โรคอุจจาระร่วงเฉียบพลัน (acute gastroenteritis) สาเหตุโรคอุจจาระร่วง แผ่นพับโรคอุจจาระร่วง
โรคอุจจาระร่วงเฉียบพลัน (acute gastroenteritis)
อุจจาระร่วง (Acute gastroenteritis)
การถ่ายอุจจาระเหลวกว่าปกติตั้งแต่ 3 ครั้งขึ้นไป ถ่ายอุจจาระมีมูกหรือเลือด 1 ครั้งหรือมากกว่านั้นภายในเวลา1วัน
การถ่ายอุจจาระเหลวหลายๆครั้ง ทำให้ร่างกายสูญเสียน้ำและเกลือแร่ไปจำนวนมาก ทำให้เกิดอาการขาดน้ำขึ้น แต่ในทารกที่กินนมแม่อาจมีอาการถ่ายเหลวบ่อยได้ โดยไม่ถือเป็นอาการท้องเดิน แต่ถ้าถ่ายบ่อยกว่าปกติควรพบแพทย์ นอกจากอาการถ่ายเป็นน้ำหรือถ่ายมีมูกปน อาจมีอาการไข้ ปวดท้อง คลื่นไส้อาเจียนร่วม
ภวะขาดน้ำแบ่งออกเป็น3ระดับดังนี้
- ภาวะขาดน้ำเล็กน้อย จะมีอาการกระหายน้ำอ่อนเพลีย ชีพจร ความดันโลหิตอยู่ในเกณฑ์ปกติ
- ภาวะขาดน้ำปานกลาง มีอาการเพลียมากแทบเดินไม่ไหว ปากแห้ง ตาลึก ชีพจรเบาเร็ว ในทารกจะพบมีกระหม่อมบุ๋ม ซึม
- ภาวะขาดน้ำรุนแรงมีอาการอ่อนเพลียมากลุกนั่งไม่ไหวต้องนอน ปิมฝีปากแห้งหายใจลึก มือเท้าเย็น ไม่ถ่ายปัสสาวะ ชีพจรเบาเร็วความดันโลหิตต่ำ
แบ่งเป็นแบบเฉียบพลันและเรื้อรัง
- ท้องเดินชนิดเฉียบพลัน
- การติดเชื้อไวรัสหรือแบคทีเรีย ซึ่งเป็นสาเหตุที่พบได้บ่อยกว่าชนิดอื่น
- สารพิษหรือสารเคมี เช่น ตะกั๋ว สารหนู ยาฆ่าแมลง
- ยา เช่นยาถ่าย ยาปฏิชีวนะ ยาเกาต์
- ท้องเดินชนิดเรื้อรัง
- โรคลำไส้แปรปรวน มีอาการเป็นๆหายๆเป็นเดือนหรือปี สัมพันธ์กับภาวะเครียดวิตกกังวลหรือทานอาหารบางชนิด ทำให้มีการบีบตัวของลำไส้มากกว่าปกติ
- การติดเชื้อบางชนิด เช่นวัณโรคในลำไส้ พยาธิ บิดอะมีบา
- ภาวะพร่องแล็กเทส มักจะมีอาการเวลาทานนม
- การดูดซึมผิดปกติ อาจมากจากสาเหตุต่างๆเช่นการผ่าตัดลำไส้ มะเร็งตับอ่อน
- ประวัติ
- การถ่ายอุจจาระเหลวกว่าปกติตั้งแต่ 3 ครั้งขึ้นไป ถ่ายอุจจาระมีมูกหรือเลือด 1 ครั้งหรือมากกว่านั้นภายในเวลา1วัน
- ตรวจร่างกาย ไม่พบสาเหตุจำเพาะที่ทำให้เกิดอาการท้องเสียเช่น ไส้ติ่งอักเสบเฉียบพลัน
- สืบค้นทางห้องปฏิบัติการ ตรวจอุจจาระ หรือเพาะเชื้อ ในกรณีที่สงสัยการติดเชื้อที่รุนแรง หรือเป็นท้องเดินชนิดเรื้อรัง
ช็อค หรือไตวาย จากการขาดน้ำเกลือแร่ ภาวะแทรกซ้อนอื่นขึ้นอยู่กับสาเหตุของโรค
1. ทานอาหารอ่อน ย่อยง่ายเช่นโจ๊ก ข้าวต้มไม่ควรให้ผู้ป่วยงดอาหารและน้ำ เพราะการขาดน้ำและสารอาหาร ยิ่งทำให้ผู้ป่วยฟื้นตัวช้า แต่ควรงดนม โดยเฉพาะผู้ที่พร่องเอนไซม์แลคเตส (lactase)
2. ให้น้ำเกลือ ในรายที่มีภาวะขาดน้ำเล็กน้อย ควรให้สารละลายน้ำตาลเกลือแร่ อาจใช้ขององค์การเภสัชกรรมหรือ สูตรน้ำเกลือผสมเอง ดังนี้
- น้ำตาลทราย 2 ช้อนโต๊ะ และเกลือป่น 1 ช้อนชา
- ละลายในน้ำต้มสุก 750 มิลลิลิตร ( 1 ขวดสุรากลม )
ในรายที่มีอาการขาดน้ำปานกลางถึงรุนแรง หรือมีอาการคลื่นไส้อาเจียนมากทานสารละลายน้ำตาลเกลือแร่ไม่ได้ ควรให้น้ำเกลือทางหลอดเลือดดำแทน
3. ผู้ป่วยที่มีอาการคลื่นไส้อาเจียนควรให้ยาแก้คลื่นไส้อาเจียนร่วมด้วย
4. ยาปฏิชีวนะ ส่วนใหญ่ไม่ต้องให้ ยกเว้นกลุ่มที่สงสัยการติดเชื้อแบคทีเรีย บิด อหิวาห์เป็นต้น
5. หลักการเลือกใช้ยา
- ท้องเสียไม่รุนแรงและไม่ติดเชื้อ ให้สารละลายน้ำตาลเกลือแร่ หากมีอาการ ปวดมวนในท้องร่วมด้วย ให้ยาที่ออกฤทธิ์ลดการเคลื่อนไหวของลำไส้
- ท้องเสียรุนแรงหรือมีอาการที่แสดงว่าติดเชื้อ แนะนำให้ไปพบแพทย์
- ท้องเสียเพราะความเครียดเป็นครั้งคราว ให้ยาออกฤทธิ์ลดการเคลื่อนไหวของลำไส้ ถ้าท้องเสียเรื้อรังเพราะความเครียด ให้ใช้ยากล่อมประสาทตามคำแนะนำแพทย์
- สตรีมีครรภ์หรือให้นมบุตร ควรระวังการใช้ยากลุ่มที่ออกฤทธิ์ลดการเคลื่อนไหวของลำไส้ ยาที่ออกฤทธิ์ฆ่าเชื้อและยาที่ออกฤทธิ์กล่อมประสาท
6. การป้องกัน ทำอย่างไรจึงไม่เป็นโรคอุจจาระร่วง
- ดื่มน้ำที่สะอาด เช่น น้ำประปา น้ำฝนที่เก็บในภาชนะที่สะอาด น้ำที่ต้มเดือดแล้ว
- ระวังอย่างให้แมลงวันตอมอาหาร และควรรับประทานอาหารที่สุกใหม่และร้อน อาหารที่ซื้อนอกบ้านควรอุ่นให้ร้อนก่อนรับประทานเพื่อฆ่าเชื้อโรค
- ควรล้างมือให้สะอาดทุกครั้ง ทั้งก่อนรับประทานอาหารและก่อนออกจากห้องน้ำ
- ห้ามรับประทานผักดิบหรือผลไม้สด ควรล้างมือหลายๆครั้ง ให้สะอาดและแช่ในน้ำปูนคลอรีนประมาณครึ่งชั่วโมง
- ถ่ายอุจจาระลงในส้วมที่ถูกสุขลักษณะ อย่าถ่ายอุจจาระหรือซักเสื้อผ้าของผู้ป่วยลงในแม่น้ำลำคลองหรือแหล่งน้ำสาธารณะ
- รักษาบริเวณบ้านให้สะอาด กำจัดขยะมูลฝอย เศษอาหารและมูลสัตว์ต่างๆโดยฝังหรือเผาเสีย เพื่อป้องกันมิให้เป็นแหล่งเพาะพันธุ์ แมลงวัน
- ควรเลี้ยงทารกด้วยน้ำนมมารดา เพราะจะช่วยป้องกันมิให้ทารกติดเชื้ออุจจาระร่วงได้
ยาที่ใช้บ่อย Ciprofloxacin, Loperamide, Norfloxacin, Ofloxacin,
- ประยงค์ เวชวนิชสนอง และ วนพร อนันตเสรี. กุมารเวชศาสจร์ทั่วไป. สงขลา : ชานเมืองการพิมพ์. พิมพ์ครั้งที่1. 2550; 121-132.
– ชุษณา สวนกระต่าย, แนวทางการรักษาภาวะท้องเสียแบบเฉียบพลัน: วิทยา ศรีดามา, บรรณาธิการ, Evidence-based clinical practice guideline, พิมพ์ครั้งที่ 4 กรุงเทพ, โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย;2548, P 289-98 – เสกสิต โอสถากุล, โรคอุจจาระร่วงเฉียบพลัน: ประยงค์ เวชวนิชสนอง, วนพร อนันตเสรี, บรรณาธิการ, กุมารเวชศาสตร์ทั่วไป, พิมพ์ครั้งที่ 1 มหาวิทยาลัยสงขลานคริทร์, หน่วยผลิตตำราคณะแพทยศาสตร์; 2550, P 193-212 – สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) : โรคอุจจาระร่วง [online].,Available from ;
URL : https://www.thaihealth.or.th/node/6571 – จุดรวมแหล่งข้อมูลทางการแพทย์และยา : โรคอุจจาระร่วง [online].,Available from ;
URL : https://rx12.wsnhosting.com/panpup/diarrhea.html – Faculty of medicine Siriraj hospital: อุจจาระร่วง [online].,Available from ;
URL : https://www.si.mahidol.ac.th/sidoctor/e-pl/articledetail.asp?id=364
แผ่นพับโรคอุจจาระร่วง
ดาวน์โหลดเอกสาร
เชิญดาวน์โหลดเอกสารได้เลยค่ะ
แผ่นพับโรคอุจจาระร่วง (ต่อ)
https://dpc11.ddc.moph.go.th/pr/postter/doc/dd2_54.jpg
Link https://dpc11.ddc.moph.go.th
+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++