อาการโรคไซนัส วิธีรักษาโรคไซนัส โรคไซนัส
อาการโรคไซนัสลักษณะทั่วไป
ไซนัส (sinus) หมาย ถึง โพรงอากาศเล็ก ๆ ในกะโหลกซึ่งอยู่รอบ ๆ จมูกและมีทางเชื่อมต่อกับโพรงจมูก ดังนั้น จึงอาจมีเชื้อโรคลุกลามจากโพรงจมูกเข้าไปในโพรงไซนัสได้ ตามปกติทางเชื่อมดังกล่าวจะเปิดโล่งให้มีการระบายของน้ำเมือกที่สร้างขึ้นใน โพรงไซนัสได้สะดวกจึงไม่เกิดการอักเสบ แต่ถ้าหากทางเชื่อมดังกล่าวเกิดการอุดตันขึ้นมา (เช่น เป็นหวัด ผนังกั้นจมูกคด มีเนื้องอกในรูจมูก ได้ รับบาดเจ็บ นั่งเครื่องบิน หรือดำน้ำ) น้ำเมือกในโพรงไซนัสไม่สามารถระบายได้ ก็จะทำให้เชื้อโรคที่อยู่ในโพรงไซนัส สามารถเจริญงอกงามทำให้เกิดการอักเสบ และเป็นหนองขังภายในโพรงไซนัส
สาเหตุ
เชื้อที่เป็นสาเหตุ ที่พบบ่อย ได้แก่ บีตาสเตรปโตค็อกคัส, สแตฟฟีโลค็อกคัส, นิวโมค็อกคัส, ฮีโมฟิลุส,อิน ฟลูเอนซา นอกจากนี้ยังอาจเกิดจากการลุกลามของเชื้อโรค จากบริเวณรากฟันที่เป็นหนองเข้าไปในโพรงไซนัสโดยตรงก็ได้ ไซนัสอักเสบเป็นโรคที่พบได้บ่อยในคนทุกเพศทุกวัย มักพบเป็นโรคแทรกซ้อนของไข้หวัด, หวัดจากการแพ้, เยื่อจมูกอักเสบ, เนื้องอกในรูจมูก , ผนังกั้นจมูกคด, รากฟันเป็น หนอง .
อาการ
ปวดมึน ๆ หนัก ๆ ตรง บริเวณหัวตา หน้าผากโหนกแก้มหรือรอบ ๆ กระบอกตา บางคนอาจรู้สึกคล้ายปวดฟัน บริเวณขากรรไกรบน อาการปวดอาจเป็นมากในเวลาเช้าหรือบ่าย เวลาก้มศีรษะหรือเปลี่ยนท่า ผู้ป่วยจะมีอาการคัดจมูก พูดเสียงขึ้นจมูก มีน้ำมูกข้นเหลืองหรือเขียว เจ็บคอ มีเสลดเหลืองหรือเขียวในลำคอ และอาจหายใจมีกลิ่นเหม็น ในรายที่เป็นไซนัสอักเสบเฉียบพลัน มักมีไข้ร่วมด้วย
สิ่งที่ตรวจพบ
เยื่อจมูกบวมแดง คอแดงเล็กน้อย ที่สำคัญจะพบว่าถ้าเคาะหรือกดแรงๆ ตรงบริเวณหัวตา หน้าผากหรือใต้ตาจะรู้สึกเจ็บ อาจมีไข้ ( ในรายที่เป็นฉียบพลัน )
อาการแทรกซ้อน
อาจทำให้เป็นหูชั้นกลางอักเสบ , หลอดลมอักเสบ , ปอดอักเสบ , ฝีรอบกระบอกตา (Periorbital abscess), เยื่อกระดูกอักเสบ (Osteomyelitis)ภ าวะแทรกซ้อน ที่ร้ายแรงแต่พบได้น้อย ได้แก่ เยื่อหุ้มสมองอักเสบ , ฝีในสมอง
การรักษา
1. ให้ยารักษาตามอาการ เช่น ยาแก้ปวดลดไข้ , ยาแก้คัดจมูก อาจช่วยลดการบวมของเนื้อเยื่อที่อักเสบ ซึ่งจะช่วยถ่ายเทหนอง ส่วนยาแก้แพ้ ไม่ ควรให้ อาจทำให้น้ำเมือกในโพรงไซนัสเหนียว ถ่ายเทออกได้ไม่ดี ยกเว้นในรายที่มีอาการของภูมิแพ้มาก เช่น จาม มีน้ำมูกมาก อาจให้เพียง 2-3 วัน เพื่อบรรเทาอาการ
2. ให้ยาปฏิชีวนะ เช่น อะม็อกซีซิลลิน , อีริโทรไมซิน หรือ โคไตรม็อกซาโซล ปกติอาการจะทุเลาหลังกินยา 2-3 วัน ควรให้กินติดต่อกันนาน 10-14 วันในรายที่เป็นเรื้อรัง ขณะที่มีอาการกำเริบ ควรให้ยาปฏิชีวนะนาน 3-4 สัปดาห์ถ้าอาการไม่ดีขึ้น หรือกำเริบบ่อย ควรพบแพทย์
ข้อแนะนำ
1. ขณะที่มีอาการกำเริบ ควรงดว่ายน้ำ ดำน้ำ ขึ้นเครื่องบิน ประมาณ 2 สัปดาห์
2. โรค นี้มักเป็นเรื้อรัง แต่มีทางรักษาให้หายขาดได้ ถ้าได้รับการรักษาที่ถูกต้องติดต่อกันเป็นเวลานาน หรือแก้ไขสาเหตุ เช่น ผนังกั้นจมูกคด
3. ไม่ควรรักษากันเองตามแบบพื้น บ้าน เช่น ใช้สารกรดบางอย่าง หยอดเข้าจมูก(ทำให้มีน้ำมูกไหลออกมามาก เพราะเกิดการระคายเคืองต่อเยื่อจมูก) อาจทำให้เกิดการอักเสบ และจมูกพิการได้
4. ระวังอย่าให้เป็นหวัดบ่อย ๆ หลีกเลี่ยงสิ่งที่ทำให้คัดจมูกหรือจาม (เช่น ฝุ่น อากาศเย็น ขนสัตว์)และหมั่นออกกำลังกายเป็นประจำ
Link https://www.surachetclinic.com
+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
วิธีรักษาโรคไซนัส
ไซนัสอักเสบและภูมิแพ้อากาศ
ไซนัสคืออะไร
ไซนัสเป็นโพรงอากาศในกระโหลก ซึ่งพบได้ที่หัวคิ้ว ขอบจมูก และโหนกแก้ม หน้าที่ปกติของโพรงไซนัสไม่เป็นที่ทราบแน่นอน แต่อาจทำให้
- กระโหลกเบา
- เสียงก้อง
- สร้างเมือกและภูมิคุ้มกันให้กับโพรงจมูก
โดยปกติเมือกในโพรงไซนัสจะไหลเข้าสู่โพรงจมูกผ่านช่องเล็ก ๆ (Ostium) ที่ผนังข้างจมูก เพื่อใช้ในการต่อสู้เชื้อโรคและระบายสิ่งแปลกปลอม จากจมูกลงสู่ลำคอหรืออกทางจมูก
ไซนัสอักเสบคืออะไร
ไซนัสอักเสบ คือการอักเสบของโพรงอากาศไซนัส โดยมักมีสาเหตุมาจากการติดเชื้อ ซึ่งอาจเป็นได้ทั้งเชื้อไวรัส แบคทีเรีย หรือเชื้อรา
ไซนัสอักเสบเกิดขึ้นได้อย่างไร
เมื่อจมูกเกิดอาการบวม เช่น เป็นหวัด จมูกอักเสบจากภูมิแพ้ หรือมีสิ่งแปลกปลอมอยู่ในจมูก จะทำให้ช่องที่ติดต่อระหว่างโพรงไซนัส และจมูกดังกล่าวอุดตันและเกิดการคั่งค้างของน้ำเมือกในโพรงจมูก และเมื่อเชื้อโรคจากจมูกเข้าสู่โพรงไซนัสได้ก็จะแบ่งตัวและ ทำให้เกิดการติดเชื้อของโพรงไซนัส และมีหนองเกิดขึ้น ทำให้จมูกยิ่งบวมมากขึ้น ซึ่งเรียกว่าเกิดโรค "ไซนัสอักเสบ"
อาการของไซนัสอักเสบ
• อาการปวดตามตำแหน่งของโพรงอากาศไซนัส มักเป็นอาการปวดหนักๆ ตื้อๆ
• คัดจมูก
• น้ำมูกมีสีเขียวเหลืองไหลออกทางจมูก
• เสมหะไหลลงคอมีสีเขียวสีเหลือง
• จมุกได้กลิ่นน้อยลงหรือไม่ได้กลิ่น
• ปวดศีรษะ
• อ่อนเพลีย
ชนิดของไซนัสอักเสบ
ไซนัสอักเสบ อาจเริ่มมาจากการเป็นหวัดธรรมดา หรือการเป็นโรคภูมิแพ้ หรือเยื่อบุจมูกอักเสบจากการได้รับ
สารระคายเคืองจากมลพิษ ต่อมาเมื่อมีการติดเชื้อแทรกซ้อนจากเชื้อแบคทีเรีย จึงทำให้เกิด ไซนัสอักเสบ
เฉียบพลัน หากไม่ได้รับการรักษาที่ถูกต้อง ก็จะเกิดอาการอักเสบซ้ำๆ หรือมีการอักเสบเป็นระยะเวลานาน หากมี
การอักเสบเกินกว่า 3 เอือน ก็จะกลายเป็น ไซนัสอักเสบเรื้อรัง ได้
การรักษาโรคไซนัสอักเสบ ประกอบด้วยหลักใหญ่ 3 ประการ คือ
1. การให้ยาฆ่าเชื้อโรค (ยาปฏิชีวนะ = ยาแก้อักเสบ)
การใช้ยาฆ่าเชื้อโรค (ยาปฏิชีวนะ)
1. เชื้อโรคที่ทำให้เกิดไซนัสอักเสบ ได้แก่ Streptococcus pneumoniae, Hemophilus influenzae และ Branhamella catarrhalis เป็นส่วนใหญ่ ยาที่ใช้ในการฆ่าเชื้อโรคเหล่านี้ ได้แก่ Amoxicillin, Amoxicillin/clavulanic acid, Cefprozil, Ceftibuten, Cefuroxime axetil, Cefaclor, Clarithromycin, Clindamycin, Erythromycin, Trimethoprim.Sulfamethoxazole
แพทย์จะเป็นผู้เลือกใช้ยาเหล่านี้ตามความเสุนัขะสมในผู้ป่วยแต่ละคน
2. ระยะเวลาในการใช้ยาจะนานกว่าการรักษาการติดเชื้อของระบบหายใจตามปกติ อาจจะให้นานถึง 3-6 สัปดาห์ ตามที่แพทย์จะแนะนำ (ทั้งนี้เพราะจะต้องรักษาจนหนองหมดไป จากโพรงไซนัส)
2. การทำโพรงจมูกที่บวมให้ยุบลง เพื่อให้หนองในโพรงไซนัสไหลถ่ายเทออกมาให้หมด
การล้างจมูกด้วยน้ำเกลือทำได้ง่าย ๆ โดย
1. หาซื้อน้ำเกลือหรืออาจผสมขึ้นเองง่าย ๆ โดยใช้น้ำสะอาด 750 cc ผสมกับเกลือสะอาด 1 ช้อนชา หรืออาจใช้ 0.9% normal saline ที่ไม่มีน้ำตาลผสมอยู่
2. เทน้ำเกลือลงในแก้วสะอาด
3. ดูดน้ำเกลือจากแก้วสะอาดเข้าในลูกยางหรือหลอดฉีดยา (Syringe)
4. พ่นน้ำเกลือจากลูกยางหรือหลอฉีดยาเข้าในจมูกในท่าก้มหน้า, กลั้นหายใจในระหว่างฉีดน้ำเกลือเข้าสู่จมูก
5. ทำซ้ำจนน้ำมูกหมด ปฏิบัติวันละ 2-3 ครั้งตามคำแนะนำของแพทย์
6. บางครั้งแพทย์อาจสั่งยาพ่นจมูก หรือยาล้างจมูกให้ใช้ตามคำแนะนำของแพทย์
3. การหลีกเลี่ยงสิ่งกระตุ้น
1. ผู้ป่วยที่เป็นโรคไซนัสอักเสบจำนวนหนึ่ง (อาจถึงร้อยละ 50) อาจจะมีอาการของโรคไซนัสอักเสบ ที่เนื่องมาจากโรคภูมิแพ้ ของจมูก ซึ่งจะทำให้จมูกบวมและมีอาการติดเชื้อตามมา ผู้ป่วยดังกล่าวควรหลีกเลี่ยงสารแพ้จากไรฝุ่นตามคำแนะนำของแพทย์
2. ผู้ป่วยควรหลีกเลี่ยง
- ควันบุหรี่
- การติดเชื้อจากคนรอบข้าง
- การอยู่ในที่แออัด
- การว่ายน้ำในสระที่ไม่ได้มาตรฐาน ฯลฯ
การรักษาไซนัสอักเสบ
1. ไซนัสอักเสบเฉียบพลัน การรักษาเป็นการรักษาด้วยการใช้ยา โดยเฉพาะการใช้ยาปฏิชีวนะซึ่งจำเป็นต้องใช้ยา 7-14 วัน แพทย์อาจพิจารณายาเพื่อช่วยลอดารอักเสบ และช่วยการระบายของเยื่อเมือกจากโพรงอากาศไซนัส ซึ่งอาจเป็นยารับประทาน หรือเป็นการใช้ยาพ่นเฉพาะที่
2. ไซนัสอักเสบเรื้อรัง การรักษาเป็นการรักษาด้ายการใช้ยา ร่วมกับการรักษาด้วยการผ่าตัด ซึ่งอาจใช้
การผ่าตัดด้วยวิธีผ่าตัดธรรมดา หรือการใช้บอลลูนในการรักษา
วิดีโอเกี่ยวกับโรคภูมิแพ้ : ช่วงที่ 1
ช่วงที่ 2
คำแนะนำที่เป็นประโยชน์
นอกจากจะทานยาหมอแล้วควรกำจัดต้นเหตุของอากาศแพ้ด้วย ( จากการที่ได้สอบถาม ส่วนใหญ่ทานยาหมอได้แค่บรรเทาและอาจต้องผ่าตัดกรณีเป็นมาก )
ต้นเหตุของภูมิแพ้ก็มาจากหลายอย่าง เช่น
ฝุ่นในอากาศ : ถ้าบ้านอยู่ใกล้ถนน
ไรฝุ่น : ที่นอน ม่าน พรม(เป็นสวรรค์ของไรฝุ่นและเชื้อรา) ที่ไม่ค่อยได้ทำความสะอาด
เชื้อรา : ห้องนอนที่ไม่ค่อยได้โดนแสงแดดจะมีสปอร์ราอยู่ แอร์ หนังสือเก่า ตู้ไม้เก่า ผนังห้องน้ำ
ละอองเกสรดอกไม้ : บ้านที่อยู่ใกล้สอนดอกไม้
โปรตีนบางชนิดจากสัตว์ : น้ำลายแมว ขนแมว
ดังนั้นการป้องกันที่ดีที่สุดคือ พยายามหลีกเลี่ยงการที่จะสัมผัสกับสารก่อภูมิแพ้เหล่านี้
อิ อิ เป็นอย่างไรครับฟังแล้วดูดีไหมครับ ทำอยากเปล่าครับ แน่นอนทำยากสุด ๆ เช่นถ้าบอกว่าแพ้อากาศจะทำอย่างไร จะหยุดหายใจเหรอหรือว่าให้เปลี่ยนที่ยืนดี อิ อิ
คำตอบคือมาใช้วิธีธรรมชาติร่วมด้วยดีกว่าครับ เน้นว่าร่วมด้วยนะ
วิธี การคือรักษาด้วยยาตามที่หมอสั่ง เช่น ยา วัคซีน ยาพ่น ยาขยายหลอดลม ( ราคาอาจจะแพงและอาจกลับมาเป็นใหม่ ) แต่ถ้าต้องผ่าตัด ช้าก่อนลองวิธีนี้ก่อนดีไหม..
หลักการคือ
1. ทำร่างกายให้แข็งแรง เช่น ออกกำลังกาย ทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ นอนพักผ่อนให้เพียงพอ
2. อยู่ในที่ที่อากาศปลอดมลภาวะ โดยเฉพาะช่วงเวลานอน
3. ใช้ยาหมอ
4. ตัดภาวะเสี่ยงทั้งหลายออกให้หมด เช่น ฝุ่น ไรฝุ่น ดอกไม้ สัตว์เลี้ยงโดยเฉพาะแมว
ถ้าข้อ 1,2 และ 4 ท่านทำไม่ได้หรือยากเกินไป เรามีตัวช่วย ง่าย ๆ และได้ผล และจากที่ได้ทดลองใช้ส่วนใหญ่ที่มีอาการไซนัสอักเสบและแพ้อากาศดีขึ้นภายใน 1 - 3 เดือน
สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ 086-6102009
Link https://www.incomen.com
++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
โรคไซนัส
ไซนัสอักเสบ แตกต่างจาก หวัด อย่างไร
ไซนัสอักเสบ แตกต่างจาก หวัด อย่างไร
ไซนัสอักเสบ
เรียบเรียงข้อมูลโดยกระปุกดอทคอม
ขอขอบคุณภาพประกอบจาก มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
ฮัดชิ่ว!!!! จามอีกแล้ว ไออีกต่างหาก แถมปวดบริเวณใบหน้าด้วย ดูท่าจะไม่ใช่แค่เป็น "หวัด" ธรรมดาเสียแล้วล่ะมั้ง เกรงว่าจะเป็น "ไซนัสอักเสบ" แล้ว โรคไซนัส ไซนัสอักเสบ เป็นอย่างไรล่ะเนี่ย รักษาได้หรือไม่ ใครที่มีอาการต้องสงสัย ต้องมาอ่านเรื่อง ไซนัสอักเสบ ที่เรานำมาเสนอกันในวันนี้ค่ะ
ไซนัส คืออะไร
มารู้จัก ไซนัส กันก่อนดีกว่า ไซนัส (Sinus) ก็คือโพรงอากาศในกะโหลก ซึ่งเรียกว่า โพรงไซนัส มีทั้งหมด 4 ตำแหน่งเป็นคู่ ๆ คือ
บริเวณหน้าผาก ใกล้กับหัวคิ้วทั้ง 2 ข้าง (frontal sinus)
บริเวณหัวตาทั้ง 2 ข้าง (ethmoid sinus)
บริเวณโหนกแก้ม 2 ข้าง (Maxillary sinus)
บริเวณกะโหลกศีรษะ ใกล้ฐานสมอง (sphenoid sinus)
โดย หน้าที่ของ ไซนัส มีส่วนทำให้กะโหลกศีรษะเบาขึ้น เวลาพูดมีเสียงก้องกังวานขึ้น (เพราะเป็นโพรงอากาศ) และเยื่่อบุของไซนัสและจมูก จะผลิตน้ำมูกเมือกใส ๆ วันละ 0.5-1 ลิตร เพื่อดักจับฝุ่นละออง และสิ่งแปลกปลอมต่าง ๆ ในอากาศที่เราหายใจเข้าไป และเยื่อบุเหล่านี้จะมีขนเล็ก ๆ พัดน้ำมูกลงไปด้านหลังของจมูก ผ่านช่องคอ ก่อนกลืนลงไปสู่กระเพาะอาหาร และจะถูกกรดในกระเพาะทำลายเชื้อโรคให้หมดไป
ไซนัส
แล้ว ไซนัสอักเสบ ล่ะเกิดจากอะไร
ไซนัสอักเสบ (Sinusitis) จะเกิดขึ้นเมื่อจมูกมีการติดเชื้อ มีการอักเสบ อาจเป็นเพราะอาการหวัด เป็นภูมิแพ้ มีสารระคายเคือง มีสิ่งแปลกปลอมอยู่ในจมูก รวมทั้งการมีฟันกรามผุถึงโพรงรากฟัน การ เป็นโรคหัด และเกิดอุบัติเหตุที่กระดูกบนใบหน้า จึงทำให้ท่อที่ติดต่อระหว่างโพรงไซนัส และจมูก เกิดอาการบวมแล้วตีบตัน จนมีน้ำเมือกในโพรงจมูกคั่งค้างอยู่ เมื่อมูกภายในสะสมมากขึ้นจะมีความหนืด และมีสภาพความเป็นกรด ทำให้เชื้อโรคเข้าไปเจริญเติบโตได้ดี จนกลายเป็นภาวะโพรงจมูกอักเสบ หรือ ไซนัสอักเสบ นั่นเอง
อาการของ ไซนัสอักเสบ
โรคไซนัสอักเสบ แบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือ
1.ไซนัสอักเสบ แบบเฉียบพลัน
คือไซนัสอักเสบที่เกิดจากเชื้อไวรัส สามารถหายได้ภายใน 7 วัน อาการทั่วไปจะเหมือนไข้หวัด มีไข้ เมื่อเชื้อลุกลามเข้าสู่ไซนัสก็จะมีอาการปวดจมูก ปวดกระบอกตา หรือแก้มข้างใดข้างหนึ่งหรือทั้งสองข้าง น้ำมูกและเสมหะจะมีสีเหลืองอมเขียวมากขึ้น อาจปวดกระดูกขากรรไกรบน หรือปวดฟันบนด้วย โอกาสที่การติดเชื้อจะลุกลามมีสูง จึงควรรักษาอย่างจริงจัง เพื่อลดโอกาสที่จะกลายเป็นไซนัสอักเสบเรื้อรัง
2.ไซนัสอักเสบ เรื้อรัง
คือไซนัสอักเสบที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย มีอาการมากกว่า 10 วัน และในช่วงที่เป็นนั้น อาการต่าง ๆ ไม่มีช่วงที่หายสนิท จะมีอาการปวดตื้อ ๆ มึนงง ร่วมกับคัดจมูกเรื้อรัง มีเสมหะเหนียวในลำคอตลอดวัน เพราะมูกจากไซนัสไหลลงมาทางจมูกนั่นเอง ประสิทธิภาพในการดมกลิ่น รับกลิ่นของจมูกจะลดลง และลมหายใจมีกลิ่นเหม็น
สาเหตุที่ไซนัสอักเสบเรื้อรัง เป็นผลจากผู้ป่วยได้รับการรักษาไซนัสอักเสบระยะเฉียบพลันในเวลาที่น้อย หรือสั้นเกินไป หรือไม่ได้รับการรักษาที่ถูกต้อง หรือมีภาวะผิดปกติเป็นปัจจัยร่วมด้วย เช่น จมูกอักเสบจากภูมิแพ้ พักผ่อนไม่เพียงพอ การสูบบุหรี่ เป็นต้น
กลุ่มเสี่ยง ไซนัสอักเสบ
ไม่ว่าใครก็สามารถเป็น ไซนัสอักเสบ ได้แม้แต่เด็กแรกเกิด แต่กลุ่มที่มีความเสี่ยงเป็น ไซนัสอักเสบ ได้ง่ายกว่าคนทั่วไป คือ
1. คนที่เป็นโรคภูมิแพ้ทางจมูก เพราะเมื่อเกิดอาการแพ้จะเหมือนคนเป็นหวัด เยื่อบุจมูกจะบวม รูเปิด ไซนัสจะตีบตันทำให้เกิดการอักเสบในไซนัสได้
2. คนที่มีความผิดปกติของช่องจมูก เช่น ผนังกั้นระหว่างช่องจมูกคด ทำให้ช่องจมูกแคบกว่าปกติเกิดอาการแน่นคัดจมูก และขัดขวางการไหลเวียนตามปกติของน้ำมูก ที่จะไปทางด้านหลังทำให้มีโอกาสเกิด การอักเสบติดเชื้อง่ายขึ้น
3.คนที่สูบบุหรี่และคนที่อยู่ในเขตมลภาวะเป็นพิษ จะมีผลทำให้ภูมิต้านทานต่อการติดเชื้อลดลง มีโอกาสเป็นไซนัสอักเสบมากขึ้น
4. มีคนกล่าวถึงการว่ายน้ำสระที่ใส่น้ำยาคลอรีน หรือฆ่าเชื้อด้วยโอโซนอาจทำให้มีโอกาสเป็นไซนัสอักเสบเกิดขึ้น เพราะว่ามีการระคายเคืองของเยื่อบุเกิดขึ้น
การวินิจฉัยโรค เป็นหวัด หรือ ไซนัสอักเสบ
อาการต่าง ๆ ที่อาจจะเกิดขึ้นกับไข้หวัดธรรมดา เช่น อาการไข้ ปวดเมื่อย เจ็บคอ มักจะหายภายใน 7-10 วัน ส่วนอาการคัดจมูก น้ำมูกไหล ไอ อาจเป็นต่อเนื่องถึง 2-3 สัปดาห์ แต่ความรุนแรงจะลดลง จนหายได้ในที่สุด
แต่ ถ้าผ่านไป 10 วันแล้วอาการต่าง ๆ ของไข้หวัด เช่น เป็นไข้หวัด ไอถี่ โดยเฉพาะเวลากลางคืนไม่ดีขึ้นเลย หรือดีขึ้นแล้วกลับมาทรุดลง หรือเป็นซ้ำอีก ที่สำคัญคือปวดบริเวณหน้า ลักษณะเช่นนี้อาจเป็นไซนัสอักเสบที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรียตามมาได้ ซึ่งผู้ป่วยจะมีอาการคัดแน่นจมูก น้ำมูกไหลลงรูจมูก หรือไหลลงคอ หรืออาจปวดตื้อด้านข้างจมูก ใบหน้า ตามมา
หากมีอาการเช่นนี้ แพทย์จะตรวจโพรงจมูกและไซนัส โดยใช้กล้องส่องตรวจพิเศษ เพื่อวินิจฉัยอาการ โดยอาการแสดงจำเพราะว่าเกิดไซนัสอักเสบคือ พบมูกหนองที่บริเวณช่องข้างจมูกชั้นกลาง ซึ่งเป็นทางระบายมูกจากโพรงไซนัสเข้ามาสู่ช่องจมูก และในผู้ป่วยบางราย แพทย์อาจเก็บมูกหนองไปเพราะเชื้อตรวจ
นอกจากนี้ แพทย์อาจพิจารณาตรวจทางรังสีวิทยาร่วมด้วย โดยการเอ็กซ์เรย์คอมพิวเตอร์ (CT scan) เพราะจะสามารถบอกรายละเอียดของโรค และโครงสร้างทางกายวิภาคโพรงจมูกและไซนัสได้เป็นอย่างดี และสามารถใช้วินิจฉัยแยกจากโรคอื่น ที่มีลักษณะอาการคล้ายกับไซนัสอักเสบได้ด้วย
โรคแทรกซ้อนของ ไซนัสอักเสบ
ไซนัสอักเสบ ปกติไม่อันตรายมาก เพียงแค่กินยาก็หาย แต่โรคแทรกซ้อนที่อาจพบได้บ้างก็คือ
1. การติดเชื้อที่อาจลุกลามเข้าไปในกระบอกตา ซึ่งจะทำให้เนื้อเยื่อรอบ ๆ ตาอักเสบและเกิดเป็นฝีรอบตา (Periorbital abcess)มักพบในเด็ก หรือคนชรา ความรุนแรงถึงขั้นตาบอดได้เลยทีเดียว โดยจะพบว่า มีอาการตาบวมข้างเดียว แดงรอบ ๆ และในลูกตา หนังตาบวมกดเจ็บ ลูกตาโปน สามารถรักษาได้โดยการฉีดยาปฏิชีวนะที่เหมาะสม และการผ่าตัด
2. โรคแทรกซ้อนขึ้นสมอง เช่น เยื่อหุ้มสมองอักเสบ ฝีใต้เยื่อหุ้มสมอง ซึ่งมักพบในเด็ก หรือคนชรา ที่ไม่ได้รับการรักษาอย่างถูกต้อง ทำให้เกิดภาวะติดเชื้อรุนแรงที่ทำให้เสียชีวิตได้เช่นกัน
3.ริดสีดวงจมูก คือ ก้อนในจมูกที่เกิดจากภาวะไซนัสอักเสบเรื้อรัง หรือเกิดจากภูมิแพ้ ไม่ลุกลามไปที่อื่น แต่เบียดกระดูก หากทานยาแก้แพ้จะทำให้ยุบลงได้บ้าง การรักษาทำได้ด้วยการผ่าตัด
แต่อาการแทรกซ้อนเหล่านี้พบได้ไม่บ่อย นัก ในรายที่มีอาการเรื้อรังอาจจะมีความสัมพันธ์กับโรคทางปอด หลอดลมอักเสบ ไอเรื้อรัง หอบหืด และหูชั้นกลางอักเสบได้
การรักษา โรคไซนัส อักเสบ
มีผู้ป่วยจำนวนหนึ่งเมื่อเป็นไซนัสอักเสบที่เกิดจากไวรัส แจะสามารถหายเองได้ไม่เกิน 7 วัน ด้วยการดูแลตัวเองอย่างถูกวิธี คือ พักผ่อนให้เพียงพอ ดื่มน้ำมาก ๆ อยู่ในสถานที่มีอากาสถ่ายเทดี ออกกำลังกายตามความเหมาะสม ทานอาหารที่มีประโยชน์ ร่วมกับทานยาตามอาการ โดยการรักษาโรคไซนัสอักเสบ จะแบ่งเป็นการรักษาแบบเฉียบพลัน และแบบเรื้อรัง คือ
การรักษาไซนัสอักเสบเฉียบพลัน รักษาโดย
ยาปฏิชีวนะเพื่อกำจัดเชื้อแบคทีเรีย ซึ่งควรได้รับอย่างต่อเนื่องเป็นเวลาอย่างน้อย 10-14 วัน
ยาพ่นจมูกชนิดสเตียรอยด์ ควรใช้ควบคู่ไปกับยาปฏิชีวนะ
ยาลดการบวม มีทั้งชนิดรับประทานและชนิดพ่นหรือหยอดจมูก ช่วยบรรเทาอาการคัดแน่นจมูก ไม่ควรใช้ติดต่อกันเกิน 3-5 วัน
ยาต้านฮิสตามีนหรือยาแก้แพ้ มีอยู่ด้วยกันหลายชนิด ทั้งที่มีฤทธิ์ทำให้เกิดอาการง่วงและไม่ง่วง
การล้างจมูกด้วยน้ำเกลือ เป็นการรักษาอีกวิธีหนึ่งที่ทำได้ง่าย และช่วยให้อาการทางไซนัสดีขึ้น ลดความหนืดของน้ำมูก และช่วยเพิ่มการทำงานของเซลล์ชนิดมีขนอ่อนไว้พัดโบกในโพรงจมูกและไซนัส
การสูดดมไอน้ำร้อน
การรักษาไซนัสอักเสบเรื้อรัง
หากใช้การรักษาด้วยยาไม่ได้ผล หรือมีการอักเสบเป็นซ้ำหลาย ๆ ครั้ง รวมถึงรายที่มีภาวะแทรกซ้อนจากการอักเสบเฉียบพลันทั้งต่อทางตา,สมองและ กระดูกที่อยู่บริเวณใกล้เคียง แพทย์อาจพิจารณาใช้การผ่าตัดผ่านกล้องเอนโดสโคปเข้าช่วย เช่น การเจาะล้างไซนัส เพื่อล้างมูกหนองที่คั่งอยู่ในท่อออกไป หรือการผ่าตัดขยายรูเปิดของไซนัส
ปัจจุบันการตรวจรักษา และการผ่าตัดมีความปลอดภัยสูงมาก และมีประสิทธิภาพ ยังคงรักษาสภาพโครงสร้างหลักที่สำคัญของช่องจมูกไว้ได้ในสภาพปกติดังเดิม อีกทั้งผู้ป่วยก็เสียเลือดไม่มาก และฟื้นตัวได้เร็ว
วิธีการล้างจมูกด้วยน้ำเกลือด้วยตัวเอง
1. หาซื้อน้ำเกลือ หรืออาจผสมขึ้นเอง โดยใช้น้ำสะอาด 750 ซีซี ผสมกับเกลือสะอาด 1 ช้อนชา หรืออาจใช้ 0.9% normal saline ที่ไม่มีน้ำตาลผสมอยู่
2. เทน้ำเกลือลงในแก้วสะอาด
3. ดูดน้ำเกลือจากแก้วสะอาดเข้าในลูกยาง หรือหลอดฉีดยา (Syringe) ที่ไม่มีเข็ม หรือใส่ในขวดยาพ่นจมูก
4. พ่นน้ำเกลือจากลูกยาง หรือหลอดฉีดยาเข้าในจมูกข้างใดข้างหนึ่ง ในท่าก้มหน้า กลั้นหายใจในระหว่างฉีดน้ำเกลือเข้าสู่จมูก อ้าปากเล็กน้อย ค่อยฉีด ๆ เข้าจมูก
5.หายใจออก พร้อมสั่งน้ำมูก หากมีน้ำมูกหรือน้ำเกลือไหลลงคอ ให้กลั้วคอบ้วนทิ้ง ถ้ายังไม่โล่งก็ทำซ้ำอีกได้จนน้ำมูกหมด
6.ทำซ้ำแบบเดียวกับรูจมูกอีกข้าง
ข้อแนะนำในการดูแลตัวเอง
ผู้ที่เป็นไซนัสอักเสบควรหลีกเลี่ยงสิ่งกระตุ้นที่จะทำให้เกิดอาการหวัด ภูมิแพ้ เพราะคนส่วนใหญ่ที่ป่วยเป็นไซนัสอักเสบ มักเกิดมาจากโรคภูมิแพ้ของจมูก ดังนั้นหากรู้ว่า อะไรเป็นปัจจัยกระตุ้นให้เกิดโรคภูมิแพ้ ก็ควรหลีกเลี่ยง
ควรงดว่ายน้ำ ดำน้ำ ขึ้นเครื่องบิน ประมาณ 2 สัปดาห์ ในช่วงที่อาการกำเริบ
ไม่ควรรักษากันเองตามแบบพื้นบ้าน เช่น ใช้สารกรดบางอย่าง หยอดเข้าจมูก (ทำให้มีน้ำมูกไหลออกมามาก เพราะเกิดการระคายเคืองต่อเยื่อจมูก) อาจทำให้เกิดการอักเสบ และจมูกพิการได้
หมั่นออกกำลังกายเป็นประจำ
ดื่มน้ำมาก ๆ พักผ่อนให้เพียงพอ อยู่ในสถานที่ที่มีอากาศถ่ายเท
การป้องกัน โรคไซนัสอักเสบ
โดยทั่วไปคือการรักษาสุขภาพร่างกายให้แข็งแรง ไม่ให้เป็นหวัด โดยพักผ่อนให้เพียงพอ กินอาหารที่มีประโยชน์ ออกกำลังกายสม่ำเสมอ งดสูบบุหรี่และเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ พยายามหลีกเลี่ยงสถานที่ที่มีผู้คนแออัด หรือบริเวณที่มีฝุ่นควันมาก ๆ รวมทั้งพยายามรักษาสุขภาพของปากและฟันให้ดี ไม่ให้ฟันผุ และถ้าเป็นหวัดแล้ว ก็รีบรักษาให้หายขาดแต่เนิ่น ๆ
เคล็ดลับสุขภาพ สุขภาพใกล้ตัว โรคและการป้องกัน คลิกเลย
อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมจาก