อาเซียนศึกษา กศน คู่มืออาเซียนศึกษา คําอธิบายรายวิชา อาเซียนศึกษา


1,692 ผู้ชม


อาเซียนศึกษา กศน คู่มืออาเซียนศึกษา คําอธิบายรายวิชา อาเซียนศึกษา

 


ทิศทางการศึกษาไทยกับการก้าวสู่ประชาคมอาเซียน
The way of Thail Education for AEC of ASEAN 2015

 

ศธ.มีนโยบายพัฒนาการศึกษา เพื่อพัฒนาการศึกษาของประเทศให้เป็นไปอย่างมีคุณภาพ กระจายโอกาสอย่างทั่วถึงและเป็นธรรม เพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการ รวมทั้งส่งเสริมการมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วน ตลอดจนสามารถก้าวทันและแข่งขันกับนานาชาติได้ โดยเฉพาะการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน ซึ่งในความเป็นจริงประเทศไทยเป็นผู้ริเริ่มก่อตั้งอาเซียน โดยมี ๓ เสาหลัก ได้แก่ ความร่วมมือทางด้านเศรษฐกิจ ความร่วมมือทางการเมืองและความมั่นคง และความร่วมมือทางสังคม วัฒนธรรม ซึ่งเสาหลักความร่วมมือทางสังคมมีความก้าวหน้ามากที่สุด โดย ศธ.ได้เตรียมความพร้อมด้านการศึกษาเพื่อการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน ดังนี้

จัดให้มีหลักสูตรอาเซียนศึกษา เพื่อให้คนไทยเข้าใจอาเซียน เข้าใจการอยู่ร่วมกันกับประเทศเพื่อนบ้าน ที่มีวัฒนธรรมการกิน การอยู่ การดำเนินชีวิตที่คล้ายคลึงกัน จึงจำเป็นที่จะต้องทำความรู้จักประเทศเพื่อนบ้าน ไม่ว่าจะเป็น จีน พม่า ลาว เวียดนาม กัมพูชา มาเลเซีย เป็นต้น ซึ่ง ศธ.จะสร้างหลักสูตรที่สามารถสร้างความเข้าใจที่ถูกต้องภายใต้การรวมตัวเป็นประชาคมเดียวกันของคนจำนวนกว่า ๖๐๐ ล้านคน โดยจะเริ่มดำเนินการในปีการศึกษา ๒๕๕๔ เป็นต้นไป

ส่งเสริมการแลกเปลี่ยนในทุกระดับ ตั้งแต่ระดับรัฐมนตรี ผู้บริหารระดับสูง ผู้บริหาร ครู และนักเรียน ซึ่งขณะนี้ประเทศจีนมีความประสงค์จะส่งครูมาสอนในโรงเรียนไทยเป็นจำนวนมาก

การแลกเปลี่ยน ICT ซึ่งเป็นเรื่องที่สำคัญมาก เพราะจะต้องเชื่อมโยงภายในประชาคมอาเซียนกันได้ ซึ่งได้มีการจัดตั้ง ASEAN University และ Cyber University เพื่อการเชื่อมโยง นอกจากนี้ยังได้เตรียมการเพื่อให้มีการรับรองคุณวุฒิการศึกษาระหว่างกัน เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้เรียน ซึ่งขณะนี้ไทย-จีน และไทย-มาเลเซีย สามารถรับรองคุณวุฒิได้แล้ว แต่สำหรับฟิลิปปินส์ยังไม่สามารถรับรองได้

การใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษากลางของประชาคมอาเซียน ศธ.ได้ตั้งเป้าหมายให้นักเรียนที่จบชั้น ป.๖ สามารถสื่อสารเป็นภาษาอังกฤษได้ เพื่อรองรับการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน รวมทั้งจะต้องใช้ภาษาอังกฤษในการค้นคว้าหาความรู้จากอินเทอร์เน็ต และสื่อการเรียนรู้ที่มีความหลากหลายมากขึ้น โดยได้เร่งผลักดันและดำเนินการในหลายด้าน เช่น

๑) สร้างศูนย์อำนวยการเพื่อให้ครูเจ้าของภาษามาสอน ครูเกษียณอายุก่อนกำหนด และครูอาสาสมัครจากประเทศสหรัฐอเมริกา อังกฤษ จีน และฟิลิปปินส์ มาสอนภาษาในโรงเรียน เพื่อให้เด็กเกิดการเรียนรู้

๒) พัฒนาการเรียนการสอนแบบ English for Integrated Studies (EIS) จะมีการบูรณาการการสอนภาษาอังกฤษในวิชาวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ ซึ่งสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ได้จัดตั้งงบประมาณเพื่อให้ครูที่จะสอนวิชาเหล่านี้ ได้ฝึกใช้ภาษาอังกฤษในการสื่อสารระหว่างกัน นักเรียนก็สามารถเชื่อมโยงและพูดคุยกับเพื่อนต่างชาติในประชาคมอาเซียนได้

๓) พัฒนาห้องเรียนแห่งอนาคต (The Global Class) ซึ่งเป็นห้องเรียนอิเล็กทรอนิกส์ที่สามารถเชื่อมโยงการเรียนการสอนได้อย่างหลากหลาย เช่น การเรียนการสอนวิชาวิทยาศาสตร์ของโรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ การสอนภาษาอังกฤษของติวเตอร์ที่มีชื่อเสียงและเป็นที่นิยม โดยครูจะเป็นผู้ควบคุมการสอนและทดสอบความเข้าใจของนักเรียน หากต้องการจะให้สอนซ้ำในช่วงใด ก็สามารถทำได้ทันที ซึ่งจะเริ่มดำเนินการในโรงเรียนสู่มาตรฐานสากล โรงเรียนดีประจำอำเภอ และลงไปสู่โรงเรียนดีประจำตำบล

๔) การอบรมภาษาอังกฤษให้กับครู เพื่อให้ครูยุคใหม่สามารถสื่อสารเป็นภาษาอังกฤษ และใช้ ICT ได้ ซึ่งในยุคปัจจุบันระบบการศึกษาต้องรองรับความก้าวหน้าของเทคโนโลยีและครูจะต้องเท่าทันต่อเทคโนโลยีด้วย


แหล่งที่มา : social.obec.go.th

อัพเดทล่าสุด