อาเซียนประเทศบรูไน ข่าวอาเซียนประเทศอินโดนีเซีย ประชากรอาเซียนประเทศบรูไน


970 ผู้ชม


อาเซียนประเทศบรูไน ข่าวอาเซียนประเทศอินโดนีเซีย ประชากรอาเซียนประเทศบรูไน

 

 แนะนำหนึ่งในสิบประเทศประชาคมอาเซียน:ประเทศบรูไนดารุสซาลาม


อาเซียนประเทศบรูไน ข่าวอาเซียนประเทศอินโดนีเซีย ประชากรอาเซียนประเทศบรูไน

บรูไนดารุสซาลาม Brunei Darussalam

ข้อมูลทั่วไปชื่อทางการ เนการาบรูไนดารุสซาลาม (Negara Brunei Darussalam แปลว่า ดินแดนแห่งความสงบสุข) 

ที่ตั้ง ทางตะวันตกเฉียงเหนือของเกาะบอร์เนียว (ละติจูดที่ 5 เหนือเส้นศูนย์สูตร) แบ่งเป็นสี่เขตคือ เขต Brunei-Muara เขต Belaitเขต Temburong และเขต Tutong
พื้นที่ 5,765 ตารางกิโลเมตร โดยพื้นที่ร้อยละ 70 เป็นป่าไม้เขตร้อน 
เมืองหลวง บันดาร์เสรีเบกาวัน (Bandar Seri Begawan)
ประชากร 370,00 คน (2548) ประกอบด้วย มาเลย์ (66%) จีน (11%) และอื่น ๆ (23%) มีอัตราการเพิ่มของประชากรปีละ 2 %
ภูมิอากาศ อากาศโดยทั่วไปค่อนข้างร้อนชื้น มีปริมาณฝนตกค่อนข้างมาก อุณหภูมิเฉลี่ย 28 องศาเซลเซียส
ภาษา ภาษามาเลย์ (Malay หรือ Bahasa Melayu) เป็นภาษาราชการรองลงมาเป็นภาษาอังกฤษและภาษาจีน
ศาสนา ศาสนาประจำชาติคือ ศาสนาอิสลาม (67%) ศาสนาอื่น ๆ ได้แก่ ศาสนาพุทธ (13%) ศาสนาคริสต์ (10%) และฮินดู
หน่วยเงินตรา ดอลลาร์บรูไน (Brunei Dollar) ประมาณ 1.61 ดอลลาร์บรูไน/ 1 ดอลลาร์สหรัฐ หรือประมาณ 24 บาท/ 1 ดอลลาร์บรูไน (เงินดอลลาร์บรูไนมีมูลค่าเท่ากับเงินดอลลาร์สิงคโปร์และสามารถใช้แทนกันได้)
ระบอบการปกครอ สมบูรณาญาสิทธิราชย์ โดยมีสมเด็จพระราชาธิบดีฮัจญี ฮัสซานัลโบลเกียห์ มูอิซซัดดิน วัดเดาละห์ (His Majesty Sultan HajiHassanal Bolkiah Mu’izzaddin Waddaulah) ทรงเป็นองค์พระประมุขของประเทศตั้งแต่วันที่ 5 ตุลาคม2510

ลักษณะเศรษฐกิจและทรัพยากรบรูไนเป็นประเทศที่ร่ำรวยไปด้วยน้ำมันและก๊าซธรรมชาติซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ที่ทำรายได้มาสู่ประเทศเป็นอันดับหนึ่ง แต่รัฐบาลบรูไนก็เริ่มตระหนักว่าประเทศชาติจะพึ่งพิงรายได้จากทรัพยากรทั้งสองอย่างเท่านี้ไม่ได้เสียแล้ว แต่ควรหันมาให้ความสนใจกับทรัพยากรธรรมชาติอี่น ๆ ที่ยังคงมีมากมายเช่น ป่าไม้ แร่ธาตุ สัตว์น้ำ และพื้นที่อันอุดมสมบรูณ์เหมาะแก่การเกษตร เพื่อเป็นการเร่งรัดการพัฒนารูปแบบของการลงทุน สุลตานบรูในได้ทรงตั้งกระทรวงขึ้นมาใหม่คือกระทรวงอุตสาหกรรมและทรัพยากรธรรมชาติ เพื่อทำหน้าที่ดูแลวางแผนและดำเนินงานด้านอุตสาหกรรมและการลงทุนโดยเฉพาะ โครงการอุตสาหกรรมที่ได้รับการสนับสนุนและเร่งรัดส่งเสริมเป็นพิเศษ ได้แก่ อุตสาหกรรมขนาดเล็ก โดยเฉพาะอุตสาหกรรมที่สัมพันธ์กับภาคเกษตร ป่าไม้ และการประมง การดำเนินการช่วงแรกนั้น รัฐบาลมุ่งสนับสนุนโรงงานและอุตสาหกรรมขนาดเล็กในภูมิภาคที่สามารถป้อนผลผลิตให้กับผู้บริโภคในท้องถิ่นก่อนเป็นอันดับแรกแล้วจึงขยายไปสู่การผลิตเพื่อการส่งออกในระยะยาว รัฐบาลได้ตั้ง่ความหวังว่าอุตสหกรรมเหล่านี้จะเป็นแหล่งที่เข้ามาแทนที่อุตสาหกรรมน้ำมันที่อาจหมดไปในอนาคต โดยที่ประชาชนยังมีหลักประกันว่าจะมีงานทำ บรูไนเป็นประเทศที่มั่งคั่งด้วยทรัพยากร ขณะนี้ยังมีประชากรน้อยมาก แต่บรูไนก็ไม่ได้หวังพึ่งพารายได้จากการขายน้ำมันเพียงอย่างเดียว ได้พยายามที่จะพัฒนาประเทศให้พึ่งพาตัวเองได้ อย่างไรก็ตามบรูไนเป็นประเทศที่มีค่าครองชีพสูงมากแห่งหนึ่งของโลก แต่รัฐบาลได้ให้สวัสดิการอย่างดีเลิศแก่ประชาชน อาทิ ไม่ต้องเสียภาษีเงินได้ส่วนบุคคล ค่ารักษาพยาบาลฟรี การศึกษา รัฐให้เปล่าจนถึงระดับชั้นมัธยมศึกษานอกจากนี้ยังมีสวัสดิการแก่ข้าราชการของรัฐ อุตสาหกรรมสำคัญของประเทศ คือ น้ำมัน ส่วนพืชเกษตรที่สำคัญ ได้แก่ ข้าว กล้วยไม้

อุตสาหกรรมบรูไนมีอุตสาหกรรมอื่น นอกเหนือจากอุตสาหกรรมน้ำมันอยู่บ้าง อาทิ การผลิตอาหาร และเครื่องมือเครื่องใช้ การผลิตเสื้อผ้า เพื่อส่งออกไปยังกลุ่มประเทศในยุโรป และอเมริกา ทั้งนี้ รัฐบาลบรูไน มุ่งที่จะพัฒนาอุตสาหกรรม ด้านการแปรรูปอาหารและผลิตเครื่องดื่ม เสื้อผ้า และสิ่งทอ เครื่องเรือนจากไม้ วัสดุก่อสร้างที่ไม่ใช่โลหะ การผลิตแก้วเพื่อใช้ทำกระจกรถยนต์ อย่างไรก็ดี บรูไนยังคงประสบกับอุปสรรคต่าง ๆ ในการพัฒนาอุตสาหกรรม อาทิ การขาดแคลนช่างฝีมือ และตลาดภายในประเทศที่มีขนาดเล็ก ประกอบกับบรูไนไม่มีแรงงานในประเทศเพียงพอ และต้องอาศัยแรงงานจากต่างประเทศเป็นหลัก

แนวโน้มการพัฒนาเศรษฐกิจปัจจุบัน บรูไนกำลังพยายามเปลี่ยนแปลง จากเศรษฐกิจที่พึ่งพาน้ำมันเป็นหลัก ไปสู่โครงสร้างเศรษฐกิจ ที่มีความหลากหลายมากขึ้น เนื่องจากมีการคาดการณ์ว่าปริมาณน้ำมันสำรองที่ยืนยันแล้ว (proven reserve) ของบรูไนจะหมดลงในราวปี พ.ศ. 2558 ประกอบกับภาวะเศรษฐกิจถดถอยในเอเชีย ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2543 ทำให้บรูไนเร่งปฏิรูปโครงสร้างทางเศรษฐกิจ และใช้มาตรการต่าง ๆ เพื่อสร้างความหลากหลายทางเศรษฐกิจ ได้แก่

  1. จัดตั้งสภาที่ปรึกษาด้านเศรษฐกิจ นำโดยเจ้าชายโมฮาเหม็ด โบลเกียห์ (รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของบรูไน) ซึ่งมีแนวทางส่งเสริมภาคเอกชน ให้มีบทบาทมากขึ้น ในการส่งเสริมการพัฒนาทางเศรษฐกิจ
  2. ปรับโครงสร้างทางเศรษฐกิจ จากเดิมที่เน้นนโยบายให้สวัสดิการ มาเป็นการส่งเสริมการลงทุนจากต่างประเทศ และแปรรูปรัฐวิสาหกิจต่าง ๆ โดยให้เอกชนเข้ามามีส่วนร่วมมากขึ้น ขยายฐานการจัดเก็บภาษี
  3. ปรับเปลี่ยนกลยุทธ์การลงทุนในต่างประเทศของ BIA โดยหันมาลงทุนในธุรกิจด้านใหม่ ๆ ซึ่งมีความเสี่ยงต่ำ เช่น การซื้อหุ้นในกลุ่มเทคโนโลยีสารสนเทศและโทคมนาคม หรือธุรกิจสายการบินต่าง ๆ
  4. แผนพัฒนาแห่งชาติฉบับที่ 8 (The Eighth National Development Plan: 8th NDP) ที่ดำเนินการระหว่างปี พ.ศ. 2544-2548 มีสาระสำคัญ ได้แก่ ตั้งเป้าอัตราการเติบโตของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (จีดีพี - GDP) ที่ร้อยละ 5–6 โดยตั้งวงเงินงบประมาณ สำหรับการดำเนินตามแผนฯ ไว้ 7.3 พันล้านดอลลาร์บรูไน ซึ่งคาดว่ากลยุทธ์ทางการพัฒนาใหม่นี้ จะช่วยให้รัฐบาลสร้างสมดุลของงบประมาณได้ดีขึ้น สามารถกำหนดมาตรการในการพัฒนา และฟื้นฟูเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน สร้างความแข็งแกร่งและการขยายตัวให้กับอุตสาหกรรมน้ำมันและแก๊ส รวมทั้งการพัฒนาอุตสาหกรรมต่อเนื่องต่าง ๆ พัฒนาเศรษฐกิจและสังคมและทรัพยากรมนุษย์ รวมทั้งอุตสาหกรรมขนาดเล็กและย่อม การขยายความร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชน แปรรูปรัฐวิสาหกิจบางกิจการ และสร้างความแข็งแกร่งในระบบการเงินและการคลัง นอกจากนี้ รัฐบาลบรูไนยังยึดแนวคิดของวิธีการปกครองที่ดี (Good Governance) รวมทั้งเน้นการเสริมสร้างความแข็งแกร่งให้กับภาคเอกชน
  5. ส่งเสริมการลงทุนกับต่างประเทศ และมีมาตรการเปิดเสรีด้านการค้า และสร้างบรรยากาศที่เอื้ออำนวยต่อการลงทุน ไม่เฉพาะแต่บริษัทในประเทศ แต่รวมถึงประเทศต่าง ๆ จากกลุ่มอาเซียน และนานาประเทศ
  6. พัฒนาประเทศให้เป็นศูนย์บริการการค้าและการท่องเที่ยว (Service Hub for Trade and Tourism -SHuTT 2003 Vision) และเป็นตลาดการขนถ่ายสินค้าที่สำคัญของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งเป็นเป้าหมายประการหนึ่งของโครงการความร่วมมือของกลุ่ม Brunei Indonesia Malaysia Philippines-East ASEAN Growth Area (BIMP-EAGA)
  7. สร้างความแข็งแกร่งทางการเงิน เพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจและเอื้ออำนวยต่อโครงการพัฒนาเศรษฐกิจและสาธารณูปโภคพื้นฐาน นอกจากนี้ จากการที่บรูไนได้กำหนดแผนพัฒนาประเทศให้เป็นศูนย์กลางการเงินนานาชาติ (Brunei International Financial Center : BIFC) โดยมีจุดมุ่งหมายที่จะยกระดับประเทศ ในด้านการบริการการเงินในระดับนานาชาติ กระจายความหลากหลายทางเศรษฐกิจ และสร้างงานให้กับประชาชน


แหล่งที่มา : cityub.go.th

อัพเดทล่าสุด