สาเหตุการเกิดโรคถุงลมโป่งพอง ป้องกัน โรคถุงลมโป่งพอง ระบบหายใจโรคถุงลมโป่งพองอันตราย


739 ผู้ชม


สาเหตุการเกิดโรคถุงลมโป่งพอง ป้องกัน โรคถุงลมโป่งพอง ระบบหายใจโรคถุงลมโป่งพองอันตราย


สาเหตุการเกิดโรคถุงลมโป่งพอง ป้องกัน โรคถุงลมโป่งพอง ระบบหายใจโรคถุงลมโป่งพองอันตราย
สาเหตุการเกิดโรคถุงลมโป่งพอง ป้องกัน โรคถุงลมโป่งพอง ระบบหายใจโรคถุงลมโป่งพองอันตราย
สาเหตุการเกิดโรคถุงลมโป่งพอง ป้องกัน โรคถุงลมโป่งพอง ระบบหายใจโรคถุงลมโป่งพองอันตราย
โรคถุงลมโป่งพอง (Pulmonary Emphysema)

ส่วนใหญ่เกิดจากการสูบบุหรี่ พบในผู้สูงอายุ โดยที่สมรรถภาพการทำงานของปอดจะค่อยๆ ลดลงไปเรื่อยๆ และผู้ป่วยจะมีอาการเหนื่อยเป็นลำดับ เมื่อโรคเป็นมากขึ้น แม้เพียงทำกิจวัตรประจำวัน เช่น ล้างหน้า แปรงฟัน รับประทานอาหาร ผู้ป่วยก็จะรู้สึกเหนื่อย ผู้ป่วยโรคนี้ต้องทนทุกข์ทรมานมาก ทำให้สุขภาพและความเป็นอยู่เสื่อมถอยลง ซึ่งรวมทั้งทางด้านจิตใจด้วย นอกจากนั้นยังเป็นภาระกับบุคคลในครอบครัว และต้องเสียค่าใช้จ่ายในการรักษาเป็นจำนวนมาก

ภายในปอดประกอบไปด้วยถุงลมเล็กๆ เป็นจำนวนนับล้านๆ ถุง ถุงลมเหล่านี้มีขนาดเล็กมากกว่าปลายเข็ม
ผนังถุงลมจะบางมาก และมีเส้นเลือดฝอยบุอยู่ตามผนังถุงลม เวลาคนเราหายใจเข้าสู่ปอด อากาศที่มีออกซิเจน
จะเข้ามาถึงถุงลมเล็กๆ เหล่านี้ ซึ่งจะเป็นที่ที่ออกซิเจนซึมผ่านผนังถุงลมเข้าสู่เส้นเลือดฝอยเพื่อไปเลี้ยงร่างกาย ขณะเดียวกันคาร์บอนไดออกไซด์ซึ่งเป็นก๊าซเสียจะถูกขับออกจากเส้นเลือดฝอยเข้าสู่ถุงลม และถูกขับออกจากร่างกายโดยการหายใจออก

สาเหตุของโรค

สาเหตุส่วนใหญ่เกิดจากการสูบบุหรี่ เนื่องจากการสูบบุหรี่จะต้องมีการสูดเอาควันบุหรี่เข้าไปในร่างกาย โดยผ่านเข้าไปในปอด สารพิษในควันบุหรี่ที่มีมากมายก่อให้เกิดอันตรายต่อเนื้อปอดและหลอดลม

ในชาวตะวันตก พบสาเหตุเกิดจากภาวะพร่องเอ็นซัยม์อัลฟาวันแอนติทริปซิน กลุ่มนี้ทำให้เกิดโรคถุงลมโป่งพองชนิดถ่ายทอดทางพันธุกรรม อาการปรากฎเด่นชัดในช่วงวัยกลางคน ผู้ป่วยมักจะไม่สูบบุหรี่ ภาวะนี้พบได้ร้อยละ 3 ของโรคปอดเรื้อรังทั้งหมด

ปัจจุบันพบว่ามีผู้เสียชีวิตด้วยโรคจากบุหรี่ทั่วโลกประมาณปีละ 5 ล้านคน ทุกๆ 10 รายที่เสียชีวิต จะมี 1 รายที่เสียชีวิตด้วยสาเหตุจากบุหรี่ องค์การอนามัยโลกคาดว่าภายในปี ค.ศ. 2030 ตัวเลขจะเพิ่มเป็น 1 รายในทุก 6 ราย หรือประมาณ 10 ล้านคนต่อปี ถ้าแนวโน้มยังเป็นอยู่ดังที่ปรากฎ คนจำนวน 500 ล้านคน ที่ยังมีชีวิตอยู่ในวันนี้จะสูญเสียด้วยสาเหตุจากบุหรี่ในอนาคต ครึ่งหนึ่งในจำนวนดังกล่าวในวัยกลางคน คนเหล่านั้นจะมีอายุสั้นกว่าที่ควรประมาณ 20-25 ปี

ในปี ค.ศ. 1990 ผู้เสียชีวิต 2 ใน 3 ราย ด้วยสาเหตุจากบุหรี่ เป็นผู้ที่อยู่ในประเทศที่มีรายได้สูง แต่ภายในปี ค.ศ. 2030 ผู้เสียชีวิต 7 ใน 10 ราย ด้วยสาเหตุจากบุหรี่ จะเป็นผู้ที่อยู่อาศัยในประเทศที่ประชากรมีรายได้น้อยและรายได้ปานกลาง

ข้อมูลในประเทศไทย

  1. จากข้อมูลของสำนักงานสถิติแห่งชาติ พบว่า ประชากรอายุ 15 ปีขึ้นไป มีจำนวน 49.9 ล้านคน เป็น
    ผู้ที่สูบบุหรี่ประมาณ 11.3 ล้านคน หรือร้อยละ 23.0 สูบบุหรี่เป็นประจำทุกวัน 9.6 ล้านคน หรือร้อยละ 19.5 และสูบบุหรี่นานๆ ครั้ง 1.7 ล้านคน หรือร้อยละ 3.5 โดยเป็นชายร้อยละ 43.7 เป็นหญิงเพียงร้อยละ 2.6 และผู้ที่สูบบุหรี่ ส่วนใหญ่อยู่นอกเขตเทศบาลโดยมีอัตราร้อยละ 25.5
  2. เมื่อพิจารณาการสูบบุหรี่เป็นประจำ พบว่า กลุ่มวัยทำงานอายุ 25-59 ปี มีอัตราของการสูบบุหรี่เป็นประจำสูงกว่ากลุ่มอายุอื่น คือ ร้อยละ 22.8 และรองลงมาเป็นกลุ่มผู้สูงอายุ 60 ปี ขึ้นไปมีร้อยละ 17.7 และกลุ่มเยาวชนอายุ 15.24 ปี มีร้อยละ 11.2 ผู้ที่สำเร็จการศึกษาระดับประถมศึกษา และก่อนประถมศึกษา มีอัตราของการสูบบุหรี่เป็นประจำใกล้เคียงกันและสูงที่สุด คือมีประมาณ ร้อยละ 23 ในขณะที่
    ผู้ที่ไม่ได้รับการศึกษา มีอัตราสูงเช่นกัน คือร้อยละ 20.0
  3. สำหรับอาชีพของผู้สูบบุหรี่ พบว่า ผู้ปฏิบัติงานในธุรกิจด้านความสามารถทางฝีมือ และธุรกิจอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง มีอัตราของการสูบบุหรี่เป็นประจำสูงกว่าอาชีพอื่น คือ ร้อยละ 30.8 ส่วนอายุของผู้ที่เริ่มสูบบุหรี่เป็นประจำ พบว่า เริ่มสูบบุหรี่เมื่ออายุเฉลี่ย 18.4 ปี ชายเริ่มสูบบุหรี่เร็วกว่าหญิง โดยชายเริ่มสูบเมื่ออายุ 18.2 ปี ขณะที่หญิงเริ่มสูบเมื่ออายุ 21.7 ปี

อาการ

ผู้ป่วยโรคถุงลมโป่งพองจะมีอาการแตกต่างกันได้มาก ตั้งแต่มีอาการเพียงเล็กน้อย จนมากถึงขนาดไม่สามารถดำรงชีวิตได้ตามปกติ ระยะแรกๆ จะมีอาการไอเรื้อรัง อาจมีเสมหะร่วมด้วย เป็นหวัดง่ายแต่หายช้า หลอดลมอักเสบบ่อยๆ หากยังสูบบุหรี่อยู่ อาการก็จะเป็นมากขึ้นเรื่อยๆ ระยะต่อมาจะมีอาการเหนื่อยหอบมากขึ้นเรื่อยๆ
หน้าอกบวมโป่ง หายใจมีเสียงวี้ดในอก ออกกำลังได้น้อย ขึ้นบันไดหรือเดินเร็วๆ ก็เหนื่อยแล้ว ระยะที่โรคเป็นมาก แม้จะทำอะไรเล็กๆ น้อยๆ ผู้ป่วยก็จะเหนื่อย เช่น เดินไปมาในบ้านก็เหนื่อย และระยะสุดท้ายอยู่เฉยๆ ก็เหนื่อย
ไม่สามารถทำอะไรได้เลย เหมือนคนพิการ ต้องนอนเฉยๆ และต้องใช้ออกซิเจน ช่วยในการหายใจตลอดเวลา เนื่องจากถุงลมถูกทำลายจนไม่สามารถทำหน้าที่ได้อีก

ผู้ป่วยโรคปอดเรื้อรัง มักจะมีอาการไอเป็นเลือดได้บ่อย ซึ่งจะเกิดขึ้นในระยะที่โรคกำลังกำเริบ ผู้ป่วยไอมาก ไอรุนแรง เสมหะข้นเหนียวและ มีหนองปน เลือดที่ปนออกมาไม่มากเท่าใดนัก อาการไอเป็นเลือดอาจเป็นอาการของโรคมะเร็งปอดที่เกิดขึ้นร่วมด้วยได้ จึงควรไปพบแพทย์และตรวจวินิจฉัยเพิ่มเติม

โรคนี้สามารถให้การวินิจฉัยได้จากประวัติอาการ การตรวจร่างกาย การตรวจภาพรังสีการประเมินความรุนแรงของโรค พบว่าบางครั้งโรคจะอยู่ในระยะสงบ ผู้ป่วยสบายดีหรือมีอาการหอบเหนื่อยเพียงเล็กน้อย ในขณะที่บางครั้งอาการอาจรุนแรงมาก อาการหอบเป็นมากขึ้น รู้สึกเหนื่อย กินอาหารไม่ได้ นอนไม่ได้ การตรวจวัดสมรรถภาพของปอดและทางเดินหายใจช่วยประเมินความรุนแรงของโรคได้เป็นอย่างดี เครื่องไม้เครื่องมืออาจแตกต่างกันไปได้บ้าง แต่ผลการตรวจจะช่วยให้แพทย์วางแนวทางการดูแลรักษาได้อย่างถูกต้องแม่นยำมากยิ่งขึ้น นอกจากนี้ การวัดระดับความเข้มข้นของก๊าซออกซิเจนในเลือด ก็ถือว่าเป็นดัชนีที่มีประโยชน์ในการประเมินความรุนแรงของโรคเช่นกัน

การรักษา

หลักการรักษาโรคถุงลมโป่งพอง นอกจากจะบรรเทาอาการของผู้ป่วยแล้ว แพทย์ยังจะต้องนึกถึงวิธีที่จะทำให้คุณภาพชีวิตของผู้ป่วยดีขึ้น และถ้าเป็นไปได้ให้มีชีวิตอยู่นานขึ้นด้วย การรักษาตัวของผู้ป่วยถ้าทำโดยถูกวิธี อย่างน้อยอาจทำให้ผู้ป่วยสบายขึ้น มีอาการเหนื่อยน้อยลง สามารถที่จะทำงานหรือช่วยตัวเองได้มากขึ้น อาการกำเริบของโรคน้อยลงและเข้ารับการรักษาตัวในโรงพยาบาลน้อยลงด้วย

ยาขยายหลอดลม

ยาขยายหลอดลมมีทั้งชนิดกิน ฉีด และพ่น บางชนิดออกฤทธิ์ยาว บางชนิดออกฤทธิ์สั้น ปัจจุบันนิยมใช้ยาขยายหลอดลมชนิดพ่นที่ออกฤทธิ์นาน ส่วนยาขยายหลอดลมชนิดพ่นที่ออกฤทธิ์รวดเร็วมีประโยชน์ในกรณีที่
ผู้ป่วยเริ่มมีอาการหอบ การเลือกใช้ยาเหล่านี้ตามคำแนะนำของแพทย์ช่วยให้การดูแลรักษาโรคดีขึ้นมาก บ่อยครั้งช่วยให้อาการของโรคที่กำลังจะกำเริบบรรเทาทุเลาลงได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการใช้ยาพ่นให้ถูกวิธีช่วยให้ผู้ป่วยได้รับยาในขนาดและปริมาณที่เหมาะสม

    1. ธีโอไฟลีน (theophylline) เป็นยาขยายหลอดลมออกฤทธิ์ต่อกล้ามเนื้อของหลอดลมโดยตรง ทำให้หลอดลมขยายตัว มีทั้งยาเม็ดรับประทานและยาฉีด ปัจจุบันนิยมใช้ธีโอไฟลีนชนิดรับประทานวันละสองครั้ง
    2. Tahoma">ยากระตุ้นระบบประสาทอัตโนมัติชนิดซิมพาเตติก (beta-2 agonist) 
มีทั้งชนิดที่ออกฤทธิ์เร็วและมีฤทธิ์อยู่ในระยะเวลาสั้นๆ และชนิดที่ออกฤทธิ์ช้า แต่มีฤทธิ์อยู่ได้นาน เรามักใช้ยาที่ออกฤทธิ์เร็ว แต่มีฤทธิ์สั้นเป็นยาแก้อาการเมื่อมีอาการเหนื่อย ซึ่งเมื่อใช้โดยการพ่นยายาจะออกฤทธิ์ใน 5-15 นาที และอยู่ได้ประมาณ 4-6 ชั่วโมง ส่วนยาชนิดที่ออกฤทธิ์ช้า แต่มีฤทธิ์อยู่นานเป็นยาที่ใช้ประจำพ่นตามเวลา เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดอาการเหนื่อย ซึ่งอาจใช้พ่นวันละ 2-3 ครั้งได้ สำหรับยาในกลุ่มนี้ชนิดเม็ดสำหรับรับประทาน มักทำให้เกิดอาการข้างเคียง มือสั่น ใจสั่น ซึ่งบางคราวเป็นมาก แพทย์จึงมักจะหลีกเลี่ยงไม่ใช้ยารับประทาน
  1. ยาต้านการทำงานของระบบประสาทอัตโนมัติชนิดพาราซิมพาเตติก (anticholinergic drug) ใช้เป็นยาป้องกันเพราะออกฤทธิ์ช้า จึงไม่ใช้เป็นยาแก้อาการ ใช้พ่นวันละ 4 ครั้ง ยากลุ่มนี้มียาที่ออกมาใหม่ และ
    น่าสนใจซึ่งใช้เพียงวันละครั้งก็พอ บางบริษัทได้ผลิตยาพ่นที่มีตัวยา 2 ชนิดนี้ร่วมกัน และจากการศึกษาวิจัยพบว่าการใช้ยาที่มีตัวยาสองชนิดร่วมกันดีกว่าการใช้ยาตัวหนึ่งตัวใดแต่อย่างเดียว

ยาสเตียรอยด์

ในกรณีที่อาการรุนแรงหรือมีอาการหลอดลมอักเสบร่วมด้วย แพทย์อาจพิจารณาใช้ใช้ยาสเตียรอยด์ ซึ่งออกฤทธิ์ต้านการอักเสบได้ดี บรรเทาอาการต่างๆ ได้มาก นิยมใช้ในระยะกำเริบเพื่อควบคุมอาการให้กลับสู่ปกติ ไม่นิยมใช้ต่อเนื่องเนื่องจากเป็นยาที่มีผลข้างเคียงมาก และจำเป็นต้องมีความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับการใช้ยานี้ ร้อยละ 10-15 ของผู้ป่วยมีอาการดีขึ้นชัดเจน ผลการตรวจพบสมรรถภาพของปอดพบว่าดีขึ้นภายหลังการใช้ยาคอร์ติโคสเตียรอยด์เช่นกัน ปัจจุบันจึงนิยมใช้ยาสเตียรอยด์ชนิดพ่นมากกว่าชนิดรับประทานหรือฉีด

ยาอื่นๆ

การใช้ยาปฏิชีวนะ ไม่จำเป็นต้องใช้ในทุกกรณี หากพบว่าหรือมีหลักฐานชวนให้สงสัยว่าเกิดการอักเสบติดเชื้อของระบบทางเดินหายใจ แพทย์จึงจะพิจารณาเลือกใช้ยาปฏิชีวนะ โดยพิจารณาให้ยาเมื่อมีการกำเริบของโรค พบว่ามีการอักเสบของหลอดลมเนื่องจากการติดเชื้อเกิดขึ้น ผู้ป่วยจะมีอาการไอมีเสมหะมากขึ้น และเสมหะเปลี่ยนจากสีขาว เป็นสีเหลือง หรือสีเขียว หรือเป็นหนอง และผู้ป่วยอาจจะมีไข้ร่วมด้วย

ส่วนยาละลายเสมหะ ใช้เมื่อมีเสมหะเหนียว และเสมหะมาก แต่ยาที่ทำให้เสมหะคลายความเหนียวได้ดีที่สุดคือ น้ำ เพราะฉะนั้นผู้ป่วยควรจะดื่มน้ำให้เพียงพอ ถ้าร่างกายขาดน้ำจะทำให้เสมหะเหนียวขึ้น การพ่นละอองไอน้ำเข้าไปในอากาศที่หายใจเข้าไปอาจทำให้เสมหะออกง่ายขึ้น

ออกซิเจน

ผู้ป่วยโรคปอดเรื้อรังบางรายได้ผลดีจากการใช้เครื่องช่วยเพิ่มออกซิเจนผ่านทางหน้ากาก นิยมใช้ตอนกลางคืนขณะนอนหลับ ข้อดีของอุปกรณ์ชนิดนี้คือสามารถลดการคั่งของก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ได้มากพอสมควร และยังสามารถปรับระยะเวลาการใช้เครื่องได้ตามความต้องการของผู้ป่วยแต่ละราย นอกจากนี้การใช้ออกซิเจนที่บ้านในกรณีที่ผู้ป่วยมีออกซิเจนในเลือดไม่เพียงพอ ซึ่งจะทราบได้โดยการใช้เครื่องวัดดูความอิ่มตัวของออกซิเจนในเลือด หรือสังเกตเห็นผู้ป่วยมีปากเขียว ลิ้นเขียว โดยเฉพาะขณะออกกำลัง ในการศึกษาวิจัยพบว่าผู้ป่วยที่มีการขาดออกซิเจนนั้น ถ้าให้ออกซิเจนนอกจากจะทำให้ผู้ป่วยสบายขึ้นแล้ว ยังทำให้ผู้ป่วยมีอายุยืนยาวขึ้นอีกด้วย

การดูแลสุขภาพ

ผู้ป่วยที่เป็นโรคนี้ควรได้รับอาหารที่เหมาะสมรวมทั้งวิตามิน และเกลือแร่ ในขณะที่โรคมีอาการกำเริบขึ้นความต้องการอาหารและสารพวกนี้จะมีปริมาณสูงขึ้น
  1. การพักผ่อน ผู้ป่วยจำเป็นต้องมีการพักผ่อนให้เพียงพอ ผู้ป่วยพวกนี้อาจมีอาการนอนหลับไม่สนิทเนื่องจากมีความกังวลและมีความซึมเศร้าในการเจ็บป่วยของตนเอง หรือตื่นขึ้นมาบ่อยเนื่องจากหายใจไม่สะดวก การใช้ยานอนหลับควรใช้เมื่อจำเป็นเท่านั้น
  2. การบริหารร่างกายเพื่อให้กล้ามเนื้อช่วยการหายใจแข็งแรงขึ้น และการหายใจอย่างถูกวิธี จะช่วยทำให้อาการเหนื่อยนั้นลดน้อยลงได้
  3. การออกกำลังกายโดยสม่ำเสมอ จะทำให้ร่างกายผู้ป่วยแข็งแรงขึ้น สามารถเดินได้ไกลขึ้น และช่วยเหลือตัวเองได้มากขึ้น

การฟื้นฟูสมรรถภาพปอด

การฟื้นฟูสมรรถภาพปอดต้องกระทำทั้งในระยะปกติ ระยะอาการป่วยกำเริบ และหลังจากฟื้นจากอาการป่วย ในกรณีที่มีเสมหะคั่ง ถ้าไม่ได้ดูดเอาเสมหะออก ผู้ป่วยอาจจะเสียชีวิตได้ นอกจากนี้ควรบำบัดเพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนของโรค เช่น ป้องกันการแฟบของปอด ในผู้ป่วยที่อาการดีขึ้นแล้ว ควรเร่งฟื้นฟูสมรรถภาพการทำงานของ
ร่างกายของผู้ป่วยให้กลับไปสู่ภาวะปกติได้เร็วขึ้น โดยเน้นการออกกำลังเพื่อให้กล้ามเนื้อการหายใจแข็งแรงขึ้น ปัจจุบันเป็นที่ทราบกันดีว่าการหายใจที่ถูกวิธีจะทำให้ผู้ป่วยมีอาการน้อยลง จนอาจสามารถช่วยตนเอง หรือทำงานได้มากขึ้น และมีชีวิตยืนยาวขึ้น

ความรู้ใหม่ในช่วงสองสามปีที่ผ่านมา

การศึกษากลไกการทำลายเซลล์เยื่อบุถุงลมในโรคถุงลมโป่งพอง พบว่ากระบวนการอักเสบที่เกิดขึ้นเนื่องมาจากขบวนการภายในเซลล์ เรียกว่า chromatin unwinding ส่วนหนึ่งเกิดจากการเสียสมดุลของเอนไซม์สองชนิด histone deacetylases (HDACs) และ histone acetylases ทำให้เกิด acetylated histone มากผิดปกติ ในผู้ป่วยโรคถุงลมโป่งพอง พบว่าสารอนุมูลอิสระที่เกิดจากบุหรี่ ทำให้เกิดการสร้างโปรตีนก่อการอักเสบ matrix metalloproteinases (MMPs) และ neutrophil chemokines เช่น interleukin-8, tumor necrosis factor เพิ่มมากขึ้นอย่างมากมายมหาศาล นักวิทยาศาสตร์เชื่อว่าความรู้ใหม่ที่เกิดขึ้นจะนำมาซึ่งการพัฒนายาเพื่อชะลอหรือรักษาบรรเทาอาการของโรคให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นในอนาคตอันใกล้

 

แหล่งที่มา : loenghospital.cathosting.in.th

อัพเดทล่าสุด