โรคสะเก็ดเงินเกิดจากอะไร วิธีรักษาโรคสะเก็ดเงินที่เล็บ สาเหตุโรคสะเก็ดเงิน
ยาหมอเส็งกับสะเก็ดเงิน
โรคทางผิวหนังเป็นโรคที่หลายคนอาจจะคิดว่าไม่น่ากลัวหรือว่ารักษาได้ง่ายๆ จริงอยู่ที่โรคผิวหนังส่วนใหญ่รักษาได้ง่ายด้วยการทานยาหรือทายาไม่กี่วันก็หาย แต่ก็มีอยู่บางโรคที่เป็นแล้ว การรักษาอาจจะยุ่งยากและอาจจะรักษาไม่หายเลยก็ได้ อย่างเช่น โรคสะเก็ดเงินที่เราจะมาศึกษากันค่ะ
ที่มาของชื่อ “สะเก็ดเงิน”
โรคสะเก็ดเงิน เดิมทีเรียกว่า โรคเรื้อนกวาง (ชื่อเก่าน่ากลัวกว่าเยอะค่ะ) แต่เพื่อป้องกันความสับสนระหว่างโรคเรื้อนกวางกับโรคเรื้อนที่เป็นคนละโรคกัน ทางการแพทย์จึงได้บัญญัติชื่อขึ้นมาใหม่ โดยตั้งชื่อตามอาการของผู้ที่เป็นโรคนี้ คือ มีลักษณะเป็นผื่นแดงในรูปแบบต่างๆและผิวหนังที่เป็นผื่นแดงนั้นจะมีการลอกตัวเป็นขุยคล้ายสะเก็ดสีเงิน ซึ่งเป็นที่มาของชื่อสะเก็ดเงิน
รู้จักโครงสร้างผิวหนังก่อน
ถ้าเราจะทำความเข้าใจโรคสะเก็ดเงินได้ดี เราต้องมีความเข้าใจเรื่องโครงสร้างผิวหนังของคนแบบง่ายๆก่อน ซึ่งโครงสร้างผิวหนังของคนแบ่งเป็น 3 ชั้น ดังต่อไปนี้
โครงสร้างผิวหนังมนุษย์
- ชั้นนอกสุด (Epidermis – ชั้นหนังกำพร้า) ผิวหนังชั้นนี้เป็นชั้นที่บางที่สุด เป็นชั้นผิวหนังที่มีการผลัดตัวและลอกออกมาเป็น”ขี้ไคล” ทำหน้าที่รักษาน้ำและความชุ่มชื่นในร่างกาย และป้องกันเชื้อโรคจากายนอก
- ชั้นหนังกลาง (Dermis – ชั้นหนังแท้) เป็นชั้นผิวหนังที่มีความยืดหยุ่นรองรับแรงกดดันต่อร่างกาย ประกอบไปด้วยปลายประสาทรับความรู้สึกและอุณหภูมิ ต่อมเหงื่อ เส้นเลือด รากขน เป็นต้น
- ชั้นในสุด (Hypodermis – ชั้นไขมัน) ที่เราเรียกชั้นนี้ว่าชั้นไขมัน เพราะว่าเซลล์ส่วนใหญ่ในชั้นนี้เป็นเซลล์ไขมันนั่นเอง
สาเหตุของโรคสะเก็ดเงิน
สาเหตุที่แน่ชัดของโรคสะเก็ดเงิน ยังไม่มีผลสรุปที่ชัดเจน ทางการแพทย์บอกได้เพียงคร่าวๆว่าเกี่ยวข้องกับสาเหตุต่อไปนี้
- พันธุกรรม จากการศึกษาวิจัยทางการแพทย์พบว่า มียีนหลายตัวที่มีความเกี่ยวข้องกับการเกิดสะเก็ดเงิน แต่ยังไม่สามารถสรปุความสัมพันธ์ของยีนเหล่านี้ต่อการเกิดโรคได้อย่างชัดเจน ผู้ที่มีญาติพี่น้อง ที่มีประวัติเป็นโรคสะเก็ดเงิน มีโอกาสป่วยเป็นโรคนี้ได้ แต่ไม่ได้หมายความว่าจะต้องเป็น 100% เพราะการเกิดโรคต้องอาศัยตัวกระตุ้นร่วมด้วย เช่น การติดเชื้อ การใช้ยาบางชนิด ความเครียด เป็นต้น
- ระบบภูมิคุ้มกัน ข้อสันนิษฐานหนึ่งที่มีอยู่ คือ เป็นการทำงานผิดปกติของเม็ดเลือดขาวที่เรียกว่า T-cell ซึ่งเป็นเซลล์ที่มีบทบาทในการกระตุ้นและชี้นำการทำงานของเซลล์ระบบภูมิคุ้มกันอื่นๆ และถือว่ามีบทบาทสำคัญในระบบภูมิคุ้มกัน
อาการของโรคสะเก็ดเงิน
ผู้ป่วยสะเก็ดเงินจะมีการแบ่งตัวของเซลล์ผิวหนังมากกว่าปกติ 10 เท่า และมีการขยายตัวของหลอดเลือดแดง ทำให้ผื่นมีลักษณะแดง ผิวหนังชั้นนอกสุด จะเป็นชั้นผิวหนังที่ลอกและแตกเป็นขุยสะเก็ดสีเงิน ลักษณะของผื่นสะเก็ดเงินจะมีลักษณะแตกต่างกัน และแบ่งได้เป็นประเภท (ค่อนข้างหลากหลายและรูปบางรูปน่ากลัวค่ะ ดังนั้นจะนำมาให้ดูเพียงบางส่วนในบทความนี้) รวมทั้งในคนไข้บางคนอาจจะมีอาการผิดปกติของเล็บร่วมด้วย เช่น เล็บลอก เล็บเป็นหลุม เป็นต้น
ในบางกรณีคนไข้ที่มีปัญหาสะเก็ดเงินอาจมีอาการคล้ายกับรูมาตอยด์ร่วมด้วย กล่าวคือ มีอาการปวดตามข้อเนื่องจากการอักเสบที่จุดต่างๆในร่างกาย เช่น ข้อนิ้ว ข้อมือ ข้อศอก ข้อเข่า แต่ผลการตรวจจะไม่สามารถบ่งชี้ว่าเป็นรูมาตอยด์ได้
บริเวณที่เกิดสะเก็ดเงิน
เกิดได้ทั้งแบบทั่วทั้งตัวและแบบเฉพาะที่ กว่า 80% ของผู้ป่วยสะเก็ดเงินเกิดผื่นแบบเฉพาะที่ไม่ว่าจะเป็น ศีรษะ ข้อศอก พับใน หลัง แขน เล็บ (เกิดได้เกือบทุกที่)
แหล่งที่มา : morsengbrand.com