โรคพุ่มพวงคืออะไร โรคพุ่มพวงระยะสุดท้าย โรคพุ่มพวง ดื่มน้ำอะไรได้บ้าง


765 ผู้ชม


โรคพุ่มพวงคืออะไร โรคพุ่มพวงระยะสุดท้าย โรคพุ่มพวง ดื่มน้ำอะไรได้บ้าง

 

 

โรค SLE (โรคพุ่มพวง)

โรคพุ่มพวงคืออะไร โรคพุ่มพวงระยะสุดท้าย โรคพุ่มพวง ดื่มน้ำอะไรได้บ้าง

เอส แอล อี (SLE) ย่อมาจากคำว่า Systemic lupus erythematosus บางคนอาจรู้จักในคำว่า โรคลูปัส เป็นโรคในกลุ่ม ออโตอิมมูน (autoimmune disease) โรคหนึ่ง

โรคออโตอิมมูน คือโรคที่มีความผิดปกติของระบบภูมิคุ้มกัน ที่โดยปกติทำหน้าที่ต่อต้านและทำลายสิ่งแปลกปลอม ที่เข้ามาในร่างกาย ผ่านกลไกของเม็ดเลือดขาว, แอนติบอดี, การอักเสบ เป็นต้น แต่สิ่งที่ผิดปกติคือ ร่างกายกลับให้ระบบภูมิคุ้มกันต่อต้านเนื้อเยื่อและเซลล์ต่าง ๆ ของร่างกายตนเองในระบบอวัยวะต่าง ๆ ซึ่งต่างจากคำว่า "โรคภูมิแพ้" (Allergy, atopy) ซึ่งหมายถึง ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย มีการตอบสนองต่อสิ่งแปลกปลอม ไวเกินกว่าปกติ เป็นผลให้เกิดการอักเสบขึ้น เช่น แพ้อากาศ, หอบหืด เป็นต้น แต่ไม่มีการต่อต้านเนื้อเยื่อหรือเซลล์ของตนเอง

อาการหรืออาการแสดงอะไร ชวนสงสัยโรค เอส แอล อี

โรค เอส แอล อี มีอาการและอาการแสดงได้หลายระบบ เช่น มีผื่น, ผมร่วง, ปวดข้อ, แผลในปาก, ซีด, บวม เป็นต้น สำหรับการวินิจฉัยโรคนี้ อาศัยเกณฑ์ของสมาคมโรคข้อแห่งสหรัฐอเมริกา (American Rheumatic Association) ผู้ป่วยจะได้รับการวินิจฉัยว่าเป็น เอส แอล อี เมื่อมีอาการหรืออาการแสดง อย่างน้อย 4 ข้อ จาก 11 ข้อต่อไปนี้

- ผื่นแดงที่ใบหน้า บริเวณโหนกแก้ม และสันจมูก ลักษณะคล้ายผีเสื้อ (Malar rash) 
ผื่น Discoid 
- ข้ออักเสบชนิดหลายข้อ และมักเป็นทั้ง 2 ข้างเหมือน ๆ กัน (symmetrical polyarthritis) 
- แผลในปาก 
- อาการแพ้แสง 
- การอักเสบของเยื่อบุชนิด serous เช่น เยื่อหุ้มปอดอักเสบ, เยื้อหุ้มหัวใจอักเสบ 
- อาการแสดงในระบบเลือด (เช่น ซึดจากเม็ดเลือดแดงแตก, เม็ดเลือดขาวต่ำ, เกล็ดเลือดต่ำ) 
- อาการแสดงในระบบประสาท (เช่น ชัก, ซึม ซึ่งอธิบายจากสาเหตุอื่นมิได้) 
- อาการแสดงในระบบไต (เช่น มีความผิดปกติของปัสสาวะ, มีโปรตีนในปัสสาวะ) 
- การตรวจเลือดหา Antinuclear antibody ให้ผลบวก 
- การตรวจเลือดหา Anti-DNA, LE cell, Anti-Sm ได้ผลบวกหรือได้ผลบวกลวงของ VDRL อย่างใดอย่างหนึ่ง

เห็นได้ว่า การวินิจฉัยโรค เอส แอล อี นั้นไม่ง่าย แต่ก็ไม่ยากจนเกินไปนัก และเป็นข้อตระหนักให้ได้ทราบว่า โรคนี้มีการแสดงออกได้ในหลายระบบ แต่ละระบบ อาจมีความรุนแรงน้อยมาก ไม่มีอาการ จนถึงความรุนแรงมากถึงชีวิตได้

ทำอย่างไร ถ้าเราเป็น เอส แอล อี

แม้ว่าในปัจจุบัน จะยังไม่ทราบสาเหตุที่แท้จริง ของโรค เอส แอล อี แต่ความก้าวหน้าทางการแพทย์ ทำให้ผู้ป่วย เอส แอล อี สามารถใช้ชีวิตได้เป็นปกติ เช่นเดียวกับคนทั่วไป โดยมีสุขภาพร่างกาย แข็งแรงเหมือนปกติ ยาที่นำมาใช้ในการรักษา เอส แอล อี ที่สำคัญมี 2 ชนิดได้แก่

ยาสเตอรอยด์ เป็นยาที่ออกฤทธิ์ยับยั้งระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย มิให้ทำการต่อต้านเนื้อเยื่อต่าง ๆ และลดการอักเสบอันเป็นผลจากระบบภูมิคุ้มกันได้ ยานี้สามารถทำให้โรค เอส แอล อี สงบได้อย่างรวดเร็ว และได้ผลดี แต่ข้อเสียคือ ผลข้างเคียงมหาศาล ได้แก่ อ้วนขึ้น, หน้ากลม, ผิวหนังบางและแตกง่าย, กระดูกผุ, กระเพาะอาหารอักเสบและแผลในกระเพาะอาหาร, เบาหวาน, เสี่ยงต่อการติดเชื้อต่าง ๆ ได้ง่าย ยานี้จึงใช้ในระยะสั้น ๆ เพื่อควบคุมโรคให้เข้าสู่ภาวะสงบและลดขนาดยาให้เหลือน้อยที่สุด เท่าที่จำเป็นเท่านั้น

ยาอีกประเภทหนึ่ง ได้แก่ ยาที่ออกฤทธิ์ช้า แต่มีฤทธิ์ควบคุมและเปลี่ยนแปลงการดำเนินโรคได้ (Disease Modifying Antirheumatic Drugs - DMARD) มีคุณสมบัติทำให้โรคเข้าสู่ภาวะสงบได้ ยาออกฤทธิ์ช้า แต่ออกฤทธิ์ได้นาน ยามีผลข้างเคียงน้อยกว่า และไม่รุนแรงเท่า สามารถใช้ยาได้เป็นเวลานาน โดยเสี่ยงต่อผลข้างเคียงที่น้อยกว่ามาก เมื่อเทียบกับ สเตอรอยด์ ตัวอย่างยาในกลุ่มนี้ ได้แก่ คลอโรควิน, ฮัยดรอกซี่คลอโรควิน, อนุพันธ์ของทอง, ยา methotrexate เป็นต้น

ส่วนสำคัญอีกอย่างที่ไม่แพ้การใช้ยา ได้แก่ การปฏิบัติตัวของผู้ป่วย ซึ่งมีความจำเป็น เพราะโรคนี้เป็นเรื้อรัง และยังไม่มียาที่ใช้รักษาได้หายขาดจริง ๆ การรักษาต่อเนื่อง และติดตามการรักษาสม่ำเสมอ จึงมีความสำคัญยิ่งยวด ต่อผลการรักษาและการดำเนินโรค

คำแนะนำการปฏิบัติตัวของผู้ป่วย เอส แอล อี

เอส แอล อี เป็นโรคที่จำเป็นต้องรักษาต่อเนื่อง และต้องการการปฏิบัติตัวอย่างถูกต้อง ดังนี้

- รับประทานยาสม่ำเสมอ ตามแพทย์สั่ง เนื่องจากสาเหตุสำคัญของภาวะกำเริบของโรคอย่างหนึ่ง ได้แก่ การขาดยา 
- ระวังอาการไม่สบาย หรือการติดเชื้อในร่างกาย ทั้งนี้เพราะการติดเชื้อในร่างกาย ไม่ว่าระบบใด ทำให้โรคกำเริบขึ้นได้ นอกจากนี้ ยาสเตอรอยด์ยังมีผลทำให้ติดเชื้อได้ง่าย ถ้าไม่รีบรักษา จะทำให้ความรุนแรงของการติดเชื้อมากกว่าคนธรรมดามาก หลีกเลี่ยงสิ่งกระตุ้นอื่น ที่อาจทำให้โรคกำเริบ เช่น ยาบางชนิด, ความเครียด, การถูกแดด จึงไม่ควรตากแดดนาน, ไม่ซื้อยากินเอง, ทำจิตใจให้แจ่มใส 
- ผู้ป่วยที่มีความผิดปกติของระบบร่างกายต่าง ๆ จำเป็นต้องได้รับการรักษาโรคในระบบนั้น ๆ อย่างดี เช่น ไตอักเสบ, เม็ดเลือดแดงแตก, เกล็ดเลือดต่ำ เป็นต้น 
- ผู้ป่วย SLE พบในผู้หญิงมากกว่าชาย ซึ่งจะมีปัญหาได้เมื่อตั้งครรภ์ จึงควรปรึกษาแพทย์ และอยู่ภายใต้การดูแลของสูติแพทย์ ทันทีที่ทราบว่าตั้งครรภ์


แหล่งที่มา : ultrameaw.exteen.com

อัพเดทล่าสุด