกรดหรือสารเคมีกัดผิวหนัง ฉีดสารเคมีที่ไม่ถูกต้องลงไป รวมทั้งการผ่าตัดที่ตัดริดสีดวงออกมากเกินไป ทำให้ต้องใช้เวลารักษาตัวนานอย่างน้อย 6 เดือน เพื่อให้ทวารหนักใหม่สามารถใช้การได้ดี
ในปัจจุบันมีวิธีการรักษาโรคริดสีดวงทวารหนักที่ถูกต้องมากมายหลายวิธี ที่สามารถขจัดปัญหาเรื่องริดสีดวงทวารหนักออกไป โดยไม่ก่อให้เกิดความเจ็บปวดหรือความทุกข์ทรมานใด ๆ ขึ้นอยู่กับชนิดของริดสีดวงว่าเป็นริดสีดวงชนิดภายใน (Internal Hemorrhoid) หรือริดสีดวงชนิดภายนอก (External Hemorrhoid) ซึ่งหลัก ๆ แล้ว มีอยู่ 2 วิธีใหญ่ ๆ คือ การรักษาโดยไม่ต้องผ่าตัด และการรักษาโดยการผ่าตัด ซึ่งส่วนใหญ่ผู้ป่วยจะเลือกรักษาโดยวิธีการไม่ต้องผ่าตัด หากอาการนั้นยังไม่ก่อให้เกิดความทุกข์ทรมานในการใช้ชีวิตประจำวันมากจนเกินไป
การรักษาด้วยการผ่าตัดโดยใช้เครื่องมือตัดเย็บแบบใหม่ (Stapled hemorrhoidectomy) หรือที่เรียกว่า การผ่าตัดรักษาด้วยวิธี pph (procedure for prolapsed and hemorrhoid) เหมาะกับการรักษาโรคสีดวงทวารหนักชนิดภายใน ในระยะที่ 3 และ 4 หรือริดสีดวงทวารหนักชนิดภายในที่เป็นโดยรอบทวารหนัก โดยการผ่าตัดแบบนี้ เป็นวิธีแก้ไขกลไกที่ทำให้เกิดโรคริดสีดวงทวารหนักโดยตรง เพราะจากทฤษฏีแล้ว ริดสีดวงทวารหนักเกิดจากการเลื่อนตัวของเบาะรอง (cushion) ที่อยู่ภายในทวารหนักออกมาภายนอก วิธีการผ่าตัดนี้จะดันเบาะรองกลับไปสู่ตำแหน่งเดิม และตัดเฉพาะส่วนเกินที่ยื่นออกมาเท่านั้น ไม่ตัดเบาะรองออกทั้งหมด ในความเป็นจริงแล้วเบาะรองมีประโยชน์ในการทำให้ทวารหนักของคนเราปิดสนิท ไม่มีน้ำอุจจาระ เล็ดออกมาได้ในระหว่างที่ไม่ได้ถ่ายอุจจาระ
ซึ่งการผ่าตัดโดยใช้เครื่องมือตัดเย็บแบบใหม่นี้ ประกอบด้วยอุปกรณ์ที่สำคัญ 3 ส่วน คือ เครื่องมือสอดและถ่างทวารหนัก เครื่องมือช่วยเย็บ และเครื่องมือตัดเย็บหัวริดสีดวง โดยการตัดและเย็บนี้ จะกระทำตามแนวเส้นรอบวงโดยตลอด จึงสามารถตัดหัวริดสีดวงออกได้ทุกหัวและไม่ทำให้รูทวารหนักแคบลง อีกทั้งแนวการเย็บอยู่สูงกว่าเส้นเด็นเต็ท (dentate line) ซึ่งเป็นบริเวณที่ไม่มีเส้นประสาทรับความรู้สึกเจ็บปวดมาเลี้ยง จึงทำให้ผู้ป่วยมีอาการเจ็บปวดน้อยลง โดยมีผลศึกษาทางการแพทย์จากรายงานในต่างประเทศที่สอดคล้องกับผลสรุปของการประชุมในครั้งนี้ว่า การผ่าตัดรักษาโรคริดสีดวงทวารหนักชนิดภายในด้วยเครื่องมือตัดเย็บแบบใหม่นี้ มีข้อดีคือ ตัดหัวริดสีดวงทวารหนักออกได้หมด โดยไม่เกิดผลแทรกซ้อนเรื่องทวารหนักตีบตัน รวมถึงโอกาสเกิดปัญหากลั้นอุจจาระไม่อยู่ก็น้อยกว่าการผ่าตัดแบบเดิม เพราะผู้ป่วยยังคงเหลือส่วนเบาะรอง (Cushion) เอาไว้ทำหน้าที่ได้ แต่จุดเด่นที่สำคัญ ความเจ็บปวดหลังผ่าตัดและการใช้เวลาพักฟื้นน้อย สามารถกลับไปใช้ชีวิตปกติได้ไวกว่าการผ่าตัดแบบเดิม
นิตยสาร Medical Upgrade ฉบับ 011
++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
รักษาโรคริดสีดวงคนท้อง
ถ่ายทำงานเป็นปกติ
การดูแลเรื่องระบบขับถ่ายจึงเป็นอีกเรื่องที่ควรใส่ใจเพื่อไม่ให้เป็นริดสีดวงทวาร และวิธีเหล่านี้ยังสามารถใช้ได้จนถึงหลังคลอดเช่นกันค่ะอาการริดสีดวงทวารมักจะเกิดจากการขับถ่ายไม่ถูกสุขลักษณะ การอั้นหรือบ่งถ่ายเป็นเวลานานจนทำให้เกิดแผลหรือการบวมของเส้นเลือดและมีเลือดออกจากบริเวณทวารหนัก ซึ่งคุณแม่ตั้งครรภ์ก็มักจะมีอาการของริดสีดวงทวารจากฮอร์โมนที่เปลี่ยนแปลงและการใช้ชีวิตประจำวัน ทำให้ขับถ่ายลำบากและเจ็บปวดบริเวณทวารหนัก ก่อให้เกิดความรำคาญและกังวลใจ แต่อาการของริดสีดวงทวารไม่ได้รุนแรงหรือเป็นอันตรายกับการตั้งครรภ์ หากคุณแม่ดูแลเรื่องการขับถ่ายให้ดีค่ะ
ทำไมจึงเป็นริดสีดวงทวาร?
ริดสีดวงทวารกับคุณแม่หลังคลอด
| อาการของริดสีดวงทวาร
หากมีอาการเหล่านี้หรือสงสัยว่าจะเป็นริดสีดวงทวารควรรีบไปปรึกษาแพทย์ทันที |
บรรเทาและป้องกันอาการริดสีดวงทวาร Link https://www.motherandcare.in.th ++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
หากเป็นริดสีดวงมาตั้งแต่ก่อนตั้งครรภ์หรือเพิ่งเริ่มเป็นในช่วงตั้งครรภ์ การใช้ยารักษาริดสีดวงทวารอาจเป็นเรื่องยากเพราะมียาไม่กี่ชนิดที่สามารถใช้ได้ระหว่างตั้งครรภ์ จึงไม่ควรซื้อยารักษาเอง แต่ควรปรึกษาสูติแพทย์ว่าครีม ขี้ผึ้งหรือยาเหน็บสำหรับรักษาริดสีดวงทวารชนิดใดที่สามารถใช้ได้บ้าง เพราะยาบางชนิดอาจเป็นอันตรายต่อทารกในครรภ์ได้
การป้องกันและบรรเทาอาการริดสีดวงทวารไม่ให้เกิดขึ้นในระหว่างตั้งครรภ์หรือไม่ให้อาการลุกลาม จึงเป็นเรื่องที่ต้องใส่ใจและสามารถทำได้เอง ดังนี้
- ใช้ความร้อน-ความเย็น : การแช่น้ำอุ่นโดยนำอ่างขนาดพอดีใส่น้ำอุ่นแล้วนั่งแช่ประมาณ 10-15 นาที ทำวันละ 2-3 ครั้ง จะช่วยลดความเจ็บปวด การบวมและการอักเสบของริดสีดวงทวารได้ หรือใช้การประคบเย็นโดยนำผ้าหนาๆ ห่อน้ำแข็งหรือแผ่นเจลสำเร็จรูปแช่ให้เย็น แล้วนำมาประคบก็ช่วยลดความเจ็บปวดและอาการบวมได้เช่นกัน
- หลังการขับถ่ายทุกครั้ง ควรทำความสะอาดรอบทวารหนักโดยใช้น้ำสะอาดล้าง หรือสำลีชุบน้ำเช็ดเบาๆ แล้วซับให้แห้ง อย่าถูแรงเพราะจะทำให้เจ็บและริดสีดวงบวมมากขึ้น และควรเลือกใช้กระดาษชำระชนิดที่อ่อนนุ่ม ไม่ยุ่ยเกินไป ไม่มีกลิ่นหอม หลีกเลี่ยงการใช้สบู่ แป้งโรยตัวที่มีส่วนผสมของน้ำหอมในบริเวณรอบทวารหนัก เพราะสารเคมีที่อยู่ในน้ำหอมอาจทำให้ระคายเคืองบริเวณแผลได้
- ดูแลอย่าให้ท้องผูก กินอาหารที่มีกากใยสูง หมั่นกินผักและผลไม้โดยเฉพาะในช่วงมื้อเย็น และดื่มน้ำเปล่าวันละ 8-10 แก้ว โดยเฉพาะหลังตื่นนอนตอนเช้า 10-15 นาที จะทำให้ระบบทางเดินอาหารบีบตัวมากขึ้น ช่วยให้ขับถ่ายได้สะดวก
- พยายามควบคุมการขับถ่ายให้เป็นปกติ อย่างน้อยวันละ 1 ครั้ง และเข้าห้องน้ำทันทีที่รู้สึกปวดท้อง อย่ากลั้นไว้นานเพราะจะทำให้ถ่ายออกลำบาก หลีกเลี่ยงการเบ่งแรงๆ และการนั่งในห้องน้ำเป็นเวลานาน
- หลีกเลี่ยงการนั่งหรือยืนเป็นเวลานานๆ ไม่ยกของหนักเพราะอาจทำให้ริดสีดวงแตกหรือมีเลือดออกมาก และควรนอนตะแคงซ้ายทุกๆ 2-3 ชั่วโมง หรือยกขาพาดกับเก้าอี้ประมาณ 15 นาที เพื่อลดแรงดันในช่องท้อง
- ออกกำลังกายเบาๆ อย่างสม่ำเสมอ เช่น การเดินหรือว่ายน้ำวันละเล็กน้อย จะช่วยให้ระบบต่างๆ ของร่างกายรวมถึงระบบย่อยอาหารและการขับ
การรักษาโรคริดสีดวงทวารหนักภายใน ระยะที่ 3
+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++