อาการโรคหัวใจ สาเหตุของโรคหัวใจ โรคหัวใจ สาเหตุ


823 ผู้ชม


อาการโรคหัวใจ สาเหตุของโรคหัวใจ โรคหัวใจ สาเหตุ

 

 

ภัยควรรู้..เมื่อ..หัวใจเต้นผิดจังหวะ
โดย.... นางสาวสินีนาฎ  ใฝสุข

อ.สันทราย จ.เชียงใหม่
(เนื้อหาและภาพประกอบเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียน)

           ในสภาพสภาวะความเป็นอยู่ในยุคปัจจุบันเป็นภาวะที่อยู่แบบเร่งรีบ ร้อนรน ความสมดุลทางธรรมชาติหดหาย ทำให้ผู้คนต้องเผชิญ
กับปัญหาในด้านสุขภาพ ซึ่งเป็นเรื่องสำคัญ ผู้คนมักจะปล่อยปละละเลยไม่สนใจสุขภาพของตนเอง แม้แต่เรื่องที่ใกล้ตัวอย่าง “การเต้นของ
หัวใจ” ที่อาจมีการเต้นผิดปกติได้ ดังนั้นจึงควรจะหันมาสนใจกันได้แล้วก่อนที่จะถึงวิกฤติและสายเกินไป...

          “หัวใจ” (Heart) อวัยวะชิ้นเดียวในร่างกายที่ทำงานตลอด 24 ชั่วโมง ไม่มีวันหยุดพัก และยังเป็นอวัยวะสำคัญหลักของร่างกาย
มนุษย์ มีหน้าที่สูบฉีดเลือดไปเลี้ยงส่วนต่าง ๆ ในร่างกาย โดยอาศัยโครงสร้างของ กล้ามเนื้อหัวใจ (cardiac muscle) และ ระบบนำไฟฟ้า
(conduction system) ภายในหัวใจ สร้างและควบคุมจังหวะการเต้นของหัวใจ ซึ่งอัตราการเต้นของหัวใจปกติจะอยู่ที่ 60-100 ครั้ง/นาที
หากมีอาการผิดจากนี้อาจเกิดอาการของโรค “หัวใจเต้นผิดจังหวะ” ได้

          โรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ (Cardiac Arrhythmia) ไม่มีสาเหตุที่เกิดอย่างแท้จริง อาจเกิดจากจุดกำเนิดไฟฟ้าภายในหัวใจทำงาน
ผิดปกติ หรือ เกิดไฟฟ้าลัดวงจรภายในหัวใจ ซึ่งมักจะเป็นมาแต่กำเนิด และสามารถเกิดได้กับทุกเพศทุกวัย โดยทั่วไปมักแสดงอาการเมื่อ
อายุ 20-40 ปีขึ้นไป โรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ สามารถแยกออกเป็น 2 ประเภท ดังนี้ “หัวใจเต้นผิดจังหวะที่มีอัตราการเต้นของหัวใจช้าผิด
ปกติ คือ มีอัตราการเต้นของหัวใจต่ำกว่า 60 ครั้ง/นาที และ “หัวใจเต้นผิดจังหวะที่มีอัตราการเต้นของหัวใจเร็วผิดปกติ คือ มีอัตราการเต้น
ของหัวใจมากกว่า 60 ครั้ง/นาที
          สาเหตุของการเกิดโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ ไม่สามารถสรุปสาเหตุที่ชัดเจนได้ แต่สามารถสรุปสาเหตุหลัก ๆ ได้ด้วยกัน 4 สาเหตุ
ได้แก่
          (1) กรรมพันธุ์ ซึ่งเป็นเป็นความผิดปกติของวงจรไฟฟ้าหัวใจตั้งแต่กำเนิด
          (2) การเสื่อมสภาพของระบบไฟฟ้าหัวใจ สาเหตุนี้มักเกิดในผู้สูงอายุ และเป็นสาเหตุทำให้เกิดภาวะหัวใจเต้นช้ากว่าปกติ เนื่องจาก
หัวใจทำงานมาเป็นเวลานาน จึงเกิดความเสื่อมตามอายุการใช้งาน ระดับพลังงานที่กระตุ้นหัวใจทำงานจึงน้อยลง ส่งผลให้หัวใจเต้นช้าผิด
ปกติ
          (3) โรคบางชนิด โรคบางชนิดส่งผลให้เกิดการเต้นผิดจังหวะเช่น โรคเส้นเลือดหัวใจตีบ โรคความดันโลหิตสูง โรคไขมันในเส้น
เลือดสูง โรคเบาหวาน และ ผู้ที่มีภาวะต่อมไทรอยด์ทำงานผิดปกติ
          (4) ยาและสารเสพติดบางชนิด การกินยาบางชนิดอาจส่งผลให้เกิดโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะได้ เช่น ยารักษาโรคหวัด ยาขยาย
หลอดลม ยาที่ออกฤทธิ์กระตุ้นหัวใจ

อาการของโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ แยกออกเป็น 2 ประเภท คือ

          “อาการของโรคหัวใจเต้นช้าผิดปกติ” จะมีอาการมึนงง ใจหวิว วูบ ความดันโลหิตต่ำ หากเป็นหนักอาจจะเป็นลมหมดสติ ในรายที่
อาการไม่มากอาจมีเพียงอาการอ่อนเพลียและเหนื่อยง่าย  “อาการของโรคหัวใจเต้นเร็วผิดปกติ” หากเป็นเพียงเล็กน้อยจะมีอาการเหนื่อย
ง่ายและหัวใจเต้นเร็วเท่านั้น แต่หากเป็นหนักจะมีการอากร เจ็บหน้าอก หน้ามืด ความดันโลหิตต่ำ หัวใจวายและอาจเสียชีวิตโดยเฉียบพลัน

           การวินิจฉัยโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ ทำโดยการตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจที่เรียกว่า ECG หรือ Electrocardiogram แต่อย่างไรก็ตาม
การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจจะพบความผิดปกติเมื่อผู้ป่วยมีอาการในขณะตรวจเท่านั้น หากผู้ป่วยไม่มีอาการในขณะตรวจก็อาจไม่พบความ
ผิดปกติ ทำให้การวินิจฉัยโรคไม่สามารถทำได้ ในกรณีอาจต้องใช้การตรวจคลื่นหัวใจแบบพกติดตัวตลอด 24 ชั่วโมง ที่เรียกว่า Holter
Monitoring ซึ่งจะเป็นการตรวจและวัดอัตราการเต้นของหัวใจตลอดเวลา หากมีอาการผิดปกติจะได้รีบเข้ารักษาได้ทันที

          วิธีการรักษาโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ ในรายที่ไม่มีอาการรุนแรง อาจไม่ต้องเข้ารับการรักษา ส่วนรายที่มีอาการหนัก จะรักษาด้วยวิธี
กินยา จี้กล้ามเนื้อหัวใจบริเวณที่ลัดวงจรด้วยคลื่นเสียงความถี่สูง และฝังเครื่องกระตุ้นหัวใจในผู้ป่วยที่หัวใจเต้นช้าผิดปกติ หรือเครื่อง
กระตุกหัวใจในผู้ป่วยที่หัวใจเต้นเร็วกว่าปกติ การรักษาโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะไม่เพียงแต่จะรักษาด้วย ยา และ เครื่องมือต่าง ๆ แล้วนั้น
ผู้ป่วยสามารถดูแลตนเองด้วยวิธีตามธรรมชาติ เพื่อช่วยบรรเทาอาการหัวใจเต้นผิดจังหวะและป้องกันการเกิดโรคได้ ดังนี้
          “การผ่อนคลายความเครียด” ความเครียดถือเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้หัวใจเต้นเร็ว เนื่องจากเมื่อเครียด ร่างกายจะหลั่งฮอร์โมน
และสารสื่อประสาทต่าง ๆ ที่กระตุ้นให้หัวใจเต้นเร็ว ส่งผลให้หัวใจเต้นผิดจังหวะได้

          “ลดยาบางชนิด” ผู้ที่มีโรคประจำตัวและต้องกินยาต่อเนื่อง อาจมีอาการหัวใจเต้นผิดจังหวะ ซึ่งเป็นผลข้างเคียงของยา ดังนั้นจึงควร
ปรึกษาแพทย์ว่าสามารถลดยาหรือเปลี่ยนชนิดของยาได้หรือไม่ เพื่อป้องกันอาการหัวใจเต้นผิดจังหวะ
          “งดเครื่องดื่มคาเฟอีน” เครื่องดื่มคาเฟอีน อาทิ ชา กาแฟ เครื่องดื่มชูกำลัง และน้ำอัดลม เป็นสาเหตุอาการหัวใจเต้นผิดจังหวะ
เนื่องจากในเครื่องดื่มมีสารกระตุ้นทำให้จุดกำเนิดไฟฟ้าหรือกล้ามเนื้อหัวใจที่มีแนวโน้มว่าจะเกิดการลัดวงจารทำงานผิดปกติได้เร็วขึ้น
          “นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ” การนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอเป็นการทำให้หัวใจได้รับการพักผ่อนและทำงานน้อยลง ซึ่งเท่ากับ
เป็นการรักษาหัวใจให้แข็งแรงและสูบฉีดเลือดได้มีประสิทธิภาพมากขึ้น

          นอกจากวิธีการรักษาและการควบคุมดังกล่าวแล้วนั้น การรับประทานอาหารก็ยังเป็นอีกปัจจัยเสริมที่จะช่วยลดการเกิดโรคหัวใจเต้น
ผิดจังหวะได้ วารสารสมาคมอายุรแพทย์หัวใจในสหรัฐอเมริกา (American Heart Association’s Journal) ได้แนะนำให้กินปลาทูน่า
หรือ ปลาอื่น ๆ ที่ผ่านกระบวนการย่าง หรือ นึ่ง อย่างสม่ำเสมอสัปดาห์ละ 1 ครั้ง เพื่อลดอัตราความเสี่ยงของโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ โดย
เฉพาะกลุ่มผู้หญิงและผู้ชายที่สูงอายุ


          จะเห็นได้ว่า โรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ เป็นโรคที่ไม่สามารถวินิจฉัยได้ง่าย แต่ก็ไม่ใช่ว่าจะไม่มีวิธีลดความเสี่ยง ฉะนั้นเราจึงควรจะ
สังเกตอาการด้วยตนเอง อย่าละเลย หรือ เพิกเฉย ทั้งยังควรลดปัจจัยเสี่ยงต่าง ๆ เพิ่มความแข็งแรงให้สุขภาพกายและสุขภาพใจ เหล่านี้
ก็จะทำให้..หัวใจน้อย ๆ ของเราเต้นไปตามจังหวะอย่างสมบูรณ์ ไม่ออกนอกลู่นอกทางเป็นแน่

 

..จงดูแลหัวใจให้ดี เพราะ..หัวใจที่แข็งแรงสมบูรณ์..นำพาชีวีมีสุข..หมดทุกข์ หมดโรค..



เอกสารอ้างอิง
...........................................................................................................................
ขอขอบคุณ : รูปภาพจาก google search 
(1) นิตยสาร “ชีวจิต” ฉบับที่ 309: วันที่ 16 สิงหาคม 2554
(2) เว็บไซต์ https://www.thaigoodview.com/node/14676 
(3) เว็บไซต์ https://www.bangkokhearthospital.com/knowheart_skin3.asp

 


แหล่งที่มา : stou.ac.th

อัพเดทล่าสุด