การแต่งกายอาเซียนประเทศอินโดนีเซีย ปัจจุบันกองกำลังทหารในอาเซียนประเทศใดแข็งแกร่งที่สุด ผลดีและผลเสียของกลุ่มอาเซียนประเทศไทยด้านเศรษฐกิจ


919 ผู้ชม


การแต่งกายอาเซียนประเทศอินโดนีเซีย ปัจจุบันกองกำลังทหารในอาเซียนประเทศใดแข็งแกร่งที่สุด ผลดีและผลเสียของกลุ่มอาเซียนประเทศไทยด้านเศรษฐกิจ

 

 

ประเทศอาเซียน(ประเทศอินโดนีเซีย)

อินโดนีเซีย หรือชื่อทางการคือ สาธารณรัฐอินโดนีเซีย (ภาษาอินโดนิเซีย:Republik Indonesia)เป็นหมู่เกาะที่ใหญ่ที่สุดในโลก ตั้งอยู่ระหว่างคาบสมุทรเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และทวีปออสเตรเลีย และระหว่างมหาสมุทรอินเดีย และแปซิฟิก มีพรมแดนติดกับประเทศมาเลเซียบนเกาะบอร์เนียว (อินโดนีเซีย: กาลิมันตัน), ประเทศปาปัวนิวกินีบนเกาะนิวกินี (อินโดนีเซีย: อิเรียน) และ ประเทศติมอร์ตะวันออกบนเกาะติมอร์

เนื้อหา [ซ่อน]
1 ประวัติศาสตร์ 
2 การเมืองการปกครอง 
3 การแบ่งเขตการปกครอง 
4 ภูมิศาสตร์ 
5 ทรัพยากรและเศรษฐกิจ 
6 ประชากรและวัฒนธรรม 
7 ความสัมพันธ์กับประเทศไทย 
 

[แก้] ประวัติศาสตร์
อินโดนีเซียประกอบด้วยหมู่เกาะที่มีความเจริญรุ่งเรืองมาช้านาน แต่ต่อมาต้องตกอยู่ภายใต้การปกครองของเนเธอร์แลนด์อยู่นานประมาณ 300 ปี ในเดือนมกราคม พ.ศ. 2485 ซึ่งเป็นช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ญี่ปุ่นบุกอินโดนีเซีย และทำการขับไล่เนเธอร์แลนด์เจ้าอาณานิคมของอินโดนีเซียออกไปได้สำเร็จ จึงทำให้ผู้นำอินโดนีเซียคนสำคัญ ๆ ในสมัยนั้นให้ความร่วมมือกับญี่ปุ่น แต่ไม่ได้ให้ความไว้วางใจกับญี่ปุ่นมากนัก เพราะมีเหตุเคลือบแคลง คือ เมื่อมีผู้รักชาติชาวอินโดนีเซียจัดตั้งขบวนการต่าง ๆ ขึ้นมา ญี่ปุ่นจะขอเข้าร่วมควบคุมและดำเนินงานด้วย

เมื่อญี่ปุ่นแพ้สงครามและประกาศยอมจำนนต่อฝ่ายพันธมิตร อินโดนีเซียได้ถือโอกาสประกาศเอกราชในวันที่ 17 สิงหาคม พ.ศ. 2488 แต่เนเธอร์แลนด์เจ้าอาณานิคมเดิมไม่ยอมรับการประกาศเอกราชของอินโดนีเซีย จึงยกกองทัพเข้าปราบปราม ผลจากการสู้รบปรากฏว่าเนเธอร์แลนด์ไม่สามารถปราบปรามกองทัพของชาวอินโดนีเซียได้ อังกฤษซึ่งเป็นพันธมิตรกับเนเธอร์แลนด์จึงเข้ามาช่วยไกล่เกลี่ย เพื่อให้ยุติความขัดแย้งกัน โดยให้ทั้งสองฝ่ายลงนามในข้อตกลงลิงกัดยาติ (Linggadjati Agreement) เมื่อ พ.ศ. 2489 โดยเนเธอร์แลนด์ยอมรับอำนาจของรัฐบาลอินโดนีเซียในเกาะชวาและสุมาตรา ต่อมาภายหลัง เนเธอร์แลนด์ได้ละเมิดข้อตกลง โดยได้นำทหารเข้าโจมตีอินโดนีเซีย ทำให้ประเทศอื่น ๆ เช่นออสเตรเลีย และอินเดียได้ยื่นเรื่องให้คณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติเข้าจัดการ สหประชาชาติได้เข้าระงับข้อพิพาท โดยตั้งคณะกรรมการประกอบด้วย ออสเตรเลีย เบลเยียม และสหรัฐอเมริกา เพื่อทำหน้าที่ไกล่เกลี่ยประนีประนอม และได้เรียกร้องให้มีการหยุดยิง แต่เนเธอร์แลนด์ได้เข้าจับกุมผู้นำคนสำคัญของอินโดนีเซีย คือ ซูการ์โนและฮัตตาไปกักขัง ต่อมาทหารอินโดนีเซียนำตัวผู้นำทั้งสองออกมาได้ ในระยะนี้ทุกประเทศทั่วโลกต่างตำหนิการกระทำของเนเธอร์แลนด์อย่างยิ่ง และคณะมนตรีความมั่นคงได้กดดันให้เนเธอร์แลนด์มอบเอกราชแก่อินโดนีเซีย

ในวันที่ 27 ธันวาคม พ.ศ. 2492 อินโดนีเซียได้รับเอกราช แต่ความยุ่งยากยังคงมีอยู่ เนื่องจากเนเธอร์แลนด์ไม่ยินยอมให้รวมดินแดนอิเรียนตะวันตกเข้ากับอินโดนีเซีย ทั้งสองฝ่ายจึงต่างเตรียมการจะสู้รบกันอีก ผลที่สุด เนเธอร์แลนด์ก็ยอมโอนอำนาจให้สหประชาชาติควบคมดูแลดินแดนอิเรียนตะวันตก และให้ชาวอิเรียนตะวันตกแสดงประชามติว่าจะรวมกับอินโดนีเซียหรือไม่ ผลการออกเสียงประชามติ ปรากฏว่าชาวอิเรียนตะวันตกส่วนใหญ่ต้องการรวมกับอินโดนีเซีย สหประชาชาติจึงโอนอิเรียนตะวันตกให้อยู่ในความปกครองของอินโดนีเซียเมื่อเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2506

[แก้] การเมืองการปกครอง
ประเทศอินโดนีเซียมีการปกครองระบอบประชาธิปไตยแบบสาธารณรัฐ มีประธานาธิบดีเป็นประมุขและทำหน้าที่ปกครองประเทศ

[แก้] การแบ่งเขตการปกครอง
ปัจจุบันประเทศอินโดนีเซียแบ่งเขตการปกครองออกเป็น 30 จังหวัด (provinces - propinsi-propinsi) 2 เขตพิเศษ* (special regions - daerah-daerah istimewa) และ 1 เขตนครหลวงพิเศษ** (special capital city district - daerah khusus ibukota) ได้แก่

เกาะสุมาตรา 
จังหวัดอาเจะห์* 
จังหวัดสุมาตราเหนือ 
จังหวัดสุมาตราใต้ 
จังหวัดสุมาตราตะวันตก 
จังหวัดรีเยา 
จังหวัดเกาะรีเยา 
จังหวัดจัมบี 
จังหวัดบังกา-เบลีตุง 
จังหวัดเบงกูลู 
จังหวัดลัมปุง 
เกาะชวา 
จาการ์ตา** 
จังหวัดชวากลาง 
จังหวัดชวาตะวันออก 
จังหวัดชวาตะวันตก 
จังหวัดบันเตน 
จังหวัดย็อกยาการ์ตา* 
หมู่เกาะซุนดาน้อย 
จังหวัดบาหลี 
จังหวัดนูซาเต็งการาตะวันออก 
จังหวัดนูซาเต็งการาตะวันตก 
 เกาะบอร์เนียว 
จังหวัดกาลีมันตันกลาง 
จังหวัดกาลีมันตันใต้ 
จังหวัดกาลีมันตันตะวันออก 
จังหวัดกาลีมันตันตะวันตก 
เกาะซูลาเวซี 
จังหวัดโกรอนตาโล 
จังหวัดซูลาเวซีเหนือ 
จังหวัดซูลาเวซีกลาง 
จังหวัดซูลาเวซีใต้ 
จังหวัดซูลาเวซีตะวันออกเฉียงใต้ 
จังหวัดซูลาเวซีตะวันตก 
หมู่เกาะโมลุกกะ 
จังหวัดมาลุกุ 
จังหวัดมาลุกุเหนือ 
เกาะปาปัว 
จังหวัดปาปัว 
จังหวัดอีเรียนจายาตะวันตก 
 
 
แผนที่แสดงจังหวัดของประเทศอินโดนีเซีย[แก้] ภูมิศาสตร์
ภูมิประเทศ ประเทศอินโดนีเซียเป็นประเทศที่ประกอบด้วยหมู่เกาะต่าง ๆ มีเกาะใหญ่น้อยเกือบ 18,000 เกาะ มีภูเขาสูงอยู่ตามเกาะต่าง ๆ โดยทั่วไปเทือกเขาที่มีความสูงมาก ตามบริเวณเขามักมีภูเขาไฟและมีที่ราบรอบเทือกเขาชายเกาะมีความสูงใกล้เคียงกับระดับน้ำทะเลทำให้มีที่ราบบางแห่งเต็มไปด้วยหนอง บึง ใช้ประโยชน์ไม่ได้

ภูมิอากาศ ลักษณะอากาศแบบศูนย์สูตรมีฝนตกชุกตลอดปี แต่อุณหภูมิไม่สูงมากนัก (ประมาณ 24-30 องสาเซลเซียส) เพราะพื้นที่เป็นเกาะจึงได้รับอิทธิพลจากทะเลอย่างเต็มที่

[แก้] ทรัพยากรและเศรษฐกิจ
ป่าไม้ พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นป่าดงดิบ เป็นประเทศที่มีป่าไม้มากที่สุด ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ผลิตผลจากป่าไม้ส่วนใหญ่เป็นไม้เนื้อแข็ง แร่ธาตุ แร่ธาตุที่สำคัญ ได้แก่ น้ำมันปิโตรเลียมทำรายได้ให้กับ ประเทศมากที่สุด อินโดนีเซียเป็นสมาชิกขององค์การประเทศผู้ส่งน้ำมันเป็น สินค้าออก เกษตรกรรม มีการปลูกพืชแบบขั้นบันได พืชเศรษฐกิจ ได้แก่ข้าว ยาสูบ ข้าวโพด เครื่องเทศ ประมง ลักษณะภูมิประเทศเป็นหมู่เกาะทำใหอินโดนีเซียสามารถจับสัตว์น้ำได้มาก อุตสาหกรรม อุตสาหกรรมที่สำคัญ ได้แก่ การกลั่นน้ำมัน การต่อเรือ เป็นต้น

[แก้] ประชากรและวัฒนธรรม
ประชากร  
อินโดนีเซียมีประชากรประมาณ 234 ล้านคน (พ.ศ. 2549) ประชากรส่วนใหญ่เป็นกลุ่มชาติพันธุ์ออสโตรนีเชียน และนับถือศาสนาอิสลาม 
เชื้อชาติ  
ชาวชวา 41.7% ชาวซุนดา 15.4% ชาวมาเลย์ 3.4% ชาวมาดูรีส 3.3% ชาวบาตัก 3% ชาวมินังกะเบา 2.7% ชาวเบตาวี 2.5% ชาวบูกิน 2.5% ชาวบันเทน 2.1% ชาวบันจารี 1.7% ชาวบาหลี 1.5% ชาวซาซะก์ 1.3% ชาวมากัสซาร์ 1% ชาวเชรีบอน 0.9% ชาวจีน 0.9% อื่นๆ 16.1% 
ภาษา  
ชาวอินโดนีเซียมีภาษาที่ใช้เป็นทางการมีรากฐานมาจากภาษามลายู เรียกว่า ภาษาบาฮาซาอินโดนิเซีย 
ศาสนา  
อินโดนีเซียมีมีศาสนาหลากหลาย โดย ศาสนาอิสลาม 87% ศาสนาคริสต์ 9.5% ศาสนาพราหมณ์-ฮินดู 1.8% ศาสนาพุทธ 1.3% 
ดูเพิ่มใน พุทธศาสนาในอินโดนีเซีย 
[แก้] ความสัมพันธ์กับประเทศไทย
ประเทศไทยและอินโดนีเซียมีความสัมพันธ์ทางการทูตที่ดีต่อกันมาโดยตลอด และให้ความช่วยเหลือซึ่งกันและกัน อินโดนิเซียเป็นสมาชิกสมาคมอาเซียนเหมือนประเทศไทย และมีสำนักงานใหญ่ขององค์การอาเซียนตั้งอยู่ที่กรุงจาการ์ตามีประชากรมาก

ที่มา : ผู้สื่อข่าวสภาเครือข่ายสื่อภาคประชาชนอาเซียน ส.ต.ท.สมชาย ศรีเย็น


แหล่งที่มา : tnewsnetwork.com

อัพเดทล่าสุด