รักษาโรคถุงลมโป่งพอง การปฏิบัติตัวของผู้ป่วย โรคถุงลมโป่งพอง โรคถุงลมโป่งพองมีอาการไอ
โรคถุงลมโป่งพอง
โรคหลอดลมอุดกั้นเรื้อรัง (Chronic obstructive pulmonary disease, COPD)
ปอดเป็นอวัยวะสำคัญของระบบทางเดินหายใจที่มีหน้าที่หลักในการแลกเปลี่ยนก๊าซ ของเลือด คือรักษาระดับของออกซิเจนและคาร์บอนไดออกไซด์ในเลือดให้อยู่ในระดับที่เหมาะ สม ส่วนประกอบที่สำคัญของปอดคือ ทางเดินหายใจ (Airway) เป็นส่วนที่อากาศลงไปยังถุงลมปอด เนื้อเยื่อปอด (lung parenchyma) เป็นส่วนที่มีถุงลมปอดและเส้นเลือดปอดมาอยู่รวมกัน และมีการแลกเปลี่ยนก๊าซเกิดขึ้น
โรคหลอดลมอุดกั้นเรื้อรังคืออะไร
โรคหลอดลมอุดกั้นเรื้อรัง คือ ภาวะที่มีการอุดกั้นของทางเดินหายใจส่วนล่างอย่างถาวร ทำให้อากาศไม่สามารถเข้าหรือออกจากถุงลมปอดได้ตามปกติ ประกอบด้วย
1.โรคถุงลมโป่งพอง (Emphysema)
2.โรคหลอดลมอักเสบเรื้อรัง (Chronic bronchitis)
สาเหตุสำคัญที่สุดที่ทำให้เกิดโรค COPD ได้แก่ การสูบบุหรี่ โดยพบว่าสารในควันบุหรี่กระตุ้นให้เกิดการอักเสบเรื้อรังในหลอดลมและเนื้อ ปอด โดยจะมีเซลล์อักเสบเข้ามาสะสมอยู่ในปอด และหลั่งสารต่างๆที่ทำให้เกิดการทำลายเนื้อเยื่อปอด (protease) ทำให้ถุงลมปอดถูกทำลาย เกิดภาวะถุงลมโป่งพองและหลอดลมตีบตัว เนื่องจากมีการอักเสบและบวมของเยื่อบุผิว ทำให้เกิดภาวะหลอดลมอุดกั้นเรื้อรังตามมา นอกจากบุหรี่แล้ว สาเหตุเสริมอื่นที่อาจเป็นสาเหตุของโรค COPD ได้แก่ ภาวะมลพิษในอากาศ การติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจ และการขาดสารบางชนิดแต่กำเนิดที่มีฤทธิ์ในการต้านการอักเสบ (ส่วนมากพบเฉพาะในชาวตะวันตก)
อาการแสดงของโรค
มักจะพบในผู้ป่วยสูงอายุที่มีประวัติการสูบบุหรี่มานาน ผู้ป่วยมักมีอาการไอเรื้อรัง มีเสมหะมาก มีอาการเหนื่อยง่ายขึ้น ไม่สามารถทำกิจการต่างๆ ที่เคยทำได้ โดยอาการเหล่านี้จะเป็นมากขึ้นเรื่อยๆ จนในที่สุดผู้ป่วยจะมีอาการเหนื่อยตลอดเวลา เกิดภาวะหายใจวายเรื้อรัง นอกจากนี้เวลาที่ผู้ป่วยเกิดการติดเชื้อในทางเดินหายใจ ก็อาจเกิดภาวะหายใจวายเฉียบพลันได้ง่าย
การวินิจฉัยโรค
การวินิจฉัยโรคอาศัยประวัติการสูบบุหรี่ อาการแสดงทางคลินิกการตรวจร่างกายอาจพบว่ามีลักษณะของหลอดลมตีบ และการตรวจสมรรถภาพปอดจะพบว่ามีการลดลงของการทำงานของปอดข้อที่ควรระลึกเสมอ คือ ปอดของเราทุกคนมีความสามารถในการทำงานสำรองไว้มาก กล่าวคือ ถึงแม้จะสูญเสียการทำงานของปอดไปแล้วส่วนหนึ่ง ผู้ป่วยยังอาจจะไม่มีอาการผิดปกติ ดังนั้นเมื่อไหร่ที่เริ่มมีอาการหอบเหนื่อย แสดงว่าการทำงานของปอดได้เสียไปเป็นปริมาณค่อนข้างมากแล้ว และจะไม่สามารถกลับเป็นปกติได้
แนวทางการรักษา
แนวทางการรักษาโรคหลอดลมอุดกั้นเรื้อรังที่สำคัญประกอบด้วย
1.การชะลอการเสื่อมของปอด ปัจจุบันพบว่ามีวิธีเดียวที่สามารถชะลอการเสื่อมของปอดอย่างได้ผลคือ การหยุดสูบบุหรี่ ดังนั้นการป้องกันและรักษาโรคนี้ที่ดีที่สุดคือการหยุดสูบบุหรี่
2.การแก้ไขภาวะอุดกั้นของหลอดลม อย่างที่ได้กล่าวมาแล้วว่าในโรคนี้จะมีการอุดกั้นของหลอดลมอย่างถาวร ซึ่งต่างจากโรคหอบหืด ที่มีการอุดกั้นเป็น ๆ หาย ๆ ดังนั้นการใช้ยาขยายหลอดลมจึงมักจะได้ผลที่ไม่ค่อยดีในผู้ป่วยกลุ่มนี้ อย่างไรก็ตาม ผู้ป่วยควรจะได้รับยาขยายหลอดลมแบบพ่น และประเมินว่ามีการตอบสนองหรือไม่
การรักษาภาวะหอบเฉียบพลัน เมื่อผู้ป่วยมีอาการกำเริบและมีอาการหอบมากขึ้น จำเป็นต้องได้รับการดูแลอย่างใกล้ชิดจากแพทย์ เช่น การใช้ยาปฏิชีวนะเพื่อรักษาการติดเชื้อ การใช้ยาต้านการอักเสบและใช้ออกซิเจน เพื่อป้องกันภาวะหายใจวายที่อาจเกิดขึ้น
การดูแลสุขภาพทั่วไป
การออกกำลังกายเพื่อเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อหายใจ การรับประทานอาหารที่เหมาะสม จะช่วยให้คุณภาพชีวิตของผู้ป่วยดีขึ้นได้ส่วนหนึ่ง ผู้ป่วยโรคนี้จึงควรหมั่นออกกำลังกายเท่าที่พอจะทำไหวอย่างสม่ำเสมอ
อาการของโรคถุงลมโป่งพอง
ในระยะแรก มักไม่ค่อยมีอาการมาก อาจเป็นอาการทั่วๆไปคือ ไอเรื้อรัง มีเสมหะ เป็นหวัด เจ็บคอ คออักเสบง่าย หายยาก หลอดลม
ระยะที่สอง มีอาการหอบเหนื่อย เนื่องจากร่างกายได้รับออกซิเจนไม่เพียงพอ หน้าอกบวม หายใจมีเสียง ต้องใช้ กล้ามเนื้ออก และบริเวณไหล่มากเวลาหายใจ หายใจลำบากเพราะหลอดลมตีบเล็กลง ถุงลมเล็กแตกรวมกันทำหน้าที่แลกเปลี่ยนอากาศไม่ได้
ส่วนในระยะที่เป็นมากแล้ว จะหอบเหนื่อยมากทำงานไม่ได้ เดินหรือดำรงชีวิตประจำวันไม่ได้เพราะเหนื่อยมาก ทำงานตามปกติไม่ได้ ต้องนอนพักเพราะร่างกายได้รับออกซิเจนไม่เพียงพอ ต้องได้รับออกซิเจนช่วยตลอดเวลา เนื่องจากปอดถูกทำลายหมดและการให้ออกซิเจนก็ต้องให้ด้วยความระมัดระวังกว่า คนปกติ เพราะหากให้ออกซิเจนในปริมาณสูงอาจทำให้ผู้ป่วยหยุดหายใจได้
ปัจจุบันยังไม่มีการรักษาใด ที่สามารถทำให้โรคถุงลมโป่งพองหายได้ แต่การใช้ยาจะช่วยให้ผู้ป่วยมีอาการดีขึ้น และปอดถูกทำลายช้าลง
การนำวิตามินซีมาใช้ มีอยู่ในผักและผลไม้ เช่น ส้มชนิดต่าง ๆ ฝรั่ง มะนาว ผักต่าง ๆ
วิตามินซีขึ้นชื่อว่าเป็นหนึ่งในกลุ่มอัศวินที่ทำหน้าที่เป็นแอนตี้ออกซิ แดนท์ให้กับร่างกายของเราปลอดภัยจากอนุมูลอิสระ โดยสภาพแวดล้อม และอาหารการกินที่เผชิญอยู่ทุกวันนี้
เราก็ได้รับมลพิษมากมายพออยู่แล้ว แต่ด้วยพฤติกรรมที่เพิ่มขึ้นของบางคน เช่น สูบบุหรี่ หรือดื่มแอลกอฮอล์ ยิ่งทำให้ปริมาณวิตามินซีในร่างกายนั้นลดต่ำลงกว่าปกติ จนอาจทำให้อวัยวะ และระบบการทำงานต่างๆ ในร่างกายอ่อนแอลง เปิดโอกาสให้โรคต่างๆ รุมกันเข้าหาก็เป็นได้
จะว่าไปแล้วมนุษย์เป็นสัตว์ที่มีความเหนือกว่าสัตว์อื่นใดทั้งปวง แต่ยังกลับมีความน่าแปลกอยู่อย่างหนึ่ง เห็นจะเป็นความที่ไม่สามารถสร้างวิตามินซีขึ้นใช้เองได้ในร่างกาย ทั้งที่เป็นสารอาหารจำเป็นที่ร่างกายต้องการ ในขณะที่สัตว์ส่วนใหญ่ในโลกนี้สามารถสร้างวิตามินซีขึ้นได้ด้วยตัวมันเอง ทั้งนั้น นอกจากมนุษย์แล้วก็ยังมีสัตว์อีกบางชนิดที่ต้องอาศัยวิตามินจากอาหาร เช่น ลิง และหนูตะเภา เป็นต้น ซึ่งส่วนใหญ่อาศัยอยู่ในเขตร้อนที่อุดมไปด้วยพืช ผัก ผลไม้ คนเราจะได้วิตามินซีเข้าไปใช้ในร่างกายอย่างพอเพียงต้องได้จากการกินอาหาร จำพวกผักสด ผลไม้ต่างๆ ให้มากพอและสม่ำเสมอ
วิตามินซีกับมลพิษในร่างกาย
วิตามินซีมีความ สำคัญต่อร่างกายคนเราหลายอย่าง เช่น ช่วยสร้าง และเสริมคอลลาเจน หรือเนื้อเยื่อเซลล์นับล้านๆ เซลล์ทั่วร่างกาย ดังนั้นถ้าขาดวิตามินซีก็จะทำให้คอลลาเจนไม่สมบูรณ์แข็งแรง กระดูก เอ็น และผนังหลอดเลือดก็จะอ่อนแอลงด้วย มีผลให้แบคทีเรีย และไวรัสแทรกซึมเข้าสู่ร่างกายได้ง่าย เกิดการอักเสบติดเชื้อตามมา ซึ่งตราบใดที่เนื้อเยื่อต่างๆ ของร่างกายแข็งแรง ก็จะเป็นปราการหรือด่านชั้นดีที่คอยสกัดกั้น และต่อต้านสิ่งแปลกปลอมต่างๆ ที่เข้ามาในร่างกาย มีรายงานวิจัยทางการแพทย์ในสหรัฐอเมริกาพบว่าการได้รับวิตามินซีปริมาณสูง นอกจากจะช่วยบำรุงเนื้อเยื่อเส้นเลือดแดงให้แข็งแรงแล้ว ยังมีส่วนในการลดระดับโคเลสเตอรอลในเส้นเลือดด้วย โดยช่วยเปลี่ยนโคเลสเตอรอลให้เป็นกรดน้ำดีที่ตับแล้วกำจัดทิ้งไป โดยเพิ่มระดับสารไลโปโปรตีนชนิด High Density Lipoprotein (HDL) ในเลือด ทำให้ไขมัน Low Density Lipoprotein (LDL) ที่สะสมตามเส้นเลือดถูกกำจัดมากขึ้น อันเป็นต้นเหตุทำให้เส้นเลือดอุดตัน จึงช่วยลดความเสี่ยงของเส้นเลือดหัวใจตีบได้ วิตามินซีจะถูกใช้ไปในหลายๆ ระบบการทำงานของร่างกาย ซึ่งบางครั้งอาจมีปัจจัยแปรที่ทำให้วิตามินซีถูกดึงออกมาใช้มากผิดปกติจน เหลือปริมาณต่ำได้ โดยเฉพาะในคนที่สูบบุหรี่เป็นประจำ เพราะวิตามินซีทำหน้าที่เป็นแอนตี้ออกซิแดนท์ จะถูกดึงมาใช้ต่อต้านอนุมูลอิสระที่มากับควันบุหรี่จำนวนมากจนเหลือปริมาณ วิตามินซีต่ำผิดปกติ อาจทำให้ร่างกายเข้าสู่ภาวะขาดวิตามินซีได้ อะเซ็ตตอลดีไฮด์ เป็นสารพิษที่ก่อตัวขึ้นในร่างกายจากควันบุหรี่และแอลกอฮอล์ มีฤทธิ์ทำลายวิตามินในร่างกาย คุณลองคิดดูสิว่าบุหรี่ 1 มวนสามารถทำลายวิตามินซีถึง 25 มิลลิกรัมเลยทีเดียว
สารพิษจากบุหรี่ไม่ว่าจะเป็นนิโคติน คาร์บอนมอน็อกไซด์ ทาร์ ไซยาไนต์ ฯลฯ ล้วนเป็นสาเหตุก่อโรคต่างๆ เช่น โรคปอด โรคมะเร็ง ระบบสมองเสื่อมถอย สมรรถภาพทางเพศเสื่อมถอย ผิวพรรณแห้งเหี่ยวย่นก่อนวัย ความดันโลหิตสูง โรคกระเพาะ และโรคหัวใจ บุหรี่นอกจากจะเป็นปัจจัยทำให้สารแอนตี้ออกซิแดนท์ในร่างกายไม่ว่าจะเป็น วิตามินซี วิตามินเอ วิตามินอี หรือเซลิเนียม ถูกดึงมาใช้มากจนลดจำนวนลงแล้ว ควันบุหรี่ยังเพิ่มระดับพลาสมาในเลือดให้สูงขึ้น และยังทำให้การออกซิเดชั่นโคเลสเตอรอลไม่ดีพอ กระทบต่อหลอดเลือดแดงทำให้แข็งตัว ดังนั้นร่างกายของคนสูบบุหรี่เป็นประจำส่วนใหญ่จึงต้องการวิตามินซีมากกว่า ปกติ
วิตามินซียังมีประสิทธิภาพเสริมระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย และทำลายเชื้อไวรัสชนิดต่างๆ เช่น เริม ไวรัสตับอักเสบ โปลิโอ หัด วัณโรค และทำหน้าที่กระตุ้นการผลิตสารอินเตอร์เฟียรอน ในการผลิตเม็ดเลือดขาวที่มีหน้าที่โจมตีเชื้อโรคที่หลุดเข้ามาในร่างกายด้วย บางครั้งที่คุณเป็นไข้สูง อาจจะเพราะเป็นไข้หวัด หลังจากเจาะเลือดแล้วพบว่าเม็ดเลือดขาวมากกว่าปกติ คุณหมออาจจะไม่ได้สั่งยาใดๆ ให้คุณเลยก็ได้ เพียงแต่บอกให้คุณทานผัก ผลไม้ ที่มีวิตามินสูงมากเพิ่มขึ้นเป็นพิเศษ พักผ่อนและดื่มน้ำมากๆ ความไม่สบายนั้นก็จะหายไปได้เอง
แม้ว่าวิตามินซีจะเปี่ยมไปด้วยสรรพคุณเพียงไหน แต่ถ้าหากรักตัว กลัวโรคภัยแล้วล่ะก็ ต้องเลือกที่จะละ และเลิก สูบ หรือเสพย์ มลพิษต่างๆ เข้าสู่ร่างกายเสียที แต่ถ้ากลัวเหงาปากล่ะก็ลองเลือกผลไม้สดๆ มาเคี้ยวแทน หรือดื่มน้ำผักผลไม้ก็น่าจะดีกว่าเป็นไหนๆ
การดูแลรักษาปอดให้แข็งแรง
- การดูแลสุขภาพทั่วไป การออกกำลังกายเพื่อเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อหายใจ การรับประทานอาหารที่เหมาะสม จะช่วยให้คุณภาพชีวิตของผู้ป่วยดีขึ้นได้ส่วนหนึ่ง ผู้ป่วยโรคนี้จึงควรหมั่นออกกำลังกายเท่าที่พอจะทำไหวอย่างสม่ำเสมอ
- ไม่สูบบุหรี่ หลีกเหลี่ยงจากการสูดดมฝุ่นละออง กลิ่นบุหรี่ ไม่ให้ปอดที่มีสภาพดีอยู่ต้องทำงานหนัก และเป็นการรักษาสภาพปอดให้แข็งแรง
- หลีกเหลี่ยงสิ่งระคายเคืองต่อระบบการหายใจ เช่น สถานที่ที่มีฝุ่นละออง กลุ่มควัน
- หลีกเหลี่ยงสภาพอากาศที่เต็มไปด้วยสิ่งกระตุ้น เช่น สถานที่มีฝุ่นละออง ก๊าซ ควัน จำนวนมาก
- นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ
- สวมเสื้อผ้าให้หนา เพื่อความอบอุ่นต่อร่างกาย เวลานอนควรห่มผ้าปิดหน้าอกให้มิดชิด ในรายของผู้ป่วยที่เป็นโรคถุงลมโป่งพอง ระบบหายใจจะทำงานหนักและเป็นไปได้ไม่ดีนักในสภาพอากาศหนาวเย็น ควรทำให้ร่ายกายอบอุ่นอยู่เสมอ
- ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ แต่ควรหลีกเหลี่ยงการออกกำลังกายแบบหนัก ๆ ควรใช้การออกกำลังกายแบบกายภาพบำบัด การเดินช้า ๆ และควรหลีกเหลี่ยงการทำงานแบบหนัก ๆ เพราะผู้ป่วยที่เป็นโรคถุงลมโป่งพองจะเหนื่อยง่าย การออกกำลังกายแบบที่เหมาะสมเป็นสิ่งจำเป็นเพราะผู้ป่วยต้องใช้อวัยวะหลาย ส่วนที่เกี่ยวข้องในการหายใจ และกล้ามเนื้อต่าง ๆทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น การออกกำลังแบบเบา ๆ จะช่วยให้อวัยวะในการหายใจแข็งแรงและทำงานได้ดียิ่งขึ้น
- รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่าง กาย ในผู้ป่วยที่เป็นโรคถุงลมโป่งพอง ควรรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ และถูกสุขลักษณะ เพราะคนที่เป็นผู้ป่วยถุงลมนี้ จะต้องใช้พลังงานในร่างกายในการหายใจมากกว่าคนปกติ 3-4 เท่าหรือมากกว่านั้น เพราะฉะนั้นเป็นสาเหตุหนึ่งที่สำหรับสภาพร่างกายผู้ป่วยผอม และน้ำหนักลดลง อาหารที่จำเป็นสำหรับผู้ป่วย เป็นอาหารย่อยง่ายและไม่แข็งจนเกินไป เพราะถ้าอาหารแข็งเกินไป ผู้ป่วยจะต้องสูญเสียพลังงานในการเคี้ยวอาหาร นั้นด้วย
- ส่วนปริมาณในการรับประทานอาหารเป็น สิ่งจำเป็นที่ควรคำนึงถึง ในผู้ป่วยโรคถุงลมโป่งพอง ควรรับประทานอาหารในปริมาณไม่มากจนเกินไปในแต่ละมื้อ แต่ควรเพิ่มจำนวนมื้อที่รับประทานให้บ่อยครั้งขึ้น โดยเฉพาะในตอนเช้าควรรับประทานอาหารในปริมาณที่มากพอ เพราะร่างกายขาดอาหารมาตลอดคืน ควรได้รับปริมาณอาหารที่เพียงพอในตอนเช้า แต่ไม่ใช่ในปริมาณที่มากเกินไป เพราะจำทำให้ระบบหายใจทำงานหนัก เพราะฉะนั้น การรับประทานอาหารควรคำนึงถึง จำนวนมื้อ ชนิดของอาหาร และปริมาณ
- อาหารที่ควรหลีกเหลี่ยง มักจะเป็นอาหารจำพวก
ที่ทำให้เกิดแก๊ส และมีกลิ่นฉุน เช่นกระเทียม ขึ้นช่าย หอมแดง เป็นต้น ไม่ใช่เพียงแค่อาหารที่ควรคำนึง
ส่วนผสมและเครื่องปรุงเป็นสิ่งจำเป็น มาก โดยเฉพาะ เกลือ และ เครื่องปรุงรสที่มีรสเค็ม เนื่องจาก รสเค็ม หรือ โซเดียม จะมีผลทำให้ร่างกายมีการสะสมของน้ำใจปริมาณมาก และหัวใจทำงานหนัก รวมไปถึงระบบการหายใจเป็นไปค่อยข้างลำบาก
- หลีกเหลี่ยงอาหารกระป๋อง และอาหารสำเร็จรูป เนื่องจากมีส่วนผสมของโซเดียมเป็นจำนวนมาก
- งดเครื่องดื่มที่เป็นคาเฟอีน อาหารประเภท ชา กาแฟ
- โปรตีน มีส่วนเสริมสร้างกล้ามเนื้อในการหายใจ แหล่งที่มาของโปรตีนได้แก่ นม เนื้อหมู เนื้อปลา ถั่ว
- น้ำผลไม้ที่มีวิตามินซีสูง เป็นสิ่งจำเป็น เพราะ ในวิตามินซีจะมีสารต้านอนุมูลอิสระช่วยเสริมสร้างเม๊ดเลือดแดง เช่นน้ำส้ม น้ำแครอท
- ผักและผลไม้ที่ทานง่าย และย่อยง่าย เป็นสิ่งจำเป็นอุดมไปด้วยวิตามิน และ แร่ธาตุสำหรับร่างกาย
- การดื่มน้ำบริสุทธิ์เป็นสิ่งสำคัญ ในการช่วยลดเสมหะที่ข้น และ เหนียวในลำคอให้เหลว และขับถ่ายได้ง่ายขึ้น เพราะฉะนั้นผู้ป่วยควรจะดื่มน้ำให้เพียงพอ ถ้าร่างกายขาดน้ำจะทำให้เสมหะ เหนียวข้น ทำให้มีผลต่อการหายใจได้ลำบากมากขึ้น
- การฝึกการหายใจเป็นสิ่งสำคัญ ควรแบ่งเวลาในการฝึกหายใจ โดยนั่งในสถานที่โล่ง โปร่งสบาย มีอากาศถ่ายเท ฝึกหายใจโดยการฝึกหายใจเข้าลึก ๆ ช้า ๆ และค่อย ๆ ผ่อนหายใจออก พยายามให้ปอดส่วนล่างขยายตัวด้วยการสูดอากาศเข้าจนซี่โครงส่วนล่าง ๆ ขยายออกเต็มที่หน้าท้องออก ควรฝึกครั้งละ 10-15 นาที ให้เป็นกิจวัตรทุกวัน ช่วยให้ปอดแข็งแรง และระบบหายใจทำงานเป็นปกติขึ้น
- การหายใจเข้า และ ออก เป็นสิ่งจำเป็นสำหรับผู้ป่วย เพราะการหายใจเข้าหมายถึงการนำออกซิเจนเข้าไปทางปอด และนำเข้าสู่ระบบหายใจของร่ายกายและระบบต่าง ๆ ส่วนการหายใจออก หมายถึงการ นำอากาศเสียภายในปอด เช่น คาร์บอน ในปอด ออกสู่ภายนอก เพราะฉะนั้นในผู้ป่วยถุงลมโป่งพองจะมีปัญหาการไม่สามารถหายใจเข้านำออกซิเจน ไปใช้ได้รวมถึงการนำคาร์บอนออกจากระบบหายใจด้วย เพราะฉะนั้นการฝึกหายใจเข้า และ ออก เป็นสิ่งจำเป็นยิ่งสำหรับผู้ป่วย
- การบริหารร่างกายเพื่อให้กล้ามเนื้อ ช่วยการหายใจแข็งแรงขึ้น และการหายใจอย่างถูกวิธี จะช่วยทำให้อาการเหนื่อยนั้นลดน้อยลงได้ เพราะฉะนั้นการออกกำลังกายอย่างเหมาะสมเท่าที่ผู้ป่วยทำไหว และสม่ำเสมอจึงเป็นเรื่องสำคัญ
- หลีกเหลี่ยงการใกล้ชิดกับบุคคลที่มี ปัญหาทางด้านระบบหายใจ เช่น คนเป็นหวัด เป็นไข้ หรือบุคคลที่เราสงสัยว่าจะสามารถเป็นตัวพาหนะนำเชื้อโรคเข้าสู่ปอด
- หลีกเหลี่ยงสภาวะอากาศที่เย็นมาก เพราะอากาศเย็นทำให้หลอดลม ลีบ และเล็กลงทำให้หายใจลำบาก
อากาศร้อนมาก ทำให้ปอดและหัวใจทำงานหนัก ทำให้เหนื่อยง่าย เพราะฉะนั้นในหน้าร้อน อากาศในห้องแอร์ที่อุณหภูมิเหมาะสม สำหรับผู้ป่วยรู้สึกสบายขึ้น
สถานที่ที่อยู่สูงมากจนเกินไป เช่น บนเขา เพราะบนเขา ออกซิเจนต่ำกว่าปกติ ทำให้หายใจได้ไม่สะดวกและต้องใช้พลังงานมากในการหายใจ หรือระหว่างการเดินทางบนเครื่องบน ถ้าจำเป็นควรปรึกษาแพทย์เรื่องการนำออกซิเจนสำรองมาใช้
- หลีกเหลี่ยงสภาพอากาศที่เต็มไปด้วยสิ่งกระตุ้น เช่น สถานที่มีฝุ่นละออง ก๊าซ ควัน จำนวนมาก
- ฝึกการผ่อนคลาย และวิธีอื่นในการกำจัดความเครียด เพราะความเครียดจะทำให้ระบบการหายใจผิดปกติและลำบาก
- การฝึกจิตให้คิดแต่ในแง่บวก จะช่วยให้อารมณ์แจ่มใส ระบบหายใจทำงานเป็นปกติ พระพุทธองค์กล่าวว่า จิตอยู่ที่ไหน พลังอยู่ที่นั่น ไอน์สไตน์มีความเชื่อว่า พลังที่รุนแรงที่สุด สู้พลังจิตไม่ได้
- การฝึกคิดแบบตรงกันข้าม จะช่วยแก้เครียด เสริมสร้างให้อารมณ์แจ่มใส เพราะอารมณ์มีผลต่อภาวะการเป็นกรด ด่างในเลือด พอเครียด ร่างกายจะเกิดกรด จะมีคาร์บอนสูงมาก
- การแก้เลือดเป็นกรด แก้ได้สองอย่าง กินพืชผักผลไม้ให้มาก ๆ เพื่อเพิ่มโปแตสเซียม อีกอย่างคือหายใจเอาออกซิเจนเข้ามามาก ๆ เพราะยิ่งออกซิเจนเข้าไปในเลือดมากเท่าไหร่ ยิ่งทำให้เลือดเราเป็นด่าง แต่ถ้าเราไม่ฝึกหายใจเอาออกซิเจนเข้าไป เลือดเราเป็นกรด เพราะเลือดเราจะมีคาร์บอนไดออกไซด์สูงมาก พวกนี้จะปวดเมื่อยร่างกายมาก เขาจึงให้ฝึกหายใจเพื่อเอาคาร์บอนไดออกไซด์ออกไป แล้วเอาออกซิเจนเข้ามา มันถึงจะหายปวดเมื่อย
- เรื่องน้ำหนักตัว เป็นสิ่งสำคัญ ไม่ควรมีน้ำหนักมากเกินไปจะเป็นผลเสียต่อผู้ป่วยเพราะต้องออกแรงมากขึ้น เนื่องจากต้องแบกรับน้ำหนักตัวเองในขณะทำงาน และกล้ามเนื้อช่วยในการหายใจจะมีประสิทธิภาพน้อยลงในคนอ้วน หรือถ้าผู้ป่วยมีน้ำหนัก น้อยเกินไป ร่างกายก็จะอ่อนแอ ความต้านทานต่อการเกิด โรคลดลง เมื่อเกิดการติดเชื้อหรือป่วย ทำให้การฟื้นตัวช้า และ ร่างกายก็จะไม่มีพลังงานมากพอในการใช้ในการหายใจ เพราะ ผู้ป่วยต้องใช้พลังงานมากกว่าคนปกติในการหายใจ เพราะฉะนั้น การรับประทานอาหารเป็นสิ่งสำคัญ ต้องทานอาหารให้มีประโยชน์ ย่อยง่าย เพราะอาหารที่ย่อยง่ายผู้ป่วยไม่ต้องเสียพลังงานในการเผาผลาญอาหาร อาหารจะถูกนำไปใช้ได้เลยในระบบร่างกาย
สรุปหัวข้อในการดูแลรักษา
• หลีกเลี่ยงการหายใจเอาสารมลภาวะเป็นพิษเข้าไป โดยเฉพาะการงดสูบบุหรี่ หรือสูดดม
• การประเมินความรุนแรงของโรคเพื่อให้การรักษาที่เหมาะสมด้วยแพทย์
• การตรวจและรักษาโรคร่วมอื่นๆที่อาจเกิดร่วมด้วย เช่น โรคหัวใจ
• โภชนาการและน้ำหนักตัวที่เหมาะสม
• สุขภาพทางจิตใจของผู้ป่วย
• การฟื้นฟูสมรรถภาพของปอดและของร่างกายทั้งหมด
• การป้องกันและรักษาอาการกำเริบของโรคแต่เนิ่นๆ
• การสอนผู้ป่วยให้เข้าใจถึงโรคและการช่วยเหลือตัวเองได้
• การสอนญาติให้เข้าใจเพื่อช่วยเหลือดูแลอาการของผู้ป่วยได้อย่างถูกต้อง
• การศึกษาและเข้าใจลักษณะอาการของโรคเป็นสิ่งสำคัญ จะทำให้ผู้ป่วยรู้ถึงสาเหตุของโรคและวิธีการรักษาสุขภาพได้อย่างถูกต้อง
ฝึกการหายใจในผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง
ผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้น เรื้อรังอันได้แก่โรคหลอดลมอักเสบเรื้อรัง และโรคถุงลมโป่งพอง มักจะมีการระคายเคืองต่อผนังหลอดลม และถุงลม มีเสมหะมากมีการอักเสบเรื้อรัง เป็นผลให้การทำงานของปอดลดลง รู้สึกเหนื่อยง่าย ร่างกายทำงานได้ไม่เต็มที่ และสูญเสียโอกาสในการประกอบอาชีพ คนที่ป่วยด้วยโรคนี้จึงต้องได้รับการดูแลรักษาจากแพทย์ พร้อมกับรับคำแนะนำในการฝึกวิธีหายใจที่ถูกต้อง การออกกำลังกายเพื่อสร้างความต้านทานโรค รวมถึงการปฏิบัติตัว
1. การหายใจด้วยกระบังลม
กระบังลมเป็นกล้ามเนื้อหลักที่ใช้ในการ หายใจ คนที่มีปัญหาโรคปอดมักจะมีรูปแบบการหายใจที่ผิดจากคนปกติทั่วไป คือมีแนวโน้มที่จะใช้กล้ามเนื้อหน้าอก คอและไหล่ในการหายใจ ซึ่งจะสิ้นเปลืองแรงมาก และทำให้อาการหอบทุเลาช้ายิ่งขึ้น หากท่านสังเกตดูเด็กทารกหรือคนปกติเวลาหลับสนิท จะพบว่าท้องจะป่องออกขณะหายใจเข้าเพราะว่ากระบังลมหดตัวลงมา ทำให้กระเพาะอาหาร และสำไส้ถูกดันออกมา ขณะหายใจออกกระบังลมจะคลายตัวกลับขึ้นไปทำให้ท้องยุบลง การหายใจด้วยกระบังลมจะเป็นเช่นนี้โดยธรรมชาติ ดังนั้นขอให้ท่านมั่นใจได้เลยว่าท่านจะสามารถทำได้แน่
• นั่งลง วางมือหนึ่งไว้บนหน้าอก อีกมือวางบนท้องใต้กระดูกอกผ่อนคลาย
• หายใจเข้าตามปกติสบาย ๆ จะรู้สึกว่าท้องป่องออก มือที่วางบนอกจะไม่เคลื่อนไหวมากนัก และการดูแลตัวเอง เพื่อหลีกเลี่ยงอาการแทรกซ้อนต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้น
การหายใจเป็นกลไกปกติที่มีมาตั้งแต่กำเนิด แต่ท่านจะทราบได้อย่างไรว่าขณะนี้ท่านหายใจได้ถูกต้องมีประสิทธิภาพ และเป็นประโยชน์ต่อร่างกายเพียงใด หลักการของการฝึกการหายใจ ก็เพื่อที่จะเพิ่มปริมาณอากาศบริสุทธิ์ให้เข้าสู่ปอด และมีการแลกเปลี่ยนของออกซิเจน และคาร์บอนไดออกไซด์ได้อย่างมีประสิทธิภาพที่สุด
• หายใจออกทางปากช้า ๆ ท้องจะยุบ ทำครั้งละ 5 นาที
• ต่อจากนั้นอาจทะในท่ายืน 5 นาที ท่านอนอีก 5 นาที ดังรูป
ควรฝึกหายใจด้วยกระบังลมวันละ 3 ครั้ง ควรใส่เสื้อผ้าหลวม ๆ หรือคลายเข็มขัดก่อน จำไว้เสมอว่าถ้าท่านฝึกแล้วรู้สึกเหนื่อย อาจเป็นเพราะท่านทำไม่ถูกต้อง ให้พยายามผ่อนคลาย แล้วลองทำใหม่เมื่อหาย
2. การหายใจแบบเป่าปาก จะช่วยระบายอากาศที่คั่งค้างอยู่ในถุงลม ทำให้อากาศใหม่มีโอกาสเข้าไปในปอด
• ผ่อนคลายหายใจเข้าทางจมูก นับหนึ่ง–สอง ไม่ควรสูดลมเข้าแรง ๆ
• ห่อริมฝีปากคล้ายจะผิวปาก ระบายลมหายใจออกช้า ๆ อย่าพ่นแรง นับหนึ่ง-สอง-สาม-สี่ ฝึกอย่างน้อยวันละ 3 ครั้ง ๆ ละ 5 นาที ในท่านั่ง นอน หรือยืนก็ได้
การหายใจทั้ง 2 แบบนี้ ไม่ใช่สิ่งที่ยากเลยเมื่อเทียบกับประโยชน์มหาศาลที่ท่านจะได้รับ จึงควรฝึกบ่อย ๆ จนกระทั่งทำได้เป็นนิสัย ท่านก็จะทำได้โดยอัตโนมัติไม่ว่าท่านกำลังทำกิจกรรมใด ๆ อยู่ เรียกว่าทำให้กลายเป็นธรรมชาติของตัวท่านเอง
รักษาผู้ป่วยที่มีภาวะหอบเหนื่อย
โดยทั่วไปแล้ว ภายหลังจากการที่ทำการ ระบายเสมหะออกมาแล้วซึ่งอาจจะโดยการไอหรือ การดูดเสมหะ ผู้ป่วยมักจะมีอาการหอบเหนื่อย โดย เฉพาะในผู้ป่วยประเภทถุงลมโป่งพอง (COPD; Chronic Obstructive Pulmonary Disease) ทาง กายภาพบำบัดจะให้การรักษาโดยการฝึกหายใจ เพื่อ ลดอาการเกร็งตัวของหลอดลม, ลดภาวะการณ์หายใจ สั้นรวมทั้งเพิ่มประสิทธิภาพในการหายใจให้ใกล้เคียงกับปกติมากที่สุด ซึ่งวิธีการหายใจที่ใช้โดยทั่วไปจะ เรียกว่า การหายใจแบบห่อปาก (pursed lip breathing)
ภาพแสดงการหายใจแบบห่อปาก (pursed lip breathing) ในผู้ป่วยที่มีภาวะหอบหนื่อย
วิธีการหายใจแบบห่อปาก ( Pursed lip breathing)
เริ่มจากจัดให้ผู้ป่วยนั่งโน้มตัวมาด้านหน้า เล็กน้อยผู้ป่วยหายใจเข้าทางจมูกให้ลึกมากที่สุด ค้าง ไว้ประมาณ 3-4 วินาที จากนั้นหายใจออกทางปาก โดยผู้ป่วยต้องทำการห่อปากให้เล็กมากที่สุดและ เป่าลมออกให้ช้าและยาวที่สุดเท่าที่จะทำได้ เมื่อหายใจออกจนหมดลมแล้ว ให้ทำการหายใจเข้าทาง จมูกอีกครั้งและหายใจออกทางปากโดยการห่อปาก เหมือนเดิม โดยการฝึกหายใจโดยการห่อปากนี้ควร จะทำประมาณ 6-8 ครั้ง ต่อรอบ และพักประมาณ 1-2 นาที แล้วจึงทำซ้ำอีก 2รอบ การหายใจแบบนี้ผู้ป่วย สามารถ ทำได้ทุกครั้งเมื่อมีอาการหอบเหนื่อย
จากนั้นจะเป็นการฝึกให้ผู้ป่วยมีความทนทาน ในการทำกิจวัตรประจำวันให้ดีขึ้นโดยไม่มีการจำกัด จากการหอบเหนื่อย ซึ่งวิธีการนั้นมักจะเป็นการ ออกกำลังกายแบบแอโรบิค ถ้าผู้ป่วยมีอาการเหนื่อย มากจะเริ่มจากการหมุนไหล่ประมาณ 20 ครั้ง และถ้าไม่มี อาการเหนื่อย สามารถเพิ่มเป็น 40 ครั้ง จากนั้นหาก ผู้ป่วยสามารถทำกิจกรรมได้อีก จะทำการเปลี่ยนเป็น
ผู้ป่วยต้องเตรียมตัวให้พร้อมเมื่อไปพบแพทย์
- สมุดโน้ต สำหรับผู้ป่วยเป็นสิ่งสำคัญ เพื่อบันทึกข้อมูลและคำแนะนำจากแพทย์
- คำถามที่ควรถามแพทย์ประจำตัว
* ขอคำปรึกษาเรื่องอาหาร อาหารที่ควรทาน และไม่ควรทาน
* มีวิตามินใดบ้างที่ควรทานเพิ่มเติม เพื่อสร้างภูมิต้านทานให้กับร่างกาย
* ความรู้เรื่องยาที่ได้รับ ปริมาณการใช้ยาในแต่ละอาการ ระยะห่างในการใช้ยา รวมถึงผลข้างเคียงในการใช้ยา
*อาการ หรือ ลักษณะการหายใจแบบใดที่ไม่ควรละเลย และควรพบแพทย์ทันที
- ควรบันทึกชื่อยา และปริมาณยาที่ใช้ เพื่อบันทึกไว้เป็นข้อมูลสำหรับการรักษา
- ควรบันทึกรายละเอียดของอาการ ระยะห่างของการเกิดอาการ ปริมาณยาที่ใช้แต่ละครั้ง
- ควรบันทึกการใช้ยาและปริมาณยาที่ควรใช้ในแต่ละชนิดให้ละเอียด เพื่อที่ญาติของผู้ป่วยจะช่วยเหลือได้ ในกรณีที่ผู้ป่วยไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้
แหล่งที่มา : ac127.wordpress.com