โรคทางพันธุกรรม มีอะไรบ้าง โรคทางพันธุกรรม เช่น โรคทางพันธุกรรมที่พบบ่อยในไทย


1,660 ผู้ชม


โรคทางพันธุกรรม มีอะไรบ้าง โรคทางพันธุกรรม เช่น โรคทางพันธุกรรมที่พบบ่อยในไทย


โรคทางพันธุกรรม อันตรายที่แฝงกายในลูกหมา

Dogilike.com :: โรคทางพันธุกรรม อันตรายที่แฝงกายในลูกหมา

     “ลูกหมา” เป็นวัยที่มีความน่ารักน่าเอ็นดู ใครเห็นก็คงอดใจไม่ได้ ต้องเข้าไปทักทายเล่นให้หายหมั่นเขี้ยวสักหน่อย แต่ภายใต้ความใสซื่อบริสุทธิ์นี้ เพื่อนๆ เคยคิดบ้างไหมครับว่ามีอะไรซ่อนอยู่ ... ทำไมลูกหมามีสีขนไม่เหมือนพ่อแม่เลย ทำไมน้องหมาของเรามีอัณฑะข้างเดียว ทำไมน้องหมาเราถึงชอบเป็นโรคตาแห้ง รักษาเท่าไรก็ไม่หายสักที ทำไมถึงเป็นอย่างนั้นกันนะ

       ร่างกายของลูกหมาแต่ละตัวสร้างขึ้นจากเซลล์จำนวนมากมาย นิวเคลียสของแต่ละเซลล์ประกอบด้วยยีน (Gene) ที่ได้รับการถ่ายทอดมาจากพ่อครึ่งหนึ่ง-แม่ครึ่งหนึ่ง ยีน คือ หน่วยพันธุกรรมที่อยู่บนโครโมโซม (chromosome) ทำหน้าที่ควบคุมลักษณะต่าง ๆ ทางพันธุกรรม ยีนมี 2 ชนิด คือ ยีนเด่นและยีนด้อย ในน้องหมามีโครโมโซม 39 คู่ (78 ชิ้น) ครับ แต่ละโครโมโซมประกอบด้วยยีนประมาณ 100,000 ยีนเลยทีเดียว

Dogilike.com :: โรคทางพันธุกรรม อันตรายที่แฝงกายในลูกหมา

       การกลายพันธุ์ของยีน (Mutation) เกิดได้จากรังสีและสารเคมีที่แม่ได้รับในขณะตั้งท้อง หรือเกิดขึ้นเองจากการจัดเรียงเบสในกระบวนการสังเคราะห์ดีเอ็นเอ (DNA replication) ผิดพลาดไป ก็จะทำให้สิ่งมีชีวิตที่เกิดขึ้นมามีลักษณะแตกต่างไปจากกลุ่มปกติ จนทำให้เกิดโรคและความผิดปกติตามมา จึงเป็นที่มาว่าทำไมลูกหมาเราถึงไม่เหมือนหมาตัวอื่นๆ 

       โรคทางพันธุกรรม (Inherited Disorders) เป็นโรคที่เกิดจากความผิดปกติของยีนหรือโครโมโซม โดยถ่ายทอดผ่านมาจากพ่อและแม่ ลูกหมามีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคทางพันธุกรรมตั้งแต่แรกเกิด (จะว่าไปก็เริ่มตั้งแต่ปฏิสนธิโน่นเลย) จะช้าหรือเร็วขึ้นกับปัจจัยที่มาสนับสนุน เช่น อาหาร สิ่งแวดล้อม และการเลี้ยงดู โรคทางพันธุกรรมในน้องหมามีมากกว่า 350 โรค และกว่า 70% เกิดจากการกลายพันธุ์ของยีนเด่นเป็นหลัก พบได้ง่ายในลูกหมาพันธุ์แท้ ส่วนลูกหมาพันธุ์ทางที่มีแนวโน้มจะแข็งแรงกว่า เนื่องจากมียีนที่หลากหลายกว่า โรคทางพันธุกรรมที่พบได้บ่อยและเป็นที่รู้จัก เช่น โรคข้อสะโพกเสื่อม โรคลมชัก โรคเบาหวาน และโรคหัวใจ

Dogilike.com :: โรคทางพันธุกรรม อันตรายที่แฝงกายในลูกหมา

       ถึงตรงนี้เพื่อนๆ คงอยากรู้แล้วสินะว่า น้องหมาที่บ้านของเรามีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคทางพันธุกรรมอะไรบ้าง วันนี้ มุมหมอหมา ได้รวบรวมรายชื่อโรคประจำพันธุ์บางโรค ที่พบได้บ่อยๆ ในน้องหมาพันธุ์ยอดนิยม มาให้เพื่อนๆ ได้ทราบกัน ส่วนน้องหมาพันธุ์ผสมอย่าเพิ่งน้อยใจไปนะครับ ลองดูเป็นแนวทางแล้วกลับไปสังเกตหน่อยสิว่า น้องหมาของเราตัวไหนน่าจะเสี่ยงเป็นโรคอะไรบ้าง จะได้หาทางรับมือและป้องกันต่อไปครับ

        พันธุ์ชิสุ

            โรคตา
                 โรคต้อกระจก (Cataract)
                  เยื่อตาขาวอักเสบจากภาวะตาแห้ง (Keratoconjunctivitis sicca)
                 ภาวะหนังตาที่สามยื่นในสุนัข (Cherry eye)
            โรคช่องปาก

                 ปากแหว่ง/เพดานโหว่ในสุนัข (Cleft lip/palate)
            โรคระบบทางเดินหายใจ
                 กลุ่มอาการของสุนัขพันธุ์หน้าสั้น (Brachycephalic syndrome)
            โรคกระดูก
                 โรคสะบ้าเคลื่อนในสุนัข (Patellar luxation)

       พันธุ์พูเดิ้ล

            โรคตา
                 โรคต้อกระจก (Cataract)
                 โรคต้อหิน (Glaucoma)
            โรคระบบทางเดินหายใจ
                 ภาวะหลอดลมตีบ (Tracheal collapse)
            โรคกระดูก 
                โรคสะบ้าเคลื่อนในสุนัข (Patellar luxation)
            โรคระบบสืบพันธุ์
                อัณฑะทองแดง (Cryptorchidism)
            โรคผิวหนัง
                ภูมิแพ้จากการสูดดม  (Atopy)
            โรคหัวใจและหลอดเลือด
                โรคลิ้นหัวใจไมตรัลผิดปกติ (Mitral valve disease)
            โรคระบบต่อมไร้ท่อ
                โรคเบาหวาน (Diabetes Millitus)
            โรคทางเดินปัสสาวะ
                โรคนิ่วในกระเพาะปัสสาวะ (Urolithiasis)      

       พันธุ์ปั๊ก

           โรคตา
                โรคต้อกระจก (Cataract)
                 เยื่อตาขาวอักเสบจากภาวะตาแห้ง (Keratoconjunctivitis sicca)
                 หนังตาล่างม้วนเข้า (Entropion)
           โรคระบบทางเดินหายใจ
                 กลุ่มอาการของสุนัขพันธุ์หน้าสั้น (Brachycephalic syndrome)
           โรคผิวหนัง
                 โรคขี้เรื้อนรูขุมขน (Demodicosis)
                 ภูมิแพ้จากการสูดดม  (Atopy)
                 ผิวหนังอักเสบจากรอยย่น (Fold dermatitis) 

       พันธุ์บูลด็อก

          โรคตา
                ภาวะหนังตาที่สามยื่นในสุนัข (Cherry eye)
                เยื่อตาขาวอักเสบจากภาวะตาแห้ง (Keratoconjunctivitis sicca)
                หนังตาล่างม้วนออก (Ectropion)
                หนังตาล่างม้วนเข้า (Entropion)
           โรคช่องปาก
                ปากแหว่ง/เพดานโหว่ในสุนัข (Cleft lip/palate)
           โรคระบบทางเดินหายใจ
                กลุ่มอาการของสุนัขพันธุ์หน้าสั้น (Brachycephalic syndrome)
                ภาวะหลอดลมตีบ (Tracheal collapse)
           โรคกระดูก
               โรคข้อสะโพกเสื่อม (Hip dysplasia)
           โรคระบบสืบพันธุ์
               อัณฑะทองแดง (Cryptorchidism)
           โรคผิวหนัง
               โรคขี้เรื้อนรูขุมขน (Demodicosis)
               ภูมิแพ้จากการสูดดม  (Atopy)
               ผิวหนังอักเสบจากรอยย่น (Fold dermatitis)
           โรคหัวใจและหลอดเลือด
               โรคผนังหัวใจห้องล่างรั่ว (Ventricular septal defect)
           โรคทางเดินปัสสาวะ
                โรคนิ่วในกระเพาะปัสสาวะ (Urolithiasis)   

       พันธุ์บีเกิล

           โรคตา
                โรคต้อกระจก (Cataract)
                โรคต้อหิน (Glaucoma)
                ภาวะหนังตาที่สามยื่นในสุนัข (Cherry eye)
            โรคผิวหนัง
                โรคขี้เรื้อนรูขุมขน (Demodicosis)
           โรคหัวใจและหลอดเลือด
                โรคลิ้นหัวใจไมตรัลผิดปกติ (Mitral valve disease)
           โรคระบบประสาท
                โรคลมชัก (Epilepsy)

       พันธุ์ชิวาวา

           โรคตา
                โรคต้อหิน (Glaucoma)
           โรคระบบทางเดินหายใจ
                ภาวะหลอดลมตีบ (Tracheal collapse)
           โรคกระดูก
                โรคสะบ้าเคลื่อนในสุนัข (Patellar luxation)
           โรคระบบสืบพันธุ์
                อัณฑะทองแดง (Cryptorchidism)
           โรคผิวหนัง
                โรคขี้เรื้อนรูขุมขน (Demodicosis)
           โรคหัวใจและหลอดเลือด
                โรคลิ้นหัวใจห้องล่างขวาตีบตัน (Pulmonic stenosis)
                โรคลิ้นหัวใจไมตรัลผิดปกติ (Mitral valve disease)
           โรคระบบประสาท
                โรคน้ำคั่งในโพรงสมอง (Hydrocephalus)

       พันธุ์ปอมเมอเรเนียน

           โรคตา
                โรคต้อกระจก (Cataract)
           โรคระบบทางเดินหายใจ
                ภาวะหลอดลมตีบ (Tracheal collapse)
           โรคกระดูก
                โรคสะบ้าเคลื่อนในสุนัข (Patellar luxation)
           โรคหัวใจและหลอดเลือด
                 Patent ductus arteriosus
           โรคระบบประสาท
                 โรคน้ำคั่งในโพรงสมอง (Hydrocephalus)

       พันธุ์ยอร์คเชียร์เทอร์เรีย

          โรคตา
                โรคต้อกระจก (Cataract)
                 เยื่อตาขาวอักเสบจากภาวะตาแห้ง (Keratoconjunctivitis sicca)
           โรคระบบทางเดินหายใจ
                ภาวะหลอดลมตีบ (Tracheal collapse)
           โรคกระดูก
                โรคสะบ้าเคลื่อนในสุนัข (Patellar luxation)
           โรคหัวใจและหลอดเลือด
                Patent ductus arteriosus
                Portosystemic shunt
           โรคทางเดินปัสสาวะ
               โรคนิ่วในกระเพาะปัสสาวะ (Urolithiasis)
           โรคระบบประสาท
               โรคน้ำคั่งในโพรงสมอง (Hydrocephalus)

       พันธุ์โกลเดนรีทรีฟเวอร์

           โรคตา
                โรคต้อกระจก (Cataract)
           โรคกระดูก
                โรคข้อสะโพกเสื่อม (Hip dysplasia)
           โรคผิวหนัง
                ภูมิแพ้จากการสูดดม (Atopy)
           โรคระบบต่อมไร้ท่อ
                โรคเบาหวาน (Diabetes Millitus)
                ต่อมไทรอยด์ทำงานน้อยลง (Hypothyroidism)
           โรคระบบประสาท
                โรคลมชัก (Epilepsy)
                Degenerative myelopathy 

       พันธุ์ลาบราดอร์รีทรีฟเวอร์

           โรคตา
                โรคต้อกระจก (Cataract)
           โรคกระดูก
                โรคข้อสะโพกเสื่อม (Hip dysplasia)
           โรคผิวหนัง
                ภูมิแพ้จากการสูดดม  (Atopy)
           โรคระบบประสาท
                โรคลมชัก (Epilepsy)

       พันธุ์ไซบีเรียน ฮัสกี้ 

           โรคตา
                โรคต้อกระจก (Cataract)
                โรคต้อหิน (Glaucoma)
           โรคกระดูก
                โรคข้อสะโพกเสื่อม (Hip dysplasia)
           โรคระบบประสาท
                โรคลมชัก (Epilepsy)

       พันธุ์เยอรมันเชฟเฟิร์ด

           โรคตา
                โรคต้อกระจก (Cataract)
           โรคกระดูก
                โรคข้อสะโพกเสื่อม (Hip dysplasia)
           โรคผิวหนัง
                โรคขี้เรื้อนรูขุมขน (Demodicosis)
           โรคหัวใจและหลอดเลือด
              โรคเลือดออกไม่หยุด (Hemophilia)      
           โรคระบบประสาท
                โรคลมชัก (Epilepsy)
                Degenerative myelopathy
           โรคทางเดินอาหาร
                ภาวะที่ตับอ่อนไม่สามารถหลั่งน้ำย่อยได้เพียงพอ (Pancreatic exocrine insufficiency)

       พันธุ์ดัลเมเชียน

           โรคตา
                โรคต้อกระจก (Cataract)
                โรคต้อหิน (Glaucoma)
           โรคผิวหนัง
                ภูมิแพ้จากการสูดดม  (Atopy)
           โรคระบบต่อมไร้ท่อ
               โรคเบาหวาน (Diabetes Millitus)
           โรคทางเดินปัสสาวะ
               โรคนิ่วในกระเพาะปัสสาวะชนิดยูเรท (Urate urolithiasis)

       พันธุ์ไทยบางแก้ว

           โรคกระดูก
               โรคข้อสะโพกเสื่อม (Hip dysplasia)

       พันธุ์ไทยหลังอาน

           โรคกระดูก
               โรคข้อสะโพกเสื่อม (Hip dysplasia)

       โรคเหล่านี้แฝงกายอยู่ในตัวลูกหมา แต่ใช่ว่าลูกหมาทุกตัวเกิดมาแล้วต้องเป็นนะครับ แค่มีโอกาสเป็นเท่านั้น บางตัวโชคร้ายเป็นมาตั้งแต่เกิดเลย หรือบางตัวเป็นเมื่ออายุมากแล้ว ที่เป็นเช่นนี้เพราะโรคบางโรคอาจไม่ได้เกิดจากพันธุกรรมเพียงอย่างเดียว ต้องมีปัจจัยอื่นเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย โรคทางพันธุกรรมอาจไม่ได้ขึ้นอยู่กับพันธุ์เท่านั้นนะครับ บางกรณีเป็นแค่เฉพาะสายโลหิตเดียวกันภายในครอบครัว

       การควบคุมโปรแกรมการผสมพันธุ์ และการตรวจสอบประวัติพ่อแม่พันธุ์ เป็นทางเดียวที่จะป้องกันการเกิดโรคทางพันธุกรรมได้ แต่ในทางปฏิบัติทำได้ยาก เนื่องจากการวินิจฉัยว่าสุนัขตัวใดมียีนกลายพันธุ์แอบแฝงทำได้ยาก สุนัขบางตัวมียีนกลายพันธุ์อยู่แต่ไม่แสดงออกให้เห็นภายนอกก็มี พอนำมาผสมพันธุ์ก็สามารถถ่ายทอดยีนนั้นสู่รุ่นลูกต่อไปได้ ยิ่งถ้าทั้งพ่อและแม่มียีนกลายพันธุ์ทั้งคู่ โอกาสเกิดลูกผิดปกติทางพันธุกรรมยิ่งสูง

Dogilike.com :: โรคทางพันธุกรรม อันตรายที่แฝงกายในลูกหมา

     ปัจจุบันตามฟาร์มเพาะพันธุ์สุนัขมีการทำใบประวัติครอบครัว (pedigree) ทำให้เราตามสืบได้ว่าลูกหมามาจากพ่อแม่พันธุ์ตัวใด มีความเสี่ยงเป็นโรคทางพันธุกรรมใดได้บ้าง โรคทางพันธุกรรม ไม่ได้เป็นกรรมที่ตกกับลูกหมาเท่านั้นนะครับ แต่ยังตกมาถึงเจ้าของด้วย เพราะเมื่อน้องหมาป่วย ก็คงเป็นเราที่ต้องเป็นคนพาไปหาคุณหมอ 

     ดังนั้นก่อนรับลูกหมามาเลี้ยงต้องตรวจดูให้ดีก่อน ขอดูใบประวัติครอบครัว ที่สำคัญควรศึกษาโรคประจำพันธุ์ในน้องหมาของเราด้วย ว่าเสี่ยงเป็นโรคอะไรได้บ้าง จะได้หาทางรับมือและป้องกัน เพื่อชะลอไม่ให้เกิดโรคนั้นเร็วขึ้น โดยอาจขอคำแนะนำจากคุณหมอผู้ดูแลน้องหมาก็ได้ครับ สำหรับเพื่อนๆ ที่มีน้องหมาพันธุ์อื่นๆ แล้วอยากทราบโรคประจำพันธุ์ของน้องหมา มุมหมอหมา ยินดีให้คำปรึกษานะครับ แล้วกลับมาติดตามอ่านบทความน่ารู้คู่สุขภาพน้องหมาได้ใหม่ ... สวัสดีครับ  



แหล่งที่มา : dogilike.com

อัพเดทล่าสุด