โรคกระเพาะปัสสาวะ โรคกระเพาะอาหารเรื้อรัง อาหารของคนเป็นโรคกระเพาะ


729 ผู้ชม


โรคกระเพาะปัสสาวะ โรคกระเพาะอาหารเรื้อรัง อาหารของคนเป็นโรคกระเพาะ

 

 

 

11 วิธีลดเสี่ยงโรคกรดไหลย้อนหรือเกิร์ด (GERD

เป็น ที่ทราบกันดีว่า โลกของเรากำลังเปลี่ยนไปอย่างรวดเร็ว แม้แต่โรคภัยไข้เจ็บในคนไทยก็เปลี่ยนไปเร็วด้วย เช่น ความก้าวหน้าทางด้านยาลดกรด และอนามัยในเรื่องอาหารการกินทำให้การติดเชื้อ (H. pylori) น้อยลง ทำให้โรคแผลกระเพาะอาหารลดน้อยลง ฯลฯ... นี่เป็นข่าวดี
ทีนี้ธรรมชาติของข่าวดีคือ มักจะมาคู่กับข่าวร้าย... ข่าวร้ายที่ว่าคือ คนไทยเราเป็นโรคทางเดินอาหารสมัยใหม่ เช่น โรคกรดไหลย้อน (gastroesophageal reflux disease / GERD) หรือเจ้า "เกิร์ด" กันมากขึ้น โรคไขมันจับตับ (fatty liver) มากขึ้น ฯลฯ
...
ท่านอาจารย์ รศ.วโรชา มหาชัย ผู้เชี่ยวชาญโรคทางเดินอาหาร คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ ตีพิมพ์เรื่องเกี่ยวกับระบบทางเดินอาหารในวารสารการศึกษาต่อเนื่องแพทย์
ผู้เขียนขอนำมาเล่าสู่กันฟังครับ
...
โรคกรดไหลย้อนหรือเจ้า "เกิร์ด" นี่... คนตะวันตกหรือฝรั่งเป็นกันมาก คือ 13-29% หรือเฉลี่ยประมาณ 20% นั่นคือ ถ้ามีฝรั่งเดินมา 5 คนจะเป็นโรคกรดไหลย้อน 1 คน
ผลการศึกษาของผู้เชี่ยวชาญในไทย (ชมรมโมทิลิตี้) พบว่า คนไทยเรากำลังเป็นโรค "เกิร์ด" มากขึ้น จาก 5% ในปี พ.ศ. 2539 เป็น 7.4% ในปี พ.ศ. 2547 เพิ่มขึ้นเกือบ 50% ทีเดียว
...
ชื่อ "เกิร์ด" นี่ดี... ฟังเสียงแล้วคล้ายๆ เสียงเรอ (คนไทยเราเรอเสียงดัง "เอิกๆ" คล้ายๆ เจ้า "เกิร์ด" มากทีเดียว) ต่างกันตรงที่การเรอและการผายลมมีประโยชน์ต่อสุขภาพ เป็นการระบายลมที่มีมากเกินในทางเดินอาหารออกมา ทำให้แรงดันในกระเพาะอาหารและลำไส้ลดลง
ปกติหูรูดของหลอดอาหารจะยอมให้เรอหรือ ระบายลมจากกระเพาะอาหารขึ้นมาได้ ทว่า... ไม่ยอมให้อาหาร น้ำ หรือกรดในกระเพาะอาหารไหลย้อนขึ้นมาได้ เนื่องจากจะทำให้เสี่ยงอันตราย เช่น หลอดอาหารอักเสบจากกรด ฯลฯ
...
บางคนมีกรดในทางเดินอาหารไหลย้อนขึ้น มากจนทำให้หลอดอาหารอักเสบ ทำให้เกิดอาการเช่น แสบร้อนในอก (ฝรั่งมักจะบรรยายว่า heartburn ได้แก่ แสบร้อนในอก) จุกแน่นลิ้นปี่ คลื่นไส้
ทีนี้ถ้ากรดไหลย้อนขึ้นสูงมากๆ อาจทำให้กล่องเสียงอักเสบ คออักเสบ ช่องปาก หรือส่วนหู-คอ-จมูกอักเสบได้ เช่น มีอาการเสียงแหบ ไอเรื้อรัง เจ็บคอ ฟันสึก เสียวฟัน ฯลฯ ได้
...
อาการกรดไหลย้อนมักจะเป็นมากหลังอาหาร โดยเฉพาะถ้ากินอาหารมื้อใหญ่ เช่น งานเลี้ยง ได้ของ(กิน)ฟรี ฯลฯ หรือหลังอาหารมื้อกินแล้วนอนราบลงทันที
ถ้าเปรียบกระเพาะอาหารเป็นขวดใส่น้ำ ที่มีน้ำเกือบเต็ม (หลังอาหาร) จะพบว่า น้ำในขวดหกออกมาได้ยากถ้าขวดตั้งตรง (เช่น อยูในท่ายืนหรือนั่งหลังอาหาร ฯลฯ) ตรงกันข้ามน้ำในขวดจะหกออกมาได้ง่ายถ้าขวดเอียงราบลง (เช่น นอนหลังอาหาร ฯลฯ)
...
การรักษาโรคกรดไหลย้อนอาจใช้ยาลดกรด ยาที่ทำให้หูรูดหลอดอาหารบีบตัวได้ดีขึ้น หรือลำไส้บีบตัวได้ดีขึ้น (prokinetics)
ทว่า... เรื่องสำคัญมากๆ คือ โรคนี้รักษาไม่หาย และต้องอาศัยคนไข้ช่วยปรับเปลี่ยนวิถีชีวิต (ไลฟ์สไตล์ / lifestyle) ได้แก่
...
(1). ลดน้ำหนัก (ถ้าอ้วน) > คนอ้วนเสี่ยง (โอกาสเป็น) โรคเกิร์ดมากกว่าคนผอม
(2). ไม่สวมเสื้อผ้าคับ > เสื้อผ้าคับเพิ่มแรงดันในช่องท้อง 
...
(3). หยุดสูบบุหรี่ (ถ้าสูบ) > การสูบบุหรี่เพิ่มการสูบลมเข้าไปในกระเพาะอาหาร
(4). ไม่นอนหลังอาหารทันที
...
(5). กินข้าวเย็นให้เร็วขึ้น เช่น ถ้าเดิมกิน 2 ทุ่ม ให้กินเร็วขึ้นครั้งละ 1 ชั่วโมง เช่น 1 ทุ่ม ฯลฯ ถ้าไม่ดีขึ้นให้ปรับเป็น 6 โมงเย็น, 5 โมงเย็น, 4 โมงเย็น, บ่าย 3 โมงตามลำดับ
วิธีง่ายๆ คือ ให้กินข้าวเย็นก่อนพระอาทิตย์ตกดินจึงจะดี เพื่อให้อาหารในกระเพาะอาหารได้รับการย่อยบางส่วน และไหลไปยังลำไส้เล็กก่อนนอน ทำให้ปริมาณอาหารตกค้างในกระเพาะอาหารมีน้อยที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้
...
การงดข้าวเย็นแบบพระ หรือการกินข้าวเย็นแต่น้อยมีส่วนช่วยให้อาการกรดไหลย้อนทุเลาลงได้
(6). ไม่กินอาหารมื้อใหญ่ > ให้กินอาหารมื้อเล็ก วันละ 4-5 มื้อแทน เพื่อป้องกันไม่ให้มีอาหารและน้ำในกระเพาะฯ มากเกิน
...
(7). หนุนหัวเตียงให้สูงขึ้น หรือนอนเตียงเอียงให้ด้านหัวสูงกว่าด้านเท้า โดยการหนุนขาเตียง แต่อย่าหนุนหมอนหลายใบ เนื่องจาการหนุนหมอนหลายใบอาจทำให้ปวดคอ
(8). หลีกเลี่ยงอาหารที่ทำให้กรดไหลย้อน เช่น อาหารไขมันสูง โดยเฉพาะอาหารประเภท "ผัดๆ ทอดๆ" พริกไทย ช็อคโกแลต หัวหอม น้ำผลไม้รสเปรี้ยว (เช่น น้ำส้ม ฯลฯ) 
...
(9). ไม่กิน "ข้าวคำน้ำคำ" > เวลากินข้าว... อย่าเพิ่งดื่มน้ำหรือเครื่องดื่ม รอให้กินข้าวเสร็จประมาณ 10 นาทีค่อยดื่มน้ำหรือเครื่องดื่ม การกิน "ข้าวคำน้ำคำ" มีส่วนทำให้ปริมาณอาหารและของเหลวในกระเพาะฯ มีมากขึ้น เสี่ยงกรดไหลย้อนมากขึ้น
(10). ไม่ "กินไปพูดไป" > เวลากินข้าว... อย่าพูดมาก เนื่องจากการกินไปพูดไปเพิ่มโอกาสกลืนลมลงไปมากขึ้น
...
(11). ไม่เคี้ยวหมากฝรั่งมากเกิน > การเคี้ยวหมากฝรั่งมีส่วนเพิ่มการหลั่งน้ำลาย ทำให้กลืนน้ำลายลงไปมากขึ้น และเพิ่มการกลืนลมลงไปในท้อง 
โรคกรดไหลย้อนมีลักษณะคล้ายโรคที่ เรื้อรัง หรือโรคที่รักษาไม่หายอื่นๆ ได้แก่ ยาอย่างเดียวได้ผลจำกัด หรือได้ผลไม่ค่อยดีเท่าไหร่ แต่ถ้าคนไข้ปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตแล้ว  โรคมักจะทุเลาลงไปมาก
...
เวลาเป็นโรคเรื้อรังหรือโรคที่รักษา ไม่หาย... อย่าคิดแต่จะพึ่งยาหรือพึ่งหมออย่างเดียว ขอให้คิดพึ่งตัวเราเอง ปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตให้ดีขึ้นด้วย ซึ่งจะช่วยให้ผลการรักษาดีขึ้นมาก
วันนี้ผู้เขียนดีใจมาก เพราะมีครูบาอาจารย์ท่านหนึ่งลงทุนมาร่วมกิจกรรมเลิกบุหรี่ ท่านบอกว่า ท่านสูบบุหรี่มานานแล้ว อยากจะให้ลูกศิษย์ในโรงเรียนเลิกบุหรี่ให้ได้ ทว่า... จะพูดไปตอนนี้ก็พูดได้ไม่เต็มปาก เลยต้องรีบมาเลิกให้ได้ก่อน แล้วจะกลับไปพูดกับนักเรียนให้เต็มปากที่โรงเรียนให้ได้
...
นี่เป็นแบบอย่างของครูบาอาจารย์ที่มี จิตวิญญาณของความเป็นครู ยอมเสียสละความสุขเล็กๆ น้อยๆ เพื่อการสร้างสรรค์คนรุ่นใหม่ให้เป็นแรง เป็นกำลังของชาติบ้านเมือง... สาธุ สาธุ สาธุ
ขอให้กำลังใจพวกเราที่คิดจะปรับ เปลี่ยนวิถีชีวิตไปในทางที่ดี คนเรามีศักยภาพที่จะทำอะไรดีๆ ได้มากกว่าที่คิดไว้เสมอ (ถ้ามุ่งมั่นและยืนหยัดที่จะทำ)
...
ถึงตรงนี้... ขอให้พวกเรามีสุขภาพดีไปนานๆ ครับ
...
ขอแนะนำ                                                       

  • 10 วิธีป้องกันท้องอืดจากโรคกรดไหลย้อนกลับ (GERD)

 


แหล่งที่มา : huaybondin.net

อัพเดทล่าสุด