อาเซียนประเทศเวียดนาม เพลงอาเซียนประเทศไทย ภูมิหลังอาเซียนประเทศพม่า
ศิลปวัฒนธรรมประเทศเวียดนาม
ด้านศิลปวัฒนธรรมของเวียดนาม มีความแตกต่างกับศิลปวัฒนธรรมของไทยอย่างมาก ที่เป็น อย่างนี้เป็นเพราะเวียดนามถูกปกครองโดยประเทศจีนมาหลายครั้งหลายหน จนอาจเรียกได้ว่า อารยธรรม วัฒนธรรม ของเวียดนาม คือ วัฒนธรรมของประเทศจีน นั่นเอง โดยเฉพาะทางด้านศิลปของโบราณสถาน ต่าง ๆ อาทิ พระราชวัง วัด สุสาน ฯลฯ ซึ่งมีความคล้ายคลึงกันจนไม่สามารถแยกออกให้เห็นอย่าง เด่นชัด แม้ในช่วงหลังมานี้ เวียดนามอาจได้รับอิทธิพลจากประเทศฝรั่งเศล และญี่ปุ่นอยู่บ้าง แต่ใน ภาพรวมแล้วจะคล้ายคลึงกับประเทศจีน และมีหลักฐานให้เห็นอยู่ทั่วไปบริเวณสองข้างทางที่พวกเราผ่านไป เกือบทุกถนน
ถ้าจะกล่าวถึงวัฒนธรรมนั้นสามารถ แยกแยะออกเป็นประเภทต่าง ๆ ได้หลากหลายในที่นี้จะ กล่าวเปรียบเทียบระหว่างวัฒนธรรมเวียดนาม กับ วัฒนธรรมไทยหรืออื่น ๆ เท่าที่จะค้นคว้าได้ ดังนี้
วัฒนธรรมทางด้านภาษา
ภาษาของเวียดนามในช่วงแรกใช้อักษรจีนมาตลอดจนกระทั่งเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๖๓ จึงเปลี่ยนมาใช้ อักษรโรมัน (quoe ngu) และถ้าสังเกตจริง ๆ แล้วเป็นวัฒนธรรมของฝรั่งเศล และเมื่อนำมาเปรียบเทียบ การออกเสียงหรือความหมายของคำแล้วจะพบว่า ความใกล้เคียงของภาษาไทยกับภาษาลาวจะใกล้เคียง กันมากกว่า ภาษาเวียดนาม ดังตัวอย่างง่าย ๆ ต่อไปนี้
ในส่วนของการใช้สัญลักษณ์ของป้ายทะเบียนท้ายรถยนต์ มีความแตกต่างกันมาก เช่นกัน ดังรายละเอียดต่อไป
การแต่งกายและการรักษาวัฒนธรรมทางการแต่งกาย
สำหรับการแต่งการของเวียนนามโดยทั่วไปก็เหมือนกับประชาชนคนไทยกล่าวคือ หนุ่มสาวรับ วัฒนธรรมของตะวันตกคล้ายกับเยาวชนไทย ต่างกับการแต่งการของเยาวชนชาวลาวซึ่งยังคงยึดมั่นใน วัฒนธรรมประจำชาติของตน กล่าวคือ เยาวชนผู้หญิงยังคงนุ่งซิ่นกรวมเท้า สวมเสื้อมีปกสีขาวแขนสาม ส่วน ส่วนฝ่ายชายก็แต่งตัวเรียบร้อยนุ่งกางเกงทรงสุภาพและใส่เสื้อเชิ้ตเป็นส่วนใหญ่ ดังจะกล่าวถึงเคร่อื ง แต่งกายประจำชาติของเวียดนามก็คล้ายกับเครื่องแต่งกายของคนจีนนั่นเองแต่จะมีชื่อเรียกต่างกัน คือ ชุด ประจะชาติของหญิงนี่เป็นสัญลักษณ์เป็นที่รู้จักกันเป็นชุดคลุมยาวผ่าข้างสง คอตั่ง อาจมีแขนหรือแขนกุด กางเกงขายาวหรือกระโปรงมักเป็นสีขาวหรือสีเดียวกับชุดคลุมมีชื่อเรียกว่า ชุดอ๋าวใหม่ ตัดเย็บด้วยตัวสี เรียบๆส่วนชุดนี้มีลักษณะคล้ายคลึงกันนี้ แต่มักเย็บด้วยผ้าไหมด้านหรือแพรเนื้อหนาซึ่งมีชื่อว่า กี่เพ๊า เป็น ชุดประจำชาติ
ส่วนของชาวเขาที่มีอยู่หลายเผ่าก็มีเสื้อผ้าที่คล้ายกันกับชาวเขาโดยทั่วๆ ไปอาจจะมีส่วนต่างกันอยู่ บ้างตามความเชื่อของแต่ละเผ่า
วัฒนธรรมพื้นบ้าน
สิ่งก่อสร้าง รูปทรงและศิลป์การตกแต่งนับตั้งแต่ตึกรามบ้านช่องของคนเวียดนามยังคงมี รูปลักษณ์ของจีนอยู่มากแต่บางพื้นที่ก็มีศิลป์ของฝรั่งเศส หรือ ญี่ปุ่น อยู่อย่างกลมกลืน แต่เท่านี้สิ่งสังเกต ศิลป์ของเวียดนามจากสถานที่สำคัญๆ แม้จะเป็นศิลป์วัฒนธรรมของจีนแต่ในส่วนที่เป็นการตกแต่งดูจะมี ความอ่อนไหวกว่าเล็กน้อย แต่ถึงอย่างไรก็มองเหมือนศิลป์จีนชัดเจน
ศิลปพื้นบ้าน
ศิลปพื้นบ้านที่เด่นๆเท่าที่สังเกตก็คล้ายกับของไทย เช่น เครื่องจักรสาน เครื่องปั้นดินเผาควรทำ โดยไฟจากกระดาษ แต่ในเรื่องของดนตรียังมีกลิ่นไอของเพลงจีนอยู่อย่างแนบแน่น เครื่องดนตรีเพียง ๒ - ๓ ก็สามารถสร้างความไพเราะได้อย่างน่าชม
อาหารเวียดนาม
สำหรับอาหารของเวียดนาม เป็นอาหารที่คนไทยรู้จักมาอย่างใกล้ชิดเพราะเป็นอาหารที่มีผักเป็น เครื่องแกล้ม และไม่ค้อยมีไขมัน ปัจจุบันร้านอาหารเวียดนามมาแพร่หลายในกรุงเทพฯอย่างกว้างขวาง ซึ่ง สมัยก่อนจะรับประทานอาหารเวียดนามต้องไปแถบภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เช่น จังหวัดหนองคาย อุบลราชธานี อุดรธานี ฯลฯ แต่เมื่อได้ไปสัมผัสกับเจ้าของตำรับจริงๆกลับไม่เป็นไปตามที่คาดหวังไว้ เนื่องจากรสชาติที่ค่อนข้างจืดชืด การตกแต่งก็ไม่ประณีตเหมือนในเมืองไทย แต่ก็ยอมรับว่ามีหลากหลาย ทีเดียว
จากการสังเกต ตามตำรับจริงๆแล้วอาหารเวียดนามหลายชนิดที่หนักไปทางแป้ง บางอย่างก็มีไส้ บางอย่างก็มีแต่แป้งอย่างเดียว ราดน้าจิ้มที่มีเพียงแบบเดียวกันหมด (ไม่หลากหลายเหมือนเมืองไทย)
ประเทศเวียดนามเคยตกอยู่ภายใต้อิทธิพลจากจักรพรรดิจีนมานาน จึงไม่ใช่เรื่องแปลกที่สิ่งก่อสร้าง ศิลปวัฒนธรรม อาหารการกินจะคล้ายประเทศจีน นอกจากนั้นยังมีความหลากหลายของผู้คน ทั้งชาวเขา หลากหลายชนเผา ทางด้านเหนือของเวียดนามซึ่งคล้ายกับประเทศไทย หรือ เมื่อฝรั่งเศสเข้ามาปกครองจึง มีศิลปวัฒนธรรมตึกรามบ้านช่องที่ทันสมัยอย่างเช่น ตึกสีเหลืองสไตล์โคโลเนียลที่มีให้พบแทบทุกเมือง เวียดนามในเช่นนี้จึงมีการผสมผสามในทุกๆอย่าง ทั้งสิ่งก่อสร้าง ศาสนา วิถีชีวิต ตลอดจนอาหารการกิน และสิ่งที่สังเกตอีกอย่างหนึ่งก็คือการที่นักเรียนต้องกับไปรับประทานที่บ้านในช่วงพักกลางวัน เหมือนกับ นักเรียนในประเทศลาว และพอมาวิเคราะห์ดูอาจเป็นเพราะทั้งสองประเทศเคยอยู่ภายใต้การปกครองของ ฝรั่งเศสเหมือนกัน แต่ประเทศลาวยึดมั่นในการที่จะรักษาวัฒนธรรม-ประเพณี ไว้ได้เหนียวแน่น การที่จะ ยอมรับวัฒนธรรมทางตะวันตกเข้ามาง่ายๆ ถ้าประเทศไทยเราจะมีการรณรงค์เพื่อปลูกฝังให้คนไทยยึดมั่น ในศิลปวัฒนธรรมประจำชาติของไทยไว้ให้มั่นคงใช้วิจารณญาณในการเลือกรับวัฒนธรรมต่างชาติมาใช่ได้ จะเป็นการสร้างเอกลักษณ์ของชาติให้ยืนยงยั่งยืนไปจนชั่วลูกชั่วหลานตลอดไป
แหล่งที่มา : baanjomyut.com