อัญมณีหลากสี อัญมณีประจําปีเกิด อัญมณีแห่งชีวิต ความหมายของอัญมณี แบบต่างๆ มีอะไรบ้าง


844 ผู้ชม


อัญมณีหลากสี อัญมณีประจําปีเกิด อัญมณีแห่งชีวิต ความหมายของอัญมณี แบบต่างๆ มีอะไรบ้าง

 

 

 แก้วเก้าเนาวรัตน์


ในคติความเชื่อของอินเดียโบราณ มีเพียง ๙ ชนิด เรียกว่า นพรัตน์ หรือเนาวรัตน์ ส่วนพลอยอย่างอื่นๆถือว่าด้อยค่ากว่านี้ เรียกรวมกันว่า "อัญมณี"


ไทยเรียกนพรัตน์ว่า "แก้วเก้าประการ" มีคำกล่าวคล้องจองกัน คือ


เพชรดี (diamond) มณีแดง (ruby)

เขียวใสแสง มรกต (emerald) เหลืองใสสด บุษราคัม (Topaz or yellow sapphire)

แดงแก่ก่ำโกเมนเอก (garnet) สีหมอกเมฆนิลกาฬ (blue sapphire)

มุกดาหาร หมอกมัว (moonstone) แดงสลัว เพทาย ( red zircon)

สังวาลย์สาย ไพฑูรย์ (cat's eye)


เพชรพลอย ๙ อย่างนี้เมื่อนำมารวมในเรือนเดียวกัน ไทยเรียกว่านพเก้า ความเชื่อเรื่องสิริมงคลนี้สูงมาก จนโบราณยกย่องว่านพเก้าไม่ใช่เครื่องประดับธรรมดาที่ใครๆ ก็หามาสวมใส่ได้ แต่จะเป็นของสำหรับพระมหากษัตริย์เท่านั้น ถือเป็นเครื่องประดับยศใช้ในโอกาสพิเศษที่ต้องการสิริมงคลเช่นในการเสด็จออกรบ

ดังมีคำกลอนโบราณกล่าวถึงการแต่งองค์ของจอมทัพ พูดถึงเครื่องประดับที่ทรงใช้ว่า

ทั้งเก้าวงล้วนผูกเป็นเรือนยอด สลับเพชรสอดแกมสลับ
อีกวงหนึ่งธำมรงค์สำหรับทัพ นพเก้าเรืองประดับระยับพราย
แล้วทรงรัดเข็มขัดประจำมั่น เรือนครุฑเพชรกุดั่นกระสันสาย
วะวาบวับแววเวียนวิเชียรพราย สองสายสังวาลนพรัตน์


โหร กล่าวไว้ว่า นพรัตน์เป็นสิ่งมงคลก็จริง แต่ว่าจะต้องเลือกประดับให้เหมาะกับเจ้าของ มิฉะนั้นจะเกิดโทษ จึงวางหลักเอาไว้ดังนี้

ผู้เกิดปีชวด ปีระกา ควรประดับ โกเมน

ผู้เกิดปีฉลู ปีมะแม ควรประดับ มุกดา

ผู้เกิดปีขาล ควรประดับ เพทาย

ผู้เกิดปีเถาะ ควรประดับ ไพฑูรย์ หรือมรกต

ปีมะโรง ปีกุน ควรประดับ ไพฑูรย์

ผู้เกิดปีมะเส็ง ควรประดับ เพชร

ผู้เกิดปีมะเมีย ควรประดับ นิล

ผู้เกิดปีวอก ควรประดับ บุษราคัม

ผู้เกิดปีจอ ควรประดับ มรกต


แหล่งที่มา : vcharkarn.com

อัพเดทล่าสุด