โรคโลหิตจาง อาการ สาเหตุการเกิดโรคโลหิตจาง การป้องกัน โรคโลหิตจาง
โรคโลหิตจางธาลัสซีเมีย
เป็นโรคที่เกิดจากความผิดปกติเม็ดเลือดแดงโดยถ่ายทอดจากพ่อแม่ทางกรรมพันธุ์ ผู้ป่วยจะมีอาการซีดพบในประเทศไทย และทั่วโลก
ธาลัสซีเมียมี 2 แบบ
1.พาหะ ซึ่งจะไม่แสดงอาการแต่มีความผิดปกติของเม็ดเลือด สามารถถ่ายทอดไปยังลูกหลานได้ โดยเฉลี่ยคนไทย มีผู้ที่เป็นพาหะของโรคนี้ถึงร้อยละ 30-40 หรือประมาณ 18 – 20 ล้านคน | |
2.เป็นโรค ซึ่งจะมีอาการแสดงของโรคและสามารถถ่ายทอดไปยังลูกหลานได้ พบในประเทศไทยประมาณ 500,000 คน โดยมีอาการต่างกันดังนี้ | |
| ชนิดรุนแรงที่สุด ทารกตายตั้งแต่อยู่ในครรภ์ หรือหลังคลอด |
| ชนิดรุนแรง แรกเกิดจะไม่มีอาการ แต่สังเกตเห็นชัดเมื่ออายุประมาณ 3-6 เดือน อาการที่สำคัญคือ ซีด อ่อนเพลีย ท้องป่อง ม้าม ตับโต มักซีดมากจนต้องรับเลือดเป็นประจำ |
| ชนิดปานกลางและชนิดรุนแรงน้อยจะซีดมากขึ้นเมื่อมีไข้ |
ปัจจุบันผู้ป่วยโรคโลหิตจางธาลัสซีเมียในประเทศไทยต้องใช้เลือดถึง 1ใน 3 หรือประมาณ 400,000 ยูนิตต่อปี | |
ขณะนี้ประเทศไทยอยู่ในภาวะขาดแคลนเลือดโดยเฉพาะเลือดที่ใช้กับผู้ป่วยเหล่านี้ต้องเตรียมด้วยวิธีพิเศษต่างๆซึ่งต้องเสียค่าใช้จ่ายสูงเป็นภาระของ ครอบครัวและงบประมาณของประเทศ | |
การป้องกันโรคเลือดจางธาลัสซีเมีย | |
เลือกคู่ ผู้ที่เป็นพาหะหรือเป็นโรค ทั้งหญิงและชาย ควรหลีกเลี่ยงการแต่งงานกันหรือหลีกเลี่ยงการมีลูกโดยการคุมกำเนิด | |
เลือกครรภ์ สำหรับผู้ที่ไม่เคยทราบมาก่อนว ่าเป็นพาหะหรือเป็นโรค ควรตรวจเลือดก่อนมีบุตรทั้งสามีและภรรยา | |
เลือกคลอด สำหรับคู่สมรสที่ตรวจเลือดแล้ว ทราบว่าเป็นพาหะทั้งคู่ อาจมีบุตรเป็นโรค ต้องไปพบแพทย์ทันทีที่รู้ว่าตั้งครรภ์เพื่อตรวจวินิจฉัยทารกในครรภ์ว่าปกติหรือไม่ | |
คำแนะนำสำหรับผู้ที่เป็นพาหะ | |
ควรวางแผนเพื่อหลีกเลี่ยงการมีลูกเป็นโรคเลือดจางธาลัสซีเมีย โดยพาคู่สมรสไปตรวจเลือดก่อนมีลูก ผู้ที่เป็นพาหะควรแนะนำให้ ญาติ พี่ น้องไปตรวจเลือดด้วย |
โลหิตจางจากภาวะขาดธาตุเหล็ก
เมื่อร่างกายต้องสูญเสียโลหิตไปเป็นปริมาณมาก ๆ เช่น ผ่าตัดใหญ่ คลอดบุตร อุบัติเหตุ สตรีที่มีประจำเดือนมากผิดปกติ (ปกติประมาณ 60-80 ซี.ซี./เดือน ) รวมถึงการบริจาคโลหิตครั้งละ 350-450 ซี.ซี.(หรือ10-12%ของปริมาณโลหิตในร่างกาย ) แผลในกระเพาะอาหาร มีโลหิตออกมากริดสีดวงทวาร ที่มีโลหิตออกเรื้อรัง หรือมีพยาธิปากขอในลำไส้ เป็นต้น |
ในภาวะเหล่านี้ร่างกายจะสูญเสียธาตุเหล็กมากกว่าปกติ (ร้อยละ 70 ของธาตุเหล็กในร่างกายอยู่ในเม็ดเลือดแดง ในรูปของ Hemoglobin) ถ้าไม่ได้ป้องกัน แก้ไขจะนำไปสู่การเกิดภาวะโลหิตจางจากการสูญเสียธาตุเหล็ก |
อาหารที่มีธาตุเหล็ก โดยปกติร่างกายได้รับธาตุเหล็กทางเดียวเท่านั้นคือจากอาหาร เช่น เลือด เนื้อสัตว์ เครื่องใน ไข่ ข้าวกล้อง ลูกเดือย ข้าวฟ่าง งาขาว งาดำ ถั่วต่างๆ ผักใบเขียว ผักหวานสวน มะเขือพวง ซึ่งพืชผัก และ ผลไม้ที่มีวิตามินซีสูง จะช่วยเพิ่มการดูดซึมธาตุเหล็กในร่างกายได้ดีขึ้น ทั้งนี้ขึ้นกับปัจจัยอื่นๆด้วย เช่นปริมาณธาตุเหล็กในร่างกาย วัยเด็กที่กำลังเจริญเติบโต สตรีในช่วงมีประจำเดือนหรือตั้งครรภ์ รวมถึงภาวะที่มีการสูญเสียโลหิตและโลหิตจาง |
แหล่งที่มา : med.cmu.ac.th