หนังสืออาเซียนศึกษา แผนการจัดการเรียนรู้ อาเซียนศึกษา ห้องอาเซียนศึกษา


1,422 ผู้ชม


หนังสืออาเซียนศึกษา แผนการจัดการเรียนรู้ อาเซียนศึกษา ห้องอาเซียนศึกษา

 

อาเซียนศึกษา หลักสูตรทันยุคของม.วลัยลักษณ์

หนังสืออาเซียนศึกษา แผนการจัดการเรียนรู้ อาเซียนศึกษา ห้องอาเซียนศึกษา


กระแสอาเซียนพุ่งเข้าสู่ทุกองค์กรทุกหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชน รวมทั้งสถาบันการศึกษาในทุกระดับต่างตื่นตัวรับกระแสนี้กันอย่างพร้อมเพรียง เพื่อเตรียมตัวรับสิ่งที่จะก่อเกิดขึ้นในปี 2558

หลายสถาบันการศึกษาต่างส่งเสริมให้มีการจัดตั้ง “ศูนย์อาเซียนศึกษา” เตรียมความพร้อมของนักเรียน นักศึกษาให้มีความพร้อมที่จะเข้าสู่การเปิดเสรีในหลายด้านเมื่อถึงเวลานั้น หากสำนักวิชาศิลปศาสตร์ ม.วลัยลักษณ์มีการเรียนการสอนด้านนี้มานานนับสิบปี โดยเริ่มต้นจากการเป็นหลักสูตรภูมิภาคศึกษา จนปัจจุบันนี้มีการจัดตั้ง “หลักสูตรอาเซียนศึกษา” ระดับปริญญาตรี รองรับสิ่งที่จะเข้าสู่อาเซียนและเปิดรับนักศึกษารุ่นแรกในปี 2555

ด้วยวิสัยทัศน์ที่ว่า ก้าวหน้า ล้ำสมัย เปลี่ยนวิสัยทัศน์ เจิดจรัสสู่อาเซียน

.จิรวัฒน์ แสงทอง ผู้ดูแลหลักสูตรอาเซียนศึกษา กล่าวถึงความสำคัญและสิ่งที่เป็นประโยชน์ของหลักสูตรต่อนักศึกษาและสังคมว่า

เรื่องของอาเซียนศึกษาเป็นแผนแม่บทของทางมหาวิทยาลัยมาตั้งแต่แรกที่ทางคณะผู้บริหารเล็งเห็นการณ์ไกลในเรื่องนี้

จะขยายไปยังภาษาเวียดนาม ภาษาพม่า ภาษาตากาล็อก ต่อไป ขณะนี้มีอาจารย์ชาวไทยที่เชี่ยวชาญภาษาเวียดนามมาเป็นบุคลากรประจำการของหลักสูตร เมื่อก่อนมีอาจารย์เจ้าของภาษาจากมาเลเซียและอินโดนีเซียหมุนเวียนกันมาสอน แต่เมื่อมีอาจารย์ชาวไทยที่เชี่ยวชาญสองภาษานี้จะเป็นผลดีต่อนักศึกษามากกว่า

ศิษย์จบไปแล้ว รุ่นเป็นผลผลิตที่น่าพอใจ ในช่วงแรกของการจัดตั้งหลักสูตรสังคมก็ตั้งคำถามเกี่ยวกับภูมิภาคว่าเรียนเกี่ยวกับอะไร จบไปทำอะไรได้บ้าง นักศึกษารุ่นแรกยังไม่แน่ใจว่าจะไปในอาชีพไหนและกลับมาขอความกระจ่างในเรื่องหลักสูตร รวมทั้งสังคมก็ตั้งคำถามเกี่ยวกับภูมิภาคว่าทำอะไรได้บ้าง จนมาถึงรุ่นสามรุ่นสี่จึงชัดเจนขึ้น ในความเป็นจริงเรื่องของอาเซียนเป็นเรื่องในภูมิภาคของเราที่สำคัญต่อทุกคน ยิ่งเมื่อทุกวันนี้มีการให้ความสำคัญต่อเรื่องนี้กันทุกองค์กรทำให้ผลิตผลของเราเป็นที่ต้องการของตลาด มีคนจบด้านนี้น้อยมากในเมืองไทย นักศึกษาไม่ต้องไปดิ้นรนหางาน แต่จะมีการประสานงานและติดต่อให้ไปทำงานทั้งในและต่างประเทศโดยสามารถใช้ประโยชน์จากสิ่งที่เรียนมาได้เป็นอย่างดี”

ภูมิภาคศึกษามีวิชา IN country ที่นักศึกษาทุกคนต้องไปใช้ชีวิตในมาเลเซียหรืออินโดนีเซีย ภาคการศึกษา ทำให้ทุกคนมีประสบการณ์ ได้ใช้และใกล้ชิดภาษาอย่างจริงจัง เมื่อกลับมาทำให้สามารถใช้ภาษาเหล่านี้ในการทำงานได้และได้ผลอย่างดี เมื่อจบไปส่วนใหญ่จะทำงานเกี่ยวกับ ล่าม ไกด์ และครู

การปรับปรุงหลักสูตรใหม่และเปิดรับนักศึกษาระดับปริญญาตรีในปี 2555 เมื่อจบการศึกษาในปี 2558 ก็จะตรงกับการเปิดประชาคมอาเซียนพอดี เท่ากับสามารถใช้วิชาความรู้ได้อย่างร้อนวิชาทันท่วงทีทีเดียว

.จิรวัฒน์ กล่าวว่าเป็นเรื่องน่ายินดีที่มีการตื่นตัวรับสิ่งที่จะเกิดขึ้นในอีกไม่นาน และควรเป็นเรื่องที่รณรงค์กันอย่างต่อเนื่อง

น่าดีใจที่เรื่องของอาเซียนทำให้สถาบันการศึกษาในทุกระดับทั้งในนครศรีธรรมราชและที่อื่นๆ ตื่นตัวและเตรียมการรองรับ เป็นเรื่องที่ดีที่ไม่อยากให้เป็นเพียงกระแสคลื่นที่พัดมาแล้วหายไป เพราะเรื่องนี้เป็นเรื่องของทุกคนและเป็นเรื่องใกล้ตัวที่ต้องพบเจอ ในม.วลัยลักษณ์เองผู้บริหารก็ให้การสนับสนุนในเรื่องนี้ หน่วยงาน บุคลากรและนักศึกษาต่างก็เตรียมตัวกันอย่างเต็มที่ มีการจัดอบรมและกิจกรรมสัมพันธ์กับหน่วยงานอื่นมาตลอด สำหรับหลักสูตรบัณฑิตศึกษา มีผู้ให้ความสนใจทั้งศิษย์เก่าและบุคคลภายนอกมาเรียนพอสมควรซึ่งเรารับได้ไม่มากนัก”

ศิษย์เก่าหลักสูตรภูมิภาคศึกษาที่ได้เข้าไปทำงานในพื้นที่และเกี่ยวข้องกับเรื่องราวของอาเซียน โดยเฉพาะเรื่องของศูนย์อาเซียน ต่างบอกว่าสิ่งที่ได้เรียนรู้จากหลักสูตรและเรื่องราวที่ได้รับระหว่างเรียนเป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อการทำงาน และเข้ากับกระแสความต้องการเรื่องอาเซียน เป็นการตัดสินใจเรียนที่มาถูกทาง

หนังสืออาเซียนศึกษา แผนการจัดการเรียนรู้ อาเซียนศึกษา ห้องอาเซียนศึกษาหนังสืออาเซียนศึกษา แผนการจัดการเรียนรู้ อาเซียนศึกษา ห้องอาเซียนศึกษา

.จิรวัฒน์ แสงทอง                                                   สายสุนีย์ วิเชียร และ จันจิรา สุนทร

สายสุนีย์ วิเชียร และ จันจิรา สุนทร สองศิษย์เก่าหลักสูตรภูมิภาคศึกษารุ่น และรุ่น จากม.วลัยลักษณ์ ปัจจุบันทำงานเกี่ยวข้องกับอาเซียนโดยตรง ทั้งสองประจำการอยู่ที่ศูนย์อาเซียนศึกษาโรงเรียนวัดพระมหาธาตุ อ.เมือง จ.นครศรีธรรมราช ซึ่งที่นี่เป็น ใน 54 ศูนย์อาเซียนศึกษาทั่วประเทศ

สายสุนีย์ เข้ามาทำงานเมื่อปี 2553 ส่วนจันจิราเข้ามาทำงานเมื่อต้นปี 2554 โครงการศูนย์อาเซียนศึกษาที่นี่เป็นโครงการ Spirit of Asean ของสำนักงานการศึกษาขั้นพื้นฐาน(สพฐ.) เขต นครศรีธรรมราช ระหว่างปี 2553-2555

สายสุนีย์เป็นครูสอนภาษามลายู สอนตั้งแต่ขั้นพื้นฐานของภาษา อักษร การออกเสียง ซึ่งต้องใช้เวลาประมาณหนึ่งเทอมในการสร้างพื้นฐาน โดยเปิดเป็นชุมนุมในคาบกิจกรรมให้เลือกแบบบังคับในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-3 เธอบอกว่าต้องทำตัวให้วัยไล่เลี่ยกับนักเรียนเพื่อความเข้าใจที่ง่ายต่อกัน เรียนด้วยความผ่อนคลายเพราะเป็นความรู้ใหม่ที่ไม่ต้องการให้เด็กเกิดการต่อต้าน

ตอนเรียนมหาวิทยาลัยอยากเป็นนักวิชาการ พอเรียนไปรู้ว่าไม่ใช่ตัวเราจึงหันมาเป็นครู ตอนนั้นเขาเปิดศูนย์อาเซียนศึกษา 54 ศูนย์ทั่วไทย ในนครศรีธรรมราชมี ศูนย์ คือที่นี่เป็นศูนย์ประถม หรือ sister และอีกศูนย์อยู่ที่โรงเรียนเมืองนครศรีธรรมราชเป็นระดับมัธยม สอนพื้นฐานทุกอย่างของภาษามาเลเซียจนเด็กพูดได้ ทักทายเป็นและได้ผลที่น่าพอใจ”

สายสุนีย์บอกว่า วิชา In Country เป็นคอร์สที่ได้ใช้ภาษาที่เรียนอย่างจริงจัง สี่เดือนของการอยู่ในมาเลเซียทำให้เธอได้ใช้ภาษามาเลย์กลางทุกวัน สิ่งที่เรียนรู้ไปจากม.วลัยลักษณ์สามารถใช้งานได้หมด และควรมีอาจารย์เจ้าของภาษาโดยตรงที่เชี่ยวชาญเพิ่มมากขึ้น

ด้านจันจิราที่รับผิดชอบเป็นเจ้าหน้าที่เผยแพร่ ผลิตสื่อประชาสัมพันธ์เนื้องานของศูนย์ฯ ทั้งหมดบอกว่า ช่วงแรกที่เรียนสาขาภูมิภาคศึกษารู้สึกเครียดเพราะไม่แน่ใจว่าจะไปทางไหนเมื่อเรียนจบ ประกอบกับการงานที่เกี่ยวข้องในเมืองไทยไม่ค่อยจะมีมากนัก เมื่อเรียนจบสายสุนีย์บอกว่ามีตำแหน่งที่ตรงกับสาขาของศูนย์ฯ เธอจึงสมัครและทำงานมาตั้งแต่ต้นปีที่แล้ว

งานที่ทำเป็นการสื่อสารและสัมพันธ์กับชุมชนรอบนอก รวมทั้งสอนวิชาสังคมที่เกี่ยวกับอาเซียน วิชาที่เรียนมานำมาใช้ได้เกือบทั้งหมด มาบูรณาการด้วยกัน”

สิ่งสำคัญเมื่อถึงคราวที่ประตูอาเซียนเปิด ทั้งสองบอกว่า ความมีจิตสำนึกร่วมกันในความเป็นอาเซียนที่เคารพในความแตกต่างหลากหลาย ยอมรับในอัตลักษณ์ของแต่ละชุมชนและคงไว้ซึ่งอัตลักษณ์ของพื้นที่นั้น รวมทั้งต้องรู้เท่าทันโลกที่เปลี่ยนไป เป็นสิ่งสำคัญที่ทุกคนควรตระหนัก

อย่างเด็กในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้มีความได้เปรียบในเรื่องการใช้ภาษามลายูที่ใช้ในชีวิตประจำวันอยู่แล้ว การปรับตัวเรียนรู้ภาษาอังกฤษเพิ่มเติมให้มีความเชี่ยวชาญจะทำให้โอกาสดีๆ เข้ามามากมายเพราะภาษาอังกฤษยังเป็นภาษาสำคัญที่ใช้เป็นภาษากลางของโลก บวกกับความรู้ในภาษามาเลเซีย อินโดนีเซีย มลายู และภาษาของเพื่อนบ้านอีกหลายประเทศ จะทำให้คนๆ นั้นเป็นที่ต้องการของหลายหน่วยงาน”

เมื่อถึงเวลานั้น เวลาที่ประตูอาเซียนเปิดกว้าง ทั้งสองบอกว่า เมื่อโอกาสที่ดีเข้ามาก็พร้อมที่จะได้ใช้ความรู้ที่มีทำประโยชน์ให้เกิดมากที่สุด และเชื่อว่าบัณฑิตสาขานี้มีศักยภาพและประสิทธิภาพที่หลายองค์กรต้องการ

สอบถามรายละเอียดเกี่ยวกับอาเซียนในทุกเรื่องราวได้ที่ หลักสูตรอาเซียนศึกษา สำนักวิชาศิลปศาสตร์ ม.วลัยลักษณ์ E mail: [email protected] หรือ www.facebook.com/ AseanStudies.Walailak


แหล่งที่มา : fatonionline.com

อัพเดทล่าสุด