ภาพโรคริดสีดวง อาหารต้องห้ามโรคริดสีดวงทวาร อาหารต้องห้ามโรคริดสีดวง


25,211 ผู้ชม


ภาพโรคริดสีดวง อาหารต้องห้ามโรคริดสีดวงทวาร อาหารต้องห้ามโรคริดสีดวง

 

 

 
ริดสีดวงทวาร

 นพ.สุรเกียรติ อาชานานุภาพ 
ขอบคุณข้อมูลภายใต้ความร่วมมือของนิตยสารหมอชาวบ้าน และ วิชาการ.คอม  
นิตยสารหมอชาวบ้าน 


ริดสีดวงทวาร
           อาการถ่ายอุจจาระออกเป็นเลือดแดงสดเป็นครั้งคราว โดยไม่มีอาการผิดปกติอื่นๆ ร่วมด้วย มักมีสาเหตุจากโรคริดสีดวงทวาร มักมีอาการกำเริบขณะท้องผูก หรือนั่งเบ่งถ่ายนานๆ อย่างไรก็ตาม ถ้าหากมีอาการถ่ายเป็นเลือดรุนแรง หรือเรื้อรัง หรือมีอาการผิดปกติอื่นๆ (เช่น ซีด ดีซ่าน ท้องบวม น้ำหนักลด มีก้อนโผล่ออกมานอกทวาร) หรือพบในคนอายุมากกว่า ๔๐ ปี ก็ควรจะปรึกษาแพทย์ เพื่อหาสาเหตุที่ร้ายแรงอื่นๆ

ชื่อภาษาไทย           ริดสีดวงทวาร
ชื่อภาษาอังกฤษ        Hemorrhoids, Piles
สาเหตุ                  
           ริดสีดวงทวาร เป็นภาวะที่หลอดเลือดดำในบริเวณทวารหนักเกิดการปูดพอง (ขอด) เป็นหัว แล้วมีการปริแตกของผนังหลอดเลือดขณะเบ่งถ่ายอุจจาระ ทำให้มีเลือดออกเป็นครั้งคราวอาจพบเป็นเพียงหัวเดียว หรือหลายหัวก็ได้
           ถ้าเกิดจากหลอดเลือดดำที่อยู่ใต้ผิวหนังตรงปากทวารหนัก เรียกว่า ริดสีดวงภายนอก (External hemorrhoid) ซึ่งอาจจะมองเห็นจากภายนอกได้ ถ้าเกิดจากหลอดเลือดดำที่อยู่ใต้เยื่อเมือกที่อยู่ลึกเข้าไปในทวารหนัก เรียกว่า ริดสีดวงภายใน (internal hemorrhoid) ซึ่งจะตรวจพบเมื่อใช้กล้องส่องตรวจ
           เหตุที่หลอดเลือดดำในบริเวณทวารหนักเกิดการปูดพองเป็นหัว มักเนื่องจากมีภาวะความดันสูงในหลอดเลือดดำจากสาเหตุต่างๆ เช่น การนั่ง หรือยืนนานๆ การเบ่งถ่ายอุจจาระ (เช่น ท้องผูก ท้องเดินบ่อย) น้ำหนักมาก ภาวการณ์ตั้งครรภ์ ไอเรื้อรัง เป็นต้น
           นอกจากนี้ อาจพบว่าร่วมกับโรคในช่องท้อง เช่น ก้อนเนื้องอกในช่องท้อง มะเร็งลำไส้ใหญ่ ต่อมลูกหมากโต ตับแข็ง เป็นต้น ภาวะเหล่านี้อาจทำให้เกิดความดันสูงในหลอดเลือดดำจนกลายเป็นโรคริดสีดวงทวารได้

                                 ภาพโรคริดสีดวง อาหารต้องห้ามโรคริดสีดวงทวาร อาหารต้องห้ามโรคริดสีดวง
อาการ                
           ส่วนมากจะมีอาการเลือดออกทางทวารหนักเป็นเลือดแดงสดเกิดขึ้นขณะถ่ายอุจจาระอาจสังเกตว่ามีเลือดเปื้อนกระดาษชำระ หรือปนมากับอุจจาระ หรือมีเลือดไหลเป็นหยดลงโถส้วม โดยไม่รู้สึกเจ็บปวดแต่อย่างใด
             บางรายอาจรู้สึกเจ็บที่ทวารหนัก และถ่ายอุจจาระลำบาก บางรายอาจมีอาการคันก้น
             ถ้าริดสีดวงอักเสบ หรือหลุดออกมาข้างนอกอาจทำให้มีอาการปวดรุนแรงถึงกับนั่ง ยืน หรือเดินไม่สะดวก และคลำได้ก้อนนุ่มๆ สีคล้ำๆ ที่ปากทวารหนัก
             ถ้ามีเลือดออกมาก หรือออกเรื้อรังเป็นแรมเดือนแรมปี อาจมีอาการซีด (หน้าซีด เปลือกตาและริมฝีปากซีด)

การแยกโรค  
           ๑.  แผลปริที่ปากทวาร (Anal fissure) จะมีอาการเจ็บปวดทันที่ทุกครั้งที่ถ่ายอุจจาระ และมีเลือดสดออกมาเป็นลายติดอยู่ที่อุจจาระ หรือเปื้อนกระดาษชำระ ส่วนน้อยที่ออกมาเป็นหยดเลือด บางรายอาจมีอาการปวดมากจนกลัวการถ่ายอุจจาระ (ทำให้มีอาการท้องผูก) บางรายอาจมีอาการคันร่วมด้วย โรคนี้บางครั้งแยกออกจากริดสีดวงไม่ได้ชัดเจน ซึ่งต้องอาศัยการตรวจร่างกาย จะพบว่ามีรอยแผลปริที่ปากทวารตามแนวยาว โดยเฉพาะตรงแนวกึ่งกลางของผนังทวารด้านหลัง
           ๒.  ปลิงเข้าทวารหนัก  จะมีอาการถ่ายอุจจาระเป็นเลือดสด มักมีอาการหลังลงแช่น้ำในห้วย หนอง คลอง บึง
           ๓.  เลือดออกในทางเดินอาหารส่วนตัน (กระเพาะอาหาร ลำไส้เล็กส่วนตัน) ซึ่งอาจเกิดจากการอักเสบรุนแรง เป็นแผล หรือมะเร็ง ผู้ป่วยตจะมีอาการถ่ายอุจจาระเป็นเลือดดำๆ (ไม่ใช่เลือดสดแบบริดสีดวงทวาร) และอาจมรอาการซีดร่วมด้วย ถ้าเป็นมะเร็งกระเพาะอาหารอาจมีอาการปวดท้อง แน่นท้อง น้ำหนักลดร่วมด้วย
           ๔.  ตับแข็ง  จะมี่อาการถ่ายเป็นเลือดสดแบบริดสีดวงทวาร แต่จะมีอาการดีซ่าน (ตาเหลือง ตัวเหลือง) ท้องบวม อาจเห็นหลอดเลือดที่บริเวณหน้าท้องพองโต
           ๕.  มะเร็งลำไส้ใหญ่ จะมีอาการถ่ายเป็นเลือดสดแบบริดสีดวงทวาร แต่จะเป็นเลือดเรื้อรังเกือบทุกวัน บางคนอาจมีอาการท้องผูกสลับท้องเดิน หรือน้ำหนักลดร่วมด้วย พบมากในคนอายุเกิน ๔๐ ปี ดังนั้น ผู้ที่มีอายุเกิน ๔๐ ปี หากมีอาการถ่ายเป็นเลือดสดแบบริดสีดวงทวาร ควรจะปรึกษาแพทย์เพื่อทำการตรวจให้แน่ชัด

การวินิจฉัย 
           แพทย์มักจะวินิจฉัยจากอาการบอกเล่าของผู้ป่วยเป็นส่วนใหญ่ ในรายที่ไม่แน่ใจหรือสงสัยจะมีสาเหตุร้ายแรงซ่อนเร้นอยู่ภายในลำไส้ใหญ่ ก็จะทำการตรวจพิเศษ โดยการใช้กล้องส่องตรวจทวาร หรือลำไส้ใหญ่ (Proctoscope, signoidoscope, colonoscope) บางครั้งอาจต้องเอกซเรย์ลำไส้ใหญ่ด้วยการสวนแป้งแบเรียม (barium enema)

การดูแลตนเอง 
             เมื่อพบว่า มีอาการถ่ายเป็นเลือดสดเพียงเล็กน้อย โดยไม่มีอาการผิดปกติอื่นๆ ไม่จำเป็นต้องใช้ยารักษาริดสีดวงทวาร
  ควรระวังอย่าให้ท้องผูก โดยการดื่มน้ำมากๆ และกินผักและผลไม้ให้มากๆ ถ้ายังท่องผูกให้กินยาระบาย เช่น ยาระบายแมกนีเซีย
  อย่ายืนนานๆ หรือนั่งเบ่งอุจจาระนานๆ
ควรไปพบแพทย์เมื่อมีลักษณะข้อใดข้อหนึ่งดังต่อไปนี้
๑. ถ่ายออกเป็นเลือดจำนวนมาก
๒. ถ่ายเป็นเลือดทุกวันเกิด ๗ วัน
๓. มีอาการเจ็บปวดที่ทวารหนัก
๔. มีก้อนโผล่ออกมานอกทวาร
๕. หน้าตาซีดเซียว
๖. น้ำหนักลด
๗. ดีซ่าน หรือท้องบวม
๘. พบในคนอายุมากกว่า ๔๐ ปี
๙. มีความวิตกกังวล

การรักษา
           เมื่อตรวจพบว่าเป็นริดสีดวงทวาร แพทย์จะให้การรักษาตามลักษณะความรุนแรงของโรค   ถ้าเป็นเพียงเล็กน้อย จะแนะนำการปฏิบัติตัวต่างๆ (ระวังอย่าให้ท้องผูก หลีกเลี่ยงการนั่งเบ่งถ่ายนานๆ) และถ้าท้องผูกมาก ก็จะให้ยาระบาย
           ถ้ามีอาการปวดที่ริดสีดวงเนื่องจากมีการอักเสบ แพทย์จะให้ยาบรรเทาปวด แนะนำให้นั่งแช่ก้นในน้ำอุ่นจัดๆ วันละ ๒-๓ ครั้ง ครั้งละ ๑๕-๓๐ นาที และใช้ยาเหน็บริดสีดวงทวารวันละ ๒-๓ ครั้ง จนอาการบรรเทา (ปกติใช้เวลาประมาณ ๑๐ วัน)
           ในรายที่มีภาวะซีดร่วมด้วย แพทย์จะให้ยาบำรุงเลือด เช่น ยาเม็ดเฟอร์รัสซัลเฟต
           ถ้าหัวริดสีดวงหลุดออกมาข้างนอก แพทย์จะใส่ถุงมือใช้ปลายนิ้วชุบวาสลีนหรือสบู่ให้หล่อลื่นแล้วดันหัวกลับเข้าไป
           ในรายที่เป็นมาก (เช่น มีเลือดออกบ่อย เจ็บปวดบ่อย) อาจต้องรักษาด้วยการฉีดยาเข้าที่หัวริดสีดวงให้ฝ่อ หรือใช้ยางรัดให้หัวริดสีดวงฝ่อ หรือรักษาด้วยแสงเลเซอร์ ถ้าไม่ได้ผล อาจต้องรักษาด้วยการผ่าตัด

ภาวะแทรกซ้อน   
           ถ้ามีอาการถ่ายเป็นเลือดเรื้อรัง อาจทำให้เกิดภาวะซีด (โลหิตจาง)

 การดำเนินโรค  
           ผู้ที่เป็นริดสีดวงทวาร มักมีอาการกำเริบเป็นครั้งคราว เมื่อมีการเบ่งอุจจาระ เช่น ขณะท้องผูก หรือท้องเดิน ส่วนใหญ่มักจะไม่มีความรุนแรง แต่จะเป็นๆ หายๆ น่ารำคาญ หรือทำให้รู้สึกวิตกกังวล
             เมื่อได้รับการรักษาด้วยวิธีพิเศษ เช่น การฉีดยา การใช้ยางรัด การรักษาด้วยแสงเลเซอร์ การผ่าตัด ส่วนใหญ่มักจะหายขาด ส่วนน้อยอาจมีหัวริดสีดวงเกิดขึ้นใหม่ และมีอาการถ่ายเป็นเลือดสดได้อีก

การป้องกัน
 
๑. ระวังอย่าให้ท้องผูก ด้วยการดื่มน้ำมากๆ กินผักและผลไม้ให้มากๆ และออกกำลังกายเป็นประจำ
๒. หลีกเลี่ยงการนั่งเบ่งถ่ายอุจจาระนานๆ

ความชุก
   โรคนี้พบได้บ่อยในคนทุกวัย  

ผู้หญิงวัยทองกับประโยชน์ของถั่วเหลือง
           บทความเรื่อง “ผู้หญิงวัยทองกับถั่วเหลือง” นี้ผู้เขียนหวังว่าจะกระตุ้นให้ผู้อ่านเกิดความสนใจอยากปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการกินอาหารให้เกิดประโยชน์ต่อสุขภาพของตนเอง ซึ่งเป็นแนวทางหนึ่งของการสร้างเสริมสุขภาพ
การสร้างเสริมสุขภาพคือกระบวนการที่ช่วยให้ผู้คนสามารถควบคุมและเพิ่มพูนสุขภาพให้กับตนได้

             “ผู้หญิงวัยทองกับประโยชน์ของถัวเหลือง” เป็นการรวบรวมข้อมูลจากวารสารวิชาการต่างๆ รวมกับองค์ความรู้ที่คณะผู้วิจัยได้รับจากงานวิจัย เรื่อง ผลของการกินอาหารที่มีปริมาณของถั่วเหลืองมากต่อระดับไขมันและไลปิดเพอร์ออกซิเดชันในเลือดและอาการจากภาวะหมดระดูของหญิงไทยวัยทอง ซึ่งได้รับทุนสนับสนุนจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ประจำปี พ.ศ.๒๕๔๕

                                       ภาพโรคริดสีดวง อาหารต้องห้ามโรคริดสีดวงทวาร อาหารต้องห้ามโรคริดสีดวง
วัยทองคืออะไร

           วัยทองเป็นช่วงรอยต่อระหว่างวัยกลางคนและวัยสูงอายุ
           ในช่วงอายุ ๔๐-๔๕ ปีขึ้นไปร่างกายของคนเราจะมีการเปลี่ยนแปลง โดยเฉพาะมีการสร้าฮอร์โมนเพศลดลง ส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตของเจ้าตัว และคู่สมรส ตลอดจนบุคคลอื่นในครอบครัวและสังคม
           ในชายวัยทอง การเปลี่ยนแปลงของร่างกายจะเป็นแบบค่อยเป็นค่อยไป เนื่องจากฮอร์โมนเพศชายที่เรียกว่าเทสโตสเตอโรน(Testosterone) ไม่ได้ลดลงอย่างเฉียบพลัน
           ในทางตรงกันข้าม วัยทองหรือวัยหมดประจำเดือนของผู้หญิง เป็นช่วงเวลาที่สิ้นสุดการมีประจำเดือนแล้ว เพราะรังไข่หยุดทำงาน ทำให้มีการผลิตฮอร์โมนเอสโตรเจน (Estrogen) ลดลงทำให้ผู้หญิงวัยนี้บางรายเกิดกลุ่มอาการไม่สุขสบาย เรียกว่า “กลุ่มอาการหมดประจำเดือน” เช่น มีอาการร้อนวูบวาบเหงื่อออกในเวลากลางคืน นอนไม่หลับหรือหลับยาก อารมณ์แปรปรวน หงุดหงิดง่าย หลงลืมง่าย บางคนมีปัสสาวะเล็ด ช่องคลอดแห้ง อาจมีอาการปวดแสบปวดร้อน หรือมีอาการเจ็บเวลามีเพศสัมพันธ์ ก่อให้เกิดผลกระทบต่อสุขภาพในระยะยาว
           ผลกระทบต่อสุขภาพที่พบบ่อย ได้แก่ โรคกระดูกพรุน โรคหัวใจและหลอดเลือดจากการมีระดับไขมันในเลือดสูง โดยเฉพาะระดับโคเลสเตอรอล

ภาวะหมดประจำเดือนคืออะไร

           ผู้หญิงที่มีอายุมากกว่า ๓๐ ปีร่างกายจะมีการผลิตฮอร์โมนเอสโตรเจน และโปรเจสเตอโรนลดลง จึงเป็นช่วงเวลาที่ประจำเดือนเริ่มมาไม่แน่นอน ถี่บ้างห่างบ้างตามการขึ้นลงของระดับฮอร์โมนเพศ ในทางการแพทย์เรียกระยะนี้ว่า ระยะก่อนหมดประจำเดือนในระยะนี้ผู้หญิงบางคนจะเริ่มมีอาการไม่สุขสบาย เช่น ประจำเดือนมาไม่เป็นเวลา นอนไม่ค่อยหลับ อารมณ์แปรปรวน ร้อนวูบวาบ 
           โดยทั่วไป ผู้หญิงจะเข้าวัยหมดประจำเดือนจริงๆ (Menopause) เมื่อประจำเดือนหยุดมาอย่างสิ้นเชิงอย่างน้อย ๑ ปี ซึ่งอยู่ระหว่างอายุ ๔๕-๕๕ ปี เกิดเร็วหรือช้าขึ้นกับสุขภาพและกรรมพันธุ์ของแต่ละคน เช่น บางคนหมดประจำเดือนตั้งแต่อายุ ๔๐ ปี หรือน้อยกว่า คุณผู้หญิงสามารถบอกตัวเองได้ว่ากำลังหมดประจำเดือนหรือไม่ โดยสังเกตการณ์เปลี่ยนแปลงของร่างกาย เช่น
           ๑. ประจำเดือนมาไม่แน่นอน บางทีมาถี่ๆ แล้วทิ้งช่วงหายไปหลายเดือนแล้วกลับมามีอีก มีเลือดประจำเดือนออกมากกว่าปกติหรือมาทุก ๒-๓ สัปดาห์
           ๒. อาการร้อนวูบวาบ ประมาณ ๓ ใน ๔ ของผู้หญิงวัยหมดประจำเดือนจะมีอาการร้อนวูบวาบเกิดขึ้น บางครั้งมีอาการเหงื่อออกมากกว่าปกติทั้งที่อากาศเย็น หรือมีเหงื่อออกมาตอนกลางคืน หรือขณะหลับอยู่ อาการเหล่านี้จะเกิดบ่อยในช่วง ๒-๓ ปีแรกที่ประจำเดือนหมด ทั้งนี้อาการของผู้หญิงแต่ละคนจะรุนแรงไม่เท่ากัน
           ๓. มีอาการนอนไม่หลับหรือหลับยาก บางคนตื่นบ่อยๆ กลางดึกหรือตื่นเช้ากว่าปกติ
           ๔. มีอารมณ์แปรปรวน หงุดหงิดง่าย บางคนมีอาการเศร้าซึม
           ๕. ปัญหาของช่องคลอด ระดับเอสโตรเจนที่ลดลงทำให้เนื้อเยื่อของช่องคลอดบางลง ความยืดหยุ่น และความหล่อลื่นลดลง ทำให้เกิดอาการเจ็บเวลาร่วมเพศ หรือมีอาการแสบคัน
           ๖. ปัญหาของระบบทางเดินปัสสาวะ ระดับเอสโตรเจนที่ลดลงทำให้เนื้อเยื่อบริเวณเยื่อบุท่อปัสสาวะบางลง และมีความแข็งแรงของกระเพาะปัสสาวะลดลง ผู้หญิงวัยทองมักมีอาการปัสสาวะแล้วแสบ กลั้นปัสสาวะไม่ค่อยได้หรือไม่นาน ปัสสาวะเล็ด หรือราดเวลาไอจามหรือเมื่อยกของหนัก
           ๗. ความเต่งตึงและชุ่มชื้นของผิวหนังลดลง เพราะร่างกายสร้างสารคอลลาเจนลดลง ผิวหนังแห้งง่าย มักมีอาการคัน จึงควรหาโลชั่นหรือครีมทาจะช่วยให้หายคันได้
           ๘. การเจริญพันธุ์ลดลง เนื่องจากเวลาตกไข่ไม่แน่นอน แต่สามารถตั้งครรภ์ได้เสมอจนกว่าประจำเดือนจะหยุดมาเป็นเวลา ๑ ปีเต็ม

การรักษาด้วยฮอร์โมน (Hormone therapy)
           ผู้หญิงในวัยใกล้หมดประจำเดือนและหลังหมดประจำเดือนจะมีภาวะที่มีฮอร์โมนบกพร่องและไม่สมดุล ทำให้เกิดกลุ่มอาการหมดประจำเดือน การให้ฮอร์โมนทดแทนสามารถลดอาการร้อนวูบวาบ เหงื่อยออกในเวลากลางคืน อารมณ์แปรปรวน และช่วยลดอาการทางระบบสืบพันธุ์และปัสสาวะทำให้ผู้หญิงในวัยนี้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น รวมทั้งมีผลป้องกันกระดูกหักจากโรคกระดูกพรุนได้ แต่การให้ฮอร์โมนทดแทนในปัจจุบันยังมีข้อขัดแย้งถึงผลดีผลเสียที่เกิดจากการให้ฮอร์โมน เช่น จากการศึกษาในกลุ่มผู้หญิงในสหรัฐอเมริกา พบว่าการให้ฮอร์โมนทดแทนเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งเต้านมและโรคหัวใจและหลอดเลือด 
           ดังนั้น  การให้ฮอร์โมนทดแทน แพทย์จะพิจารณาให้การรักษาที่เหมาะสมต่อผู้หญิงแต่ละคน รวมทั้งต้องมีการติดตามและประเมินผลการรักษาเป็นประจำ ด้วยความกลัวต่อโรคมะเร็งทำให้ผู้หญิงจำนวนมากยอมทนอาการไม่สุขสบายต่างๆ โดยไม่ยอมรับการใช้ฮอร์โมนทดแทน และมองหาการรักษาแบบแพทย์ทางเลือก โดยใช้สารประกอบจากธรรมชาติ เช่น ไฟโตเอสโตรเจน(Phytoestrogen)

ประโยชน์ของไฟโตเอสโตรเจน
           การศึกษาทางระบาดวิทยาซึ่งเป็นการศึกษาในกลุ่มคนจำนวนมาก พบว่าคนตะวันตกเป็นเร็งเต้านม มะเร็งลำไส้ใหญ่และมะเร็งต่อมลูกหมากสูงกว่าคนเอเชีย โดยมีสมมุติฐานว่า อาหารของคนเอเชีย เช่น คนญี่ปุ่น คนจีน น่าจะมีผลต่อการสร้างฮอร์โมนหรือกระบวนการชีวเคมีในเซลล์ของคน โดยมีหลักฐานแสดงว่าสารประกอบที่มีสูตรโครงสร้างคล้ายฮอร์โมนเอสโตรเจน เรียกว่า “ไฟโตเอสโตรเจน” ซึ่งพบมากในถั่วเหลือง เมล็ดธัญพืชหลายชนิด และผลเบอร์รี่มีฤทธิ์ป้องกันมะเร็งได้ โดยมีผลต่อการสร้างฮอร์โมนเพศ กระบวนการเมตาบอลิซึม (การเผาผลาญ) การทำงานของเอนไซม์ การสร้างโปรตีน การเพิ่มจำนวนและการเปลี่ยนสภาพของเซลล์มะเร็ง การเจริญเติบโตของหลอดเลือด เป็นต้น
           ดังนั้น  การกินอาหารที่มีไฟโตเอสโตรเจนอาจช่วยส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคบางอย่างได้ เช่น โรคหัวใจขาดเลือด โรคมะเร็งของเนื้อเยื่อระบบสืบพันธ์ และโรคกระด๔กพรุน (Osteoporosis)
                                            ภาพโรคริดสีดวง อาหารต้องห้ามโรคริดสีดวงทวาร อาหารต้องห้ามโรคริดสีดวง
                                 
ไฟโตเอสโตรเจน คืออะไร

           ไฟโตเอสโตรเจนเป็นสารประกอบที่พบได้ในพืชมากกว่า ๓๐๐ ชนิด แต่มีมากที่สุดในถั่วเหลือง โดยออกฤทธิ์ต่อระบบประสาทส่วนกลาง และกระตุ้นการเจริญของอวัยวะสืบพันธุ์ของสัตว์ตัวเมีย แต่ออกฤทธิ์ได้ต่ำกว่าฮอร์โมนเอสโตรเจนของคน
           ไฟโตเอสโตรเจนมีคุณสมบัติคล้ายเอสโตรเจน สามารถแย่งที่กับเอสโตรเจนในการจับกับตัวรับเอสโตรเจนที่มีอยู่ในทุกเซลล์ของร่างกาย และชักนำให้เกิดการตอบสนองเฉพาะต่อเอสโตรเจนโดยทั่วไปเนื้อเยื่อระบบสืบพันธ์มีตัวรับเอสโตรเจนมากกว่าเป็นร้อยถึงพันเท่าของเซลล์กระดูกและเซลล์อื่นๆ ในร่างกาย
           มีงานวิจัยบ่งชี้ว่า ระดับไฟโตเอสโตรเจนในเลือดของคนหลังกินอาหารที่มีไฟโตเอสโตรเจนในปริมาณปกติสามารถป้องกันการเติบโตของเซลล์ที่ถูกกระตุ้นด้วยเอสโตรเจนได้ ดังนั้นไฟโตเอสโตรเจนจึงอาจจะลดหรือยับยั้งฤทธิ์ของเอสโตรเจนที่มีต่อเซลล์หรือเนื้อเยื่อที่ตอบสนองต่อเอสโตรเจนได้ เช่น เนื้อเยื่อเต้านม เป็นต้น การบริโภคไฟโตเอสโตรเจนจึงอาจช่วยลดความเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งเต้านมได้
                                 ภาพโรคริดสีดวง อาหารต้องห้ามโรคริดสีดวงทวาร อาหารต้องห้ามโรคริดสีดวง
           เราสามารถแบ่งไฟโตเอสโตรเจนออกได้เป็น ๓ ชนิด ได้แก่ ไอโซฟลาโวน (Isoflavones) คูเมศแตน (coumestans) และลิกแนน (lignan) ไฟโตเอสโตรเจนที่พบมากในอาหารที่กินเป็นประจำวันคือ ไอโซฟลาโวน ซึ่งมีในถั่วหลายชนิด แหล่งอาหารสำคัญของไฟโตเอสโตรเจนที่ร่างกายของคนได้รับคือ ถั่วเหลือง ในถั่วเหลืองมีไอโซฟลาโวนที่สำคัญคือ ไดซีน (daidzein) และจีนีสทีน (genistein)

แหล่งที่มา : vcharkarn.com , doctor.or.th 

อัพเดทล่าสุด