วิธีแก้นิสัยเด็กก้าวร้าว ประตูใจ ใช้กุญแจดอกไหนเปิดดี ประตูใจ ใช้กุญแจดอกไหนเปิดดี ...คุณพ่อ คุณแม่ … คุณเคยรู้สึกบ้างไหมว่าการพูดคุย “สื่อ” กับลูกเป็นเรื่อง “ไม่ง่าย” คุณอยากจะบอก อยากจะสั่งสอนเขา แต่มันดูราวกับคุณต้องพูดข้ามผนังห้องหรือผ่านกำแพงกั้น ลองทบทวนวิธีการที่คุณใช้อยู่ กับวิธีการเหล่านี้สิ ... วิธีการที่ผู้เชี่ยวชาญเรื่องการสื่อสาร ให้ ความเห็นว่าเป็นวิธีการที่ใช้เป็น ”กุญแจ” ที่จะช่วยทำให้เด็ก “เปิดใจ” และยอมเล่าความรู้สึกนึกคิดที่เขาเก็บอยู่ ภายในกับผู้ใหญ่ได้ คุณพ่อคุณแม่อาจลองฝึกเรียนรู้ที่จะใช้คำพูดบางคำ หรือบางประโยคให้เหมาะ ที่จะใช้สื่อกับลูกของคุณเองซึ่งจะช่วยให้ลูกแบ่งปันความรู้สึกของเขาให้คุณ รับรู้ได้ ลองประยุกต์ใช้วิธีการเหล่านี้ เพื่อสร้างความใกล้ชิดและเสริมบรรยากาศแห่งความไว้เนื้อเชื่อใจต่อกันเพราะ นั่นเป็น”กุญแจดอกสำคัญ” ของการสื่อสารในครอบครัว กุญแจดอกที่หนึ่ง :B เรียนรู้ที่จะเป็นผู้ฟังที่ดี ใช้เวลาในการฟังโดยไม่ขัดจังหวะหรือขัดคอลูก รอฟังให้เขาพูดจบเสียก่อนจึง ค่อยตอบสนอง กุญแจดอกที่สอง :B แสดงออกให้ลูกรู้ว่าคุณกำลังฟังเขา มองหน้า สบตากับลูกเวลาที่ลูกพูด นั่งให้อยู่ระดับเดียวกับเขาโดยอาจนั่งข้าง ๆ กุญแจดอกที่สาม : หาจังหวะดี ๆB เวลาคุย เลือกเวลาที่จะคุยกับลูก ในขณะที่เขาผ่อนคลายและให้เวลากับคุณได้เต็มที่ และเป็นเวลาที่คุณเองก็สามารถคุยกับเขาได้โดยไม่มีอะไรคอยมาดึงความสนใจของ คุณอยู่ด้วยเช่นกัน กุญแจดอกที่สี่ : ใส่ใจกับสีหน้า ท่าทางที่ลูกแสดงออก เรียนรู้ว่าลูกกำลังรู้สึกอย่างไรจากภาษากาย ท่าทางที่เขาแสดงออก สังเกตว่าลูกยิ้มหรือหน้านิ่ว ดูผ่อนคลายหรือตึงเครียด กุญแจดอกที่ห้า :B เข้าใจให้กระจ่างชัด พยายามทำความเข้าใจคำพูดของลูก คุณอาจทวนถามซ้ำเพื่อเพิ่มความเข้าใจหรือเพื่อช่วยยืนยันว่าคุณเข้าใจคำพูด ของเขาได้ถูกต้องแล้ว กุญแจดอกที่หก : เลี่ยงการเทศนา อย่าด่วนแสดงความเห็นหรือถามคำถามที่เป็นการตัดสินพฤติกรรมของลูก แต่ช่วยให้เขาได้คิดหาคำตอบหรือหาทางออกด้วยตัวเขาเองจะเหมาะกว่า คำพูดช่วยเปิดใจ แทนที่คุณจะพูดหรือถามลอย ๆ ว่า “เป็นไงล่ะวันนี้” คุณพ่อคุณแม่อาจถามพุ่งประเด็นไปให้ชัดเจนในเรื่องสำคัญที่เกิดกับลูก เช่น“ลูกรู้สึกอย่างไรบ้างกับการสอบเลขวันนี้” (หรือ เหตุการณ์สำคัญใด ๆ ที่เกิดกับเขาวันนี้) แทนที่จะถามว่า “มีอะไรหรือเปล่า” คุณอาจถามให้เจาะจงมากขึ้นและสื่อให้เขารู้ได้ว่าคุณสนใจเขาอย่างแท้จริง เช่น “วันนี้ลูกดูร่าเริงเป็นพิเศษ (หรือโกรธ หงุดหงิด ฯลฯ) เหมือนมีอะไรบางอย่าง ?” แทนที่จะบอกว่า “ถ้าแม่ (หรือพ่อ) เป็นลูกนะ …” ใช่…คุณอาจจะอยากแบ่งปันประสบ-การณ์หรือเสนอแนะกับเขา แต่คุณก็อาจหาคำพูดที่มันดูเป็นการเลคเชอร์น้อยกว่านี้สักหน่อย เช่น “แม่ (หรือพ่อ) เข้าใจดีว่าลูกลำบากใจที่ …” แล้วรอจนลูกถามถึงข้อเสนอแนะหรือความคิดเห็นของคุณ แทนที่จะบอกว่า “แม่คิดว่าลูกควรจะ …” คุณก็ลองปล่อยให้เขาได้แสดงความคิดเห็นของตนเอง เช่น “ลูกคิดอย่างไรบ้างกับเรื่อง…” เด็กหลายคนพอใจที่จะได้แสดงความคิดเห็นและรับรู้ว่าผู้ใหญ่ก็รับฟังความคิด เห็นของเขา แทนที่จะบอกว่า “เมื่อพ่อ (หรือแม่) อายุเท่าแกนะ …” คุณก็อาจช่วยให้ลูกหันมองสถานการณ์ที่เขาเกี่ยวข้องอยู่ตอนนี้ เช่น “แล้วลูกคิดว่าลูกจะจัดการเรื่องนี้อย่างไรต่อไปบ้าง” หรือคำถามอื่น ๆ ที่เหมาะสม ซึ่งช่วยให้เขาได้หัดคิดวิเคราะห์ประเด็นที่เป็นปัญหาเพื่อหาทางออก แม้ว่าการคุยกับลูก โดยเฉพาะเมื่อลูกเข้าวัยรุ่นไม่ใช่เรื่องง่าย แต่ถ้าคุณหัดใช้กุญแจและคำพูดเปิดใจที่เหมาะสมในครอบครัวของคุณบ่อย ๆ การคุยกับลูกก็ไม่ใช่เรื่องยากนัก และอย่าลืมว่าท่าทีที่รับฟัง พร้อมจะตอบสนองด้วยความปรารถนาดี ไม่ว่าใครที่มีเรื่องไม่ว่าจะดีหรือร้ายก็อยากเปิดประตูออกไปหาด้วยกันทั้ง นั้นไม่ใช่หรือ โดย : สุวัฒนา ศรีพื้นผล : สถาบันสุขภาพจิตเด็กและวัยรุ่นราชนครินทร์ |
แหล่งที่มา : icamtalk.com