รู้ทัน หืด ตอนตั้งครรภ์ ภูมิแพ้กับหืด...เกี่ยวกันอย่างไร มั่นตรวจลดความเสี่ยง


1,075 ผู้ชม


รู้ทัน หืด ตอนตั้งครรภ์ ภูมิแพ้กับหืด...เกี่ยวกันอย่างไร มั่นตรวจลดความเสี่ยง

 
รู้ทัน ‘หืด’ ตอนตั้งครรภ์


จากสถิติโรคหืดในคุณแม่ตั้งครรภ์ เราพบว่า... 
          1 ใน 3 อาการเท่าเดิม 
          1 ใน 3 จะมีอาการกำเริบน้อยลง ซึ่งส่วนมากมักพบในกรณีที่ไม่เป็นโรคหืดแบบรุนแรงก่อนตั้งครรภ์
          1 ใน 3 มีอาการรุนแรงขึ้น โดยเฉพาะผู้ที่มีอาการรุนแรงอยู่เดิมก่อนตั้งครรภ์ อาการมักจะรุนแรงในช่วงสัปดาห์ที่ 24 – 36 ของการตั้งครรภ์ และมีเพียง 1 ใน 10 เท่านั้นที่มีอาการหอบกำเริบขณะคลอด ส่วนใหญ่อาการของหืดระหว่างตั้งครรภ์ที่สองมักจะมีอาการเช่นเดียวกับครรภ์แรก 
หลังคลอด 3 เดือนอาการก็จะกลับสู่สภาพเดิมก่อนตั้งครรภ์

          สำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์ที่เป็นโรคหืด หากไม่ต้องการให้อาการกำเริบ มีหลายปัจจัยที่ต้องเลี่ยงและต้องเริ่มทำตั้งแต่วันแรกที่รู้ว่าตั้งครรภ์ เพื่อสุขภาพแข็งแรง ปลอดภัยทั้งแม่และลูกค่ะ
หืดกับแม่ท้อง

รู้ทัน หืด ตอนตั้งครรภ์ ภูมิแพ้กับหืด...เกี่ยวกันอย่างไร มั่นตรวจลดความเสี่ยง          หืดเป็นโรคที่มีการอุดตันของหลอดลมในปอด เกิดจากการหดตัวของกล้ามเนื้อรอบหลอดลม ทำให้อากาศผ่านเข้าสู่ปอดได้น้อย เยื่อบุหลอดลมมีการอักเสบ บวม แดง และมีเสมหะอุดตัน ส่งผลให้เกิดอาการแน่นและเจ็บหน้าอก เมื่อหายใจมีเสียงวี้ด หายใจไม่อิ่ม และไอ ซึ่งอาการจะกำเริบเมื่อถูกกระตุ้นโดยสารก่อภูมิแพ้ เช่น ละอองเกสร ไรฝุ่น เชื้อรา โปรตีนสัตว์ การติดเชื้อ ควันบุหรี่ ความเครียด ฯลฯ 
 ผลต่อโรคหืดของคุณแม่เมื่อตั้งครรภ์แบ่งเป็น 2 ช่วงด้วยกันคือ
          การตั้งครรภ์ช่วงแรก   
          เมื่อน้ำหนักตัว ปริมาณน้ำในร่างกาย ปริมาณเลือด เกลือโซเดียม ในร่างกายเพิ่มขึ้น ส่งผลให้หัวใจต้องทำงานมากขึ้น โดยในช่วงแรกของการตั้งครรภ์จะพบว่ามีการหายใจลำบากในช่วงเวลานอนได้สูงถึง 75 % แต่ไม่พบว่ามีอาการไอหรือหอบร่วมด้วย
          การตั้งครรภ์ช่วงท้าย 
          จะพบว่าปริมาตรของอากาศที่เหลือค้างอยู่ในปอดหลังจากหายใจออกตามปกติลดลง ทำให้บริเวณที่ปอดบางส่วนไม่สามารถแลกเปลี่ยนออกซิเจนได้สมบูรณ์ ซึ่งอาจจะทำให้อาการหืดเพิ่มขึ้น นอกจากนี้ร่างกายยังมีการสร้างสารต่างๆ ที่อาจจะมีผลต่อการหดหรือขยายตัวของหลอดลม เช่น สารที่สร้างจากรกอาจทำให้โรคหืดมีอาการกำเริบขึ้น แล้วร่างกายจะสร้างสารสเตียลอยด์บางอย่างเพิ่มขึ้นระหว่างตั้งครรภ์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งช่วงเดือนสุดท้ายและในช่วงคลอดซึ่งอาจทำให้โรคหืดดีขึ้น แต่ก็พบว่าอวัยวะต่างๆ อาจตอบสนองต่อสเตียลอยด์ดังกล่าวน้อยลงด้วย
          ส่วนฮอร์โมนเอสโตรเจนที่เพิ่มขึ้น ทำให้เลือดบริเวณเส้นเลือดฝอยในโพรงจมูกเกิดคั่งให้มีแน่นจมูกโดยเฉพาะช่วงเดือนสุดท้ายของการตั้งครรภ์ และฮอร์โมนโปรเจสเตอโรน ทำให้เกิดอาการหายใจไม่อิ่ม ซึ่งจะไปสับสนกับอาการของโรคหืด การตรวจวัดสมรรถภาพการทำงานของปอด จะช่วยในการแยกได้ว่าอาการเหล่านี้เกิดจากโรคหืดหรือไม่

ดูแลอย่างไร 
          อาการของโรคหืดมักเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ เดี๋ยวสงบเดี๋ยวกำเริบ เรียกว่าแต่ละวันอาการอาจไม่เหมือนกัน แผนการรักษาโรคหืดโดยเฉพาะคุณแม่ตั้งครรภ์ จึงเป็นแผนเฉพาะบุคคลต้องคำนึงถึงระดับความรุนแรงของโรค และประสบการณ์การใช้ยาต่างๆ ด้วย และอย่าลืมว่าต้องเลี่ยงสารก่อภูมิแพ้ที่ตนแพ้ควบคู่ไปด้วย โดยยาที่หมอใช้จะยึดหลักให้ผลเสียจากการใช้ยานั้นต้องต่ำกว่าผลเสียที่เกิดจากโรคที่ไม่ได้รับการรักษาอย่างถูกต้องไว้เสมอ และเลือกยาที่ให้การทำงานของปอดอยู่ในเกณฑ์ปกติ และใช้ยาน้อยที่สุดเท่าที่จำเป็นค่ะ
          + วัคซีน การฉีดวัคซีนภูมิแพ้ Immunotherapy หากฉีดมาแล้วตั้งแต่ก่อนตั้งครรภ์และได้ผลดีในการรักษาโรค แต่ก็สามารถฉีดต่อเนื่องไปได้ระหว่างตั้งครรภ์หากไม่มีอาการข้างเคียง บางรายคุณหมออาจจะปรับปริมาณวัคซีนลดลงจากก่อนตั้งครรภ์ เพื่อลดโอกาสการแพ้วัคซีน แต่สำหรับคนที่ไม่เคยฉีดมาก่อน ไม่ควรเริ่มต้นการฉีดวัคซีนนี้ขณะตั้งครรภ์
รู้ทัน หืด ตอนตั้งครรภ์ ภูมิแพ้กับหืด...เกี่ยวกันอย่างไร มั่นตรวจลดความเสี่ยง          + ยา  คุณหมอนิยมให้ใช้ยาพ่นสูดมากกว่ายากินเพราะเป็นยาเฉพาะที่ได้ผลดี มีผลข้างเคียงน้อยกว่ายากิน และดูดซึมเข้าสู่กระแสเลือดต่ำมาก และใช้ยาที่ใช้กันมานานแล้วมากกว่ายาที่เพิ่งวางตลาด แต่ช่วงตั้งครรภ์ 3 เดือนแรก คุณหมอจะพยายามใช้ยาให้น้อยที่สุดเท่าที่จำเป็นเพราะเป็นช่วงที่ทารกกำลังสร้างอวัยวะต่างๆ แม้ว่าจากสถิติเราจะพบว่าในทารกที่พิการแต่กำเนิดนั้น สาเหตุที่มาจากการใช้ยามีไม่ถึง 1% ก็ตาม
                 - ระหว่างการเจ็บครรภ์  การคลอดและระยะให้นมบุตร เรามักใช้ยาเดียวกันกับที่ใช้มาระหว่างตั้งครรภ์
                 - ระหว่างให้นมบุตร  เพื่อลดปัญหาของยาที่ผ่านน้ำนมแม่สู่ทารก คุณแม่ควรรับประทานยาหลังให้นมบุตร 15 นาที หรือ 3-4 ชั่วโมงก่อนให้นมลูก และยาเกือบทุกชนิดสามารถผ่านน้ำนมแม่สู่ทารกได้ ทารกจึงอาจได้รับยาไปด้วย แต่ในปริมาณเล็กน้อยจนมักไม่ค่อยเกิดปัญหา แต่ถ้าหากใช้ยาในปริมาณสูง อาจพบอาการข้างเคียงในทารกด้วย เช่น นอนไม่หลับ กระสับกระส่าย แบบที่พบในยา Theophylline
          + ธรรมชาติบำบัด การดูแลตัวเองของคุณแม่จะส่งผลดีทั้งต่อสุขภาพของทั้งแม่และลูก หากดูแล ลด และเลี่ยง ปัจจัยที่จะทำให้เกิดโรคก็จะช่วยลดการใช้ยาลงได้
                 1. หมั่นตรวจวินิจฉัยโรคอย่างละเอียด เพื่อประเมินความรุนแรงของอาการภูมิแพ้อย่างถูกต้อง
                 2. ตรวจหาตัวกระตุ้นที่จะทำให้อาการกำเริบ  ซึ่งควรทดสอบภูมิแพ้ตั้งแต่ก่อนตั้งครรภ์  เพื่อจะได้หลีกเลี่ยงสาเหตุที่ทำให้อาการของโรคกำเริบ โรคภูมิแพ้และโรคหืด เป็นโรคที่มีเกี่ยวข้องกันประมาณ 75 -85 % ของผู้ป่วยโรคหืด มักแพ้ต่อสารก่อภูมิแพ้ชนิดใดชนิดหนึ่งหรือหลายชนิด เช่น ไรฝุ่น ละอองเกสร เชื้อรา โปรตีนสัตว์ การได้รับสารก่อภูมิแพ้เหล่านี้จะกระตุ้นให้อาการกำเริบ หรือซ้ำเติมให้อาการมากขึ้นได้ แต่หากรักษาและควบคุมอย่างถูกต้องก็จะลดความเสี่ยงดังกล่าวลงได้ด้วยการปฏิบัติตัวของคุณแม่
                 3. ดูแลสุขภาพให้ดีทั้งสุขภาพกายและใจ หลีกเลี่ยงอาหารที่เสี่ยงต่อการแพ้ หรือไม่รับประทานปริมาณมาก เช่น อาหารทะเล ถั่วลิสง แม้ว่าจะยังไม่มีหลักฐานที่แน่ชัดว่าจะลดภูมิแพ้ในทารกลงได้
                 4. ดื่มนมวัวไม่เกินวันละ 2 แก้ว เพราะถ้าดื่มมากไป อาจมีผลให้ทารกแพ้นมวัวได้สูงกว่าปกติ
                 5. ปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์อย่างสม่ำเสมอ  เพื่อลดโอกาสที่โรคจะกำเริบ ไม่ควรซื้อยาใช้เอง ส่วนวิตามิน อาหารเสริม และควรใช้ปริมาณที่สูติแพทย์แนะนำ
                 6. หลังคลอดควรให้นมลูกอย่างน้อย 4-6 เดือน และระหว่างนี้ไม่ควรรับประทานอาหารที่เสี่ยงต่อการแพ้ในปริมาณมาก เพราะสารอาหารเหล่านี้อาจผ่านน้ำนมแม่ไปสู่ลูกได้ หากคุณแม่ได้รับการดูแลอย่างต่อเนื่องก็จะปลอดภัยทั้งแม่และลูก

มั่นตรวจลดความเสี่ยง

          การหมั่นตรวจเช็คสุขภาพทั้งแม่และทารกในครรภ์เป็นระยะๆ จะช่วยป้องกันอันตรายจากโรคนี้ได้ โดยดูจากอายุครรภ์และปัจจัยเสี่ยงของแม่เป็นหลัก
          + ตรวจอัลตร้าซาวนด์ สามารถตรวจได้ตั้งแต่อายุครรภ์ 3 เดือนแรก และทำซ้ำได้เป็นระยะๆ หากสงสัยว่าทารกในครรภ์จะมีการเจริญเติบโตช้าผิดปกติ
          + ตรวจวัดการเต้นของหัวใจทารก (หรือที่เรียกว่า Non-stress Testing หรือ Contraction-stress Testing)
          + หากอาการโรคหืดกำเริบบ่อย นอกจากการตรวจวัดการเต้นของหัวใจทารกบ่อยๆ แล้ว คุณแม่ควรบันทึกการดิ้นของทารกทุกวัน เพื่อช่วยในการประเมินสุขภาพทารกในครรภ์ และการวัดอัตราการเต้นหัวใจทารกจึงมีความจำเป็นควบคู่ไปกับการวัดสมรรถภาพปอดของแม่

ผลถึงลูกในท้อง 
          หากคุณแม่ดูแลตัวเองไม่ดี ลูกมีโอกาสที่จะน้ำหนักตัวน้อย คลอดก่อนกำหนด ตายขณะคลอด เพราะหากอาการหืดกำเริบ จะมีผลให้ออกซิเจนในเลือดแม่ต่ำลง ทำให้ทารกในครรภ์ซึ่งต้องการออกซิเจนผ่านเลือดแม่ทางสายสะดือ ได้รับออกซิเจนต่ำไปด้วย
การรักษาและควบคุมอย่างเหมาะสม พบคุณหมออย่างสม่ำเสมอ เพื่อตรวจประเมินความรุนแรงของโรคและปรับยาให้เหมาะสม จะช่วยให้ทั้งแม่และลูกในครรภ์สุขภาพดีได้ค่ะ #
ภูมิแพ้กับหืด...เกี่ยวกันอย่างไร
รู้ทัน หืด ตอนตั้งครรภ์ ภูมิแพ้กับหืด...เกี่ยวกันอย่างไร มั่นตรวจลดความเสี่ยง          ภูมิแพ้ เป็นกลุ่มของโรคที่มีความผิดปกติของระบบภูมิต้านทาน โดยเป็นผลมาจาก 2 ปัจจัยรวมกัน ทางกรรมพันธุ์คือได้รับยีนส์ (gene) ที่ทำให้ภูมิต้านทานตอบสนองผิดปกตินี้จากบรรพบุรุษ แล้วมาได้รับผลกระทบจากสิ่งแวดล้อม คือได้รับสารก่อภูมิแพ้กระตุ้นอีกภายหลังทำให้เป็นโรคภูมิแพ้ขึ้น  ดังนั้นถ้ามีแต่ยีนส์ผิดปกติแต่ไม่ได้รับสารก่อภูมิแพ้ หรือได้รับสารก่อภูมิแพ้แต่ยีนส์ปกติก็จะไม่เกิดโรคภูมิแพ้
          จริงๆ แล้วอาการภูมิแพ้นั้นจะเกิดขึ้นตั้งแต่เด็ก เรียกว่าเกิดได้ทั้งจากการแพ้อาหาร เช่น นม และเมื่อโตขึ้นก็อาจจะแพ้สารก่อภูมิแพ้ที่หายใจเข้าไป เช่น ไรฝุ่น โปรตีนสัตว์ เชื้อเรา 
          สำหรับโรคภูมิแพ้ในคุณแม่ตั้งครรภ์นั้น ส่วนใหญ่แล้วทางการแพทย์จะเน้นในเรื่องของ โรคหืดและโรคจมูกอักเสบจากภูมิแพ้ เพราะพบได้บ่อยและส่งผลกระทบต่อการตั้งครรภ์สูงกว่าโรคภูมิแพ้ชนิดอื่น
          ในต่างประเทศมีหลักการส่งคุณแม่ท้องไปพบคุณหมอภูมิแพ้ใน 2 กรณีก็คือ 1.คุณแม่มีประวัติกรรมพันธุ์โรคภูมิแพ้ในครอบครัว และต้องการป้องกันทารกให้ลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคภูมิแพ้ 2.คุณแม่เป็นโรคหืดที่มีความรุนแรงปานกลางขึ้นไปหรือโรคหืดกำเริบบ่อยช่วงระหว่างที่ยังไม่ตั้งครรภ์


ขอขอบคุณ นิตยสาร Modern Mom

แหล่งที่มา : vcharkarn.com

อัพเดทล่าสุด