วิธีรักษาโรคพุ่มพวง ดาราใครเป็นโรคพุ่มพวงบ้าง ดูโรคพุ่มพวง


596 ผู้ชม


วิธีรักษาโรคพุ่มพวง ดาราใครเป็นโรคพุ่มพวงบ้าง ดูโรคพุ่มพวง

 


โรคเอสแอลอี  (
SLE)

                       คนทั่วไปเรียกชื่อนี้ว่า  "โรคพุ่มพวง" เนื่องจากนักร้องลูกทุ่งมีชื่อเสียง เสียชีวิตด้วยโรคนี้ SLE ย่อมาจาก Systemic Lupus Erythematosus ยังไม่มีเป็นภาษาไทย SLE เป็นโรคเรื้อรัง เป็นโรคที่เกิดจากภูมิคุ้มกันที่จำร่างกายไม่ได้ จึงสร้างภูมิเกินขึ้นมา และเข้าไปทำลายอวัยวะต่างๆ แทนที่จะทำลายสิ่งแปลกปลอม หรือเชื้อโรคจากภายนอก แต่มีข้อบ่งชี้ว่า มีปัจจัยต่างๆ เหล่านี้ ที่มีส่วนร่วมในการก่อให้เกิดโรค  ฮอร์โมนเพศหญิง    ภาวะเครียด    ยา หรือสารเคมีบางชนิด    กรรมพันธุ์     ภาวะติดเชื้อโรคบางชนิด เช่น เชื้อไวรัสบางอย่าง


สาเหตุ  ยังไม่ทราบแน่ชัด แต่เชื่อว่าเป็นผลมาจากระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายมีการตอบสนองอย่างผิดปกติต่อเชื้อโรคหรือสารเคมีบางอย่าง ทำให้มีภูมิต้านทานต่อเนื้อต่างๆ ของตัวเอง จึงจัดเป็นโรคภูมิแพ้ต่อตัวเอง หรือ ออโตอิมมูน (autoimmune) ชนิดหนึ่งชนิดเดียวกับโรคปวดข้อรูมาตอยด์ แต่โรคนี้มักมีอาการอักเสบของอวัยวะหลายระบบ เช่น ผิวหนัง ข้อกระดูก ไต หัวใจ ปอด หลอดเลือด สมอง เป็นต้น   อาจพบมีสาเหตุกระตุ้นให้อาการกำเริบ เช่น ยาบางชนิด (ซัลฟา ไฮดราลาซีน โปรแคนเอไมด์ เตตราซัยคลินที่เสื่อม) การถูกแดด การกระทบกระเทือนทางจิตใจ การตั้งครรภ์ ฯลฯ
อาการของโรค   เนื่องจากโรคนี้สามารถทำลายอวัยวะได้หลายชนิด ผู้ป่วยจะเกิดอาการ อ่อนเพลีย  มีไข้    เบื่ออาหาร คลื่นไส้     ผื่นคันที่หน้า    ปวดบวมตามข้อ เช่น ข้อนิ้วมือ ข้อไหล่ ข้อเข่า ข้อเท้า    หน้าบวมจากระบบไตทำงานผิดปกติ    ระบบประสาท เช่น อาการชัก พูดเพ้อเจ้อ   ผมร่วง   โลหิตจาง    น้ำหนักลด เป็นต้น    ผู้ป่วยที่เป็นโรค SLE แต่ละคน อาการจะแสดงไม่เหมือนกัน และอาจมีอาการไม่ครบทุกระบบตามตัวอย่างข้างต้น

อาการแทรกซ้อน   อาจทำให้ไตอักเสบ ปอดอักเสบ หัวใจอักเสบ หัวใจวาย ไตวาย และอาจเกิดภาวะติดเชื้อร้ายแรงแทรกซ้อนได้
ผู้ป่วยจะรู้ได้อย่างไร ว่าเป็นโรค   ผู้ที่เป็นโรค จะมีอายุระหว่าง 18-45 ปี ผู้หญิงเป็นมากกว่าผู้ชาย 8-10 เท่า แต่ก็มีพบโรค SLE ในผู้ป่วยที่มีอายุน้อยกว่านี้ หรือในผู้ป่วยสูงอายุ แพทย์จะหาสาเหตุของโรคพบ เมื่อผู้ป่วยมีอาการข้างต้น โดยการตรวจเลือด อาการของโรคมักจะแสดงความรุนแรงมาก หรือน้อย ภายใน 1-2 ปี แรกที่เริ่มอาการ หลังจากนั้นมักจะเบาลงเรื่อยๆ แม้อาจมีอาการกำเริบรุนแรงได้เป็นครั้งคราว

การรักษา   ผู้ป่วยที่ทราบว่าเป็น SLE แล้ว ไม่ควรเปลี่ยนแพทย์ที่รักษา แพทย์ที่รักษาโรคนี้ คือ "รูมาโตโลจิสท์" สาเหตุที่ไม่ควรเปลี่ยนแพทย์เพราะ การรักษาจะต้องต่อเนื่อง ยาที่แพทย์ให้จะเป็นยาที่ป้องกัน ไม่ให้โรคกำเริบ เพื่อยับยั้งการทำลายอวัยวะอื่นๆ และเพื่อลดการอักเสบที่เกิดขึ้น ในอวัยวะต่างๆ ยาที่มีคุณ ก็ย่อมมีโทษ เพราะยาทำให้กระดูกพรุน ทำให้อ้วน อารมณ์แปรปรวน นอนไม่หลับ

SLE เป็นโรคซับซ้อน แต่แพทย์สามารถควบคุมอาการได้ ถ้าผู้ป่วยมาพบแพทย์อย่างสม่ำเสมอ ผู้ป่วยที่ไม่ดูแลเอาใจใส่ตนเอง เมื่อป่วยเป็นโรคนี้แล้ว อาจถึงตายได้ แม้อายุยังน้อย แต่ไม่ได้หมายความว่า โรคนี้จะเกิดอาการรุนแรงในผู้ป่วยทุกราย ผู้ที่มีอาการ ควรไปพบแพทย์แต่เนิ่นๆ เพื่อการวินิจฉัยที่ถูกต้องต่อไป

คลื่นหัวใจ และทำการตรวจพิเศษอื่นๆ   การรักษาในรายที่รุนแรง ควรให้สเตอรอยด์ เช่น เพร็ดนิโซโลน ขนาด 8-12 เม็ดต่อวัน  ติดต่อกันเป็นสัปดาห์หรือหลายเดือนเพื่อลดการอักเสบของอวัยวะต่างๆ ถ้าไม่ได้ผล อาจต้องให้ยากดภูมิคุ้มกัน หรือ ยากดอิมมูน (Immunosuppresive)  เช่น ไซโคลนฟอสฟาไมด์ (Cyclophosphamide) อะชาไทโอพรีม (Azathioprine) เป็นต้น ยานี้เป็นยาอันตราย อาจทำให้ผมร่วงหรือหัวล้านได้ เมื่อหยุดยาผมจะงอกขึ้นใหม่ได้    ในรายที่เป็นไม่รุนแรง (เช่น มีไข้ ปวดข้อ มีผื่นแดงขึ้นที่หน้า) อาจให้คลอโรควีน วันละ 1-2 เม็ด เพื่อช่วยลดอาการเหล่านี้ จนเลิกหรือเลิกใช้เพร็ดนิโซโลนลงได้     นอกจากนี้ อาจให้ยารักษาตามอาการ เช่น ยาแก้ปวดลดไข้ ยาบำรุงโลหิต (ถ้าซีด) ยาปฏิชีวนะ (ถ้ามีอาการติดเชื้อ) เป็นต้น  ผลการรักษา ไม่แน่นอนขึ้นอยู่กับความรุนแรงของโรค และตัวผู้ป่วย บางคนอาจมีโรคแทรกซ้อนและถึงแก่กรรมในเวลาไม่นาน บางคนอาจมีอาการกำเริบเป็นครั้งคราว ถ้าผู้ป่วยสามารถมีชีวิตรอดจากโรคแทรกซ้อนต่างๆ ได้เกิน 5 ปี  โรคก็จะไม่กำเริบรุนแรง และค่อยๆ สงบไปได้ นานครั้งอาจมีอาการกำเริบแต่อาการมักจะไม่รุนแรง และผู้ป่วยสามารถมีชีวิตเยี่ยงคนปกติได้

ข้อแนะนำ

1.             โรคนี้มักแสดงอาการได้หลายแบบ เช่น มีไข้เรื้อรังคล้ายมาลาเรีย มีจุดแดงขึ้นคล้าย ไอทีพี บวมคล้ายโรคไต ชักหรือหมดสติคล้ายสมองอักเสบเสียสติ เพ้อคลั่งคล้ายคนวิกลจริต เป็นต้น ดังนั้นถ้าพบผู้ป่วยที่มีอาการเรื้อรัง ไม่ว่าจะเป็นอาการของระบบใด โดยไม่ทราบสาเหตุให้นึกถึงโรคนี้ไว้เสมอ

2.             โรคนี้ถึงแม้จะมีความรุนแรง แต่ถ้าติดต่อรักษากับแพทย์เป็นประจำและปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด จะช่วยลดอาการแทรกซ้อน และมีชีวิตยืนยาวได้

3.             ผู้ป่วยที่เป็นโรคนี้อาจป้องกันมิให้อาการกำเริบได้ โดยการทำจิตใจให้สบายอย่าท้อแท้สิ้นหวังหรือวิตกกังวลจนเกินไป  ส่วนผู้ที่แพ้แดดง่ายควรหลีกเลี่ยงการออกกำลังกายกลางแดด ถ้าจำเป็นต้องออกกลางแดด   ควรกางร่ม   ใส่หมวกใส่เสื้อแขนยาว      

ควรพยายามหลีกเลี่ยงการติดเชื้อ เช่น อย่ากินอาหารหรือน้ำดื่มที่ไม่สะอาด อย่าเข้าใกล้คนที่ไม่สบาย อย่าเข้าไปในที่ๆ มีคนแออัด เป็นต้น และทุกครั้งที่รู้สึกไม่สบาย ควรรีบไปหาหมอที่เคยรักษา 

แหล่งที่มา : chumchonradio.net

อัพเดทล่าสุด