อยากเก่งคณิต อยากเก่งคณิตขั้นเทพ อยากเก่งคณิตแต่โง่มากก


871 ผู้ชม


อยากเก่งคณิต อยากเก่งคณิตขั้นเทพ อยากเก่งคณิตแต่โง่มากก
ฉลาดคณิต สนุกรู้มิติสัมพันธ์
คณิตศาสตร์ คณิตศาสตร์และมิติสัมพันธ์ คือความฉลาดทางสติปัญญา2 ใน 8 ด้านจากทฤษฎีพหุปัญญา (Multiple Intelligences)ของโฮเวิร์ด การ์ดเนอร์ นักจิตวิทยาด้านการคิดและการศึกษาที่รู้จักกันทั่วโลกซึ่งความฉลาดทั้ง 2 ด้านนี้สามารถเรียนรู้และเกิดขึ้นไปพร้อมกันได้ใน Smart tips นี้ค่ะ
และมิติสัมพันธ์ คือความฉลาดทางสติปัญญา 2 ด้านมารวมกัน จะเกิดการเรียนรู้มิติสัมพันธ์ผ่านการเชื่อมโยงสิ่งที่มองเห็น เช่น รูปทรง ทิศทาง ตำแหน่ง ควบคู่กับคณิตศาสตร์ที่เป็นการคิดคำนวณอย่างเป็นเหตุเป็นผล เช่น จำนวน ความสมดุล ลำดับ ชีวิตประจำวันฯลฯ ทำให้เจ้าหนูพบคณิตศาสตร์ได้หลากรูปแบบจนนึกไม่ถึงเชียวล่ะ
พร้อมแล้วชวนเจ้าหนูนับถอยหลัง  5 ...4...3..2..1 ไปเพลินกับคณิตพร้อมกับการเรียนรู้มิติสัมพันธ์กันเลยค่ะ 
Tip 1 ใช้สัญลักษณ์แทนตัวเลข
3             (ภาพพริกหยวก)
6             (ภาพพริกหยวกสลับกับส้ม)
วัยเด็กยังไม่มีความชำนาญมากพอในการเรียนรู้สัญลักษณ์ที่มีความหมายเฉพาะ การแทนค่าตัวเลขซึ่งเป็นสัญลักษณ์ (นามธรรม)ด้วยสิ่งที่เราพบเห็นในชีวิตประจำวัน (รูปธรรมจะสร้างความเข้าใจได้ดีกว่าค่ะ เช่น
การใช้ผลไม้แทนสิ่งต่างๆ ช่วยน้องนับเลขอย่างง่ายๆ
ชวนหนูรู้จักเลขคู่เลขคี่ เช่น พริกหยวกแทนเลขคี่ ส้มแทนเลขคู่ ให้เห็นความสัมพันธ์ของตัวเลขผ่านการจัดวางตามลำดับ

Tip 2 สนุกกับจำนวนนับ
พอลูกรู้สึกคุ้นเคยกับจำนวนแล้ว ลองเติมความสนุกให้กับตัวเลข เช่น

  • หาตัวเลข 1-9 ที่ซ่อนอยู่รอบตัว แล้วทำเป็นบันทึกการสืบค้น เช่น โทรทัศน์ 1 เครื่อง ประตู 2 บาน โต๊ะ 3 ตัว แจกัน 4 ใบ     รองเท้า5 คู่ เพิ่มเติมเรื่องตำแหน่งด้วยการเพิ่มโจทย์การจดบันทึก เช่น โทรทัศน์ 1 เครื่อง อยู่ด้านหน้าโต๊ะเขียนหนังสือ เป็นต้น
  • เจาะลึกถึงตัวเลขที่เราอาจมองไม่เห็นจริง เช่น การกะน้ำหนักของหนู ส่วนสูงของคุณพ่อ ก่อนการชั่งน้ำหนักหรือวัดส่วนสูง ฝึกการสังเกต ซึมซับความหมายของตัวเลข เติมความเข้าใจจากเลขหนึ่งหลักเป็นสองหลัก

 Tip 3 เรขาคณิตแสนสนุก
ได้เวลาฝึกฝนเรขาคณิตด้วยอุปกรณ์แค่กระดาษและกรรไกรค่ะ
- สร้างแบบจำลองห้องนอนของหนูด้วยการตัดกระดาษรูปเรขาคณิตมาประกอบเป็นห้องนอน ลงบนกระดาษ เช่น เตียงนอนเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า หมอนเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส พรมเช็ดเท้าเป็นรูปวงกลม
- เสริมทักษะด้วยการนำการ์ดมาประกอบกันเป็นรูปร่างต่างๆ เช่น สี่เหลี่ยมคางหมูเกิดจากสี่เหลี่ยม 2 อันและสามเหลี่ยม 1 อัน
- ฝึกคิดคำนวณพื้นที่ เช่น การ์ดสี่เหลี่ยมขนาดกว้างยาวด้านละ 1 นิ้ว เมื่อนำมาประกอบกัน 4 อัน กลายเป็นสี่เหลี่ยมจัตุรัสขนาดใหญ่ มีพื้นที่รวม 4 ตารางนิ้ว
- ลองเพิ่มหรือลดการ์ดแล้วพัฒนาเป็นสูตรคำนวณ กว้าง x ยาว = หน่วยพื้นที่ เช่น ตารางนิ้ว เป็นต้น

Tip 4 สนุกกับอัตราส่วน
เรียนรู้มิติสัมพันธ์ด้านคณิตศาสตร์ เชื่อมโยงตัวเลขผ่านร่างกายของเรา เปรียบเทียบกับอัตราส่วนจริง(คุณพ่อคุณแม่ช่วยเป็นต้นแบบ เพื่อให้ได้สัดส่วนใกล้เคียงมาตรฐานจริง ค่าที่ได้อาจเป็นเพียงค่าประมาณ แต่ก็ได้สนุกเรียนรู้ไปพร้อมกันด้วยค่ะ)
1 นิ้ว = ความกว้าง 1 นิ้วโป้ง 
1 ฟุต = ความยาวของเท้า
1 ศอก = ความยาวจากปลายนิ้วกลางถึงข้อศอก

Tip 5 เตรียมความพร้อม บวก-ลบ-คูณ-หาร
ก่อนรู้จักเครื่องหมายบวก ลบ คูณ หาร ลองจัดบรรยากาศรอบตัวให้เป็นสนามประลองโจทย์คณิตศาสตร์ให้เจ้าหนูเห็นการ เปลี่ยนแปลงย้ายที่ของค่าตัวเลขจริง วิธีนี้จะช่วยเรียนรู้ได้ดีกว่าการตั้งโจทย์ 1+1 =? ค่ะ
- วัยอนุบาล...เรียนรู้บวกลบ เช่น จัดมุมร้านค้าขายผลไม้จริงที่ซื้อมารับประทานอยู่แล้ว มีส้ม 2 กล่อง กล่องแรกมีส้ม 5 ผล กล่องที่สองมีส้ม 15 ผล แล้วตั้งโจทย์ว่าทำอย่างไรให้ทั้ง 2 กล่อง มีส้มกล่องละ 10 ผล เจ้าหนูก็จะนับแยกผลส้มจริง ซึ่งจะทำให้เข้าใจได้ง่ายและเร็วกว่าการบวกลบตัวเลขค่ะ
วัยประถมต้น...ฝึกฝนคูณหาร เช่น คำนวณเวลา ลองชี้เข็มนาฬิกาให้เขาดู ถ้าคุณแม่พับผ้าคนเดียว เข็มยาวจะเดินจากเลข 1 ถึงเลข 4 ถามเขาว่าถ้าคุณแม่กับหนูช่วยกันพับสองคน จะใช้เวลาสั้นลงครึ่งหนึ่ง เข็มจะชี้ไปที่เลขไหน แล้วถ้าเพิ่มเสื้อผ้าที่ต้องพับอีกเท่าตัว จะต้องใช้เวลาเพิ่มขึ้นหรือลดลงเท่าไร อ๊ะ...อย่าลืมช่วยกันพับผ้าทดลองจริงด้วยนะคะ

Tip 6 คิดคำนวณในชีวิตจริง 
เติมความแม่นยำด้วยการสอนคณิตจากเรื่องใกล้ตัวค่ะ
- คณิตจ่ายตลาด เช่น ลองให้เจ้าหนูช่วยคิดว่าจะใช้เงิน 100 บาท เพื่อซื้อวัตถุดิบไปทำข้าวผัดหมูสับแครอทใส่ไข่ สำหรับพ่อแม่และตัวหนูเอง? เขาจะได้ฝึกคำนวณทั้งปริมาณและราคาค่ะ
- เปรียบเทียบของชนิดเดียวในปริมาณและราคาที่ต่างกัน เช่น สบู่ 100 กรัม กับ 200 กรัม ราคา 10 บาท และ 15 บาท ซื้อก้อนไหนจึงจะประหยัดเงินมากกว่า
การเรียนรู้ของวัยนี้ไม่ว่าจะเป็นเรื่องใด ควรให้ความสำคัญกับความเข้าใจมากกว่าความจำ เพื่อเป็นรากฐานเชื่อมโยงสู่การเรียนรู้ด้านอื่นๆ ในอนาคต ที่สำคัญคุณพ่อคุณแม่ต้องช่วยกระตุ้นการเรียนรู้ในเรื่องนั้นๆ อย่างสนุกสนาน เพื่อสร้างจิตใจใฝ่รู้ให้กับลูกค่ะ
................................................................................................................

กองบรรณาธิการนิตยสาร Kids and School จากคอลัมน์ Smart Tips


แหล่งที่มา : iqeqdekthai.com

อัพเดทล่าสุด