โรคริดสีดวงทวานหนัก สมุนไพรรักษาโรคริดสีดวง พยาธิสภาพโรคริดสีดวง


1,131 ผู้ชม


โรคริดสีดวงทวานหนัก สมุนไพรรักษาโรคริดสีดวง พยาธิสภาพโรคริดสีดวง

สมุนไพรรักษาโรคริดสีดวงทวารมีอะไรบ้าง

1.ขลู่

โรคริดสีดวงทวานหนัก สมุนไพรรักษาโรคริดสีดวง พยาธิสภาพโรคริดสีดวง

ชื่อวิทยาศาสตร์ :  Pluchea indica  (L.) Less.
 
ชื่อสามัญ :  Indian Marsh Fleabane 
 
วงศ์ :   Asteraceae (Compositae)
 
ชื่ออื่น :  หนวดงั่ว หนวดงิ้ว หนวดงัว หนาดวัว (อุดรธานี) ขี้ป้าน (แม่ฮ่องสอน) คลู ขลู (ภาคใต้)
 
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้พุ่ม สูง 1-2.5 เมตร เปลือกต้นเรียบ สีน้ำตาล ใบ เป็นใบเดี่ยว ออกเรียงเวียน รูปรี ปลายใบเรียวแหลม โคนใบสอบ ขอบใบจักเป็นฟันเลื่อยห่างๆ สีเขียว ก้านใบสั้น ดอก ออกเป็นช่อแยกขนงตามปลายยอด ช่อย่อยเป็นช่อกระจุกแน่น ดอกสีม่วงอ่อน ดอกย่อยมี 2 แบบ ตรงกลางเป็นดอกสมบูรณ์เพศ ดอกที่เหลืออยู่รอบๆ เป็นดอกเพศเมีย กลีบดอกเชื่อมติดกันเป็นหลอด ปลายแยกเป็น 5 แฉก ผล เป็นผลแห้งเมล็ดล่อน รูปทรงกระบอก เป็นสันเหลี่ยม 10 สัน
ส่วนที่ใช้ :  ทั้งต้นสด หรือแห้ง เปลือก ใบ เมล็ด ดอก (นิยมใช้เฉพาะใบ)
 
สรรพคุณ :

ทั้งต้นสด หรือแห้ง - ปรุงเป็นยาต้มรับประทานขับปัสสาวะ แก้โรคนิ่วในไต แก้ปัสสาวะพิการ แก้วัณโรคที่ต่อมน้ำเหลือง เป็นยาช่วยย่อย แก้ริดสีดวงทวารหนัก ริดสีดวงจมูก

เปลือก ใบ เมล็ด  - แก้ริดสีดวงทวาร ริดสีดวงจมูก แก้กระษัย เป็นยาอายุวัฒนะ

ใบ - มีกลิ่นหอม ต้มน้ำดื่ม แทนเป็นน้ำชา เพื่อลดน้ำหนัก แก้ปวดเมื่อย ขับระดูขาว แก้แผลอักเสบ และต้มน้ำอาบบำรุงประสาท สำหรับแก้แผลอักเสบ อาจใช้ใบสดตำพอก บริเวณที่เป็น แก้ริดสีดวงทวาร ยาอายุวัฒนะ

ใบและราก - รับประทานเป็นยาฝาดสมาน แก้บิด แก้ไข้ ขับเหงื่อ แก้แผลอักเสบ ใช้รากสดตำพอกบริเวณที่เป็น

ดอก - แก้โรคนิ่ว

วิธีและปริมาณที่ใช้ :

เป็นยาแก้อาการขัดเบา 
ใช้ทั้งต้นขลู่ 1 กำมือ (สดหนัก 40- 50 กรัม แห้งหนัก 15- 20 กรัม ) หั่นเป็นชิ้นๆ ต้มกับน้ำดื่ม ครั้งละ 1 ถ้วยชา (75 มิลลิลิตร) วันละ 3 ครั้ง ก่อนอาหาร

เป็นยาริดสีดวงทวาร ริดสีดวงจมูก ใช้เปลือกต้น ต้มน้ำ เอาไอรมทวารหนัก และรับประทาน แก้โรคริดสีดวงทวาร หรือใช้เปลือกต้น (ขูดเอาขนออก) แบ่งเป็น 3 ส่วน
ส่วนที่ 1 นำมาตากแห้ง ทำเป็นยาสูบ
ส่วนที่ 2 นำมาต้มน้ำรับประทาน
ส่วนที่ 3 ต้มน้ำเอาไปรมทวารหนัก
เปลือกบางของต้นขูดขนออกให้สะอาด ทำเป็นเส้นตากแห้ง คล้ายเส้นยาสูบ แก้ริดสีดวงจมูก

การใช้ขลู่ในใบชาลดความอ้วน ! การใช้ยาขับปัสสาวะในทางการแพทย์นั้น มักใช้เพื่อลดความดันโลหิต และเพื่อลดอาการบวมน้ำ อาจมีที่ใช้ในกรณีอื่นอีกบ้าง แต่แพทย์ไม่ใช้ยาขับปัสสาวะ เพื่อลดความอ้วน สมุนไพรที่ใช้ชื่อว่า ใบชาลดความอ้วน ทั้งหลาย มักมีสมุนไพรที่มีฤทธิ์ขับปัสสาวะอยู่ด้วย เมื่อแพทย์ไม่ใช้ยาขับปัสสาวะเพื่อลดความอ้วน ทำไมผู้ที่มิใช้แพทย์จึงใช้สมุนไพรขับปัสสาวะเพื่อลดความอ้วน ? (ข้อนี้โปรดใช้วิจารณญาณ)

สารเคมี : ในใบพบ 3-(2,3-diacetoxy-2-methyl butyryl) cuauhtemone

2.ครอบฟันสี

โรคริดสีดวงทวานหนัก สมุนไพรรักษาโรคริดสีดวง พยาธิสภาพโรคริดสีดวง

ชื่อวิทยาศาสตร์ :   Abutilon indicum (L.) Sweet 
 
ชื่อสามัญ :   Country mallow, Indian mallow 
 
วงศ์ :   Malvaceae 
 
ชื่ออื่น :  ครอบ ครอบจักรวาฬ ตอบแตบ บอบแปบ มะก่องเข้า (พายัพ) ก่อนเข้า (เชียงใหม่) โผงผาง (โคราช ) ครอบตลับ หญ้าขัดหลวง หญ้าขัดใบป้อม ขัดมอนหลวง 
 
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :  เป็นพรรณไม้พุ่ม ลำต้นสูงไม่เกิน 5 ฟุต และจะเป็นขนสีขาวนวล ใบจะกลมและโตประมาณ 7 ซม. ใบค่อนข้างหนาจะมีขนสีขาวนวล ดอกจะโตประมาณ 2-3 ซม. เป็นดอกสีเหลือง ผลนั้นจะมีลักษณะกลมเป็นกลีบๆ คล้ายฟันสีที่ใช้สีข้าวแต่ชนิดนี้ผลจะเป็นรูปตูมๆ ไม่บานอ้า เหมือนชนิดอื่น 
ส่วนที่ใช้ :  ทั้งต้น ราก และเมล็ด เก็บในฤดูร้อนและฤดูหนาว ตัดทั้งต้น ล้างสะอาด ตากแห้งเก็บไว้ใช้ 
 
สรรพคุณ :

ทั้งต้น - รสชุ่ม สุขุม ไม่มีพิษ ใช้แก้ร้อน ชื้น ฟอกเลือด แก้ท้องร่วง หูอื้อ หูหนวก แผลบวมเป็นหนอง โรคเรื้อน ปัสสาวะขัด เจ็บ ขุ่น คางทูม ขับลม เลือดร้อน

ราก - รสจืด ชุ่ม เย็น ใช้แก้ร้อน ชื้น ฟอกเลือด แก้ไอ หูหนวก หูชั้นกลางอักเสบ เหงือกอักเสบ คอตีบ ปวดท้อง ท้องร่วง ริดสีดวงทวาร ขับปัสสาวะ

เมล็ด - ใช้แก้บิดมูกเลือด ฝีฝักบัว

วิธีและปริมาณที่ใช้ :

-ทั้งต้นแห้ง 30- 60 กรัม ต้มน้ำดื่มหรือตุ๋นกับเนื้อไก่รับประทาน ใช้ภายนอก ตำพอก

-รากแห้ง 10- 15 กรัม ต้มน้ำดื่ม ใช้ภายนอก ตำพอก หรือต้มน้ำชะล้าง

-เมล็ดแห้ง 3.2 กรัม บดเป็นผงรับประทาน วันละ 3 ครั้ง

ตำรับยา :

แก้ผื่นคัน เนื่องจาการแพ้ ใช้ทั้งต้นแห้ง 30 กรัม ผสมกับเนื้อหมู (ไม่เอามัน) พอประมาณ ตุ๋นน้ำรับประทาน

แก้ริดสีดวงทวาร ใช้ราก 150 กรัม ต้มเอาน้ำข้นๆ ดื่มประมาณ 1 ถ้วยชา ที่เหลืออุ่นเอาไอรมที่ก้นพออุ่นๆ ทนได้ ใช้รมวันละ 5-6 ครั้ง เอาน้ำอุ่นๆ ชะล้างแผล

แก้หกล้ม เป็นบาดแผลหรือร่างกายอ่อนแอ ไม่มีกำลัง ใช้รากแห้ง 60 กรัม ต้มกับขาหมู 2 ขา ผสมกับเหล้าเหลือง 60 กรัม ต้มน้ำรับประทาน

แก้ข้อมือข้อเท้าอักเสบ หรือแผลอักเสบที่ทำให้กล้ามเนื้อลีบ ใช้รากแห้ง 30 กรัม ผสมน้ำ และเหล้าอย่างละเท่าๆ กัน ตุ๋นรับประทาน

แก้คอตีบ ใช้รากสด 30 กรัม ต้มน้ำดื่ม หรืออาจะเพิ่มรากหญ้าพันงู ( Achyranthes aspera L. A. Bidentata BL., A.longiforia Mak. ) สด กับรากว่านหางช้าง ( Belamcanda. Chinensis DC. ) สด พอสมควร ตำคั้นเอาน้ำมามาผสมกับปัสสาวะให้เด็กรับประทาน

แก้หูชั้นกลางอักเสบเรื้อรัง ใช้รากแห้ง 15- 30 กรัม ข้าวเหนียว 1 ถ้วย หรือเนื้อหมูไม่ติดมัน หรือเต้าหู้แทนก็ได้ ในปริมาณสมควร ต้มน้ำรับประทาน

ใช้แก้รากฟันเน่าเป็นหนอง ใช้รากแห้ง 15 กรัม ผสมน้ำตาลแดงพอสมควร ต้มน้ำดื่มหรือใช้รากแห้ง แช่น้ำส้มสายชู 1 ชั่วโมง แล้วเอาผ้าห่ออมไว้ในปากบ่อยๆ

แก้บิดมูกเลือด ใช้เมล็ดคั่วให้เกรียม บดเป็นผง รับประทานพร้อมกับน้ำผึ้ง ครั้งละ 3.2 กรัม วันละ 3 ครั้ง ก่อนอาหาร

แก้ฝีฝักบัว ใช้เมล็ด 1 ช่อ บดเป็นผงชงน้ำสุกอุ่นๆ รับประทานแล้วเอาใบสดตำผสมน้ำผึ้ง หรือน้ำตาลแดง พอกที่แผล

สารเคมี :

ทั้งต้น มี Flavonoid glycoside, Phenols, Amino acids, น้ำตาล (พวก Flavonoid glycoside มี Gossypin, Gossypitrin, Cyanidin-3-rutinoside)

ใบ มี Mucilage, Tannins, Organic acid, Traces of asparagin และเถ้าที่ประกอบด้วย Alkaline sulphates, Chlorides, magnesium phosphate และ Calcium carbonate

ราก มี Asparagin

เมล็ด มีไขมันประมาณ 5% fatty acid ซึ่งมี Oleic acid 41.3% Linoleic acid 26.67% Linolenic acid 6.8% Stearic acid 11.17% Palmitic acid 5.08% Non-saponified matter ประมาณ 1.77% (ซึ่งเป็นพวก Sitosterol)

กากเมล็ด ประกอบด้วย Raffinose (C18  H32  O16)

3.เพชรสังฆาต

โรคริดสีดวงทวานหนัก สมุนไพรรักษาโรคริดสีดวง พยาธิสภาพโรคริดสีดวง

ชื่อวิทยาศาสตร์ :   Cissus quadrangularis  L.
 
วงศ์ :   Vitaceae
 
ชื่ออื่น :  ขั่นข้อ (ราชบุรี) สันชะควด (กรุงเทพฯ) สามร้อยต่อ (ประจวบคีรีขันธ์)
 
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้เถา เถาอ่อนสีเขียวเป็นสี่เหลี่ยม เป็นข้อต่อกัน มีมือสำหรับเกาะยึดออกตางข้อต่อตรงข้ามใบ ใบ เป็นใบเดี่ยว ออกเรียงสลับตามข้อต้น รูปสามเหลี่ยม ปลายใบมน โคนใบเว้า ขอบใบหยักมนห่างๆ แผ่นใบเรียบสีเขียวเป็นมัน  ก้านใบยาว 2-3 ซม. ดอก ออกเป็นช่อตามข้อต้นตรงข้ามกับใบ ดอกสีเขียวอ่อน กลีบดอกมี 4 กลีบ โคนด้านด้านนอกมีสีแดง ด้านในสีเขียวอ่อน เมื่อบานเต็มที่ดอกจะงองุ้มไปด้านล่าง เกสรเพศผู้มี 4 อัน ผล รูปทรงกลม ผิวเรียบเป็นมัน ผลอ่อนสีเขียว สุกสีแดงเข้มเกือบดำ เมล็ดกลม สีน้ำตาล มี 1 เมล็ด
ส่วนที่ใช้ :  น้ำจากต้น เถา ใบยอดอ่อน  ราก 
 
สรรพคุณ :

น้ำจากต้น - ใช้หยอดหู แก้น้ำหนวกไหล หยอดจมูกแก้เลือดเสียในสตรีประจำเดือนไม่ปรกติ เป็นยาธาตุเจริญอาหาร

ใบยอดอ่อน - รักษาโรคลำไส้เกี่ยวกับอาหารไม่ย่อย

ใบ ราก - เป็นยาพอก

เถา - ใช้เป็นยาแก้ริดสีดวงทวารหนัก

วิธีและปริมาณที่ใช้ :

ยาแก้ริดสีดวงทวาร 
1. ใช้เถาสด 2-3 องคุลีต่อหนึ่งมื้อ รับประทานสดๆ ถ้าเคี้ยวจะคันปากคันคอ เพราะในสมุนไพรนี้จะมีสารเป็นผลึกรูปเข็มอยู่มาก เป็นสารชนิดเดียวกันกับที่พบในต้นบอน ต้นเผือก การรับประทานจึงใช้สอดไส้ในกล้วยสุก หรือมะขาม แล้วกลืนลงไป รับประทาน 10-15 วัน จะเห็นผล
2. ใช้เถาตากแห้ง บดเป็นผง ใส่แคบซูล ขนาดเบอร์ 2 (ผงยา 250 มิลลิกรัม) รับประทานครั้งละ 2 แคบซูล วันละ 4 ครั้ง ก่อนอาหารและก่อนนอน รับประทาน 5-7 วัน อาการจะดีขึ้น รับประทานต่อจะหาย

สารเคมี : 
          เถา มีผลึก calcium oxalate รูปเข็มเป็นจำนวนมากต้นสด 100 กรัม ประกอบด้วย carotene 267 มก., ascorbic acid (Vitamin C.) 398 มก.

4.ว่านหางจระเข้

โรคริดสีดวงทวานหนัก สมุนไพรรักษาโรคริดสีดวง พยาธิสภาพโรคริดสีดวง

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Aloe vera  (L.)  Burm.f.

ชื่อพ้อง : Aloe barbadensis  Mill
 
ชื่อสามัญ :  Star cactus, Aloe, Aloin, Jafferabad, Barbados
 
วงศ์ :  Asphodelaceae                                                    
 
ชื่ออื่น :  หางตะเข้ (ภาคกลาง) ว่านไฟไหม้ (ภาคเหนือ)
 
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้ล้มลุกอายุหลายปี สูง 0.5-1 เมตร ลำต้นเป็นข้อปล้องสั้น ใบ เป็นใบเดี่ยว ออกเรียงเวียนรอบต้น ใบหนาและยาว โคนใบใหญ่ ส่วนปลายใบแหลม ขอบใบเป็นหนามแหลมห่างกัน แผ่นใบหนาสีเขียว มีจุดยาวสีเขียวอ่อน อวบน้ำ ข้างในเป็นวุ้นใสสีเขียวอ่อน ดอก ออกเป็นช่อกระจะที่ปลายยอด ก้านช่อดอกยาว ดอกสีแดงอมเหลือง โคมเชื่อมติดกันเป็นหลอด ปลายแยกเป็น 6 แฉก เรียงเป็น 2 ชั้น รูปแตร ผล เป็นผบแห้งรูปกระสวย
ส่วนที่ใช้ :  ยางในใบ น้ำวุ้น เนื้อวุ้น และเหง้า 
 
สรรพคุณ :

ใบ - รสเย็น ตำผสมสุรา พอกฝี

ทั้งต้น - รสเย็น ดองสุราดื่มขับน้ำคาวปลา

ราก - รสขม รับประทานถ่ายโรคหนองใน แก้มุตกิด

ยางในใบ - เป็นยาระบาย

น้ำวุ้นจากใบ - ล้างด้วยน้ำสะอาด ฝานบางๆ รักษาแผลสดภายนอก น้ำร้อนลวก ไฟไหม้ ทำให้แผลเป็นจางลง ดับพิษร้อน ทาผิวป้องกันและรักษาอาการไหม้จากแสงแดด ทาผิวรักษาสิวฝ้า และขจัดรอยแผลเป็น

เนื้อวุ้น - เหน็บทวาร รักษาริดสีดวงทวาร

เหง้า - ต้มรับประทานแก้หนองใน โรคมุตกิด

วิธีและปริมาณที่ใช้ :

ใช้เป็นยาภายใน 
1. เป็นยาถ่าย 
ใช้น้ำยางสีเหลืองที่มีรสขม คลื่นไส้ อาเจียน น้ำยางสีเหลืองที่ไหลออกมาระหว่างผิวนอกของใบกับตัววุ้น จะให้ยาที่เรียกว่า ยาดำ 
วิธีการทำยาดำ 
ตัดใบว่านหางจระเข้ที่โคนใบให้เป็นรูปสามเหลี่ยม (ต้องเป็นพันธุ์เฉพาะ ซึ่งจะมีขนาดใบใหญ่ และอวบน้ำมาก จะให้น้ำยางสีเหลืองมาก) ต้นที่เหมาะจะตัด ควรมีอายุ 9 เดือนขึ้นไป จะให้น้ำยางมากไปจนถึงปีที่ 3 และจะให้ไปเรื่อยๆ จนถึงปีที่ 10 ตัดใบว่านหางจระเข้ตรงโคนใบ และปล่อยให้น้ำยางไหลลงในภาชนะ นำไปเคี่ยวให้ข้น เทลงในพิมพ์ ทิ้งไว้จะแข็งเป็นก้อน
ยาดำ มีลักษณะสีแดงน้ำตาล จนถึงดำ เป็นของแข็ง เปราะ ผิวมัน กลิ่นและรสขม คลื่นไส้ อาเจียน
สารเคมี - สารสำคัญในยาดำเป็น G-glycoside ที่มีชื่อว่า barbaloin (Aloe-emodin anthrone C-10 glycoside)
ขนาดที่ใช้เป็นยาถ่าย - 0.25 กรัม เท่ากับ 250 มิลลิกรัม ประมาณ 1-2 เม็ดถั่วเขียว บางคนรับประทานแล้วไซ้ท้อง
2. แก้กระเพาะ ลำไส้อักเสบ 
โดยเอาใบมาปอกเปลือกออก เหลือแต่วุ้น แล้วใช้รับประทาน วันละ 2 เวลา ครั้งละ 2 ช้อนโต๊ะ
3. แก้อาการปวดตามข้อ 
โดยการดื่มว่านหางจระเข้ทั้งน้ำ วุ้น หรืออาจจะใช้วิธีปอกส่วนนอกของใบออก เหลือแต่วุ้น นำไปแช่ตู้เย็นให้เย็นๆ จะช่วยให้รับประทานได้ง่าย รับประทานวันละ 2-3 ครั้งๆ ละ 1-2 ช้อนโต๊ะ เท่ากับ 2 ช้อนแกง บางคนบอกว่า เมื่อรับประทานว่านหางจระเข้ อาการปวดตามข้อจะทุเลาทันที แต่หลายๆ คนบอกว่า อาการจะดีขึ้นหลังจากรับประทานติดต่อกันสองเดือนขึ้นไป สำหรับใช้รักษาอาการนี้ ยังไม่ได้ทำการวิจัย

ใช้สำหรับเป็นยาภายนอก 
ใช้ส่วนวุ้น ต้องล้างน้ำยางสีเหลืองออกให้หมด 
1. รักษาแผลไฟไหม้ และน้ำร้อนลวก 
ใช้วุ้นในใบสดทา หรือแปะที่แผลให้เปียกอยู่ตลอดเวลา 2 วันแรก แผลจะหายเร็วมาก จะบรรเทาปวดแสบ ปวดร้อน หรืออาการปวดจะไม่เกิดขึ้น แผลอาจไม่มีแผลเป็น (ระวังความสะอาด) 
2. ผิวไหม้เนื่องจากถูกแดดเผา และแก้แผลเรื้อรังจากการฉายรังสี 
-  ป้องกันการถูกแดดเผา ใช้ทาก่อนออกแดด อาจใช้ใบสดก็ได้ แต่การใช้ใบสดอาจจะทำให้ผิวหนังแห้ง เนื่องจากใบว่านหางจระเข้มีฤทธิ์ฝาดสมาน ถ้าจะลดการทำให้ผิวหนังแห้ง อาจจะใช้ร่วมกับน้ำมันพืช หรืออาจจะเตรียมเป็นโลชันให้สะดวกในการใช้ขึ้น
- รักษาผิวหนังที่ถูกแดดเผา หรือไหม้เกรียมจากการฉายแสง โดยการทาด้วยวุ้นของว่านหางจระเข้บ่อยๆ จะลดการอักเสบลง แต่ถ้าใช้วุ้นทานานๆ จะทำให้ผิวแห้ง ต้องผสมกับน้ำมันพืช ยกเว้นแต่ จะทำให้เปียกชุ่มอยู่เสมอ 
3. แผลจากของมีคม แก้ฝี แก้ตะมอย และแผลที่ริมฝีปาก 
เป็นการรักษาแบบพื้นบ้าน ล้างใบว่านหางจระเข้ให้สะอาด บาดแผลก็ต้องทำความสะอาดเช่นกัน นำวุ้นจากใบแปะตรงแผลให้มิด ใช้ผ้าปิด หยอดน้ำเมือกลงตรงแผลให้เปียกอยู่เสมอ หรือจะเตรียมเป็นขี้ผึ้งก็ได้
4. แผลจากการถูกครูด หรือถลอก 
แผลพวกนี้จะเจ็บปวดมาก ใช้ใบว่านหางจระเข้ล้างให้สะอาด ผ่าเป็นซีก ใช้ด้านที่เป็นวุ้นทาแผลเบาๆ ในวันแรกควรทาบ่อยๆ จะทำให้แผลไม่ค่อยเจ็บ และแผลหายเร็วขึ้น 
5. รักษาริดสีดวงทวาร 
นอกจากจะช่วยรักษาแล้ว ยังช่วยบรรเทาอาการปวด อาการคันได้ด้วย โดยทำความสะอาดทวารหนักให้สะอาดและแห้ง ควรปฏิบัติหลังจากการอุจจาระ หรือหลังอาบน้ำ หรือก่อนนอน เอาว่านหางจระเข้ปอกส่วนนอกของใบ แล้วเหลาให้ปลายแหลมเล็กน้อย เพื่อใช้เหน็บในช่องทวารหนัก ถ้าจะให้เหน็บง่าน นำไปแช่ตู้เย็น หรือน้ำแข็งให้แข็ง จะทำให้สอดได้ง่าย ต้องหมั่นเหน็บวันละ 1-2 ครั้ง จนกว่าจะหาย
6. แก้ปวดศีรษะ 
ตัดใบสดของว่านหางจระเข้หนาประมาณ ? เซนติเมตร ทาปูนแดงด้านหนึ่ง เอาด้านที่ทาปูนปิดตรงขมับ จะช่วยบรรเทาอาการปวดศีรษะ 
7. เป็นเครื่องสำอาง 
  7.1 วุ้นจากใบสดชโลมบนเส้นผม ทำให้ผมดก เป็นเงางาม และเส้นผมสลวย เพราะวุ้นของว่านหางจระเข้ทำให้รากผมเย็น เป็นการช่วยบำรุงต่อมที่รากผมให้มีสุขภาพดี ผมจึงดกดำเป็นเงางาม นอกจากนั้นแล้ว ยังช่วยรักษาแผลบนหนังศีรษะด้วย 
 7.2 สตรีชาวฟิลิปปินส์ ใช้วุ้นจากว่านหางจระเข้รวมกับเนื้อในของเมล็ดสะบ้า (เนื้อในของเมล็ดสะบ้ามีสีขาว ส่วนผิวนอกของเมล็ดสะบ้ามีสีน้ำตาลแดง รูปร่างกลมแบนๆ ใช้เป็นที่ตั้งในการเล่นสะบ้า) ต่อเนื้อในเมล็ดสะบ้าประมาณ ? ของผลให้ละเอียด แล้วคลุกรวมกับวุ้น นำไปชโลมผมไว้ประมาณ 1 ชั่วโมง แล้วล้างออก ใช้กับผมร่วง รักษาศีรษะล้าน 
7.3 รักษาผิวเป็นจุดด่างดำ ผิวด่างดำนี้อาจเกิดขึ้นเนื่องจากอายุมาก หรือถูกแสงแดด หรือเป็นความไวของผิวหนังแต่ละบุคคล ใช้วุ้นทาวันละ 2 ครั้ง หลังจากได้ทำความสะอาดผิวด้วยน้ำสะอาด ต้องมีความอดทนมาก เพราะต้องใช้เวลาเป็นเดือนๆ จึงจะหายจากจุดด่างดำ แต่ถึงอย่างไรก็ดี ควรใช้วุ้นจากว่านหางจระเข้ทา จะทำให้ผิวหนังมีน้ำ มีนวลขึ้น
7.4 รักษาสิว ยับยั้งการติดเชื้อ ช่วยเรียกเนื้อ ช่วยลดความมันบนใบหน้า เพราะในใบว่านหางจระเข้มีฤทธิ์เป็นกรดอ่อนๆ 
7.5 โรงพยาบาลรามาธิบดี กำลังลองใช้กับคนไข้ที่เป็นแผล เกิดขึ้นจากนั่ง หรือนอนทับนานๆ ( Bed sore )
ปัจจุบัน มีเครื่องสำอางที่เตรียมขายในท้องตลาดหลายารูปแบบ เช่น ครีม โลชัน แชมพู และสบู่ 
สำหรับสาระสำคัญที่สามารถรักษาแผลไฟไหม้ น้ำร้อนลวก และอื่นๆ นั้น ได้ค้นพบว่าเป็นสาร glycoprotein มีชื่อว่า Aloctin A เป็น Anti-inflammatory พบในทุกๆ ส่วนของว่านหางจระเข้

ข้อควรระวังในการใช้ :

          ถ้าใช้เป็นยาภายใน คือ เป็นยาถ่าย ห้ามใช้กับคนที่ตั้งครรภ์ กำลังมีประจำเดือน และคนที่เป็นริดสีดวงทวาร
          ถ้าใช้เป็นยาภายนอก อาจมีคนแพ้แต่น้อยมาก ไม่ถึง 1% (ผลจากการวิจัย) อาการแพ้ เมื่อทาหรือปิดวุ้นลงบนผิวหนัง จะทำให้ผิวหนังแดงเป็นผื่นบางๆ บางครั้งเจ็บแสบ อาการนี้จะเกิดขึ้นหลังจากทายา 2-3 นาที ถ้ามีอาการเช่นนี้ ให้รีบล้างออกด้วยน้ำที่สะอาด และเลิกใช้ 
          นักวิทยาศาสตร์ชาวญี่ปุ่น สามารถแยกแยะสาระสำคัญตัวใหม่จากใบว่านหางจระเข้ได้ สารตัวใหม่นี้เป็น glycoprotein มีชื่อว่า Aloctin A ได้จดสิทธิบัตรไว้ที่ European Patent Application ในวันที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2521 
          นอกจากนี้พบว่า สารนี้สามารถรักษาโรคได้หลายโรค เช่น มะเร็ง แก้อาการแพ้ รักษาไฟไหม้ และรักษาโรคผิวหนัง
สารเคมี: 
          ใบมี Aloe-emodin, Alolin, Chrysophanic acid Barbaboin, AloctinA, Aloctin B, Brady Kininase Alosin, Anthramol Histidine, Amino acid , Alanine Glutamic acid Cystine, Glutamine, Glycine.

5.อัคคีทวาร

โรคริดสีดวงทวานหนัก สมุนไพรรักษาโรคริดสีดวง พยาธิสภาพโรคริดสีดวง

ชื่อวิทยาศาสตร์ :  Clerodendrum serratum  (L.) Moon. var.wallichii  C.B.Clarke
 
วงศ์ :   Limiaceae (Labiatae)
 
ชื่ออื่น :  ตรีชวา (ภาคกลาง) ตั่งต่อ ปอสามเกี๋ยน สามสุม (ภาคเหนือ) พรายสะเลียง สะเม่าใหญ่ (นครราชสีมา) หลัวสามเกียน อัคคี (ภาคกลาง, เชียงใหม่)
 
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :  ไม้พุ่ม สูง 1-4 เมตร เปลือกต้นเรียบสีน้ำตาลอ่อน กิ่งอ่อนและยอดอ่อนเป็นเหลี่ยม ใบ เป็นใบเดี่ยว ออกเรียงตรงข้ามกัน บางข้อมี 3-4 ใบ เรียงรอบข้อ รูปรียาว โคนใบสอบ ปลายใบเป็นติ่งสั้น ขอบใบจักเป็นฟันเลื่อยช่วงกลางขอบใบไปจนถึงปลายใบ แผ่นใบเรียบสีเขียวเข้มเป็นมัน ก้านใบสั้น ดอก ออกเป็นช่อตามซอกใบและปลายยอด  ดอกสีม่วงอ่อนอมฟ้า กลีบดอกเชื่อมติดกันเป็นหลอดสั้น ปลายแยกเป็น 5 แฉก มีขนาดไม่เท่ากัน ผล รูปค่อนข้างกลม ผิวเรียบเป็นมัน ผลอ่อนสีเขียว แก่เป็นสีดำ เมล็ดเดี่ยว รูปกลมรี สีดำ
ส่วนที่ใช้ : ทั้งต้น ใบแห้ง ผล ราก
 
สรรพคุณ :

ทั้งต้น - รักษากลากเกลื้อน โรคเรื้อน

ผล - แก้ไอ แก้โรคเยื่อจักษุอักเสบ

ราก - ต้มผสมกับขิง แก้คลื่นเหียน

ใบ, ราก, ต้น - ใช้เป็นยารักษาริดสีดวงทวาร

วิธีและปริมาณที่ใช้ :

ใช้เป็นยารักษาริดสีดวงทวาร 
1. นำรากหรือต้นยาว 1-2 องคุลี ฝนกับน้ำปูนใสให้ข้นๆ ทาที่ริดสีดวงทวาร เป็นยาเกลื่อนหัวริดสีดวง 
2. นำใบ 10-20 ใบ มาตากแห้ง บดให้เป็นผง แล้วคลุกกับน้ำผึ้งรวง ปั้นเป็นเม็ดขนาดเม็ดพุทรา รับประทานครั้งละ 2-4 เม็ด ทุกๆ วันติดต่อกัน 7-10 วัน 
3. ใช้ใบแห้งป่นเป็นผง โรยในถ่านไฟ เผาเอาควันรมหัวริดสีดวงงอกทวารหนัก ให้ยุบฝ่อ

ใช้รักษากลากเกลื้อน โรคเรื้อน ใช้ใบและต้นตำพอกรักษากลากเกลื้อน โรคเรื้อน และพอกแก้ปวดศีรษะเรื้อรัง และแก้ขัดตามข้อ และดูดหนอง

ใช้แก้เสียดท้อง 
- ใช้ใบต้มรับประทานแก้เสียดท้อง 
- ใช้รากผสมขิง และลูกผักชีต้ม แก้คลื่นเหียน อาเจียน

แก้ไอ แก้โรคเยื่อตาอักเสบ ผลทั้งสุกและดิบ เคี้ยวค่อยๆ กลืนน้ำ แก้ไอ แก้โรคเยื่อตาอักเสบ

ใช้เป็นยาขับปัสสาวะ ลำต้น ต้มรับประทาน

 


แหล่งที่มา : rspg.or.th , ridsidung.websiam.net

 

อัพเดทล่าสุด